Search result for

*จัดหมู่*

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: จัดหมู่, -จัดหมู่-
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
blood grouping; blood typingการจัดหมู่เลือด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
blood typing; blood groupingการจัดหมู่เลือด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
combinationการจัดหมู่ [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Dewey Decimal Classificationการจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ [เทคโนโลยีการศึกษา]
Library classificationการจัดหมู่หนังสือ, Example: เดิมห้องสมุดส่วนใหญ่จัดเก็บหนังสือ ตามขนาดของหนังสือ ตามสีของปก หรือตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือ ต่อมา ได้มีผู้คิดระบบจัดหมู่หนังสือขึ้น โดยแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ โดยมีพัฒนาการ ดังนี้ <p> <p>1. สมัยโบราณ <p><p> 1.1 ชาวอัสซีเรียน เชื่อกันว่า ชาวอัสซีเรียนเป็นพวกที่เริ่มวิธีการจัดหมู่อย่างเป็นแบบแผน ในสมัยพระเจ้าอัสซูบานิปาล มีการจัดกลุ่มแท่งดินเหนียวในห้องสมุดแห่งเมืองนิเนเวห์ออกเป็น 2 หมวดใหญ่แบ่งตามเนื้อเรื่อง คือ เรื่องราวทางโลก และ เรื่องราวทางสวรรค์ <p><p> 1.2 ชาวโรมัน ห้องสมุดในสมัยโรมัน มีการแบ่งแยกหนังสือตามประเภทของผู้เขียน เป็น 2 หมวด คือ หนังสือของพวกนักเขียนนอกศาสนา และหนังสือของพวกนักเขียนที่นับถือศาสนาคริสต์หรือนักบวช <p><p> 1.3 ชาวอียิปต์ คัลลิมาคัส ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ของห้องสมุดอเล็กซานเดรีย จัดแบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่ คือ กวีนิพนธ์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา วาทศิลป์ และเบ็ดเตล็ด <p> 2 สมัยกลาง อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก คิดระบบการจัดแบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 3 ภาคได้แก่ <p><p> - ความรู้ภาคปฏิบัติ (Practical หรือ Ethical) ประกอบด้วย วิชาเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ <p><p> - ความรู้ในทางสร้างสรรค์ (Productive หรือ Creative) ประกอบด้วย วิชากวีนิพนธ์ และศิลปะ <p><p> - ความรู้ภาคทฤษฎี (Theoretical) ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเทววิทยา <p> 3. สมัยศตวรรษที่ 16 คอนราด เกสเนอร์ (Conrad Gesner) เขียนหนังสือชื่อ Bibliotheca Universalis ซึ่งเป็นบรรณานุกรมที่รวบรวมรายชื่อหนังสือภาษาลาติน กรีก และฮินดู จัดเรียงตามรายชื่อหนังสือตามลำดับหัวข้อวิชา โดยแบ่งออกเป็น 21 หัวข้อ <p> 4. สมัยศตวรรษที่ 17 เซอร์ ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon) ได้เขียนหนังสือชื่อ The Advancement of Learning ขึ้นในปี ค.ศ. 1605 โดยเบคอนมีความคิดว่า มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดเป็น 3 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนมีผลทำให้เกิดความรู้ขึ้น ได้แก่ ส่วนที่ 1 ความจำ (Memory) ทำให้เกิดวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนที่ 2 จินตนาการ (Imagination) ทำให้เกิดวิชาร้อยกรอง และ ส่วนที่ 3 เหตุผล (Reason) ทำให้เกิดวิชาปรัชญา <p> จากแนวความคิดนี้เอง ประธานาธิบดี โธมัส เจฟเฟอสัน (Thomas Jefferson) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้นำมาจัดทำเป็นระบบจัดหมู่หนังสือในห้องสมุดส่วนตัว ซึ่งต่อมาก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นระบบจัดหมู่หนังสือในหอสมุดรัฐสภาอเมริกันในยุคแรก <p> 5. สมัยศตวรรษที่ 18 กุสตาฟ บูรเนต์ (Gustave Brunet) ชาวฝรั่งเศส เขียนหนังสือคู่มือการจัดหมู่หนังสือและห้องสมุดชื่อ Manuel du Libraire et d l' Amateur de Livres โดยแบ่งความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่คือ เทววิทยา นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดี <p> 6. สมัยศตวรรษที่ 19-20 ได้มีผู้คิดระบบจัดหมู่หนังสือเพื่อใช้ในห้องสมุดอย่างจริงจังหลายระบบ ได้แก่ <p><p> ค.ศ. 1876 ระบบทศนิยมดิวอี้ <p><p>ค.ศ. 1891 ระบบเอ็กแพนซีฟ <p><p>ค.ศ. 1901 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p><p>ค.ศ. 1905 ระบบทศนิยมสากล <p><p> ค.ศ. 1906 ระบบซับเจ็ค <p><p> ค.ศ. 1933 ระบบโคลอน <p><p> ค.ศ. 1935 ระบบบิบลิโอกราฟิค <p> ระบบการจัดหมู่ในระยะแรกมีแนวคิดในการแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่อย่างมีเหตุผลตามแนวทฤษฎี จึงเรียกว่า ระบบทฤษฎี (Theoretical system) ต่อมาในศตวรรษที่ 20 แนวความคิดเปลี่ยนเป็นการคำนึงถึงหนังสือที่มีอยู่จริงในห้องสมุด จึงเรียกว่า ระบบปฏิบัติ (Practical system) <p> บรรณานุกรม <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์. แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์. 2520. ประวัติการทำบัตรรายการและการจัดหมู่หนังสือ. เอกสารบรรณารักษศาสตร์ เล่ม 19. กรุงเทพฯ : แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. <p> Wynar, Bohdan S. 1985. Introduction to Cataloging and Classification. 7th ed. Littletob, Colo. : Libraries Unlimited. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Decimal classificationการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Dewey Decimal Classificationการจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Classification, Library of Congressระบบการจัดหมู่รัฐสภาอเมริกัน, การวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน, Example: ระบบการจัดหมู่รัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classficiation - LC) หรือเรียกสั้นๆ ว่า LC หรือระบบ LCC เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดหมู่หนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> ในระยะแรกก่อตั้งหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เมื่อปี ค.ศ. 1800 ระบบจัดหมู่หนังสือที่ใช้อยู่นั้น คิดขึ้นโดยจอห์น เบคเลย์ (John Beckley) โดยจัดหนังสือตามขนาดหน้ายก หนังสือขนาดเดียวกันจัดเรียงตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือ <p> ต่อมาในปี ค.ศ. 1812 เมื่อหนังสือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนเป็นวิธีการจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง โดยนำระบบจัดหมู่หนังสือของ The Library Company of Philadelphia มาใช้ แบ่งเนื้อเรื่องเป็น 18 หมวด เมื่อห้องสมุดไฟไหม้ จึงได้จัดซื้อหนังสือจำนวน 6, 487 เล่มจากห้องสมุดส่วนตัวของประธานาธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน โดยคิดระบบตามที่ประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สัน โดยแบ่งออกเป็น 44 หมวด <p> จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1890 เมื่อมีหนังสือเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ บรรณารักษ์ของหอสมุดในขณะนั้น คือ จอห์น รัสเซล ยัง (John Russell Young)คิดว่าระบบเดิมไม่เหมาะสม ควรคิดหาระบบใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสมมากขึ้น จึงมอบหมายให้ เจมส์ แฮนสัน (James Hanson) และ ชาร์ลส์ มาร์แตล (Charles Martel) ศึกษาหาแนวทางที่จะสร้างระบบจัดหมู่หนังสือใหม่เพื่อใช้ในหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> การศึกษาอย่างจริงจังได้เริ่มเมื่อ เฮอร์เบิร์ต พุตนัม (Herbert Putnum) เข้ามาดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์ในปี ค.ศ. 1899 และยังคงมอบหมายให้ แฮนสันและมาร์แตลรับศึกษาต่อไป โดยนำระบบ 3 ระบบ คือ ระบบทศนิยมดิวอี้ ระบบเอ็กแพนซีฟ และระบบจัดหมู่หนังสือของเยอรมัน ชื่อ Halle Schema ของออตโต ฮาร์ตวิก (Otto Hartwig) พบว่า ระบบเอ็กแพนซีฟมีความเหมาะสมมาก เนื่องจากการจัดหมวดหมู่กว้างขวางและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายทุกๆ หมวดตามต้องการ สัญลักษณ์ที่ใช้สามารถขยายได้ทั้งชนิดที่เป็นตัวอักษรและตัวเลข เพราะเป็นสัญลักษณ์ผสม เหมาะกับหอสมุดรัฐสภาอเมริกันซึ่งมีหนังสือจำนวนมาก จึงได้จัดทำระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันขึ้นโดยยึดหลักการของระบบเอ็กแพนซีฟ <p> มีการจัดทำหมวด Z เป็นหมวดแรก เมื่อปี ค.ศ. 1902 <p> ลักษณะทั่วไปของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p>1. ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันเป็นระบบที่คิดขึ้นโดยจัดแบ่งหมวดหมู่ตามสาขาวิชาความรู้ที่มีอยู่จริงของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p>2. สัญลักษณ์เป็นสัญลักษณ์ผสมระหว่างตัวอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่และเลขอารบิค โดยอักษรโรมันตัวใหญ่หนึ่งตัวแทนหมวดใหญ่และเพิ่มอักษรโรมันตัวใหญ่อีกหนึ่งหรือสองตัวแทนหมวดย่อย (ยกเว้นหมวด E-F และ Z) และแบ่งหมู่ย่อยต่อไปอีก โดยใช้เลขอารบิคจาก 1-9999 รวมทั้งขยายโดยใช้จุดทศนิยม <p>3. แผนการจัดหมวดหมู่จัดแบ่งวิชาความรู้ในสาขาต่างๆ โดยเริ่มจากเรื่องทั่วไปสู่เรื่องที่เฉพาะยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ <p>3.1 การแบ่งครั้งที่ 1 เป็นการแบ่งเนื้อหาวิชาเป็น 20 หมวดใหญ่ (Main class) โดยใช้อักษรตัวเดียวโดดๆ A-Z ยกเว้น I, O, W, X, Y <p>A ความรู้ทั่วไป (General Works) <p>B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion) <p>C ศาสตร์ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary sciences of history) <p>D ประวัติศาสตร์ : เรื่องทั่วไปและประวัติศาสตร์โลกเก่า (History : general and old world) <p>E-F ประวัติศาสตร์ : อเมริกา (History : America) <p>G ภูมิศาสตร์ แผนที่ มานุษยวิทยา นันทนาการ (Geography, Maps, Anthropology, Recreation) <p>H สังคมศาสตร์ (Social science) <p>J รัฐศาสตร์ (Political science) <p>K กฎหมาย (Law) <p>L การศึกษา (Education) <p>M ดนตรี (Music) <p>N ศิลปกรรม (Fine Arts) <p>P ภาษาและวรรณคดี (Languages and Literature) <p>Q วิทยาศาสตร์ (Sciences) <p>R แพทยศาสตร์ (Medicines) <p>S เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p>T เทคโนโลยี (Technology) <p>U ยุทธศาสตร์ (Military science) <p>V นาวิกศาสตร์ (Naval science) <p>Z บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library science) <p>3.2 การแบ่งครั้งที่ 2 เป็นการแบ่งหมวดย่อย (subclass) ตามสาขาวิชา โดยใช้ตัวอักษรโรมันตั้งแต่ 2 ตัว ถึง 3 ตัว เป็นสัญลักษณ์ และใช้หลักการเรียงลำดับตามตัวอักษร A-Z ยกเว้นหมวด Z จะไม่มีการแบ่งครั้งที่ 2 เช่น หมวด Q แบ่งออกเป็นหมวดย่อย 12 หมวดดังนี้คือ <p>Q วิทยาศาสตร์ (Science) <p> QA คณิตศาสตร์ (Mathematics) <p> QB ดาราศาสตร์ (Astronomy) <p> QC ฟิสิกส์ (Physics) <p> QD เคมี (Chemistry) <p> QE ธรณีวิทยา (Geology) <p> QH ธรรมชาติวิทยา (Natural History) <p> QK พฤกษศาสตร์ (Botany) <p> QL สัตววิทยา (Zoology) <p> QM กายวิภาคศาสตร์ (Human Anatomy) <p> QP สรีรวิทยา (Physiology) <p> QR จุลชีววิทยา (Microbiology) <p> ซึ่งยังคงแบ่งต่อไปได้อีก เมื่อต้องการขยายเลขหมู่เพิ่มในภายหลัง <p> 3.3 การแบ่งครั้งที่ 3 คือ การแบ่งออกเป็น หมู่ (division) โดยใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1-9999 ประกอบตัวอักษรโรมัน ในแต่ละหมู่จะมีจำนวนการแบ่งเป็นหมู่ย่อยไม่เท่ากัน เช่น หมวด LA จะแบ่งเป็น LA1-LA 2397 หรือ หมวด HV จะแบ่งเป็น HV 1-HV 9920 เป็นต้น สามารถที่จะขยายเลขหมู่สำหรับวิชาการที่จะเพิ่มใหม่ การแบ่งครั้งที่ 3 มี 2 ลักษณะ คือ <p> 3.3.1 การแบ่งโดยใช้เลขทศนิยม คือ การนำเอาเลขทศนิยมมาขยายเลขย่อยในกลุ่มนั้น ให้ได้เลขหมู่เพิ่มขึ้นสำหรับเนื้อหาวิชาที่ควรจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน <p> 3.3.2 การแบ่งโดยใช้เลขคัตเตอร์ คือ การใช้ตัวอักษรและตัวเลขสำหรับการแบ่งย่อยเนื้อหาที่ละเอียดลงไปอีก เช่น การแบ่งย่อยตามชื่อทางภูมิศาสตร์ (geographical name) และการแบ่งย่อยตามรายชื่อเนื้อหาวิชาเฉพาะ (special topics) และการแบ่งตามเลขคัตเตอร์สำรองที่ได้กำหนดไว้แล้ว <p> ตัวอย่าง HF 5438.5 HF เป็นหมวดย่อยของ H คือ สังคมศาสตร์ ซึ่ง HF เป็นหมู่ย่อย หมายถึง การค้า (Commerce) และแบ่งออกเป็นหมู่ คือ 5438 หมายถึง การขาย (Selling) จากนั้นแบ่งโดยใช้เลขทศนิยม คือ .5 หมายถึง การส่งเสริมการขาย (Sales promotion) <p> ตัวอย่าง ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี <p> DS เป็นเลขหมู่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย <p> 575 แบ่งย่อยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางการเมืองและการทูต <p> .5 แบ่งย่อยเป็นความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ A-Z <p> .J3 ประเทศญี่ปุ่น (Japan = .J3) <p> จะได้เลขหมู่เป็น DS 575.5.J3 ปัจจุบัน หนังสือคู่มือหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกันมีทั้งแบบสิ่งพิมพ์และแบบออนไลน์ <p> บรรณานุกรม <p> Library of Congress. Library of Congress Classification Outline. 2011. [ Online ] Retrieve from: http://www.loc.gov/catdir/cpso/lcco/. Accessed 20110516. <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> กมลา รุ่งอุทัย. 2533. การวิเคราะห์สารนิเทศระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การวิเคราะห์สารนิเทศ หน้า 219-281. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. <p> อัมพร ทีขะระ. 2532. คู่มือการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาััลัย. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Blood grouping and crossmatchingการจัดหมู่เลือดและการทดสอบการเข้ากันได้ [TU Subject Heading]
Classification systemระบบจัดหมู่ของห้องสมุด, Example: การจัดหมู่ (Classification) หมายถึง กระบวนการที่รวมสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน สิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกันก็จะอยู่ใกล้ๆ กัน สิ่งที่แตกต่างกันก็จะแยกออกจากกัน <p> ประเภทของการจัดหมู่ อาจแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 2 ประเภท คือ <p> 1. การจัดหมู่อย่างง่ายๆ หรือจัดตามลักษณะทั่วไป (Artificial Classification) ได้แก่ การจัดกลุ่มของสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ ดูจากลักษณะภายนอกที่มองเห็น เช่น สี ขนาด รูปร่าง เป็นต้น โดยเป็นการจัดหมู่ที่ไม่คำนึงถึงเนื้อหาหรือลักษณะตามธรรมชาติของสิ่งที่นำมาจัดหมู่ <p> 2. การจัดหมู่ตามธรรมชาติ (Natural Classification) คือ การจัดกลุ่มของสิ่งต่างๆ ออกเป็นหมวด เป็นหมู่ โดยพิจารณาเนื้อหา ลักษณะโครงสร้าง หรือส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งที่นำมาจัดหมู่ เช่น การจัดหมู่วิชาความรู้ (Classification of knowledge) หรือ Philosophical Classification <p> การจัดหมู่หนังสือ คือ กระบวนการในการจัดหมวดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง หรือตามรูปแบบคำประพันธ์ของหนังสือแต่ละเล่ม พร้อมกำหนดสัญลักษณ์แทนเนื้อหาหรือรูปแบบคำประพันธ์ไว้ที่เล่มหนังสือ เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายแสดงแหล่งที่อยู่ของหนังสือ <p> วัตถุประสงค์ของการจัดหมู่หนังสือ คือ <p> 1. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดหนังสือเข้าชั้น <p> 2. เพื่อใช้จัดทำบรรณานุกรมตามหมวดหมู่วิชา <p> 3. เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกหนังสือที่ตรงกับความต้องการ หรือสามารถเลือกหนังสือที่เกี่ยวข้องที่ต้องการได้ตนเอง ด้วยวิธีการง่ายๆ สะดวก และรวดเร็ว <p> 4. เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดให้บริการทางด้านบรรณานุกรมแก่ผู้ใช้ได้สะดวก <p> 5. เพื่อให้ทราบปริมาณของหนังสือในแต่ละสาขาวิชาว่ามีมากน้อยเพียงไร จะได้สั่งซื้อให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ <p> การจัดหมู่หนังสือจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ ก็ต้องใช้สัญลักษณ์ที่สั้น อ่านเข้าใจง่าย เป็นเครื่องหมายประจำหนังสือ เพื่อกำหนดตำแหน่งที่อยู่ของหนังสือบนชั้น และไม่ว่าห้องสมุดจะใช้การจัดหมู่หนังสือระบบใด เก็บหนังสือไว้ในระบบชั้นเปิด หรือระบบชั้นปิดก็ตาม เครื่องมือสำคัญสำหรับการค้นหาหนังสือก็คือ บัญชีรายชื่อหนังสือของห้องสมุด (Library Catalog) ซึ่งถือเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงพื้นฐานของห้องสมุดจะต้องทันสมัยและสมบูรณ์อยู่เสมอ <p> แนวคิดพื้นฐานของระบบจัดหมู่หนังสือ <p> ระบบจัดหมู่หนังสือส่วนใหญ่ยึดถือหลักการจัดหมวดหมู่ตามเหตุผล หรือตามวิชาความรู้ คือ จัดแบ่งวิชาความรู้ทั้งมวลในจักรวาลออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวดใหญ่ (Class) ไปหาหมวดย่อย (Subclass) และแบ่งเป็นหมู่ย่อยๆ ซึ่งมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ซึ่งมีเนื้อหาสัมพันธ์กัน ตัวอย่าง การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ ซึ่งแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นลำดับชั้น คือ แบ่งครั้งที่ 1 เป็น10 หมวดใหญ่ แบ่งครั้งที่ 2 เป็น 100 หมวดย่อย แบ่งครั้งที่ 3 เป็น 1000 หมู่ย่อย และแบ่งต่อไปเป็นทศนิยม ดังตัวอย่าง <p> การแบ่งครั้งที่ 1 600 เทคโนโลยี <p> การแบ่งครั้งที่ 2 620 วิศวกรรมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง <p> การแบ่งครั้งที่ 3 621 ฟิสิกส์ประยุกต์ <p> ทศนิยม 621.3 อิเล็กโทรแมกเนติกและสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง <p> 621.38 วิศวกรรมอิเล็กโทรนิกและวิศวกรรมการสื่อสาร <p> 621.381 วิศวกรรมอิเล็กโทรนิก <p> 621.3819 พัฒนาการเฉพาะด้าน <p> 621.38195 คอมพิวเตอร์ <p> การแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้ต่างๆ ในแต่ละระบบ จำเป็นต้องมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของวิชาความรู้ตามหมวดหมู่ต่างๆ ซึ่งเรียกว่า Notation (ดูเพิ่มเติมที่ Notation) <p> ระบบจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง <p> ระบบจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่องมีกำเนิดขึ้นในราวปลายคริสตศตวรรษที่ 19 (ดูเพิ่มเติมที่ Library Classification) ระบบที่รู้จักและใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ ระบบทศนิยมดิวอี้ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ระบบทศนิยมสากล และระบบไม่สู้แพร่หลายนัก ได้แก่ ระบบซับเจ็กท์ ระบบบลิส และระบบโคลอน <p> ประเภทของระบบจัดหมู่หนังสือ <p> แบ่งตามประเภทของเนื้อหาของระบบจัดหมู่ แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ <p> 1. ระบบจัดหมู่หนังสือทั่วไป (General Classification) เป็นระบบจัดหมู่ที่ครอบคลุมวิชาความรู้ทั้งมวลในจักรวาล ระบบจัดหมู่ประเภทนี้จะเว้นไว้สำหรับเติมวิชาความรู้ใหม่ๆ ไว้ เช่น ระบบทศนิยมดิวอี้ <p> 2. ระบบจัดหมู่เฉพาะวิชา (Special Classification) เป็นระบบการจัดหมู่ที่ครอบคลุมเนื้อหาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น ระบบจัดหมู่หนังสือเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ของโซเฟีย เอช กลิดเดน ระบบจัดหมู่หนังสือด้านวิชาแพทย์ ของหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน ระบบจัดหมู่หนังสือกฎหมายของ เจ.อาร์เธอ ชิลเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย <p> แบ่งตามการสร้างแผนการจัดหมู่ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ <p> 1. ระบบจัดหมู่ที่เป็นแผนการจัดหมู่แบบครอบจักรวาล (Enumerative Classification) คือ กำหนดสัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชาความรู้ต่างๆ อย่างสมบูรณ์ และเว้นที่ว่างไว้สำหรับเพิ่มเติมสัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชาความรู้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่างเช่น ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และระบบทศนิยมดิวอี้ <p> 2. ระบบแฟเซ็ท หรือฟาเซ็ท (Faceted Classification) เป็นระบบจัดหมู่หนังสือแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือ แยกแง่มุมต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐาน ออกเป็นด้านต่างๆ หรือแง่มุมต่างๆ แล้วนำเอาแง่มุมหรือด้านต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐานมาสังเคราะห์เข้าเป็นเลขหมู่ ระบบจัดหมู่แบบนี้เป็นระบบจัดหมู่ที่ทันสมัย แต่ก็มีสัญลักษณ์ที่ยืดยาวไม่สู้สะดวกในการใช้ ตัวอย่างของระบบการจัดหมู่นี้ ได้แก่ ระบบโคลอน <p> บรรณานุกรม <p> ทองหยด ประทุมวงศ์. ระบบจัดหมู่ของห้องสมุด. วารสารวิทยบริการ 7, 1 (ก.ค. 2538) : 67-79 [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Faceted Classificationระบบการจัดหมู่แบบแฟเซ็ท, Example: เป็นระบบจัดหมู่หนังสือแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือ แยกแง่มุมต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐาน ออกเป็นด้านต่างๆ หรือแง่มุมต่างๆ แล้วนำเอาแง่มุมหรือด้านต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐานมาสังเคราะห์เข้าเป็นเลขหมู่ ระบบจัดหมู่แบบนี้เป็นระบบจัดหมู่ที่ทันสมัย แต่ก็มีสัญลักษณ์ที่ยืดยาวไม่สู้สะดวกในการใช้ ตัวอย่างของระบบการจัดหมู่นี้ ได้แก่ ระบบโคลอน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Faceted Classificationระบบการจัดหมู่แบบแฟเซ็ท, Example: เป็นระบบจัดหมู่หนังสือแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือ แยกแง่มุมต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐาน ออกเป็นด้านต่างๆ หรือแง่มุมต่างๆ แล้วนำเอาแง่มุมหรือด้านต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐานมาสังเคราะห์เข้าเป็นเลขหมู่ ระบบจัดหมู่แบบนี้เป็นระบบจัดหมู่ที่ทันสมัย แต่ก็มีสัญลักษณ์ที่ยืดยาวไม่สู้สะดวกในการใช้ ตัวอย่างของระบบการจัดหมู่นี้ ได้แก่ ระบบโคลอน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Data, Ungroupedข้อมูลที่ไม่ได้จัดเป็นหมู่, ข้อมูลที่ยังไม่ได้จัดหมู่, ข้อมูลที่ไม่ได้จัดกลุ่ม [การแพทย์]
Alpha-Numeric System for Classification of Recordingsระบบการจัดหมู่ทรัพยากรประเภทสื่อบันทึกเสียง, Example: Alpha-Numeric System for Classification of Recordings หรือ ANSCR (อ่านว่า answer) เป็นระบบการจัดหมู่สื่อบันทึกเสียง เช่น เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง ประกอบด้วย 23 หมวดใหญ่ โดยใช้ตัวอักษร A-Z ในบางหมวดหมู่จะแบ่งเป็นหมวดหมู่ย่อยใช้ตัวอักษร 2 ตัว ได้แก่ หมวด E หมวด G หมวด M และหมวด Z การจัดหมู่ในระบบ ANSCR แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นหมวดใหญ่ แสดงประเภทของสื่อบันทึกเสียง เช่น ใช้อักษร M แทนดนตรีตามสมัยนิยม ในการแบ่งเป็นหมวดหมู่ย่อยจะใช้ตัวอักษร 2 ตัว เช่น ใช้ MJ สำหรับดนตรีแจ๊ส ส่วนที่ 2 เป็นตัวอักษร 3-4 ตัวแรกตามชื่อเรื่องของผลงาน ชื่อของนักแต่งเพลง นักแสดง ผู้เขียน ฯลฯ ส่วนที่ 3 ของเลขหมู่หนังสือ (Classification number) ประกอบด้วยอักษร 3 ตัวแรกของคำสำคัญในชื่อเรื่องของผลงานหรืออัลบั้ม หรือใช้ตัวเลข ถ้าผลงานนั้นเป็นที่รู้จักกันตามรูปแบบและผลงานที่ให้หมายเลข ส่วนที่ 4 ประกอบด้วยตัวอักษรตัวแรกของชื่อผู้แสดงหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการแสดงในการบันทึกเสียง ตามด้วยตัวเลข 2 ตัวสุดท้ายของตัวเลขที่ใช้บันทึกในเชิงพาณิชย์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้<br> <br style="margin-left: 40px">ES <br style="margin-left: 40px">BEET <br style="margin-left: 40px">5 <br style="margin-left: 40px">O 98 <li>ES แสดงว่า ผลงานที่บันทึกเสียงนี้อยู่ในรูปแบบของวงออเคสตร้าหรือวงซิมโฟนี</li> <li>BEET เป็นผลงานที่แต่งโดย ลุดวิก ฟาน เบโธเฟ่น (Ludwig Van Beethoven)</li> <li>เลข 5 คือ วงซิมโฟนีที่ 5</li> <li>O98 เป็นการแสดงที่ควบคุมวงดนตรีโดยยูจีน ออร์มานดี (Eugene Ormandy) และตัวเลข 2 ตัวสุดท้ายเป็นตัวเลขการบันทึกของโคลัมเบีย คือ 98</li><br> ระบบ ANSCR นี้เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากในห้องสมุดที่มีสื่อบันทึกเสียงจำนวนมาก สำหรับห้องสมุดที่มีทรัพยากรประเภทนี้จำนวนไม่มากนัก โดยทั่วไปมักจะใช้เลขทะเบียน (Accession number) หรือระบบการ จัดหมู่ (Classification system) ที่พัฒนาขึ้นเองในห้องสมุดสำหรับใช้จัดระบบทรัพยากรประเภทสื่อบันทึกเสียง<br> โครงสร้างแผนการจัดหมู่ของระบบ ANSCR มีดังนี้<br> A - Music Appreciation: History and Commentary <br> B - Operas<br> C - Choral Music<br> D - Vocal Music<br> E - Orchestral Music:<br> EA-General Orchestral, EB-Ballet, EC-Concertos, ES-Symphonies<br> F - Chamber Music<br> G - Solo Instrumental Music:<br> GG-Guitar, GO-Organ, GP-Piano, GS-Stringed Instruments<br> GV-Violin, GW-Wind Instruments, GX-Percussion Instruments<br> H - Band Music<br> J - Electronic Music<br> K - Musicals<br> L - Soundtrack Music: Movies and Television<br> M - Popular Music:<br> MA-Pop/Rock, MB-Blues, MC-Country, <br> MG-Gospel, MJ-Jazz, MN-New Age<br> P - National Folk and Ethnic Music<br> Q - International Folk and Ethnic Music<br> R - Holiday Music<br> S - Variety and Humor: Comic Monologues, Musical Satire, Radio Shows<br> T - Plays<br> U - Poetry<br> V - Prose<br> W - Documentaries<br> X - Instructional: Dictation, Languages, "How To..."<br> Y - Sound Effects<br> Z - Children's Recordings<br> ZI-Instructional, ZM-Music, ZS-Spoken<br> [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
combinationวิธีจัดหมู่, วิธีจัดหมู่ของสิ่งของ โดยไม่คำนึงถึงลำดับของสิ่งของในหมู่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
Broad classificationการจัดหมู่หนังสืออย่างกว้าง ๆ, Example: การจัดหมู่หนังสืออย่างกว้าง ๆ (Broad classification) หมายถึง การจัดหมู่หนังสือโดยเลือกหมวดหมู่ใหญ่อย่างกว้าง ๆ มากกว่าเลือกหมวดหมู่ย่อย และพยายามใช้หมวดหมู่ย่อยให้น้อยที่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ก) จัดหมวดหมู่เบื้องต้นสำหรับหนังสือที่ห้องสมุดพึ่งได้รับ เพื่อเตรียมไว้สำหรับจัดหมวดหมู่ละเอียดต่อไป ข) เพื่อใช้ในห้องสมุดขนาดเล็กที่มีหนังสือหมวดหมู่ต่าง ๆ เป็นจำนวนไม่มากนัก จึงไม่จำเป็นต้องจำแนกทรัพยากรสารสนเทศอย่างละเอียด เช่น การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ อาจใช้เลขหมู่ 641.5 แทนการใช้เลขหมู่ 641.5945 สำหรับตำราอาหารอิตาเลียน เป็นต้น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
General, I left a squad to protect the tanks.ท่านนายพล ข้าจัดหมู่ทหารให้คุ้มกันรถถังแล้ว Landing at Point Rain (2009)

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top