ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*เคร่งครัด*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: เคร่งครัด, -เคร่งครัด-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
เคร่งครัด(v) be strict, See also: be serious, be stiff, be rigorous, be stringent, be austere, Syn. เคร่ง, เข้มงวด, กวดขัน, เอาจริง, Example: วัดแต่ละวัดมีแนวทางในการปฏิบัติศาสนกิจแตกต่างกัน บางวัดเคร่งครัด บางวัดไม่เคร่งครัด, Thai Definition: ถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับโดยไม่ให้ขาดตกบกพร่อง
เคร่งครัด(adj) strict, See also: serious, stiff, rigorous, stringent, austere, Example: เราต้องมีมาตรการอันเคร่งครัดในการรักษาแหล่งน้ำทั้งใต้ดินและผิวดินให้สะอาด
เคร่งครัด(adv) strictly, See also: seriously, stiffly, rigorously, stringently, austerely, Example: นายทหารใหม่ทำงานเคร่งครัดเกินไปไม่ใช้วิธีผ่อนสั้นผ่อนยาวจึงกลายเป็นเข้ากับเพื่อนฝูงไม่ได้
ความเคร่งครัด(n) strictness, See also: restrictiveness, Syn. ความเข้มงวด, ความเคร่ง, Ant. ความปล่อยปละละเลย, ความเพิกเฉย, Example: ในกรมแห่งนี้ยึดถือความเคร่งครัดของกฎระเบียบเป็นสำคัญ, Thai Definition: การถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับโดยไม่ให้ขาดตกบกพร่อง
อย่างเคร่งครัด(adv) strictly, See also: rigidly, conscientiously, Example: ทุกคนควรปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
เคร่งครัด(-คฺรัด) ก. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น อย่าเคร่งครัดนักเลย
เคร่งครัดแน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้งห่อผ้าห่มหวง (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า.
เคร่งครัด(-คฺรัด) ว. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด
เคร่งครัดถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด
เคร่งครัดใช้ว่า ครัดเคร่ง ก็มี.
กลอนด้นน. กลอนที่ว่าปากเปล่าโดยไม่เคร่งครัดตามหลักสัมผัส.
เข้มงวดก. กวดขัน, เคร่งครัด.
ครัดเคร่ง(คฺรัดเคฺร่ง) ก. แน่น, ตึง, เช่น แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง เต้านมทั้งสองก็ครัดเคร่ง (ขุนช้างขุนแผน), เคร่งครัด ก็ว่า.
โคตรภู(โคดตฺระพู) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลำดับอริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนา มีขนบธรรมเนียมห่างจากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์.
เจ้าระเบียบว. ที่ถือระเบียบอย่างเคร่งครัด, ระเบียบจัด.
ด้นว่ากลอนปากเปล่าโดยไม่เคร่งครัดตามหลักสัมผัส เรียกว่า ด้นกลอน.
ด้นน. เรียกกลอนที่ว่าปากเปล่าโดยไม่เคร่งครัดตามหลักสัมผัส ว่า กลอนด้น
ด้นกลอนก. ว่ากลอนปากเปล่าโดยไม่เคร่งครัดตามหลักสัมผัส.
ธรรมะธัมโมว. เรียกคนที่เคร่งครัดในศาสนา ว่า คนธรรมะธัมโม.
ธุดงค-, ธุดงค์น. องค์ประกอบเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุซึ่งเป็นเครื่องกำจัดกิเลส มี ๑๓ อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้.
บังคับทำให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์การใช้ภาษา เช่น บังคับให้ใช้เครื่องหมายอัญประกาศเมื่ออ้างถึงคำพูดของผู้อื่น ภาษาไทยไม่บังคับการใช้เครื่องหมายมหัพภาคเคร่งครัดนัก
ปโยธราน. “สิ่งที่ทรงไว้ซึ่งนํ้านม” คือ ถัน เช่น หนึ่งถันปโยธราเต็มเคร่งครัด เพราะเจ้าพลัดอดนม (ม. คำหลวง มัทรี), ปโยธร ก็ว่า.
ย่อหย่อนว. ไม่เคร่งครัด เช่น ระเบียบวินัยย่อหย่อน, ลดน้อยถอยลง เช่น กำลังย่อหย่อน.
ระเบียบจัดว. เจ้าระเบียบ, ที่ถือระเบียบอย่างเคร่งครัด.
สิกขากาม-(-กามะ-) ว. ผู้ใคร่ต่อการศึกษา, ผู้นับถือข้อบัญญัติโดยเคร่งครัด, สิกขกาม ก็ว่า เช่น สิกขกามบุคคล หมายถึง บุคคลที่ใคร่ต่อการศึกษา.
เฮี้ยบก. เข้มงวดกวดขัน, เคร่งครัด, เจ้าระเบียบ.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
rigorous proofการพิสูจน์อย่างเคร่งครัด [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
strict constructionการตีความอย่างเคร่งครัด [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
strict constructionการตีความโดยเคร่งครัด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Commonwealth of Nationsการรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
Nuclear Test Banหมายถึง สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้มีผลบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1963 ประเทศที่ลงนามเริ่มแรกในสนธิสัญญาได้แก่ อังกฤษ สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา รวมสามประเทศจุดมุ่งหมายสำคัญของสนธิสัญญาคือ รัฐบาลของประเทศทั้งสาม ต้องการให้มีการทำความตกลงกันเป็นผลสำเร็จเกี่ยวกับการลดอาวุธ หรือปลดกำลังอาวุธทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ตามความมุ่งประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติหรือเลิกการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และกำจัดมิให้มีเหตุจูงใจที่จะผลิตและทดสอบอาวุธไม่ว่าชนิดใดทั้งหมด รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ ยังเสาะแสวงหาที่จะให้หยุดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ไปตลอดชั่วกาลนานสนธิ สัญญานี้มีข้อความอยู่ 5 มาตรา และไม่จำกัดอายุเวลา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ ทั้งหลายเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีได้ ในทางตรงกันข้าม ประเทศภาคีก็มีสิทธิใช้อธิปไตยแห่งชาติได้เพื่อถอนตัวจากสนธิสัญญา ถ้าหากประเทศนั้น ๆ เห็นว่า ประโยชน์อันสูงสุดของประเทศตนต้องตกอยู่ในอันตราย และแจ้งล่วงหน้าสามเดือนให้ประเทศภาคีอื่น ๆ ทั้งหมดทราบการตกลงใจนั้น [การทูต]
Parliamentary Diplomacyการทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต]
Wives of Diplomatsภรรยาของนักการทูต ในประเทศที่มีกษัตริย์ และเอกอัครราชทูตจัดถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อกษัตริย์หรือราชินีในฐานะ ประมุขของรัฐนั้น มักจะให้ภรรยาเข้าเฝ้าด้วยต่างหาก แต่การเข้าเฝ้านั้นจะมีพิธีรีตองน้อยกว่าของเอกอัครราชทูตในอดีตกาล ภรรยาของเอกอัครราชทูตมักจะไม่ได้รับการพิจารณารับรองและยกย่องเหมือนกับที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น ที่กรุงเวนิส ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1268 ไม่อนุญาตให้ภรรยาของเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย ไม่ว่าจะไปประจำแห่งไหน เพราะเกรงว่าภรรยาอาจจะปากโป้งเกี่ยวกับการงานของสามี แต่กฎหมายได้กำหนดให้เอกอัครราชทูตนำพ่อครัวของตนเองติดตามไปด้วย เพื่อกันมิให้เอกอัครราชทูตต้องถูกวางยาพิษในอาหารที่รับประทานกล่าวโดยทั่ว ไปแล้ว ทุกวันนี้ภรรยาของเอกอัครราชทูตได้อุปโภคเอกสิทธิ เกียรติ ลำดับอาวุโส และความคุ้มกันต่าง ๆ เหมือนกับสามี ถึงแม้ในบางกรณีเอกอัครราชทูตกับภรรยาอาจแยกกันอยู่ก็ตาม ภรรยาของเอกอัครราชทูตที่เพิ่งยื่นสารตราตั้ง มักจะหาโอกาสไปเยี่ยมคารวะภรรยาของเอกอัครราชทูตอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าในทุกวันนี้ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่เคร่งครัดเหมือนกับสมัย ก่อน อนึ่ง ในบางประเทศได้มีระเบียบข้อบังคับ ห้ามมิให้ผู้แทนทางการทูตและทางการกงสุลที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ แต่งงานกับคนต่างชาติโดยมิได้รับอนุมัติจากรัฐบาลของตนก่อน [การทูต]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
เคร่งครัด[khrengkhrat] (adj) EN: strict ; serious ; stiff ; rigorous ; stringent ; austere  FR: strict ; exigeant ; rigoureux ; austère
เคร่งครัดในวินัย[khrengkhrat nai winai] (v, exp) EN: be strict in discipline ; enforce rigid discipline

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ascetic(adj) เกี่ยวกับการบำเพ็ญตนอย่างเคร่งครัด, Syn. self-denying
ascetic(adj) เข้มงวด, See also: เคร่งครัด, Syn. severe
austere(adj) เคร่งครัด, See also: เคร่งครัด, เคร่ง, เข้มงวด, Syn. severe
austerity(n) ความเคร่งครัด, Syn. strictness, sternness, severity
blue(adj) เคร่งครัด, See also: เคร่ง
disciplinarian(n) ผู้ยึดถือระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด, See also: ผู้เคร่งครัด, Syn. martinet
disciplinary(adj) ซึ่งยึดถือระเบียบวินัย, See also: ซึ่งเคร่งครัดในกฎระเบียบ
hard-and-fast rule(idm) กฎระเบียบที่เคร่งครัด
holier-than-thou(idm) เคร่งครัดเกินไป
ironhanded(adj) เคร่งครัด, See also: เด็ดขาด, เข้มงวด
let up on(phrv) เข้มงวดกับ, See also: กวดขันกับ, เคร่งครัดกับ
loosely(adv) ไม่เคร่งครัด, See also: ไม่เข้มงวด
martinet(n) นายทหารผู้เคร่งครัด, Syn. perfectionist
martinet(n) ผู้เคร่งครัดในระเบียบวินัย, Syn. disciplinarian, moralist
pious(adj) เคร่งครัดในทางศาสนา, See also: มีศรัทธาต่อศาสนาอย่างแรงกล้า, Syn. devout, religious, reverent, Ant. impious, irreligious, profane
prude(n) คนเคร่งครัดเกินไป, Syn. prig, puritan, old maid
prudery(n) ความเคร่งครัดเกินไป, Syn. priggishness, strictness
prudish(adj) ซึ่งเคร่งครัด, See also: ซึ่งเจ้าระเบียบเกินไป, Syn. precise, prissy, priggish
prudishness(n) ความเคร่งครัดเกินไป, Syn. priggishness, puritanism
puritan(n) ผู้เคร่งครัดในหลักศีลธรรมจรรยา
regiment(vt) บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด, Syn. discipline, subjugate
regimented(adj) ซึ่งจัดเป็นหมวดหมู่, See also: ซึ่งมีระเบียบวินัยเคร่งครัด, Syn. disciplined, controlled
rigor(n) ความเข้มงวด, See also: ความเคร่งครัด, Syn. inflexibily, stiffness
rigorous(adj) อย่างเข้มงวด, See also: อย่างเคร่งครัด, Syn. harsh, strict
rigor(n) ความเข้มงวด, See also: ความเคร่งครัด, Syn. inflexibily, stiffness
scrupulous(adj) ละเอียดรอบคอบ, See also: เคร่งครัด, Syn. strict, punctilious
serious(adj) เคร่งขรึม, See also: เคร่งครัด, จริงจัง, เอาจริงเอาจัง, ซีเรียส, Syn. solemn, earnest
severe(adj) รุนแรง, See also: ดุเดือด, เคร่งครัด, เอาจริงเอาจัง, เข้มงวด, กวดขัน, Syn. cruel, oppressive, resolute, rigid, earnest
soft(adj) ผ่อนปรน, See also: ยืดหยุ่นได้, ไม่เคร่งครัด, Syn. affectionate, considerate
sticker(n) ผู้เคร่งครัด
strait(adj) เคร่งครัด, See also: เข้มงวด, Syn. rigid, strict
strict(adj) เข้มงวด, See also: กวดขัน, เคร่งครัด, Syn. severe, stern, stringent
strictly(adv) อย่างเคร่งครัด, See also: อย่างเข้มงวด, Syn. severely, sternly
stringent(adj) เข้มงวด, See also: กวดขัน, เคร่งครัด, Syn. restrictive, rigorous, strict, severe
third degree(n) การใช้วิธีสอบสวนอย่างขู่เข็ญหรือเคร่งครัด
Wahabi(n) ผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายหนึ่งอย่างเคร่งครัด, Syn. Wahhabi
Wahhabi(n) ผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายหนึ่งอย่างเคร่งครัด, Syn. Wahabi
Wahhabism(n) การนับถือศาสนาอิสลามนิกายหนึ่งอย่างเคร่งครัด

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
blue nose(บลู'โนส) n. ผุ้เคร่งครัดในหลักคือธรรม
children of godn. คริสต์ศาสนานิกายหนึ่งที่เคร่งครัดมีระเบียบวินัยมากและอยู่กันเป็นชุมชน
churchism(เชิร์ช'อิสซึม) n. ความเคร่งครัดในพิธีศาสนา
first generation computerคอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือนี้ติดต่อกันมาตลอด ทำให้มีการแบ่งวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ออกเป็นยุค (generation) พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ยุคแรกถือว่าเริ่มตั้งแต่ ค.ศ.1951 ถึงต้น ค.ศ.1960 คอมพิวเตอร์สมัยนั้นสามารถเก็บโปรแกรมได้ ใช้หลอดสุญญากาศเป็นหน่วยความจำ ทำให้มีขนาดใหญ่ กินเนื้อที่มาก ระหว่างทำงาน จะทำให้เกิดความร้อนสูงตลอดเวลา การทำงานจะทำได้ทีละอย่าง และจะเรียงกันไปตามลำดับคำสั่งอย่างเคร่งครัด ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมก็มีแต่ภาษาแอสเซมบลี (assembly language) ดู generation ประกอบ
formality(ฟอร์แมล'ลิที) n. ระเบียบ, ระเบียบแบบแผน, พิธีรีตอง, ความเคร่งครัดในระเบียบ, ความเข้มงวด, ธรรมเนียมปฏิบัติ, Syn. orthodoxy
giabbr. government issue, ทหารที่กองทัพสหรัฐอเมริกา adj. เคร่งครัดต่อระเบียบวินัย
informal(อินฟอร์'เมิล) adj. ไม่มีพิธีรีตอง, ไม่เป็นทางการ, กันเอง, ไม่เคร่งครัด., See also: informally adv., Syn. unceremonious, Ant. formal
informality(อินฟอร์แมล'ลิที) n. การไม่มีพิธีรีตรอง, ความไม่เป็นทางการ, ความกันเอง, ความไม่เคร่งครัด, Syn. familliarity, laxity, ease
martian(มาร์'เชิน) n., adj. เกี่ยวกับดาวอังคาร, ชาวดาวอังคาร n. ผู้เคร่งครัดในกฎเกณฑ์หรือวินัย
martinet(มาร์'ทิเนท) n. ผู้เคร่งครัดในระเบียบวินัย, See also: martinetish, adj. martinetism n., Syn. disciplinarian
observant(อับเซอ'เวินทฺ) adj. ระวัง, เอาใจใส่เคร่งครัด, ตาไว, คอยดู, ช่างสังเกต, ซึ่งรักษาวินัย, ซึ่งปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบหรือหน้าที่.n. ผู้ปฏิบัติตาม, ผู้รักษาวินัย, Syn. attentive
pharisee(แฟ'ริซี) n. ผู้ที่มีปากกับใจไม่ตรงกัน, เจ้าระเบียบ, พวกมือถือสากปากถือศีล, สมาชิกยิวโบราณที่เคร่งครัดในวินัยศาสนาแต่รูปแบบภายนอก, ผู้ที่หลอกลวง, สุภาพบุรุษจอมปลอม, See also: phariseeism n.
piety(ไพ'อิที) n. ความเคร่งครัดในทางศาสนา, ความเลื่อมใสบูชา, ความมีศรัทธาอันแก่กล้า, คำพูดความเชื่อหรือพฤติการณ์ที่มีศรัทธาอันแก่กล้า
pious(ไพ'เอิส) เคร่งครัดในศาสนา, มีศรัทธามาก, นับถือพระ, แสดงความเคารพนับถือ, See also: piousness n., Syn. devout, religious
proper(พรอพ'เพอะ) adj. เหมาะสม, เหมาะ, สมควร, ถูกต้อง, ถูกกาลเทศะ, ถูกมารยาท, เกี่ยวกับบุคคลใดหรือสิ่งใดโดยเฉพาะ, อันแท้จริง, ดั้งเดิม, กับตา, โดยตัวของมันเอง, เคร่งครัด, สมบูรณ์, เต็มที่, ดี. n. พิธีการ, มารยาท, ความประพฤติ, Syn. fit, suitable
puritan(เพียว'ริเทิน) n. สมาชิกโปรเตสแตนต์นิกายหนึ่งยืดถือหลักความเคร่งครัดในศาสนา. adj. เกี่ยวกับบุคคลดังกล่าว, See also: Puritanism n. - puritan n. ผู้เคร่งครัดในหลักศีลธรรมจรรยา., Syn. pride
puritanic(เพียวริแทน'นิเคิล) adj. เคร่งครัดมากในหลักศีลธรรมจรรยา, เคร่งครัดในศาสนามาก, เคร่งครัดมากเกินไป, เจ้าระเบียบเกินไป, เกี่ยวกับPuritanหรือPuritanism, See also: puritanically adv. puritanicalness n.
puritanical(เพียวริแทน'นิเคิล) adj. เคร่งครัดมากในหลักศีลธรรมจรรยา, เคร่งครัดในศาสนามาก, เคร่งครัดมากเกินไป, เจ้าระเบียบเกินไป, เกี่ยวกับPuritanหรือPuritanism, See also: puritanically adv. puritanicalness n.
regime?gime (ระจีม') n. ระบบการปกครอง, ระบบสังคม, กฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด, Syn. system of rule
regimen(เรจ'จะเมน) n. กฎเกณฑ์, หลัก, กฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการกิน การออกกำลังกายหรือกิจกรรมอื่น ๆ , การปกครอง, ระบบการเมือง, รัฐบาล, Syn. rule, government
regiment(เรจ'จะเมินทฺ) n. กรมทหาร, กองทหาร, รัฐบาล vt. จัดเป็นกรมหรือกองทหาร, บริหารอย่างเคร่งครัดโดยไม่เลือกหน้า, See also: regimentation n.
religion(รีลิจ'เจิน) n. ศาสนา, ลัทธิ, ความเลื่อมใสในศาสนา, เรื่องศาสนา, กลุ่มนักบวช, ความเลื่อมใส, ชีวิตในศาสนา, ธรรมะ, หลักธรรม, See also: religions n. พิธีศาสนา, ความเคร่งครัดในศาสนา
rgime(ระจีม') n. ระบบการปกครอง, ระบบสังคม, กฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด, Syn. system of rule
severe(ซีเวียร์') adj. รุนแรง, เข้มงวด, กวดขัน, เคร่ง, เคร่งขรึม, เคร่งครัด, เอาจริงเอาจัง, เหน็บแนม, เสียดสี, หนาวจัด, ร้ายแรง, สาหัส, ดุเดือด, ยากลำบาก, แม่นยำ., See also: severely adv. severeness n., Syn. cruel, harsh
stark(สทาร์ค) adj., adv. ตายตัว, โทนโท, สิ้นเชิง, เคร่งครัด, เต็มตัว, ที่สุด, แข็ง, แข็งทื่อ, แข็ง (ตาย), See also: starkly adv. starkness n., Syn. bleak
stern(สเทิร์น) adj. เข้มงวด, กวดขัน, พิถีพิถัน, เคร่งครัด, รุนแรง, ไม่ผ่อนผัน, บูดบึ้ง n. ส่วนหลังของเรือ, ท้ายเรือ, ส่วนหลัง, ส่วนท้าย, บั้นท้าย, ตะโพก, ก้น, หาง, See also: sternly adv. sternness n., Syn. austere, severe
strait(สเทรท) n. ช่องแคบ, ทางผ่านที่แคบ, ที่คับแคบ, สภาพที่ลำบาก, ความเคร่งเครียด, ภาวะจนตรอก, ความคับแค้น. adj. แคบ, คับ-แค้น, เคร่งครัดในระเบียบ., See also: straitness n.
straiten(สเทรท'เทิน) vt. ทำให้ลำบาก, ทำให้เคร่งเครียด, จำกัด, ทำให้คับแคบ, เคร่งครัดในระเบียบ, Syn. restrict
strict(สทริคทฺ) adj. เข้มงวด, เคร่งครัด, กวดขัน, แม่นยำ, แน่นอน, สมบูรณ์, ถ้วนทั่ว, ถูกต้อง, รอบคอบ., See also: strictness n., Syn. close, exacting, stern
taut(ทอท) adj. ตึง, พันแน่น, เกร็ง, ตึงเครียด, เข้มงวด, เคร่งครัด, เรียบร้อย, เป็นระเบียบเรียบร้อย., See also: tautly adv. tautness n., Syn. tense
third-degreevt. ทำให้อยู่ในอันดับสาม, ใช้วิธีสอบสวนอย่างขู่เข็ญหรือเคร่งครัด
true(ทรู) adj., n., adv. (ความ) จริง, แท้จริง, ไม่ปลอม, มีศรัทธา, แน่นอน, เป็นแบบอย่าง, เชื่อถือได้, เคร่งครัด, ถูกต้อง, come true เป็นความจริง. the true สิ่งที่เป็นความจริง, Syn. factual, real

English-Thai: Nontri Dictionary
austere(adj) เข้มงวด, เคร่งครัด, กวดขัน
austerely(adv) อย่างเข้มงวด, อย่างเคร่งครัด, อย่างกวดขัน
informality(n) ความไม่มีพิธี, ความเป็นกันเอง, ความไม่เคร่งครัด
martinet(n) ผู้เคร่งครัดในวินัย
severe(adj) รุนแรง, สาหัส, เคร่งครัด, กวดขัน, เอาจริงเอาจัง, เข้มงวด
severity(n) ความเคร่งครัด, ความเข้มงวด, ความรุนแรง
strait(adj) เคร่งครัด, แคบ, เคร่งเครียด, คับแค้น
strict(adj) กวดขัน, เข้มงวด, เคร่งครัด, ถูกต้อง, สมบูรณ์
strictness(n) ความกวดขัน, ความเข้มงวด, ความเคร่งครัด
stringency(n) ความเคร่งครัด, ความเข้มงวด, ความกวดขัน, ความฉุกละหุก
stringent(adj) กวดขัน, เข้มงวด, เคร่งครัด, รีบด่วน, ฉุกละหุก
taut(adj) เรียบร้อย, เคร่งครัด, ตึงเครียด, เข้มงวด
true(adj) จริง, ซื่อสัตย์, ตรง, แท้, ถูกต้อง, เคร่งครัด

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
*dress code*[ดฺ แร็ดสฺ โขดฺ - เน้นเสียงที่คำแรก] dress code คือ กฎระเบียบการแต่งกายตามจารึตประเพณีนิมยมของสังคมหนึ่งๆ เช่น การใส่ชุดฟอร์มนักเรียนนักศึกษาไทย ชุดข้าราชการไทย การแต่งกายเวลาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ไทย การแต่งกายไปร่วมพระราชพิธีต่างๆ การแต่งกายแบบสากลนิยมตามงานราตรีสโมสร หรือตามที่เจ้าภาพได้กำหนดไว้ เป็นต้น ตัวอย่าง 1. To attend a gala dinner at the Oriental Hotel, the dress code is strict - black tie only. การไปรับประทานอาหารเย็นที่โรงแรมโอแรนเต็ลนั้น กฎระเบียบการแต่งตัวนั้นเข้มงวดมาก คือ ต้องชุดราตรีสโมสรเท่านั้น 2. Thai students have a very strict dress code when they go to school. นักเรียนไทยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการแต่งกายตอนไปเรียนอย่างเคร่งครัด

Japanese-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
公式[こうしき, koushiki, koushiki , koushiki] (n, adj) สูตร, กฎ, เกณฑ์, หลัก, มาตรฐาน, รูปแบบ, แผ่น, ตำรับ, ตำรา , ข้าราชการ, เจ้าพนักงาน adj. เป็นทางการ, ระเบียบ, ระเบียบแบบแผน, พิธีรีตอง, ความเคร่งครัดในระเบียบ, ความเข้มงวด, ธรรมเนียมปฏิบัติ

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top