ป่าระนาม | น. ป่าที่มีนํ้าฉำแฉะ. |
ระนาม | น. ป่ารกฉำแฉะ เรียกว่า ป่าระนาม, ระนัม ก็ว่า. |
กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. |
เจ้า ๓ | คำนำหน้าพระนามของพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า เช่น เจ้าต๋ง (หม่อมเจ้า... ปราโมช) |
ทรง | ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่น ไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน ให้ใช้ว่า ตรัส ประทับ พระราชทาน. |
ทศพล | น. ผู้มีกำลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า. |
ธรรมกาย | พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า. |
เธอ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คำเติมท้ายคำนำพระนามเจ้านายที่แสดงความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ มาจากคำว่า ธ ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ. |
นาม, นาม- | (นามมะ-) น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม |
นามาภิไธย | น. ชื่อ (ใช้เฉพาะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนามาภิไธย เช่น ทรงลงพระนามาภิไธย. |
นิรนาม | (-ระนาม) ว. ไม่รู้ว่าชื่ออะไร. |
พรหมกาย | น. พระกาย (คือ รูปกาย นามกาย) ประเสริฐ, พระนามของพระพุทธเจ้า. |
พล, พล- | (พน, พนละ-, พะละ-) น. กำลัง, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็นกำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ฐานะเป็นต้น |
พุทธ, พุทธ-, พุทธะ | (พุด, พุดทะ-) น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็นพระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญว่า พระพุทธเจ้า. |
ไภษัชคุรุ | (ไพสัดชะ-) น. พระนามพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน |
เมตไตรย | (เมดไตฺร) น. พระนามของพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้า. |
ระนัม | น. ป่ารกฉำแฉะ, ระนาม ก็ว่า. |
เวสภู | (เวดสะ-) น. พระนามของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. |
เวสสันดร | น. พระนามพระโพธิสัตว์ชาติที่ ๑๐ ในทศชาติ, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีใจกว้างขวางชอบให้ของแก่ผู้อื่นอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด เช่น ใจกว้างเหมือนพระเวสสันดร มีอะไรให้เขาหมด. |
ศากยเกตุ, ศากยพุทธ, ศากยมุนี | น. พระนามพระพุทธเจ้าผู้มีเชื้อสายศากยวงศ์. |
สรรเพชญ | น. ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, ผู้รู้ทั่ว, พระนามของพระพุทธเจ้า, สรรพัชญ ก็เรียก. |
สัพพัญญู | พระนามพระพุทธเจ้า. |
สัมพุทธ-, สัมพุทธะ | พระนามพระพุทธเจ้า. |
สากิยมุนี | น. ศากยมุนี, พระนามของพระศากยพุทธเจ้า. |
สิขี | พระนามของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. |
สิทธัตถะ | พระนามพระพุทธเจ้า. |
สิทธารถ | พระนามพระพุทธเจ้า. |
สุคต | พระนามพระพุทธเจ้า. |
สุพรรณบัฏ | (สุพันนะบัด) น. แผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จารึกพระนามพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป เจ้าประเทศราช และสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า พระสุพรรณบัฏ |
อังคีรส | (-คีรด) ว. มีรัศมีซ่านออกจากพระกาย, เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง. |
อาการนาม | (อาการะนาม) น. คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มักมีคำ “การ” หรือ “ความ” นำหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย. |