คันฉัตร | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์วิศาขา มี ๕ ดวง, ดาวศีรษะกระบือ หรือ ดาววิสาขะ ก็เรียก. |
คันดาลฉัตร | น. คันฉัตรที่มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างลูกดาล เพื่อปักให้ฉัตรอยู่ตรงเศียรพระพุทธรูปเป็นต้น. |
ฉัตร ๑, ฉัตร- | (ฉัด, ฉัดตฺระ-) น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่าชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลำดับ สำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ. (ส. ฉตฺร; ป. ฉตฺต ว่า ร่ม) |
ฉัตร ๑, ฉัตร- | ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบโดยรอบอย่างฉัตร |
ฉัตร ๑, ฉัตร- | ชื่อดาวฤกษ์อารทรา. |
ฉัตรบรรณ | (ฉัดตฺระบัน) น. ต้นสัตบรรณ. |
ฉัตรมงคล | (ฉัดตฺระ-, ฉัดมงคล) น. พระราชพิธีฉลองพระมหาเศวตฉัตร ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก. |
ฉัตรสามชั้น | (ฉัด-) น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หวนสวาทโหยถวิลโหยสวาทหวน ครวญคะนึงคะเนนึกคะนึงครวญ ใจเศร้าโศกแสนกำสรวลโศกเศร้าใจ. |
ฉัตร ๒ | (ฉัด) น. ไม้เล็ก ๆ ซึ่งจัดไว้ที่วงฆ้องระหว่างลูกฆ้อง. |
ชานฉัตร | น. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, หลังฉัตร ก็ว่า. |
ดาลฉัตร | น. คันฉัตรตรงที่มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างลูกดาล เพื่อปักให้ฉัตรอยู่เหนือพระเศียร เรียกว่า คันดาลฉัตร. |
ใบฉัตร | น. ส่วนที่งอเป็นขอบโดยรอบตัวฆ้อง. |
ประจำฉัตร | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อนุราธา มี ๔ ดวง, ดาวนกยูง ดาวอนุราธ หรือ ดาวอนุราธะ ก็เรียก. |
ปาริฉัตร, ปาริชาต | น. ต้นไม้สวรรค์ในสวนพระอินทร์, ต้นทองหลาง. |
มยุรฉัตร | น. พนมหางนกยูง หรือเครื่องกั้นบังเป็นชั้น ๆ ทำด้วยหางนกยูง เป็นเครื่องสูง ใช้ในงานพิธีโสกันต์. |
วันฉัตรมงคล | น. วันประกอบพระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม. |
เศวตฉัตร | (สะเหฺวดตะฉัด) น. ฉัตรขาว ใช้เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้น. |
เสียเศวตฉัตร | ก. เสียความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, เสียราช-สมบัติ, เสียบ้านเสียเมือง, เสียเอกราช, ใช้พูดย่อว่า เสียฉัตร ก็มี. |
หลังฉัตร | น. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, ชานฉัตร ก็ว่า. |
กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). |
กรรภิรมย์ | (กัน-) น. ฉัตร ๕ ชั้นและ ๗ ชั้น สำรับหนึ่งมี ๓ องค์ คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นเขียนทอง เป็นเครื่องสูงอันเป็นสิริมงคลยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่ และใช้เข้าพิธีคชกรรมนำช้างสำคัญขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี. |
กำพู ๑ | น. ไม้กลึงสำหรับเป็นที่รวมร้อยซี่ร่ม ซี่ฉัตร หรือซี่พุ่ม. |
เกิ้ง | น. ฉัตร. |
เกิบ ๒ | ก. กำบัง, บัง, เช่น เศวตฉัตรรัตนก้งง เกิบบนบรรจถรณ์ (สรรพสิทธิ์), เฉกฉายกมลาสน์ฉัตรา เกิบก้งงเกศา (สรรพสิทธิ์). |
เครื่องสูง | น. เครื่องแสดงพระอิสริยยศ เช่น ฉัตร พัดโบก จามร. |
ฆ้อง | น. เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมมีปุ่มนูนกลมตรงกลางสำหรับตี มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง. |
ฆ้องวง | น. ลูกฆ้องที่เรียงไว้เป็นชุด ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สำหรับร้อยเชือกหนังตีเกลียวผูกโยงกับด้านฆ้องที่ทำด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๘ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลำดับ มีหลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงกลาง ฆ้องวงมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี. |
ฆ้องเหม่ง | น. ฆ้องขนาดเขื่องและหนากว่าฆ้องกระแต มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยกับไม้สำหรับถือตีประกอบจังหวะร่วมกับวงปี่ชวา กลองมลายู หรือวงบัวลอยในงานศพ. |
ฆ้องโหม่ง | น. ฆ้องขนาดใหญ่รองลงมาจากฆ้องชัย มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยในแนวดิ่งกับขาหยั่งหรือคานไม้ หัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้าหรือเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี และวงเถิดเทิง, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอกเวลา “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอกเวลา “ทุ่ม”. |
ฉิน ๒ | ว. ฉัน, เช่น, คล้าย, เหมือน, เช่น ทิพฉายฉวงฉินฉัตร ใบชรอัดอรชร (ม. คำหลวง วนประเวสน์). |
ชั้น | ระดับ เช่น มือคนละชั้น, ลักษณนามเรียกขั้นที่ลดหลั่นกันหรือซ้อนกัน เช่น ฉัตร ๕ ชั้น บ้าน ๒ ชั้น. |
ชุมสาย | น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตร ๓ ชั้น พื้นปักไหมหักทองขวาง คลุมด้วยตาข่ายไหม มีพู่ห้อยที่ระบายชั้นล่าง |
ดาล ๑ | น. กลอนประตูที่ทำด้วยไม้สำหรับขัดบานประตูอย่างประตูโบสถ์ เช่น ลงดาล ลั่นดาล ขัดดาล, เหล็กสำหรับไขดาลโบสถ์หรือวิหาร มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างคันฉัตรปักอยู่หลังพระพุทธรูป เรียกว่า ลูกดาล, ช่องสำหรับไขดาล เรียกว่า ช่องดาล, (โบ) ใช้ว่า ดาฬ. |
ตะละ ๑ | ว. ดุจ, เหมือน, เช่น ลำต้นตะละคันฉัตร. |
ธงบรมราชวงศ์ใหญ่ | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม. |
นกยูง | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อนุราธา มี ๔ ดวง, ดาวประจำฉัตร ดาวอนุราธ หรือ ดาวอนุราธะ ก็เรียก. |
นกคุ่ม | น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง เช่น เครื่องพิธยุทธยรรยง รายจ่ารงมณฑก นกคุ่มขนัดฉัตรชัย ไสวนกสับสลับสล้าง (ตะเลงพ่าย). |
นพปฎล | (นบพะปะดน) ว. มีหลังคา ๙ ชั้น หมายถึง เศวตฉัตร. |
นวปฎล | (นะวะปะดน) ว. นพปฎล, มีหลังคา ๙ ชั้น หมายถึง เศวตฉัตร. |
นักษัตร ๑, นักษัตร- | (นักสัด, นักสัดตฺระ-) น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคอม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมี ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิระ, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสำเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสำเภา ดาวสำเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสำเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆะ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชษฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี ดาวไซ หรือ ดาวกา) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. |
นิทร | (นิด) ก. นิทรา, นอน, เช่น จักจรมาดลกุฎี กลับมอบศรีเสวตฉัตรไชยห้อมแห่งไคลครนิทร (ม. คำหลวง สักรบรรพ). |
บังแทรก | (-แซก) น. เครื่องสูงอย่างหนึ่งสำหรับใช้ในริ้วขบวนพิธีแห่, คู่กับ บังสูรย์ อยู่ระหว่างฉัตร, โบราณเรียก ทานตะวัน หรือ ทอนตะวัน ก็มี. |
บัลลังก์ | น. พระแท่นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร เรียกว่า พระแท่นราชบัลลังก์ |
ประภัสสร | ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตรสุขสันต์นิรันดร (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). |
พระที่นั่ง | น. อาคารที่ประทับของพระมหากษัตริย์ซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหาสมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาษพิมาน, ที่ประทับซ้อนบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลเศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์, ยานที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน |
พระราชพิธี | น. พิธีที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดไว้ตามราชประเพณี เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี. |
พวงมโหตร | (-มะโหด) น. พวงอุบะซึ่งห้อยประดับอยู่ที่คันดาลฉัตร ทำด้วยผ้าตาดทอง, ลูกมโหตร ก็ว่า. |
พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ | น. พัดยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ มีลักษณะอย่างทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ปลายแหลม และมีแฉกโดยรอบ พื้นตาดโหมดหรือกำมะหยี่ ปักลวดลายด้วยดิ้นเลื่อมหรือดิ้นด้าน มีสีและลวดลายต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์ ด้ามงาเกลี้ยง, ถ้าเป็นพัดยศสมเด็จพระสังฆราช ยอดทำด้วยงาสลักเป็นฉัตร ๓ ชั้น. |
พิธีมณฑล | น. บริเวณที่กำหนดขึ้นเพื่อประกอบพิธี เช่นกำหนดขอบเขตขึ้นด้วยการกั้นแผงราชวัติ ฉัตร หรือธง. |
รถพระที่นั่ง | น. รถยนต์ที่พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ที่ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้นทรง เรียกเต็มว่า รถยนต์พระที่นั่ง, ถ้าเป็นรถม้า เรียกว่า รถม้าพระที่นั่ง. |