แก้วสีไม้ไผ่ | น. ไพฑูรย์, เพชรตาแมว. |
เสื่อไม้ไผ่ | น. เครื่องปูลาดสำหรับรองนอน ทำด้วยไม้ไผ่ สับเป็นริ้วละเอียดอย่างฟาก คลี่ออกและต่อกันเป็นผืน. |
กรบ | (กฺรบ) น. เครื่องแทงปลา ใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ ๓ ซี่ ปลายสวมด้วยเหล็กแหลม โคนรวบเข้าด้วยกัน ต่อด้ามเป็นอย่างรูปคอม้า. |
กร่อม ๒ | น. เครื่องมือครอบจับปูทะเล ตามชายฝั่งทะเล ใช้ไม้ไผ่ต้นเดียวผ่าตอนปลายออกเป็น ๔ ซี่ เหลาซี่เหล่านั้นให้อ่อน เอาวงแหวนทำด้วยไม้ไผ่ หวาย หรือลวด ใส่ในหว่างซี่เหล่านั้นเพื่อบังคับให้ถ่างออก, กะกร่อม หรือ ตะกร่อม ก็เรียก. |
กระจับ ๒ | น. เครื่องสวมข้อตีนม้าสำหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทำด้วยหวายหรือไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชายทั้ง ๒ ข้างเสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีนกระทบกันเอง. |
กระจู้ | น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อคอสูง มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, จู้ หรือ อีจู้ ก็เรียก. |
กระแจะ ๓ | น. ชื่อรูปปลอกเหล็กสำหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิดอย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกำลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทำด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่สำหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจากปลอกลอดออกมาจากคันไม้ ใช้สำหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้างข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อช้างจะได้ลาก ช้างกำลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกทีจนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้ |
กระชอน ๑ | น. เครื่องกรอง โดยปรกติสานด้วยผิวไม้ไผ่ ใช้กรองกะทิเป็นต้น. |
กระชัง ๒ | น. เครื่องสำหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบเพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกรํ่า เมื่อจับปลาหรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สำหรับจับปลาขนาดใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยนํ้าไว้. |
กระแตเวียน | น. อุปกรณ์สำหรับช่วยให้เด็กหัดเดิน ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วสวมลงกับหลักไม้ เหนือข้อตอนบนสอดไม้ขวางให้ยาวพอสมควรสำหรับให้เด็กเกาะประคองตัวหัดเดิน. |
กระทู้ ๑ | น. ลำไม้ไผ่ช่วงโคนที่เอามาปักเป็นเสารั้ว |
กระทู้ ๓ | น. ชื่อหนอนผีเสื้อกลางคืนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Noctuidae ลำตัวรูปทรงกระบอก ยาว ๓-๔ เซนติเมตร ผิวเป็นมัน มีขนตามลำตัวน้อย ส่วนใหญ่สีน้ำตาลคลํ้า ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือเส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมนํ้าตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาวที่สันหลังและข้างลำตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทำให้เหลือแต่ตอโผล่เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์หรือหนอนกระทู้คอรวง [ Mythimna separate (Walker) ] ทำลายต้นข้าว, หนอนกระทู้ผัก [ Spodoptera litura (fabricius) ] ที่กัดกินพืชผัก. |
กระบอก ๑ | น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา |
กระแพ้ง | น. ไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดำ ๆ กลิ่นเหม็น, กำแพ้ง ก็ว่า. |
กระออม ๒ | น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุงขนาดย่อม ปากสอบ ใช้ใส่น้ำ เช่น สรงสนานนํ้าทิพย์สิบกระออม (คาวี), กะออม กัลออม หรือ กะละออม ก็ว่า. |
กรับ ๑ | (กฺรับ) น. เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกหรือไม้เนื้อแข็ง ๒ อัน ใช้ขยับหรือตีกระทบกันสำหรับให้อาณัติสัญญาณ หรือบอกจังหวะในการขับร้องและบรรเลงดนตรี. |
กรับคู่ | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่นเป็นคู่ สำหรับตีเป็นจังหวะในการฟ้อนรำขับร้อง. |
กลม ๒ | (กฺลม) ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลากเป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนไข่ไก่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี |
ก่อง ๓ | น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทำด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลำไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในนํ้า มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และอีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. |
กะทอ | น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ตาโปร่ง ด้านในกรุด้วยใบไม้แห้ง รูปทรงกระบอก สำหรับใส่เกลือ ฝ้าย ยาสูบ เป็นต้น ใช้กันในภาคอีสาน. |
กะบัง ๒ | น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลำปักทางซ้ายและทางขวาเรียงกันเป็นลำดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้างอย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทำร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็นทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่ายที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่นํ้าไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า. |
กะบั้ง | น. บ้องไม้ไผ่, บั้ง ก็เรียก. |
กะพล้อ, กะพ้อ ๑ | น. กระบอกไม้ไผ่มีด้ามยาวในตัว ใช้สำหรับตักน้ำปลาหรือน้ำตาลสดเป็นต้น. |
กะละออม | น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุงขนาดย่อม ปากสอบ ใช้ใส่น้ำ, กระออม กะออม หรือ กัลออม ก็ว่า. |
กะหลาป๋า ๑ | เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป ว่า หมวกกะหลาป๋า |
กะหูด | น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ รูปร่างคล้ายกรวย ปากกว้างคล้ายแตร ตอนปากมีงาแซงเพื่อมิให้ปลาหนีออกมา ใช้ในท้องที่จังหวัดจันทบุรี. |
กะออม | น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุงขนาดย่อม ปากสอบ ใช้ใส่น้ำ, กระออม กัลออม หรือ กะละออม ก็ว่า. |
กัลออม | (กันละ-) น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุงขนาดย่อม ปากสอบ ใช้ใส่น้ำ, กะออม กระออม หรือ กะละออม ก็ว่า. |
กำพราก | (-พฺราก) น. ไม้รวกหรือไม้ไผ่ที่เสี้ยมปลายให้แหลม ใช้สำหรับขุด เรียกว่า ไม้กำพราก. |
กำแพ้ง | น. ไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดำ ๆ กลิ่นเหม็น, กระแพ้ง ก็ว่า. |
เกริ่น ๒ | (เกฺริ่น) น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ ผูกด้วยหวายให้ติดกันเป็นแผง, ปัจจุบันเรียกว่า เฝือก. |
เกลา | (เกฺลา) ก. ทำสิ่งที่ยังขรุขระอยู่ให้เกลี้ยงหรือได้รูปทรงดีขึ้น เช่น เกลาไม้ไผ่, ทำให้ดีขึ้นหรือเรียบร้อยขึ้น เช่น เกลาสำนวนหนังสือ เกลานิสัย. |
โกรกกราก | กระบอกไม้ไผ่มีหลักปักอยู่กลางเติ่งสำหรับทอดดวด. |
โกร่ง ๔ | (โกฺร่ง) น. เครื่องตีทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ค่อนข้างยาว เจาะรูเป็นช่วง ๆ ใช้ไม้กรับตีให้เกิดเสียง เช่น พิณพาทย์ฆ้องกลองดังทั้งเกราะโกร่ง (อิเหนา). |
ขนาด ๒ | (ขะหฺนาด) น. เครื่องสาดนํ้ารดต้นไม้ โดยมากสานด้วยไม้ไผ่ รูปแบน ๆ มีด้ามสำหรับถือ. |
ข้อ | น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา |
ขังข้อ | ก. ตัดกระบอกไม้ไผ่เป็นต้นให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง. |
ขัดแตะ | ก. เรียกรั้วหรือฝาเรือนที่ใช้ไม้รวกหรือไม้ไผ่ผ่าซีกขัดกัน ว่า รั้วขัดแตะ ฝาขัดแตะ, เรียกเรือนที่มีฝาเอาไม้ไผ่ซีกสอดขัดกับลูกตั้ง ว่า เรือนฝาขัดแตะ. |
ขันโตก | น. ภาชนะทำด้วยไม้กลึง ไม้ไผ่สาน หวาย หรืออย่างเครื่องเขิน ส่วนบนลักษณะคล้ายถาด ส่วนล่างเป็นตีนลักษณะเป็นวงแหวนมีขนาดเล็กกว่าถาดส่วนบน โดยมีซี่ไม้ลูกมะหวดประมาณ ๖ ซี่ปักที่ตีนค้ำถาดไว้ ใช้สำหรับใส่อาหารเป็นต้น, โตก หรือ สะโตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก. |
ข่า ๔ | น. ไม้ที่ทำเป็นร้านขึ้นคร่อมกองไฟสำหรับปิ้งปลา, ไม้ไผ่ขัดเป็นตารางเล็ก ๆ สำหรับวางหรือห้อยอาหารแห้งให้อยู่เหนือเตาไฟในครัว. |
ข้าวหลาม | น. ข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาให้สุก. |
เขิน ๑ | เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจากไทเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน. |
แขนง ๑ | (ขะแหฺนง) น. กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แตกใหม่จากลำของไม้พวกไม้ไผ่, กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แยกออกจากกิ่งใหญ่, โดยปริยายหมายถึงส่วนย่อยที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น วิชาฟิสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์. |
เครื่องเขิน | น. เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจากไทเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน. |
แคร่ ๑ | (แคฺร่) น. ที่สำหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทำด้วยฟากหรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทำเสาเป็นเครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สำหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ |
งอบ | น. เครื่องสวมหัวสำหรับกันแดดและฝน สานด้วยตอกไม้ไผ่ กรุด้านนอกด้วยใบลาน รูปคล้ายกระจาดควํ่า มีรังสำหรับสวม. |
จัก ๑ | ก. ทำให้เป็นแฉก ๆ หรือหยัก ๆ คล้ายฟันเลื่อย, เอาคมมีดผ่าไม้ไผ่หรือหวายให้แตกจากกันเป็นเส้นบาง ๆ. |
จักตอก | ก. เอาคมมีดผ่าไม้ไผ่ให้เป็นเส้นแบนบาง สำหรับใช้ผูกมัดหรือสานสิ่งต่าง ๆ. |
จักสาน | น. เรียกเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวายเป็นต้น ว่า เครื่องจักสาน. |
จำปา | อุปกรณ์สำหรับว่าวจุฬาใช้คว้าว่าวปักเป้า ทำด้วยผิวไม้ไผ่ประมาณ ๔-๕ ชิ้น ยาวประมาณคืบเศษ เหลาปลายให้แหลมงอนเหมือนดอกจำปา แล้วผูกรวมกันเป็นพูติดกับสายป่านต่อจากหน้าซุง |