เนื้ออ่อน | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่แหลมคม ลำตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด Phalacronotus apogon (Bleeker), P. bleekeri (Günther), Kryptopterus cryptopterus (Bleeker), K. limpok (Bleeker), Ompok bimaculatus (Bloch), O. hypophthalmus (Bleeker), Ceratoglanis scleronemus (Bleeker), ข้างท้องมักเป็นสีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗ เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบหลังก็ได้ บางชนิดลำตัวด้านหลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่เรียกแตกต่างกันหรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม. |
กระดอม | น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด Gymnopetalum chinense (Lour.) Merr. ในวงศ์ Cucurbitaceae เถา ๕ เหลี่ยม มีมือจับ ผล ๑๐ เหลี่ยม สุกสีส้ม มีรสขม ใช้ทำยาได้, ขี้กาดง หรือ ขี้กาเหลี่ยม ก็เรียก. |
กะทิ ๑ | น. นํ้าที่คั้นออกจากมะพร้าวขูดโดยเจือนํ้าบ้างเล็กน้อย, ถ้าคั้นครั้งแรก เรียกว่า หัวกะทิ, ถ้าคั้นครั้งสุดท้าย เรียกว่า หางกะทิ, ของหวานทำด้วยนํ้าตาลกวนกับมะพร้าวคล้ายหน้ากระฉีก แต่ใช้นํ้าตาลมากกว่า เรียกว่า นํ้าตาลกะทิ, มะพร้าวห้าวที่มีนํ้าข้น เนื้ออ่อน กล้ามหนา เรียกว่า มะพร้าวกะทิ. |
ก้างพระร่วง | น. ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดจำพวกเดียวกับปลาเนื้ออ่อน ชนิด Kryptopterus bicirrhis (Valenciennes) ในวงศ์ Siluridae ลำตัวยาวแบนข้างมาก ปากเล็กเชิดขึ้น เนื้อมีลักษณะใสจนมองทะลุลำตัวเห็นแถวกระดูกและอวัยวะภายในต่าง ๆ ขนาดยาวไม่เกิน ๑๒ เซนติเมตร, กระจก ก็เรียก. |
เกด ๒ | ดู เนื้ออ่อนและ สายยู ๒. |
แกรไฟต์ | (แกฺร-) น. อัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดำ ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดำ เนื้ออ่อน เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทำไส้ดินสอดำ เบ้าหลอมโลหะ นํ้ามันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็วช่วยควบคุมจำนวนอนุภาคนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. |
ขี้กา | น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cucurbitaceae ผลกลมขนาดผลมะนาวถึงผลส้มเกลี้ยง สุกสีแดง เมล็ดสีเขียวแก่ มีเยื่อเป็นเมือก ๆ หุ้ม และมีรสขม เช่น ขี้กาแดงหรือกระดึงช้างเผือก ( Trichosanthes tricuspidata Lour.). |
ขี้กาแดง | น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด Trichosanthes tricuspidata Lour. ในวงศ์ Cucurbitaceae เถาเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะแยกเป็น ๓ แฉก ใบใหญ่มน บางทีเป็น ๕ เหลี่ยม กลีบเลี้ยงสีแดง กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพู ผลกลมใหญ่ขนาดผลส้ม สุกสีแดง เมล็ดเป็นพิษเบื่อเมา, กระดึงช้างเผือก ก็เรียก. |
แคดเมียม | น. ธาตุลำดับที่ ๔๘ สัญลักษณ์ Cd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๑ °ซ. เป็นตัวดูดกลืนอนุภาคนิวตรอนได้ดี จึงทำเป็นแท่ง เรียกว่า แท่งควบคุมในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. |
แคลเซียม | (แคน-) น. ธาตุลำดับที่ ๒๐ สัญลักษณ์ Ca เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๘๓๘ °ซ. เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน หินอ่อน หินปูน. |
ฉำฉา ๑ | น. ชื่อเรียกไม้เนื้ออ่อน โดยมากเป็นพวกไม้สนที่ใช้ทำหีบบรรจุของมาจากต่างประเทศ. |
ชะโอน | น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Siluridae มีฟันเล็กแต่แหลมคม ลำตัวด้านหลังสีนํ้าตาล ครีบต่าง ๆ มีจุดประสีเทาดำ เป็นพวกปลาเนื้ออ่อน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Ompok krattensis (Bloch) ซึ่งมีครีบหลัง ปากเชิดขึ้น เหนือครีบอกมีจุดกลมสีดำ ๑ จุด, เนื้ออ่อน โอน หน้าสั้น สยุมพร หรือ นาง ก็เรียก |
ชะโอน | และชนิด Phalacronotus apogon (Bleeker) ไม่มีครีบหลัง ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีจุดสีดำเหนือครีบอกบนลำตัว, เนื้ออ่อน แดง หรือ นาง ก็เรียก. |
ชุมพร ๒ | น. ชื่อปลาเนื้ออ่อน. |
ซีเรียม | น. ธาตุลำดับที่ ๕๘ สัญลักษณ์ Ce เป็นโลหะสีเทา เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๘๐๔ ºซ. |
เซือม | ดู เนื้ออ่อน. |
โซเดียม | น. ธาตุลำดับที่ ๑๑ สัญลักษณ์ Na เป็นโลหะสีขาวคล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๙๗.๘ ºซ. สารประกอบสำคัญของธาตุนี้ที่พบมาก คือ เกลือแกง. |
ด้อง ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Pterocryptis วงศ์ Siluridae ปากอยู่ต่ำเล็กน้อย หนวดยาวถึงโคนครีบอก ไม่มีเกล็ด ลักษณะคล้ายปลาเนื้ออ่อนพวกที่มีครีบหลัง เว้นแต่มีครีบก้นต่อเนื่องกับครีบหางที่มีขอบกลม ครีบอกมีก้านแข็งคล้ายเงี่ยง ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร เป็นปลาหายาก. |
ดีบุก | น. ธาตุลำดับที่ ๕๐ สัญลักษณ์ Sn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๒๓๑.๙ °ซ. มี ๓ อัญรูป คือ ดีบุกสีเทา ดีบุกสีขาว และดีบุกรอมบิก ใช้ประโยชน์ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันไม่ให้เป็นสนิม ใช้ทำโลหะเจือ แผ่นดีบุกบาง ๆ ใช้สำหรับห่อของเพื่อกันชื้น. |
แดง ๓ | ดู ปลาแดง ที่ ปลา และ ชะโอน และ เนื้ออ่อน. |
ตะกั่ว | ธาตุลำดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔ °ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่วและสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. |
ทองคำ | น. ธาตุลำดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓ °ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ และทำเงินตรา ปัจจุบันกำหนดความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยหน่วยกะรัต โดยกำหนดว่า ทองคำ ๒๔ กะรัตเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่สุด. |
ทองแดง ๑ | น. ธาตุลำดับที่ ๒๙ สัญลักษณ์ Cu เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีแดง หลอมละลายที่ ๑๐๘๓ °ซ. เนื้ออ่อนบุให้เป็นแผ่นบางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่าย เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี. |
น้ำเงิน ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดพวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด Phalacronotus apogon (Bleeker) หรือ Micronema apogon (Bleeker) ในวงศ์ Siluridae ปากเชิดขึ้น หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือกคล้ายปลาแดง แต่ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรล่าง หรือมีเป็นเพียงตุ่มขนาดเล็กมาก และมีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบรูปโค้ง ลำตัวมีสีเงินคล้ายตะกั่ว ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นมักมีขอบสีดำคล้ำ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น ขนาดยาวได้ถึง ๗๗ เซนติเมตร, เนื้ออ่อน นาง หรือ ชะโอน ก็เรียก. |
แบเรียม | น. ธาตุลำดับที่ ๕๖ สัญลักษณ์ Ba เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน เมื่อถูกอากาศสีจะหมองลงอย่างรวดเร็ว หลอมละลายที่ ๗๑๔ °ซ. สารประกอบของแบเรียมใช้ในอุตสาหกรรมทำสี ทำแก้ว และทำดอกไม้ไฟ. |
ปลาแดง | น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ด พวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด Phalacronotus bleekeri (Günther)หรือ Micronema bleekeri (Günther) ปากเชิดขึ้น มีหนวด ๒ คู่ หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือก หนวดที่ขากรรไกรล่างสั้นมากคล้ายปลาน้ำเงิน แต่มีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบมีมุมแหลมคล้ายหัวลูกศร ลำตัวมีสีเงินอมแดงหรือชมพู ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นใสไม่มีสี อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองหรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น, เนื้ออ่อน นาง ชะโอน หรือ เกด ก็เรียก. |
ปีกไก่ | ดู เนื้ออ่อน. |
โพแทสเซียม | น. ธาตุลำดับที่ ๑๙ สัญลักษณ์ K เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อนหลอมละลายที่ ๖๓.๗ °ซ. |
โพบาย | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Balakata baccatum (Roxb.) Esser ในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้เนื้ออ่อน มียางทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง ผลใช้เบื่อปลา, พายัพเรียก กระดาด. |
ไม้กำมะลอ | น. ไม้เนื้ออ่อนที่ไม่ใช่ไม้แก่น เช่น ไม้ฉำฉา ไม้จามจุรี |
ย้อนเนื้อ | ว. ลักษณะไม้ที่ไม่มีตา แต่เนื้อทวนไปทวนมา เลื่อยหรือไสกบได้ยาก มักเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น งิ้ว เรียกว่า ไม้ย้อนเนื้อ. |
ยูโรเพียม | น. ธาตุลำดับที่ ๖๓ สัญลักษณ์ Eu เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา เนื้ออ่อนมาก หลอมละลายที่ ๘๒๖ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปดูดกลืนนิวตรอนเพื่อควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ ใช้ประกอบเป็นตัวเรืองแสงในเครื่องรับโทรทัศน์สีเป็นต้น. |
รูบิเดียม | น. ธาตุลำดับที่ ๓๗ สัญลักษณ์ Rb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาว ไวต่อปฏิกิริยาเคมีอย่างยิ่ง หลอมละลายที่ ๓๘.๙ °ซ. |
สตรอนเชียม | (สะตฺรอน-) น. ธาตุลำดับที่ ๓๘ สัญลักษณ์ Sr เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีเหลืองอ่อน ไวต่อปฏิกิริยาเคมี หลอมละลายที่ ๗๕๒ °ซ. |
สลุมพร | (สะหฺลุมพอน) น. ปลาเนื้ออ่อน, บางทีเขียนเป็น สลุมพอน ก็มี เช่น ไอ้บ้าปลาสลุมพอน ผักพร้าเบี้ยแลหนวดพราม (ประพาสธารทองแดง). |
สีถ่าน | น.ถ่านสำหรับวาดเขียน ทำขึ้นจากไม้เนื้ออ่อนชิ้นเล็ก ๆ ที่เผาหรืออบด้วยความร้อนจนเป็นสีดำสนิท มีทั้งชนิดเป็นแท่งและเป็นผง. |
เสาทุบเปลือก | น. เสาไม้เนื้ออ่อนลำขนาดย่อม ซึ่งทุบแล้วลอกเอาเปลือกออก แต่ไม่ได้ถากแต่ง ใช้ทำเสาเข็ม เสารั้ว เป็นต้น. |
หินสบู่ | น. หินแปรชนิดหนึ่ง ซึ่งเนื้อสารประกอบด้วยแร่ทัลก์เป็นส่วนใหญ่ มีเนื้ออ่อน เอาเล็บขูดเป็นรอยได้ง่าย และลื่นมือคล้ายสบู่. |
อ่อน | นิ่ม เช่น เนื้ออ่อน |
อินเดียม | น. ธาตุลำดับที่ ๔๙ สัญลักษณ์ In เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาวเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๖.๒ °ซ. ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่นทำอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือที่ใช้ในงานทันตกรรม ชุบฉาบผิวเหล็กซึ่งเคลือบด้วยเงินแล้ว. |
เออร์เบียม | น. ธาตุลำดับที่ ๖๘ สัญลักษณ์ Er เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งเป็นเงาวาว เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๑๔๙๗ ํซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |