กลับมาตายรัง | ก. ในที่สุดก็ต้องหวนกลับมาอยู่กับครอบครัวตามเดิม (ใช้แก่สามี) เช่น เขาไปไหนไม่รอด ต้องกลับมาตายรัง. |
ขี้เล่น | ก. ชอบสนุกสนานและชอบกระเซ้าเย้าแหย่ เช่น ถ้าเขาไปเที่ยวด้วย พวกเราจะไม่รู้สึกเหงา เพราะเขาเป็นคนขี้เล่น, มีอารมณ์ดีไม่งอแง (มักใช้แก่เด็กเล็ก ๆ ) เช่น ตาหนูคนนี้ขี้เล่น |
ไขว้ | กิริยาที่เตะตะกร้อโดยงอขาไปข้างหน้า และบิดเท้าไปทางด้านข้าง เรียกว่า ไขว้หน้า ถ้างอขาไปข้างหลังและบิดเท้าไปทางด้านข้าง เรียกว่า ไขว้หลัง |
ใคร ๑ | (ไคฺร) ส. คนไหน, ผู้ใด, ใช้เป็นคำถาม เช่น ใครมา เขาไปกับใคร. |
ตระบัดสิน | ก. ยืมหรือกู้เอาทรัพย์เขาไปแล้วโกงเอาเสีย, ยักยอก. |
ตาม | ก. ไปหรือมาข้างหลังหรือภายหลังโดยลำดับของสิ่งหรือเหตุการณ์ที่มีมาก่อน เช่น ตามเขาไป แล้วจึงค่อยตามมา ตามเหตุการณ์ |
ถูลู่ถูกัง | ก. อาการที่ลาก ดึง หรือฉุดไปให้ได้โดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น ฉุดให้เขาไปด้วย เขาไม่ไป เลยลากถูลู่ถูกังกันไป |
ปอกลอก | ว. ทำให้เขาหลงเชื่อแล้วล่อลวงเอาทรัพย์เขาไป. |
ป่านนี้ | น. เวลาจนกระทั่งบัดนี้ เช่น ป่านนี้ยังไม่มาเลย ป่านนี้เขาไปถึงไหนแล้ว. |
ไป | ก. เคลื่อนจากตัวผู้พูด เช่น เขาไปตลาด เขาเข็นเรือไม่ไปเพราะเรือเกยตื้น, ใช้ตรงข้ามกับ มา, เป็นคำประกอบกริยาแสดงทิศทางออกจากตัวผู้พูด เช่น เขาเดินไปโรงเรียน, ในการเขียนจดหมายทางการ ใช้แสดงทิศทางออกจากตัวผู้ที่เขียนถึง เช่น ผมขอให้คุณเดินทางไปหาผมวันอาทิตย์นี้, หรือเป็นคำประกอบกริยามีความหมายว่า เรื่อยไป, ไม่หยุด, เช่น ทำไปกินไป, เป็นคำประกอบท้ายคำวิเศษณ์เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ขาวไป ช้าไป ดีเกินไป. |
ไปมาหาสู่ | ก. ไปเยี่ยมเยียน เช่น เขาไปมาหาสู่ญาติที่ต่างจังหวัดบ่อย ๆ. |
ฝักถั่ว | น. การแสดงความอ่อนน้อม อ้อนวอน หรือขอร้องโดยวิธียกมือไหว้ เช่น มืออ่อนเป็นฝักถั่ว, การพลอยยกมือแสดงความเห็นชอบตามเขาไป มักใช้พูดตำหนินักการเมืองในเวลาลงคะแนนเสียง. |
พลอย ๒ | (พฺลอย) ว. ร่วมด้วย, ประสมด้วย, ตามไปด้วย, ในลักษณะเช่นเห็นเขาเดินขบวนกันแล้วเดินตามเขาไป เห็นคนอื่นเขาทำกันแล้วก็ร่วมกับเขาด้วย. |
เมื่อ | น. ครั้ง, คราว, เช่น เรื่องนี้เกิดเมื่อเขาไปต่างจังหวัด, โอกาส เช่น พบได้ทุกเมื่อ, ขณะที่ เช่น เมื่อเขาออกจากบ้าน ฝนก็ตก, คำนำหน้าคำบอกเวลาที่ล่วงไปแล้ว เช่น เมื่อคืนนี้ เมื่อเช้านี้ เมื่อวานซืน. |
ยกยอปอปั้น | ก. ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขาไป |
ยืมมือ | ก. อาศัยผู้อื่นทำการแทน เช่น ยืมมือเขาไปล้างแค้น. |
ร่ำไป | ว. พรํ่าเพรื่อไป, บ่อย ๆ, เช่น เขาไปดูภาพยนตร์บ่อย ทำให้เสียเงินร่ำไป. |
ลมปาก | น. ถ้อยคำที่กล่าว เช่น อย่าสัญญาเพียงลมปาก, คำพูดที่จูงใจให้เห็นคล้อยตาม เช่น หลงลมปากจึงตามเขาไป. |
ลอง ๒ | หยั่งท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู. |
วัด ๒ | ก. ตวัดขึ้น เช่น วัดเบ็ด, เหวี่ยงแขนเหวี่ยงขาไปโดยแรง เช่น นอนดิ้นวัดแขนวัดขา. |
วัน ๑ | น. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน |
สมสู่ | ก. ร่วมประเวณี (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เขาไปสมสู่กันเอง สมสู่อยู่กินกันฉันผัวเมีย, บางทีก็ใช้กับสัตว์บางชนิด เช่น เดือน ๑๒ เป็นฤดูที่สุนัขสมสู่กัน. |
สุดกู่ | ว. ไกลมากจนไม่ได้ยินเสียงกู่ เช่น เขาไปปลูกบ้านเสียจนสุดกู่, อยู่ท้าย ๆ เช่น สอบได้ที่สุดกู่ จอดรถไว้สุดกู่. |
เสื่อมทราม | ก. เลวลง (มักใช้แก่ความประพฤติ) เช่น ตั้งแต่เขาไปมั่วสุมกับคนพาล ชีวิตของเขาก็เสื่อมทรามลง. |
ให้ | ก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว |