โกฐชฎามังษี, โกฐชฎามังสี | น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Nardostachys jatamansi DC. ในวงศ์ Valerianaceae. |
ชฎา | น. เครื่องสวมศีรษะ รูปคล้ายฝาชี มียอดยาวเรียวแหลม. |
ชฎากลีบ | น. เครื่องราชศิราภรณ์อย่างหนึ่ง มีวงขอบเป็นอย่างมาลัยรักร้อย ตอนบนเป็นจอมรูปกรวย มีมาลัยรักร้อยคั่นอีกชั้นหนึ่ง ยอดสูงเรียว ปลายมีลักษณะเป็นกลีบ ๕ กลีบ เรียกว่า พระชฎากลีบ. |
ชฎาเดินหน | น. เครื่องราชศิราภรณ์อย่างหนึ่ง ลักษณะคล้ายพระชฎากลีบ แต่ปลายไม่มีกลีบและปัดไปทางด้านหลังเล็กน้อย ปักพระยี่ก่าข้างซ้าย เรียกว่า พระชฎาเดินหน. |
ชฎาธาร | น. ผู้ทรงไว้ซึ่งชฎา. |
ชฎาพอก | น. ลอมพอกที่ประดับมาลัยรักร้อย และมีเกี้ยวรัดรอบส่วนที่ต่อขึ้นไปเป็นปลายชฎา. |
ชฎามหากฐิน | น. เครื่องราช-ศิราภรณ์อย่างหนึ่ง ลักษณะเป็นจอมรวบขึ้นไปตั้งแต่มาลัยรักร้อย ปลายยาวเรียวปัดไปทางด้านหลังเล็กน้อย ปักพระยี่ก่าข้างซ้าย เรียกว่า พระชฎามหากฐิน. |
ชฎาห้ายอด | น. เครื่องราชศิราภรณ์อย่างหนึ่ง ลักษณะคล้ายพระชฎากลีบ ปลายทำเป็นอย่างกระหนกหางไหล ๕ เส้นสะบัดไปทางด้านหลัง มีพระยี่ก่า ใบสน หรือขนนกการเวก เป็นเครื่องประดับประกอบพระอิสริยยศ เรียกว่า พระชฎาห้ายอด. |
ชฎามังษี, ชฎามังสี | น. โกฐชฎามังษี. (ดู โกฐชฎามังษี, โกฐชฎามังสี ที่ โกฐ). |
รัชฎาภิเษก | (รัดชะ-) น. รัชดาภิเษก. |
กรรเจียก | (กัน-) น. เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก ใช้ประกอบกับพระมหามงกุฎ พระชฎา หรือรัดเกล้า เช่น กรรเจียกซ้อนจอนแก้วแพรวพราว (อิเหนา). |
กระเสียน | ว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว |
เกี้ยว ๑ | เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา |
โกฐ | (โกด) น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐนํ้าเต้า, ตำรายาแผนโบราณเขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี. |
ง้ำ | ว. ยื่นออกไปเกินปรกติจนปลายโน้มลง, โน้มไปทางหน้า เช่น สวมชฎางํ้าหน้า, เรียกหน้าที่มีสีหน้าแสดงอาการโกรธไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจเป็นต้น ว่า หน้างํ้า. |
ชฎิล | น. ผู้มีผมมุ่นเป็นชฎา, นักพรตพวกหนึ่งที่เราเรียกว่า ฤษี. |
ฎ | (ดอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๔ เรียกว่า ฎอ ชฎา เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น กฎ มงกุฎ. |
เดินหน | ชื่อชฎาแบบหนึ่ง เรียกว่า ชฎาเดินหน. |
มหากฐิน | น. ชื่อพระชฎาเครื่องต้น เรียกว่า พระชฎามหากฐิน, ชื่อพระแสงหอกที่เชิญลงในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า พระแสงหอกมหากฐิน. |
ราชวรวิหาร | (ราดชะวอระวิหาน) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน. |
ลุ้ง | น. ภาชนะใส่อาหารหรือของอย่างอื่น รูปทรงกระบอกมีฝาปิด สานอย่างตะกร้าหรือเครื่องเขินก็มี ทำด้วยโลหะมีทองเหลืองและเหล็กวิลาดเป็นต้นก็มี, ถ้าใช้ใส่อาหารมักแบ่งข้างในเป็นห้อง ๆ, ถ้าใช้ใส่ชฎา ก็มีฝาเรียวรูปกรวยเพื่อครอบยอดชฎาได้ |
โล้น | น. เรียกหัวโขนที่ไม่สวมมงกุฎหรือชฎา เช่น หัวนนทุก หัวเสนายักษ์ ว่า หัวโล้น. |
สวม | ก. กิริยาที่เอาของที่เป็นโพรงเป็นวงเป็นต้นครอบลงบนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น สวมชฎา สวมหมวก เกี้ยวสวมจุก, คล้อง เช่น สวมพวงมาลัย, นุ่ง ในคำว่า สวมกางเกง, ใส่ เช่น สวมเสื้อ สวมรองเท้า |
สายรัดคาง | น. สายหนังหรือเชือกที่โยงจากขอบหมวกหรือชฎาเป็นต้น สำหรับรัดคางกันหลุด. |
อุตตานภาพ | (อุดตานะพาบ) ก. นอนหงาย เช่น รวบพระกรกระหวัดทั้งซ้ายขวาให้พระนางอุตตาน-ภาพ (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขียนเป็น อุตตานะภาพ ก็มี เช่น ฉวยกระชากชฎาเกษเกล้าให้นางท้าวเธอล้มลงอุตตานะภาพ (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). |