|
| ศาลยุติธรรม | (n) Court of justice, Syn. ศาล, Count Unit: ศาล | ศาลยุติธรรม | (n) Court of Justice, Example: เจ้าพนักงานจะจับกุมพระมหากษัตริย์มิได้ เพราะศาลยุติธรรมจะไม่รับฟ้อง, Count Unit: ศาล, Thai Definition: องค์การฝ่ายตุลาการที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม, Notes: (กฎหมาย) |
| พระธรรมนูญศาลยุติธรรม | น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กรศาลยุติธรรม และกำหนดอำนาจศาล ตลอดจนเขตอำนาจของศาลยุติธรรมต่าง ๆ. | ศาลยุติธรรม | น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง ที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหาร. | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ | น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น. | ขึ้นโรงขึ้นศาล | ก. ฟ้องเป็นคดีความที่ศาลยุติธรรม. | ฎีกา | ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่า ศาลฎีกา | ดะโต๊ะยุติธรรม | น. ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม. | ตีนโรงตีนศาล | ว. เรียกผู้ที่หารายได้โดยรับจ้างเขียนคำร้อง กรอกเอกสารบางอย่าง เป็นต้น ตามศาลยุติธรรม ว่า พวกตีนโรงตีนศาล. | ธรรมนูญ | น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร เช่น ธรรมนูญศาลทหาร พระธรรมนูญศาลยุติธรรม. | ยุติธรรม | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรม แต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี. | ศาลแขวง | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะคนเดียว และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอันจำกัดกว่าศาลชั้นต้นอื่น. | ศาลจังหวัด | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจำในแต่ละจังหวัดหรือในบางอำเภอ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ. | ศาลฎีกา | น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด คำสั่งและคำพิพากษาของศาลฎีกาย่อมเป็นที่สุด. | ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญาอื่น รวมทั้งกิจการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศบางเรื่อง. | ศาลแพ่ง | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมชั้นต้นอื่น ศาลแพ่งมีเขตพื้นที่ตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตพื้นที่ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี แต่คดีที่อยู่นอกเขตพื้นที่ของศาลแพ่ง ศาลแพ่งอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาได้. | ศาลภาษีอากร | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับภาษีอากร. | ศาลเยาวชนและครอบครัว | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดและคดีครอบครัว. | ศาลแรงงาน | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องที่เกี่ยวกับแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง. | ศาลล้มละลาย | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลาย. | ศาลโลก | น. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ. | ศาลสถิตยุติธรรม | น. เป็นคำรวมที่ใช้เรียกศาลยุติธรรมทั้งปวง. | ศาลอาญา | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมชั้นต้นอื่น ศาลอาญา มีเขตพื้นที่ตลอดท้องที่กรุงเทพมหานครนอกจากเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตพื้นที่ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี แต่คดีที่อยู่นอกเขตพื้นที่ของศาลอาญา ศาลอาญาอาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาได้. | ศาลอุทธรณ์ | น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงถัดจากศาลฎีกาลงมา. |
| | International courts | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ [TU Subject Heading] | Diplomatic Language | ภาษาการทูต ในสมัยโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัฐทั้งหลายในสมัยนั้นได้นิยมใช้ภาษาละตินเป็นภาษาการทูตและก็เป็นภาษาเดียว ที่ใช้กันในยุโรปภาคกลางและภาคตะวันตก ต่อมาในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสแทนภาษาละตินเป็นภาษาการทูต และใช้กันตลอดมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งแรก หลังจากเสร็จสงครามโลกครั้งแรกจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐต่างๆ เริ่มนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ก็ยังไม่มีการรับรองเป็นทางการกันว่าให้ใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการทูตใน องค์กรทั้งหมดของสหประชาชาติยกเว้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ใช้ 5 ภาษาเป็นภาษาราชการ คือ ภาษาจีน รัสเซีย สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส ดังนั้น ในการประชุมใด ๆ ณ องค์การสหประชาชาติ หากมีการแถลงเป็นภาษาหนึ่ง ก็จะมีการแปลเป็นอีก 4 ภาษาเกือบพร้อมกันในทันที (Simultaneous Translation) สำหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เพียงสองภาษา [การทูต] | International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ [การทูต] | International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] | Judicial Settlement | การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยศาลตุลาการ ก่อนที่จะเกิดองค์การสหประชาชาติ รัฐทั้งหลายที่มีกรณีพิพาทระหว่างประเทศจะฟ้องร้องต่อศาลระวห่างประเทศแห่ง หนึ่ง มีชื่อว่าศาลประจำยุติธรรมระหว่าประเทศ (Permanent Court of International Justice) ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเป็นเวลา 23 ปี ผู้พิพากษาของศาลก็ได้ลาออกในปีค.ศ. 1946 และสันนิบาตชาติได้ยุบศาลนี้ในปีเดียวกันเมื่อมีการสถาปนาองค์การสหประชา ชาติขึ้น ได้มีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นใหม่ เรียกว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรนี้ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 92 ว่า ?ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจักเป็นองค์กรทางตุลาการอันสำคัญของสหประชาชาติ ศาลจักดำเนินหน้าที่ตามธรรมนูญผนวกท้าย ซึ่งยึดถือธรรมนูญของศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นมูลฐาน และซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับกฎบัตรฉบับปัจจุบัน?ศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศนี้ ประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1946 [การทูต] | Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] | Voting Procedure in the United Nations | วิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ สมาชิกแต่ละประเทศมีคะแนนเสียง 1 คะแนน ข้อมติของสมัชชาในปัญหาสำคัญ (Important Questions) จะกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ที่เรียกว่าปัญหาสำคัญนั้นได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตี การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เพิ่มเติมนั้น จัดกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียงอนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจักต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute majority) ในที่ประชุมของสมัชชาและในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย นอกจากนี้สมาชิกสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินที่ค้างชำระเท่าหรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุงที่ถึงกำหนด ชำระสำหรับ 2 ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตาม สมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้น เนื่องมาจากภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น [การทูต] |
| There's no court in this country for men like Prothero. | ไม่มีศาลยุติธรรม สำหรับคนอย่าง โพรเทโร. V for Vendetta (2005) | You really believe Jack Bauer wants to trust some toothless international tribunal to mete out justice to the people who killed Renee? | คุณเชื่อแจ๊ค บาวเออร์จริงๆเหรอว่า ต้องเชื่อในระบบศาลยุติธรรม ที่จะตัดสินลงโทษคนที่ฆ่าเรเน? Day 8: 11:00 a.m.-12:00 p.m. (2010) | Jeong Seong Jin, Head of the Judiciary Training Institute | จอง ซอง จิน หัวหน้าสถาบันฝึกอบรมศาลยุติธรรม Prosecutor Princess (2010) | Ours isn't a court of justice, Ms. Lance. | ศาลนี้ไม่ใช่ศาลยุติธรรม คุณแลนซ์ An Innocent Man (2012) | There's been an explosion at Colonial Liberty Bank in the judicial district. | มีการระเบิดเกิดขึ้น ที่ธนาคารโคโลเนียลลิเบอร์ตี้ ซึ่งอยู่ในเขตที่ทำการศาลยุติธรรม Hit (2012) | He must face a fairy tribunal for his sins. | เขาต้องเผชิญกับศาลยุติธรรมของนางฟ้า สำหรับบาปที่เขาก่อ LARP and the Real Girl (2013) | The Sixth Circuit, the Commonwealth of Virginia, the Honorable Special Justice William Chesney. | วงจรที่ 6 จักรภพ เวอร์จิเนียม ศาลยุติธรรมพิเศษ วิลเลี่ยม เชสนี่ Uh... Oh... Ah... (2013) | Police, CBI, D.O.J. | ตำรวจ ซีบีไอ ศาลยุติธรรม Red Listed (2013) | Now normally, in a court of law, we have trouble provin' who the father is, but in this strange, strange case, | ทีนี้ตามปกติในศาลยุติธรรม เรามีปัญหาการพิสูจน์ว่าใครเป็นพ่อ แต่ในคดีแปลกๆ นี้ Free State of Jones (2016) |
| พระธรรมนูญศาลยุติธรรม | [phrathammanūn sān yuttitham] (n, exp) EN: law on court oranization ; basic law on the judiciary | ศาลยุติธรรม | [sān yuttitham] (n, exp) EN: Court of justice ; law court FR: cour de justice [ f ] | ศาลยุติธรรมแห่งยุโรป | [Sān Yuttitham Haeng Yurōp] (org) EN: European Court of Justice (ECJ) FR: Cour de justice européenne [ f ] ; Cour de justice de l'Union européenne (CJUE) [ f ] |
| Central Bankruptcy Court | (n, name, org, uniq) ศาลล้มละลายกลาง เป็นศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ - อ้างอิงจากhttp://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html |
| | forensic | (ฟอเรน'ซิค) adj. (เกี่ยวกับ) กฎหมาย, ศาลยุติธรรม, การเล่นสำนวนโวหาร, See also: forensics n. วิชาเกี่ยวกับศิลปะแห่งการพูดหรือเขียนเพื่อจูงใจคน forensicality n. forensicsally adv. | judicature | (จู'ดะเคเชอะ) n. การพิจารณาอรรถคดีตามกฎหมาย, ผู้พิพากษาทั้งหลาย, อำนาจในการพิพากศาอรรถคดี, ศาลยุติธรรม, กฎหมาย | judicial | (จูดิช'เชิล) adj. เกี่ยวกับการตัดสินอรรถคดีตามกฎหมาย, เกี่ยวกับศาลยุติธรรม, เกี่ยวกับผู้พิพากษา, เกี่ยวกับกฎหมาย, ซึ่งเกิดจากพระผู้เป็นเจ้า, Syn. legal, juridical | judiciary | (จูดิช'ชีเออรี) adj. เกี่ยวกับการตัดสินอรรถคดีของศาลยุติธรรม, เกี่ยวกับกฎหมาย, เกี่ยวกับผู้พิพากษา n. การพิจารณาคดีตามกฎหมาย, ศาลยุติธรรม, ระบบศาล, การะทรวงยุติธรรม, ผู้พิพากษาทั้ง, หลาย, Syn. legal, discerning | justiciary | (จัสทิช'ชีเออรี) adj. เกี่ยวกับการพิจารณาอรรถคดีโดยศาลยุติธรรม n. ที่ทำการหรืออำนาจหน้าที่ของตุลาการ | tribunal | (ไทรบิว'เนิล) n. ศาลยุติธรรม, บัลลังก์ตุลาการ, บัลลังก์พิจารณาพิพากษาอรรถคดี |
| Court Officer | เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม | European Court of Justice | (name) ศาลยุติธรรมยุโรป | ศาลล้มละลายกลาง | (n, org, uniq) ศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ http://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html | ศาลล้มละลายกลาง | (n, org, uniq) ศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ http://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html |
|
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |