Bumiputera | (n) (การเมือง) ภูมิบุตร หมายถึง ชาวมาเลย์ที่เป็นมุสลิมและมีถิ่นฐานอยู่ในอาณาเขตของประเทศมาเลเซียปัจจุบัน เช่น minimum 30% Bumiputera shareholding requirement หมายถึงจะต้องมีผู้ถือหุ้นเป็นชาวมาเลย์ดังกล่าวเกิน 30% ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด, See also: S. Bhumiputera |
|
| กินนร | [/กิน - นอน / eng /kin. neon/] (n) รูปพหูพจน์ของสัตว์ (อมนุษย์) ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้; รูปพหูพจน์ที่รวมทั้งเพศผู้และเพศเมียของสิ่งมีชีวิตในเทพนิยายดังกล่าว; กินรี และ กินริน = เพศเมีย และ กินนรา = (รูปเอกพจน์) เพศผู้ | ยิ้ม ตุ๋ย | [ยิ้ม-ตุ๋ย] บุคคลหรือมนุษย์ต่างดาวที่มาจากนอกโลก มีลักษณะนิสัยที่หื่นมาก หากพบบุคคลลักษณะเช่นดังกล่าว ให้พึงระวังไว้เป็นดีที่สุดเพราะเป็นภัยใกล้ตัวทางสังคม |
| | กองทุนหมู่บ้าน | น. กองทุนที่จัดตั้งขึ้นในแต่ละหมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับประชาชนในหมู่บ้าน กองทุนดังกล่าวถ้าจัดตั้งขึ้นในเขตชุมชนเมือง เรียกว่า กองทุนชุมชนเมือง. | การจัดสรรที่ดิน | น. การจำหน่ายที่ดินที่ได้แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจากที่ดินแปลงเดียวหรือแบ่งจากที่ดินหลายแปลงที่มีพื้นที่ติดต่อกัน โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์เป็นค่าตอบแทน และให้หมายความรวมถึงการดำเนินการดังกล่าวที่ได้มีการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยไว้ไม่ถึงสิบแปลงและต่อมาได้แบ่งที่ดินแปลงเดิมเพิ่มเติมภายในสามปี เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปด้วย. | การพาณิชยนาวี | น. การขนส่งทางทะเล การประกันภัยทางทะเล การเดินเรือ กิจการอู่เรือ กิจการท่าเรือ และกิจการที่เกี่ยวเนื่องหรือเป็นส่วนประกอบกับกิจการดังกล่าว. | ขั้วแม่เหล็ก | น. บริเวณที่ตัวแท่งแม่เหล็กซึ่งมีแรงแม่เหล็กมากที่สุด โดยปรกติบริเวณดังกล่าวจะอยู่ใกล้ปลายทั้ง ๒ ของแท่งแม่เหล็ก, ถ้าชี้ไปทางทิศเหนือ เรียกว่า ขั้วเหนือ ถ้าชี้ไปทางทิศใต้ เรียกว่า ขั้วใต้. | เขตประกอบการเสรี | น. เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยของที่นำเข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี อากร และค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษ. | เขตปลอดอากร | น. เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยของที่นำเข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรเป็นพิเศษ. | ไขมัน | เรียกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งในคนและสัตว์บางชนิดซึ่งสะสมสารประกอบอินทรีย์ดังกล่าวไว้มากโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องหรือในผนังหน้าท้อง มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ, มัน ก็ว่า. | เช็คขีดคร่อม | น. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ข้างด้านหน้า โดยจะมีหรือไม่มีคำว่า “และบริษัท” หรือคำย่ออย่างใดแห่งข้อความนี้อยู่ในระหว่างเส้นทั้งสองก็ได้ เรียกว่า เช็คขีดคร่อมทั่วไป ซึ่งการใช้เงินตามเช็คดังกล่าวต้องใช้เฉพาะให้แก่ธนาคาร ถ้าในระหว่างเส้นทั้งสองได้กรอกชื่อธนาคารใดไว้ เรียกว่า เช็คขีดคร่อมเฉพาะ ซึ่งการใช้เงินตามเช็คดังกล่าวต้องใช้ให้แก่ธนาคารนั้นเท่านั้น. | เซรุ่ม | น. น้ำเลือดสีเหลืองใส มีภูมิต้านทานต่อชีวพิษหรือต่อเชื้อโรค แยกได้จากเลือดที่แข็งตัวแล้วของสัตว์เช่นม้าหรือกระต่ายที่ได้รับการกระตุ้นด้วยชีวพิษเช่นพิษงู หรือเชื้อโรคเพื่อให้เกิดภูมิต้านทาน ใช้ฉีดรักษาผู้ป่วยที่ได้รับชีวพิษหรือเชื้อโรคดังกล่าวเพื่อลดพิษหรือทำลายเชื้อโรค. | ดาวเทียม | น. วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์ เพื่อให้โคจรรอบโลกหรือรอบเทห์ฟากฟ้าอื่น มีอุปกรณ์สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก, วัตถุลักษณะดังกล่าวที่โคจรรอบโลก ใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย เช่น ถ่ายทอดคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ข้ามทวีป. | ตลาด | สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด. | ตุ๋น | น. เรียกสิ่งที่ทำให้สุกโดยวิธีดังกล่าว เช่น ไข่ตุ๋น เนื้อตุ๋น เป็ดตุ๋น | ทำไม้ | ก. ตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่า หรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย. | โทรทัศน์ | น. กระบวนการถ่ายทอดเสียงและภาพได้พร้อมกันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นเสียงและภาพให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่ดังกล่าว ว่า เครื่องส่งโทรทัศน์ และเรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้รับจากเครื่องส่งโทรทัศน์ให้กลับเป็นคลื่นเสียงและภาพตามเดิม ว่า เครื่องรับโทรทัศน์. | โทรสาร | รูปภาพหรือข้อความที่ส่งและรับผ่านระบบดังกล่าว. | เปีย ๒ | ชื่อเป็ดขนาดกลาง ในวงศ์ Anatidae มี ๒ ชนิด คือ เป็ดเปีย [ Aythya fuligula (Linn.) ] ตัวผู้สีเทาดำ ท้องสีขาว ตัวเมียสีน้ำตาลเข้ม ท้องสีน้ำตาล และเป็ดเปียหน้าเขียว ( Anas falcataGeorgi) ตัวผู้มีหลายสี หน้าสีเขียว ตัวเมียสีออกน้ำตาล หน้าสีเขียว, ทั้งนกยางเปียและเป็ดเปียมีขนยาวออกจากท้ายทอย ๒-๓ เส้นหรือมากกว่า ลักษณะคล้ายผมเปียของคน เฉพาะนกยางเปียมีขนยาวดังกล่าวเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์. | ผูกดวง | ก. นำเครื่องหมายแทนพระเคราะห์มีอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ศุกร์ เป็นต้น บรรจุลงในดวงตามช่องจักรราศีทั้ง ๑๒ ที่โคจรมาสถิตตามวัน เดือน ปี และเวลาตกฟากของเจ้าของชะตานั้น ดูว่าอาทิตย์ตกอยู่ในราศีใด แล้วเอาองศาอาทิตย์ของวันเกิดเจ้าของชะตามาคำนวณว่า เมื่อเวลา ๖.๐๐ นาฬิกา อาทิตย์อยู่ในราศีดังกล่าวมาแล้วนานเท่าใด เรียกว่า อดีตอุทัย และเวลาเหลืออีกนานเท่าใดจึงจะพ้นไปจากราศีนั้น เรียกว่า อนาคตอุทัย แล้วเอาเวลาตกฟากตั้งลบด้วย ๖.๐๐ นาฬิกา และอนาคตอุทัย ต่อไปเอาอันโตนาทีของราศีถัด ๆ ไปลบทีละราศี ถ้าเวลาหรือเลขที่เหลือไม่พอให้อันโตนาทีของราศีใดลบได้ ลัคนาก็อยู่ที่ราศีนั้น การผูกดวงนี้เพื่อทำนายโชคชะตาเป็นต้น. | ฝาไหล | น. แผ่นไม้กระดานวางตามแนวยืน แต่ละแผ่นเว้นช่องว่างเท่าความกว้างของไม้แผ่นหนึ่งตลอดทั้งแผง ฝาชนิดนี้ประกอบด้วยแผงดังกล่าววางชิดและซ้อนขนานกันในรางซึ่งเลื่อนเปิดปิดได้. | พิพากษา | ก. ตัดสินคดีโดยศาล, เรียกตุลาการผู้ทำหน้าที่ตัดสินดังกล่าว ว่า ผู้พิพากษา, เรียกคำตัดสินนั้น ว่า คำพิพากษา. | ภาคตัดกรวย | น. ระบบเส้นโค้งซึ่งกำหนดขึ้นโดยอัตราส่วนระหว่างระยะจากจุดบนเส้นโค้งไปยังจุดโฟกัสกับระยะตั้งฉากจากจุดนั้นไปยังเส้นไดเรกตริกซ์ อัตราส่วนดังกล่าวมีค่าคงตัวเสมอ. | รองพื้น ๑ | ก. อาการที่ทาสีชั้นต้นให้พื้นเรียบเสมอกันเพื่อรองรับสีที่จะระบายหรือทาทับลงไป, เรียกสีที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว ว่า สีรองพื้น | รองพื้น ๑ | อาการที่เอาครีมหรือแป้งเป็นต้นทาหน้าเพื่อให้ผิวหน้าเรียบก่อนแต่งหน้า, เรียกครีมหรือแป้งเป็นต้นที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว ว่า ครีมรองพื้น แป้งรองพื้น. | รากสาดน้อย | น. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ซึม และทำให้ลำไส้อักเสบและเป็นแผล ถ้าร้ายแรง ลำไส้จะทะลุและมีเลือดออกมากับอุจจาระ, เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าวนี้ ว่า ไข้รากสาดน้อย, เรียกโรคที่คล้ายกัน แต่อาการรุนแรงน้อยกว่า เกิดจากเชื้อ Salmonella paratyphi ว่า ไข้รากสาดเทียม. | รากสาดใหญ่ | น. โรคติดเชื้อ Rickettsia มีอาการคล้ายไข้รากสาดน้อย แต่มักจะรุนแรงกว่า มีหลายชนิด ชนิดที่เป็นโรคระบาดเกิดจากเชื้อ Rickettsia prowaseki, เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าวนี้ ว่า ไข้รากสาดใหญ่. | แล่น ๒ | น. หลอดสำหรับเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะเช่นทอง นาก เงินให้ติดกัน, เรียกกิริยาที่ใช้หลอดเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะดังกล่าวว่า เป่าแล่น. | สงฆ์ | ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. | สร้อยนกเขา | น. ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Osteochilus และ Dangila วงศ์ Cyprinidae ที่มีจุดสีเข้มบนเกล็ด ทำให้เห็นเป็นแถวของจุดเรียงตามยาวอยู่ข้างตัวหลายแถว เหนือครีบอกหรือที่คอดหางมีแต้มหรือจุดสีดำใหญ่ โดยเฉพาะที่พบทั่วไปคือ ชนิด O. hasselti (Valenciennes) ที่ส่วนหลังมีสีเขียวหรือฟ้าเทา ด้านข้างสีนวลและท้องเป็นสีขาวเงิน และมีกลุ่มจุดสีแดงกระจายอยู่เหนือครีบอก ครีบต่าง ๆ ยกเว้นครีบอกมีสีแดงหรืออมแดง ในบางท้องที่ปลาชนิดนี้จะมีสีดังกล่าวจางมาก ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ขี้ขม นกเขา ทองลิน หรือ ตูโบ ก็เรียก. | ส้อม | ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับเสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลมดังกล่าว ว่า อ้อยส้อม. | สาบสูญ | น. เรียกบุคคลซึ่งได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา ๕ ปี และศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ว่า คนสาบสูญ ระยะเวลา ๕ ปี ดังกล่าว ลดลงเหลือ ๒ ปี นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว หรือนับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางไป ได้อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหาย หรือนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิต นอกจากที่ระบุไว้ใน ๒ กรณีดังกล่าวข้างต้นได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น. | สิ่งที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ | น. ชื่อสัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และที่สามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว. | หินปูน | น. หินที่มีเนื้อสารเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเกือบทั้งสิ้น สารประกอบหินดังกล่าวเกิดจากการตกตะกอนเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีก็มี และที่เกิดจากการตกจมรวมตัวเป็นพืดใหญ่ของสัตว์ประเภทมีเปลือกหุ้มตัวเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตก็มี. | หุ้นกู้ | น. ตราสารแห่งหนี้ที่แบ่งเป็นหน่วยแต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่ากันและกำหนดประโยชน์ตอบแทนไว้เป็นการล่วงหน้าในอัตราเท่ากันทุกหน่วย โดยบริษัทออกให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ซื้อ เพื่อแสดงสิทธิที่จะได้รับเงินหรือผลประโยชน์อื่นของผู้ถือตราสารดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงตั๋วเงิน. |
| Thermoluminescence | เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์, ปรากฏการณ์การเปล่งแสงของสารบางชนิดเมื่อได้รับความร้อน นำมาประยุกต์ใช้วัดปริมาณรังสีที่สารนั้นดูดกลืนไว้ เช่น การวัดปริมาณรังสีด้วยทีแอลดี การหาอายุโบราณวัตถุและโบราณสถาน เทอร์โมลูมิเนสเซนซ์เกิดเมื่อสารได้รับรังสีและดูดกลืนพลังงานจากรังสีไว้ ทำให้อิเล็กตรอนส่วนหนึ่งหลุดออกมา และบางส่วนจะถูกจับไว้ในผลึกที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อนำมากระตุ้นด้วยความร้อน อิเล็กตรอนดังกล่าวจะถูกปลดปล่อยออกมาพร้อมทั้งคายพลังงานในรูปของแสง ตัวอย่างสารเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ในธรรมชาติ เช่น แร่แคลไซต์ แร่โดโลไมต์ หินฟันม้า หินเขี้ยวหนุมาน เพทาย และสารที่สังเคราะห์ขึ้น เช่น แคลเซียมฟลูออไรด์ (ดู thermoluminescence dating ประกอบ) [นิวเคลียร์] | Security | การป้องกัน, มาตรการป้องกันการสูญหาย การลักขโมยวัสดุนิวเคลียร์ หรือวัสดุกัมมันตรังสี รวมถึงการขนย้ายและการเข้าถึงวัสดุดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต (ดู physical protection ประกอบ) [นิวเคลียร์] | Radiopharmaceutics | สารเภสัชรังสี, เภสัชภัณฑ์รังสี, ผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในรูปของสารประกอบหรือสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสารกัมมันตรังสีเกาะอยู่ในโมเลกุล ซึ่งผลิตขึ้นตามมาตรฐานสากลเภสัชรังสี ใช้ตรวจวินิจฉัยหรือบำบัดรักษา การให้สารเภสัชรังสีแก่ผู้ป่วยกระทำโดยการฉีดหรือกิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสารเภสัชรังสีดังกล่าวจะไปกระจายตัวอยู่ในอวัยวะที่ต้องการตรวจหรือรักษา (target organ) โดยแสดงพยาธิสภาพตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นในอวัยวะนั้นๆ สารเภสัชรังสีที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น <br><sup>99m</sup>Tc-MDP ใช้ตรวจกระดูก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAA ใช้ตรวจปอด</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MIBI ใช้ตรวจกล้ามเนื้อหัวใจ, tumor ทรวงอก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DISIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-BROMIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-HMPAO ใช้ตรวจสมอง</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DTPA ใช้ตรวจสมองและไต</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAG3 ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-Hippuran ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-MIBG ใช้ตรวจต่อมหมวกไต</br> <br>Na13<sup>1</sup>I ใช้ตรวจและรักษาโรคไทรอยด์</br> <br><sup>153</sup>Sm-EDTMP ใช้บรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูก [นิวเคลียร์] | Radiopharmaceuticals | สารเภสัชรังสี, เภสัชภัณฑ์รังสี, ผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในรูปของสารประกอบหรือสารประกอบเชิงซ้อนที่มีสารกัมมันตรังสีเกาะอยู่ในโมเลกุล ซึ่งผลิตขึ้นตามมาตรฐานสากลเภสัชรังสี ใช้ตรวจวินิจฉัยหรือบำบัดรักษา การให้สารเภสัชรังสีแก่ผู้ป่วยกระทำโดยการฉีดหรือกิน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสารเภสัชรังสีดังกล่าวจะไปกระจายตัวอยู่ในอวัยวะที่ต้องการตรวจหรือรักษา (target organ) โดยแสดงพยาธิสภาพตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นในอวัยวะนั้นๆ สารเภสัชรังสีที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น <br><sup>99m</sup>Tc-MDP ใช้ตรวจกระดูก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAA ใช้ตรวจปอด</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MIBI ใช้ตรวจกล้ามเนื้อหัวใจ, tumor ทรวงอก</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DISIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-BROMIDA ใช้ตรวจตับและระบบท่อน้ำดี</br> <br><sup>99m</sup>Tc-HMPAO ใช้ตรวจสมอง</br> <br><sup>99m</sup>Tc-DTPA ใช้ตรวจสมองและไต</br> <br><sup>99m</sup>Tc-MAG3 ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-Hippuran ใช้ตรวจไต</br> <br><sup>131</sup>I-MIBG ใช้ตรวจต่อมหมวกไต</br> <br>Na13<sup>1</sup>I ใช้ตรวจและรักษาโรคไทรอยด์</br> <br><sup>153</sup>Sm-EDTMP ใช้บรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูก [นิวเคลียร์] | Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] | Nuclear material | วัสดุนิวเคลียร์, วัสดุเฟอร์ไทล์ พลูโทเนียมที่มีพลูโทเนียม-238 น้อยกว่าร้อยละ 80 ยูเรเนียม-233 ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ ยูเรเนียมที่มีส่วนผสมของไอโซโทปต่างไปจากที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ ที่ไม่ใช่แร่หรือกากแร่ และวัสดุใดๆ ที่เป็นส่วนผสมวัสดุดังกล่าวข้างต้น, Example: [นิวเคลียร์] | Naturally occurring radionuclides | นิวไคลด์กัมมันตรังสีตามธรรมชาติ, นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนพื้นโลกในปริมาณที่มีนัยสำคัญ (significant quantities) โดยทั่วไปหมายถึงนิวไคลด์กัมมันตรังสีเกิดพร้อมโลก ซึ่งได้แก่ โพแทสเซียม-40 ยูเรเนียม-235 ยูเรเนียม-238 ทอเรียม-232 และผลผลิตการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ดังกล่าว นอกจากนี้ยังรวมถึงทริเทียมและคาร์บอน-14 ซึ่งเกิดจากกระบวนการเชิงก่อกัมมันตภาพรังสีตามธรรมชาติด้วย, Example: [นิวเคลียร์] | Mutagenesis | กระบวนการกลายพันธุ์, กระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอ ของเซลล์สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เซลล์นั้นหรือเซลล์ที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ดังกล่าวมีรูปร่างลักษณะหรือพฤติกรรมต่างไปจากเดิม กระบวนการนี้อาจเกิดขึ้นเอง หรือเกิดจากการเหนี่ยวนำโดยสิ่งก่อกลายพันธุ์ ถ้าเกิดที่เซลล์สืบพันธุ์ จะมีการส่งผ่านหรือถ่ายทอดลักษณะผิดปกติไปยังรุ่นถัดไป แต่ถ้าเกิดที่เซลล์ร่างกาย การกลายจะจำกัดเฉพาะที่เนื้อเยื่อส่วนนั้น [นิวเคลียร์] | Augmentative and Alternative Communication Program | ซอฟต์แวร์ช่วยในการสื่อสารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด, ซอฟต์แวร์ช่วยในการสื่อสารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูด โดยใช้รูปภาพหรือข้อความเป็นรูปแทนการสื่อความหมาย เมื่อเลือกรูปแทนแล้ว โปรแกรมจะเล่นเสียงที่บันทึกไว้ของรูปแทนดังกล่าวออกมา โปรแกรมชนิดนี้พัฒนาขึ้นในประเทศไทย ชื่อ "ปราศรัย" ทำหน้าที่เป็นเสมือนกล่องที่บรรจุเสียงพูดที่ใช้ในการสนทนาไว้อย่างไม่จำกัดจำนวน โดยจัดเก็บเสียงเป็นแฟ้มเสียงไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ [Assistive Technology] | ็Halt trade | หลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่ระหว่างถูกห้ามซื้อขาย, Example: เครื่องหมายนี้ย่อมาจาก halt trade ตลาดหลักทรัพย์ติดเครื่องหมายนี้ไว้บนหลักทรัพย์เพื่อแสดงให้ผู้ลงทุนทราบว่า หลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่ระหว่างถูกห้ามซื้อขายสำหรับช่วงเวลาการซื้อขายรอบนั้น ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย H แก่หลักทรัพย์ที่ปรากฏว่า มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้นในระหว่างเวลาซื้อขายรอบดังกล่าว และอยู่ระหว่างรอการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดเผยได้ทันที [ตลาดทุน] | Suspension | เครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์ติดบนหลักทรัพย์เพื่อแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างถูกห้ามซื้อขายชั่วคราว, Example: ย่อมาจาก suspension เป็นเครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์ติดบนหลักทรัพย์เพื่อแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างถูกห้ามซื้อขายชั่วคราว ตลาดหลักทรัพย์จะสั่งห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทใดเป็นการชั่วคราวเมื่อ 1. บริษัทนั้นฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ 2. ปรากฏข่าวสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินหรือผลการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งมีผลกระทบ หรืออาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทอย่างรุนแรง โดยที่ข่าวสารนั้นยังไม่ได้เปิดเผยต่อ สาธารณชนผ่านตลาดหลักทรัพย์ หรืออยู่ระหว่างที่ตลาดหลักทรัพย์กำลังรอการเปิดเผยข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่สอบถามไป หรือกำ ลังรอการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเพราะรายงานที่ได้รับยังไม่ครบถ้วนชัดเจนเพียงพอ 3. บริษัทขอให้ตลาดหลักทรัพย์สั่งพักการซื้อขายหุ้นของบริษัทเนื่องจากมีข่าวหรือข้อมูลสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ที่อยู่บน special board (กระดานพิเศษ) ซึ่งเป็นส่วนของระบบ ARMS ที่ใช้วิธีซื้อขายแบบ Put Through เพื่อรองรับการซื้อขายตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรหุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ เป็นต้น ทั้งนี้แต่ละรายการซื้อขายจะต้องต่ำกว่า 1 ล้านหุ้น หรือมีมูลค่าต่ำกว่า 3 ล้านบาท(การซื้อขายตราสาร หนี้จำนวนมากดังกล่าวหรือมากกว่า จะต้องกระทำบน Big-Lot Board) การซื้อขายบนกระดานนี้ไม่นำเรื่อง Floor Price และ Ceiling Price มาใช้บังคับ [ตลาดทุน] | Accession | การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต] | ASEAN Investment Area | เขตการลงทุนอาเซียน จัดตั้งขึ้นตามกรอบความตกลงว่าด้วยเขตลงทุนอาเซียน ที่ลงนามเมื่อ ปี พ.ศ. 2541 เพื่อส่งเสริมให้มีภาวะการลงทุนที่โปร่งใสและเสรีในอาเซียนในอันที่จะดึงดูด การลงทุนจากภายในและภายนอกภูมิภาค โดยให้ประเทศสมาชิกเปิดให้มีการลงทุนทางอุตสาหกรรม และให้มี การประติบัติเยี่ยงคนชาติแก่นักลงทุนอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2553 และแก่นักลงทุนทั่วไปภายในปี พ.ศ. 2563 โดยครอบคลุมการลงทุนโดยตรง ทั้งหมดในสาขาอุตสาหกรรมการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ รวมทั้งการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาการผลิตดังกล่าว ยกเว้นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ [การทูต] | Amendments to the Charter of the United Nations | การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต] | ASEAN Ministerial Meeting on Science and Technology | การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี " จัดขึ้นเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อหารือ กำหนดนโยบาย และติดตามผลความคืบหน้าของการดำเนินงานความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยในช่วงกลางระหว่างสามปีดังกล่าวจะมีการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่เป็นทางการด้วย " [การทูต] | Australia-New Zealand-US | สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-สหรัฐอเมริกา " โดยตกลงให้มีการช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อถูกคุกคามจากประเทศนอกภาคี ปัจจุบัน ANZUS ยังคงสถานะอยู่แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ (non-operational) เนื่องจากความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับนิวซีแลนด์ยุติลง โดยนิวซีแลนด์ยังไม่ละทิ้งสนธิสัญญา ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าอาจจะมีการรื้อฟื้นขึ้นอีก " [การทูต] | apartheid | การปกครองประเทศแบบแบ่งแยกผิวพันธุ์ เป็นระบบปกครองที่ใช้ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งโดยไม่ แบ่งแยกผิวพันธุ์ครั้งแรกขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน 2537 ในระบบการปกครองดังกล่าว ประชาชนแอฟริกาใต้ผิวดำถูกจำกัดสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิทางด้านการเมือง สิทธิการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิรับสมัครเลือกตั้ง การเป็นสมาชิกรัฐสภา การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินบางพื้นที่ การเลือกที่อยู่อาศัย การใช้สถานที่พักผ่อน การรับราชการ การเข้ารับการศึกษา การประกอบอาชีพ และการใช้บริการสาธารณูปโภคจากรัฐบาล เป็นต้น [การทูต] | ASEAN Committees in Third Countries | คณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม เป็นกลไกประสานงานของอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นในเมืองหลวงของประเทศที่สาม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำประเทศนั้น ๆ [การทูต] | Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] | Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] | Congress of Vienna | เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต] | Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] | Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] | Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] | Diplomatic Privilege of Accommodation | มาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต] | Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] | Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] | Drug-Free ASEAN | อาเซียนที่ปลอดจากยาเสพติด เป็นคำประกาศของอาเซียนในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 31 ที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการตั้งเป้าหมาย ที่จะทำให้ภูมิภาคนี้ปลอดจากยาเสพติดในปี พ.ศ. 2563 และต่อมา ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 ได้ประกาศร่นกำหนดเวลาดังกล่าวให้เร็วขึ้น 5 ปี จากเดิมในปี พ.ศ. 2563 เป็นปี พ.ศ. 2558 [การทูต] | Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] | Establishment of Diplomatic Relations and Missions | การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต] | Exemption from Customs Duties and Inspection of Diplomatic Mission?s Articles | การยกเว้นจากอากรศุลกากร และการตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของคณะผู้แทนทางการทูต การยกเว้นดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นเรื่องของการแสดงอัธยาศัยไมตรีระหว่งประเทศที่ให้ต่อกันมากกว่า กฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้กำหนดพันธะที่จะต้องให้การยกเว้นจากอากรศุลกากร อย่างไรก็ดี รัฐส่วนมากได้แสดงอัธยาศัยไมตรีโดยให้ผู้แทนทางการทูตได้รับการยกเว้นอากร ศุลกากรแก่สินค้าและเครื่องใช้ที่นำเข้ามาใช้ในส่วนตัวเองอนุสัญญากรุง เวียนนาได้ระบุไว้ในมาตรที่ 36 ว่า1. รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและอำนวยให้มีการยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี ตลอดจนค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล นอกจากค่าภาระในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการ ให้ทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดไว้แก่ก. สิ่งของสำหรับใช้ในทางการของคณะผู้แทนข. สิ่งของสำหรับใช้ส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสิ่งของที่แสดงเจตนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางการทูตด้วย2. หีบห่อส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต ให้ได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หีบห่อส่วนตัวนั้นบรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้นที่ได้ระบุไว้ ในวรรค 1 ของข้อนี้ หรือสิ่งของซึ่งการนำเข้าหรือส่งออกนั้นต้องห้ามทางกฎหมาย หรือถูกควบคุมตามข้อบังคับว่าด้วยการกักตรวจโรคของรัฐผู้รับ การตรวจตราเช่นว่านี้ให้กระทำต่อหน้าตัวแทนทางการทูต หรือต่อหน้าผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจของตัวแทนทางการทูตเท่านั้น [การทูต] | Freedom of Movement of Diplomatic Agents | เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและการเดินทางของผู้แทน ทางการทูต โดยปกติ รัฐผู้รับย่อมอนุญาตโดยเสรีแก่ผู้แทนทางการทูต ที่จะเคลื่อนย้ายและเดินทางไปไหนมาไหนได้ทั่วประเทศ แต่ระหว่างสงครามเย็นที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการทูตของกลุ่ม ประเทศคอมมิวนิสต์บางแห่ง ได้แก่ สหภาพโซเวียต บัลแกเรีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี รูเมเนีย และโปแลนด์ นัยว่าสหรัฐฯ ได้กำหนดเขตแขวงในดินแดนของตน 355 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นเขตห้ามเข้าสำหรับผู้แทนทางการทูตของประเทศเหล่านั้นในทำนองเดียวกัน กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ดังกล่าวก็ได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการ ทูตของสหรัฐฯ เช่นกัน สำหรับเสรีภาพการเคลื่อนย้ายนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในข้อ 26 ว่า?ภายในบังคับของกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตหวงห้ามหรือวางระเบียบไว้ โดยเหตุผลของความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันแก่สมาชิกทั้งมวลของคณะเกี่ยวกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน? [การทูต] | Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] | Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] | Government in Exile | รัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง [การทูต] | Honorary Consul | กงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต] | Humanitarian Intervention | การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต] | International Narcotics Control Board | คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ทำหน้าที่ติดตามความเคลื่อนไหวของสารเสพติดที่ใช้ในด้านการแพทย์ รวมทั้งควบคุมดูแลการค้าสารเคมีระหว่างประเทศ เพื่อกำจัดช่องทางการลักลอบใช้สารดังกล่าว [การทูต] | International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] | International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] | International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] | International Trade Organization | องค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต] | Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] | Iron Curtain | ม่านเหล็ก เป็นศัพท์ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นหมายถึงเครื่องกีดขวางปิดกั้นเขต ซึ่งโซเวียตรัสเซียและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้มีการ ติดต่อหรือเดินทางเข้าไปในอาณาเขตของประเทศดังกล่าว ที่เรียกกันว่า ประเทศหลังม่านเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองในระหว่างสงครามเย็น แต่ภายหลังที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ม่านเหล็กก็พลอยหมดสภาพไปในที่สุด [การทูต] | International Telecommunication Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านโทรคมนาคม สนับสนุนการพัฒนาในด้านดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชาติทั้งปวง [การทูต] | Joint Development Area | พื้นที่พัฒนาร่วม " หมายถึง พื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแก้ไขปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะแปรปัญหาเขตทับซ้อนในไหล่ทวีป ซึ่งมีพื้นที่ 7,250 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วม โดยการแสวงหาและนำเอาทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวมาใช้และแบ่งปันผล ประโยชน์ บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันในลักษณะ 50 : 50 ซึ่งนับว่าเป็น ตัวอย่างที่ดีในการแก้ไขกรณีพิพาทเกี่ยวกับเขตทับซ้อนทางทะเลสำหรับประเทศ อื่น ๆ " [การทูต] | marginalisation (marginalization) | การถูกเบียดตกขอบ สภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่ออนาคตการพัฒนาและเศรษฐกิจของประเทศใด ประเทศหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกที่มีบูรณาการ (integration) เพิ่มขึ้น สภาพการณ์ดังกล่าวมักถูกมองว่าเกิดขึ้นควบคู่ไปกับโลกาภิวัตน์ และประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดมีโอกาสเสี่ยงที่จะตกอยู่ใน สภาวการณ์นี้ เนื่องจากประสบความยากลำบากในการปฏิบัติตามพันธกรณีการเปิดเสรีทางการค้า กอปรกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ประเทศเหล่านี้พึ่งพาตกต่ำลง [การทูต] | Marshall Plan | แผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต] | National Holiday | วันชาติ คือสถานเอกอัครราชทูตทีมีอยู่ทั่วโลก จะนิยมฉลองวันชาติของประเทศของตน ส่วนมากจะถือเอาวันครบรอบปีแห่งการประกาศเอกราช หรือวันครบรอบปีของเหตุการณ์ที่ทรงความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของ ประเทศตนเป็นวันชาติ ส่วนในประเทศที่มีระบอบกษัตริย์ ก็จะยึดเอาวันพระราชสมภพชองกษัตริย์หรือราชินีเป็นวันชาติของประเทศ ในวันชาติ สถานเอกอัครราชทูตจะมีธรรมเนียมจัดงานเลี้ยงรับรอง (Reception) ขึ้นในสถานเอกอัครราชทูตของตนหรือหากเป็นการไม่สะดวกที่จัดงานดังกล่าวขึ้น ในสถานทูต ก็มักไปจัดกัน ณ โรงแรมที่เหมาะสม ในงานเลี้ยงรับรองนี้จะเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงการต่างประทเศ หัวหน้าคณะทูตข้าราชการในสถานเอกอัครราชทูตอื่น ๆ นักหนังสือพิมพ์ เจ้าหน้าที่สื่อมวลชน บุคคลชั้นนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม บรรดาคนชาติเดียวกับเอกอัครราชทูตที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศนั้น ตลอดจนบุคคลสำคัญในสังคม รวมทั้งมิตรสหายของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่สมควรเชิญ [การทูต] | national reconciliation | การปรองดองแห่งชาติ หมายถึง กระบวนการสร้างสันติภาพ และเอกภาพภายในชาติ โดยให้กลุ่มต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันได้มีส่วนร่วมในการกระบวนการดังกล่าว [การทูต] |
| ดังกล่าว | [dang klāo] (x) EN: aforementioned ; as above ; as stated ; as mentioned above ; aforesaid FR: comme mentionné ci-dessus ; supra |
| flocculant | (n) สารที่ช่วยจับกลุ่มอนุภาคสารที่ทำให้เกิด floc (ตะกอนเบาซึ่งเกิดขึ้นช้า ๆ เมื่อเติมสารนี้ลงในสารแขวนลอยหรือของเหลวแขวนตะกอน จะทำให้อนุภาคต่าง ๆ ที่แขวนลอยอยู่มารวมตัวกันเป็นตะกอนมีน้ำหนักแล้วจมลงนอนก้น สารที่มีสมบัติดังกล่าว ได้แก่ potash alum ซึ่งมีสูตร K2SO4.Al.(SO4)3.24H2O และสารส้ม (alum) ซึ่งมีสูตร Al2(SO4)3.14H2O | casserole | (n) ชามก้นลึกหรือหม้อสำหรับอบหรือปิ้ง, อาหารอบหรือปิ้งจากภาชนะดังกล่าว, ชามเล็กๆ ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ, หม้อที่มีฝาปิดสำหรับต้มหรือเคี่ยว เช่น In the casserole dish, heat the water with the salt and pepper. | blockchain | (n) บล็อกเชน, วิธีการเก็บข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงตามหลักการทางบัญชี โดยการเข้ารหัสและจัดเรียงข้อมูลเหล่านี้ต่อกันตามลำดับเวลาที่ข้อมูลเข้ามา กลุ่มข้อมูลดังกล่าวจะเผยแพร่ไปให้ผู้ใช้ในเครือข่ายที่กำหนดได้ทราบทั่วกัน ทั้งนี้ ผู้ใช้ทุกคนจะทราบการแก้ไขเพิ่มเติมรายการเปลี่ยนแปลงในบล็อกเชนทุกรายการตลอดเวลา [ ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา ] |
| | aba | (อะบา' อาบา) n. สิ่งทอขนอูฐหรือขนแกะเสื้อคลุมที่ไม่มีแขนที่ทำด้วยสิ่งทอดังกล่าว ใช้โดยชาวอาหรับ | acanthopterygian | (อะแคนธอพทะริจ' เจียน) adj. เกี่ยวกับปลาที่เหมือมีหนาม (Acanthopterygii) , ปลาดังกล่าว bass and perch) | acidophil | (แอส' ซิโดฟิล, แอสซิด' โดฟิลลิค) adj. ซึ่งติดนิย้อม acid dyes ได้ดี, เซลล์หรือเนื้อเยื่อที่มีคุณสมบัติดังกล่าว., Syn. acidophilous | agora | (แอก' โกระ) n., (pl. -orae) การชุมนุมทางการเมืองที่มีชื่อเสียง , สถานที่ ๆ มีการชุมนุมดังกล่าว (popular political assembly) | allemande | (แอล' ลิมานดฺ) n., (pl. -mandes) การเต้นรำในศตวรรษที่ 17-18 ที่มีจังหวะคู่ที่ช้า, ดนตรีที่อาศัยหลักการเต้นรำดังกล่าว | alpaca | (แอลแพค' คะ) n. สัตว์คล้ายแกะในอเมริกาใต้ จำพวก Lama ขนของสัตว์ดังกล่าว, สิ่งทอที่ทำด้วยขนสัตว์ดังกล่าว, สิ่งทอที่ทำคล้ายหรือเลียนขนสัตว์ดังกล่าว (genus Lama) | alpha test | การทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะมีข้อความบ่งบอกไว้ว่า เป็น alpha version หมายความว่า รุ่นทดสอบรอบแรก ดู beta version ประกอบ | alpha version | รุ่นทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีข้อความบ่งบอกไว้ว่าเป็นรุ่นทดสอบรอบแรก มีความหมายเหมือน alpha testดู beta version ประกอบ | ambition | (แอมบิช' เชิน) n. ความทะเยอทะยาน, ความมักใหญ่ใฝ่สูง, ความปรารถนาอันแรงกล้า, เป้าหมายของความปรารถนาดังกล่าว . -vt. ปรารถนา อย่างแรงกล้า. -ambitionless adj., Syn. longing, goal, Ant. aimlessness | americana | (อะเมริแคน' นะ) n. หนังสือหรือแผนที่ที่เกี่ยวกับอเมริกา, สิ่งสะสมดังกล่าว | ancestry | (แอน' เซสทรี) n. บรรพบุรุษ, เทือกเถาเหล่ากอทั้งหลาย, วงศ์ตระกูล, มูลรากที่มาของปรากฎการณ์สิ่งของข้อคิดเห็นหรือรูปแบบ, ขบวนการหรือประวัติดังกล่าว, Syn. forefathers, lineage, origin, ancestral descent | anchovy pear | ผลไม้ของต้น Grias cauliflora คล้ายผลมะม่วง, ต้นไม้ดังกล่าว (a West Indian tree) | anglo-norman | (แอง' โกลนอร์' มัน) adj. เกี่ยวกับสมัย ค.ศ.1066-1155 เมื่ออังกฤษถูกปกครองโดยชาวนอร์มัน, เกี่ยวกับภาษาฝรั่งเศสที่ใช้ในอังกฤษในสมัยดังกล่าว. -n. คนหรือภาษาในสมัยดังกล่าว | angora | (แองโก' ระ) n. ขนแพะของชนกระค่ายพันธุ์ Angora, สิ่งทอที่ทำจากขนดังกล่าว. =Ankara., Syn. Angora wool | annuity | (อะนู' อิที) n. เงินรายได้เป็นรายปี, สิทธิที่จะได้รับเงินดังกล่าว, Syn. allowance | anoxia | (แอนออค' เซีย) n. ภาวะที่มีอ็อกซิเจนในเนื้อเยื่อร่างกายต่ำกว่าปกติ, ภาวะผิดปกติทางกายและจิตที่เนื่องจากภาวะดังกล่าว. -anoxic adj. (abnormally low amount of oxygen) | anthem | (แอน' เธม) n. เพลงสดุดี, เพลงสวด, เพลงชาติ, เพลงสรรเสริญพระบารมี, เพลงสรรเสริญที่ร้องโดยคนหลายคน. -vt. สดุดีด้วยเพลงดังกล่าว, Syn. hymn, song, psalm, chant | anti-icer | (แอนทีไอ' เซอะ) n. เครื่องมือป้องกันการเกิดน้ำแข็ง, ของเหลวที่มีฤทธิ์ดังกล่าว | anticlimax | (แอนทีไคล' แมคซฺ) n. เหตุการณ ์ (ข้อสรุป, บทความ, การพูด, เนื้อหา) ที่สำคัญน้อยกว่าที่คาดหมายอย่างกระทันหัน, การเปลี่ยนความเข้มข้นหรือความสำคัญของเรื่องราวดังกล่าวอย่างทันที. -anticlimac- | anticoagulant | (แอนทีโคแอก' กิวเลินทฺ) adj., n. ซึ่งต้านการจับเป็นก้อนหรือลิ่มของเลือด, สารหรือยาที่มีฤทธิ์ดังกล่าว., Syn. anticoagulative | anticorrosive | (แอนทีคะโร' ซิฟว) adj., n. ซึ่งป้องกันหรือต้านการสึกกร่อน, กันสนิม, สารที่ฤทธิ์ดังกล่าว | antiknock | (แอนทินอค') adj., n. กันการระเบิดสะเทือนของเครื่องยนต์, สารที่มีฤทธิ์ดังกล่าว | antipathetic | (al) (แอนทีพาเธท' ทิค, -เคิล) adj. เป็นปรปักษ์ต่อ, ไม่ชอบ, ไม่ลงรอยต่อ, เกลียด, ไม่พอใจกับ, ทำให้มีความรู้สึกดังกล่าว (averse) | antiseptic | (แอนทีเซพ' ทิค) adj., n. ซึ่งป้องกันหรือทำให้ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์, สารหรือ ยาที่มีฤทธิ์ดังกล่าว, Syn. aseptic, disinfectant | antitrade | (แอน' ทีเทรด) n. ลมที่พัดเหนือลม, สินค้าในแถบร้อนของโลก. -adj. เกี่ยวกับลมดังกล่าว (that opposite to the trade winds) | antivenin | (แอนทีเวน' นิน) n. สารต้านพิษงูในเลือดที่เกิดจากการฉีดพิษงูอ่อนมากหลาย ๆ ครั้ง, ซีรัมที่มีสารต้านพิษงูดังกล่าว (an antitoxin) | aquatone | (แอค'วะโทน) n. ขบวนการพิมพ์ระบบออฟเซท (offset) จากแผ่นโลหะที่ฉาบด้วยแยลลาตีนที่ไวต่อแสง, สิ่งตีพิมพ์ด้วยระบบดังกล่าว | arrowroot | (แอร์'โรรุท) n. พืชจำพวก Maranta arudinaceae, ต้นไม้เท้ายายม่อม, ต้นสามสิบ, แป้งไม้เท้ายายม่อม, แป้งของพืชจำพวก ดังกล่าว | astrakhan | (แอส'ทระคัน-แคน) n. หนังลูกแกะเมืองแอสตราแคน, สิ่งทอที่ทำด้วยหนังดังกล่าว. | atavism | (แอท'ทะวิสซึม) n. การปรากฎลักษณะของบรรพบุรุษที่ขาดหายไปบางชั่วคน, สัตว์หรือพืชที่มีลักษณะดังกล่าว, การกลับคืนมาของลักษณะดังกล่าว. -atavist n. (reversion to an earlier type) | attention | (อะเทน'เชิน) n. การเอาใจใส่, ความสนใจ, การเอาอกเอาใจ, การดูแล, การพิจารณา, คำสั่งให้ยืนตรง (แถวทหาร) , การมีคำสั่งดังกล่าว | audio conference | การประชุมทางไกลด้วยเสียงหมายถึง การประชุมระหว่างคนสองคนหรือมากกว่า ที่อยู่ห่างไกลกันมาก แต่สามารถได้ยินเสียงของกันและกันได้ การส่งเสียงดังกล่าวอาจทำให้ผ่านสายโทรศัพท์หรือสัญญาณดาวเทียมก็ได้ | audiographic conference | การประชุมทางไกลด้วยเสียงและภาพหมายถึง การประชุมระหว่างคนสองคนหรือมากกว่า ที่อยู่ห่างไกลกันมาก นอกจากจะได้ยินเสียงของกันและกันแล้ว ยังสามารถเห็นภาพประกอบการประชุมได้ด้วย ภาพดังกล่าวน่าจะเป็นภาพกราฟิกส์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ | aureole | (ออ'รีโอล, -ละ) n. กลด, รัศมีคล้ายแสงเรืองรอบศีรษะของภาพเทพเจ้า, แสงหรือสีที่มีลักษณะดังกล่าว | australoid | (อสส'พระลอยด์) n. มนุษย์เผ่าพันธ์หนึ่งที่รวมทั้งชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย Papuans คนแระในฟิลิปปินส์ มาเลเซีย. -adj. เกี่ยวกับมนุษย์เผ่าพันธุ์ดังกล่าว | avocado | (แอฟวะคา'โด) n. (pl. -dos) ผลไม้คล้ายผลแพร์, ผลแพร์จรเข้, ต้นของผลไม้ดังกล่าว | azov | (อาซอฟ') n. ส่วนเหนือของทะเลดำในเม็กซิโกตอนกลาง, ภาษาของชนชาติดังกล่าว. | aztec | (แอซ' เทค) n. ชื่อชนชาติอินเดียแดงในเม็กซิโกตอนกลาง, ภาษาของชนชาติดังกล่าว - Aztecan adj. | azurite | (แอซ'ซะไรท) n. แร่สีน้ำเงินของ hydrous copper carbonate ซึ่งแร่ทองแดงชนิดหนึ่ง, พลอยที่ประกอบด้วยแร่ชนิดดังกล่าว, หินเขียว (a blue mineral) | baccalaureate | (แบคคะลอ'รีเอท) n. บัณฑิตปริญญาตรี, พิธีศาสนาสำหรับบัณฑิตจบใหม่, คำสวดมนต์ในพิธีดังกล่าว | badge | (แบดจฺ) { badged, badging, badges } n. เหรียญเข็มเหน็บหรือกระดุมที่ประดับเป็นเครื่องหมาย, เครื่องสัญลักษณ์ vt. ติดด้วยสิ่งดังกล่าว, Syn. shield, emblem | baritone | (บาร์'ริโทน) n. เสียงทุ้มของนักร้องชาย, นักร้องที่มีเสียงดังกล่าว, เครื่องดนตรีขนาดใหญ่รูปร่างคล้าย trumpet. adj. เกี่ยวกับ baritone | barytone | (บาร์'ริโทน) n. เสียงทุ้มของนักร้องชาย, นักร้องที่มีเสียงดังกล่าว, เครื่องดนตรีขนาดใหญ่รูปร่างคล้าย trumpet. adj. เกี่ยวกับ baritone | batik | (บะทีค') n. เทคนิคการย้อมสีสิ่งทอด้วยมือโดยใช้ขี้ผึ้งเป็นตัวปกคลุมส่วนที่ไม่ต้องการย้อม, สิ่งทอที่ย้อมสีโดยวิธีดังกล่าว, Syn. battik | beta test | ทดสอบรอบสองหมายถึง โปรแกรมที่ทำออกมาให้ลูกค้าทำการทดสอบเป็นครั้งที่สอง (ครั้งแรกเรียกว่า alpha test) เพื่อจะดูว่า โปรแกรมดังกล่าวปฏิบัติงานตามที่ต้องการได้เรียบร้อยครบถ้วนดีแล้วหรือยัง ก่อนที่จะนำออกขายในตลาด โปรแกรมที่นำออกมาทดสอบเหล่านี้มักจะมีเขียนบอกไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่า ยังเป็นโปรแกรมที่อยู่ในขั้นทดลองใช้ เช่น Alpha 1, Beta 5 ซึ่งหมายถึง รุ่น 1.0 หรือ 5.0 นั่นเองดู alpha test ประกอบ | blackberry | (แบลค'เบอรี) n. ผลเบอรี่ดำของพืชจำพวก Rubus, พืชดังกล่าว | boo | (บู) { booed, booing, boos } interj., n. (การ) คำอุทานแสดงการเหยียดหยามการไม่เห็นด้วย, โห่ฮิ้ว vt. ร้องเสียงอุทานดังกล่าว | braille | (เบรล) n. ตัวหนังสือนูนสำหรับคนตาพิการ, ชื่อผู้สร้างตัวหนังสือดังกล่าว vt. เขียนตัวหนังสือเบรลล์ | broadway | (บรอด'เวย์) n. ชื่อถนนสายใหญ่ในกรุงนิวยอร์ก, ย่านโรงละครโรงภาพยนต์ที่อยู่ในบริเวณถนนดังกล่าว adj. เกี่ยวกับอุตสาหกรรมโรงภาพยนต์หรือโรงละคร, See also: broadwayite n. | brunch | (บรันชฺ) { brunched, brunching, brunches } n. อาหารเช้าที่สาย, อาหารที่เป็นทั้งอาหารเช้าและอาหารเที่ยง. vi. กินมื้อ อาหารดังกล่าว |
| | Chloroprene rubber | (n) ยางคลอโรพรีน เป็นยางที่สังเคราะห์จากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม เป็นยางที่มีขั้วเนื่องจากประกอบด้วยอะตอมของคลอรีน ทำให้ยางชนิดนี้มีสมบัติด้านการทนไฟ, ความทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้งานในลักษณะดังกล่าวได้แก่ ยางซีล, ยางสายพานลำเลียงในเหมืองแร่ เป็นต้น | community enterprise | กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน | cooperage | (n) กิจการที่เกี่ยวกับการทำถังไม้ เช่น ถังไม้โอ๊คสำหรับบ่มไวน์ หรือสถานที่สำหรับดำเนินการดังกล่าว หรือสิ่งที่ช่างทำถัง (COOPER) ทำออกมา อ่านว่า คูป-เปอร์-ริจ | cyber security | ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์, ภาวะที่เครือข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และข้อมูล พ้นจากภัยคุกคาม มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ คงความลับ คงความถูกต้องครบถ้วน และคงความพร้อมใช้งาน ภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยบุคลากร กระบวนการทำงาน และเครื่องมือ ที่เหมาะสม [ ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา ] | infarction | [อิน ฟาร์ค ชั่น] (n) เป็นการตายของเนื้อเยื่อ (necrosis)เนื่องจากบริเวรที่เกิดปัญหามีเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอหรือไม่มีเลือดไปเลี้ยงเลยทำให้เกีดเป็นบริเวณเนื้อตาย อาจเกีดจากการอุดตัน การแตกของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยง ซึ่งรอยโรคที่เกิดจากพภาวะดังกล่าวเรียกว่า an infarct (มาจากภาษาลาตินคำว่า infartus "อุดตัน.) ตัวอย่าง cerebral infarction "เนื้อสมองตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง" | malware | (n) Malicious software (mal-ware) is a form of computer program designed with malicious intent. This intent may be to cause annoying pop-up ads with the hope you click on one and generate revenue, or forms of spyware and viruses that can be used to steal your identity or track your activities. รูปแบบหนึ่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ถูกออกแบบมาด้วยจุดประสงค์แอบแฝงบางอย่าง จุดประสงค์ดังกล่าวอาจจะเพื่อสร้างหน้าต่างโฆษณาที่เปิดขึ้นมาเองโดยอัติโนมัติ ด้วยความหวังที่ว่าจะให้คุณกดเข้าไปและสร้างรายได้ให้กับบุคคลเหล่านั้น หรือ รูปแบบของ spyware และ ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่สามารถใช้เพื่อการขโมยตัวตนของคุณบนอินเตอร์เน็ต หรือ ติดตามกิจกรรมต่างของคุณ, Syn. Malicious software | oligohydramnios | (n) ถุงน้ำคร่ำแตกตั้งแต่อายุครรภ์อ่อนๆ ทำให้น้ำคร่ำในโพรงมดลูกลดน้อยลง ทารกในครรภ์จะถูกกดทับโดยผนังมดลูกจนทำให้ทารกมีความพิการเกิดขึ้น เช่น เท้าปุก (club foot) บางครั้งทำให้ทารกมีกลุ่มอาการคล้ายกับที่พบใน Potter’s syndrom ซึ่งเรียกกลุ่มอาการดังกล่าวว่า | oligohydramnios | (n) ถุงน้ำคร่ำแตกตั้งแต่อายุครรภ์อ่อนๆ ทำให้น้ำคร่ำในโพรงมดลูกลดน้อยลง ทารกในครรภ์จะถูกกดทับโดยผนังมดลูกจนทำให้ทารกมีความพิการเกิดขึ้น เช่น เท้าปุก (club foot) บางครั้งทำให้ทารกมีกลุ่มอาการคล้ายกับที่พบใน Potter’s syndrom ซึ่งเรียกกลุ่มอาการดังกล่าวว่า oligohydramnios tetrad | overlapping territorial claims area | (n) พื้นที่ทับซ้อน, พื้นที่ทางบกหรือทางทะเลซึ่งมีประเทศมากกว่า ๑ ประเทศ อ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ สงคราม ความเชื่อทางศาสนา ที่ตั้งของชุมชนทางชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย หรือผลประโยชน์แห่งรัฐ เช่น พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารที่มีปัญหาการอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าว ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา. หมู่เกาะสแปรตลีที่เป็นพื้นที่ทับซ้อน มีหลายประเทศต่างอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะทั้งหมดหรือบางส่วนของหมู่เกาะ ได้แก่ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน บูรไน และ มาเลเซีย | RSV | (abbrev) ไวรัส RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจตั้งแต่ส่วนบนจนถึงส่วนล่าง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหลอดลมฝอยอักเสบ (Acute bronchiolitis) และอาจทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อได้ (Pneumonia) โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กที่มีโรคประจำตัว คลอดก่อนกำหนด ฯลฯ อาการเริ่มแรกเหมือนไข้หวัด คือ มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล แต่จะมีไอมาก เสมหะเยอะและเหนียวข้น หายใจหอบเหนื่อย หน้าอกบุ๋ม อาจมีเสียหงายใจดังวี๊ดๆ ซึม ไม่กินน้ำ หงุดหงิด กระวุนกระวาย มีสีเขียวคล้ำบริเวณริมฝีปาก หรือ ปลายมือปลายเท้า เนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน หากมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์ ที่มา: เอกสารแผ่นพับจากโรงเรียนอนุบาลชนานันท์ เรียบเรียงโดยก้านแก้ว จากการสัมภาษณ์ เรืออากาศเอกแพทย์หญิงหฤทัย กมลาภรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี | Shrink Wrap License | สัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาตัวอย่าง (Model Contract) เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวใช้เป็นแบบในการทำสัญญา | the rich and famous | (n) บุคคลที่ร่ำรวยและโด่งดังในวงสังคม; กลุ่มคนดังกล่าว | water monitor | (n) ตะกวด ตัวเหี้ย สัตว์เลื้อยคลานประเภทดังกล่าว |
| ボーカル | [ぼーかる, bokaru] (adj) (โว'เคิล) adj. เกี่ยวกับเสียงเปล่ง, เกี่ยวกับเสียงพูด, เกี่ยวกับเสียงร้อง, แสดงด้วยวาจา. n. เสียงดังกล่าว, เสียงร้อง., S. . vocally adv. |
|
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |