ค่อยยังชั่ว | ว. ดีขึ้น, ทุเลาขึ้น. |
เจ็ดชั่วโคตร | น. วงศ์สกุลที่สืบสายโลหิต ซึ่งนับตั้งแต่ตัวเองขึ้นไป ๓ ชั้น คือ ชั้นพ่อ ชั้นปู่ และชั้นทวด กับนับจากตัวเองลงมาอีก ๓ ชั้น คือ ชั้นลูก ชั้นหลาน และชั้นเหลน รวมเป็นเจ็ดชั่วโคตร ไม่นับผู้หญิงรวมด้วย. |
ชั้นชั่ว | ว. อย่างตํ่า. |
ชั่ว ๑ | น. ระยะ เช่น สูง ๓ ชั่วลำตาล, ระยะเวลา, สมัย, ครั้ง, เช่น ครอบครัวเราทำบุญที่วัดนี้มาชั่วปู่ย่าตายาย ชั่วอายุผมไม่เคยเห็นอะไรอย่างนี้เลย. |
ชั่วกัปชั่วกัลป์ | น. ชั่วอายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก ซึ่งเป็นเวลาที่นานมาก เช่น ขอให้คงอยู่ชั่วกัปชั่วกัลป์. |
ชั่วคน | น. ลักษณนามบอกระยะความสูงเท่ากับตัวคน เช่น นํ้าลึก ๓ ชั่วคน |
ชั่วคน | ลักษณนามบอกช่วงเวลาของอายุคนตั้งแต่เกิดถึงตาย เช่น บ้านนี้อยู่กันมา ๓ ชั่วคน, บางทีใช้ว่า ชั่วอายุคน. |
ชั่วคราว | ว. ชั่วระยะเวลาไม่นาน, ไม่ประจำ, ไม่ตลอดไป. |
ชั่วครู่ | น. ระยะเวลาสั้น ๆ เช่น เขาหายไปชั่วครู่ ประเดี๋ยวก็กลับมา. |
ชั่วครู่ชั่วยาม | น. ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ขอยืมของไปใช้ชั่วครู่ชั่วยามแล้วจะเอามาคืน. |
ชั่วเคี้ยวหมากจืด | น. เวลาประมาณ ๒๐-๓๐ นาที (มาจากระยะเวลาในการเคี้ยวหมาก ๑ คำ ตั้งแต่เริ่มเคี้ยวจนหมากจืดหมดคำ จึงคายชานหมากทิ้ง), พูดเพี้ยนเป็น ชั่วเคี้ยวหมากแหลก ก็มี. |
ชั่วเคี้ยวหมากแหลก | <i>ดู ชั่วเคี้ยวหมากจืด</i>. |
ชั่วช้างปรบหู | น. ระยะเวลาเท่ากับที่ช้างปรบหู ซึ่งเป็นเวลาสั้นมาก, มักใช้เข้าคู่กับ งูแลบลิ้น เป็น ชั่วช้างปรบหูงูแลบลิ้น. |
ชั่วนกเขาเหิน | น. ระยะความสูงที่นกเขาบินขึ้นไปถึงได้ เช่น พระปฐมเจดีย์สูงชั่วนกเขาเหิน. |
ชั่วนาตาปี | ว. ตลอดไป เช่น แม่น้ำสายนี้มีน้ำไหลอยู่ชั่วนาตาปี. |
ชั่วนาฬิกา | น. ช่วงระยะเวลา ๖๐ นาที, ชั่วโมง ก็เรียก. |
ชั่วเบา | ว. ชั่วระยะเวลานานตราบที่ยังไม่ได้ถ่ายปัสสาวะ เชื่อว่าเป็นระยะที่ยังอยู่ยงคงกระพันในกรณีที่อาพัดเหล้าเป็นต้น. |
ชั่วพริบตา, ชั่วพริบตาเดียว | น. ระยะเวลาเท่ากับการกะพริบตาครั้งหนึ่งซึ่งสั้นมาก เช่น งานนี้รับรองชั่วพริบตาเดียวก็เสร็จแล้ว. |
ชั่วฟ้าดินสลาย | ว. ตลอดไป, ไม่มีวันสิ้นสุด, เช่น ขอรักเธอไปจนชั่วฟ้าดินสลาย. |
ชั่วโมง | น. ช่วงระยะเวลา ๖๐ นาที, ชั่วนาฬิกา ก็เรียก. |
ชั่วโมงบิน | น. ความชำนาญหรือประสบการณ์ในการทำงาน เช่น สู้เขาไม่ได้เพราะชั่วโมงบินเราน้อยกว่า. |
ชั่วรถหลีก | น. ช่วงระยะทางที่รถรางหลีกกัน เช่น นั่งรถรางไป ๓ ชั่วรถหลีก ก็จะเจอห้างที่ต้องการ. |
ชั่วแล่น | น. ระยะเวลาที่รวดเร็ว เกิดขึ้นทันทีทันใด เช่น ความคิดชั่วแล่น. |
ชั่ววูบ | น. ระยะเวลาที่รวดเร็ว เกิดขึ้นทันทีทันใด เช่น อารมณ์ชั่ววูบ. |
ชั่วหม้อข้าวเดือด | น. ระยะเวลาประมาณ ๒๐-๓๐ นาที (มาจากระยะเวลาที่ตั้งหม้อข้าวจนเดือด). |
ชั่ว ๒ | ว. เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีตประเพณีเป็นต้น เช่น คนชั่ว. |
ชั่วช้า | ว. เลวทราม. |
ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ | ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ. |
ชั้ว ๑ | น. ที่สำหรับตั้งวางของ รูปคล้ายตู้ แต่ใช้กระดานทั้งแผ่นประกอบด้านข้างตลอดทั้ง ๒ ข้างลงมาเป็นขาด้วย ด้านหลังกรุกระดานทึบทั้งแผ่นยาวลงมาถึงพื้น มีหูช้างติดตรงมุมขา ๒ ข้าง. |
ชั้ว ๒ | น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงชั้วไว้ ๑ ประตู และขาย ๑ ประตู โปออกประตูที่ลูกค้าแทงชั้วไว้ เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าออกประตูที่ลูกค้าขาย เจ้ามือกิน ถ้าออกประตูอื่นนอกจากนั้น ไม่ได้ไม่เสีย. |
ชั่วแต่ว่า | ว. เสียแต่ว่า, เว้นแต่ว่า, เพียงแต่ว่า. |
ดี ๆ ชั่ว ๆ | ว. ถึงอย่างไรก็ตาม เช่น ดี ๆ ชั่ว ๆ เขาก็เป็นลูกเรา. |
ปล่อยชั่วคราว | ก. ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยจากการควบคุมหรือขังชั่วระยะเวลาหนึ่งในระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างการพิจารณาของศาล โดยไม่มีประกัน มีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน. |
ยังชั่ว | ก. ค่อยดีขึ้น. |
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา | ก. ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก. |
รำชั่วโทษพากย์ | ก. ทำไม่ดีหรือทำผิด แล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ก็ว่า. |
รู้ดีรู้ชั่ว | ก. รู้ผลขั้นสุดท้าย, รู้ผลขั้นแตกหัก, เช่น หลังการชกพรุ่งนี้ก็จะรู้ดีรู้ชั่วว่าใครจะชนะ. |
เลือดชั่ว | น. ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพ่อแม่ที่ชั่ว, ความเลวร้ายที่มีอยู่ในตัว เช่น ตีหัวให้แตกเอาเลือดชั่วออกเสียบ้าง. |
สูงชั่วนกเขาเหิน, สูงเท่านกเขาเหิน | ว. สูงระดับที่นกเขาบิน. |
กบ ๒ | น. ชื่อสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหลายชนิด ในสกุล <i> Rana</i> วงศ์ Ranidae ลำตัวสั้นป้อมมีขนาดต่าง ๆ กัน ขาคู่หลังใหญ่และยาวกว่าขาคู่หน้า ตีนแบนมีพังผืดติดเป็นพืด เมื่อโตเต็มที่ไม่มีหาง กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำ ดำน้ำได้เร็ว เมื่อยังเป็นตัวอ่อนมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจำศีล เช่น กบนา [ <i> Hoplobatrachus rugulosus</i> (Wiegmann) หรือ <i> R. rugulosus</i> (Wiegmann) ]. |
กรรม ๑, กรรม- ๑ | (กำ, กำมะ-) น. การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. |
กระชัง ๒ | น. เครื่องสำหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบเพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกรํ่า เมื่อจับปลาหรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สำหรับจับปลาขนาดใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยนํ้าไว้. |
กระทงป่า | น. ไม้พาดปากมาดเรือโกลนชั่วคราว. |
กระทาสี | น. ทาส เช่น เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระทาสี (นิ. สุรสีห). |
กระสวน | น. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน (สุภาษิตสุนทรภู่) |
กลับเนื้อกลับตัว | ก. เลิกทำความชั่วหันมาทำความดี. |
กลี | (กะลี) ว. ชั่วร้าย, ไม่เป็นมงคล, มักใช้ว่า กาลี. |
กะพ้อ ๒ | น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล <i> Licuala</i> วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด <i> L. spinosa</i> Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่งนํ้าเค็มขึ้นถึง ลำต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร เว้าเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด <i> L</i>. <i> peltata</i> Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ห่อทำไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา (โลกนิติ). |
กัป | (กับ) น. อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ มาล้างโลก, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กัลป์ เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ป. กปฺป; ส. กลฺป). <i> (ดู กัลป-, กัลป์)</i>. |
กัลป-, กัลป์ | (กันละปะ-, กัน) น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑, ๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔, ๓๒๐, ๐๐๐, ๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. |