กล้องแกล้ง | (กฺล้องแกฺล้ง) ว. มีรูปร่างเอวเล็กเอวบาง, อ้อนแอ้น |
กล้องแกล้ง | มีท่าทางเป็นเชิงเจ้าชู้. |
กล้อมแกล้ม | (กฺล้อมแกฺล้ม) ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด |
กล้อมแกล้ม | พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป, โดยปริยายหมายความว่า ทำพอให้ผ่าน ๆ ไป |
กล้อมแกล้ม | กะล่อมกะแล่ม ก็ว่า. |
กลั่นแกล้ง | ก. หาความไม่ดีใส่ให้, หาอุบายให้ร้ายโดยวิธีต่าง ๆ, แกล้งใส่ความ. |
กล้ำแกล่ | ก. กลืน, กิน, เช่น คือดั่งปากเว้นกลํ้า แกล่เหมี้ยงหมากพลู (โลกนิติ). |
กับแกล้ม | (-แกฺล้ม) น. ของกินกับเหล้า, แกล้ม ก็ว่า. |
แกล่ | (แกฺล่) ว. ใกล้, เกือบ, เช่น สามลักษณะนี้ใกล้ แกล่แม้นไป่มี (โลกนิติ). |
แกล้ง | (แกฺล้ง) ก. ทำให้เดือดร้อนรำคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทำเป็นปวดฟัน, จงใจทำ พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย |
แกล้ง | ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์ (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
แกล้งเกลา | ว. ประณีต, ประดิดประดอย. |
แกล้งดิน | ก. กระบวนการแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้กรรมวิธีเร่งปฏิกิริยาเคมีในดิน ทำให้ดินเปรี้ยวอย่างรุนแรงแล้วใช้ระบบชลประทานนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวทำสลับไปมา จนเปลี่ยนสภาพดินให้สามารถเพาะปลูกได้. |
แกล้ม | (แกฺล้ม) น. ของกินกับเหล้า, กับแกล้ม ก็ว่า. |
แกล้ม | (แกฺล้ม) ว. ไปด้วยกัน, ควบคู่กันไป, แกมกัน, (ใช้แก่กริยากิน) เช่น กินแกล้มเหล้า. |
แกล้ว | (แกฺล้ว) ว. กล้า, องอาจ, เก่ง, ว่องไว. |
ทกล้า, ทแกล้ว | (ทะกฺล้า, ทะแกฺล้ว) น. ผู้กล้า. |
กด ๔ | ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กำลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้งกักไว้ เช่น กดคดี |
กระแชะ | ก. กระแซะ เช่น แกล้งทำเลียมและกระแชะชิด สะบิ้งสะบัดดัดจริตกิริยา (คาวี). |
กระใด | ว. กระไร, อะไร, ทำไม, เช่น ผู้แกล้วกระใดรณภู (สมุทรโฆษ). |
กลิ่ง | (กฺลิ่ง) ก. เลือกสรร เช่น อันว่าพระพรใดทงงผองสิบสิ่ง แลพี่แกล้งกลิ่งให้แล้ว (ม. คำหลวง ทศพร). |
กษัตรี | เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย (ลอ). |
กะล่อมกะแล่ม | กล้อมแกล้ม ก็ว่า. |
กางเกียง | ก. ไม่ลงรูป, ไม่ลงรอย, ไม่ลงที่, สวมกันไม่เข้า, ใช้ว่า กางเกี่ยง ก็มี เช่น เมื่อนั้น พระคาวีเห็นนางยังกางเกี่ยง ยิ้มพลางทางลงไปจากเตียง แล้วกล่าวเกลี้ยงแกล้งปลอบให้ชอบใจ (คาวี), กังเกียง หรือ กำเกียง ก็ว่า. |
ก้าวเฉียง | โดยปริยายใช้แก่การพูดไม่ตรงหรือพูดเลี่ยง เช่น นงลักษณ์แกล้งกล่าวก้าวเฉียง (อิเหนา). |
กุ้งเต้น ๑ | น. ชื่ออาหารประเภทกับแกล้ม ใช้กุ้งแม่น้ำที่ยังสด ผ่าหลัง ราดด้วยน้ำมะนาว กินกับน้ำจิ้ม, ชื่ออาหารประเภทกับแกล้ม ใช้กุ้งฝอยเป็น ๆ บีบมะนาว ปรุงด้วยพริกตำและน้ำปลา. |
เกราะ ๔ | (เกฺราะ) ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา (รามเกียรติ์ ร. ๑), เขียนเป็น เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง (อิเหนา). |
เกเร | ว. เกกมะเหรก, มีนิสัยเป็นพาล ชอบแกล้งชอบรังแกและเอาเปรียบเขา, มักใช้เข้าคู่กับคำ พาล เป็น พาลเกเร. |
เกลาะ | (เกฺลาะ) ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง (อิเหนา), เขียนเป็น เกราะ ก็มี เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา (รามเกียรติ์ ร. ๑). |
แกว่น | (แกฺว่น) ว. แกล้วกล้า, ว่องไว. |
โกงเจ้าหนี้ | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ลูกหนี้ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์ที่ตนจำนำไว้ หรือกระทำการบางอย่างที่ทำให้เจ้าหนี้เสียหายในการที่จะได้รับชำระหนี้ เช่น โอนทรัพย์ให้คนอื่นหรือแกล้งเป็นหนี้ที่ไม่เป็นความจริง. |
โกมล ๑ | ว. อ่อน, งาม, หวาน, ไพเราะ, เช่น กรรณาคือกลีบกมลโก- มลกามแกล้งผจง (สมุทรโฆษ). |
ไก่สามอย่าง | น. เครื่องกินแกล้มเหล้า มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้ เป็นหลัก อาจเพิ่ม ขิง หัวหอม หรือพริกขี้หนู เข้าด้วยก็ได้. |
ข่มเหง | (-เหง) ก. ใช้กำลังรังแกแกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น. |
คว่ำกระดาน | ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกันโดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงการที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการคว่ำกระดานเสีย, ล้มกระดาน ก็ว่า. |
คิง | น. ร่างกาย เช่น รทวยรแถ้ง คิงคมกล้องแกล้ง (สุธนู). |
จี | ว. ตูม เช่น สงวนมิ่งมาลยจาวจี แกล่กลํ้า (ทวาทศมาส), พายัพว่า จี๋. |
ชลาสินธุ์ | น. ห้วงน้ำ เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัด กวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์ (กากี), สายน้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูปอสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา (พากย์นางลอย). |
ดิพร | (ดิบ) ว. กล้า, แข็ง, มาก, เช่น พระเสด็จแสดงดิพรแกล้ว การยุทธ ยิ่งแฮ (ยวนพ่าย). |
ตลก | โดยปริยายหมายความว่า แกล้งทำหรือพูดให้คนอื่นเข้าใจผิดเพื่อผลประโยชน์ของตน เช่น เล่นตลก. |
ตะบิดตะบอย | ว. แกล้งให้ชักช้า, ชักช้ารํ่าไร. |
ตายประชดป่าช้า | ก. แกล้งทำหรือพูดแดกดันประชดอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ตัวเองกลับเป็นฝ่ายเสียหายจากการทำหรือพูดนั้น. |
ตีโพยตีพาย | ก. แกล้งร้องหรือทำโวยวายเกินสมควร, แสดงความเสียอกเสียใจจนเกินเหตุ. |
ท ๓ | (ทะ) ใช้เป็นคำนำหน้านาม แปลว่า คน, ผู้, เช่น ทมูลทนาย ทแกล้วทหาญ, ท่าน เช่น ทชี. |
ธงนำริ้ว | ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง บังคับให้ซ้ำคำ ๒ คำต้นในวรรค โดยคำที่ซ้ำเปลี่ยนไปทุกวรรค เช่น กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ). |
บัพพาช | (บับพาด) ก. ขับไล่ เช่น พระสญชัยยินราษฎร์ แกล้งบัพพาชกูไกล (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
บีบน้ำตา | ก. แกล้งร้องไห้, ร้องไห้. |
ประชด | ก. แกล้งทำให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี. |
ประบัด | ก. ฉ้อโกง เช่น ท่านว่าหญิงร้าย จะแกล้งประบัดสินท่าน (สามดวง), กระบัด ตระบัด หรือ สะบัด ก็ใช้. |
ปั้นสีหน้า | ก. แกล้งแสดงหน้าตาให้ผิดปรกติเพื่อลวงให้เขาหลงเชื่อ เช่น ไม่เจ็บแต่ปั้นสีหน้าให้เหมือนคนเจ็บ. |