ก๊าซหุงต้ม | ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติและจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ดิบในโรงกลั่นน้ำมัน มีจุดเดือดอยู่ระหว่าง –420C – 0.50C เป็นของผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอน 3-4 อะตอม มีสถานะเป็นก๊าซ ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน ยานพาหนะ และในโรงงานอุตสาหกรรม [ปิโตรเลี่ยม] |
การกลั่น | การกลั่นน้ำมัน, การกลั่นน้ำมันเป็นการนำน้ำมันดิบ (Crude) มากลั่นแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ตามช่วงจุดเดือด, Example: การกลั่นน้ำมันเป็นการนำน้ำมันดิบ (Crude) มากลั่นแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ตามช่วงจุดเดือดเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ และเหมาะสมต่อการใช้งาน กระบวนการกลั่นของแต่ละโรงกลั่นน้ำมัน อาจแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของน้ำมันดิบ ชนิด ปริมาณ และคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ต้องการ [ปิโตรเลี่ยม] |
ดีเซล | ผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดหนึ่งที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ โดยมีช่วงจุดเดือดอยู่ระหว่าง 1500-360oC น้ำมันดีเซลจะต้องจุดระเบิดได้เองโดยเร็วและเผาไหม้ได้หมดภายใต้สภาวะภายใน ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ดีเซลหมุนเร็วหรือโซล่า เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ความเร็วรอบสูงกว่า 1, 000 รอบ/นาที และดีเซลหมุนช้า หรือ ขี้โล้ เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนเรือเดินทะเลและการผลิตไฟฟ้า [ปิโตรเลี่ยม] |
เบนซิน | ผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดหนึ่งทีได้จากการกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบโดยมีช่วงจุดเดือดอยู่ระหว่าง 30-2000C, Example: ผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดหนึ่งทีได้จากการกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบโดยมีช่วงจุดเดือดอยู่ระหว่าง 30-2000C เป็นของผสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนตั้งแต่ 4 -11 อะตอมผสมรวมกันมีคุณสมบัติเหมาะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เบนซิน มี 3 ชนิดด้วยกันคือ<br>ฬออกเทน 87 สีเขียว<br>ออกเทน 91 สีแดง<br>ออกเทน 95 สีเหลือง<br>ปัจจุบันน้ำมันเบนซินทุกชนิดในไทยเป็นน้ำมันไร้สารตะกั่วทั้งหมด สาเหตุที่มีการเรียกชื่อตามค่าออกเทนและมีสีต่างกัน เพื่อให้ผู้บริโภคเลื่อกใช้น้ำมันให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานของเครื่อง ยนต์ [ปิโตรเลี่ยม] |
Boiling Point | จุดเดือด [การแพทย์] |
Boiling Point Elevation | การทำให้จุดเดือดสูงขึ้น, การเพิ่มจุดเดือด, การเพิ่มจุดเดือดของสารละลาย [การแพทย์] |
Boiling Point, Normal | จุดเดือดปกติของของเหลว [การแพทย์] |
Boiling point | จุดเดือด [อุตุนิยมวิทยา] |
butanoic acid | กรดบิวทาโนอิก, กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C3H7COOH เป็นของเหลว มีจุดเดือด 163.3 °C ใช้ในการเตรียมกลิ่นสังเคราะห์ เช่น เมื่อรวมกับเมทิลแอลกอฮอล์จะได้สารมีกลิ่นเหมือนมะละกอสุก เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
glycerol | กลีเซอรอล, สารประกอบอินทรีย์พวกแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C3H8O3 เป็นของเหลวข้น ไม่มีสี มีจุดเดือด 290oC ละลายน้ำได้ เป็นองค์ประกอบสำคัญของไขมันหรือน้ำมัน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลีเซอริน ใช้ในอุตสาหกรรมทำยา เครื่องสำอาง สบู่ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fractional distillation | การกลั่นลำดับส่วน, กระบวนการแยกของผสมที่เป็นของเหลวหลายชนิดออกจากกัน โดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือดของสาร เมื่อทำให้ของผสมมีอุณหภูมิสูงขึ้น ของเหลวที่มีจุดเดือดต่ำจะระเหยออกมาก่อน ส่วนของเหลวที่มีจุดเดือดสูงกว่าก็จะระเหยออกมาตามลำดับ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
silica | ซิลิกา, สารประกอบชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ SiO2 จุดหลอมเหลว 1, 700°C จุดเดือด 2, 230°C เป็นของแข็งไม่มีสี ในธรรมชาติอยู่ในรูปของทราย ควอตซ์ และหินบางชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว เครื่องดินเผา และทำผงขัด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thorium | ทอเรียม, ธาตุแทรนซิชัน มีเลขอะตอม 90 สัญลักษณ์ Th เป็นโลหะจุดหลอมเหลว 3, 050 °C จุดเดือดประมาณ 4, 440 °C ในธรรมชาติมีปนอยู่ในแร่หลายชนิด เช่น ทอไรต์ ทอเรียไนต์ และโมนาไซต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
tungsten | ทังสเตน, ธาตุแทรนซิชัน เลขอะตอม 74 สัญลักษณ์ W จุดหลอมเหลว 3, 370°C จุดเดือด 5, 930°C ใช้ทำไส้หลอดไฟฟ้าและโลหะผสมอื่น ๆ ในธรรมชาติมีปนอยู่ในแร่วุลแฟรไมต์ (wolframite FeWO4 ) และซีไลต์ (scheelite CaWO4) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
kerosene | น้ำมันก๊าด, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดรวมกัน ได้จากการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันปิโตรเลียม มีจุดเดือด 150 - 300°C ในแต่ละโมเลกุลจะมีคาร์บอน 11 - 12 อะตอม มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ไอพ่น ใช้จุดตะเกียง เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
diesel oil | น้ำมันดีเซล, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดรวมกัน ได้จากการกลั่นลำดับส่วนปิโตรเลียม ในแต่ละโมเลกุลจะมีคาร์บอน 13 หรือ 14 อะตอม มีจุดเดือด 250 - 350°C ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fuel oil | น้ำมันเตา, ของเหลวที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนของปิโตรเลียม แต่ละโมเลกุลมีคาร์บอน 15 - 17 อะตอม มีจุดเดือด 250 - 350oC ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
gasoline [ petrol ] | น้ำมันเบนซิน, ของเหลวที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนปิโตรเลียม แต่ละโมเลกุลมีคาร์บอน 7 - 9 อะตอม มีจุดเดือด 40°C - 180°C ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์แก๊สโซลีน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lubricating oil | น้ำมันหล่อลื่น, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนของปิโตรเลียม มีสถานะเป็นของเหลว มีจุดเดือดระหว่าง 305°C - 405°C ในแต่ละโมเลกุลจะมีจำนวนคาร์บอนตั้งแต่ 18 - 25 อะตอม เป็นน้ำมันที่ใช้ลดความเสียดทานระหว่างวัตถุต่าง ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
neon | นีออน, ธาตุในหมู่ VIII ของตารางธาตุ มีเลขอะตอม 10 สัญลักษณ์คือ Ne เป็นแก๊สเฉื่อย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดหลอมเหลว -248.6°C จุดเดือด -246.0°C พบในบรรยากาศประมาณร้อยละ 0.19 โดยปริมาตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nitrogen | ไนโตรเจน, ธาตุในหมู่ V ของตาราง ธาตุ เลขอะตอม 7 สัญลักษณ์ N เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีในอากาศประมาณร้อยละ 78.03 โดยปริมาตร จุดหลอมเหลว -209.9°C จุดเดือด -195.67°C [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
bromine | โบรมีน, ธาตุในหมู่เฮโลเจนหรือหมู่ VII ของตารางธาตุ มีเลขอะตอม 35 สัญลักษณ์ Br เป็นของเหลวสีแดงเข้ม กลิ่นฉุนแสบจมูกและเป็นพิษ มีจุดเดือด 58.8oC ใช้ทำสารประกอบในการถ่ายรูปและทำยา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
methanol [ methyl alcohol ] | เมทานอล, แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3OH จุดเดือด 64.6°C ไม่มีสี ละลายได้ในน้ำและตัวทำละลายบางชนิด แอลกอฮอล์ชนิดนี้เป็นพิษต่อร่างกาย ถ้าดื่มเข้าไปอาจทำให้ตาบอดหรือเสียชีวิตได้ ใช้เป็นเชื้อเพลิงและตัวทำละลาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
zinc | สังกะสี, ธาตุแทรนซิชัน เลขอะตอม 30 สัญลักษณ์ คือ Zn เป็นโลหะสีขาวปนน้ำเงิน จุดหลอมเหลว 419.5°C จุดเดือด 907°C ในธรรมชาติเกิดอยู่ในแร่ต่าง ๆ เช่น คาลาไมน์(ZnCO3) ซิงค์ไซต์(ZnO) และซิงค์เบลนด์(ZnS) ใช้ทำโลหะผสมและชุบเหล็ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
capillary tube | หลอดรูเล็ก, หลอดคะปิลลารี, หลอดแก้วใสที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กมากใช้ในการหาจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสาร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
oxygen | ออกซิเจน, ธาตุในหมู่ VI ของตารางธาตุ เลขอะตอม 8 สัญลักษณ์ 0 เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ช่วยในการเผาไหม้ จุดหลอมเหลว -218.9°C จุดเดือด -183°C มีในอากาศประมาณร้อยละ 21 โดยปริมาตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
argon | อาร์กอน, ธาตุในหมู่ VIII ของตารางธาตุ มีเลขอะตอม 18 สัญลักษณ์ Ar เป็นแก๊สเฉื่อยไม่มีสีและกลิ่น มีปนอยู่ในอากาศร้อยละ 0.94 จุดหลอมเหลว -189.2oC จุดเดือด -185.7oC [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ethanol [ ethyl alcohol ] | เอทานอล, แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C2H5OH เป็นของเหลวไม่มีสี มีจุดหลอมเหลว -144oC จุดเดือด 78.4oC ละลายได้ในน้ำและตัวทำละลายบางชนิด ใช้เป็นเชื้อเพลิง ตัวทำละลาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hydrogen | ไฮโดรเจน, ธาตุชนิดหนึ่ง เลขอะตอม 1 สัญลักษณ์คือ H เป็นแก๊สที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด ติดไฟได้ดี จุดหลอมเหลว -259.14oC จุดเดือด -252.7oC ไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป คือ โพรเทียม ดิวเทอเรียม และทริเทียม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heptane | เฮปเทน, สารไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี C7H16 เป็นของเหลวได้จากการกลั่นลำดับส่วนปิโตรเลียม ไฮโซเมอร์ปกติมีจุดเดือด 98.4oC และความถ่วงจำเพาะ 0.68 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
helium | ฮีเลียม, ธาตุในหมู่ VIII ของตารางธาตุ มีเลขอะตอม 2 สัญลักษณ์ He เป็นแก๊สเฉื่อยไม่มีสีและกลิ่น ไม่ติดไฟ มีความหนาแน่นน้อย จุดเดือด -268.94oC ใช้บรรจุในลูกบัลลูน และผสมกับออกซิเจนในเครื่องช่วยหายใจของนักประดาน้ำ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
isooctane | ไอโซออกเทน, สารประกอบไฮโดรคาร์บอน สูตรเคมีคือ (CH3)3CCH2CH(CH3)2 มีจุดเดือด 99oC เป็นเชื้อเพลิงที่เหมาะกับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินเพราะช่วยให้เครื่องยนต์เดินเรียบไม่กระตุก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
isoprene | ไอโซปรีน, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนจำพวกแอลคีน สูตรเคมีคือ C5H8 เป็นของเหลวไม่มีสี จุดเดือด 34.1°C ไม่ละลายในน้ำ แต่ละลายได้ในแอลกอฮอล์และอีเทอร์ได้จากการกลั่นทำลายยางดิบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ozone | โอโซน, ออกซิเจนรูปหนึ่ง ในแต่ละโมเลกุลจะมี 3 อะตอม เป็นแก๊สไม่มีสี มีความว่องไวต่อการทำปฏิกิริยา จุดเดือด -112.4°C จุดหลอมเหลว - 249.7°C มีกลิ่นเฉพาะตัว ใช้เป็นตัวเติมออกซิเจนในปฏิกิริยาเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
boiling point | จุดเดือด, อุณหภูมิซึ่งของเหลว มีความดันไอเท่ากับความดันของบรรยากาศรอบ ๆ และของเหลวกำลังเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ เช่น น้ำบริสุทธิ์ มีจุดเดือด 100 ํ C ที่ความดันปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Celcius | เซสเซียส, หน่วยของอุณหภูมิ ซึ่งเดิมใช้เป็นเซนติเกรด ใช้สัญลักษณ์ ํ C โดยกำหนดให้น้ำมีจุดเยือกแข็งที่ 0 ํ C จุดเดือดที่ 100 ํ C ที่ความดันปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
krypton | คริปทอน, ธาตุในหมู่ VIII ของตารางธาตุ ใช้สัญลักษณ์ Kr เลขอะตอม 36 เป็นแก๊สเฉื่อยไม่มีสี มีจุดหลอมเหลว -156.7°C จุดเดือด -153.3°C มีอยู่ในบรรยากาศจำนวนน้อยมาก ใช้บรรจุในหลอดไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
iodine | ไอโอดีน, ธาตุในหมู่ VII ของตารางธาตุมีเลขอะตอม 53 สัญลักษณ์ I เป็นของแข็งสีม่วงดำ และระเหิดได้ มีจุดหลอมเหลว 114°C จุดเดือด 184°C [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
vanilla | วานิลลา, พืชชนิดหนึ่งมีมากในอเมริกาใต้ นำเมล็ดมาสกัดได้สารอินทรีย์ สูตรเคมีคือC8H8O3 เป็นผลึกสีขาว จุดหลอมเหลว 81-82 °C จุดเดือด 285 °C มีกลิ่นหอม นิยมใช้ผสมอาหาร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |