171 ผลลัพธ์ สำหรับ *เคร่งครัด*
ภาษา
หรือค้นหา: เคร่งครัด, -เคร่งครัด-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
เคร่งครัด | (v) be strict, See also: be serious, be stiff, be rigorous, be stringent, be austere, Syn. เคร่ง, เข้มงวด, กวดขัน, เอาจริง, Example: วัดแต่ละวัดมีแนวทางในการปฏิบัติศาสนกิจแตกต่างกัน บางวัดเคร่งครัด บางวัดไม่เคร่งครัด, Thai Definition: ถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับโดยไม่ให้ขาดตกบกพร่อง |
เคร่งครัด | (adj) strict, See also: serious, stiff, rigorous, stringent, austere, Example: เราต้องมีมาตรการอันเคร่งครัดในการรักษาแหล่งน้ำทั้งใต้ดินและผิวดินให้สะอาด |
เคร่งครัด | (adv) strictly, See also: seriously, stiffly, rigorously, stringently, austerely, Example: นายทหารใหม่ทำงานเคร่งครัดเกินไปไม่ใช้วิธีผ่อนสั้นผ่อนยาวจึงกลายเป็นเข้ากับเพื่อนฝูงไม่ได้ |
ความเคร่งครัด | (n) strictness, See also: restrictiveness, Syn. ความเข้มงวด, ความเคร่ง, Ant. ความปล่อยปละละเลย, ความเพิกเฉย, Example: ในกรมแห่งนี้ยึดถือความเคร่งครัดของกฎระเบียบเป็นสำคัญ, Thai Definition: การถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับโดยไม่ให้ขาดตกบกพร่อง |
อย่างเคร่งครัด | (adv) strictly, See also: rigidly, conscientiously, Example: ทุกคนควรปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เคร่งครัด | (-คฺรัด) ก. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น อย่าเคร่งครัดนักเลย |
เคร่งครัด | แน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้งห่อผ้าห่มหวง (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า. |
เคร่งครัด | (-คฺรัด) ว. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด |
เคร่งครัด | ถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด |
เคร่งครัด | ใช้ว่า ครัดเคร่ง ก็มี. |
กลอนด้น | น. กลอนที่ว่าปากเปล่าโดยไม่เคร่งครัดตามหลักสัมผัส. |
เข้มงวด | ก. กวดขัน, เคร่งครัด. |
ครัดเคร่ง | (คฺรัดเคฺร่ง) ก. แน่น, ตึง, เช่น แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง เต้านมทั้งสองก็ครัดเคร่ง (ขุนช้างขุนแผน), เคร่งครัด ก็ว่า. |
โคตรภู | (โคดตฺระพู) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลำดับอริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนา มีขนบธรรมเนียมห่างจากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. |
เจ้าระเบียบ | ว. ที่ถือระเบียบอย่างเคร่งครัด, ระเบียบจัด. |
ด้น | ว่ากลอนปากเปล่าโดยไม่เคร่งครัดตามหลักสัมผัส เรียกว่า ด้นกลอน. |
ด้น | น. เรียกกลอนที่ว่าปากเปล่าโดยไม่เคร่งครัดตามหลักสัมผัส ว่า กลอนด้น |
ด้นกลอน | ก. ว่ากลอนปากเปล่าโดยไม่เคร่งครัดตามหลักสัมผัส. |
ธรรมะธัมโม | ว. เรียกคนที่เคร่งครัดในศาสนา ว่า คนธรรมะธัมโม. |
ธุดงค-, ธุดงค์ | น. องค์ประกอบเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุซึ่งเป็นเครื่องกำจัดกิเลส มี ๑๓ อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้. |
บังคับ | ทำให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์การใช้ภาษา เช่น บังคับให้ใช้เครื่องหมายอัญประกาศเมื่ออ้างถึงคำพูดของผู้อื่น ภาษาไทยไม่บังคับการใช้เครื่องหมายมหัพภาคเคร่งครัดนัก |
ปโยธรา | น. “สิ่งที่ทรงไว้ซึ่งนํ้านม” คือ ถัน เช่น หนึ่งถันปโยธราเต็มเคร่งครัด เพราะเจ้าพลัดอดนม (ม. คำหลวง มัทรี), ปโยธร ก็ว่า. |
ย่อหย่อน | ว. ไม่เคร่งครัด เช่น ระเบียบวินัยย่อหย่อน, ลดน้อยถอยลง เช่น กำลังย่อหย่อน. |
ระเบียบจัด | ว. เจ้าระเบียบ, ที่ถือระเบียบอย่างเคร่งครัด. |
สิกขากาม- | (-กามะ-) ว. ผู้ใคร่ต่อการศึกษา, ผู้นับถือข้อบัญญัติโดยเคร่งครัด, สิกขกาม ก็ว่า เช่น สิกขกามบุคคล หมายถึง บุคคลที่ใคร่ต่อการศึกษา. |
เฮี้ยบ | ก. เข้มงวดกวดขัน, เคร่งครัด, เจ้าระเบียบ. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
rigorous proof | การพิสูจน์อย่างเคร่งครัด [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
strict construction | การตีความอย่างเคร่งครัด [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
strict construction | การตีความโดยเคร่งครัด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Commonwealth of Nations | การรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Nuclear Test Ban | หมายถึง สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้มีผลบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1963 ประเทศที่ลงนามเริ่มแรกในสนธิสัญญาได้แก่ อังกฤษ สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา รวมสามประเทศจุดมุ่งหมายสำคัญของสนธิสัญญาคือ รัฐบาลของประเทศทั้งสาม ต้องการให้มีการทำความตกลงกันเป็นผลสำเร็จเกี่ยวกับการลดอาวุธ หรือปลดกำลังอาวุธทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ตามความมุ่งประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติหรือเลิกการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และกำจัดมิให้มีเหตุจูงใจที่จะผลิตและทดสอบอาวุธไม่ว่าชนิดใดทั้งหมด รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ ยังเสาะแสวงหาที่จะให้หยุดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ไปตลอดชั่วกาลนานสนธิ สัญญานี้มีข้อความอยู่ 5 มาตรา และไม่จำกัดอายุเวลา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ ทั้งหลายเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีได้ ในทางตรงกันข้าม ประเทศภาคีก็มีสิทธิใช้อธิปไตยแห่งชาติได้เพื่อถอนตัวจากสนธิสัญญา ถ้าหากประเทศนั้น ๆ เห็นว่า ประโยชน์อันสูงสุดของประเทศตนต้องตกอยู่ในอันตราย และแจ้งล่วงหน้าสามเดือนให้ประเทศภาคีอื่น ๆ ทั้งหมดทราบการตกลงใจนั้น [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Wives of Diplomats | ภรรยาของนักการทูต ในประเทศที่มีกษัตริย์ และเอกอัครราชทูตจัดถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อกษัตริย์หรือราชินีในฐานะ ประมุขของรัฐนั้น มักจะให้ภรรยาเข้าเฝ้าด้วยต่างหาก แต่การเข้าเฝ้านั้นจะมีพิธีรีตองน้อยกว่าของเอกอัครราชทูตในอดีตกาล ภรรยาของเอกอัครราชทูตมักจะไม่ได้รับการพิจารณารับรองและยกย่องเหมือนกับที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น ที่กรุงเวนิส ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1268 ไม่อนุญาตให้ภรรยาของเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย ไม่ว่าจะไปประจำแห่งไหน เพราะเกรงว่าภรรยาอาจจะปากโป้งเกี่ยวกับการงานของสามี แต่กฎหมายได้กำหนดให้เอกอัครราชทูตนำพ่อครัวของตนเองติดตามไปด้วย เพื่อกันมิให้เอกอัครราชทูตต้องถูกวางยาพิษในอาหารที่รับประทานกล่าวโดยทั่ว ไปแล้ว ทุกวันนี้ภรรยาของเอกอัครราชทูตได้อุปโภคเอกสิทธิ เกียรติ ลำดับอาวุโส และความคุ้มกันต่าง ๆ เหมือนกับสามี ถึงแม้ในบางกรณีเอกอัครราชทูตกับภรรยาอาจแยกกันอยู่ก็ตาม ภรรยาของเอกอัครราชทูตที่เพิ่งยื่นสารตราตั้ง มักจะหาโอกาสไปเยี่ยมคารวะภรรยาของเอกอัครราชทูตอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าในทุกวันนี้ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่เคร่งครัดเหมือนกับสมัย ก่อน อนึ่ง ในบางประเทศได้มีระเบียบข้อบังคับ ห้ามมิให้ผู้แทนทางการทูตและทางการกงสุลที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ แต่งงานกับคนต่างชาติโดยมิได้รับอนุมัติจากรัฐบาลของตนก่อน [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
เคร่งครัด | [khrengkhrat] (adj) EN: strict ; serious ; stiff ; rigorous ; stringent ; austere FR: strict ; exigeant ; rigoureux ; austère |
เคร่งครัดในวินัย | [khrengkhrat nai winai] (v, exp) EN: be strict in discipline ; enforce rigid discipline |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
ascetic | (adj) เกี่ยวกับการบำเพ็ญตนอย่างเคร่งครัด, Syn. self-denying |
ascetic | (adj) เข้มงวด, See also: เคร่งครัด, Syn. severe |
austere | (adj) เคร่งครัด, See also: เคร่งครัด, เคร่ง, เข้มงวด, Syn. severe |
austerity | (n) ความเคร่งครัด, Syn. strictness, sternness, severity |
blue | (adj) เคร่งครัด, See also: เคร่ง |
disciplinarian | (n) ผู้ยึดถือระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด, See also: ผู้เคร่งครัด, Syn. martinet |
disciplinary | (adj) ซึ่งยึดถือระเบียบวินัย, See also: ซึ่งเคร่งครัดในกฎระเบียบ |
hard-and-fast rule | (idm) กฎระเบียบที่เคร่งครัด |
holier-than-thou | (idm) เคร่งครัดเกินไป |
ironhanded | (adj) เคร่งครัด, See also: เด็ดขาด, เข้มงวด |
let up on | (phrv) เข้มงวดกับ, See also: กวดขันกับ, เคร่งครัดกับ |
loosely | (adv) ไม่เคร่งครัด, See also: ไม่เข้มงวด |
martinet | (n) นายทหารผู้เคร่งครัด, Syn. perfectionist |
martinet | (n) ผู้เคร่งครัดในระเบียบวินัย, Syn. disciplinarian, moralist |
pious | (adj) เคร่งครัดในทางศาสนา, See also: มีศรัทธาต่อศาสนาอย่างแรงกล้า, Syn. devout, religious, reverent, Ant. impious, irreligious, profane |
prude | (n) คนเคร่งครัดเกินไป, Syn. prig, puritan, old maid |
prudery | (n) ความเคร่งครัดเกินไป, Syn. priggishness, strictness |
prudish | (adj) ซึ่งเคร่งครัด, See also: ซึ่งเจ้าระเบียบเกินไป, Syn. precise, prissy, priggish |
prudishness | (n) ความเคร่งครัดเกินไป, Syn. priggishness, puritanism |
puritan | (n) ผู้เคร่งครัดในหลักศีลธรรมจรรยา |
regiment | (vt) บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด, Syn. discipline, subjugate |
regimented | (adj) ซึ่งจัดเป็นหมวดหมู่, See also: ซึ่งมีระเบียบวินัยเคร่งครัด, Syn. disciplined, controlled |
rigor | (n) ความเข้มงวด, See also: ความเคร่งครัด, Syn. inflexibily, stiffness |
rigorous | (adj) อย่างเข้มงวด, See also: อย่างเคร่งครัด, Syn. harsh, strict |
rigor | (n) ความเข้มงวด, See also: ความเคร่งครัด, Syn. inflexibily, stiffness |
scrupulous | (adj) ละเอียดรอบคอบ, See also: เคร่งครัด, Syn. strict, punctilious |
serious | (adj) เคร่งขรึม, See also: เคร่งครัด, จริงจัง, เอาจริงเอาจัง, ซีเรียส, Syn. solemn, earnest |
severe | (adj) รุนแรง, See also: ดุเดือด, เคร่งครัด, เอาจริงเอาจัง, เข้มงวด, กวดขัน, Syn. cruel, oppressive, resolute, rigid, earnest |
soft | (adj) ผ่อนปรน, See also: ยืดหยุ่นได้, ไม่เคร่งครัด, Syn. affectionate, considerate |
sticker | (n) ผู้เคร่งครัด |
strait | (adj) เคร่งครัด, See also: เข้มงวด, Syn. rigid, strict |
strict | (adj) เข้มงวด, See also: กวดขัน, เคร่งครัด, Syn. severe, stern, stringent |
strictly | (adv) อย่างเคร่งครัด, See also: อย่างเข้มงวด, Syn. severely, sternly |
stringent | (adj) เข้มงวด, See also: กวดขัน, เคร่งครัด, Syn. restrictive, rigorous, strict, severe |
third degree | (n) การใช้วิธีสอบสวนอย่างขู่เข็ญหรือเคร่งครัด |
Wahabi | (n) ผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายหนึ่งอย่างเคร่งครัด, Syn. Wahhabi |
Wahhabi | (n) ผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายหนึ่งอย่างเคร่งครัด, Syn. Wahabi |
Wahhabism | (n) การนับถือศาสนาอิสลามนิกายหนึ่งอย่างเคร่งครัด |
Hope Dictionary
blue nose | (บลู'โนส) n. ผุ้เคร่งครัดในหลักคือธรรม |
children of god | n. คริสต์ศาสนานิกายหนึ่งที่เคร่งครัดมีระเบียบวินัยมากและอยู่กันเป็นชุมชน |
churchism | (เชิร์ช'อิสซึม) n. ความเคร่งครัดในพิธีศาสนา |
first generation computer | คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือนี้ติดต่อกันมาตลอด ทำให้มีการแบ่งวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ออกเป็นยุค (generation) พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ยุคแรกถือว่าเริ่มตั้งแต่ ค.ศ.1951 ถึงต้น ค.ศ.1960 คอมพิวเตอร์สมัยนั้นสามารถเก็บโปรแกรมได้ ใช้หลอดสุญญากาศเป็นหน่วยความจำ ทำให้มีขนาดใหญ่ กินเนื้อที่มาก ระหว่างทำงาน จะทำให้เกิดความร้อนสูงตลอดเวลา การทำงานจะทำได้ทีละอย่าง และจะเรียงกันไปตามลำดับคำสั่งอย่างเคร่งครัด ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมก็มีแต่ภาษาแอสเซมบลี (assembly language) ดู generation ประกอบ |
formality | (ฟอร์แมล'ลิที) n. ระเบียบ, ระเบียบแบบแผน, พิธีรีตอง, ความเคร่งครัดในระเบียบ, ความเข้มงวด, ธรรมเนียมปฏิบัติ, Syn. orthodoxy |
gi | abbr. government issue, ทหารที่กองทัพสหรัฐอเมริกา adj. เคร่งครัดต่อระเบียบวินัย |
informal | (อินฟอร์'เมิล) adj. ไม่มีพิธีรีตอง, ไม่เป็นทางการ, กันเอง, ไม่เคร่งครัด., See also: informally adv., Syn. unceremonious, Ant. formal |
informality | (อินฟอร์แมล'ลิที) n. การไม่มีพิธีรีตรอง, ความไม่เป็นทางการ, ความกันเอง, ความไม่เคร่งครัด, Syn. familliarity, laxity, ease |
martian | (มาร์'เชิน) n., adj. เกี่ยวกับดาวอังคาร, ชาวดาวอังคาร n. ผู้เคร่งครัดในกฎเกณฑ์หรือวินัย |
martinet | (มาร์'ทิเนท) n. ผู้เคร่งครัดในระเบียบวินัย, See also: martinetish, adj. martinetism n., Syn. disciplinarian |
observant | (อับเซอ'เวินทฺ) adj. ระวัง, เอาใจใส่เคร่งครัด, ตาไว, คอยดู, ช่างสังเกต, ซึ่งรักษาวินัย, ซึ่งปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบหรือหน้าที่.n. ผู้ปฏิบัติตาม, ผู้รักษาวินัย, Syn. attentive |
pharisee | (แฟ'ริซี) n. ผู้ที่มีปากกับใจไม่ตรงกัน, เจ้าระเบียบ, พวกมือถือสากปากถือศีล, สมาชิกยิวโบราณที่เคร่งครัดในวินัยศาสนาแต่รูปแบบภายนอก, ผู้ที่หลอกลวง, สุภาพบุรุษจอมปลอม, See also: phariseeism n. |
piety | (ไพ'อิที) n. ความเคร่งครัดในทางศาสนา, ความเลื่อมใสบูชา, ความมีศรัทธาอันแก่กล้า, คำพูดความเชื่อหรือพฤติการณ์ที่มีศรัทธาอันแก่กล้า |
pious | (ไพ'เอิส) เคร่งครัดในศาสนา, มีศรัทธามาก, นับถือพระ, แสดงความเคารพนับถือ, See also: piousness n., Syn. devout, religious |
proper | (พรอพ'เพอะ) adj. เหมาะสม, เหมาะ, สมควร, ถูกต้อง, ถูกกาลเทศะ, ถูกมารยาท, เกี่ยวกับบุคคลใดหรือสิ่งใดโดยเฉพาะ, อันแท้จริง, ดั้งเดิม, กับตา, โดยตัวของมันเอง, เคร่งครัด, สมบูรณ์, เต็มที่, ดี. n. พิธีการ, มารยาท, ความประพฤติ, Syn. fit, suitable |
puritan | (เพียว'ริเทิน) n. สมาชิกโปรเตสแตนต์นิกายหนึ่งยืดถือหลักความเคร่งครัดในศาสนา. adj. เกี่ยวกับบุคคลดังกล่าว, See also: Puritanism n. - puritan n. ผู้เคร่งครัดในหลักศีลธรรมจรรยา., Syn. pride |
puritanic | (เพียวริแทน'นิเคิล) adj. เคร่งครัดมากในหลักศีลธรรมจรรยา, เคร่งครัดในศาสนามาก, เคร่งครัดมากเกินไป, เจ้าระเบียบเกินไป, เกี่ยวกับPuritanหรือPuritanism, See also: puritanically adv. puritanicalness n. |
puritanical | (เพียวริแทน'นิเคิล) adj. เคร่งครัดมากในหลักศีลธรรมจรรยา, เคร่งครัดในศาสนามาก, เคร่งครัดมากเกินไป, เจ้าระเบียบเกินไป, เกี่ยวกับPuritanหรือPuritanism, See also: puritanically adv. puritanicalness n. |
regime | ?gime (ระจีม') n. ระบบการปกครอง, ระบบสังคม, กฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด, Syn. system of rule |
regimen | (เรจ'จะเมน) n. กฎเกณฑ์, หลัก, กฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการกิน การออกกำลังกายหรือกิจกรรมอื่น ๆ , การปกครอง, ระบบการเมือง, รัฐบาล, Syn. rule, government |
regiment | (เรจ'จะเมินทฺ) n. กรมทหาร, กองทหาร, รัฐบาล vt. จัดเป็นกรมหรือกองทหาร, บริหารอย่างเคร่งครัดโดยไม่เลือกหน้า, See also: regimentation n. |
religion | (รีลิจ'เจิน) n. ศาสนา, ลัทธิ, ความเลื่อมใสในศาสนา, เรื่องศาสนา, กลุ่มนักบวช, ความเลื่อมใส, ชีวิตในศาสนา, ธรรมะ, หลักธรรม, See also: religions n. พิธีศาสนา, ความเคร่งครัดในศาสนา |
rgime | (ระจีม') n. ระบบการปกครอง, ระบบสังคม, กฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด, Syn. system of rule |
severe | (ซีเวียร์') adj. รุนแรง, เข้มงวด, กวดขัน, เคร่ง, เคร่งขรึม, เคร่งครัด, เอาจริงเอาจัง, เหน็บแนม, เสียดสี, หนาวจัด, ร้ายแรง, สาหัส, ดุเดือด, ยากลำบาก, แม่นยำ., See also: severely adv. severeness n., Syn. cruel, harsh |
stark | (สทาร์ค) adj., adv. ตายตัว, โทนโท, สิ้นเชิง, เคร่งครัด, เต็มตัว, ที่สุด, แข็ง, แข็งทื่อ, แข็ง (ตาย), See also: starkly adv. starkness n., Syn. bleak |
stern | (สเทิร์น) adj. เข้มงวด, กวดขัน, พิถีพิถัน, เคร่งครัด, รุนแรง, ไม่ผ่อนผัน, บูดบึ้ง n. ส่วนหลังของเรือ, ท้ายเรือ, ส่วนหลัง, ส่วนท้าย, บั้นท้าย, ตะโพก, ก้น, หาง, See also: sternly adv. sternness n., Syn. austere, severe |
strait | (สเทรท) n. ช่องแคบ, ทางผ่านที่แคบ, ที่คับแคบ, สภาพที่ลำบาก, ความเคร่งเครียด, ภาวะจนตรอก, ความคับแค้น. adj. แคบ, คับ-แค้น, เคร่งครัดในระเบียบ., See also: straitness n. |
straiten | (สเทรท'เทิน) vt. ทำให้ลำบาก, ทำให้เคร่งเครียด, จำกัด, ทำให้คับแคบ, เคร่งครัดในระเบียบ, Syn. restrict |
strict | (สทริคทฺ) adj. เข้มงวด, เคร่งครัด, กวดขัน, แม่นยำ, แน่นอน, สมบูรณ์, ถ้วนทั่ว, ถูกต้อง, รอบคอบ., See also: strictness n., Syn. close, exacting, stern |
taut | (ทอท) adj. ตึง, พันแน่น, เกร็ง, ตึงเครียด, เข้มงวด, เคร่งครัด, เรียบร้อย, เป็นระเบียบเรียบร้อย., See also: tautly adv. tautness n., Syn. tense |
third-degree | vt. ทำให้อยู่ในอันดับสาม, ใช้วิธีสอบสวนอย่างขู่เข็ญหรือเคร่งครัด |
true | (ทรู) adj., n., adv. (ความ) จริง, แท้จริง, ไม่ปลอม, มีศรัทธา, แน่นอน, เป็นแบบอย่าง, เชื่อถือได้, เคร่งครัด, ถูกต้อง, come true เป็นความจริง. the true สิ่งที่เป็นความจริง, Syn. factual, real |
Nontri Dictionary
austere | (adj) เข้มงวด, เคร่งครัด, กวดขัน |
austerely | (adv) อย่างเข้มงวด, อย่างเคร่งครัด, อย่างกวดขัน |
informality | (n) ความไม่มีพิธี, ความเป็นกันเอง, ความไม่เคร่งครัด |
martinet | (n) ผู้เคร่งครัดในวินัย |
severe | (adj) รุนแรง, สาหัส, เคร่งครัด, กวดขัน, เอาจริงเอาจัง, เข้มงวด |
severity | (n) ความเคร่งครัด, ความเข้มงวด, ความรุนแรง |
strait | (adj) เคร่งครัด, แคบ, เคร่งเครียด, คับแค้น |
strict | (adj) กวดขัน, เข้มงวด, เคร่งครัด, ถูกต้อง, สมบูรณ์ |
strictness | (n) ความกวดขัน, ความเข้มงวด, ความเคร่งครัด |
stringency | (n) ความเคร่งครัด, ความเข้มงวด, ความกวดขัน, ความฉุกละหุก |
stringent | (adj) กวดขัน, เข้มงวด, เคร่งครัด, รีบด่วน, ฉุกละหุก |
taut | (adj) เรียบร้อย, เคร่งครัด, ตึงเครียด, เข้มงวด |
true | (adj) จริง, ซื่อสัตย์, ตรง, แท้, ถูกต้อง, เคร่งครัด |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
*dress code* | [ดฺ แร็ดสฺ โขดฺ - เน้นเสียงที่คำแรก] dress code คือ กฎระเบียบการแต่งกายตามจารึตประเพณีนิมยมของสังคมหนึ่งๆ เช่น การใส่ชุดฟอร์มนักเรียนนักศึกษาไทย ชุดข้าราชการไทย การแต่งกายเวลาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ไทย การแต่งกายไปร่วมพระราชพิธีต่างๆ การแต่งกายแบบสากลนิยมตามงานราตรีสโมสร หรือตามที่เจ้าภาพได้กำหนดไว้ เป็นต้น ตัวอย่าง 1. To attend a gala dinner at the Oriental Hotel, the dress code is strict - black tie only. การไปรับประทานอาหารเย็นที่โรงแรมโอแรนเต็ลนั้น กฎระเบียบการแต่งตัวนั้นเข้มงวดมาก คือ ต้องชุดราตรีสโมสรเท่านั้น 2. Thai students have a very strict dress code when they go to school. นักเรียนไทยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการแต่งกายตอนไปเรียนอย่างเคร่งครัด |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
公式 | [こうしき, koushiki, koushiki , koushiki] (n, adj) สูตร, กฎ, เกณฑ์, หลัก, มาตรฐาน, รูปแบบ, แผ่น, ตำรับ, ตำรา , ข้าราชการ, เจ้าพนักงาน adj. เป็นทางการ, ระเบียบ, ระเบียบแบบแผน, พิธีรีตอง, ความเคร่งครัดในระเบียบ, ความเข้มงวด, ธรรมเนียมปฏิบัติ |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0268 seconds, cache age: 1.376 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม