Potenxtial energy | พลังงานศักย์, Example: พลังงานที่มีในวัตถุ เนื่องจากตําแหน่งที่อยู่ของวัตถุนั้น [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Electron volt | อิเล็กตรอนโวลต์, หน่วยหนึ่งของพลังงานหรืองาน 1 อิเล็กตรอนโวลต์ คือ พลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ผ่านความต่างศักย์ไฟฟ้าขนาด 1 โวลต์ มีค่าเท่ากับ 1.603 x 10<sup>-12</sup> เอิร์ก [นิวเคลียร์] |
Van de Graaff generator | เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474, Example: [นิวเคลียร์] |
Van de Graaff accelerator | เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474 [นิวเคลียร์] |
Potential exposure | การรับรังสีไม่คาดหมาย, การรับรังสีเชิงศักย์, การรับรังสีที่ไม่ได้คาดไว้ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการดำเนินงานตามปกติ เช่น เกิดจากอุบัติเหตุของต้นกำเนิดรังสี เครื่องมือชำรุดเสียหาย หรือเกิดความผิดพลาดในการดำเนินงาน การรับรังสีนี้ สามารถวิเคราะห์ ประเมิน และกำหนดแนวทางป้องกัน เพื่อลดโอกาสการรับรังสี [นิวเคลียร์] |
Gravitational Potential | ศักย์โน้มถ่วง, Example: งาน (work) ต่อจำนวนของน้ำบริสุทธิ์ ที่ต้องใช้ในการเคลื่อนย้ายน้ำในดิน จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งที่มีความสูงแตกต่างกัน ดังสมการ Yz = r g z เมือ Yz คือ ศักย์โน้มถ่วง z คือ ระดับความสูงที่แตกต่างกัน r คือ ความหนาแน่นของน้ำ g คือ แรงโน้มถ่วง [สิ่งแวดล้อม] |
Oxidation-Reduction Potential | ศักย์ออกซิเดชัน-รีดักชัน, Example: ความต่างศักย์ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายอีเล็ก ตรอนจากตัว oxidant ไปยังตัว reductant [สิ่งแวดล้อม] |
linear electron accelerator | เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น, เป็นเครื่องเร่งอนุภาคแบบหนึ่ง ใช้เร่งอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรงภายใต้สนามไฟฟ้าสถิตย์(electrostatic field) หรือสนามไฟฟ้าสลับย่านความถี่คลื่นวิทยุ (Radio frequency field) เครื่องเร่งอนุภาคทั้งสองแบบ ให้อิเล็กตรอนที่มีช่วงพลังงานแตกต่างกัน ในเครื่องเร่งแบบไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic accelerator)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องเร่งแบบกระแสตรง (DC-accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรง ภายใต้ความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว เครื่องเร่งชนิดนี้สามารถเร่งลำอิเล็กตรอนให้มีพลังงานระหว่าง 0.1-0.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ นิยมใช้ในงานเคลือบผิววัตถุ การปรับปรุงคุณภาพวัสดุ เช่น ฉนวนหุ้มสายไฟ การวัลคาไนซ์ของน้ำยาง ในเครื่องเร่งแบบใช้สนามไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นวิทยุ (high frequency accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งผ่านท่อทรงกระบอกซึ่งเรียงกันเป็นเส้นตรง และต่อกับแหล่งกำเนิดศักดาไฟฟ้าซึ่งสลับขั้วด้วยความถี่ในย่านของคลื่นวิทยุ เครื่องเร่งนี้สามารถเร่งลำอิเลคตรอนให้มีพลังงานสูงในช่วง 5-10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เหมาะสำหรับงานผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ และงานวิจัยทางฟิสิกส์ [พลังงาน] |
Absolute Potentials | ค่าศักย์สมบูรณ์ [การแพทย์] |
Action Potential Period | ระยะเวลาที่เกิดศักย์ไฟฟ้า [การแพทย์] |
Action Potentials | ศักย์ขณะทำงาน, ศักย์ไฟฟ้า, ศักย์ไฟฟ้าขณะทำงาน, ศักย์ในการทำงาน, กระแสไฟฟ้า, ศักย์ไฟฟ้าขณะกำลังทำงาน, ศักย์ไฟฟ้าขณะทำงาน [การแพทย์] |
Action Potentials, Compound | ศักย์ไฟฟ้าขณะทำงานผสม [การแพทย์] |
Bioelectric Potentials | ศักย์ไฟฟ้า2ขั้ว [การแพทย์] |
Depolarization | ดีโพลาไรเซชัน, การกระตุ้น, ดีโปลาไรเซซั่น, การลดความต่างศักย์, ทิศทางการกระจายของคลื่นไฟฟ้า [การแพทย์] |
Depolarization, Local | การเปลี่ยนความต่างศักย์ไฟฟ้าเฉพาะที่ [การแพทย์] |
Depolarizing Current | วงจรที่ลดความต่างศักย์ [การแพทย์] |
Depolarizing Stimulus | สิ่งเร้าโดยลดความต่างศักย์ [การแพทย์] |
Diastolic Potentials, Maximum | ความต่างศักย์สูงสุดที่ส่งผ่านผิวเนื้อเยื่อ [การแพทย์] |
Diffusion Potentials | ศักย์การแพร่ [การแพทย์] |
Electrical Potential Difference | การเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ทางไฟฟ้า [การแพทย์] |
Electrical Potentials | ศักย์ทางไฟฟ้า, ความต่างศักย์ไฟฟ้า, ศักย์ไฟฟ้า, ความแตกต่างในศักย์ไฟฟ้า [การแพทย์] |
Electrochemical Potentials | ศักยภาพทางเคมีไฟฟ้า, ศักย์ไฟฟ้าเคมี [การแพทย์] |
Electrode Potentials | ศักย์ไฟฟ้าอีเล็คโตรด [การแพทย์] |
Electrodes, Active | ความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้า [การแพทย์] |
Endocochlear Potentials | ศักย์บวกภายในอวัยวะรูปหอยโข่งที่เป็นกระแสสลับ [การแพทย์] |
Energy, Gravitational Potential | พลังงานศักย์ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก [การแพทย์] |
Energy, Potential Chemical | พลังงานศักย์ [การแพทย์] |
Evoked Potentials | กระแสไฟที่เกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อ, ศักย์บันดล, ศักยบันดล, การตอบสนองโดยทันที [การแพทย์] |
Capillary potential | ศักย์ของการซึมขึ้น [อุตุนิยมวิทยา] |
Potential due to hydrostatic pressure | ศักย์เนื่องจากความ กดของน้ำนิ่ง [อุตุนิยมวิทยา] |
potential energy | potential energy, พลังงานศักย์ [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
potential evapotranspiration | potential evapotranspiration, ศักย์การคายระเหย [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
equipotential line | equipotential line, เส้นศักย์เท่ากัน [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
standard electrode [ reference electrode ] | ขั้วไฟฟ้ามาตรฐาน, ขั้วไฟฟ้าที่กำหนดขึ้นให้เป็นมาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบหาค่าศักย์ไฟฟ้าของครึ่งเซลล์ต่าง ๆ บางครั้งเรียกว่าขั้วไฟฟ้าอ้างอิง เช่น ขั้วไฟฟ้าไฮโดรเจนมาตรฐาน ขั้วไฟฟ้าคาโลเมลอิ่มตัว เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
standard hydrogen electrode | ขั้วไฟฟ้าไฮโดรเจนมาตรฐาน, ขั้วไฟฟ้าที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบหาศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานของครึ่งเซลล์อื่น ๆ โดยกำหนดค่าศักย์ไฟฟ้าของครึ่งเซลล์นี้ให้เท่ากับศูนย์โวลต์ ขั้วไฟฟ้านี้ประกอบ ด้วยแผ่นแพลทินัมบาง ๆ ที่เคลือบด้วยแพลทินัมแบลก จุ่มอยู่ในสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 1 mol/d [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
secondary cell | เซลล์ทุติยภูมิ, เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดหนึ่งที่เมื่อความต่างศักย์ของเซลล์ลดลงแล้วสามารถจะประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ได้อีก เช่น แบตเตอรี่ ที่ใช้ในรถยนต์ทั่ว ๆ ไป เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
primary cell | เซลล์ปฐมภูมิ, เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดหนึ่งซึ่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าโดยตรง เมื่อความต่างศักย์ของเซลล์ลดลงหรือหมดไป ไม่สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้ เช่น ถ่านไฟฉายที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
half-cell potential [ electrode potential ] | ศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์, ความต่างศักย์ที่อ่านได้เมื่อนำครึ่งเซลล์หนึ่งต่อกับอีกครึ่งเซลล์หนึ่งที่ถือว่าศักย์ไฟฟ้าเท่ากับศูนย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrode potential | ศักย์ขั้วไฟฟ้า, ดู half-cell potential [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
standard half cell potential | ศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์มาตรฐาน, ความต่างศักย์ที่ได้จากการนำครึ่งเซลล์หนึ่ง ๆ ซึ่งมีความเข้มข้นของไอออนในสารละลาย 1 mol/dm3 อุณหภูมิ 25oC และถ้าเป็นแก๊สให้มีความดัน 1 atm มาต่อเข้ากับขั้วไฟฟ้าไฮโดรเจนมาตรฐาน ซึ่งใช้เป็นครึ่งเซลล์มาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบใช้สัญลักษณ์ Eo [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
parallel connection | การต่อแบบขนาน, การต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า(เช่นตัวต้านทาน)เข้ากับวงจรโดยที่ปลายทั้งสองของอุปกรณ์ต่อกับจุด 2 จุดร่วมกัน เพื่อแบ่งกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์คร่อมอุปกรณ์แต่ละอันมีค่าเท่ากัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
induction coil | ขดลวดเหนี่ยวนำ, อุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มความต่างศักย์ไฟฟ้าให้สูงขึ้นโดยอาศัยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของขดลวดไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
positive electrode | ขั้วไฟฟ้าบวก, ขั้วตัวนำไฟฟ้าที่ต่อกับจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าอีกขั้วหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ขั้วไฟฟ้าลบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
capacitance | ความจุ, สมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้าของตัวนำหรือตัวเก็บประจุ มีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างจำนวนประจุไฟฟ้าบนตัวนำหรือตัวเก็บประจุกับความต่างศักย์ไฟฟ้าของตัวนำหรือตัวเก็บประจุนั้น ใช้สัญลักษณ์ C [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
potential difference | ความต่างศักย์, โดยทั่วไปหมายถึงความต่างศักย์ไฟฟ้า (ดู electric potential difference) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electric potential difference | ความต่างศักย์ไฟฟ้า, ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุด 2 จุดในสนามไฟฟ้าหรือในวงจรไฟฟ้า เป็นงานที่ทำในการเคลื่อนประจุบวก 1 หน่วยจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
stopping potential difference | ความต่างศักย์หยุดยั้ง, ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่พอดีทำให้โฟโตอิเล็กตรอนในหลอดสุญญากาศหยุดเคลื่อนที่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
resistance | ความต้านทาน, สมบัติของตัวนำในการต้านการไหลกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำนั้น มีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ที่ปลายทั้งสองของตัวนำกับกระแสไฟฟ้าที่ผ่าน ใช้สัญลักษณ์ R แทนความต้านทาน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thermocouple | คู่ควบความร้อน, คู่ควบความร้อน อุปกรณ์วัดอุณหภูมิ โดยใช้หลักความแตกต่างของอุณหภูมิที่ปลายซึ่งต่อกันทั้ง 2 ข้างของโลหะตัวนำ 2 ชนิด ทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
potential divider | ตัวแบ่งศักย์, ความต้านทานที่ถูกต่อในวงจรไฟฟ้าเพื่อแบ่งความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจรนั้นออกเป็นความต่างศักย์ย่อย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |