ชังฆวิหาร | น. การเดินไปมา. |
พรหมวิหาร | (พฺรมมะ-, พฺรม-) น. ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. |
ราชวรมหาวิหาร | (ราดชะวอระมะหาวิหาน) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดสูงสุด ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เช่น วัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดสูงสุด ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร มี ๒ วัด คือ วัดสระเกศ และวัดชนะสงคราม. |
ราชวรวิหาร | (ราดชะวอระวิหาน) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน. |
วรมหาวิหาร | (วอระ-) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดตํ่าสุด ว่า ชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ วัดพระธาตุพนม, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรวิหาร ว่า ชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดจักรวรรดิ วัดระฆัง. |
วรวิหาร | (วอระ-) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดตํ่าสุด ว่า ชั้นโทชนิดวรวิหาร เช่น วัดบพิตรพิมุข วัดอนงคาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรวิหาร ว่า ชั้นตรีชนิดวรวิหาร เช่น วัดราชนัดดา วัดเทพธิดา. |
วิหาร, วิหาร- | (วิหาน, วิหาระ-) น. วัด, ที่อยู่ของพระสงฆ์ |
วิหาร, วิหาร- | ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป, คู่กับ โบสถ์ |
วิหาร, วิหาร- | การพักผ่อน เช่น ทิวาวิหาร ว่า การพักผ่อนในเวลากลางวัน. |
วิหารแกลบ | (-แกฺลบ) น. วิหารขนาดเล็ก มีพื้นที่ภายในสำหรับพระภิกษุนั่งปฏิบัติกรรมฐานได้เพียงรูปเดียว เช่น วิหารแกลบที่วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. |
วิหารคด | น. วิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีลักษณะหักเป็นข้อศอก โดยมากตั้งอยู่ ๔ มุม ของเขตพุทธาวาส หรืออาจมีหลังเดียวก็ได้. |
วิหารทิศ | น. วิหารที่สร้างออกมาทั้ง ๔ ด้านของพระสถูปหรือพุทธเจดีย์ เช่น วิหารทิศวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, วิหารที่อยู่ตรงกลางของพระระเบียงทั้ง ๔ ด้าน เช่น วิหารทิศวัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม. |
วิหารธรรม | (วิหาระทำ) น. ธรรมประจำใจ. |
วิหารยอด | น. วิหารที่มียอดเป็นรูปทรงต่าง ๆ, ถ้ายอดทรงเจดีย์ เรียกว่า วิหารยอดเจดีย์, ถ้ายอดทรงปรางค์ เรียกว่า วิหารยอดปรางค์. |
วิหารราย | น. วิหารขนาดใกล้เคียงกับวิหารน้อย ตั้งเรียงรายภายในพุทธาวาสโดยรอบ เช่น วิหารรายวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ศาลารายที่ใช้สำหรับพิธีสวดโอ้เอ้วิหารราย เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร. |
วิหารหลวง | น. วิหารที่ด้านท้ายเชื่อมติดกับพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ เช่น วิหารหลวงวัดพระศรีรัตน-มหาธาตุ ตำบลเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. |
สัทธิงวิหาริก, สัทธิวิหาริก | น. คำเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์นั้น. |
กรอบเช็ดหน้า | น. กรอบประตูหรือหน้าต่างโบสถ์ วิหาร หรือเรือนไทย เป็นต้น, เช็ดหน้า. |
กระดึง | น. ระฆังเล็ก ๆ ทำด้วยโลหะ ที่ปลายตุ้มมีใบพานซึ่งนิยมทำเป็นรูปใบโพ เมื่อลมพัดปลายตุ้มจะกระทบตัวกระดึงทำให้เกิดเสียง ใช้แขวนที่ชายคาโบสถ์และวิหารเป็นต้น, เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก เพื่อให้เกิดเสียงดัง มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย. |
กระเบื้องเกล็ดเต่า | น. กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม ผิวด้าน มีสีแดงตามเนื้อดิน ใช้มุงหลังคาโบสถ์วิหารเป็นต้น. |
กรุณา | (กะรุนา) น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา |
กำแพงแก้ว | น. กำแพงเตี้ย ๆ ที่ทำล้อมโบสถ์ วิหาร หรือเจดีย์ เป็นต้น เพื่อให้ดูงาม. |
กู่ ๑ | น. วิหาร เช่น ในกู่แก้วเกษมมฤคทายพนน้นน (ม. คำหลวง ทศพร) |
แกลบ ๓ | เรียกวิหารขนาดเล็ก ว่า วิหารแกลบ. |
คด ๒ | น. สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสัณฐานหักมุมเป็นข้อศอก เช่น วิหารคด. |
จระนำ | (จะระ-) น. ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า ซุ้มจระนำ. |
จำปา | เครื่องยึดธรณีบนของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม, เรียกหีบศพหรือโลงอย่างจีน ประกอบด้วยปีกไม้ ๔ ชิ้น คล้ายดอกจำปา ว่า โลงจำปา. |
เฉลียง | (ฉะเหฺลียง) น. ส่วนของโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญที่ต่อออกมาโดยรอบ มีหลังคาคลุม. |
เช็ดหน้า | น. กรอบประตูหรือหน้าต่างโบสถ์ วิหาร หรือเรือนไทย เป็นต้น, กรอบเช็ดหน้า ก็เรียก. |
ซุ้ม ๒ | สิ่งที่ทำขึ้นเป็นกรอบสำหรับตกแต่งประตูหน้าต่างพระที่นั่ง โบสถ์ วิหาร เป็นต้น มีรูปทรงต่าง ๆ กัน เช่น ซุ้มบันแถลง ซุ้มหน้านาง ซุ้มทรงมงกุฎ. |
ซุ้มจระนำ | น. ชื่อซุ้มท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์ เป็นช่องตัน มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป. |
ด้านรี | น. ด้านยาวของเรือนฝากระดานหรือโบสถ์ วิหาร. |
ด้านสกัด | น. ด้านกว้างของเรือนฝากระดาน, ถ้าเป็นด้านกว้างของโบสถ์วิหาร เรียกว่า ด้านหุ้มกลอง. |
ดาล ๑ | น. กลอนประตูที่ทำด้วยไม้สำหรับขัดบานประตูอย่างประตูโบสถ์ เช่น ลงดาล ลั่นดาล ขัดดาล, เหล็กสำหรับไขดาลโบสถ์หรือวิหาร มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างคันฉัตรปักอยู่หลังพระพุทธรูป เรียกว่า ลูกดาล, ช่องสำหรับไขดาล เรียกว่า ช่องดาล, (โบ) ใช้ว่า ดาฬ. |
ถาวรวัตถุ | (ถาวอระวัดถุ, ถาวอนวัดถุ) น. สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อให้มั่นคงยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ปราสาท พระราชวัง. |
โถง | ว. ที่เปิดโล่ง มีฝาเพียงด้านเดียวหรือไม่มีฝา เช่น ศาลาโถง วิหารโถง ปราสาทโถง. |
บัน ๑ | น. เรียกหน้าจั่วของปราสาท โบสถ์ วิหาร ว่า หน้าบัน. |
บานแผละ | (-แผฺละ) น. ผนังตอนที่บานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารเป็นต้นเมื่อเปิดเข้าไปแล้วแปะอยู่. |
โบราณสถาน | (โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน) น. สิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป |
ใบระกา | น. ชื่อตัวไม้หรือปูนปั้นทำเป็นครีบ หรือลวดลายต่าง ๆ ติดกับตัวลำยองระหว่างช่อฟ้ากับหางหงส์ ประกอบ ๒ ข้างหน้าบันโบสถ์ วิหาร และปราสาท เป็นต้น. |
แปวง | น. แปที่วางอยู่บนจันทันกันสาดหรือจันทันระเบียงของเรือนไทย โบสถ์ วิหาร หรือวางอยู่บนจันทันสำหรับอาคารที่มีหลังคาทรงปั้นหยา. |
แปหาญ | น. แปที่รับนาคสะดุ้งที่โบสถ์ วิหาร หรือปราสาท. |
พรหม, พรหม- | ผู้มีพรหมวิหารทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหมของบุตร). |
พระประธาน | น. พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหรือวิหารเป็นต้น. |
พิหาร | วิหาร, ที่ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูป, คู่กับอุโบสถ. |
พุทธาวาส | น. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกำแพงกันไว้ต่างหากจากส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่า สังฆาวาส, วัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตน-ศาสดาราม (วัดพระแก้ว). |
ไพหาร | น. วิหาร. |
มหาอุด | โบสถ์หรือวิหารที่มีผนังทึบตันรอบด้านมีช่องทางเข้าออกเฉพาะประตูด้านหน้าแห่งเดียว เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีที่เชื่อว่าจะทำให้ขลังยิ่งขึ้น. |
มุทิตา | น. ความมีจิตพลอยยินดีในลาภยศสรรเสริญสุขของผู้อื่น, เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. |
เมตตา | น. ความรักและเอ็นดู, ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้สุข, เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. |