รื่นเริง | ก. สนุกสนานเบิกบานใจ, เพลิน, เช่น ทุกคนรื่นเริงในวันปีใหม่ โทรทัศน์บางรายการทำให้ผู้ดูรื่นเริง. |
การละเล่น | น. มหรสพต่าง ๆ, การแสดงต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง. |
ครื้นครึก | (คฺรื้นคฺรึก) ว. ครึกครื้น, รื่นเริง, สนุกสนาน, เอิกเกริก. |
เครื่องดนตรี | น. เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทำนองเพลง. |
งาน ๑ | การพิธีหรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน เช่น งานบวช งานปีใหม่. |
ชมชาญ | ก. เหิม, รื่นเริง, เช่น เสียงโห่เอาชัยชมชาญ (สมุทรโฆษ). |
ชมไช | ก. ชื่นชมยินดี, รื่นเริง, เช่น พนคณนกหคชมไช (ม. คำหลวง มหาพน). |
ดนตรี | น. เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตามทำนองเพลง. |
ดันเหิม | ก. ตันเหิม, รื่นเริง, บันเทิงใจ, เช่น มีกมลเบิกบานบันเทิงเริงรื่น ดันเหิมหื่นหรรษาโมทย (ม. คำหลวง จุลพน). |
ดำเกิง | ว. รุ่งเรือง, สูง, สูงศักดิ์ เช่น รื่นเริงดำเกิงใจยะย้าว (ม. คำหลวง มหาพน). |
ตันเหิม | ก. รื่นเริง, บันเทิงใจ. |
เทศกาล | น. คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท |
ธง | น. ผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยม โดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทำด้วยกระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สำหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตำแหน่งในราชการ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพนายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำนนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริง. (๖) ใช้ถือเข้ากระบวนแห่ |
นนท์, นันทน์ | น. ความสนุก, ความยินดี, ความรื่นเริง. |
นันท- | (นันทะ-) น. ความสนุก, ความยินดี, ความรื่นเริง. |
นู้น | ว. ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกลออกไป เช่น บ้านนู้นมีงานรื่นเริง. |
โน้น | ว. ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกลออกไป เช่น บ้านโน้นมีงานรื่นเริง. |
บันเทิง | ก. เบิกบาน, รื่นเริง |
บำเทิง | ว. บันเทิง, เบิกบาน, รื่นเริง, ยินดี, เช่น อาจให้เลื่องโลกดำเลิง หฤทัยบำเทิง คือทิพยโลกศุลี (อนิรุทธ์). |
ประหาส | น. การรื่นเริง, การสนุก, การเล่นตลก. |
ปหังสนะ, ปหังสะ | (ปะหังสะ-) น. การรื่นเริง. |
เปรม | (เปฺรม) ก. สบาย, รื่นเริง, อิ่มใจ. |
มธุปายาส | น. ข้าวปายาสเจือนํ้าผึ้ง ใช้เป็นของหวานในงานรื่นเริง. |
มหรสพ | (มะหอระสบ) น. การเล่นรื่นเริงมีโขนละครเป็นต้น. |
มัทยะ | (มัดทะยะ) ว. ซึ่งทำให้เมา, ซึ่งทำให้รื่นเริงยินดี. |
มาทนะ, มาทะ | (มาทะนะ) น. เครื่องทำให้เมา, เครื่องทำให้รื่นเริง. |
เริงรมย์ | ว. ที่ทำให้รื่นเริงหรือบันเทิงใจ เช่น หนังสือเริงรมย์ สถานเริงรมย์. |
ลูกกัลปพฤกษ์ | น. ลูกมะนาวหรือของที่บรรจุเงินปลีกเป็นต้นไว้ข้างในสำหรับโปรยทาน, โดยปริยายเรียกสลากที่ห้อยไว้ตามต้นไม้ให้คนสอยในงานกุศลหรืองานรื่นเริงเป็นต้น. |
ลูกปา | น. แถบหรือชิ้นกระดาษสีต่าง ๆ ที่ใช้โปรยหรือขว้างปากันในงานรื่นเริงเป็นต้น. |
เลี้ยง | กินร่วมกันเพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น เลี้ยงสังสรรค์ |
วงกต | น. ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออกวกวนอาจทำให้หลงทางได้, เรียกสั้น ๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี, เรียกสิ่งที่ทำคล้ายคลึงเช่นนั้นในงานเทศน์มหาชาติหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ เพื่อความสนุก ว่า เขาวงกต, โดยปริยายหมายถึงวกวนหาทางออกไม่ได้. |
สายรุ้ง | น. กระดาษม้วนสีต่าง ๆ ทำเป็นแถบเล็กยาว ใช้ตกแต่งสถานที่หรือใช้ขว้างให้คลี่ออกแสดงความรื่นเริง. |
สำรวล | ก. หัวเราะ, รื่นเริง. |
สำเริง | ก. รื่นเริง, ร่าเริง, เช่น นวนิยายให้ความสำเริงอารมณ์, มักใช้เข้าคู่กับคำ สำราญ เป็น สำเริงสำราญ หรือ สำราญสำเริง. |
หม้า | ก. เล่นรื่นเริง. |
หรรษ-, หรรษา | (หันสะ-, หันสา) น. ความรื่นเริง, ความยินดี. |
หสน- | (หะสะนะ-) น. การหัวเราะ, ความรื่นเริง. |
หัส, หัส- | การรื่นเริง, ใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น หัสดนตรี หัสนาฏกรรม หัสนิยาย. |
หัสดนตรี | น. วงดนตรีสากลซึ่งบรรเลงในงานรื่นเริง. |
หาสะ | น. การหัวเราะ, ความสนุกรื่นเริง. |
โห่ | อ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนำเพื่อแสดงความพร้อมเพรียงในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. |
อภิรมย์ | ก. รื่นเริงยิ่ง, ดีใจยิ่ง, ยินดียิ่ง |
อานันทนะ | น. การรื่นเริง, การทำให้เพลิดเพลิน. |
อุสวะ | (อุดสะวะ) น. การฉลอง, การรื่นเริง, การเล่นสนุก, มหรสพ. |