ชักหน้าไม่ถึงหลัง | ก. มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย. |
ไม่เห็นน้ำตัดกระบอกไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ | ว. ด่วนทำไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร. |
หน้าไม่รับแขก | น. หน้าตาที่เฉยเมยคล้ายกับว่าไม่ต้องการต้อนรับใคร อาจเป็นปรกติหรือเป็นบางโอกาสก็ได้. |
หน้าไม่อาย | ว. ที่ไม่รู้สึกกระดากหรือขวยใจ. |
หน้าไม้ | น. วิธีคิดเลขเพื่อให้รู้ว่าไม้มีกี่ยก |
หน้าไม้ | เครื่องยิงชนิดหนึ่ง มีคันและราง ยิงด้วยลูกหน้าไม้. |
กบ ๔ | น. เครื่องมือช่างไม้สำหรับไสไม้ ขูดปอกหน้าไม้เพื่อลบคลองเลื่อยให้เรียบ ให้เป็นราง หรือลอกบัว มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบังใบ กบบัว |
กระดาก ๑ | ก. รู้สึกขวยเขิน, วางหน้าไม่สนิท, ตะขิดตะขวงใจไม่กล้าพูดหรือไม่กล้าทำเพราะเกรงจะได้รับความอับอาย. |
กะเรี่ยกะราด | วางหน้าไม่สนิท. |
เก้อเขิน | ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย. |
ไก ๑ | น. ที่สำหรับเหนี่ยวให้ลูกกระสุนเป็นต้นลั่นออกไปเช่น ไกปืน ไกหน้าไม้. |
เขิน ๓, เขิน ๆ | ว. วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย |
จั่นห้าว | น. เครื่องยิงสัตว์ ใช้หอก หรือปืน หรือหลาว ขัดสายใยไว้ เมื่อคนหรือสัตว์ไปถูกสายใยเข้า ก็ลั่นแทงเอาหรือยิงเอา ใช้อย่างเดียวกับหน้าไม้ก็ได้. |
จาป ๑, จาปะ | (จาบ) น. ธนู, ศร, หน้าไม้, เช่น ชักกุทัณฑกำซาบ ด้วยลูกจาปแล่นลิ่ว (อนิรุทธ์). |
เจิ่น | ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจิ่นไป, เจื่อน ก็ว่า. |
เจี๋ยมเจี้ยม | ว. วางหน้าไม่สนิทมีอาการเก้อเขิน. |
เจื่อน | ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจื่อนไป, เจิ่น ก็ว่า |
เจื่อน | วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้เป็นต้น เช่น หน้าเขาเจื่อนไป, เรียกหน้าที่มีลักษณะเช่นนั้น ว่า หน้าเจื่อน. |
ธงนำริ้ว | ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง บังคับให้ซ้ำคำ ๒ คำต้นในวรรค โดยคำที่ซ้ำเปลี่ยนไปทุกวรรค เช่น กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ). |
ปืนยา | น. ศรหรือหน้าไม้ที่มีลูกอาบด้วยยาพิษ. |
เป๋อเหลอ | (-เหฺลอ) ว. เซ่อ, มีสีหน้าไม่รู้เรื่อง (ใช้แก่หน้า). |
ผูก | ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที (นิ. นรินทร์) |
เฝื่อน | วางหน้าไม่สนิทเหมือนกินของมีรสเฝื่อน. |
ยางน่อง | น. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (<i>Antiaris toxicaria</i> Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ยิงสัตว์. |
ยิ้มเจื่อน | ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิท. |
ยิ้มเฝื่อน | ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิทคล้ายกินของมีรสเฝื่อน. |
รอหน้า | ก. เข้าหน้า, เผชิญหน้า, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น รอหน้าไม่ติด ไม่อยู่รอหน้า. |
ลื้น, ลื้น ๆ | ว. เจ็บอาย, เศร้า, สลด, เช่น ว่าแล้วหน้าไม่ลื้น |
เละเทะ | ว. ไม่เป็นระเบียบ เช่น หัวหน้าไม่อยู่ งานการเละเทะ |
เลือน, เลือน ๆ | ว. มัว ๆ, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ภาพเก่าสีเลือนไปจนเห็นหน้าไม่ชัด มองเห็นเลือน ๆ, เฟือน ๆ เช่น ความจำเลือนไป. |
วางหน้า | ก. ตีหน้า เช่น วางหน้าไม่สนิท วางหน้าเก้อ ๆ. |
สินาด | น. หน้าไม้, ปืน. |
สีหน้า | น. อารมณ์ที่ปรากฏทางหน้า เช่น วันนี้สีหน้าเขาไม่ดีเลย คงจะโกรธใครมา พอถูกดุก็ทำสีหน้าไม่พอใจ. |
ไสกบ | ก. กดกบลงบนไม้แล้วดันกบเพื่อทำให้หน้าไม้เรียบ ให้เป็นราง หรือลอกบัว ลอกลวด เป็นต้น, ไสไม้ ก็เรียก. |
ไสไม้ | ก. กดกบลงบนไม้แล้วดันกบเพื่อทำให้หน้าไม้เรียบ ให้เป็นราง หรือลอกบัว ลอกลวด เป็นต้น, ไสกบ ก็เรียก. |
หน้าเจี๋ยมเจี้ยม | ว. วางหน้าไม่สนิท มีอาการเก้อเขิน. |
หน้าเจื่อน | ว. วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้เป็นต้น. |
หน้าซีด | ว. มีสีหน้าไม่สดใสหรือไม่มีสีเลือดเพราะอดนอน ตกใจ หรือถูกจับได้ว่าทำผิดเป็นต้น. |
หน้าเซ่อ | ว. อาการที่วางหน้าไม่รู้ไม่ชี้หรือทำเป็นไม่รู้เรื่อง เช่น ตีหน้าเซ่อ. |
หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา | ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย. |
หน้าปูเลี่ยน ๆ | ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท กระดากอาย เพราะถูกจับผิดได้เป็นต้น, หน้าเจื่อน ก็ว่า. |
หน้าเผือด, หน้าเผือดสี | น. หน้าไม่มีสีเลือด. |
หน้าแห้ง | ว. มีสีหน้าไม่แจ่มใสเพราะความทุกข์เช่นผิดหวัง. |
อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา | (อะนุราด, อะนุราทะ, อะนุราทา) น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๗ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปธนู หน้าไม้ หรือหงอนนาค, ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง ก็เรียก. |
อุสุ | น. ธนู, หน้าไม้, เครื่องยิง. |