ถึง ๑ | ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง ไปถึงบ้าน |
ถึง ๑ | รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก |
ถึง ๑ | มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง |
ถึง ๑ | จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ หรือ ถึงกับ ก็ว่า |
ถึง ๑ | บรรลุระดับที่กำหนด เช่น มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. |
ถึง ๑ | บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่น เรื่องนี้ถ้ารู้ถึงผู้ใหญ่จะไม่ดี เมื่อวานนี้เธอไม่มา ทุกคนต่างก็พูดถึงเธอ |
ถึง ๑ | ใช้เป็นคำจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด |
ถึง ๑ | จึง เช่น ทำอย่างนี้ถึงจะดี. |
กระดี่ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ [ T. trichopterus (Pallas) ] ข้างตัวมีลายหลายเส้นพาดขวาง มีจุดดำที่กลางลำตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง [ T. microlepis (Günther) ] สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้าหรือกระดี่มุก [ T. leeri (Bleeker) ] พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด. |
กระทุงเหว | น. ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิด ในวงศ์ Belonidae และ Hemiramphidae ลำตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemiramphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongyluraและ Zenarchopterusชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง [ Ablennes hians (Valenciennes) ] ซึ่งมีชุกชุมที่สุด บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง [ Xenentodon cancila (Hamilton) ] ขนาดยาวได้ถึง ๑.๒๕ เมตร, เข็ม ก็เรียก. |
กระบอก ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยและปลาทะเลหลายชนิด ในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ [ L. vaigiensi (Qnoy & Gaimard) ] กระบอกดำ [ L. parsia (Hamilton-Buchanan) ] กระบอกขาว [ V. seheli (Forsskål) ], กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สำหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก หมก หรือ มก. |
กระสือ ๓ | น. ชื่อตัวอ่อนหิ่งห้อยและตัวเต็มวัยหิ่งห้อยเพศเมียที่ไม่มีปีกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Lampyridae เช่น สกุล Lamprigera, Pyrocoelia, Diaphanesยาวได้ถึง ๑๐ เซนติเมตร อยู่ตามพื้นดิน สามารถทำแสงจากอวัยวะทำแสงที่อยู่ปลายท้องได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. (ดู หิ่งห้อย ประกอบ). |
กราย ๑ | (กฺราย) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Chitata ornata (Gray) วงศ์ Notopteridae หัวและลำตัวแบนข้างมาก สันหัวแอ่นลง ท้องเป็นสันคม ครีบท้องเล็กมาก ครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบมน บริเวณเหนือครีบก้นมีจุดสีดำ ๕-๑๐ จุดเรียงเป็นแถวตามยาว ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, ตองกราย หรือ หางแพน ก็เรียก. |
กะตัก | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus วงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่างครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลมขนาดเล็กมาก ๒-๗ อัน ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ชินชัง ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างขนาด ชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ ขนาดยาวได้ถึง ๑๔ เซนติเมตร. |
กะลา ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Etlingera elatior (Jack) R. M. Sm. ในวงศ์ Zingiberaceae ต้นคล้ายข่า สูง ๓-๔ เมตร ช่อดอกคล้ายบัวตูมแต่กลีบแข็ง สีชมพูหรือแดง มีดอกเล็ก ๆ แน่นเป็นกระจุกอยู่ภายใน ก้านช่อดอกผุดขึ้นจากดินและยาวได้ถึง ๑ เมตร หน่อและดอกอ่อนใช้เป็นอาหาร, กาหลา หรือ ดาหลา ก็เรียก, ปักษ์ใต้บางจังหวัดเรียก ปุดกะลา. |
การ์ตูน ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Amphiprion วงศ์ Pomacentridae ลำตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดำคลํ้า มักมีแถบสีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลำตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิดหรือขนาดบ้างมีสีส้ม พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประเภทหนึ่งในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ขนาดยาวได้ถึง ๑๖ เซนติเมตร. |
กุเรา | น. ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ ในสกุล Eleutheronemaและในสกุล Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลำตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum (Shaw), P. sextarius Bloch & Schneider ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เซนติเมตร, กุเลา ก็เรียก. |
กุแล | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลำตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องบางคล้ายคมมีด เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีนํ้าเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคลํ้า ๑ จุด ครีบหลังและครีบหางสีดำคลํ้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึงชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกันเป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนน้อยและสั้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก |
แก้ว ๔ | น. ชื่อปลาทะเลพวกปลาจวดชนิด Otolithoides biauritus (Cantor) ในวงศ์ Sciaenidae ลำตัวยาวเรียว ปากเล็ก ทู่ ฟันเล็ก ครีบหางแหลม ก้านครีบก้นมีขนาดเล็ก เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวขยายใหญ่และนูนเป็นสัน ลำตัวสีเทา ใกล้สันท้องมีสีเงินคล้ายปลาจวดชนิดอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, จวดลาก ก็เรียก. |
ข้างเงิน | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Allanetta และ Stenatherina วงศ์ Atherinidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก. |
ข้าวเม่า ๒ | น. ชื่อปลาทะเลและปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Ambassis วงศ์ Ambassidae หรือมีผู้รวมไว้กับวงศ์ Centropomidae เป็นปลาขนาดเล็ก ยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร ลำตัวแบนข้าง ค่อนข้างใส ก้านครีบแข็ง แหลม และมักชี้กางทำให้ทิ่มตำเมื่อจับต้อง ยังพบมีผู้เรียกปลาทะเลชนิด Ephippus orbis Bloch ในวงศ์ Ephippidae และปลานํ้าจืดในสกุล Chela วงศ์ Cyprinidae ว่า ปลาข้าวเม่า ด้วย, สำหรับปลาในวงศ์ Ambassidae เกล็ดข้าวเม่า หรือ แป้น ก็เรียก. |
ข้าหลวง ๓ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด Scolopsis ciliatus (Lacepéde) ในวงศ์ Nemipteridae ลำตัวป้อม แบนข้างปานกลาง พื้นลำตัวสีเขียวหม่น มีแถบสีขาวเด่นพาดตามยาวใกล้แนวสันหลังข้างละเส้น ระหว่างตาและแผ่นกระดูกใต้ตามีหนามแหลม ๑ อัน ชี้ไปทางด้านหน้า ขอบด้านนอกของขากรรไกรบนจักเป็นฟันเลื่อย พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๑๓ เซนติเมตร. |
ขี้ควาย | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Trachicephalus uranoscopus (Bloch & Schneider) ในวงศ์ Scorpaenidae ตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวสั้น ปากกว้างเชิดขึ้น ลำตัวมีรอยด่างสีนํ้าตาล มักมีจุดขาวประปราย ขอบครีบเป็นสีดำคลํ้า เงี่ยงมีพิษ ซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินหรือหมกตัวอยู่ตามพื้นท้องทะเล ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร, ขี้ขุย ก็เรียก. |
ค็อด | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดแถบเขตหนาวของซีกโลกด้านเหนือ มีหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Gadidae ลำตัวยาวได้ถึง ๑๗๕ เซนติเมตร แบนข้างเล็กน้อย และเรียวไปทางข้างหาง เป็นปลาล่าเหยื่อ อยู่เป็นฝูงโดยเฉพาะขณะเดินทางเพื่อสืบพันธุ์ คนไทยรู้จักชื่อปลาค็อดมานาน คือ น้ำมันตับปลาปลาค็อด. |
งา ๔ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris (Broussonet) ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือครีบก้น ลำตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงินอมเหลืองส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร. |
จาด ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Neolissochilus stracheyi ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็ก ลำตัวยาว เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายทรงกระบอก ลำตัวสีเงิน ด้านหลังสีเขียวเข้ม อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าสะอาดใกล้ต้นนํ้า เป็นปลาขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๑ เมตร, พลวง หรือ โพ ก็เรียก. |
ชะโด | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa micropeltes (Cuvier) ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อน ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันแต่เกล็ดเล็กและมีจำนวนมากกว่า เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๘๒-๙๕ เกล็ด เมื่อยังเล็กข้างลำตัวมีแถบสีดำเรียงคู่กันจากตาถึงครีบหาง ระหว่างแถบเป็นสีแดง แถบนี้แตกเป็นแต้มหรือจุดในปลาที่โตเต็มที่ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, แมลงภู่ อ้ายป๊อก หรือ โด ก็เรียก, พายัพเรียก ก่อ. |
ดัก ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Amblyceps mucronatum Ng & Kottelat ในวงศ์ Amblycipitidae ตาเล็กมาก มีหนวดอยู่ระหว่างรูจมูก ๔ คู่ ไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว แบนข้าง ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง มีแผ่นเนื้ออยู่ส่วนหน้าของครีบอก ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อ คอดหางกว้าง ครีบหางเป็นแฉก พบอาศัยอยู่ตามแหล่งต้นนํ้าลำธาร ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร. |
ตัวตืด | น. ชื่อพยาธิหลายชนิดหลายวงศ์ ในชั้น Cestoda ตัวแบนเป็นปล้องเรียงต่อกันเป็นแถบยาว หัวมีอวัยวะใช้เกาะยึด ถัดมาลำตัวเป็นปล้อง จำนวนปล้องแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ ๒-๓ ปล้อง จนถึง ๑, ๐๐๐ ปล้อง ปล้องท้ายสุดเกิดก่อน ปล้องถัดจากคอเกิดหลังสุด มักอาศัยดูดอาหารในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ถ้ามีจำนวนมากจะไปกั้นทางเดินอาหาร ทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง ชนิดที่อยู่ในคน เช่น ชนิด Taenia solium Linn. ซึ่งตัวอ่อน เรียก เม็ดสาคู อยู่ในเนื้อหมู ชนิด T. saginata Goeze ซึ่งตัวอ่อนอยู่ในเนื้อวัว, ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Taeniidae และเป็นพยาธิในลำไส้เล็กของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด. |
ตูหนา | น. ชื่อปลาไหลนํ้าจืดชนิด Anguilla bicolor (Richardson) ในวงศ์ Anguillidae ที่ว่ายลงทะเลเพื่อขยายพันธุ์ ลำตัวกลมยาว แบนข้างทางท่อนหาง มีครีบอก เกล็ดเล็กฝังแน่นอยู่ในหนัง ลำตัวและครีบสีนํ้าตาลหรือเกือบดำเสมอกัน พบทางเขตภาคใต้ด้านทะเลอันดามัน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร. |
ที่ไหนได้ | ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คำใช้แสดงความประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท. |
เทโพ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasius larnaudii Bocourt ในวงศ์ Pangasiidae ไม่มีเกล็ด ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย รูปร่างคล้ายปลาสวาย แต่มีจุดสีดำเด่นอยู่บนลำตัวเหนือครีบอก และพื้นลำตัวสีเรียบไม่มีลายพาดตามยาว พบชุกชุมตามแม่นํ้าในเขตภาคกลางและลุ่มแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๑.๓ เมตร. |
นวลจันทร์ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อยชนิด Chanos chanos (Forsskål) ในวงศ์ Chanidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หัวหลิม ตาโต ครีบหลังมีครีบเดียวตั้งอยู่ในแนวกลางตัว ครีบหางเป็นแฉกลึก เกล็ดทั่วตัวมีสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เมตร อยู่ในน้ำจืดได้, ชะลิน ดอกไม้ หรือ นวลจันทร์ทะเล ก็เรียก. |
น้องเพล | น. เรียกเวลาก่อนเพล ระหว่าง ๑๐ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา. |
เบาะลม | น. ถุงลมขนาดใหญ่ที่อัดอากาศไว้ภายใต้พื้นล่างของยานพาหนะ ทำหน้าที่เสมือนเป็นเบาะพยุงให้ตัวยานพาหนะลอยอยู่เหนือพื้นได้ตลอดเวลาที่เคลื่อนที่ไป ระยะที่ลอยอยู่เหนือพื้นอาจสูงได้ถึง ๑๐ ฟุต. |
ปลาสเตอร์ | ผงสีขาวคล้ายปูนขาวได้จากการเผายิปซัมให้ร้อนถึง ๑๒๐ °-๑๓๐ °ซ. เมื่อนำไปผสมกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะแข็งตัวได้เร็วมาก ใช้ประโยชน์ในการนำไปทำแม่พิมพ์ รูปปั้น เป็นต้น หรือพอกอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในการรักษากระดูกหัก. |
ปากแตร ๒ | น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Fistularia วงศ์ Fistulariidae หัวและลำตัวแบนลงแต่แคบและยาวมาก ตาโต ปากเป็นท่อยาวคล้ายแตร มีช่องปากขนาดเล็กอยู่ปลายสุด ลำตัวไม่มีเกล็ดยกเว้นเฉพาะที่แนวสันหลัง ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบหางเป็นแฉกมีเส้นยาวคล้ายแส้ยื่นออกจากกึ่งกลางครีบ ลำตัวทั่วไปรวมทั้งหัวและครีบสีนํ้าตาลแดง ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร เช่น ชนิด F. villosa Klunzinger, สามรส ก็เรียก. |
ปูนปลาสเตอร์ | น. แคลเซียมซัลเฟต (CaSO4· H2O) ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายปูนขาว ได้จากการเผายิปซัม (CaSO4·2H2O) ให้ร้อนถึง ๑๒๐ °-๑๓๐ °ซ. เมื่อนำไปผสมกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะแข็งตัวได้เร็วมาก ใช้ประโยชน์ในการนำไปทำแม่พิมพ์ รูปปั้น เป็นต้น หรือพอกอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในการรักษากระดูกหัก. |
ผมนาง | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Alectis ciliaris (Bloch), A. indicus (Rüppell), Carangoides armatus (Rüppell) และ C. hedlandensis (Whitley) ในวงศ์ Carangidae รูปร่างแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหางเล็ก เกล็ดละเอียด เว้นแต่ที่ส่วนปลายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะบริเวณคอดหางเกล็ดจะขยายใหญ่เป็นสันแข็ง มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น และพับลงในร่องได้ ที่สำคัญคือ ต่างก็มีส่วนหน้าของทั้งครีบหลังตอนที่ ๒ และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลำตัวสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลังเป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็นบั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดำ จึงได้ชื่อว่า ผมนาง เฉพาะปลาขนาดเล็กของชนิด A. indicus (Rüppell) ยังมีครีบท้องยาวมากและมีขนาดยาวได้ถึง ๑๕๐ เซนติเมตร, โฉมงาม ก็เรียก. |
ม่ง ๑ | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือสีกุน โดยเฉพาะที่มีขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ในวงศ์ Carangidae มีลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับลงในร่องได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ไม่มีสีฉูดฉาด อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard, C. melampygus Cuvier, C. ignobilis (Forsska&npsp;ํl), Carangoides gymnostethus (Cuvier), C. fulvoguttatus (Forsska&npsp;ํl) และ Alectis ciliaris (Bloch) ปลาเหล่านี้บางชนิดอาจมีขนาดยาวได้ถึง ๑.๔ เมตร, กะมง กะม่ง หรือ ม่ง ก็เรียก. |
มาน ๑ | น. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็ง ลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้อง อาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง ๑๕-๒๐ ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่งพองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจลำบาก เท้าบวม เป็นต้น. |
ม่านลาย | น. ชื่อตะพาบชนิด Chitra chitra Nutphand ในวงศ์ Trionychidae เป็นเต่ากระดองอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่แม่นํ้าแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี มีนํ้าหนักถึง ๑๔๘ กิโลกรัม ทั้งตัวและหัวสีนํ้าตาล มีลายสีนํ้าตาลอ่อน กินปลา, กริวลาย ม่อมลาย หรือ กราวด่าง ก็เรียก. |
ม้าน้ำ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidae ลำตัวหนา หัวพับเข้าหาลำตัว ปากเป็นท่อยาว ทำให้ส่วนหัวดูคล้ายม้า ส่วนหางเรียวยาว ม้วนได้ ไม่มีครีบหาง ครีบหลังอยู่ตรงข้ามครีบก้นที่มีขนาดเล็กมาก มีครีบอกแต่ไม่มีครีบท้อง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้องตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดำที่บางส่วนของลำตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการังและสาหร่ายทะเล โดยทรงตัวในแนวตั้งและอาจใช้ส่วนหางพันยึดวัตถุใต้นํ้า หลังผสมพันธุ์ ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร. |
แมว ๒ | น. ชื่อปลาทุกชนิดในสกุล Thryssa, Setipinna และชนิด Lycothrissa crocodilus (Bleeker) ในวงศ์ Engraulidae ลำตัวยาว แบนข้างมาก ปากกว้าง เชิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่ชนิด ฟันแหลมคมคล้ายฟันแมว ตาอยู่ค่อนไปทางปลายจะงอยปาก เกล็ดเป็นแบบเรียบ ใหญ่และบาง ท้องเป็นสันแหลมมีเกล็ดแข็ง เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปลายครีบอกมักยื่นยาวเป็นเส้นคล้ายหนวดแมว ครีบก้นเป็นแผ่นยาว มีทั้งที่อยู่ในนํ้ากร่อย นํ้าทะเล และนํ้าจืด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕-๓๐ เซนติเมตร. |
โมง ๑ | น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า. |
ยิปซัม | น. แร่ชนิดหนึ่ง ชื่อไฮเดรเทดแคลเซียมซัลเฟต (hydrated calcium sulphate) มีสูตร CaSO4∙2H2O เมื่อนำมาเผาให้ร้อนถึง ๑๒๐˚- ๑๓๐˚ซ. จะได้ผงสีขาว เรียกว่า ปูนปลาสเตอร์, หินฟองเต้าหู้ หรือ เกลือจืด ก็เรียก. |
ยี่สก | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Probarbus jullieni Sauvage ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดำเด่นพาดตามยาวเฉพาะบนลำตัว ๗-๘ แถบ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, ยี่สกทอง ก็เรียก. |
เยาวชน | น. บุคคลอายุเกิน ๑๕ ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์. |
ริวกิว | น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อย ชนิด Arius thalassinus (Rüppell) ในวงศ์ Ariidae ลำตัวกลม ยาว ท้องแบน ปลายจะงอยปากมนในปลาขนาดเล็ก และแหลมป้านในปลาขนาดโต ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนปนแดง หรือฟ้าอมเทา ตัวผู้มีพฤติกรรมฟักไข่และดูแลตัวอ่อนโดยอมไว้ในช่องปาก พบห่างฝั่งมากกว่าปลากดชนิดอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘๕ เมตร, กดทะเล กดโคกกะโส เลียวเซียว ลู่ทู่ กด หรือ อุก ก็เรียก.(ดู กด และ อุก). |
ฤคเวท | (รึกคะเวด) น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๑ ของพระเวท ใช้ภาษาสันสกฤตรุ่นเก่าที่สุด ประพันธ์เป็นฉันท์ มีอายุประมาณ ๕๐๐ ถึง ๑, ๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล, อิรุพเพท ก็ว่า. (ส.; ป. อิรุพฺเพท). (ดู เวท, เวท- ประกอบ). |