ยาวรี | ว. กลมยาวเรียวและมีหัวท้ายเหมือนเมล็ดข้าวสาร, ยาวเรียวไปอย่างใบข้าว คือ โคนโตปลายเรียวเล็ก. |
กระ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคลํ้าเกือบดำ เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีนํ้าตาลเข้ม ภายในมีเนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้วกินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ. |
กระดูกไก่ดำ | น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ได้แก่ชนิด J. gendarussa Burm. f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลำต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดำ ใช้ทำยาได้, กระดูกดำ เฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก และชนิด J. grossa C. B. Clarke ดอกสีขาวอมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว. |
กระโดงแดง | ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Chionanthus microstigma (Gagnep.) P. S. Green ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก |
กระท่อมขี้หมู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก |
กลีบสละ | น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายขนมผิง ทำด้วยแป้ง ไข่ น้ำตาลทราย ลักษณะยาวรีเหมือนกลีบผลสละ. |
กะพง ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Musculista senhousia (Benson) ในวงศ์ Mytilidae เปลือกบางรูปยาวรี สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง มีลายเป็นเส้นสีนํ้าตาล อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลที่เป็นเลนปนทราย โดยยึดติดกันเองเป็นกระจุกหรือแผ่เป็นแผ่นใหญ่. |
ก้างปลา | น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Flueggea และ Phyllanthus วงศ์ Euphorbiaceae ใบยาวรี ปลายใบทู่ ออกดอกเป็นกลุ่มอยู่ตามง่ามใบแถวปลายกิ่ง ชนิดผลสีขาวเรียก ก้างปลาขาว [ F.virosa (Roxb. ex Willd.) Voigt ] ชนิดผลสีคลํ้าเรียก ก้างปลาแดง ( F. leucopyrusWilld.) และชนิด P. reticulatus Poir. เรียก ก้างปลาเครือ ใช้ทำยาได้. |
เขียวพระอินทร์ ๑ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Thalassoma lunare (Linn.) ในวงศ์ Labridae ลำตัวยาวรี แบนข้าง สีเขียว และมีริ้วสีนํ้าเงินพาดขวางตลอดตัว ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร บริเวณหัวมีแถบ ลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างสีแดง พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง เมื่อขนาดยังเล็กมีพื้นสีนํ้าตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคนครีบหางมีจุดใหญ่สีดำ. |
เฉลียบ ๑ | (ฉะเหฺลียบ) น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides tala (Cuvier) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้างและกว้างใกล้เคียงกับปลาสละ แต่มากกว่าปลาสีเสียดและปลาขานกยางซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ปากกว้าง ท้ายขากรรไกรบนยาวเลยแนวขอบหลังของตาเพียงเล็กน้อย เกล็ดเล็กยาวคล้ายเสี้ยนฝังแน่นในหนัง เส้นข้างตัวไม่มีเกล็ดที่เป็นสันแข็ง ครีบหลังตอนแรกมีก้านครีบแข็ง ๖-๗ ก้าน เรียงห่างกัน มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน อยู่หน้าครีบก้นและพับซ่อนในร่องเนื้อได้ ลำตัวด้านบนสีเงินเทา ด้านข้างสีเงิน มีแต้มรูปไข่ยาวรีเรียงขวางอยู่ในแนวเส้นข้างตัว ๔-๘ แต้ม ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร, เสลียบ ก็เรียก. |
ชีฝรั่ง | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Eryngium foetidum L. ในวงศ์ Umbelliferae ใบยาวรีขอบจัก กลิ่นฉุน ใช้แต่งกลิ่นอาหารและใช้เป็นผัก. |
เดือย ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coix lachrymal-jobi L. ในวงศ์ Gramineae ลำต้นและใบคล้ายต้นข้าวโพด แต่ใบสั้นกว่า ผลกลมหรือยาวรี สีขาว เหลือง หรือนํ้าเงิน พันธุ์ที่เปลือกหุ้มอ่อนใช้ทำเป็นอาหารและเหล้า พันธุ์ที่เปลือกหุ้มแข็ง เรียก เดือยหิน ใช้ทำเครื่องประดับ. |
ตะลุมพุก ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางชนิด Tenualosa toli (Valenciennes) ในวงศ์ Clupeidae ที่ว่ายเข้านํ้าจืดเพื่อสืบพันธุ์ ลำตัวยาวรี แบนข้างมาก ครีบหางเป็นแฉกลึก ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดใหญ่ ขอบเรียบ เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงิน หลังสีนํ้าเงินอมเทา ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, กระลุมพุก หรือ ชิขัก ก็เรียก. |
นางรม ๑ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Ostreidae รูปเปลือกค่อนข้างกลม ยาวรี หรือบิดเบี้ยวตามพื้นที่ที่ติดอยู่ ส่วนใหญ่มีสีเทา เปลือกล่างเป็นแอ่งคล้ายรูปถ้วยยึดติดกับวัสดุที่ใช้เป็นอาหาร เช่น ชนิด Saccostrea forskali (Gmelin), อีรม ก็เรียก. |
ไน ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Cyprinus carpio Linn. ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ขอบเรียบ บางสายพันธุ์อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ดหรือเกล็ดเล็กละเอียด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดำคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก. |
บุนนาค | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Mesua ferrea L. ในวงศ์ Guttiferae ใบยาวรี ปลายใบเรียวแหลม ดอกสีขาวคล้ายสารภีแต่ใหญ่กว่า กลิ่นหอม ใช้ทำยาได้ แก่นสีแดงเข้ม ใช้ทำเครื่องเรือน. |
โพงพาง | น. เครื่องมือดักปลาชนิดหนึ่ง เป็นถุงตาข่ายรูปยาวรี ใช้ผูกกับเสาใหญ่ ๒ ต้นที่ปักขวางลำนํ้า สำหรับจับปลากุ้งทุกขนาด. |
มีด | น. เครื่องใช้สำหรับฟัน ผ่า จัก เหลา เป็นต้น ทำด้วยโลหะมีเหล็กเป็นต้น ใบมีดมีลักษณะเป็นแผ่น รูปยาวรี มีคมด้านหนึ่ง มีสันอยู่อีกด้านหนึ่ง หรือมีคมทั้ง ๒ ด้าน ปลายมีดรูปร่างแหลมก็มี ป้านก็มี โคนมีดเป็นกั่นรูปเดือยเรียวแหลม หรือเป็นแผ่นสอดติดอยู่ในด้ามซึ่งมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ มีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามลักษณะและวัตถุประสงค์ที่ใช้. |
มีดกรีดกล้วย | น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดรูปยาวรี ปลายแหลมโค้งงอ ด้ามทำด้วยไม้ ใช้กรีดหรือผ่าเปลือกกล้วยปิ้ง. |
มีดโกน | น. มีดสำหรับโกนผมหรือหนวดเคราเป็นต้น มีดโกนอย่างเก่ารูปร่างคล้ายมีดโต้ สันหนา คมบาง ปรกติมีฝักหุ้มส่วนคม มีดโกนอย่างใหม่ใบมีดยาวรี สันหนา คมบาง มีฝักหุ้มคมเช่นกัน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มีดโกนโมกุล. |
มีดควั่นอ้อย | น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปยาวรี ปลายมน มีด้าม เจาะรูที่ปลายใบมีดสำหรับสอดปลายเข้ากับหลักควั่นอ้อย ใช้ควั่นอ้อย. |
มีดคว้าน | น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดรูปยาวรีคล้ายใบหญ้า มักทำด้วยทองเหลือง ปลายแหลมโค้งเล็กน้อย ด้ามมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ ใช้ปอก จัก คว้านผลไม้. |
มีดเจียนหมาก | น. มีดบางขนาดเล็ก ใบมีดรูปยาวรี ปลายเสี้ยว ด้ามมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ ใช้เจียนหมาก. |
มีดดาบ | น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปยาวรีประมาณ ๑ ศอก ปลายงอนขึ้นเล็กน้อย ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ดาบของหลวงปรกติสอดไว้ในฝัก ดาบเชลยศักดิ์ไม่นิยมทำฝักสำหรับสอดดาบ ใช้เป็นอาวุธ มีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามลักษณะปลายดาบ, ถ้าปลายแหลม หัวงอน เรียกว่ามีดดาบหัวปลาซิว, ถ้าปลายมนแหลม เรียกว่า มีดดาบหัวปลาหลด, ถ้าปลายตัดขวาง เรียกว่า มีดดาบหัวตัด, ถ้าปลายแหลมตัดปลายสันเฉียงปัดไปทางปลายดาบ เรียกว่า มีดดาบหัวเผล้. |
มีดทอง | น. มีดขนาดกลางและเล็ก ทำด้วยทองเหลืองหรือทองม้าล่อ ใบมีดรูปยาวรี มีทั้งชนิดปลายมนและปลายเสี้ยว ด้ามมักทำด้วยเขาสัตว์ ใช้ปอกผลไม้. |
แมลงภู่ ๑ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Mytilidae เปลือกยาวรี สีเขียวคล้ายสีของแมลงภู่ เช่น ชนิด Perna viridis (Linn.) เกาะติดตามเสาหรือวัตถุอื่นตามชายฝั่ง. |
รี | ว. เรียว, ถ้ากลมเรียวอย่างรูปไข่ เรียกว่า กลมรี, ถ้ายาวเรียวและมีหัวท้ายอย่างเมล็ดข้าวสาร เรียกว่า ยาวรี, ไม่กลม เช่น วงรี, ยาว เช่น หันรีหันขวาง หอรีหอขวาง. |
เลื่อยฉลุ | น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูปยาวรี ด้ามเป็นไม้สำหรับจับ อีกชนิดหนึ่งมีคันทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ ด้ามเป็นไม้ติดอยู่ที่ปลายตอนล่าง ระหว่างปลายคันทั้งคู่ติดใบเลื่อยลักษณะเป็นเส้นแบนขนาดเล็ก. |
เสนียด ๑ | (สะเหฺนียด) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Justicia adhatodaL. ในวงศ์ Acanthaceae ใบยาวรีออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวออกเป็นช่อตามยอด มีกาบหุ้ม ใบใช้ทำยาได้, กระเหนียด ก็เรียก. |
เหาน้ำ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ในอันดับ Isopoda ที่เป็นปรสิตของสัตว์น้ำ ส่วนใหญ่ลำตัวยาวรีค่อนข้างแบน ที่สำคัญคือ มีหนวด ๒ คู่ และมีตาแบบไม่มีก้านตา ส่วนอกมี ๗ ปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์คล้ายขา ๑ คู่ ส่วนท้องมี ๖ ปล้อง มีรยางค์ว่ายน้ำ ๕ คู่ ลำตัวมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๕-๒๕ มิลลิเมตร และมีสีแตกต่างกัน เช่น นวล น้ำตาล ดำ ปากเป็นชนิดแทงดูด พบเกาะสัตว์น้ำหลายชนิด เช่น ปลา กุ้ง ปู ที่พบในน้ำจืด เช่น ในสกุล Alitropus วงศ์ Aegidae, ในน้ำเค็ม เช่น ในสกุล Livonecaวงศ์ Cymothoidae. |