Light Oil | น้ำมันดิบที่มีความหนาแน่นน้อยและมีค่า API อยู่ระหว่าง 35-45 องศา , น้ำมันดิบที่มีความหนาแน่นน้อยและมีค่า API อยู่ระหว่าง 35-45 องศา ภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต (ultraviolet light) จะเป็นสีขาว [ปิโตรเลี่ยม] |
Thermal radiation | รังสีเทอร์มัล, รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกจากลูกไฟจากการระเบิดทางนิวเคลียร์ ซึ่งมีอุณหภูมิสูงมาก รังสีเทอร์มัลอยู่ในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต รังสีอินฟราเรด และแสงสว่าง คิดเป็นร้อยละ 35 ของพลังงานทั้งหมดจากการระเบิด [นิวเคลียร์] |
Ultraviolet spectra | อัลตราไวโอเลต สเปกตรา [TU Subject Heading] |
Ultraviolet spectroscopy | อัลตราไวโอเลต สเปกโตรสโคปี [TU Subject Heading] |
Ultraviolet Ray | แสงอัลตราไวโอเลต, Example: แสงที่มองไม่เห็นเหนือแสงสีม่วงในสเปคตรัม มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 10900 A [สิ่งแวดล้อม] |
Ultraviolet Radiation | การแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต, Example: การแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต [สิ่งแวดล้อม] |
Chlorosulfonated polyethlene rubber | ยาง CSM เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างพอลิเอทิลีนและ ของผสมของก๊าซคลอรีน (Cl2) กับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) มีหลายเกรดขึ้นกับปริมาณคลอรีนในโมเลกุล สมบัติเชิงกลของยางชนิดนี้ค่อนข้างดี ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากโอโซนและสภาพอากาศได้อย่างดีเยี่ยม ทนต่อการเปลี่ยนสี (discoloration) อันเนื่องมาจากแสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ได้ดีอีกด้วย แต่สามารถทนต่อน้ำมันได้ปานกลางถึงดี ทนต่อกรดและสารเคมีต่างๆ ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนได้ดีเยี่ยม และยังทนต่อน้ำร้อนได้ดี แต่มีข้อจำกัดคือ มีค่า compression set ที่ต่ำ และการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำขึ้นกับปริมาณของคลอรีน ถ้าปริมาณของคลอรีนสูงสมบัติการหักงอของยางที่อุณหภูมิต่ำจะด้อยลง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยางชนิดนี้ ได้แก่ ปลอกหุ้มสายเคเบิล ท่อยาง ยางหุ้มลูกกลิ้ง ยงบุผนัง ท่อที่ต้องทนต่อกรด แผ่นยางมุงหลังคา แผ่นยางรองสระน้ำ เรือยาง เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Crazing | ลักษณะการเสื่อมสภาพของยางเมื่ออยู่ภายใต้สภาพอากาศทั่วไปนานๆ โดยเฉพาะในภาวะที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแตกขนาดเล็กต่อเนื่องกันแบบไร้ทิศทางที่แน่นอนบนพื้นผิว ของผลิตภัณฑ์ รอยแตกเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายผิวส้มที่เหี่ยวหรือผิวหนังช้าง [เทคโนโลยียาง] |
phosphorescence | การเรืองแสง, การปล่อยแสงจากสารบางชนิดโดยไม่อาศัยความร้อน แต่อาศัยพลังงานรูปอื่น เช่น รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นต้น เมื่อหยุดการให้พลังงาน สารก็ยังคงเปล่งแสงอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับการวาวแสง เมื่อหยุดให้พลังงานสารก็จะหยุดเปล่งแสงทันที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fluorescence | การวาวแสง, การเกิดแสงของสารบางชนิดโดยไม่อาศัยความร้อน แต่อาศัยพลังงานรูปอื่น เช่น รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นต้น สารจะหยุดการเปล่งแสงทันทีเมื่อหยุดการให้พลังงาน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ultraviolet rays [ black light ] | รังสีอัลตราไวโอเลต, แสงเหนือม่วง, รังสีที่มีแสงสีม่วงและรังสีเอกซ์ เป็นรังสีที่ตามองไม่เห็น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แสงดำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
X-rays | รังสีเอกซ์, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นระหว่างรังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีแกมมา รังสีเอกซ์เกิดขึ้นจากการยิงอิเล็กตรอน พลังงานจลน์สูงเข้าชนอะตอมของเป้าโลหะ แล้วอิเล็กตรอนจะมีความเร็วลดลงและคายพลังงานในรูปรังสีเอกซ์ การเกิดรังสีเอกซ์อีกวิธีหนึ่ง คือ อิเล็กตรอนพลั [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electromagnetic spectrum | สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, แถบแสดงความถี่หรือความยาวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ละช่วงมีชื่อต่าง ๆ เช่น คลื่นวิทยุ รังสีอินฟราเรด แสง รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
photosphere | โฟโตสเฟียร์, ชั้นบรรยากาศที่ติดกับผิวของดวงอาทิตย์ มีความหนาประมาณ 400 กิโลเมตรอุณหภูมิส่วนที่ติดผิวดวงอาทิตย์ประมาณ 10, 000 K ส่วนที่ติดกับชั้นโครโมสเฟียร์ประมาณ 4, 200 K แก๊สที่อยู่ในชั้นนี้จะแผ่รังสีออกสู่อวกาศ ได้แก่ รังสีเอกซ์รังสีอัลตราไวโอเลต แสงสว่าง และคลื่นควา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
stratosphere | สตราโตสเฟียร์, ชั้นบรรยากาศถัดขึ้นไปจากโทรโปสเฟียร์จนถึงระยะสูงประมาณ 50 กิโลเมตรเป็นชั้นบรรยากาศที่มีแก๊สโอโซน ซึ่งสามารถดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตของแสงอาทิตย์ไว้ได้มาก ทำให้ไม่เกิดอันตรายต่อพืชและสัตว์ อุณหภูมิของอากาศชั้นนี้ จะสูงขึ้นบ้างจากประมาณ -50° C ที่ระยะต่ำสุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ultraviolet (UV) | อัลตราไวโอเลต, ดู ultraviolet rays [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |