ขึ้น ๑ | ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือเบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับลง |
ขึ้น ๑ | เขยิบชั้นหรือตำแหน่งฐานะสูงขึ้นไปกว่าเดิม เช่น จบชั้นประถม ขึ้นชั้นมัธยม มีฝีมือขึ้นชั้นครู |
ขึ้น ๑ | เพิ่มหรือทำให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ขึ้นค่าตัว ราคาขึ้น ภาษีขึ้น |
ขึ้น ๑ | เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่ |
ขึ้น ๑ | เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทำเนียบ |
ขึ้น ๑ | เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น |
ขึ้น ๑ | นิยมนับถือ, เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก |
ขึ้น ๑ | อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับกระทรวงวัฒนธรรม |
ขึ้น ๑ | อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น |
ขึ้น ๑ | ฟู เช่น แป้งขนมตาลขึ้น |
ขึ้น ๑ | แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น |
ขึ้น ๑ | งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น |
ขึ้น ๑ | มีโชค จะทำอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น |
ขึ้น ๑ | ก่ง เช่น ขึ้นธนู |
ขึ้น ๑ | ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง |
ขึ้น ๑ | เริ่มเดินหมากตัวนั้น ๆ เป็นครั้งแรก ใช้ในการเล่นหมากรุกเป็นต้น เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน |
ขึ้น ๑ | ทำให้เป็นรูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง |
ขึ้น ๑ | เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจากธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน |
ขึ้น ๑ | เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง |
ขึ้น ๑ | แล่นไปตามทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. |
ขึ้น ๑ | น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า. |
กลางเดือน | น. วันเพ็ญหรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำของเดือนทางจันทรคติหรือวันที่ ๑๕ ของเดือนทางจันทรคติ เช่น กลางเดือน ๖. |
โกน ๒ | น. ชื่อวันที่พระสงฆ์ในเมืองไทยปลงผม ตรงกับวันขึ้น ๑๔ คํ่า หรือแรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็เป็นแรม ๑๓ คํ่า เรียกว่า วันโกน, คู่กับ วันพระ |
โกน ๒ | ชื่อวันก่อนวันพระวันหนึ่งได้แก่วันขึ้น ๗ คํ่า ขึ้น ๑๔ คํ่า แรม ๗ คํ่า และแรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ คํ่า เรียกว่า วันโกน. |
ขยาย | (ขะหฺยาย) น. การนำทำนองเพลงของเดิมมาขยายขึ้น ๑ เท่าตัวโดยยึด (เพิ่ม) ลูกตกเดิมเป็นหลัก เช่น อัตรา ๒ ชั้น ขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น. |
แคลอรี | น. หน่วยวัดปริมาณความร้อน ๑ แคลอรี คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้นํ้าบริสุทธิ์ ๑ กรัม ร้อนขึ้น ๑ °ซ. |
จันทรคติ | น. วิธีนับวันและเดือนโดยถือเอาการเดินของดวงจันทร์เป็นหลัก เช่น ขึ้น ๑ คํ่าถึงแรม ๑๕ คํ่า เป็นการนับวันทางจันทรคติ เดือนอ้ายถึงเดือน ๑๒ เป็นการนับเดือนทางจันทรคติ. |
เดือนจันทรคติ | (-จันทฺระคะติ) น. เดือนที่กำหนดโดยถือเอาดวงจันทร์เดินรอบโลกเป็นเกณฑ์ โดยนับจากวันขึ้น ๑ ค่ำไปถึงวันเดือนดับถัดไป มีระยะเวลาประมาณ ๒๙ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๔๔ นาที เรียกชื่อตามลำดับจากเดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เรื่อยไปจนถึงเดือนสิบสอง. |
น้ำเกิด | น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลำคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นสูงมากและลงตํ่ามากเนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นแนวเดียวกันกับโลก นํ้าเกิดจะมี ๒ ช่วง คือ ช่วงวันเดือนเพ็ญ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ คํ่า ถึงวันแรม ๒ คํ่า และช่วงวันเดือนดับ ตั้งแต่วันแรม ๑๓ คํ่า ถึงวันขึ้น ๒ คํ่า. |
บรรพมูล | น. วันขึ้น ๑ คํ่า และวันกลางเดือนทางจันทรคติ. |
บุริมพรรษา | (บุริมมะพันสา, บุริมพันสา) น. “พรรษาต้น”, ช่วงระยะเวลาที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาต้น คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, ปุริมพรรษา ก็ว่า, คู่กับ ปัจฉิมพรรษา. |
ปวารณา | พิธีกรรมทางศาสนายอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษา ว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. |
ปัจฉิมพรรษา | (ปัดฉิมมะพันสา, ปัดฉิมพันสา) น. “พรรษาหลัง”, ช่วงระยะเวลาที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาหลัง คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, คู่กับ บุริมพรรษา หรือ ปุริมพรรษา. |
พระ | (พฺระ) น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่รูป พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ |
ลงอุโบสถ | ก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า. |
วันโกน | น. วันที่พระปลงผม คือ วันขึ้นและวันแรม ๑๔ คํ่า หรือวันแรม ๑๓ คํ่าของเดือนขาด, (ปาก) ชื่อวันก่อนวันพระวันหนึ่ง เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ ขึ้น ๗ คํ่า ขึ้น ๑๔ คํ่า แรม ๗ คํ่า และแรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ คํ่า. |
วันพระ | น. วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ คํ่า ขึ้น ๑๕ คํ่า แรม ๘ คํ่า และแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า. |
วันออกพรรษา | น. วันที่สิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก. |
วันอุโบสถ | น. วันขึ้น ๑๕ คํ่า และวันแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า เป็นวันที่พระลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์และเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีลคือ ศีล ๘. |
วัสสานฤดู | (วัดสานะรึดู) น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อนอันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้นวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์. |
ออกพรรษา | น. เรียกวันที่สิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ ว่า วันออกพรรษา, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก. |
อุโบสถ ๑ | เรียกการแสดงพระปาติโมกข์ของพระสงฆ์ทุก ๆ กึ่งเดือน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด ว่า การทำอุโบสถ |