ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: แอฟริกา, -แอฟริกา- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ ปูจั๊กจั่น | (n) Red Frog Crab, Spanner Crab หรือ Kona Crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ranina vanima) เป็นปูในวงศ์ รานินีดี้ (Family Raninidae) ถิ่นที่อยู่ตั้งแต่หมู่เกาะฮาวาย ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ไทย จนไปถึงหมู่ เกาะอินโดนีเซีย และ แอฟริกาตะวันออก |
|
| แอฟริกา | (n) Africa | แอฟริกา | (n) Africa, Syn. ทวีปแอฟริกา, Example: ประชากรที่ป่วยเป็นโรคขาดอาหารมักจะอยู่ในประเทศเกษตรกรรมแถบเอเชียและแอฟริกาเช่น อินเดีย เอธิโอเปีย, Thai Definition: ชื่อทวีปในโลก | แอฟริกาใต้ | (n) South Africa, Example: การจำแนกผิวผิดกฎหมายในสหรัฐ แต่ถูกกฎหมายในแอฟริกาใต้, Thai Definition: ชื่อประเทศในแอฟริกา, Notes: (อังกฤษ) | ทวีปแอฟริกา | (n) Africa, Syn. ทวีปมืด, กาฬทวีป, Example: ยีราฟมีถิ่นอาศัยในทวีปแอฟริกา แถบทุ่งหญ้าซาวันน่า ทะเลทรายซาฮาร่า, Thai Definition: ทวีปซึ่งอยู่ทางใต้ของทวีปยุโรป ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย | กรมเอเซียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา | (n) Department of South Asian, Middle East and African Affairs |
| ช้างแอฟริกา | น. ชื่อช้างชนิด Loxodonta africana (Blumenbach) รูปร่างสูงเพรียวกว่าช้างเอเชีย หัวเล็กลาดลงไปข้างหน้าถึงโคนงวง ปลายงวงทั้งด้านบนและด้านล่างมีจะงอยด้านละ ๑ จะงอย ใบหูใหญ่รูปคล้ายพัด มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย หนังหยาบแข็ง มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง และมุมปาก ท้องป่อง หลังแอ่น นูนสูงขึ้นบริเวณท้ายลำตัว หางสั้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๓ เล็บ แต่บางตัวมี ๔ เล็บ. | กระจอกเทศ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Struthio camelus Linn. ในวงศ์ Struthiornidae เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีน้ำตาล ขาใหญ่แข็งแรง ตีนมี ๒ นิ้ว วิ่งเร็ว แต่บินไม่ได้ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ปัจจุบันนำมาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยเพื่อเป็นอาหาร. | กอริลลา | น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla Savage & Wyman ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ลํ่าสันและแข็งแรงกว่ามาก ขนลำตัวสีดำหรือสีเทา มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา. | กาแฟ ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Coffea วงศ์ Rubiaceae เช่น ชนิด C. arabica L., C. canephora Pierre ex A. Froehner และ C. libericaBull. ex Hiern ชนิดหลังนี้ กาแฟใบใหญ่ ก็เรียก, กาแฟเป็นพืชแถบทวีปแอฟริกา ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เมล็ดแก่คั่วแล้วบด ใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม ในเมล็ดกาแฟมีสารเคมีชนิดหนึ่ง เรียกว่า กาเฟอีน. | แขก ๒ | น. คำเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ ยกเว้นชาวยิว แอฟริกาเหนือ และ นิโกร. | ช้าง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุด ในวงศ์ Elephantidae ผิวหนังหนา สีดำหรือดำอมเทา รับสัมผัสได้ไว ขนสีดำ จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ปลายงวงมีจะงอยสำหรับจับสิ่งของ ขมับทั้ง ๒ ข้างมีรูเปิดของต่อมน้ำมัน จะมีน้ำมันไหลออกมาเมื่อถึงวัย ขาใหญ่เป็นลำ กินพืช มี ๒ ชนิด คือ ช้างเอเชียและช้างแอฟริกา. | ชิมแปนซี | น. ชื่อลิงไม่มีหางในวงศ์ Pongidae ขนสีดำหรือน้ำตาลดำ บริเวณใกล้ก้นมีขนสีขาว หน้า ใบ หู ก้น ฝ่ามือ และฝ่าตีนไม่มีขน แขนและขายาวเกือบเท่ากัน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Pan troglodytes (Blumenbach) และชิมแปนซีแคระ [ P. paniscus (Schwarz) ] ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา อยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถนำมาฝึกหัดให้เลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ได้. | ต๊อก ๒ | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Numida meleagris (Linn.) ในวงศ์ Numididae ตัวสีเทาลายขาว เหนียงสีแดง กินเมล็ดพืชและสัตว์ขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา, ไก่ต๊อก ก็เรียก. | ตะวันออกกลาง | น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศอินเดียและปากีสถาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา, เดิมหมายรวมถึงประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และพม่า ด้วย. | ทวีป | (ทะวีบ) น. เปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง มี ๗ ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดนํ้าล้อมรอบเป็นขอบเขต เช่น ทวีปออสเตรเลีย ทวีปแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดภูเขา ทะเล แหล่งอารยธรรมเป็นต้น เป็นแนวแบ่งเขต เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป | ม้าลาย | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างคล้ายม้าแต่มีลายสีดำและสีขาวพาดขวางลำตัวตัดกันเห็นได้ชัดเจน จมูกดำ ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้าเป็นกีบเดี่ยวกลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหางมีขนสั้น อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามทุ่งหญ้า ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi (Oustalet) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชนิด E. burchelli (Gray) เป็นชนิดที่นิยมนำมาเลี้ยงตามสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป. | ยีราฟ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชนิด Giraffa camelopardalis (Linn.) ในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ คอยาวมาก มีเขา ๑ คู่ ซึ่งมีหนังและขนคลุม ลำตัวลายมีสีต่าง ๆ กัน โดยมากเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองหรือน้ำตาลเข้มลักษณะเป็นดอกหรือเป็นตาราง ปลายหางเป็นพู่ อยู่รวมกันเป็นฝูง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา. | ลา ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Equidae รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า หูยาว ปลายหางเป็นพู่ ขนแผงคอสั้นตั้งตรง ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาลำตัวสีเทา เช่น ชนิด Equus asinus (Linn.) และทวีปเอเชียลำตัวสีเหลืองเข้มจนถึงสีน้ำตาลอมแดง เช่น ชนิด E. hemionus (Pallas) ที่นิยมนำมาเลี้ยง เช่น ชนิดย่อย E.a. asinus (Linn.) | สิงโต ๒ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Panthera leo (Linn.) ในวงศ์ Felidae รูปร่างคล้ายแมวแต่มีขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่ง ตัวสีนํ้าตาล ไม่มีลาย ขนปลายหางเป็นพู่ ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ตัวเมียไม่มี อาศัยอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง ตัวเมียมักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย สิงโตเอเชียมีขนาดเล็กกว่าสิงโตแอฟริกาเล็กน้อย. | หมอเทศ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Oreochromis mossambicus (Peters) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลานิล คือ ลำตัวป้อม แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง ลำตัวและครีบมีสีเทาปนดำแต่จางลงจนเป็นสีน้ำตาลที่ด้านข้างและอมเหลืองที่ท้อง ตัวผู้มีสีเข้มกว่าและโตกว่าตัวเมียและมีพฤติกรรมในการทำรังเป็นหลุมคล้ายท้องกระทะที่พื้นท้องน้ำ ตัวเมียทำหน้าที่ฟักไข่ที่ผสมแล้วและดูแลตัวอ่อนโดยการอมไข่ไว้ในช่องปาก มีประวัติของถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลสาบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหารจนแพร่หลาย อยู่ในน้ำกร่อยได้ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร. | หมาป่า | น. ชื่อหมาในวงศ์ Canidae มีถิ่นกำเนิดเกือบทั่วทุกภูมิภาคของโลก ขนลำตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาลเทา เทาปนแดง ฟันและเขี้ยวคมมาก นิสัยดุร้าย อาศัยอยู่ทั้งป่าโปร่งหรือป่าทึบ ส่วนใหญ่หากินเป็นฝูง กินเนื้อสัตว์ มีหลายชนิด เช่น ชนิด Canis vulpes (Linn.) มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียกลาง, ชนิด Chrysocyon brachyurus (Illiger) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้, ชนิด Canis lupus (Linn.) มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป, ชนิด Fennecus zerda (Zimmermann) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา, หมาจิ้งจอก (Canis aureusLinn.) และหมาใน [ Cuon alpinus (Pallas) ] มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย. | อูฐ | (อูด) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Camelidae เป็นสัตว์กีบคู่ขนาดใหญ่ หัว คอ และขาทั้ง ๔ ยาว มีนิ้วตีนข้างละ ๒ นิ้ว กระเพาะมี ๓ ส่วน ไม่มีถุงนํ้าดี ดื่มน้ำทีละมาก ๆ อดน้ำได้นาน ๆ มี ๒ ชนิด คือ ชนิด ๒ หนอก ได้แก่ ชนิด Camelus ferus Przewalski, และชนิดหนอกเดียว ได้แก่ ชนิด C. dromedarius Linn. มีในทวีปแอฟริกา ใช้เป็นพาหนะหรือขนของในทะเลทราย. | ฮิปโปโปเตมัส | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Hippopotamus amphibius Linn. ในวงศ์ Hippopotamidae หนังหนาสีนํ้าตาล มีขนนิ่มกระจายห่าง ๆ ริมฝีปากหนามีขนแข็งยาว ฟันหน้าและเขี้ยวยาวมาก จมูก หู และตาอยู่ตอนบนของหัวเพื่อช่วยในการมองและหายใจขณะอยู่ในน้ำได้ดี หางแบน หูและปลายหางด้านข้างมีขนแข็งยาว เหงื่อสีแดงเรื่อ ๆ หนักประมาณ ๒, ๐๐๐ กิโลกรัม ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำมากกว่าบนบก ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา. |
| | Africa | แอฟริกา [TU Subject Heading] | Africa, Central | แอฟริกากลาง [TU Subject Heading] | Africa, North | แอฟริกาเหนือ [TU Subject Heading] | Africa, Southern | แอฟริกาใต้ [TU Subject Heading] | Africa, West | แอฟริกาตะวันตก [TU Subject Heading] | Art, African | ศิลปะแอฟริกา [TU Subject Heading] | Art, East African | ศิลปะแอฟริกาตะวันออก [TU Subject Heading] | Art, South African | ศิลปะแอฟริกาใต้ [TU Subject Heading] | Arts, African | ศิลปกรรมแอฟริกา [TU Subject Heading] | Arts, South African | ศิลปกรรมแอฟริกาใต้ [TU Subject Heading] | Asia-Africa Forum | การประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียกับแอฟริกา [การทูต] | Asian-African Sub-Regional Organizations Conference | การประชุมองค์การอนุภูมิภาคเอเชีย-แอฟริกา มีการประชุมครั้งแรกที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 2546 [การทูต] | Africa, Caribean and Pacific Countries | กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคแอฟริกา หมู่เกาะในแคริบเบียน และแปซิฟิก ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหภาพยุโรป [การทูต] | African Union | สหภาพแอฟริกา สหภาพแอฟริกาซึ่งเป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญ ของทวีป แอฟริกา ได้ก่อกำเนิดมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity ? OAU) เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยได้ปรับปรุงกฎบัตรเดิมขององค์การเอกภาพแอฟริกา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสามารถแทรกแซงกิจการของประเทศ สมาชิกโดยผ่านกองกำลังรักษาสันติภาพ กลไกที่สำคัญของสหภาพ แอฟริกาที่เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารกลาง นอกจากนี้ นโยบายสำคัญที่สหภาพแอฟริกาเน้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และได้ใช้โครงการ The New Partnership for Africa?s Development หรือ NEPAD เป็นหลักในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมุ่งเน้นการขจัดความยากจน [การทูต] | apartheid | การปกครองประเทศแบบแบ่งแยกผิวพันธุ์ เป็นระบบปกครองที่ใช้ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งโดยไม่ แบ่งแยกผิวพันธุ์ครั้งแรกขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน 2537 ในระบบการปกครองดังกล่าว ประชาชนแอฟริกาใต้ผิวดำถูกจำกัดสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิทางด้านการเมือง สิทธิการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิรับสมัครเลือกตั้ง การเป็นสมาชิกรัฐสภา การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินบางพื้นที่ การเลือกที่อยู่อาศัย การใช้สถานที่พักผ่อน การรับราชการ การเข้ารับการศึกษา การประกอบอาชีพ และการใช้บริการสาธารณูปโภคจากรัฐบาล เป็นต้น [การทูต] | Asia-Africa Cooperation | ความร่วมมือระหว่างเอเชียกับแอฟริกา " เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียกับ ภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการประชุมระหว่างประเทศเพื่อ การพัฒนาแอฟริกา ณ กรุงโตเกียว (Tokyo International Conference on African Development - TICAD) " [การทูต] | Common Market for Eastern and Southern Africa | ตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2537 มีประเทศสมาชิกรวม 20 ประเทศ ได้แก่ แองโกลา บุรุนดี คอโมโรส สาธารณรัฐประชาธิปไตย คองโก จิบูตี อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา มาดากัสการ์ มาลาวี มอริเชียส นามิเบีย รวันดา เซเชลส์ ซูดาน สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว และยูกันดา " [การทูต] | Eastern African Community | ประชาคมแอฟริกาตะวันออก " จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 มีประเทศสมาชิก 3 ประเทศ คือ เคนยา ยูกันดา และแทนซาเนีย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก และการจัดตั้งตลาดร่วมขึ้น " [การทูต] | Economic Community of West African States | ประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2518 มีประเทศสมาชิกรวม 16 ประเทศคือ เบนิน บูร์กินาฟาโซ เคปเวิร์ด โกตดิวัวร์ แกมเบีย กานา กินี กินีบิสเซา ไลบีเรีย มาลี มอริเตเนีย ไนเจอร์ ไนจีเรีย เซเนกัล เซียร์ราลีโอนและโตโก [การทูต] | Francophonie (International Organization of the Francophony) | องค์การระหว่างประเทศกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษา ฝรั่งเศส ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2513 ที่เมือง Niamey ประเทศ Niger เพื่อเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสานนโยบายความร่วมมือต่าง ๆ เน้นการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นสื่อกลาง และส่งเสริมความร่วมมือพหุพาคีเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีสมาชิก 53 ประเทศ (เบลเยียม บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก มอลโดวา โมนาโก โรมาเนีย สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา โดมินิกา เฮติ เซนต์ลูเซีย เบนิน บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี แคเมอรูน เคปเวิร์ด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด คอโมโรส สาธารณรัฐคองโก โกตดิวัวร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จิบูตี อียิปต์ อิเควทอเรียลกินี กาบอง กินี กินีบิสเซา มาดากัสการ์ มาลี มอริเตเนีย มอริเซียส โมร็อกโก ไนเจอร์ รวันดา เซาตูเมและปรินซิปี เซเนกัล เชเชลส์ โตโก ตูนีเซีย กัมพูชา ลาว เลบานอน เวียดนาม วานูอาตู แอลเบเนีย มาซิโดเนีย สาธารณรัฐเช็ก ลิทัวเนีย สาธารณรัฐสโลวัก สาธารณรัฐโลวีเนีย และโปแลนด์) และ 3 มลรัฐ [ แคนาดา-นิวบรันสวิก แคนาดา- ควิเบก และชุมชนฝรั่งเศสในเบลเยียม (French Community in Belgium) ] [การทูต] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | India-Brazil-South Africa | เวทีเจรจาสามฝ่าย ระหว่างอินเดีย บราซิล และแอฟริกาใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสิมความร่วมมือในกรอบใต้-ใต้ใน วงกว้าง เป้าหมายหลัก IBSA คือการส่งเสริมและขยายโอกาส ด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาสังคม และการเลแกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน [การทูต] | Look West Policy | นโยบายมองตะวันตก (ของไทย) เป็นแนวความคิดที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในทางการ เมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของยุคหลังสงครามเย็น ประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา [การทูต] | New Asian-African Strategic Partnership | ความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ใหม่ระหว่างเอเชียกับ แอฟริกา เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2548 (ค.ศ.2005) [การทูต] | The New Partnership for Africa?s Development | หุ้นส่วนใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแอฟริกา มีวัตถุประสงค์ในการ ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศแอฟริกา การขจัดความยากจนและการขจัดความเสียเปรียบของประเทศแอฟริกาในยุคโลกาภิวัตน์ NEPAD พัฒนามาจากการประชุม สุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 ที่ญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งในการประชุมนี้ ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ประธานาธิบดีไนจีเรีย และประธานาธิบดี แอลจีเรียได้เสนอต่อที่ประชุม ขอให้กลุ่มประเทศเหนือและประเทศใต้ร่วมกันแก้ปัญหาที่ทั้งสองกลุ่มประเทศ เผชิญอยู่ บนพื้นฐานของ ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเน้นการพัฒนาประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศ ในภูมิภาคแอฟริกา ต่อมาบรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศแอฟริกาได้ร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาแอฟริกาสำหรับ ใช้ขอรับการสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้วในเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เรียกว่า New Africa Initiative (NAI) ที่ประชุมองค์การเอกภาพแอฟริกา หรือ OAU (ซึ่งต่อมากลายเป็น African Union ? AU) ได้เห็นชอบต่อแผน NAI ดังกล่าวในเดือนกรกฎาคม 2544 ผู้นำของประเทศแอฟริกาได้นำเสนอ NAI ต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 เมื่อปี พ.ศ. 2544 และได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนเป็น NEPAD ในปัจจุบัน [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] | Organization of African Unity | องค์การเอกภาพแอฟริกา จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 ที่กรุงแอดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย ปัจจุบัน OAU มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 52 ประเทศ [การทูต] | Southern African Customs Union | สหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 5 ประเทศ คือ บอตสวานา เลโซโธ นามิเบีย แอฟริกาใต้ และสวาซิแลนด์ [การทูต] | Southern African Development Community | ประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2535 ประกอบด้วย 14 ประเทศ คือ อังโกลา บอตสวานา เลโซโธ มาลาวี มอริเชียส โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย ซิมบับเว สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และเซเชลส์ " [การทูต] | Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] | South-South Cooperation | ความร่วมมือใต้-ใต้ หรือ ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา " เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศกำลังพัฒนา/ ด้อยพัฒนา ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายหลังจากที่ความ ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้แก่ประเทศกำลัง พัฒนา/ด้อยพัฒนามีแนวโน้มลดลงและมีการนำเงื่อนไขอื่น ๆ มาผูกกับการให้ความช่วยเหลือมากขึ้น อาทิ ประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา/ด้อยพัฒนานี้ จะเป็นทั้งในลักษณะของการให้ (อาทิ ทุนการศึกษา/ทุนฝึกอบรม/ทุนดูงาน/ผู้เชี่ยวชาญ/วัสดุอุปกรณ์) ของประเทศใดประเทศหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว อาทิ การให้ความร่วมมือด้านทุนฝึกอบรมระยะสั้นในสาขาการเกษตรของไทยแก่ประเทศใน แอฟริกา และในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน " [การทูต] | The Foreign Office | ในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต] | Tokyo International Conference on African Development | การประชุมระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาแอฟริกา ณ กรุงโตเกียว " เป็นการริเริ่มของรัฐบาลญี่ปุ่น ร่วมกับองค์การสหประชาชาติและ องค์การ Global Coalition for Africa เพื่อสนับสนุนการพัฒนาใน ภูมิภาคแอฟริกา ในรูปของความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียกับ แอฟริกาอย่างเป็นรูปธรรมและมีเอกภาพ โดยเป็นการประชุมในระดับรัฐมนตรี และมีการประชุมแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรก (TICAD I) มีขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม 2536 โดยมีการรับรองเอกสารปฏิญญา กรุงโตเกียว (Tokyo Declaration) ซึ่งเป็นสัญญาประชาคมที่ประเทศต่าง ๆ จะให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่แอฟริกา และครั้งที่ 2 (TICAD II) มีขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2541 โดยมีการรับรองแผนปฏิบัติการกรุงโตเกียว (Tokyo Agenda for Action) ซึ่งเป็น แนวทางในการพัฒนาแอฟริกาในด้านต่าง ๆ ทั้งสังคมและเศรษฐกิจ " [การทูต] |
| แอฟริกา | [Aepfarikā = Aeffrikā] (n, prop) EN: Africa FR: Afrique [ f ] | แอฟริกากลาง | [Aepfarikā Klāng = Aeffrikā Klāng] (n, prop) EN: Central Africa FR: Afrique centrale [ f ] | แอฟริกาเหนือ | [Aepfarikā Neūa] (n, prop) EN: North Africa ; Northern Africa FR: Afrique du Nord [ f ] | แอฟริกาตะวันตก | [Aepfarikā Tawan-tok] (n, exp) EN: West Africa ; Western Africa FR: Afrique de l'Ouest [ f ] | แอฟริกาตอนเหนือ | [Aepfarikā Tøn Neūa] (n, prop) EN: North Africa ; Northern Africa FR: Afrique du Nord [ f ] | ช้างแอฟริกา | [chāng Aepfarikā = chāng Aeffrikā] (n, exp) EN: Africa Elephant FR: éléphant d'Afrique [ m ] | สาธารณรัฐแอฟริกากลาง | [Sāthāranarat Aepfarikā Klāng] (n, prop) EN: Central African Republic (CAR ) FR: République centrafricaine [ f ] | ทวีปแอฟริกา | [Thawīp Aepfarikā = Tthawīp Aeffrikā] (n, prop) EN: Africa FR: Afrique [ f ] ; continent africain [ m ] |
| meerkat | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งอยู่ตระกูลเดียวกับพังพอน มีหางยาว และอยู่เป็นฝูงตามแถบทะเลทรายในแอฟริกาใต้, See also: mongoose | plantain | (n) กล้วยกล้าย, กล้าย พบและใช้รับประทานมากในทวีปแอฟริกา เช่น How to cook plantain is a matter of choice. You can cook plantain fried, boiled or baked. | aardwolf | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ออกหากินเวลากลางคืน อาศัยอยู่ในที่ราบตอนใต้ของแอฟริกา กินปลวกและแมลงตัวอ่อนเป็นอาหาร เป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับไฮยีน่า |
| aardwolf | (n) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในแอฟริกาคล้ายหมาป่า กินแมลงเป็นอาหาร | Africa | (n) ทวีปแอฟริกา | Africa | (n) แอฟริกา | African | (adj) เกี่ยวกับแอฟริกา | African | (n) ชาวแอฟริกา | Afrikaans | (n) ชื่อภาษาราชการของแอฟริกาใต้ | Algeria | (n) ประเทศแอลจีเรียอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา | apartheid | (n) นโยบายการแบ่งแยกสีผิว (ในแอฟริกาใต้) | Eastern hemisphere | (n) ครึ่งโลกด้านตะวันออก (ด้านตะวันออกของเส้นสมมติ Greenwich) ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลียและส่วนใหญ่ของยุโรป | eland | (n) ละมั่งขนาดใหญ่จำพวก Taurotragus พบในแอฟริกากลางและใต้ | esparto | (n) ต้นหญ้าที่ใบยาวหยาบ ของทวีปยุโรปและทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ซึ่งสามารถนำมาใช้ทำกระดาษ เชือกหรือเสื่อได้ | gnu | (n) ละมั่งแอฟริกาตระกูล Connochaetes หัวคล้ายวัว เขาโค้งงอ หางยาว, Syn. wildebeest, antelope | gorilla | (n) กอริลลา, See also: ลิงขนาดใหญ่ที่สุดในแอฟริกา | Guinea | (n) ประเทศกินี, See also: สาธารณรัฐกีนีในแถบแอฟริกาตะวันตก | hammerhead | (n) ปลาฉลามหัวค้อน จำพวก Sphyrna, See also: ส่วนหัวของค้อน, ค้างคาวกินผลไม้ในแถบแอฟริกาจำพวก Hypsignathus monstrosus มีหัวโต, นกน้ำขายาวแถบแอฟริกา | impala | (n) ละมั่งแอฟริกาขนาดใหญ่ มีสีน้ำตาลแดงและเขาโค้งยาว | jackal | (n) หมาใน (พบในแอฟริกาและเอเชีย), Syn. Canis aureus | koodoo | (n) ละมั่งแอฟริกาขนาดใหญ่, Syn. kudu | kudu | (n) ละมั่งแอฟริกาขนาดใหญ่, Syn. koodoo | Liberia | (n) ชื่อประเทศสาธารณรัฐหนึ่งในแอฟริกาตะวันตก ก่อตั้งขึ้นโดยทาสของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับอิสรภาพในปี ค.ศ. 1821 | Libya | (n) ประเทศลิเบียในแอฟริกาตอนเหนือ | Malawi | (n) รัฐมาลาวีในแอฟริกา | Mali | (n) สาธารณรัฐในแอฟริกาตะวันตก | mamba | (n) งูพิษสีเขียวหรือดำของแอฟริกา | manatee | (n) สัตว์ตระกูล Trichechidae ในแถบอเมริกาใต้และแอฟริกาตะวันตก | mandrill | (n) ลิงดุร้ายชนิดหนึ่งในแอฟริกา | marabou | (n) นกกระสาแอฟริกาขนาดใหญ่, Syn. adijutant, adijutant, stork | Mauritania | (n) ประเทศหนึ่งของแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ | Moor | (n) คนมุสลิมที่อาศัยในแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ | Moore | (n) ชาวแอฟริกาตะวันตก, Syn. Mossi | mousebird | (n) นกแอฟริกาอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง, Syn. coly | Nubia | (n) แคว้นในแอฟริกา | okapi | (n) สัตว์สี่เท้าคล้ายยีราฟแต่คอสั้นกว่าอาศัยอยู่ทางแอฟริกา | Old World | (n) โลกเก่า (หมายถึงยุโรป เอเชียและแอฟริกา) | Afro | (prf) แอฟริกา | Pretoria | (n) เมืองหลวงของแอฟริกาใต้ | Pygmy | (n) ชนเผ่าปิ๊กมี่ในทวีปแอฟริกาตอนใต้ | quagga | (n) สัตว์คล้ายม้าลายของแอฟริกาใต้ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว | qursh | (n) หน่วยเงินเคิร์ช (ของประเทศทางแถบแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง), See also: หน่วยเงินตราปลีกย่อยแถบอัฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง | safari | (n) การเดินทางไกลเพื่อล่าสัตว์ ท่องเที่ยว ค้นหาทางวิทยาศาสตร์, See also: โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา, Syn. caravan, expedition, journey | secretary bird | (n) นกแอฟริกาตระกูล Sagittarius serpentarius, See also: มีขนหัวมีลักษณะคล้ายปากกาขนนก | Semite | (n) ชนชาติโบราณแถบแอฟริกา อาหรับและฮิบรู, See also: ชาวยิว, Syn. Jew | Senegal | (n) สาธารณรัฐเซเนกัลในแอฟริกา, See also: เซเนกัล | shoebill | (n) นกแอฟริกาชนิดหนึ่ง | sook | (n) ตลาดนัดกลางแจ้งแถบแอฟริกาและตะวันออกกลาง, Syn. souk | souk | (n) ตลาดนัดกลางแจ้งในแอฟริกาและตะวันออกกลาง, Syn. sook | springbok | (n) ละมั่งแอฟริกา, Syn. gazelle, springbuck | springbuck | (n) ละมั่งแอฟริกา, Syn. springbok, gazelle | Swahili | (n) ชาวแอฟริกาตะวันออก | Togo | (n) สาธารณรัฐหนึ่งในแอฟริกาตะวันตก |
| africa | (แอฟ' ริกา) n. ทวีปแอฟริกา | african | (แอฟ' ริเคิน) adj., n. เกี่ยวกับแอฟริกา, ชาวแอฟริกา., Syn. Afric | algeria | (แอลจี' เรีย) n. ประเทศแอลจีเรียในแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ -Algerian n., adj. | boer | (โบ'เออ, บัวร์) n. ชาวโบเออร์ในแอฟริกาใต้ สืบเชื้อสายมาจากชาวเนเธอร์แลนด์) | burundi | (บะรัน'ดี) n. ชื่อสาธารณรัฐในแอฟริกากลาง | gemsbok | (เจมซฺ'บอค) n. ละมั่งขนาดใหญ่ในแอฟริกาใต้ | gnu | (นู) n., (pl. gnus) ละมั่งแอฟริกา, Syn. wilde-beest | harmation | n. ลมแห้งแล้งและมีฝุ่นทางด้านฝั่งตะวันตกของแอฟริกา | hartebeest | (ฮาร์'ทะบีสทฺ) n. ละมั่งแอฟริกาขนาดใหญ่มีเขางอโค้งไปข้างหลัง | hyena | (ไฮอี'นะ) n. สัตว์กินเนื้อในแอฟริกาออกหากินในเวลากลางคืนชอบกินซากศพ, See also: hyenic, hyenine adj. hyenoid adj., Syn. hyaena | klipspringer | (พลิพ'สพิงเกอะ) n. ละมั่งแอฟริกาขนาดเล็ก | kudu | (คู'ดู) n. ละมั่งแอฟริกาขนาดใหญ่ | libya | (ลิบ'เบีย) n. ประเทศลิเบียในแอฟริกาตอนเหนือ., Syn. Libia | mandrill | (แมน'ดริล) n. ลิงขนาดใหญ่ที่ดุร้ายจำพวก Papio sphinx ในภาคตะวันตกของแอฟริกา | old world | n. ทวีปยุโรปเอเชียและแอฟริกา | pan-africanism | n. ลัทธิพันธมิตรระหว่างประเทศแอฟริกาทั้งหมด | pygmy | (พิก'มี) n. ชนผิวดำตัวเล็กในทวีปแอฟริกาแถบเส้นศูนย์สูตร, See also: pygmy n. คนแคระ คนร่างเล็กสิ่งที่มีความสำคัญเล็กน้อย adj. เกี่ยวกับคนแคระดังกล่าว, เล็กมาก, แทบไม่สำคัญ pygmoid adj. pygmyish adj. pygmyism n. | sahara | (ซะแฮ'ระ, ซาฮา'ระ) n. ทะเลทรายซาฮาราในภาคเหนือของแอฟริกา | samba | (แซม'บะ, ซาม'บะ) n. จังหวะแซมบ้าเป็นจังหวะเต้นรำที่มีกำเนิดจากแอฟริกา | sirocco | (ซะรอค'โค) n. ลมร้อน, แห้งและมีฝุ่นที่พัดผ่านแอฟริกาเหนือ, ลมร้อนนำฝนจากทางใต้ | sleeping sickness | n. ชื่อโรคร้ายแรงในแอฟริกา, Syn. African trypanosomiasis | springbok | (สพริง'บอค) n. ละมั่งแอฟริกา ชอบกระโดดขึ้นสูงในเวลาตกใจ, ทีมรักบี้แอฟริกาใต้, Syn. gazelle | union of south africa | n. ชื่อเดิมของประเทศแอฟริกาใต้ | veld | (เวลทฺ) n. ทุ่งหญ้าในตอนใต้ของทวีปแอฟริกา -S .manner | veldt | (เวลทฺ) n. ทุ่งหญ้าในตอนใต้ของทวีปแอฟริกา -S .manner | wart hog | n. หมูป่าแอฟริกา มีงาใหญ่และใบหน้ามีก้อนเนื้อ | zaire | (ซาเอียร์', ซา'เอียร์) n. ชื่อสาธารณรัฐในภาคกลางของแอฟริกา, See also: Zairean n., adj. | zambia | (แซม'เบีย, ซาม'เบีย) n. ชื่อสาธารณรัฐในตอนใต้ของแอฟริกา | zulu | (ซู'ลู) n. ชื่อชนเผ่าหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกา, สมาชิกเผ่าดังกล่าว |
| | addax | (n) ละมั่งแอฟริกาขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง มีเขาเป็นเกลียว อาศัยอยู่ในทะเลทราย | chigoe | (n) หมัดจำพวก Tunga penetrans พบตามแถบเขตร้อนชื้นของอเมริกาและแอฟริกา ตัวเมียจะฝังตัวตามผิวหนังทำให้ปวดแสบปวดร้อนมาก | ibex | แพะป่าภูเขาจำพวก Capra ในยุโรป เอเชียและแอฟริกาเหนือ มีเขาที่ใหญ่และโค้งไปข้างหลัง |
| verblüffen | (vi, vt) |verblüffte, hat verblüfft| ทำให้ประหลาดใจ โดยที่เขาไม่ได้คาดคิดมาก่อน เช่น Ich habe Mama und Papa mit Informationen über Länder und Leute in Afrika verblüfft. พ่อและแม่ประหลาดใจที่ผมรู้เรื่องเกี่ยวกับประเทศและผู้คนในทวีปแอฟริกา, Syn. überraschen |
| Benin [ geogr. ] | (n) ประเทศบนฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของแอฟริกา ในอดีตเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |