ถึง ๒ | <i>ดู ลังถึง</i>. |
กระจัง ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยชนิด <i> Periophthalmodon</i><i> schlosseri</i> (Pallas) ในวงศ์ Gobiidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหว และความสามารถขึ้นมาพ้นนํ้าได้คล้ายปลาจุมพรวดซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทำรูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวนํ้า ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้ ขนาดยาวได้ถึง ๒๗ เซนติเมตร, กะจัง ก็เรียก. |
กระดาน ๒ | น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด <i> Thenus orientalis</i> (Lund) ในวงศ์ Scyllaridae ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร หัวและลำตัวหุ้มด้วยเปลือกแข็งสีนํ้าตาล ส่วนหัวและหนวดคู่ที่ ๒ แบน แพนหางแผ่ราบได้กว้าง งอพับเข้าใต้ท้องเมื่อดีดตัวถอยหลังหนีศัตรู อาศัยคืบคลานอยู่ตามพื้นทะเล พบทั่วไป มักเรียกกันว่า กั้งกระดาน. |
กระดูกค่าง | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Diospyros undulata</i> Wall. ex G. Don var. <i> cratericalyx</i> (Craib) Bakh. ในวงศ์ Ebenaceae ขึ้นในป่าดิบ มีมากทางภาคใต้ สูงได้ถึง ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ, จะเพลิง ชะเพลิง คำดีควาย ดูกค่าง ตะโกดำ พลับเขา ไหม้ หม้าย หรือ สะลาง ก็เรียก. |
กระมัง ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i> Puntioplites</i><i> proctozysron</i> (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นใหญ่แข็งและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลำตัวเป็นสีขาว ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เหลี่ยม ก็เรียก. |
กระสูบ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ลำตัวเพรียวกว่า ชนิดแรกคือ กระสูบขาว [ <i> Hampala macrolepidota</i> (van Hasselt) ] มักมีลายดำพาดขวางที่บริเวณลำตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดง ขอบบนและล่างสีดำ ยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (<i> H. dispar</i>Smith) ลำตัวมีจุดดำอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่าและไม่มีแถบสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก. |
กระหม่อม | น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า |
กะพง ๑ | น. ชื่อปลาหลายชนิดในหลายวงศ์ที่มีก้านครีบเป็นกระดูกแข็ง ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร ลำตัวหนา แบนข้างเล็กน้อย หัวโตลาดลงมาจากด้านหลัง ตาค่อนข้างโต ปากกว้าง เช่น กะพงแดง (<i> Lutjanus</i> <i> malabaricus</i>Schneider) ในวงศ์ Lutjanidae, กะพงขาว [ <i> Lates</i><i> calcarifer</i> (Bloch) ] ในวงศ์ Centropomidae, กะพงลาย [ <i> Datnioides</i> <i> quadrifasciatus</i> (Sevastianov) ] ในวงศ์ Lobotidae. |
ก้าง ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i> Channa orientalis</i> (Schneider) ในวงศ์ Channidae คล้ายปลาช่อนซึ่งเป็นปลาสกุลเดียวกัน แต่ตัวเล็กกว่า เว้นแต่ปลาก้างนั้นเกล็ดข้างตัวมีราว ๔๑-๔๕ เกล็ด ขอบครีบต่าง ๆ เป็นสีส้ม มักพบหลบอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นที่มีใบไม้จมอยู่ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, ขี้ก้าง ก็เรียก. |
กิ้งกือ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้อง ชั้น Diplopodae มีเปลือกตัวแข็ง ลำตัวกลมยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลำตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทำให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขา ๒ คู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ ๒ ถึง ๔ มีขาเพียงคู่เดียว จำนวนขาอาจมีได้ถึง ๒๔๐ คู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย อยู่ในสกุล <i> Thyropygus</i>เช่น กิ้งกือกระบอก ชนิด <i> T</i>. <i> allevatus</i> (Karsch) วงศ์ Harpagophoridae ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล <i> Nepalmatoiulas</i>วงศ์ Julidae. |
กุแล | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล <i> Sardinella</i> และ <i> Herklotsichthys</i> วงศ์ Clupeidae ลำตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องบางคล้ายคมมีด เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีนํ้าเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคลํ้า ๑ จุด ครีบหลังและครีบหางสีดำคลํ้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึงชนิดในสกุล <i> Dussumieria</i> ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกันเป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนน้อยและสั้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก |
เกล็ดถี่ | น ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด <i> Thynnichthys thynnoides</i> (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กมาก พื้นลำตัวสีเงินเป็นประกาย พบทั่วไป แต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, นางเกล็ด พรม หรือ ลิง ก็เรียก. |
เก๋า ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด<i> Epinephelus</i> <i> merra</i> Bloch, <i> E. sexfasiatus</i> (Valenciennes), <i> Cephalopholis boenak</i> (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด <i> Promicrops lanceolatus</i> (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด <i> P. l</i>. (Bloch)<i> </i>. |
แก้มช้ำ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i> Puntius orphoides</i> (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยชํ้า สุดแผ่นปิดเหงือกดำ โคนครีบหางมีจุดสีดำ พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดำ มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก. |
ขม่อม | (ขะหฺม่อม) น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า. |
ขี้ยอก | น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล <i> Mystacoleucus</i>วงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลังออกไปข้างหน้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด <i> Mystacoleucus marginatus</i> (Valenciennes), <i> M. atridorsalis</i> Fowler, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขตแม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า. |
เขียวพระอินทร์ ๑ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด <i> Thalassoma</i> <i> lunare</i> (Linn.) ในวงศ์ Labridae ลำตัวยาวรี แบนข้าง สีเขียว และมีริ้วสีนํ้าเงินพาดขวางตลอดตัว ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร บริเวณหัวมีแถบ ลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างสีแดง พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง เมื่อขนาดยังเล็กมีพื้นสีนํ้าตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคนครีบหางมีจุดใหญ่สีดำ. |
คร่า | (คฺร่า) ก. ฉุดลากไปอย่างไม่ปรานี เช่น ถ้าเจรจาถึง ๒ ครั้งไซ้ให้คร่ามือออกไปจากพระโรงแลให้ห้ามเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (สามดวง), ท่านให้มาว่ากล่าวร้องฟ้องณะโรงสานตามกระบินเมืองอย่าให้ตีด่าฉุดคร่าเอาโดยกำลังเองศักอันเลย (สามดวง) |
ค้าว | น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๒ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทางหาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว [ <i> Wallago attu</i> (Bloch) ] และ ค้าวดำ คูน ทุก อีชุก อีทุก หรือ อีทุบ (<i> W. micropogon</i> Vailant) ซึ่งมีหนวดยาวกว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก. |
แค้ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล <i> Bagarius</i> วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด<i> B. bagarius</i> (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ <i> B. yarrelli</i> Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก. |
โคก ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล <i> Anodontostoma</i> และ <i> Nematalosa</i> วงศ์ Clupeidae หัวเล็ก ปากเล็ก ลำตัวสั้น แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งที่มีพื้นท้องทะเลเป็นโคลน, ตะเพียนนํ้าเค็ม ก็เรียก. |
ฉนาก | (ฉะหฺนาก) น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ในสกุล <i> Anoxypristis</i> และ <i> Pristis</i> วงศ์ Pristidae เป็นปลากระดูกอ่อนอยู่ในกลุ่มปลากระเบน ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร มีเหงือก ๕ คู่อยู่ใต้ส่วนหัว บริเวณปลายสุดของหัวมีแผ่นกระดูกยื่นยาวมาก ขอบทั้ง ๒ ข้างมีซี่กระดูกแข็งคล้ายฟันเลื่อยเรียงห่างกันอย่างสมํ่าเสมอข้างละ ๑ แถวโดยตลอด ชนิด <i> A. Cuspidata</i> Latham หรือ <i> P. cuspidatus</i> Latham มี ๑๖-๒๙ คู่, ชนิด <i> P. microdon</i> Latham มี ๑๔-๒๓ คู่. |
ฉลาม | (ฉะหฺลาม) น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลากระดูกอ่อน ขนาดยาวได้ถึง ๒๑.๔ เมตร ส่วนใหญ่มีช่องเหงือก ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยกสูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า ตะเกียบหรือเดือย บางชนิดเป็นปลาผิวนํ้า เช่น ฉลามหนู [ <i> Scoliodon sorrakowah</i> (Cuvier) หรือ <i> S. laticaudus</i> Müller & Henle ], ฉลามเสือ เสือทะเล พิมพา หรือ ตะเพียนทอง [ <i> Galeocerdo cuvieri</i> (Peron & Le Sueur) ] บางชนิดอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบหรือฉลามหิน [ <i> Chiloscyllium plagiosum</i> (Bennett) ] บางชนิดอยู่ในนํ้าลึกมาก เช่น ฉลามนํ้าลึก (<i> Squalus acanthias</i>Linn.) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ (<i> Rhincodon typus</i> Smith) ชนิดที่หัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด <i> Sphyrna leweni</i> (Griffith & Smith). |
ซ่งฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i> Hypophthalmichthys nobilis</i> (Richardson) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด หัวโต เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม หากินอยู่ตามพื้นท้องน้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร. |
ดอกหมาก ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i> Raiamas guttatus</i> (Day) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาว เพรียว แบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากแหลมยาวล้ำขากรรไกรล่าง ปากกว้าง ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางปลายหัว เกล็ดเป็นแบบเกล็ดเรียบ เส้นข้างตัวพาดต่ำ ๆ ใกล้แนวสันท้อง ครีบหลังอยู่ท้ายแนวกึ่งกลางลำตัวและมีก้านครีบ ๙-๑๑ ก้าน ครีบก้นอยู่คล้อยไปข้างท้ายของลำตัวและมีก้านครีบ ๑๓-๑๔ ก้าน ครีบอกอยู่ใกล้แนวสันท้อง ส่วนครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบหลัง ครีบหางเป็นแฉกลึก บริเวณข้างลำตัวมีจุดสีน้ำเงินดำเรียบเป็นแถวยาวในแนวระดับตา ต่ำลงไปเหนือส่วนท้องจะเป็นจุดประกระจายทั่วไป ครีบต่าง ๆ มีสีอมเหลือง แพนหางตอนล่างมีแถบสีดำพาดตามยาวอยู่ที่ขอบด้านใน พบในเขตต้นน้ำหรือแม่น้ำที่มีพื้นเป็นกรวดทรายน้ำไหลแรงในทุกภาค ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, นางอ้าว อ้าว หรือ อ้ายอ้าว ก็เรียก. |
ด้อง ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล <i> Pterocryptis</i> วงศ์ Siluridae ปากอยู่ต่ำเล็กน้อย หนวดยาวถึงโคนครีบอก ไม่มีเกล็ด ลักษณะคล้ายปลาเนื้ออ่อนพวกที่มีครีบหลัง เว้นแต่มีครีบก้นต่อเนื่องกับครีบหางที่มีขอบกลม ครีบอกมีก้านแข็งคล้ายเงี่ยง ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร เป็นปลาหายาก. |
ตะเพียนทอง | น. ชื่อปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด <i> Barbonymus altus</i> (Günther) หรือ <i> Puntius altus</i> (Günther) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวสั้นกว้าง สีเงินหรือเหลืองทอง ครีบอกและครีบท้องสีเหลืองส้มสลับแดง ครีบหางสีเหลือง ขอบครีบหางสีแดงส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร. |
ทรายขาว | (ซาย-) น. ชื่อปลาทะเลในสกุล <i> Scolopsis</i> วงศ์ Nemipteridae ปากเล็ก ไม่มีฟันเขี้ยว มีหนามแหลมอยู่บริเวณใต้ตา ปลายชี้ไปทางด้านหลัง ลำตัวสั้น รูปไข่ แบนข้าง ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร เช่น ชนิด <i> S. cancellatus</i>Cuvier, <i> S. dubiosus</i> M. Weber. |
ทุ่ม | น. วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม, (โบ) วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกาของอีกวันหนึ่ง. |
น้ำผึ้ง ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i>Gyrinocheilus aymonieri</i> (Tirant) และชนิด <i>G. pennocki</i> (Fowler) ในวงศ์ Gyrinocheilidae ลำตัวทรงกระบอก คอดหางใหญ่ ครีบหางเว้าตื้น ปลายหัวมน งุ้ม ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน ที่สำคัญคือ มีรูน้ำเข้า ๑ รูอยู่เหนือแผ่นปิดเหงือก บริเวณจะงอยปากมีตุ่มเนื้อขนาดเล็ก ไม่มีหนวด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัวมีจุดสีดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว จุดสีดำยังอาจพบบนครีบ อาศัยตามที่ลุ่มน้ำต้นฤดูน้ำ หรือตามลำธารบนภูเขา กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ปรกติใช้ปากดูดเกาะห้อยตัวอยู่กับวัตถุใต้น้ำหรืออยู่ตามพื้นท้องน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, สร้อยน้ำผึ้ง ปากใต้ ลูกผึ้ง ผึ้ง หรือ อีดูด ก็เรียก. |
โนรี ๓ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล <i>Heniochus</i> วงศ์ Chaetodontidae ลำตัวสั้นแต่กว้างมาก หัวแหลม ปากเล็กอยู่ที่ปลายสุด ก้านครีบหลังตอนหน้ายื่นยาวเป็นเส้น ตัวมีสีสันสดสวย หัวและลำตัวมีพื้นสีขาวเงิน มีแถบสีดำเข้มพาดขวางรวม ๓ แถบ ที่พบเสมอได้แก่ชนิด <i>H</i>. <i>acuminatus</i> (Linn.) ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อาศัยตามแนวหินปะการัง. |
ผีเสื้อเงิน | น. ชื่อปลาทะเลชนิด <i> Monodactylus argenteus</i> (Linn.) ในวงศ์ Monodactylidae ลำตัวสั้นมาก รูปไข่แบนข้าง ฐานครีบหลังและครีบก้นยาวทั้งคู่มีปลายครีบตอนหน้ามน พื้นลำตัวและครีบสีเทาเงิน มีแถบสีดำพาดขวางผ่านตา ๑ เส้นและอีกเส้นโค้งผ่านแผ่นปิดเหงือกไปยังขอบหน้าของครีบหลังและครีบก้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร อยู่ในนํ้าจืดได้, โสร่งแขก ก็เรียก. |
มงโกรย | น. ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยชนิด <i>Hilsa kelee</i> (Cuvier) ในวงศ์ Clupeidae ลำตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนมากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลำตัวสีเงิน หลังสีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดำ ๓-๘ จุดเรียงกัน ๑ แถว จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ขมงโกรย ลินโกรย หรือ หมากผาง ก็เรียก. |
มังกง | น. ชื่อปลาชนิด <i>Mystus gulio</i> (Hamilton) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ หัวแบนลง ปากอยู่ตํ่าที่ตอนปลายของหัว ครีบหลังตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อมีขนาดเล็ก ลำตัวและครีบมีเพียงพื้นสีนํ้าตาลคลํ้าหรือเทาดำ มีชุกชุมทั่วไปตามแหล่งนํ้าจืดใกล้ทะเล บางครั้งจับได้ในนํ้ากร่อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, แขยงหนู ก็เรียก. |
ยอดจาก | น. ชื่อปลาไหลทะเลในสกุล <i>Muraenesox</i> และ <i>Congresox</i> วงศ์ Muraenesocidae ลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหางแบนข้าง ไม่มีเกล็ด ปากแหลมอ้าได้กว้าง จะงอยปากบนยาวล้ำขากรรไกรล่าง ฟันคมแข็งแรง ครีบอกใหญ่ พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลอ่อนปนเหลืองหรือคล้ำ ด้านท้องสีขาว ขอบครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒.๕ เมตร, เงี้ยว หลด ไหล หรือ มังกร ก็เรียก. |
ลาก | ยาวออกไป เช่น การประชุมลากยาวไปถึง ๒ ทุ่ม, ทำให้ยาวออกไป เช่น ลากเสียง ลากเส้น |
สลิด ๒ | (สะหฺลิด) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i>Trichogaster pectoralis</i> Regan ในวงศ์ Belontiidae รูปร่างคล้ายปลากระดี่ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน มีเกล็ดเล็กและไม่มีจุดดำข้างตัว แต่มีลายสีคลํ้าหลายแนวพาดเฉียงตลอดข้างลำตัว และมีขนาดโต กว่าถึง ๒๐ เซนติเมตร พบตามแหล่งนํ้าตื้นและนิ่งที่มีพืชน้ำ เช่น หนอง คลอง บึง ทั่วไป ทำรังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า นำมาเลี้ยงและทำเป็นปลาตากแห้งได้คุณภาพดี, คำสุภาพเรียกว่า ปลาใบไม้. |
หมอ ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i>Anabas testudineus</i> (Bloch) ในวงศ์ Anabantidae ลำตัวป้อม แนวสันหลังโค้งพอ ๆ กับแนวสันท้อง แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง ตาอยู่ค่อนไปทางปลายหัว ปากกว้างเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กแต่แข็งแรง ขอบกระดูกแผ่นปิดเหงือกหยักเป็นหนามแข็ง ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลำตัวและครีบมีสีดำคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจางกว่าและมีลายบั้งพาดลำตัวเป็นระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุกประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจในที่ดอนได้อีกด้วย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง. |
หมอช้างเหยียบ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i>Pristolepis fasciata</i> (Bleeker) ในวงศ์ Pristolepidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลาหมอ หรือ ปลาเสือ แต่แบนข้างและกว้างกว่า ข้างตัวมีลายคลํ้าหลายลายพาดขวาง ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, ช้างเหยียบ หมอโค้ว กระตรับ ตะกรับ หน้านวล ก๋า หรือ อีก๋า ก็เรียก. |
หางกิ่ว | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Carangidae อยู่ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสำคัญคือ ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ดบนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด <i>Atule mate</i> (Cuvier) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือ <i>Caranx sexfasciatus</i> Quoy & Gaimard ขนาดยาวได้ถึง ๗๘ เซนติเมตร สำหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. |
เหี้ย | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิด <i>Varanus salvator</i> (Laurenti) ในวงศ์ Varanidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับตะกวด โตเต็มวัยยาวได้ถึง ๒.๕ เมตร ตัวอ้วนใหญ่สีน้ำตาลเข้ม มีลายดอกสีเหลืองพาดขวาง หางยาว อาศัยและหากินบริเวณใกล้นํ้า, ตัวเงินตัวทอง หรือ แลน ก็เรียก. |