กดเหลือง | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Hemibagrus nemurus (Valenciennes) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไป แม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก. |
กระจัง ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri (Pallas) ในวงศ์ Gobiidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหว และความสามารถขึ้นมาพ้นนํ้าได้คล้ายปลาจุมพรวดซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทำรูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวนํ้า ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้ ขนาดยาวได้ถึง ๒๗ เซนติเมตร, กะจัง ก็เรียก. |
กระดาน ๒ | น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Thenus orientalis (Lund) ในวงศ์ Scyllaridae ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร หัวและลำตัวหุ้มด้วยเปลือกแข็งสีนํ้าตาล ส่วนหัวและหนวดคู่ที่ ๒ แบน แพนหางแผ่ราบได้กว้าง งอพับเข้าใต้ท้องเมื่อดีดตัวถอยหลังหนีศัตรู อาศัยคืบคลานอยู่ตามพื้นทะเล พบทั่วไป มักเรียกกันว่า กั้งกระดาน. |
กระดี่ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ [ T. trichopterus (Pallas) ] ข้างตัวมีลายหลายเส้นพาดขวาง มีจุดดำที่กลางลำตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง [ T. microlepis (Günther) ] สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้าหรือกระดี่มุก [ T. leeri (Bleeker) ] พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด. |
กระทิง ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่นํ้าลำคลองและที่ลุ่ม ที่พบทั่วไปในประเทศไทย เช่น ชนิด M. armatus (Lacepéde), M. favus Hora, และกระทิงไฟ ( M. erythrotaeniaBleeker) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร. |
กระทุงเหว | น. ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิด ในวงศ์ Belonidae และ Hemiramphidae ลำตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemiramphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongyluraและ Zenarchopterusชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง [ Ablennes hians (Valenciennes) ] ซึ่งมีชุกชุมที่สุด บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง [ Xenentodon cancila (Hamilton) ] ขนาดยาวได้ถึง ๑.๒๕ เมตร, เข็ม ก็เรียก. |
กระบอก ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยและปลาทะเลหลายชนิด ในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ [ L. vaigiensi (Qnoy & Gaimard) ] กระบอกดำ [ L. parsia (Hamilton-Buchanan) ] กระบอกขาว [ V. seheli (Forsskål) ], กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สำหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก หมก หรือ มก. |
กระมัง ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntioplites proctozysron (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นใหญ่แข็งและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลำตัวเป็นสีขาว ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เหลี่ยม ก็เรียก. |
กระสง | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa lucius (Cuvier) ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและแอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลำตัวข้างละ ๗-๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร. |
กระสูบ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ลำตัวเพรียวกว่า ชนิดแรกคือ กระสูบขาว [ Hampala macrolepidota (van Hasselt) ] มักมีลายดำพาดขวางที่บริเวณลำตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดง ขอบบนและล่างสีดำ ยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด ( H. disparSmith) ลำตัวมีจุดดำอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่าและไม่มีแถบสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก. |
กระแห, กระแหทอง | น. ปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด Barbonymus schwanefeldi (Bleeker) หรือ Puntius schwanefeldi (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวสั้นกว้างคล้ายปลาตะเพียนขาว มักมีสีแดงอ่อนบนครีบ เฉพาะส่วนปลายของครีบหลังและขอบทั้งบนและล่างของครีบหางมีสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ตะเพียนหางแดง หรือ เลียนไฟ ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ลำปำ. |
กระโห้ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Catlocarpio siamensis Boulenger ในวงศ์ Cyprinidae หัวโตมากโดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก เกล็ดใหญ่ ลำตัวด้านหลังสีเทาดำ หางและครีบสีแดงคลํ้าหรือส้ม พบในแม่นํ้าใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร จัดเป็นปลานํ้าจืดในกลุ่มปลาตะเพียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก, กระมัน หรือ หัวมัน ก็เรียก. |
กราย ๑ | (กฺราย) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Chitata ornata (Gray) วงศ์ Notopteridae หัวและลำตัวแบนข้างมาก สันหัวแอ่นลง ท้องเป็นสันคม ครีบท้องเล็กมาก ครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบมน บริเวณเหนือครีบก้นมีจุดสีดำ ๕-๑๐ จุดเรียงเป็นแถวตามยาว ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, ตองกราย หรือ หางแพน ก็เรียก. |
กริม | (กฺริม) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กในสกุล Trichopsis วงศ์ Anabantidae หรือ Belontiidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลากัดซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและสีไม่สดสวย มักมีแถบสีเข้มพาดตลอดข้างตัว ๒-๓ แถบ ขนาดยาวได้ถึง ๗ เซนติเมตร ที่พบมากได้แก่ กริมข้างลาย [ T. vittatus (Cavier) ], กัดป่า ก็เรียก. |
กะตัก | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus วงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่างครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลมขนาดเล็กมาก ๒-๗ อัน ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ชินชัง ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างขนาด ชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ ขนาดยาวได้ถึง ๑๔ เซนติเมตร. |
กะพง ๑ | น. ชื่อปลาหลายชนิดในหลายวงศ์ที่มีก้านครีบเป็นกระดูกแข็ง ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร ลำตัวหนา แบนข้างเล็กน้อย หัวโตลาดลงมาจากด้านหลัง ตาค่อนข้างโต ปากกว้าง เช่น กะพงแดง ( Lutjanus malabaricusSchneider) ในวงศ์ Lutjanidae, กะพงขาว [ Lates calcarifer (Bloch) ] ในวงศ์ Centropomidae, กะพงลาย [ Datnioides quadrifasciatus (Sevastianov) ] ในวงศ์ Lobotidae. |
กัด ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Betta splendens Regan ในวงศ์ Osphronemidae ขนาดยาวได้ถึง ๖.๕ เซนติเมตร ทำรังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย มีสีสวยงาม สามารถกางครีบและแผ่นปิดเหงือก เปล่งสีลำตัวให้เข้มขึ้น ในขณะต่อสู้มักกัดกัน จึงเรียกว่า ปลากัด. |
กา ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Morulius chrysophekadion (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากงุ้มตํ่า ตาเล็ก ตลอดทั้งหัว ตัว และครีบมีสีม่วงเข้มถึงดำทึบ ครีบหลังเป็นแผนใหญ่ เฉพาะเกล็ดมีจุดสีเหลืองประปราย ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร, เพี้ย ก็เรียก. |
ก้าง ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa orientalis (Schneider) ในวงศ์ Channidae คล้ายปลาช่อนซึ่งเป็นปลาสกุลเดียวกัน แต่ตัวเล็กกว่า เว้นแต่ปลาก้างนั้นเกล็ดข้างตัวมีราว ๔๑-๔๕ เกล็ด ขอบครีบต่าง ๆ เป็นสีส้ม มักพบหลบอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นที่มีใบไม้จมอยู่ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, ขี้ก้าง ก็เรียก. |
ก้างพระร่วง | น. ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดจำพวกเดียวกับปลาเนื้ออ่อน ชนิด Kryptopterus bicirrhis (Valenciennes) ในวงศ์ Siluridae ลำตัวยาวแบนข้างมาก ปากเล็กเชิดขึ้น เนื้อมีลักษณะใสจนมองทะลุลำตัวเห็นแถวกระดูกและอวัยวะภายในต่าง ๆ ขนาดยาวไม่เกิน ๑๒ เซนติเมตร, กระจก ก็เรียก. |
การ์ตูน ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Amphiprion วงศ์ Pomacentridae ลำตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดำคลํ้า มักมีแถบสีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลำตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิดหรือขนาดบ้างมีสีส้ม พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประเภทหนึ่งในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ขนาดยาวได้ถึง ๑๖ เซนติเมตร. |
กุ้งฝอย | น. ชื่อกุ้งตัวเล็ก ๆ ขนาดยาวไม่เกิน ๔ เซนติเมตร มีหลายชนิด พบในน้ำจืด ที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ ชนิด Macrobrachium lanchesteri (De Man) ในวงศ์ Palaemonidae และหลายชนิดในสกุล Caridina วงศ์ Atyidae. |
กุเรา | น. ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ ในสกุล Eleutheronemaและในสกุล Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลำตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum (Shaw), P. sextarius Bloch & Schneider ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เซนติเมตร, กุเลา ก็เรียก. |
กุลาดำ | น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus monodon Fabricius ในวงศ์ Penaeidae ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ตัวแบนข้าง สีเขียวอมน้ำตาล มีแถบสีดำและสีจางพาดขวางเป็นลายตลอดลำตัว. |
กุแล | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลำตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องบางคล้ายคมมีด เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีนํ้าเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคลํ้า ๑ จุด ครีบหลังและครีบหางสีดำคลํ้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึงชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกันเป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนน้อยและสั้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก |
เก๋า ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด Epinephelus merra Bloch, E. sexfasiatus (Valenciennes), Cephalopholis boenak (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด Promicrops lanceolatus (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด P. l. (Bloch) . |
แก้ว ๔ | น. ชื่อปลาทะเลพวกปลาจวดชนิด Otolithoides biauritus (Cantor) ในวงศ์ Sciaenidae ลำตัวยาวเรียว ปากเล็ก ทู่ ฟันเล็ก ครีบหางแหลม ก้านครีบก้นมีขนาดเล็ก เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวขยายใหญ่และนูนเป็นสัน ลำตัวสีเทา ใกล้สันท้องมีสีเงินคล้ายปลาจวดชนิดอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, จวดลาก ก็เรียก. |
ขนาด ๑ | (ขะหฺนาด) น. ลักษณะของรูปที่กำหนดสังเกตได้ว่าใหญ่ เล็ก สั้น ยาว หนัก หรือ เบา เท่านั้นเท่านี้ เช่น ขนาดใหญ่ ขนาดยาว ขนาด ๒ x ๑ เมตร |
ขลุ่ยอู้ | น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่ง มีขนาดยาวและใหญ่กว่าขลุ่ยเพียงออ มีเสียงต่ำ ใช้เฉพาะในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์. |
ข้างเงิน | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Allanetta และ Stenatherina วงศ์ Atherinidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก. |
ข้างลาย ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Terapon และ Pelates วงศ์ Teraponidae มีเส้นดำข้างลำตัวข้างละ ๔-๖ เส้น แล้วแต่ชนิด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณน้ำกร่อย ขนาดยาวได้ถึง ๓๓ เซนติเมตร เช่น ชนิด T. jarbua (Forsskål), P. quadrilineatus (Bleeker), ออดแอด หรือ ครืดคราด ก็เรียก. |
ขานกยาง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides tol (Cuvier) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้าง เรียวเล็กกว่าปลาสละและปลาเฉียบ แต่พอ ๆ กับปลาสีเสียด ซึ่งทั้งหมดอยู่ในสกุลเดียวกัน ปากไม่กว้างนัก ท้ายขากรรไกรบนอยู่ในแนวใต้จุดศูนย์กลางของตา เกล็ดเล็กและยาวมากคล้ายเข็มฝังแน่นในหนัง เส้นข้างตัวไม่มีเกล็ดที่เป็นสันแข็ง ครีบหลังตอนแรกเป็นหนามแข็ง ๖-๗ ก้าน เรียงห่างกัน มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน อยู่หน้าครีบก้นและพับซ่อนในร่องเนื้อได้ ลำตัวสีเงินเทา มีจุดสีเทาดำอยู่ในแนวเส้นข้างตัว ๕-๘ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๔๓ เซนติเมตร. |
ข้าหลวง ๓ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด Scolopsis ciliatus (Lacepéde) ในวงศ์ Nemipteridae ลำตัวป้อม แบนข้างปานกลาง พื้นลำตัวสีเขียวหม่น มีแถบสีขาวเด่นพาดตามยาวใกล้แนวสันหลังข้างละเส้น ระหว่างตาและแผ่นกระดูกใต้ตามีหนามแหลม ๑ อัน ชี้ไปทางด้านหน้า ขอบด้านนอกของขากรรไกรบนจักเป็นฟันเลื่อย พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๑๓ เซนติเมตร. |
ขี้ควาย | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Trachicephalus uranoscopus (Bloch & Schneider) ในวงศ์ Scorpaenidae ตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวสั้น ปากกว้างเชิดขึ้น ลำตัวมีรอยด่างสีนํ้าตาล มักมีจุดขาวประปราย ขอบครีบเป็นสีดำคลํ้า เงี่ยงมีพิษ ซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินหรือหมกตัวอยู่ตามพื้นท้องทะเล ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร, ขี้ขุย ก็เรียก. |
ขี้ยอก | น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Mystacoleucusวงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลังออกไปข้างหน้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด Mystacoleucus marginatus (Valenciennes), M. atridorsalis Fowler, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขตแม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า. |
เข็ม ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Dermogenys pusillus van Hasselt ในวงศ์ Hemiramphidae ปากล่างยื่นยาวแหลม ลำตัวกลมเรียวยาวคล้ายเข็ม ขอบหางกลม ขนาดยาวได้ถึง ๘ เซนติเมตร ออกลูกเป็นตัว พบว่ายตามผิวนํ้าในแหล่งนํ้านิ่งทั่วไป. |
เขียวพระอินทร์ ๑ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Thalassoma lunare (Linn.) ในวงศ์ Labridae ลำตัวยาวรี แบนข้าง สีเขียว และมีริ้วสีนํ้าเงินพาดขวางตลอดตัว ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร บริเวณหัวมีแถบ ลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างสีแดง พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง เมื่อขนาดยังเล็กมีพื้นสีนํ้าตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคนครีบหางมีจุดใหญ่สีดำ. |
แข้งไก่ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla (Linn.) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เรียวลู่ไปทางคอดหางซึ่งแคบมากและเป็นเหลี่ยมแข็งคล้ายแข้งไก่ หน้าครีบก้นมีกระดูกเป็นหนามแข็ง ๒ อัน พับซ่อนในร่องเนื้อได้ ตาโตมีหนังตาไขมัน ปากกว้าง ครีบอกยาวใหญ่เป็นรูปเคียว ครีบหางเป็นแฉกกว้าง ท้ายครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ๗-๑๐ ครีบ เรียงห่างกัน เกล็ดเล็กแต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายใหญ่มาก ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีเขียวอมเทา ด้านท้องมีสีขาวเงิน ขอบแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, ขาไก่ อีลอง อีโลง หรือ หางแข็ง ก็เรียก. |
ไขรา | น. ส่วนของหลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทย เฉพาะตอนที่ยื่นพ้นผนังอาคารออกไปยังขอบหลังคา, ถ้าส่วนที่ยื่นนั้นอยู่ตรงหน้าจั่ว เรียก ไขราหน้าจั่ว, ถ้าอยู่ปลายหน้าบัน เรียก ไขราหน้าบัน, ถ้าเป็นหลังคาปีกนก เรียก ไขราปีกนก, ถ้าเป็นหลังคาบังสาดตามขนาดยาวของเต้า เรียก ไขราจันทันเต้า หรือ ไขราเต้า. |
คางคก ๒ | น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิด Batrachoides grunniers (Bloch) และ Batrachomoeus trispinosus (Günther) ในวงศ์ Batrachoididae ปากกว้าง หัวทู่แบนลง ลำตัวกลมยาว มีสีนํ้าตาลเป็นด่างดวงทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ครีบท้องอยู่เยื้องไปข้างหน้าครีบอก หางกลม เฉพาะชนิดแรกมีรูที่มุมบนด้านในของครีบอก อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล, กบ บู่ทะเล ผีหลอก หรือ อุบ ก็เรียก. |
เคย ๑, เคอย | (เคย) น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ใน ๒ วงศ์ ได้แก่ วงศ์ Mysidae เช่น เคยตาดำ [ Mesopodopsis orientalis (Tattersall) ] อันดับ Mysidacea และวงศ์ Sergestidae เช่น เคยตาแดง (Acetes erythraeus Nobill ) อันดับ Decapoda ขนาดยาวไม่เกิน ๓.๔ เซนติเมตร มีหนวด ๒ แฉก ลำตัวแบนข้าง เปลือกบาง ใส เนื้อยุ่ย เหมาะสำหรับใช้หมักเกลือทำกะปิและน้ำเคย. |
แคน | น. เครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เสียงคล้ายออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ นิยมเล่นในทุกจังหวัดของภาคอีสานตอนเหนือ ทำด้วยไม้ซาง เรียกว่า ไม้กู่แคนหรือไม้เฮี้ย มีขนาดยาวลดหลั่นกัน เรียงติดเป็นตับในเต้าแคนที่ทำด้วยไม้ ลิ้นแคนทำด้วยโลหะเงินหรือทองเหลือง ทำเสียงสูง-ต่ำ ด้วยการเปิดปิดนิ้วที่รูเล็ก ๆ ซึ่งเจาะไว้ข้างกู่แคน กู่แคนติดแน่นกับเต้าแคนด้วยขี้สูดหรือชันโรง มีหลายขนาด ตั้งแต่ ๓ คู่ จนถึง ๙ คู่ ที่นิยมที่สุดคือคู่ ๘ ใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิงทั่วไปและประกอบหมอลำหรือวงพิณ วงโปงลาง ในงานมงคล เป็นมหรสพประจำของชาวอีสาน. |
โคก ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Anodontostoma และ Nematalosa วงศ์ Clupeidae หัวเล็ก ปากเล็ก ลำตัวสั้น แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งที่มีพื้นท้องทะเลเป็นโคลน, ตะเพียนนํ้าเค็ม ก็เรียก. |
งา ๔ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris (Broussonet) ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือครีบก้น ลำตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงินอมเหลืองส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร. |
จิ้งเหลนด้วง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลนที่ไม่มีขาหรืออาจมีร่องรอยของขาคู่หลังเหลืออยู่เล็กน้อย ในวงศ์ Dibamidae และวงศ์ Scincidae ลำตัวเรียวยาว ขนาดยาวตั้งแต่ ๗-๒๕ เซนติเมตร เกล็ดลำตัวเรียบ อาศัยอยู่ใต้ผิวดินที่ร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายซึ่งมีซากผุพังของพืชปกคลุม, ในวงศ์ Dibamidae เฉพาะเพศผู้มีร่องรอยของขาคู่หลังเป็นแผ่นแบนให้เห็นเล็กน้อย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ จิ้งเหลนด้วงสีม่วง ( Dibamus alfrediTaylor) ซึ่งพบทางภาคใต้ และจิ้งเหลนด้วงสมศักดิ์ ( D. somsakiHonda, Nabhitabhata, Ota & Hikida) ซึ่งพบที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ส่วนในวงศ์ Scincidae ไม่มีขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด Isopachys anguinoides (Boulenger) พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชนิด I. roulei (Angel) พบที่จังหวัดชลบุรี, ชนิด I. gydenstolpeiLönnberg และ I. borealisLang & Bohme พบทางภาคตะวันตก ชนิด Davewakeum miriamaeHeyer พบที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. |
จุมพรวด | น. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gobiidae เช่น สกุล Boleophthalmus, Pseudapocryptes, Parapocryptes, Periophthalmus ทำรูอยู่ตามป่าชายเลน รูปร่างและพฤติกรรมในการเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ที่พบเสมอได้แก่ ชนิด B. boddarti (Pallas), กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก. |
ฉนาก | (ฉะหฺนาก) น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Anoxypristis และ Pristis วงศ์ Pristidae เป็นปลากระดูกอ่อนอยู่ในกลุ่มปลากระเบน ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร มีเหงือก ๕ คู่อยู่ใต้ส่วนหัว บริเวณปลายสุดของหัวมีแผ่นกระดูกยื่นยาวมาก ขอบทั้ง ๒ ข้างมีซี่กระดูกแข็งคล้ายฟันเลื่อยเรียงห่างกันอย่างสมํ่าเสมอข้างละ ๑ แถวโดยตลอด ชนิด A. Cuspidata Latham หรือ P. cuspidatus Latham มี ๑๖-๒๙ คู่, ชนิด P. microdon Latham มี ๑๔-๒๓ คู่. |
ฉลาม | (ฉะหฺลาม) น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลากระดูกอ่อน ขนาดยาวได้ถึง ๒๑.๔ เมตร ส่วนใหญ่มีช่องเหงือก ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยกสูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า ตะเกียบหรือเดือย บางชนิดเป็นปลาผิวนํ้า เช่น ฉลามหนู [ Scoliodon sorrakowah (Cuvier) หรือ S. laticaudus Müller & Henle ], ฉลามเสือ เสือทะเล พิมพา หรือ ตะเพียนทอง [ Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ] บางชนิดอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบหรือฉลามหิน [ Chiloscyllium plagiosum (Bennett) ] บางชนิดอยู่ในนํ้าลึกมาก เช่น ฉลามนํ้าลึก ( Squalus acanthiasLinn.) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ ( Rhincodon typus Smith) ชนิดที่หัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด Sphyrna leweni (Griffith & Smith). |
ฉลามเสือ | น. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด Galeocerdo cuvieri (Peron & Le Sueur) ในวงศ์ Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างลำตัวถึงปลายหาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโตขึ้น หางยาว ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง พิมพา หรือ เสือทะเล ก็เรียก. |
เฉลียบ ๑ | (ฉะเหฺลียบ) น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides tala (Cuvier) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้างและกว้างใกล้เคียงกับปลาสละ แต่มากกว่าปลาสีเสียดและปลาขานกยางซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ปากกว้าง ท้ายขากรรไกรบนยาวเลยแนวขอบหลังของตาเพียงเล็กน้อย เกล็ดเล็กยาวคล้ายเสี้ยนฝังแน่นในหนัง เส้นข้างตัวไม่มีเกล็ดที่เป็นสันแข็ง ครีบหลังตอนแรกมีก้านครีบแข็ง ๖-๗ ก้าน เรียงห่างกัน มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน อยู่หน้าครีบก้นและพับซ่อนในร่องเนื้อได้ ลำตัวด้านบนสีเงินเทา ด้านข้างสีเงิน มีแต้มรูปไข่ยาวรีเรียงขวางอยู่ในแนวเส้นข้างตัว ๔-๘ แต้ม ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร, เสลียบ ก็เรียก. |