กระแด็ก ๆ, กระแด๊ก ๆ | ว. อาการที่ดิ้นอยู่กับที่ เช่น ดิ้นกระแด็ก ๆ ชักกระแด็ก ๆ ติดกระแด๊ก ๆ, แด็ก ๆ หรือ แด๊ก ๆ ก็ว่า. |
กระแด้ง | น. เรียกชายหรือหญิงที่เป็นหมันว่า พ่อกระแด้ง แม่กระแด้ง. |
กระแด้ง | ว. คดไปมา. |
กระแด้แร่ | ว. กระแดะ, ดัดจริต, เช่น อย่าทำดื้อกระแด้แร่เลยแม่เอ๋ย (มณีพิชัย). |
กระแด่ว ๆ | ว. อาการที่ดิ้นอย่างทุรนทุรายแต่หาทางไปไม่ได้ ในคำว่า ดิ้นกระแด่ว ๆ, แด่ว ๆ ก็ว่า. |
กระแดะกระแด๋ | ก. ดัดจริตดีดดิ้น, แดะแด๋ ก็ว่า. |
ดักแด้ ๑ | น. ชื่อตัวอ่อนระยะสุดท้ายของแมลงหลายชนิด มีรูปร่างเปลี่ยนไปจากตัวหนอน บางชนิดสร้างปลอกหุ้มตัวรูปร่างแตกต่างกัน เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปกระสวย ทำด้วยเส้นใย เศษใบไม้ หรือดิน เพื่อเจริญไปเป็นตัวเต็มวัย ระยะนี้อยู่กับที่ไม่กินอาหาร, แดกแด้ หรือ แด็กแด้ ก็เรียก. |
ดักแด้ ๒ | ก. ลำบากเต็มแย่, ขัดสนเต็มแย่. |
แด่ | บ. แก่ (ใช้แก่บุคคลหรือสิ่งที่เคารพ). |
แด็ก ๆ, แด๊ก ๆ | ว. อาการที่ดิ้นอยู่กับที่ เช่น ดิ้นแด็ก ๆ ชักแด็ก ๆ ติดแด๊ก ๆ, กระแด็ก ๆ หรือ กระแด๊ก ๆ ก็ว่า. |
แดกแด้, แด็กแด้ | ดู ดักแด้. |
แด่น ๑ | ว. มีขนด่างเป็นดวงที่หน้าของสัตว์บางชนิด เช่น ม้าหน้าแด่น หมาหน้าแด่น. |
แด่น ๒ | ก. แล่น, ไปถึง เช่น ทัพถึงหมื่นถึงแสนแด่นถึงล้าน (ม. คำหลวง มหาราช). |
แด่ว ๆ | ว. อาการที่ดิ้นอย่างทุรนทุรายแต่หาทางไปไม่ได้ในคำว่า ดิ้นแด่ว ๆ, กระแด่ว ๆ ก็ว่า. |
แดะแด๋ | ว. ดัดจริตดีดดิ้น, กระแดะกระแด๋ ก็ว่า. |
อะดักอะเดี้ย, อะดักอะเดื่อ, อะดักอะแด้ | ว. อึดอัดเต็มทน, คับใจเต็มทน. |
กันภัย, กันภัยมหิดล | น. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia mahidoliae Burtt et Chermsir. ในวงศ์ Leguminosae พบทางจังหวัดกาญจนบุรี ใบเป็นใบประกอบ ช่อหนึ่งมีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีนํ้าตาล ดอกเป็นช่อตั้ง สีขาวปนม่วง ฝักสั้นป้อมแบน ๆ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. |
กัลชาญ | (กันละชาน) ว. กลชาญ, เชี่ยวชาญ, เช่น แด่พระผู้กัลชาญพิเศษ (ม. คำหลวง ทศพร). |
จำนอง | ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กำหนด, จำไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง (ลอ). |
ดาโป้งเป้ง | น. ชื่อแมลงพวกมวนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Nepidae ที่พบบ่อยอยู่ในสกุล Laccotrephesเช่น ชนิด L. ruberLinn. และ L. robustus Stål ลำตัวยาว ๓-๔ เซนติเมตร มีหางยาวยื่นออกมา ๒ เส้น ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ ขาคู่หน้าแข็งแรง จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่นลูกน้ำหรือดักแด้ยุงกิน, มวนแมงป่องน้ำ หรือ แมลงดาโป้งเป้ง ก็เรียก, พายัพเรียก ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว, อีสานเรียก แมงฮอด อีงอด งอดน้ำ หรือ กะโซ่น้ำ, ปักษ์ใต้เรียก แมลงจิ้มฟันจระเข้ หรือ แมลงดาขี้ควาย. |
ด่าว | ว. อาการดิ้นอย่างดิ้นแด่ว ๆ, เด่า หรือ เด่า ๆ ก็ว่า. |
ด่าวดิ้น | ก. ดิ้นแด่ว ๆ เช่น ล้มลงด่าวดิ้นสิ้นกำลัง มอดม้วยชีวังปลดปลง (อิเหนา ศึกกะหมังกุหนิง). |
เด็กชา | น. บุตรชายของข้าราชการหรือคหบดีที่ยังเยาว์วัยได้รับการนำขึ้นถวายตัวแด่พระเจ้าอยู่หัวสำหรับทรงใช้สอยโดยการเข้าสังกัดอยู่ในกรมมหาดเล็กแต่ยังมิใช่ข้าราชการ. |
ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง | น. เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้ทองต้นไม้เงินเป็นคู่ ซึ่งประเทศราชส่งมาถวายแด่พระเจ้าแผ่นดินทุก ๆ ๓ ปี |
ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง | เครื่องสักการะที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายแด่พระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับพระราชทานตั้งยศ. |
ตัณหักษัย | (ตันหักไส) ก. สิ้นตัณหา, หมดตัณหา, เช่น แด่ท้าวผู้ตัณหักษัย (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย | ก. ถวาย (ใช้แก่สิ่งของเล็กหรือของที่ยกได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เขียนว่า ทูลเกล้าฯ ถวาย ก็ได้ แต่ต้องอ่านว่า ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย. |
เทววาจิกสรณคมน์ | (ทะเววาจิกะสะระนะคม) น. การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ เป็นสรณคมน์ที่ตปุสสะและภัลลิกะกล่าวหลังจากที่ได้ถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงแด่พระพุทธเจ้าในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากตรัสรู้. |
น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย | ก. ถวาย (ใช้แก่สิ่งของใหญ่หรือของที่ยกขึ้นให้ไม่ได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เขียนว่า น้อมเกล้าฯ ถวาย ก็ได้ แต่ต้องอ่านว่า น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย. |
นิล ๒ | (นิน) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Oreochromis niloticus (Linn.) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ แต่มีลำตัวสีเขียวหรือฟ้าปนน้ำตาล มีจุดดำด่างทั่วตัว ปลาขนาดเล็กจะมีลายเข้มพาดขวางลำตัว ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีลายหรือแนวจุดสีคลํ้าหรือขาวพาดขวางหรือทแยงอยู่โดยตลอด ขนาดยาวได้ถึง ๔๖ เซนติเมตร ทำรังเป็นแอ่งดินและปกป้องดูแลลูกอ่อนไว้ในโพรงปาก สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า ปลานิล. |
บุ้ง ๑ | น. ชื่อหนอนผีเสื้อกลางคืนหลายชนิดหลายวงศ์ ในอันดับ Lepidoptera มีขนอ่อนปกคลุมตามตัว เมื่อถูกตัวจะเกิดระคายเคือง เมื่อเจริญวัยเปลี่ยนเป็นดักแด้และออกมาเป็นผีเสื้อกลางคืน เช่น ชนิด Leucoma ochripesMoore ในวงศ์ Lymantriidae, ชนิด Ceratonotos transiensWalker ในวงศ์ Arctiidae. |
ร่าน ๑ | น. ชื่อหนอนผีเสื้อกลางคืนหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Limacodidae มีขนแข็งคล้ายหนามปกคลุมทั้งตัวหรือเป็นกระจุก ปลายขนมีต่อมน้ำพิษเมื่อถูกตัวจะเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน เมื่อเจริญวัยเปลี่ยนเป็นดักแด้และออกมาเป็นผีเสื้อกลางคืน เช่น ชนิด Parasa lepida (Cramer), ชนิด Miresa albipuncta (Herrich-Schäffer), เขียวหวาน ก็เรียก. |
วงจรชีวิต | น. การเวียนว่ายตายเกิด, ลักษณาการของชีวิตที่มีพัฒนาการเป็นขั้น ๆ ไปตามลำดับและในที่สุดก็จะเวียนมาบรรจบ ณ จุดเริ่มต้นใหม่ แล้วเวียนซ้ำต่อไปอีก เช่น ผีเสื้อออกไข่ แล้วไข่กลายเป็นตัวหนอน หนอนกลายเป็นดักแด้ ดักแด้กลายเป็นผีเสื้อ แล้วผีเสื้อก็ออกไข่ ฯลฯ. |
ไหม ๑ | น. ชื่อผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์ Bombycidae ตัวอ้วนป้อมมีขนสีขาวและสีครีมคลุมเต็ม ปีกมีลายเส้นสีนํ้าตาลอ่อนพาดตามขวางหลายเส้น ตัวหนอนสีขาวหรือสีครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายเขาที่ปลายหาง กินใบหม่อนได้อย่างเดียว เมื่อโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้ ซึ่งใยนี้สามารถสาวเป็นเส้นไหมนำมาทอเป็นเสื้อผ้าได้, ใยของสัตว์ชนิดนี้ก็เรียกว่า ไหม |
อ้ายโม่ง | น. ชื่อเรียกดักแด้ยุง ในวงศ์ Culicidae ส่วนหัวและอกขยายใหญ่ มีท่อหายใจ ๒ ท่ออยู่บนส่วนอก ต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำ เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว. |