กน ๑ | น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด ว่า มาตรากนหรือแม่กน. |
ก่น ๑ | ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กระจ้อน ๑ | น. ชื่อกระรอกชนิด Menetes berdmorei (Blyth) ในวงศ์ Sciuridae ขนสีนํ้าตาล มีลายสีดำและนํ้าตาลอ่อนตามยาวข้าง ๆ ตัว หางเป็นพวง มักวิ่งหากินตามพื้นดิน, จ้อน ก็เรียก. |
กระชอน ๑ | น. เครื่องกรอง โดยปรกติสานด้วยผิวไม้ไผ่ ใช้กรองกะทิเป็นต้น. |
กระดาน ๑ | น. ไม้ซุงที่เลื่อยออกเป็นแผ่น ๆ |
กระดาน ๑ | ลักษณนามเรียกการแข่งขันที่เดินบนตากระดานซึ่งถึงที่สุดแล้ว เช่น เล่นหมากรุกชนะ ๒ กระดาน |
กระดาน ๑ | กระดานดำ เช่น ครูเขียนการบ้านไว้บนกระดาน |
กระดาน ๑ | โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะอย่างกระดาน. |
กระท้อน ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sandoricumkoetjape (Burm. f.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ผลค่อนข้างกลม เปลือกนุ่ม สีเหลือง เนื้อกินได้, สะท้อน ก็เรียก, พายัพเรียก มะต้อง หรือ มะตื๋น. |
กระวาน ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum testaceum Ridl. ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลค่อนข้างกลม สีนวล มี ๓ พู มีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหารและทำยา. |
กระวาน ๑ | ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็นเครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา. |
กระวิน ๑ | น. ห่วงที่เกี่ยวกันสำหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียน หรือเหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. |
กระเวน ๑ | ก. ตระเวน, ตะเวน หรือ ทะเวน ก็ว่า. |
กรัน ๑ | (กฺรัน) ว. เล็ก, แคระ, เช่น กรวดกรันขราราย (สุธน). |
กราน ๑ | (กฺราน) น. ไฟ เช่น เชิงกราน, ธุมาก็ปรากฏแก่กราน (กฤษณา). |
กลอน ๑ | (กฺลอน) น. ไม้ขัดประตูหน้าต่าง, ดาล, เครื่องสลักประตูหน้าต่าง |
กลอน ๑ | ไม้ที่พาดบนแปสำหรับวางเครื่องมุงหลังคาจากเป็นต้น. |
กลิ่น ๑ | (กฺลิ่น) น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น แกงหม้อนี้เริ่มมีกลิ่น, โดยปริยายหมายความว่า ลักษณะไม่น่าไว้วางใจ เช่น เรื่องนี้ชักมีกลิ่น การประมูลครั้งนี้เริ่มส่งกลิ่น. |
กวน ๑ | ก. รบกวนทำให้เกิดความรำคาญ เช่น กวนใจ, ก่อกวนทำให้วุ่นวาย เช่น กวนบ้านกวนเมือง, ชวนให้เกิดความรำคาญ ชวนให้ทำร้าย เช่น กวนมือ กวนตีน. |
กว้าน ๑ | (กฺว้าน) น. ตึกแถวชั้นเดียว ส่วนใหญ่เป็นร้านค้า, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตึก เป็น ตึกกว้าน เช่น เรือนริมรัถยาฝากระดาน ตึกกว้านบ้านขุนนางนองเนือง (อิเหนา). |
กะล่อน ๑ | น. ชื่อมะม่วงชนิด Mangifera caloneura Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ผลเล็ก เนื้อไม่มีเสี้ยน เมื่อสุกมีกลิ่นหอมแรง, ขี้ไต้ ก็เรียก. |
กัน ๑ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อยในทำนองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, เช่น กันจะไปรอที่สถานีรถไฟ. |
ก้าน ๑ | น. ส่วนที่ต่อดอก หรือใบ หรือผล กับกิ่งไม้, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้านตุ้มหู ก้านไม้ขีด |
ก้าน ๑ | กระดูกกลางแห่งใบไม้บางอย่าง เช่น มะพร้าว จาก. |
การ์ตูน ๑ | น. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน, หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆ มีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย. |
กำปั่น ๑ | น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า กำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอนํ้า เรียกว่า กำปั่นไฟ. |
กำแพงเจ็ดชั้น ๑ | น. ชื่อมนตร์. |
กำแพงเจ็ดชั้น ๑ | ดูใน กำแพง. |
กำยาน ๑ | น. วัตถุหอมชนิดหนึ่ง เกิดจากยางใสกลิ่นหอมที่ออกจากเปลือกของต้นกำยานบางชนิด เกิดขึ้นได้เนื่องจากเปลือกถูกกรีดหรือมีราลง ก็จะขับยางใสกลิ่นหอมออกมา เมื่อแห้งจะแข็งติดอยู่กับลำต้น แกะออกมาได้. |
กุ้งเต้น ๑ | น. ชื่ออาหารประเภทกับแกล้ม ใช้กุ้งแม่น้ำที่ยังสด ผ่าหลัง ราดด้วยน้ำมะนาว กินกับน้ำจิ้ม, ชื่ออาหารประเภทกับแกล้ม ใช้กุ้งฝอยเป็น ๆ บีบมะนาว ปรุงด้วยพริกตำและน้ำปลา. |
กุ้งเต้น ๑ | ดูใน กุ้ง ๑. |
เกน ๑ | น. นาง. |
เกริ่น ๑ | (เกฺริ่น) ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนำในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิงให้ร้องตอบ |
เกริ่น ๑ | ร้องหา, เรียกหา, เช่น นกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น. |
เกรียน ๑ | (เกฺรียน) ว. สั้นเกือบติดหนังหัว ผิวหนัง หรือพื้นที่ เช่น ผมเกรียน หมาขนเกรียน หญ้าเกรียน. |
เกลื่อน ๑ | (เกฺลื่อน) ว. เรี่ยรายหรือกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ลอยเกลื่อน หล่นเกลื่อน. |
โกน ๑ | น. ลูก. |
ขน ๑ | น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา. |
ขนอน ๑ | (ขะหฺนอน) น. สถานที่ซึ่งตั้งอยู่ในเส้นทางเข้าออกเมืองหรือเขตแดน เพื่อตรวจคนเข้าออก ผู้ลักลอบผ่านด่าน สิ่งของหรือสินค้าต้องห้าม และเรียกเก็บภาษีอากรสินค้า, ที่คอยเหตุและคนแปลกปลอม. |
ขนัน ๑ | (ขะหฺนัน) น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง, คู่กับ ขนุน. |
ขนาน ๑ | (ขะหฺนาน) น. หมู่ |
ขนาน ๑ | ลักษณนามเรียกยาที่ปรุงขึ้น เช่น ยาขนานหนึ่ง ยา ๒ ขนาน. |
ขนุน ๑ | (ขะหฺนุน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด. |
ขมิ้น ๑ | (ขะมิ่น) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma longa L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทำยา ทำผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น. |
ขยัน ๑ | (ขะหฺยัน) ก. ทำการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทำหรือประพฤติเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, ไม่เกียจคร้าน |
ขยัน ๑ | แข็งแรง, เข้าที, เช่น เนื้อหนังขยันมั่นคงนัก (อิเหนา), พอกํ้ากึ่งกลางนั้นขยันนัก (เพลงยาวถวายโอวาท). |
ขวัญอ่อน ๑ | น. เรียกผู้ตกใจง่าย คือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน. |
ขวัญอ่อน ๑ | ดูใน ขวัญ. |
ขวาน ๑ | (ขฺวาน) น. เครื่องมือสำหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทำด้วยเหล็กมีสันหนาใหญ่, ถ้าบ้องที่หัวบิดได้ สำหรับตัดและถาก เรียกว่า ขวานโยน ขวานปูลู หรือ ขวานปุลู, ถ้าด้ามสั้น สันหนา มีบ้องยาวตามสัน เป็นเครื่องมือของช่างไม้ ใช้ตัด ถาก ฟัน เรียกว่า ขวานหมู, ถ้าด้ามยาว ใบขวานใหญ่ เรียกว่า ขวานผ่าฟืน |
ขวาน ๑ | หมอนที่ทำหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายขวาน ใช้อิง เรียกว่า หมอนขวาน. |