ack | (แอ็ค) ตอบรับ รับรู้ ย่อมาจากคำว่า acknowledge ใช้ในความหมายของการรับรู้ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะมีการถ่ายโอนข้อมูลให้แก่กันและกัน เท่ากับเป็นการรับรู้ว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ และพร้อมที่จะรับการถ่ายโอนข้อมูลจากกัน |
ascii file | แฟ้มข้อมูลแอสกี <คำแปล>หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ไม่ใช่โปรแกรม มีตัวอักขระที่ใช้เป็นรหัสแอสกีทั้งหมด บางที เรียกว่า " text file " แฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ด สตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน (ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้ว) ส่วนมากจะใช้ศัพท์นี้เมื่อต้องการเปลี่ยน (convert) แฟ้มข้อมูลของโปรแกรมหนึ่งเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่นจาก Word Perfect เป็น Microsoft Word ในกรณีเช่นนี้ อาจจะมีเมนูให้เลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น text file หรือ ASCII file หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าเปลี่ยนเป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายใต้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน นิยมใช้กันมากในระบบสื่อสารและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล |
baud | (บอด) เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็ม 1 บอดเท่ากับจำนวนบิตที่ส่งได้ใน 1 ครั้ง ถ้าส่งได้ครั้งละ 2 บิต 1 บอดก็จะเท่ากับ 2 บิต โมเด็มจะดีหรือไม่ ก็ดูที่ความเร็วจากหน่วยวัดนี้ โดยปกติ เท่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีขนาดความเร็ว 300 บอด (ประมาณ 37 ตัวอักษร) และ 1, 200 บอด (ประมาณ 150 ตัวอักษร) |
bits per second | บิตต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า BPS เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็มว่า มีความเร็วกี่บิตต่อวินาที |
bps | (บีพีเอส) ย่อมาจาก bits per second หรือบิตต่อวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็มว่า มีความเร็วกี่บิตต่อวินาที |
central processing unit | หน่วยประมวลผลกลางนิยมใช้ตัวย่อว่า CPU (ซีพียู) หมายถึง ส่วนที่เป็นสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือส่วนที่เรียกว่าตัวประมวลผล (microprocessor) และหน่วยความจำ ประกอบด้วยชิป (chip) ส่วนนี้นับเป็นส่วนสำ คัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ใช้ทำหน้าที่ในการประมวลผล หรือทำการคำนวณ เมื่อทำการประมวลผล หรือคำนวณในส่วนนี้เสร็จแล้ว ก็จะถ่ายโอนผลลัพธ์ที่ได้ไปไว้ในส่วนอื่นอีกชั้นหนึ่ง ดู input unit และ output unit ประกอบ |
check sum | ผลรวมตรวจสอบหมายถึง ผลการคำนวณเพื่อยืนยันในความแม่นตรงของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางโมเด็ม ส่วนมากจะเป็น XModem โดยปกติ ในการส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์จะต้องจัดการแยกข้อมูลทั้งหมดออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ก่อน ฉะนั้นเมื่อส่งเรียบร้อยแล้ว จึงต้องมีการตรวจสอบผลรวม ถ้าตรงกัน ก็แปลว่า ข้อมูลที่ส่งออกไปถูกต้องครบถ้วน |
data transfer | การถ่ายโอนข้อมูลหมายถึง การเคลื่อนย้ายข้อมูลจากที่เก็บในตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง หรืออาจหมายถึงการย้ายที่เก็บจากสื่อเก็บหนึ่งไปอีกสื่อหนึ่งก็ได้ หรือบางทีอาจหมายถึง การย้ายข้อมูลจากโปรแกรมหลัก (master program) ไปทำงานยังโปรแกรมย่อย (subprogram) |
error rate | อัตราความผิดพลาดหมายถึง มาตรฐานการวัดคุณภาพของวงจร หรือระบบถ่ายโอนข้อมูล การคำนวณโดยใช้วิธีการ นำจำนวนข้อผิดพลาดของข้อมูล หารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด หรืออาจจะคิดเป็น อัตราต่อหน่วยเวลาก็ได้ |
femtosecond | เฟมโตวินาทีเท่ากับ หนึ่งในพันล้านล้านของวินาที (10 -15) ใช้เป็นหน่วยวัดความเร็วของการทำงานของอุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของหน่วยประมวลผลการถ่ายโอนข้อมูล การดึงข้อมูลจากหน่วยความจำสำรอง (auxiliary memory) สู่หน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้น |
fiber optics | วิทยาการเส้นใยนำแสงหมายถึง เรื่องราวเกี่ยวกับเส้นใยแก้วซึ่งใช้วัสดุที่ทำจากใยแก้วหรือพลาสติก ใช้เป็นพาหะนำสัญญาณแสง ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูล หรือการสื่อสารข้อมูล ปัจจุบันนิยมใช้กันมากในระบบเครือข่าย นับเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงอีก อย่างหนึ่ง ที่เข้ามาแทนสายเคเบิล เพราะสื่อสารได้เร็วกว่าและรับส่งข้อมูลได้ทีละมากกว่า |
full duplex | สื่อสารสองทางเต็มอัตราหมายถึง การถ่ายโอนข้อมูลอย่างต่อเนื่องจากทั้งสองทิศ ทางพร้อม ๆ กัน ใช้เมื่อมีการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง |
interface | ตัวประสานหมายถึง การเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์ ที่ถ่ายโอนข้อมูลจากกันและกันได้ แต่มักนำมาใช้ในความหมายของ user interface ที่แปลว่า การติดต่อประสานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ เช่น แป้นพิมพ์, จอภาพ ต่างก็เป็นตัวประสานกับผู้ใช้ทั้งสิ้น |
kermit | (เคอร์มิต) เป็นวิธีการถ่ายโอนข้อมูลแบบหนึ่งที่ทำงานค่อนข้างช้า (Kermit เป็นชื่อกบในการ์ตูนเรื่องหนึ่ง) ใช้ในการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากเครื่องเมนเฟรม (mainframe) ทีนิยมกันมาก โดยเฉพาะในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ดู XMODEM ประกอบ |
mca | (เอ็มซีเอ) ย่อมาจาก micro channel architecture หมายถึง ช่องเสียบแผ่นวงจรตัวเล็กซึ่งบริษัทไอบีเอ็มสร้างไว้ใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่น PS/2 โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำให้การถ่ายโอนข้อมูล ทำได้รวดเร็วและง่าย กล่าวคือเพียงแต่เสียบแผ่นวงจรลงในช่องเสียบ MCA นี้เท่านั้น |
micro channel architectur | ช่องเสียบแผ่นวงจรตัวเล็กใช้ตัวย่อว่า MCA หมายถึง ช่องเสียบแผ่นวงจรตัวเล็กซึ่งบริษัทไอบีเอ็มสร้างไว้ใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่น PS/2 โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำให้การถ่ายโอนข้อมูล ทำได้รวดเร็วและง่าย กล่าวคือเพียงแต่เสียบแผ่นวงจรลงในช่องเสียบ MCA นี้เท่านั้น |
odd even check | การตรวจสอบภาวะคู่หรือคี่หมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจสอบแต่ละหน่วยข้อมูลไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) หรือเป็นคำ (word) ว่ามีจำนวนบิต (bit) ที่เป็น 1 เป็นจำนวนคู่หรือคี่ โดยการเพิ่มหนึ่งบิตที่เรียกว่า บิตเสริม (parity bit) เข้าที่ท้ายหรือต้นข้อมูลนั้น ๆ เพื่อให้จำนวนบิตที่เป็น 1 เป็นเลขคี่หรือคู่เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน, บันทึก, หรือถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริมก็จะถูกนำมาคำนวณและเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากันก็แปลว่าการอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้อ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน parity check |
optical fibre | เส้นใยนำแสงหมายถึงวัสดุที่ทำจากใยแสง หรือพลาสติก ที่สามารถสะท้อนแสง หรือแสงผ่านทะลุได้ ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลหรือสื่อสารข้อมูลแบบหนึ่ง สามารถถ่ายเทข้อมูล ได้ทีละมาก ๆ และทำได้รวดเร็ว เช่น สามารถส่งเอกสาร 2700 หน้าได้ภายในเวลาเพียง 6 วินาที ในปัจจุบัน เชื่อกันว่า ราคาโดยรวมถูกกว่าการถ่ายโอนข้อมูลด้วยวิธีอื่น |
parallel port | ช่องขนานหมายถึง ช่องที่ใช้เสียบสายไฟต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นตัวว่าเครื่องพิมพ์ การถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางช่องขนานนี้ ข้อมูลจะเดินทางไปตามวงจรขนานภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้ไปได้เร็วกว่าช่องอนุกรมที่เรียกว่า serial port ดู serial port เปรียบเทียบ |
parity check | การตรวจสอบภาวะเสริมหมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจแต่ละหน่วยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) คำ (word) ว่าเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน บันทึก หรือ ถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริม (parity bit) ก็จะถูกนำมาคำนวณแล้วเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากัน ก็แปลว่า การอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้มีการอ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน odd even check |
serial communications | การสื่อสารแบบเรียงลำดับหมายถึง การถ่ายโอนข้อมูลทีละบิตผ่านทางสายเคเบิลเดี่ยว โดยปกติจะต้องให้ผ่านโมเด็ม (modem) ด้วย |
serial port | ช่องอนุกรมหมายถึง ช่องที่อยู่ด้านหลังของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่มีไว้สำหรับเสียบสายไฟ ต่อไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เมาส์ การถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางช่องนี้ จะช้ากว่าผ่านทางช่องขนาน (pararell port) มาก เพราะจะสามารถส่งถ่ายข้อมูลได้ครั้งละ 1 บิตเท่านั้น ดู pararell port เปรียบเทียบ |
stop bit | บิตหยุดหมายถึง บิตสัญญาณสั่งบอกว่าให้หยุด เพราะการถ่ายโอนข้อมูลสำเร็จเรียบร้อยแล้ว |
streamer | (สทรีม'เมอะ) n. 1. สิ่งที่ไหล, สิ่งที่ปลิวเป็นทาง, ธง, ชายธง, สายที่สะบัดพริ้ว, ลำแสง, การพาดหัวข่าวเต็มหน้า, 2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลจากฮารด์ดดิสก์ลงในตลับแถบบันทึก (casette tape) ซึ่งทำได้เร็วมาก และวางใจได้ว่าข้อมูลไม่ศูนย์หาย มีหลายชนิด ตั้งแต่ 20-50 เมกะไบต์ ราคาถูกกว่าฮาร์ดดิสก์, Syn. long |
token ring | วงแหวนโทเค็นในระบบเครือข่าย หมายถึง การส่งข้อมูลแบบวงแหวน กล่าวคือ ผู้ส่งข้อมูลจะนำข้อมูลใส่ในถาด (token) ถาดนี้จะเดินตามสายผ่านไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่โดยรอบ เมื่อเดินไปถึงเครื่องที่จะเป็นตัวรับ ก็จะจัดการรับถาดนั้นไว้เพื่อถ่ายโอนข้อมูลออก เมื่อบันทึกข้อมูลลงในเครื่องของตนแล้ว ก็จะปล่อยถาดกลับไปยังผู้ส่ง เมื่อผู้ส่งตรวจดูว่า ข้อมูลถูกรับไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะลบข้อมูลทิ้ง (บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า ring network) |
upload | บรรจุขึ้นหมายถึง การถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งคอมพิวเตอร์ตัวส่งข้อมูลเรียกว่าเป็นตัวที่ทำการ "บรรจุขึ้น" ส่วนคอมพิวเตอร์ตัวรับข้อมูลเรียกว่าเป็นตัวที่ทำการ "บรรจุลง" ส่วนมากใช้ในการถ่ายโอนจากคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายไปไว้ในแม่ข่าย ซึ่งถือว่าสูงกว่า ถ้าเป็นการถ่ายโอนจากแม่ข่าย จะเรียกว่า "บรรจุลง" (download) |
xmodem | เอ็กซ์โมเด็มหมายถึง เกณฑ์วิธี (protocol) ในการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็มที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะผ่านทางสายโทรศัพท์ อันที่จริงแล้ว เอกซ์โมเด็มนั้น เป็นชื่อ โปรแกรมที่ใช้ในการส่งข้อมูล แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปมักจะเรียกแฟ้มข้อมูลที่ส่งด้วยวิธีนี้ว่า เอ็กซ์โมเด็ม ซึ่งสามารถรับ/ส่งข้อมูลได้ทั้งแฟ้มข้อมูลที่เป็นโปรแกรม และแฟ้ม เอกสารธรรมดา นอกจากนั้น ในระหว่างการส่งจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนด้วย การถ่ายโอนข้อมูลแบบที่เรียกว่า YMODEM และ ZMODEM ก็ได้รับการพัฒนามาจาก XMODEM นี้ แต่ทำได้เร็วกว่า และถ่ายโอนข้อมูลได้ทีละมากกว่า |
xon / xoff | เอกซ์ออน/เอกซ์ออฟหมายถึง สัญญาณสั่งให้หยุดหรือเริ่มการถ่ายโอน (transfer) ข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ |
ymodem | วายโมเด็มหมายถึง มาตรฐานที่ใช้การในการถ่ายโอน (transfer) ข้อมูลซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก XMODEM การถ่ายโอนข้อมูลแบบวายโมเด็มนั้น สามารถส่งสัญญาณถ่ายโอนได้ในอัตราที่เร็วกว่าเก่าดู XMODEM ประกอบ |
zmodem | แซ็ดโมเด็มหมายถึง มาตรฐานที่ใช้การในการถ่ายโอน (transfer) ข้อมูล ซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก XMODEM และ YMODEM การถ่ายโอนข้อมูลแบบแซ็ดโมเด็มนั้น สามารถส่งสัญญาณถ่ายโอนได้ในอัตราที่เร็วกว่าเก่า |