Dendrimer antibody | เดนดริเมอร์ แอนติบอดี้ คือ แอนติบอดี้ที่เชื่อมติดกับโมเลกุลพอลิเมอร์ที่มีแขนงกิ่งก้านยื่นออกมาคล้ายต้นไม้ ซึ่งเรียกว่า เดนดริเมอร์ โดย เดนดริเมอร์ แอนติบอดี้ มักใช้ในการตรวจวัดปริมาณสารแอนติเจน และถือว่าเป็นการประยุกต์ใช้เดนดริเมอร์ในการวัดสารภูมิคุ้มกันของร่างกายวิธีหนึ่ง [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Crosslinking | การทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของพอลิเมอร์ เช่น การเติมกำมะถันในยางธรรมชาติ (กระบวนการเรียกว่า vulcanization) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยางโดยกำมะถัน ได้ยางที่มีโครงสร้างแบบเชื่อมโยง (crosslink) หรือร่างแห (network) ทำให้ยางเปลี่ยนสมบัติจากอ่อนนิ่ม เป็นยางที่มีสมบัติแข็งและเหนียวขึ้น เหมาะแก่การใช้งาน [เทคโนโลยียาง] |
Die swell | ปรากฏการณ์ของการผ่อนคลายความเค้นที่อยู่ในพอลิเมอร์หลอม ซึ่งเกิดขณะที่พอลิเมอร์หลอมเริ่มเคลื่อนตัวออกสู่หัวดาย และมีผลทำให้พอลิเมอร์หลอมที่ออกจากหัวดายบวมตัวใหญ่กว่าขนาดของรูดาย [เทคโนโลยียาง] |
Elastomer | พอลิเมอร์ที่มีสมบัติยืดหยุ่นคล้ายยาง สามารถเปลี่ยนรูปร่างและมิติได้เมื่อรับแรงกระทำ และเมื่อนำแรงกระทำนั้นออก อิลาสโตเมอร์ก็จะสามารถกลับคืนสู่รูปร่างและมิติเดิมได้ [เทคโนโลยียาง] |
Epichlorohydrin | ยางอิพิคลอโรไฮดรินเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีสายโซ่หลักเป็นพอลิ อีเทอร์และมีหมู่คลอโรเมทิลเป็นกิ่งก้าน แบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ 1.โฮโมพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดริน (CO) ได้จากการทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวงแหวนของอิพิคลอโรไฮดริน 2.โคพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดรินและเอทิลีนออกไซด์ (ECO) ได้จากการนำเอทิลีนออกไซด์ไปพอลิเมอไรเซชันร่วมกับอิพิคลอโรไฮดริน 3.เทอร์พอลิเมอร์ระหว่างอิพิคลอโรไฮดริน เอทิลีนออกไซด์ และมอนอเมอร์ชนิดที่ไม่อิ่มตัว (GECO/ETER) ได้จากการเติมมอนอเมอร์ชนิดที่สามลงไปเพื่อให้ยางชนิดนี้สามารถคงรูปได้โดย ใช้ระบบกำมะถันและเพอร์ออกไซด์ ยางอิพิคลอโรไฮดรินมีสมบัติเด่นหลายประการ คือ ทนต่อน้ำมันและน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดี ทนต่อความร้อนและโอโซนได้ดีเยี่ยม มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซและน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำที่สุด ทนทานต่อการติดไฟได้ดี และมีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำดีมากอีกด้วย ยางชนิดนี้แม้ว่าจะมีสมบัติที่ดีหลายประการ แต่ไม่นิยมนำมาใช้มากนักเนื่องจากยางชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะและยางจะ อ่อนตัว (reversion) เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานและมีราคาแพงมาก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางชนิดนี้ ได้แก่ ซีล ปะเก็น ท่อน้ำมัน ปลอกหุ้มสายเคเบิล ลูกกลิ้งในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene vinyl acetate rubber | ยางเอทิลีนไวนิลแอซิเทตเป็นโคพอลิเมอร์ของเอทิลีนและไวนิลแอซิเทต มีสมบัติเด่น คือ ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาความร้อน โอโซน และสภาพอากาศได้ดี มีความทนต่อน้ำมันและตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วได้ดี แต่มีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำไม่ดี มีความเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ไม่ดี ส่วนใหญ่ยางชนิดนี้จะใช้ในการผลิตปลอกหุ้มสายเคเบิลเฉพาะในกรณีที่ต้องการ สมบัติพิเศษด้านความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากโอโซน สภาพอากาศ ความร้อน และน้ำมันเท่านั้น [เทคโนโลยียาง] |
Glass transition temperature: Tg | อุณหภูมิที่พอลิเมอร์เปลี่ยนจากสภาพนุ่มคล้ายยางไปเป็นของแข็งเปราะ คล้ายแก้ว หรือกลับกัน ซึ่งสามารถหาได้จากการวัดการเปลี่ยนพลังงานความร้อนจำเพาะโดยใช้เทคนิค DSC (Differential Scanning Calorimetry) หรือ DTA (Differential Thermal Analysis) [เทคโนโลยียาง] |
Isobutylene isoprene rubber or Butyl rubber | ยาง IIR หรือยางบิวไทล์เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากโคพอลิเมอร์ระหว่าง isobutylene กับ isoprene มีสมบัติทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด ได้เป็นอย่างดี มีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้องทำให้ดูดซับพลังงานกลและการสั่น สะเทือนได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง จึงเหมาะที่จะผลิตเป็นยางกันสะเทือน นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีสมบัติเด่น คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการผลิตยางในรถยนต์ หรือเคลือบผนังด้านในของยางเรเดียล ใช้ทำถุงยางลมสำหรับอบยางล้อให้คงรูปในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Latex | 1.น้ำยาง : ของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนมได้จากพืชบางชนิด เช่น ต้นยางพารา และต้นรัก เป็นต้น 2.เลเทกซ์ : พอลิเมอร์ที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 1 ไมโครเมตร กระจายตัวอยู่ในน้ำด้วยสภาวะเสถียรด้วยประจุ มีลักษณะขุ่นขาวคล้ายน้ำนม เช่น อิมัลชันของโคพอลิเมอร์สไตรีน-อะคริลิก [เทคโนโลยียาง] |
Nitrile rubber or Acrylonitrile butadiene | ยางไนไทรล์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นโคพอลิเมอร์ของอะไค รโลไนไทรล์และบิวทาไดอีน ประกอบด้วยอะไครโลไนไทรล์ตั้งแต่ร้อยละ 18-51 ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน ยางไนไทรล์เป็นยางที่มีความเป็นขั้วสูงมีสมบัติเด่น คือ ทนต่อน้ำมันปิโตรเลียมและตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อความร้อนและต้านทานต่อการขัดถูได้ดี จึงนิยมนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับน้ำมัน เช่น ปะเก็นน้ำมัน ยางโอริง ยางซีล ยางเชื่อมข้อต่อ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Silicone rubber | ยางซิลิโคนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งในแกนสายโซ่หลักของโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมของซิลิกอน (Si) และออกซิเจน (O) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นพอลิไซลอกเซน (polysiloxane) ยางซิลิโคนมีหลายเกรด แต่ละเกรดจะแตกต่างกันที่หมู่ R ที่เกาะอยู่บนสายโซ่หลัก ดังนี้ MQ หมู่ R เป็นหมู่เมทิล (CH 3 ) VMQ หมู่ R เป็นหมู่ไวนิล (CH 2 = CH 2) PMQ หมู่ R เป็นหมู่ฟีนิล (C 6 H 5 ) PVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ฟีนิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล FVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ไตรฟลูออโรโพรพิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล แต่เกรดที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นพอลิเมอร์ของไดเมทิลไซลอกเซน (หมู่ R คือ CH 3) หรือที่มีชื่อย่อว่า MQ สมบัติโดยทั่วไปมีค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อการขัดถู และความต้านทานต่อแรงกระแทกต่ำมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงเช่น ซิลิกาเข้าช่วย แต่ยางซิลิโคนทนต่อสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ ได้ เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก ดังนั้นการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ยางชนิดอื่นๆ ได้ เช่น การผลิตชิ้นส่วนของยานอวกาศ เครื่องบิน รถยนต์ ยางโอริง หน้ากากออกซิเจน แป้นกดของโทรศัพท์มือถือ งานทางการแพทย์และเภสัชกรรม เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Thermoplastic elastomers | ยางเทอร์มอพลาสติก คือ พอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่รวมเอาสมบัติของทั้งยางและพลาสติกเข้าด้วยกัน กล่าวคือ ยางเทอร์มอพลาสติกจะมีสมบัติและการใช้งานเหมือนยางคงรูป แต่จะมีกระบวนการขึ้นรูปแบบเดียวกับพลาสติกทั่วไป เช่น การฉีด การผ่านเครื่องเอ็กทรูดซ์ เป็นต้น ยางเทอร์มอพลาสติกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) ได้ นำไปผลิตเป็นท่อ ปะเก็น ซีล ปลอกหุ้มสายเคเบิล หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีสี เช่น พื้นรองเท้ากีฬา ด้ามจับแปรงสีฟัน เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
cellulose | เซลลูโลส, สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมากที่สุด อยู่ในผนังเซลล์ของพืชทุกชนิด สูตรเคมีคือ (C6H10O5)n เป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคส ใช้ในอุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์ และพลาสติกบางชนิด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
pectin | เพกทิน, สารพวกพอลิเมอร์ พบในเยื่อระหว่างเซลล์ของพืช ทำหน้าที่ยึดเซลล์เพื่อความแข็งแรงให้แก่เนื้อเยื่อพืช [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
addition polymerization reaction | ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม, ปฏิกิริยาเคมีที่มอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทำปฏิกิริยาการเติมซ้ำ ๆ กัน แล้วได้สารใหม่ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่ขึ้นที่เรียกว่า พอลิเมอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
plastic | พลาสติก, สารสังเคราะห์ที่เป็นพอลิเมอร์ สามารถหลอมให้เป็นรูปต่าง ๆ ได้โดยใช้ความร้อนหรือความดัน หรือทั้งสองอย่างพลาสติกมีสมบัติแตกต่างกันไปตามสารตั้งต้นหรือมอนอเมอร์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เทอร์มอพลาสติก และพลาสติกเทอร์มอเซต [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
polymer | พอลิเมอร์, สารที่เกิดจากกระบวนการพอลิเมอไรเซชัน เป็นสารซึ่งมีโมเลกุลขนาดใหญ่ประกอบด้วยมอนอเมอร์หลายโมเลกุลเกาะกันเป็นสายโซ่และมีมวลโมเลกุลสูงมาก เช่น โปรตีน ไขมัน เซลลูโลส ยาง พลาสติก เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
polymerization | พอลิเมอไรเซชัน, การเกิดพอลิเมอร์, กระบวนการทางเคมีที่สารชนิดเดียวกันหลาย ๆ โมเลกุล (อาจมีตั้งแต่พันถึงหมื่นโมเลกุล) เกิดปฏิกิริยารวมตัวกันภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง ๆ ได้สารที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้นซึ่งเรียกว่า พอลิเมอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
monomer | มอนอเมอร์, สารตั้งต้นในการเตรียมสารพอลิเมอร์ เช่น ไวนิลคลอไรด์ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการเตรียมพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
macromolecule | โมเลกุลใหญ่, โมเลกุลขนาดใหญ่ของสารที่มีมวลโมเลกุลเกินกว่า 10, 000 ขึ้นไป เช่น โมเลกุลของโปรตีน โมเลกุลของพอลิเมอร์บางชนิด เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lignin | ลิกนิน, สารพวกพอลิเมอร์ มีอยู่ในเนื้อไม้ มักเกิดรวมกับเซลลูโลส เป็นสารที่เคลือบผนังเซลล์ของพืชเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่พืช [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |