ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*หมายความว่า*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: หมายความว่า, -หมายความว่า-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา ไทย (TH) - ไทย (TH) (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ลิขสิทธิ์ไม่ควรวม 'ประดิษฐกรรม (invention)' ในความหมายของ ลิขสิทธิ์ เพราะ invention เป็นพื้นฐานความหมายของ 'patent (สิทธิบัตร)' นั่นหมายความว่า เมื่อคนไทยใช้คำว่า ลิขสิทธิ์ จะเกิดความสับสนว่า พูดถึง copyright หรือว่า patent. ปัญหาเกิดขึ้นได้.
ลิขสิทธิ์ข้อสังเกต ไม่ควรมีเนื้อหาข้างล่าง ในส่วนต้นของคำ 'ลิขสิทธิ์' เพราะ ไม่ใช่ definition / คำแปล / คำจำกัดความ: ไม่ควรวม 'ประดิษฐกรรม (invention)' ในความหมายของ ลิขสิทธิ์ เพราะ invention เป็นพื้นฐานความหมายของ 'patent (สิทธิบัตร)' นั่นหมายความว่า เมื่อคนไทยใช้คำว่า ลิขสิทธิ์ จะเกิดความสับสนว่า พูดถึง copyright หรือว่า patent. ปัญหาเกิดขึ้นได้.

Longdo Dictionary ภาษา ไทย (TH) - อังกฤษ (EN) (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ใจนักเลง(adj) chivalrous (ไม่สับสนกับ cavalier ซึ่งมาจากรากศัพท์เดียวกันแต่หมายความว่าเต๊ะจุ๊ย)

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
หมายความว่าก. ตีความว่า, แปลความว่า.
กก ๔ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอาเรื่องไปกกไว้.
กงเกวียนกำเกวียนใช้เป็นคำอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทำแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกำเกวียน.
กด ๔ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กำลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้งกักไว้ เช่น กดคดี
ก้มหัวก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร.
กรงในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง (เห่กล่อม).
กรอบ ๑(กฺรอบ) น. สิ่งที่ประกอบตามริมวัตถุมีรูปภาพเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ขอบเขตกำหนด เช่น ทำงานอยู่ในกรอบ.
กร่อย(กฺร่อย) ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ, โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความครึกครื้น เช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย.
กระชากก. ดึงเข้ามาโดยเร็วและแรง เช่น กระชากผม, โดยปริยายหมายความว่า กระตุกโดยแรง เช่น ออกรถกระชาก, พูดกระแทกเสียงดังห้วน ๆ ในความว่า พูดกระชากเสียง, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกกระชาก.
กระฎุมพีน. คนมั่งมี, พ่อเรือน, มักนิยมใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่กระฎุมพี หมายความว่า ชนชั้นต่ำ.
กระต้วมกระเตี้ยมว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กิริยาเดินหรือคลาน), โดยปริยายหมายความว่า ชักช้า เช่น เธอมัวแต่กระต้วมกระเตี้ยมอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวก็ไม่ทันรถไฟหรอก, ต้วมเตี้ยม ก็ว่า, ใช้ว่า กระด้วมกระเดี้ยม ก็มี.
กระตุกก. ดึงเข้ามาโดยเร็วทันที เช่น กระตุกเชือก, ดึงเข้ามาโดยเร็วทันทีแล้วผ่อนออก เช่น กระตุกสายป่านว่าว, โดยปริยายหมายความว่า สะดุด, ไม่ราบรื่น, เช่น เครื่องยนต์กระตุก
กระตุ้นก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว เช่น กระตุ้นม้า, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทำงาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป.
กระโตกกระตากก. ส่งเสียงให้เขารู้อย่างไก่กำลังออกไข่, โดยปริยายหมายความว่า เปิดเผยข้อความที่ต้องการปิดบัง.
กระทุ้งก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทก เช่น เอาสามเกลอกระทุ้งดิน เอาศอกกระทุ้งสีข้าง, ทุ้ง ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทำหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง.
กระทุ่ม ๒โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง (แช่งน้ำ).
กระเท่เร่ว. เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลำเอียงมาก.
กระเทือนก. มีอาการสั่นไหวเพราะถูกกระทบ เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า เป็นทุกข์กังวล เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.
กระพี้ว. โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นแก่นสาร.
กระเย้อกระแหย่ง(-แหฺย่ง) ก. ขะเย้อแขย่ง, เขย่งแล้วเขย่งอีก, โดยปริยายหมายความว่า พยายามจะให้ได้สิ่งที่สุดเอื้อม.
กราน ๒(กฺราน) ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
กร่ำ ๓(กฺรํ่า) ว. ใช้ประกอบกับอาการเมาเหล้าว่า เมากรํ่า หมายความว่า เมามากตลอดเวลา.
กริบโดยปริยายหมายความว่า เงียบไม่มีเสียงดัง เช่น เงียบกริบ ย่องกริบ.
กรึ่ม(กฺรึ่ม) ว. ใช้ประกอบกับอาการเมาเหล้าว่า เมากรึ่ม หมายความว่า เมาเหล้าตลอดทั้งวัน.
กรุ่น(กฺรุ่น) ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น
กรุ่มโดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน (นิ. เดือน)
กรุย ๑โดยปริยายหมายความว่า เปิดทางให้สะดวก.
กลไก(กน-) น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสำเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง
กลบ(กฺลบ) ก. เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง เช่น เอาขี้เถ้าไปกลบขี้แมว, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ทดแทน เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย (กฎ. ราชบุรี).
กลมดิกว. กลมทีเดียว, กลิ้งไปได้รอบตัว, โดยปริยายหมายความว่า กลิ้งกลอก.
กลอนสดน. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด.
กล่อม ๒โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น นํ้าหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น (ขุนช้างขุนแผน).
กล่อมเกลา(-เกฺลา) ก. ทำให้เรียบร้อย, ทำให้ดี, โดยปริยายหมายความว่า อบรมให้มีนิสัยไปในทางดี.
กล่อม ๓(กฺล่อม) ก. ร้องเป็นทำนองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมายความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือทำให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์.
กล้อมแกล้มพูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป, โดยปริยายหมายความว่า ทำพอให้ผ่าน ๆ ไป
กลั่น(กฺลั่น) ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สำคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นนํ้า เรียกน้ำที่ได้จากกรรมวิธีเช่นนั้น ว่า น้ำกลั่น, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา.
กลาง(กฺลาง) น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน กลางทาง
กลิ้ง ๑โดยปริยายหมายความว่า พลิกแพลงเอาตัวรอด, จับไม่ติด, เช่น คนคนนี้กลิ้งได้รอบตัว.
กลิ่น ๑(กฺลิ่น) น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น แกงหม้อนี้เริ่มมีกลิ่น, โดยปริยายหมายความว่า ลักษณะไม่น่าไว้วางใจ เช่น เรื่องนี้ชักมีกลิ่น การประมูลครั้งนี้เริ่มส่งกลิ่น.
กวาด(กฺวาด) ก. ทำให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น โจรกวาดทรัพย์สิน คลื่นสึนามิกวาดคนและสิ่งของลงทะเล
ก่อนว. ใช้บอกลำดับเวลา หมายความว่า เดิม เช่น แต่ก่อนที่ผ่านมา วันก่อน เดือนก่อน, ลำดับแรก เช่น ก่อนอื่น หยุดก่อน รอก่อน.
ก่อนบ. ใช้นำหน้าคำนามบอกเวลาหรือสถานที่ หมายความว่า ยังไม่ถึงเวลานั้นหรือสถานที่นั้น เช่น คุณต้องมาก่อนเที่ยง บ้านเขาอยู่ก่อนบ้านผม.
ก่อนสัน. ใช้นำหน้าประโยคเพื่อบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่ถึงเวลานั้น เช่น คุณต้องเอารถไปคืนก่อนเขาตื่น.
ก้อย ๑โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักตํ่าสูง ในความว่า ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ.
กะชึ่กกะชั่กว. เสียงดังอย่างเสียงรถจักรไอน้ำเวลาจะเริ่มเคลื่อนที่, โดยปริยายหมายความว่า ติด ๆ ขัด ๆ, ไปไม่สะดวก.
กะทิ ๑ว. โดยปริยายหมายความว่า ที่เก่งหรือดีเด่นเป็นพิเศษ เรียกว่า หัวกะทิ.
กะปริบ(-ปฺริบ) ก. กะพริบ, มักใช้ซํ้าคำว่า กะปริบ ๆ หมายความว่า กะพริบถี่ ๆ เช่น ทำตากะปริบ ๆ, ปริบ ๆ ก็ว่า.
กะผลุบกะโผล่(-ผฺลุบ-โผฺล่) ก. อาการที่ผลุบลงแล้วโผล่ขึ้น เช่น ปลากะผลุบกะโผล่ขึ้นมาหายใจ, อาการที่ผลุบเข้าไปแล้วโผล่ออกมา เช่น มากะผลุบกะโผล่อยู่หลังเวทีทำไม, จม ๆ ลอย ๆ เช่น ขอนลอยน้ำกะผลุบกะโผล่, โดยปริยายหมายความว่า ไปหรือมาไม่สม่ำเสมอ เช่น ถ้าจะมาช่วยงานก็ขอให้มาสม่ำเสมอ อย่ากะผลุบกะโผล่ มาบ้างไม่มาบ้าง, ผลุบโผล่ ๆ หรือ ผลุบ ๆ โผล่ ๆ ก็ว่า.
กะรัต ๒(-หฺรัด) น. ปริมาณทองคำแท้ที่ประสมอยู่กับธาตุอื่น โดยกำหนดทองคำและโลหะที่ประสมกันนั้นรวมเป็น ๒๔ ส่วน เช่น ทองคำ ๑๔ กะรัต หมายความว่า มีเนื้อทองคำ ๑๔ ส่วน นอกนั้นอีก ๑๐ ส่วนเป็นธาตุอื่นประสม.
กะล่อมกะแล่มพูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป, โดยปริยายหมายความว่า ทำพอให้ผ่าน ๆ ไป

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
ไขพระวิสูตรคำราชาศัพท์ แปลว่า เปิดม่านโดยวิธีไข ใช้มือเลิกม่าน ใช้คู่กับ ปิดพระวิสูตร หมายความว่า ปิดม่าน [ศัพท์พระราชพิธี]
Break of Diplomatic Relationsการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต]
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-Chinaการประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
Inviolability of the Mission Premisesคือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต]
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralismคำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต]
Unfriendly Actการกระทำที่ไม่เป็นมิตร กล่าวคือ เมื่อรัฐหนึ่งประกาศว่า จะถือว่าการปฏิบัติบางอย่างของอีกประเทศหนึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตร นั่นหมายความว่า เป็นการเตือนว่าการกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ [การทูต]
Parts per hundred of rubberหน่วยการผสมยางโดยคิดสัดส่วนปริมาณสารต่างๆ เมื่อเทียบกับยาง 100 ส่วน (โดยน้ำหนัก) เรียกเป็น phr หรือ pphr (part per hundred of rubber) ใช้ในการออกสูตรยาง เช่น เติมกำมะถัน 2.5 phr หมายความว่า ถ้ามียาง 100 ส่วน จะเติมกำมะถัน 2.5 ส่วน [เทคโนโลยียาง]
law of conservation of massกฎทรงมวล, กฎเกี่ยวกับมวลของสารซึ่งกล่าวว่า ผลรวมของมวลสารทั้งหมดภายในระบบปิดมีค่าคงตัวหมายความว่า มวลสารจะไม่สูญหายไปหรือเกิดขึ้นใหม่ ในปฏิกิริยาเคมี มวลของสารก่อนเกิดปฏิกิริยาจะเท่ากับมวลของสารหลังเกิดปฏิกิริยา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
Tangramแทนแกรม, ภาพต่อที่เก่าแก่ของจีนโบราณ ใช้เล่นเป็นเกม ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงศตวรรษที่ 19 เรียกว่า ฉีเฉียวตู ซึ่งหมายความว่า แบบแผนกลอันแยบยล ประกอบด้วยรูปเรขาคณิต 7 ชิ้น 5 ใน 7 ชิ้น เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก อีก 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และอีกชิ้นเป็ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
หมายความว่า[māikhwām wā] (v) EN: mean ; imply ; indicate ; signify
มันหมายความว่าอย่างไร[man māikhwām wā yāngrai] (xp) EN: What does it mean ?  FR: Qu'est-ce que ça signifie ?

English-Thai: Longdo Dictionary
e.g.(abbrev) ตัวอย่างเช่น, มาจากภาษาละตินว่า exempli gratia ซึ่งหมายความว่า เพื่อแสดงเป็นตัวอย่าง (for the sake of example), Syn. for example
ayurveda(n) อายุรเวช (มาจากสันสกฤต หมายความว่าความรู้ (เวช) เกี่ยวกับชีวิต (อายุร))
sevenishราวๆหนึ่งทุ่ม เช่น I'll call for you at sevenish. ฉันจะแวะไปรับเธอช่วงหนึ่งทุ่ม (การเติม -ish ตามหลังตัวเลขบอกเวลา หมายความว่า โดยประมาณ, ราวๆเวลานั้น), Syn. about 7 o'clock
non-commissionable(adj) [ ท่องเที่ยว, โรงแรม ] เป็นราคาที่ไม่สามารถให้ค่าตอบแทน (commission) ได้แล้ว เช่น การจองโรงแรมปกติอาจจะมีค่าตอบแทนให้แก่บริษัทท่องเที่ยวที่จองให้ลูกค้า แต่ถ้าราคามีการระบุว่า non-commissionable หมายความว่า บริษัทท่องเที่ยวนั้นๆ จะไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือส่วนลดใดๆ แล้วในกรณีนี้

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
eureka(int) คำอุทานที่หมายความว่า ค้นพบแล้ว
mean(vt) หมายความว่า, See also: แปลว่า, แสดงว่า, Syn. imply, indicate, denote, signify
refer to(vt) หมายความว่า, See also: หมายว่า, มีความหมายว่า, Syn. allude to, mean

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
access timeช่วงเวลาเข้าถึง (ข้อมูล) หมายถึง เวลาที่ใช้ในการที่หัวอ่าน (บางทีเรียกหัวเข็ม) ของหน่วยบันทึกจะสามารถอ่านแฟ้มข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล เช่น จากจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์ หากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อย ก็หมายความว่า อ่านได้เร็ว ดู direct access, indirect access, random access, sequential access, immediate access ประกอบ
alpha testการทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะมีข้อความบ่งบอกไว้ว่า เป็น alpha version หมายความว่า รุ่นทดสอบรอบแรก ดู beta version ประกอบ
arithmetic statementข้อความสั่งคำนวณ <คำแปล>หมายถึง คำสั่งที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ นำค่าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือนำค่าเหล่านั้นไปทำการคำนวณ เมื่อได้ผลจากการคำนวณแล้วจึงนำไปเก็บในตำแหน่งที่ซี่งกำหนดไว้ เช่น score = A+B หมายความว่า ให้นำค่า A+B ได้ผลเท่าใด นำไปเก็บไว้ที่ score
ascii fileแฟ้มข้อมูลแอสกี <คำแปล>หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ไม่ใช่โปรแกรม มีตัวอักขระที่ใช้เป็นรหัสแอสกีทั้งหมด บางที เรียกว่า " text file " แฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ด สตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน (ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้ว) ส่วนมากจะใช้ศัพท์นี้เมื่อต้องการเปลี่ยน (convert) แฟ้มข้อมูลของโปรแกรมหนึ่งเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่นจาก Word Perfect เป็น Microsoft Word ในกรณีเช่นนี้ อาจจะมีเมนูให้เลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น text file หรือ ASCII file หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าเปลี่ยนเป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายใต้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน นิยมใช้กันมากในระบบสื่อสารและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล
byte(ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1, 024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1, 048, 576 ไบต์ (หรือ 1, 024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1, 073, 741, 824 ไบต์ (หรือ 1, 024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ (หรือ 1, 024 Gbytes)
bytes per inchไบต์ต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า BPI เป็นหน่วยวัดความจุของตัวอักขระในเทปหรือแถบบันทึก (tape) หมายความว่า ขนาดความยาวของแถบบันทึก 1 นิ้ว จะบรรจุตัวอักขระได้เท่าใดอาจต่างกันได้ตั้งแต่ 200 ถึง 1600 ไบต์ต่อนิ้ว และอาจมีการปรับให้มากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ (บางทีใช้กับความยาวของแทร็กของพื้นผิวของจานบันทึก (disk) ด้วย
cdabbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD <ชื่อสารบบ> \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่)
class a/class bชั้นเอ/ชั้นบีเป็นการกำหนดคุณภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะกรรมการคมนาคมของรัฐบาลกลางสหรัฐ (Federal Communications Commission) ที่ใช้กำหนดระดับของพลังงานไฟฟ้าแรงสูงที่จะใช้ในคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็น Class A แปลว่า อนุญาตให้ใช้ในที่ทำงานได้ ถ้าเป็น Class B หมายความว่า ใช้ในที่ทำงานก็ได้ ที่บ้านก็ได้ (ถ้าหากนำคอมพิวเตอร์ Class A มาใช้ที่บ้านอาจไปรบกวนการรับวิทยุหรือภาพทางโทรทัศน์ของบ้านอื่น)
direct accessการเข้าถึงโดยตรงหมายถึง การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ หมายความว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ส่วนใดของสื่อที่ใช้บันทึก หัวอ่าน (read head) ก็จะเจาะตรงลงไปอ่านได้เลย เช่น การอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ซึ่งผิดกับการอ่านข้อมูลจากแถบบันทึก (tape) ที่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นเทปไปจนกว่าจะถึงข้อมูลที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้ช้ากว่ากันมากดู indirect access เทียบ
en dash(เอ็นแดช) หมายถึงเครื่องหมาย - (ที่เรียกว่า dash) มีขนาดความกว้างเท่ากับอักษร N ในทางคอมพิวเตอร์มีความหมายว่า "ถึง" เช่น หน้า 50 - 55 หมายความว่า ตั้งแต่หน้า 50 ถึง 55 เป็นต้น
erasable storageหน่วยเก็บที่ลบได้ <คำแปล>หมายถึง สื่อเก็บข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลใหม่ทับข้อมูลเก่าได้ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือ จานบันทึก (diskette) เมื่อบันทึกข้อมูลใหม่ ข้อมูลเก่าจะถูกลบออกไปเอง ส่วนบัตร (card) เป็นหน่วยเก็บที่ลบไม่ได้ หมายความว่า ใช้ได้ครั้งเดียวก็ต้องโยนทิ้ง
fixed storageหน่วยเก็บข้อมูลที่เปลี่ยนไม่ได้หมายถึงสื่อที่เก็บข้อมูลครั้งหนึ่งแล้ว นำมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หมายความว่า จะนำมาลบแล้วบันทึกใหม่อย่างจานบันทึกหรือแถบบันทึกไม่ได้ เมื่อนำมาบันทึกใหม่ไม่ได้ ส่วนมากจึงมักใช้บันทึกแฟ้มข้อมูลที่อ่านได้อย่างเดียว (read only) บางทีหมายถึงรอม (ROM)
immediate accessหมายถึง การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ หมายความว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ส่วนใดของสื่อที่ใช้บันทึก หัวอ่าน (read head) ก็จะเจาะตรงลงไปอ่านได้เลย เช่น การอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ซึ่งผิดกับการอ่านข้อมูลจากแถบบันทึก (tape) ที่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นเทปไปจนกว่าจะถึงข้อมูลที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้ช้ากว่ากันมากมีความหมายเหมือน direct access
insert keyแป้นแทรก <คำแปล>เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีคำว่า Insert หรือ Ins อยู่บนแป้น การกดแป้นนี้จะทำให้สามารถพิมพ์ตัวอักษรแทรกเข้าไปโดยที่ตัวอักษรที่อยู่ถัดไปจะถอยให้ (ถ้าไม่กดแป้นนี้ อักษรตัวใหม่ที่พิมพ์จะทับตัวเก่า ทำให้ตัวเก่าหายไป) อย่างไรก็ตาม แป้นนี้เป็นแป้นเปิด/ปิด (on/off) หมายความว่า กดแป้นนี้ครั้งแรก จะเปลี่ยนให้เป็นภาวะแทรก แต่ถ้ากดอีกครั้งหนึ่ง ก็จะเปลี่ยนกลับไปเป็นภาวะเดิม คือภาวะพิมพ์ทับ บางทีใช้ Ins keyดู insert mode ประกอบ
interleavingแทรกสลับสลับหมายถึง อัตราส่วนของการบันทึกข้อมูลลงในแต่ละเซ็กเตอร์ (sector) กับเซ็กเตอร์ ที่ข้ามไปของจานบันทึกแบบแข็ง (hard disk) เช่น ถ้าจานแข็งยี่ห้อหนึ่งกำหนดไว้ 3:1 หมายความว่า จานนี้บันทึกข้อมูลหนึ่งเซ็กเตอร์แล้วข้ามไปสามเซ็กเตอร์ จึงจะบันทึกข้อมูลใหม่
kilo instructions per secพันคำสั่งต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า KIPS เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่น คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมาก
kilobyte(กิโลไบต์) ใช้ตัวย่อว่า KB มีค่าเท่ากับ 1, 024 (2 ยกกลง 10) ไบต์ เช่น ถ้าพูดว่าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ 64 เคไบต์ หมายความว่า มีเนื้อที่ในหน่วยความจำ 65, 536 ไบต์ สามารถเก็บตัวอักขระได้ 65, 536 ตัวอักขระ
kips(กิปส์) ย่อมาจาก kilo instructions per second พันคำสั่งวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่นคอมพิวเตอร์นี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมากดู MIPS เปรียบเทียบ
logical operatorตัวดำเนินการตรรกะหมายถึง สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม การสร้างแผ่นตารางจัดการ หรือการสร้างฐานข้อมูลเพื่อแสดงถึงสัมพันธภาพระหว่างรายการสองรายการ ตัวดำเนินการดังกล่าวมีด้วยกัน 3 ตัวคือ AND, OR, และ NOT เช่น จะเขียนโปรแกรมสั่งให้เครื่องค้นหา (จากแฟ้มข้อมูลใหญ่ ๆ) คนที่มีรายได้สูงกว่าห้าแสนบาทต่อปี AND ใช้รถเบนซ์รุ่นใหม่สุด (หมายความว่า ต้องมีคุณสมบัติทั้งสองอย่าง) ดู OR เปรียบเทียบ
megabyte(เมก' กะไบท์) n. 220 ไบต์หรือ 1, 048, 576 ไบต์ : ย่อว่า MB, ใช้ตัวย่อว่า MB (เอ็มบี) เท่ากับหนึ่งบ้านไบต์ ใช้บอกขนาดของหน่วยความจำ เช่น คอมพิวเตอร์ ขนาด 16 เมกะไบต์ หมายความว่า มีขนาดหน่วยความจำ 16 ล้านไบต์ หรือบอกความจุของสื่อ เช่น จานแม่เหล็ก หรือจานบันทึก ว่ามีความจุ 1.2 เมกะไบต์ ก็หมายความว่า เก็บข้อมูลได้ 1.2 ล้านตัวอักษร เป็นต้น
mtbf(เอ็มทีบีเอฟ) ย่อมาจากคำ mean time between failure ได้แก่อายุการใช้งานเฉลี่ยของอุปกรณ์บางชนิด เช่น เครื่องพิมพ์ ถ้าเป็นขนาด MTBF 35000 ก็หมายความว่า เมื่อใช้พิมพ์ออกมา 35, 000 แผ่น ก็จะถึงคราวหมดอายุของมันแล้ว
off-lineนอกสายไม่เชื่อมตรงถ้าใช้กับเครื่องปลายทาง (terminal) หมายความว่า ไม่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย หรือคอมพิวเตอร์อื่นใดเลย ถ้าใช้กับอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์ ก็หมายความว่าไม่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เช่นกัน ดู on line เปรียบเทียบ
parameterพารามิเตอร์ตัวแปรเสริมหมายถึง ค่า ซึ่งอาจจะเป็นจำนวนเลข หรือตัวอักขระ ที่ใช้ในการสร้างสมการหรือคำสั่ง (statement) ข้อความที่จะเห็นบนจอภาพบ่อย ๆ เช่น "parameter missing" หมายความว่า ใส่ข้อความไม่ครบ เช่น ให้ย้ายแฟ้มข้อมูล A แต่ไม่บอกว่าย้ายไปที่หน่วยบันทึกใด (เช่น จะให้ไปที่ a : หรือ b:)
parent/childแม่/ลูกหมายถึง ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างแฟ้มข้อมูลหรือสารบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ที่เรียกว่าแบบแม่/ลูก หมายความว่า ลงมาเป็นชั้น ๆ
path nameเส้นบอกทางหมายถึง เส้นบอกทางไปยังที่ที่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูล โดยต้องเริ่มต้นด้วยหน่วยบันทึก (drive) คั่นด้วยเครื่องหมาย : ตามด้วยเครื่องหมาย \ หลังจากนั้นเป็นชื่อ สารบบ (directory) และอนุสารบน (subdirectory) ถ้ามี คั่นด้วย \ แล้วจึงถึงชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ เช่นตัวอย่างC:\PROGRAMS\GRAPHICSชA"ข้อความนี้ หมายความว่า แฟ้มข้อมูลชื่อ AAA อยู่ในอนุสารบนชื่อ GRAPHICS ในสารบบใหญ่ที่ชื่อ PROGRAM และอยู่ในหน่วยบันทึก C: อนึ่ง ในระบบวินโดว์ ทุกครั้งที่จะบันทึกแฟ้มข้อมูลลงในจานบันทึก หรือเรียกแฟ้มข้อมูลมาแสดงหรือสั่งพิมพ์ ฯ จะต้องแจ้งเส้นบอกทางไปยังแฟ้มข้อมูลนั้นให้ชัดเจน ถ้าเป็นแมคอินทอช จะไม่ใช้ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลแบบนี้
peer-to-peerเพียทูเพียหมายถึง วิธีการจัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง ที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทุกเครื่องเหมือนกันหรือเท่าเทียมกัน หมายความว่า แต่ละเครื่องต่างมีโปรแกรมหรือมีแฟ้มข้อมูลเก็บไว้เอง การจัดแบบนี้ทำให้สามารถใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ แทนที่จะต้องใช้จากเครื่องบริการแฟ้ม (file server) เท่านั้น วิธีการจัดอีกลักษณะหนึ่ง ที่เรียกว่า client-server นั้น คือการกำหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องบริการแฟ้ม หรือเป็นที่เก็บโปรแกรมและแฟ้มทั้งหมด คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะเรียกใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลจากกันไม่ได้ ต้องเรียกจากเครื่องบริการแฟ้มเท่านั้น ดู file server ประกอบ
pipelineการทำงานแบบสายท่อหมายถึง วิธีการเชื่อมโยงสองโปรแกรมหรือกว่านั้นเข้าด้วยกัน โดยกำหนดให้ผลที่เกิดจากการประมวลผลในโปรแกรมแรก เป็นตัวกำหนดเรียกโปรแกรมที่สอง (หมายความว่า โปรแกรมที่สองจะเป็นโปรแกรมใด ขึ้นกับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในโปรแกรมแรก) การประมวลผลในโปรแกรมที่สองก็จะเรียกโปรแกรมต่อไป วิธีการนี้ใช้ในระบบยูนิกซ์ (UNIX) และ ดอส (DOS)
portrait orientationพิมพ์แนวตั้งหมายถึง ทิศทางของการวางกระดาษพิมพ์ หรือทิศทางที่จะให้ภาพพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ในแนวตั้ง หมายความว่า ความกว้างน้อยกว่าความยาว ตรงข้ามกับ "แนวนอน"ดู landscape orientation เปรียบเทียบ
radix(เร'ดิคซฺ) n.เลขฐานของระบบเลขหรือlogarithmsหรืออื่น ๆ , ราก, รากศัพท์, สมุฎฐาน, มูลฐาน, จำนวนสัญลักษณ์ที่ใช้บอกว่าเลขในระบบนั้น ๆ ว่ามีสัญลักษณ์โดด ๆ กี่ตัว เช่น ระบบฐานสิบมีสัญลักษณ์ 10 ตัว ระบบฐานสิบหกมีสัญลักษณ์ 16 ตัว เป็นต้น ในการเขียน มักจะต้องบอกฐานกำกับไว้ด้วยเสมอและมีวิธีเขียนหลายแบบ (ถ้าเป็นเลขฐาน 10 จะไม่ต้องเขียนฐานกำกับ) เช่น101 (8) หมายความว่า 101 เป็นเลขฐานแปด (101) 2 หมายความว่า 101 เป็นเลขฐานสองมีความหมายเหมือน base numberดู number system ประกอบ pl. radices, radixes, Syn. root, a radical
random accessการเข้าถึงโดยสุ่มการเข้าถึงข้อมูลที่บันทึกไว้โดยสุ่มหมายความว่าเข้าถึงได้ทุก ๆ จุดได้โดยทันทีทันใด เป็นต้นว่า การเข้าถึงข้อมูลที่เก็บในจานบันทึก ซึ่งจะใช้เวลาเท่ากันหมดไม่ว่าเก็บไว้ที่จุดไหน ต่างกับการเข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้ในแถบบันทึกหรือเทป ถ้าข้อมูลที่ต้องการอยู่ตอนปลาย ก็จะต้องรอให้เทปเดินหน้าไปจนถึงจุดนั้นเสียก่อน การเข้าถึงข้อมูลโดยวิธีนี้ จะมีหัวอ่าน/บันทึก (read head) ต่อกับก้านโลหะที่เคลื่อนเข้า/ออกได้ เหนือจานที่หมุนรอบแกนอีกทีหนึ่ง เปรียบเทียบ) ถ้าเปรียบกับการฟังเพลงจากจานเสียงและเทป จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าเป็นเทปหรือแถบบันทึก หากจะฟังเพลงที่อยู่ในลำดับท้าย ๆ ก็จะต้องรอให้เทปหมุนผ่านเพลงในลำดับแรก ๆ ไปก่อน แต่ถ้าเป็นจานเสียง เราต้องการฟังเพลงใด ก็สั่งได้ทันทีดู sequential access เปรียบเทียบ
resolution(เรซซะลู'เชิน) n. ความแน่วแน่, ความเด็ดเดี่ยว, การยืนหยัด, การตัดสินใจแล้ว, มิติ, การลงมติ, การแก้ปัญหา, การยุบลงของส่วนที่บวมหรืออักเสบ , ความคมชัดหมายถึง ความละเอียดของภาพ โดยจะนับจุดเล็ก ๆ ในภาพนั้น ยิ่งมีมากจุดต่อนิ้วก็ยิ่งแสดงว่าภาพนั้นมีความคมชัด เช่น อาจใช้วัดประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) ว่า สามารถพิมพ์ได้ 300 - 600 จุดต่อนิ้ว เป็นต้น ถ้าเป็นชนิดดีมากควรจะพิมพ์ได้ถึง 2, 400 จุดต่อนิ้ว ส่วนความละเอียดของจอภาพ มักจะวัดทั้งความกว้างและยาว เช่น 320 X 200 แสดงว่าจุดมีขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็น 1240 X 800 แสดงว่าจุดมีขนาดเล็ก หมายความว่า ภาพคมชัดกว่า เมื่อใช้อธิบายถึงภาพสี คำ resolution ใช้บอกจำนวนสีที่สามารถแสดงได้ในแต่ละครั้ง ถ้าความคมชัดต่ำ จะแสดงสีได้ครั้งละมาก ๆ ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเหมือนกับว่า ภาพนั้นมีความคมชัดมาก ภาพที่มีความคมชัดมากจริง ๆ จะแสดงสีได้น้อยสีในคราวเดียวกัน โดยปกติ มักใช้คำ high res และ low res เป็นคำย่อว่า ความคมชัดมากหรือน้อยดู high resolutution และ low resolution ประกอบ, Syn. resolve, determination
sans serifแซนเซอริฟ <คำอ่าน>เป็นแบบอักษร (font) ภาษาอังกฤษแบบหนึ่งที่ไม่มีส่วนงอนโค้งของส่วนปลายสุดของตัวอักขระ ส่วนงอนโค้งนี้ในภาษาอังกฤษ เรียกกันว่า serif ฉะนั้น sans serif ก็หมายความว่าปราศจากส่วนนี้ (sans เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ปราศจาก) แบบอักษรชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นตัวตรง ๆ เหมาะสำหรับใช้พิมพ์ชื่อเรื่อง พาดหัวตัวโต ๆ ว่ากันว่าให้อ่านง่าย ในระบบวินโดว์ของพีซี กรอบสนทนาทั้งหมดใช้แบบอักษรนี้ ฉะนั้น ต้องระวังอย่าลบแบบอักษรนี้ออกจากหน่วยความจำโดยเด็ดขาด ดู serif เปรียบเทียบ
secondary keyกุญแจรองในการสั่งค้นหาหรือเรียงลำดับข้อมูล จะต้องมีการกำหนดว่าจะใช้ตัวอักษรใด ข้อความใดเป็นตัวกำหนด ที่เรียกว่า " กุญแจ " (key) ตัวที่สำคัญเป็นอันดับแรก เรียกว่า "กุญแจหลัก" (primary key) ส่วนตัวสำคัญรองลงมา ก็เรียกว่า " กุญแจรอง " (secondary key) เช่น กำหนดให้อายุ 20 ปี เป็นกุญแจหลัก และเป็นชาย เป็นกุญแจรอง ดังนี้ก็หมายความว่า ต้องการหาชายที่มี 20 ปี เป็นต้น ดู primary key เปรียบเทียบ
tab key(แป้นพิมพ์) แป้นตั้งระยะหมายถึง แป้นพิมพ์แป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ โดยปกติจะอยู่ริมด้านซ้ายสุดของแถวที่สองจากข้างบน อาจมีคำ tab บนแป้น บางทีมีเครื่องหมายลูกศรแทน การกดแป้นนี้ จะทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เลื่อนไประยะหนึ่ง (แล้วแต่จะมีการกำหนดไว้) อาจเป็น 5- 10 ช่องว่าง มักใช้เมื่อต้องการย่อหน้าหรือต้องการจัดคอลัมน์ให้ตรงกัน (ไม่ควรกดคานเคาะ) นอกจากนั้น ในกรอบสนทนา การกดแป้นนี้หมายความว่า ให้กระโดดจากช่อง (ที่จะให้เติมข้อความ) ที่ 1 ไปช่องที่ 2 ไปช่องที่ 3....ต่อไป
what you see is what youwhat you see is what you get ได้อย่างที่เห็นใช้ตัวย่อว่า WYSIWIG (อ่านว่า วิซิวิก) เป็นสมรรถนะอย่างหนึ่งของโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ ซึ่งมีการนำภาพและข้อความ (text) มาผสมกัน หมายความว่า ถ้ามองเห็นบนจอภาพอย่างไร สั่งพิมพ์ออกมา ก็จะได้ผลอย่างที่เห็นนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อก่อนนี้ โปรแกรมไม่สามารถสั่งให้แสดงผลบนจอภาพได้ เช่น ถ้าสั่งให้พิมพ์ตัวเข้ม ตัวเอน ฯ จะไม่สามารถมองเห็นได้บนจอภาพ แต่จะเห็นเมื่อสั่งพิมพ์ลงกระดาษแล้ว เท่านั้น ปัจจุบัน โปรแกรมใหม่ ๆ จะมีลักษณะ " ได้อย่างที่เห็น " หมดแล้ว
wysiwyg(วีซิวิก) ย่อมาจาก what you see is what you get แปลตามตัวว่า "ได้อย่างที่เห็น" เป็นสมรรถนะอย่างหนึ่งของโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ ซึ่งมีการนำภาพและข้อความ (text) มาผสมกัน หมายความว่า ถ้ามองเห็นบนจอภาพอย่างไร สั่งพิมพ์ออกมา ก็จะได้ผลอย่างที่เห็นนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อ ก่อนนี้ โปรแกรมไม่สามารถสั่งให้แสดงผลบนจอภาพได้ เช่น ถ้าสั่งให้พิมพ์ตัวเข้ม ตัวเอน ฯ จะไม่สามารถมองเห็นได้บนจอภาพ แต่จะเห็นเมื่อสั่งพิมพ์ลงกระดาษแล้ว เท่านั้น ปัจจุบัน โปรแกรมใหม่ ๆ จะมีลักษณะ "ได้อย่างที่เห็น" หมดแล้ว

English-Thai: Nontri Dictionary
denote(vt) แสดง, ชี้แนะ, บ่งชี้, หมายความว่า

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
apemเป็นโหลดหรือ ฟังก์ชั่นในวงการ DotA ย่อมาจาก "All Pick Easy Mode" คำอธิบายเพิ่มเติม เป็นโหลดที่พวก noob, grean, kak ชอบใช้กัน แต่ไม่ได้หมายความว่า โหมดอื่นจะไม่มีนะ
avalon(n) เกาะที่เชื่อว่าเป็นเกาะสวรรค์ทางตะวันตกที่กษัตริย์อาเธอร์ได้ทรงไปประทับอยู่ภายหลังจากการบาดเจ็บสาหัสจากการสู้รบและทรงสวรรคตที่นั่น บางครั้งใช้แสดงความหมายแฝงหมายความว่า เป็นที่พักพิงใจและกายเมื่อมีความทุกข์ระทม island paradise in Celtic mythology: in Celtic mythology, an island paradise in the west. King Arthur is said to have been taken to Avalon after being apparently mortally wounded. (Encarta Wold English Dictionary), Syn. แดนสุขาวดี
inw[เทพ] (n, adv) ใช้กันในวงการ DotA มีความหมายว่า ฝีมือการเล่นระดับเทพ(ไม่ได้หมายความว่าจะ grean ไม่ได้นะ) เช่น พี่ชายคนนั้นเล่น inwจังเลยอ้ะ หรือ แม่ง inw อย่าไปท้ามันนะฮ้ะ

Japanese-Thai: Longdo Dictionary
予実[よじつ, yojitsu] มาจาก2คำคือ 予測+実績=予実 หมายความว่า เป็นการเปรียบเทียบผลการทำงานว่า Plan กับ Actual มีข้อแตกต่างกันหรือไม่
歩留まり[ぶどまり, budomari] อัตราของดีต่อของเสีย เช่น ผลิตงาน 100 ชิ้น มีงานเสียเกิดขึ้น 2 ชิ้น หมายความว่า 歩留まり(Yield) = 98%

German-Thai: Longdo Dictionary
wasอะไร (ขึ้นต้นประโยคคำถาม) เช่น Was bedeutet das? มันหมายความว่าอะไร
Ich habe den Sprung ins kalte Wasser gewagt.กล้าเสี่ยงที่จะทำอะไรบางอย่าง (แปลตามตรง ฉันกล้าที่จะกระโดดลงไปในน้ำเย็น ในที่นี้ไม่ใช้น้ำร้อนเพราะว่าถ้าโดดลงไปในน้ำร้อน เราก็จะพอเดาผลได้ คือตัวเราเองจะโดนต้มสุก แต่การกระโดดลงไปในน้ำเย็นนั้น เราไม่รู้ว่าเราจะหนาวจนตาย แข็งจนตาย หรือรอดชีวิตได้ เพราะในน้ำเย็นอาจจะต้องใช้เวลาก่อนที่เราจะแข็งเป็นน้ำแข็ง ดังนั้นในที่นี้จึงหมายความว่าเป็นการเสี่ยงในการทำอะไรบางอย่าง โดยที่ไม่รู้ผลลัพธ์ที่ตามมา)

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top