428 ผลลัพธ์ สำหรับ *ยุติ*
ภาษา
หรือค้นหา: ยุติ, -ยุติ-Longdo Unapproved TH - EN
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม | clerk to the juristic 6 |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ยุติ | (v) end, See also: terminate, cease, finish, stop, come to an end, wind up, culminate, Syn. ตกลง, จบ, เลิก, Ant. เริ่มต้น, Example: สภาตำบลลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ยุติการปลูกยูคาลิปตัส, Notes: (บาลี/สันสกฤต) |
การยุติ | (n) end, See also: termination, stop, close, finish, halt, Syn. การหยุด, การจบ, การเลิก, การสิ้นสุด, การเสร็จสิ้น, การลงเอย, การอวสาน, Example: การยุติของสงครามเย็นทำให้เกิดสันติภาพไปทั่วโลก |
ข้อยุติ | (n) conclusion, See also: resolution, settlement, Syn. ข้อสรุป, บทสรุป, Ant. ข้อโต้แย้ง, ข้อถกเถียง, Example: รัฐบาลพยายามหาข้อยุติที่ดีที่สุด เพื่อให้ทุกฝ่ายพอใจ, Thai Definition: ผลสรุปที่เป็นข้อตกลงอย่างแน่นอน, ผลสรุปที่เป็นสิ่งชี้การสิ้นสุดของการโต้แย้ง |
ยุติธรรม | (adv) fairly, See also: impartially, honestly, neutrally, Syn. เป็นธรรม, เป็นกลาง, Ant. อยุติธรรม, อคติ, เข้าข้าง, ลำเอียง, Example: เจ้าหน้าที่ควบคุมการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างยุติธรรม ไม่มีการซื้อเสียง, Thai Definition: อย่างเที่ยงธรรม, อย่างชอบธรรม, อย่างชอบด้วยเหตุผล |
ยุติธรรม | (adj) neutral, See also: impartial, fair, unprejudiced, unbiased, equitable, Syn. เป็นธรรม, เป็นกลาง, Ant. อยุติธรรม, อคติ, เข้าข้าง, ลำเอียง, Example: ทุกฝ่ายพอใจกับคำตัดสินที่ยุติธรรมของผู้พิพากษา, Thai Definition: ที่มีความเที่ยงธรรม, ที่ชอบธรรม, ที่ชอบด้วยเหตุผล |
ยุติปัญหา | (v) cease the problem, See also: end the problem, Syn. จบปัญหา, Ant. สร้างปัญหา, Example: ถ้าประธานาธิบดีถูกฆ่าตายหรือถูกโค่นอำนาจก็คงจะช่วยยุติปัญหาต่างๆ ได้ทันที |
อยุติธรรม | (v) be unjust, See also: be unfair, be partial, Syn. ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงตรง, ไม่เป็นกลาง, Ant. ยุติธรรม |
อยุติธรรม | (adj) unjust, See also: unfair, partial, Syn. ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงตรง, ไม่เป็นกลาง, Ant. ยุติธรรม, Example: เจ้านายของเธอเป็นคนอยุติธรรมมากๆ ใครจะยอมเคารพนับถือ |
อยุติธรรม | (n) injustice, See also: partiality, Syn. ความอยุติธรรม, Ant. ยุติธรรม, Example: เขามีอยุติธรรมในตัวเองอย่างมาก, Thai Definition: ความไม่เป็นธรรม, ความไม่เป็นกลาง |
ศาลยุติธรรม | (n) Court of justice, Syn. ศาล, Count Unit: ศาล |
ศาลยุติธรรม | (n) Court of Justice, Example: เจ้าพนักงานจะจับกุมพระมหากษัตริย์มิได้ เพราะศาลยุติธรรมจะไม่รับฟ้อง, Count Unit: ศาล, Thai Definition: องค์การฝ่ายตุลาการที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม, Notes: (กฎหมาย) |
ความยุติธรรม | (n) justice, See also: fairness, Syn. ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล, ความถูกต้อง, Ant. ความอยุติธรรม, Example: สัจจะและความยุติธรรมเป็นสิ่งมีค่าสูงสุดที่ชาวอเมริกันทุกคนแสวงหา |
ความอยุติธรรม | (n) injustice, See also: iniquity, partiality, unfairness, Example: นักศึกษาเป็นคนหนุ่มคนสาวมีความคิดเร่าร้อน รักความเป็นธรรม และเกลียดชังความอยุติธรรม |
อย่างยุติธรรม | (adv) fairly, See also: justly, reasonably, Syn. โดยยุติธรรม, Example: รัฐบาลสร้างตลาดของสินค้าเกษตรเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ลงไปสู่เกษตรกรอย่างยุติธรรม |
วิทยุติดตามตัว | (n) pager, Syn. เพจเจอร์, เพจ, Example: คุณหมอมีทั้งโทรศัพท์มือถือและวิทยุติดตามตัวตั้ง 2-3 เครื่องเพื่อไม่ให้พลาดการติดต่อเลย, Count Unit: เครื่อง, Thai Definition: เครื่องรับวิทยุขนาดเล็กซึ่งติดตั้งชุดส่งสัญญาณเตือน |
วิทยุติดตามตัว | (n) pager, Thai Definition: เครื่องรับวิทยุขนาดเล็กซึ่งติดตั้งชุดส่งสัญญาณเตือน |
กระทรวงยุติธรรม | (n) Ministry of Justice, Count Unit: กระทรวง |
ศาลสถิตยุติธรรม | (n) court of justice, Syn. ศาลยุติธรรม, Example: ผมเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และศาลสถิตยุติธรรม, Thai Definition: สถานที่ที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้ความเที่ยงธรรมแก่คู่ความ |
กระบวนการยุติธรรม | (n) process of judgement, See also: process of equity, Example: คุณภาพงานสอบสวนถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น, Thai Definition: วิธีดำเนินการให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคลโดยบุคลากรและองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหารงานยุติธรรม |
ความยุติธรรมทางสังคม | (n) social justice |
เครื่องวิทยุติดตามตัว | (n) pager, Syn. วิทยุติดตามตัว, เพจเจอร์ |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กระบวนการยุติธรรม | น. ขั้นตอนและวิธีดำเนินการในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่ออำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล. |
จยุติ | (จะยุดติ) ก. จุติ. |
ดะโต๊ะยุติธรรม | น. ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม. |
ตยุติ | (ตะยุติ) ก. เคลื่อน, ตาย, (โดยมากใช้แก่เทวดา) เช่น ก็จะจยรตยุติลงเกอด (ม. คำหลวง ทศพร). |
ธรรมยุติกนิกาย | น. ชื่อคณะสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับมหานิกาย, เรียกสั้น ๆ ว่า ธรรมยุต. |
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม | น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กรศาลยุติธรรม และกำหนดอำนาจศาล ตลอดจนเขตอำนาจของศาลยุติธรรมต่าง ๆ. |
ยุติ- ๑ | (ยุดติ-) ก. ชอบ, ถูกต้อง. |
ยุติธรรม | น. ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล, เช่น ศาลย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม |
ยุติธรรม | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรม แต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี. |
ยุติธรรม | ว. เที่ยงธรรม, ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, ชอบด้วยเหตุผล, เช่น ราคายุติธรรม กรรมการตัดสินอย่างยุติธรรม. |
ยุติ ๒ | (ยุดติ) ก. ตกลง, จบ, เลิก, เช่น เรื่องนี้ยุติแล้ว ไม่ต้องพิจารณาอีกต่อไป. |
วิทยุติดตามตัว | น. การกระตุ้นเตือนผู้พกพาเครื่องรับวิทยุที่ใช้ติดตัวโดยทางคลื่นวิทยุ ซึ่งกระทำผ่านข่ายโทรศัพท์สาธารณะ การกระตุ้นเตือนอาจประกอบด้วยเสียงพูดหรือรหัสที่มองเห็นได้ ซึ่งส่งมาจากผู้กระตุ้นเตือนหรือจากข่ายโทรศัพท์สาธารณะ. |
ศาลยุติธรรม | น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง ที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหาร. |
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ | น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น. |
ศาลสถิตยุติธรรม | น. เป็นคำรวมที่ใช้เรียกศาลยุติธรรมทั้งปวง. |
กรม ๓ | แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็นกระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์). |
ข้อ | เนื้อความตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ |
ข้อกฎหมาย | น. เรื่องหรือประเด็นที่เกี่ยวกับกฎหมาย เช่น ความหมายของบทบัญญัติของกฎหมาย ผลบังคับของกฎหมาย หรือการปรับใช้ข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมาย. |
ขึ้นโรงขึ้นศาล | ก. ฟ้องเป็นคดีความที่ศาลยุติธรรม. |
ขุนโรง | น. ข้าราชการฝ่ายยุติธรรมผู้เป็นหัวหน้าในศาลหัวเมืองต่าง ๆ, ใช้เป็นสำนวนว่า ขุนโรงขุนศาล. |
ขุนศาล | น. ข้าราชการฝ่ายยุติธรรมตำแหน่งปลัดนั่งศาลหรือราชปลัดนั่งศาลต่าง ๆ ในราชธานี อาทิ กรมกลาโหมมีขุนประชาเสพราชปลัดนั่งศาลอาชญานอก กรมวังมีขุนอินอาญาปลัดนั่งศาลอาชญาวัง, ใช้เป็นสำนวนว่า ขุนโรงขุนศาล เช่น กฎให้แก่ขุนโรงขุนศาลผู้พิจารณาเนื้อความทุกหมู่ทุกกรมในกรุงนอกกรุงจงทั่ว (สามดวง), ขุนสาน หรือ ขุนสาร ก็ว่า. |
คู่โค | น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับนาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [ “ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจำนวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทำนาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทำนาในที่เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จำนวนโคขึ้นตั้งเป็นอัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทำหรือมิทำจึงต้องเสียหางข้าว” พงศ. ร. ๒ ]. |
จบเห่ | ยุติ. |
จำหน่ายคดี | ก. ยุติการดำเนินคดี ซึ่งอาจเป็นการยุติชั่วคราวหรือยุติไปเลยก็ได้. |
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ | น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตำแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สิน และจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย. |
เจ้าสังกัด | น. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าสังกัดของกรมราชทัณฑ์ สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. |
เชื่อมั่น | ก. เชื่อโดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขาเชื่อมั่นในความยุติธรรมของศาล. |
ซึ่ง | บ. คำสำหรับนำหน้านามที่เป็นผู้ถูกกระทำ เช่น รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม. |
ฎีกา | ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่า ศาลฎีกา |
ตัดบท | ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน |
ตีนโรงตีนศาล | ว. เรียกผู้ที่หารายได้โดยรับจ้างเขียนคำร้อง กรอกเอกสารบางอย่าง เป็นต้น ตามศาลยุติธรรม ว่า พวกตีนโรงตีนศาล. |
ทัฬหีกรรม | (ทันฮีกำ) น. การกระทำให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทำซํ้าลงไปเพื่อให้มั่นคงในกรณีที่การกระทำครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ในพิธีสงฆ์ เช่น พระภิกษุที่บวชในฝ่ายมหานิกาย เมื่อไปอยู่ในวัดที่เป็นธรรมยุติกนิกายบางวัดก็ต้องให้ทำทัฬหีกรรม. |
เที่ยงตรง | ว. ตั้งตรงไม่เอนเอียง, ยุติธรรม. |
ธรรม ๑, ธรรม-, ธรรมะ | ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม |
ธรรมนูญ | น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร เช่น ธรรมนูญศาลทหาร พระธรรมนูญศาลยุติธรรม. |
ธรรมาธรรม | (ทำมา-) น. ธรรมและอธรรม, ความถูกและความผิด, ยุติธรรมและอยุติธรรม. |
ธรรมานุสาร | (ทำมา-) น. ความถูกตามธรรม, ทางหรือวิธีแห่งความยุติธรรม, ความระลึกตามธรรม. |
ธรรมาภิมุข | (ทำมา-) ว. หันหน้าเฉพาะธรรม, มุ่งแต่ยุติธรรม. |
นิกาย | น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์ |
เนติบัณฑิต | น. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรทางวิชากฎหมายของโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม, ผู้สอบได้ตามหลักสูตรของสำนักศึกษาอบรมกฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา. |
ประชาทัณฑ์ | น. การที่ฝูงชนกลุ้มรุมทำร้าย เป็นการลงโทษบุคคลที่ตนเข้าใจหรือนึกว่ามีความผิด โดยไม่ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม. |
ปลุกผี | รื้อฟื้นเรื่องที่ยุติไปแล้วขึ้นมาใหม่ เช่น ปลุกผีคอมมิวนิสต์. |
ปัญหาโลกแตก | น. ปัญหาที่หาข้อยุติไม่ได้. |
ปิดฉาก | ก. เลิก, หยุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ปิดฉากแล้ว. |
ปิดสำนวน | ก. ยุติการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี. |
เป็นอัน | ก. รวมความว่า, แสดงว่า, เช่น เป็นอันยุติ, เป็นอันว่า ก็ใช้ |
เป็นอันว่า | ก. รวมความว่า, แสดงว่า, เช่น เป็นอันว่ายุติ, เป็นอัน ก็ใช้. |
พอกันที | ก. บอกเลิกกัน, ยุติกัน, ไม่เกี่ยวข้องกันอีกต่อไป. |
มหานิกาย | น. ชื่อคณะสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับ ธรรมยุติกนิกาย. |
ยุกติธรรม | น. ยุติธรรม. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
procedural right | สิทธิตามกระบวนการยุติธรรม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
poetic justice | ยุติธรรมแบบกวี [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Law for the Organization of Courts of Justice | กฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลยุติธรรม (ไทย) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
retributive justice | ความยุติธรรมเพื่อสนองตอบ [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
retributive justice | ความยุติธรรมในการลงโทษ, การลงโทษเพื่อความยุติธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
right, procedural | สิทธิตามกระบวนการยุติธรรม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Supreme Court of Judicature | ศาลยุติธรรมสูงสุด (อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
social justice | ความยุติธรรมทางสังคม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
obstructing justice | การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
offences relating to the justice | ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Attorney-General | ๑. อธิบดีกรมอัยการ (อังกฤษ)๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (อเมริกัน)๓. ที่ปรึกษากฎหมายแห่งมลรัฐ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Attorney-General | ๑. อัยการแผ่นดิน (อังกฤษ)๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (อเมริกัน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
administration of justice | การบริหารงานยุติธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
abortive | ๑. -แท้ง๒. -คลอดก่อนกำหนด๓. -ยุติก่อนกำหนด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
justice, corrective | ความยุติธรรมเพื่อแก้ไขความประพฤติ [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
justice, distributive | ความยุติธรรมในการจัดสรร [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
justice, retributive | ความยุติธรรมเพื่อสนองตอบ [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
justice, retributive | ความยุติธรรมในการลงโทษ, การลงโทษเพื่อความยุติธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
justice, utilitarian | ความยุติธรรมทางประโยชน์นิยม [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
justice | ความยุติธรรม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
justice | ความยุติธรรม [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
justice | ความยุติธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
miscarriage of justice | การทำให้เสื่อมเสียความยุติธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
court of justice; court of law | ศาลยุติธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Court of Justice of the European Communities (European Court) | ศาลยุติธรรมแห่งประชาคมยุโรป (ศาลประชาคมยุโรป) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Court of Justice, International | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
court of law; court of justice | ศาลยุติธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Cassation, Cour de (Fr.); Cour de Cassation (Fr.) | ศาลยุติธรรมสูงสุดฝรั่งเศส [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
conclusive presumption | ข้อสันนิษฐานอันเป็นที่ยุติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Cour de Cassation (Fr.); Cassation, Cour de (Fr.) | ศาลยุติธรรมสูงสุดฝรั่งเศส [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
corrective justice | ความยุติธรรมเพื่อแก้ไขความประพฤติ [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
conclusion | ข้อยุติ [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗] |
conclusive evidence | พยานหลักฐานอันเป็นที่ยุติ, พยานหลักฐานชัดแจ้ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
distributive justice | ความยุติธรรมในการจัดสรร [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
denial of justice | การไม่ให้ความยุติธรรม, การปฏิเสธความยุติธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
fait accompli (Fr.) | เรื่องที่ยุติแล้ว [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
fiat justitia (L.) | ให้เป็นไปตามความยุติธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
extrajudicial | นอกกระบวนการยุติธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
European Court (Court of Justice of the European Communities) | ศาลยุติธรรมแห่งประชาคมยุโรป (ศาลประชาคมยุโรป) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
European Communities (European Court), Court of Justice of the | ศาลยุติธรรมแห่งประชาคมยุโรป (ศาลประชาคมยุโรป) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ [ ดู world court ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
notice of discontinuance | คำบอกกล่าวขอยุติคดี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
no-action clause | ข้อกำหนดไม่ให้ฟ้องผู้รับประกันภัย (จนกว่าจะมีข้อยุติในค่าเสียหาย) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
nisi | ยังไม่เป็นที่ยุติ, ยังไม่ถึงที่สุด [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
natural justice | ความยุติธรรมตามธรรมชาติ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
utilitarian justice | ความยุติธรรมทางประโยชน์นิยม [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
world court | ศาลโลก, ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ [ ดู International Court of Justice ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Convention on Access to Information, Public Participation in Decision-making, and Access to Justice in Environmental Matters | อนุสัญญาว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูล การมีส่วนร่วมของสาธารณะชนในการตัดสินใจ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม (ค.ศ. 1, อนุสัญญาว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูล การมีส่วนร่วมของสาธารณะชนในการตัดสินใจ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม (ค.ศ. 1998) [TU Subject Heading] |
Criminal justice personnel | บุคลากรทางกระบวนการยุติธรรมทางอาญา [TU Subject Heading] |
Criminal justice, Administration of | การบริหารงานยุติธรรมทางอาญา [TU Subject Heading] |
International courts | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ [TU Subject Heading] |
Judges (Islamic law) | ดะโต๊ะยุติธรรม [TU Subject Heading] |
Justice | ความยุติธรรม [TU Subject Heading] |
Justice, Administration of | การบริหารงานยุติธรรม [TU Subject Heading] |
Juvenile justice, Administration of | การบริหารงานยุติธรรมด้านเยาวชน [TU Subject Heading] |
Organizational justice | ความยุติธรรมในองค์การ [TU Subject Heading] |
Radio paging | วิทยุติดตามตัว [TU Subject Heading] |
Radio paging equipment industry | อุตสาหกรรมอุปกรณ์วิทยุติดตามตัว [TU Subject Heading] |
Reparation (Criminal justice) | การชดใช้ค่าเสียหาย ((งานยุติธรรมทางอาญา) [TU Subject Heading] |
Restorative justice | การบริหารงานยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ [TU Subject Heading] |
Retribution | การลงโทษเพื่อความยุติธรรม [TU Subject Heading] |
Volunteer workers in criminal justice administration | อาสาสมัครในงานบริหารงานยุติธรรมทางอาญา [TU Subject Heading] |
Amnesty International | องค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว [การทูต] |
Australia-New Zealand-US | สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-สหรัฐอเมริกา " โดยตกลงให้มีการช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อถูกคุกคามจากประเทศนอกภาคี ปัจจุบัน ANZUS ยังคงสถานะอยู่แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ (non-operational) เนื่องจากความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับนิวซีแลนด์ยุติลง โดยนิวซีแลนด์ยังไม่ละทิ้งสนธิสัญญา ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าอาจจะมีการรื้อฟื้นขึ้นอีก " [การทูต] |
Diplomatic Language | ภาษาการทูต ในสมัยโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัฐทั้งหลายในสมัยนั้นได้นิยมใช้ภาษาละตินเป็นภาษาการทูตและก็เป็นภาษาเดียว ที่ใช้กันในยุโรปภาคกลางและภาคตะวันตก ต่อมาในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสแทนภาษาละตินเป็นภาษาการทูต และใช้กันตลอดมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งแรก หลังจากเสร็จสงครามโลกครั้งแรกจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐต่างๆ เริ่มนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ก็ยังไม่มีการรับรองเป็นทางการกันว่าให้ใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการทูตใน องค์กรทั้งหมดของสหประชาชาติยกเว้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ใช้ 5 ภาษาเป็นภาษาราชการ คือ ภาษาจีน รัสเซีย สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส ดังนั้น ในการประชุมใด ๆ ณ องค์การสหประชาชาติ หากมีการแถลงเป็นภาษาหนึ่ง ก็จะมีการแปลเป็นอีก 4 ภาษาเกือบพร้อมกันในทันที (Simultaneous Translation) สำหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เพียงสองภาษา [การทูต] |
Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] |
Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] |
Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] |
Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Hugo Grotius (1583-1645) | บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations) [การทูต] |
Humanitarian Intervention | การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต] |
International Campaign to Ban Landmines | องค์กรสากลรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ [การทูต] |
Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
International Trade Organization | องค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต] |
Judicial Settlement | การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยศาลตุลาการ ก่อนที่จะเกิดองค์การสหประชาชาติ รัฐทั้งหลายที่มีกรณีพิพาทระหว่างประเทศจะฟ้องร้องต่อศาลระวห่างประเทศแห่ง หนึ่ง มีชื่อว่าศาลประจำยุติธรรมระหว่าประเทศ (Permanent Court of International Justice) ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเป็นเวลา 23 ปี ผู้พิพากษาของศาลก็ได้ลาออกในปีค.ศ. 1946 และสันนิบาตชาติได้ยุบศาลนี้ในปีเดียวกันเมื่อมีการสถาปนาองค์การสหประชา ชาติขึ้น ได้มีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นใหม่ เรียกว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรนี้ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 92 ว่า ?ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจักเป็นองค์กรทางตุลาการอันสำคัญของสหประชาชาติ ศาลจักดำเนินหน้าที่ตามธรรมนูญผนวกท้าย ซึ่งยึดถือธรรมนูญของศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นมูลฐาน และซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับกฎบัตรฉบับปัจจุบัน?ศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศนี้ ประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1946 [การทูต] |
New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] |
Nuclear Test Ban | หมายถึง สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้มีผลบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1963 ประเทศที่ลงนามเริ่มแรกในสนธิสัญญาได้แก่ อังกฤษ สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา รวมสามประเทศจุดมุ่งหมายสำคัญของสนธิสัญญาคือ รัฐบาลของประเทศทั้งสาม ต้องการให้มีการทำความตกลงกันเป็นผลสำเร็จเกี่ยวกับการลดอาวุธ หรือปลดกำลังอาวุธทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ตามความมุ่งประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติหรือเลิกการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และกำจัดมิให้มีเหตุจูงใจที่จะผลิตและทดสอบอาวุธไม่ว่าชนิดใดทั้งหมด รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ ยังเสาะแสวงหาที่จะให้หยุดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ไปตลอดชั่วกาลนานสนธิ สัญญานี้มีข้อความอยู่ 5 มาตรา และไม่จำกัดอายุเวลา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ ทั้งหลายเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีได้ ในทางตรงกันข้าม ประเทศภาคีก็มีสิทธิใช้อธิปไตยแห่งชาติได้เพื่อถอนตัวจากสนธิสัญญา ถ้าหากประเทศนั้น ๆ เห็นว่า ประโยชน์อันสูงสุดของประเทศตนต้องตกอยู่ในอันตราย และแจ้งล่วงหน้าสามเดือนให้ประเทศภาคีอื่น ๆ ทั้งหมดทราบการตกลงใจนั้น [การทูต] |
peace enforcement | การบังคับให้เกิดสันติภาพ " เป็นมาตรการใช้กำลังบังคับผู้ที่กำลังดำเนินการที่เป็นการละเมิด สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศให้ยุติการกระทำดังกล่าว " [การทูต] |
peace making | การทำให้เกิดสันติภาพ เป็นการดำเนินการทางการทูตโดยมักใช้วิธีไกล่เกลี่ย และเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี [การทูต] |
Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] |
Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] |
Treaty of Amity and Cooperation | สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นโดยอาเซียนเมี่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อกำหนด หลักการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค โดยมีหลักการที่สำคัญได้แก่ การเคารพในอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การแก้ไขปัญหาโดยสันติ การไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลัง และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งมีมาตราเกี่ยวกับแนวทางยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยอาศัยกลไกคณะอัครมนตรี (High Council) ปัจจุบันประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ เป็นภาคีสนธิสัญญาฯ " [การทูต] |
Termination of Consular Office | การยุติลงของการหน้าที่ทางการกงสุล กล่าวคือ หน้าที่ของหัวหน้าคณะในสถานที่ทำการทางกงสุลจะยุติลงเนื่องจาก 1. วายชนม์2. รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับ3. รัฐผู้รับเพิกถอนอนุมัติบัตร (Exequatur)4. การหน้าที่ของผู้นั้นได้ถึงกำหนดครบวาระหรือยุติลง5. เกิดสงครามระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับไม่เหมือนกับกรณีคณะผู้แทนทางการทูต สถานที่ทำการทางกงสุลนั้น ภาระหน้าที่จะไม่ยุติลงเนื่องจากมีการเปลี่ยนกษัตริย์หรือประธานาธิบดีของ รัฐผู้ส่งหรือรัฐผู้รับ ข้อ 25 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาบัญญัติไว้ว่า ?การหน้าที่ของบุคคลในสถานที่ทำการกงสุลจะยุติลงก) เมื่อรัฐผู้ส่งได้บอกกล่าวไปยังรัฐผู้รับว่า การหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้ยุติลงแล้วข) เมื่อมีการเพิกถอนอนุมัติบัตรค) เมื่อรัฐผู้รับได้บอกกล่าวไปยังรัฐผู้ส่งว่า รัฐผู้รับได้เลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล [การทูต] |
The Hague Peace Conferences | การประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ การประชุมนี้ได้กระทำกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1899 โดย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่สอง ของประเทศรัสเซียเป็นผู้จัดให้มีขึ้น ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1899 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติ วิธี ได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินประเทศโดยสันติวิธี พร้อมทั้งได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการเป็นการถาวร และเสนอแนะให้วางประมวลพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ทั้งยังได้ตกลงรับรองอนุสัญญาและปฏิญญาต่าง ๆ หลายฉบับ ในจำนวนนี้ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ อนุสัญญาควบคุมกฎหมายและขนบประเพณีว่าด้วยการทำสงครามภาคพื้นดินการประชุม สันติภาพ ณ กรุงเฮกครั้งที่สอง หรือการประชุม ณ กรุงเฮกปี ค.ศ.1907 ตามคำขอร้องของรัฐบาลรัสเซีย ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1907 วัตถุประสงค์สำคัญของการประชุมคือต้องการปรับปรุงและขยายข้อความในอนุสัญญา ต่าง ๆ ที่ทำไว้เมื่อปี ค.ศ. 1899 ว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี รวมทั้งกฎหมายและขนบประเพณีเกี่ยวกับสงครามภาคพื้นดิน ตลอดจนรับรองอนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายและขนมประเพณีของการทำสงครามทางทะเล การประชุม ณ กรุงเฮกครั้งที่สองนี้ยังได้เสนอแนะให้ที่ประชุมกำหนดให้ประเทศผู้ลงนาม รับรองและนำออกใช้ซึ่งร่างอนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งศาลสถิตยุติธรรม เพื่อพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการอีกด้วย [การทูต] |
United Nations Emergency Force | กองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ขอรัองให้เลขาธิการสหประชาชาติเสนอแผนการภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติของสหประชาชาติ โดยได้รับอนุมัติจากชาติที่เกี่ยวข้อง ให้ทำหน้าที่ยุติและควบคุมดูแลการหยุดรบในประเทศอียิปต์ วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 5 พฤศจิกายน สมัชชาก็ได้ลงมติให้จัดตั้งกองบัญชาการแห่งสหประชาชาติขึ้นปรากฏว่า ผู้แทนของสหภาพโซเวียตได้กล่าวอ้างว่า การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ โดยยกบทที่ 7 ของกฎบัตรขึ้นมาอ้างว่า คณะมนตรีความมั่นคงองค์กรเดียวเท่านั้น ที่กฎบัตรให้อำนาจจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ สหภาพโซเวียตและอีกบางประเทศจึงแถลงว่า จะไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกเงินค่าใช้จ่ายสำหรับกองกำลังดังกล่าวโดยเด็ดขาด พึงสังเกตว่า การที่สหภาพโซเวียตอ้างยืนยันว่า คณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นที่กฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจตั้งกองกำลังสห ประชาชาติได้ ก็เพราะหากยินยอมตามข้ออ้างของสหภาพโซเวียตดังกล่าว จะไม่มีทางจัดตั้งกองกำลังขึ้นได้เลย เพราะสหภาพโซเวียตจะใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงอย่างไม่ต้องสงสัย [การทูต] |
Voting Procedure in the United Nations | วิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ สมาชิกแต่ละประเทศมีคะแนนเสียง 1 คะแนน ข้อมติของสมัชชาในปัญหาสำคัญ (Important Questions) จะกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ที่เรียกว่าปัญหาสำคัญนั้นได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตี การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เพิ่มเติมนั้น จัดกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียงอนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจักต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute majority) ในที่ประชุมของสมัชชาและในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย นอกจากนี้สมาชิกสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินที่ค้างชำระเท่าหรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุงที่ถึงกำหนด ชำระสำหรับ 2 ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตาม สมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้น เนื่องมาจากภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
Fair market value | ราคาตลาดยุติธรรม [การบัญชี] |
Fair price | ราคายุติธรรม [การบัญชี] |
Fair value | มูลค่ายุติธรรม [การบัญชี] |
Devices, End Point | เครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินจุดยุติ [การแพทย์] |
End Point | จุดหยุดปฏิกิริยา, จุดยุติ, จุดสมมูลย์, จุดสิ้นสุด, จุดสุดท้าย [การแพทย์] |
End Point, Premature | จุดยุติก่อนจุดสมมูลย์ [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
อยุติธรรม | [ayuttitham] (n) EN: injustice ; partiality FR: injustice [ f ] ; partialité [ f ] |
อยุติธรรม | [ayuttitham] (adj) EN: unjust ; unfair ; partial ; prejudicial FR: injuste ; partial |
โดยยุติธรรม | [dōi yutitham] (adv) EN: fairly |
ให้ความยุติธรรม | [hai khwām yuttitham] (v, exp) EN: administer justice |
การแข่งขันที่ยุติธรรม | [kān khaengkhan thī yuttitham] (n, exp) EN: fair competition |
การแข่งขันอย่างยุติธรรม | [kān khaengkhan yāng yuttitham] (n, exp) EN: fair competition ; heavy competition |
การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม | [kān khatkhwāng krabūankān yutitham] (n, exp) EN: obstruction of justice FR: obstruction à la justice [ f ] |
การยุติ | [kān yuti] (n) EN: end ; termination ; stop ; close ; finish ; halt ; abandonment |
ข้อยุติ | [khøyuti] (n) EN: conclusion ; final agreement |
ความอยุติธรรม | [khwām ayuttitham] (n) EN: injustice |
ความไม่ยุติธรรม | [khwām mai yutitham] (n, exp) EN: inequity ; unfairness |
ความยุติธรรม | [khwām yuttitham] (n) EN: justice ; fairness FR: justice [ f ] |
ความยุติธรรมทางสังคม | [khwām yuttitham thāng sangkhom] (n, exp) EN: social justice FR: justice sociale [ f ] |
กฎหมายไม่ยุติธรรม | [kotmāi mai yuttitham] (n, exp) FR: loi injuste [ f ] |
กระบวนการยุติธรรม | [krabūankān yutitham] (n, exp) EN: judicial administration |
กระทรวงยุติธรรม | [Krasūang Yuttitham] (org) EN: Ministry of Justice FR: ministère de la Justice [ m ] |
ไม่ยุติธรรม | [mai yuttitham] (adj) EN: unfair ; injust ; inequitable ; injustified FR: inéquitable ; injuste |
เพื่อความยุติธรรม | [pheūa khwām yuttitham] (xp) EN: for the sake of justice |
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม | [phrathammanūn sān yuttitham] (n, exp) EN: law on court oranization ; basic law on the judiciary |
ราคาตลาดยุติธรรม | [rākhā talāt yutitham] (n, exp) EN: fair market price ; fair market value |
ศาลยุติธรรม | [sān yuttitham] (n, exp) EN: Court of justice ; law court FR: cour de justice [ f ] |
ศาลยุติธรรมแห่งยุโรป | [Sān Yuttitham Haeng Yurōp] (org) EN: European Court of Justice (ECJ) FR: Cour de justice européenne [ f ] ; Cour de justice de l'Union européenne (CJUE) [ f ] |
อย่างยุติธรรม | [yāng yutitham] (adj) EN: fairly |
ยุติ | [yuti] (v) EN: end ; close ; come to an end ; stop ; cease ; finish ; terminate ; stamp out ; abandon ; wind up ; culminate FR: clôturer |
ยุติปัญหา | [yuti panhā] (v, exp) EN: cease the problem ; end the problem |
ยุติธรรม | [yutitham] (n) EN: justice ; fair play ; fairness ; impartiality FR: fair-play [ m ] |
ยุติธรรม | [yutitham] (adj) EN: just ; fair ; impartial ; neutral FR: impartial |
ยุติธรรม | [yutitham] (adv) EN: fairly ; impartially ; honestly ; neutrally |
ยุติ | [yutti] (v) EN: end ; close ; come to an end ; stop ; terminate ; finish ; cease ; wind up ; culminate FR: cesser ; clore ; mettre un terme ; terminer ; achever |
ยุติการจ่ายน้ำ | [yutti kān jāi nām] (v, exp) EN: cut off the water |
ยุติการกระจายเสียง | [yutti kān krajāisīeng] (v, exp) EN: stop broadcasting ; go off air |
ยุติการทำงาน | [yutti kān thamngān] (v, exp) EN: stop working |
ยุติคำปราศรัย | [yutti khamprāsai] (v, exp) EN: wind up a speech |
ยุติลง | [yutti long] (v, exp) FR: cesser ; prendre fin |
ยุติปัญหา | [yutti panhā] (v, exp) EN: cease the problem ; end the problem |
ยุติสงคราม | [yutti songkhrām] (v, exp) EN: terminate the state of war |
ยุติธรรม | [yuttitham] (n) EN: justice ; fair play ; fairness ; impartiality FR: justice [ f ] ; fair-play [ m ] ; impartialité [ f ] ; équité [ f ] |
ยุติธรรม | [yuttitham] (adj) EN: just ; fair ; impartial ; neutral ; unprejudiced ; unbiased; equitable FR: juste ; impartial ; équitable |
ยุติธรรม | [yuttitham] (adv) EN: fairly ; impartially ; honestly ; neutrally |
Longdo Approved EN-TH
CIFS | (org) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม (Central Institute of Forensic Science) |
Attorney General | (n) รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม (ของสหรัฐฯ) |
Central Bankruptcy Court | (n, name, org, uniq) ศาลล้มละลายกลาง เป็นศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ - อ้างอิงจากhttp://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html |
administration of justice | (n) การบริหารงานยุติธรรม, กระบวนการยุติธรรม เช่น It aims to render accessible, fair, speedy and cost-effective administration of justice in the interest of a safer and more secure country. |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
arbitrate | (vt) ตัดสิน, See also: ชี้ขาด, ยุติการโต้แย้ง |
arbitrate | (vi) เป็นผู้ตัดสิน, See also: ชี้ขาด, ยุติการโต้แย้ง, Syn. settle peacefully, smooth out |
above-board | (idm) โปร่งใส, See also: ยุติธรรม, เปิดเผย, เชื่อถือได้ |
all over | (idm) เสร็จสิ้น, See also: ยุติ, จบ |
beep | (vt) เรียกโดยใช้วิทยุติดตามตัว |
beeper | (n) เครื่องวิทยุติดตามตัว, See also: เครื่องเพจเจอร์, Syn. bleeper, pager |
break-up | (n) การยุติความสัมพันธ์หรือการร่วมมือ |
be at an end | (idm) หมด, See also: ยุติ, สิ้นสุด, Syn. bring to, put to |
bleed for | (phrv) ทำให้จ่ายเงินอย่างไม่ยุติธรรมหรือโดนโกง (คำไม่เป็นทางการ) |
blow over | (phrv) หยุด, See also: ยุติ, สิ้นสุด |
blow the whistle on | (idm) ยุติ, See also: สิ้นสุด |
bow out | (phrv) ออกจาก (บางสิ่งเช่น การแข่งขันฯลฯ), See also: หยุด, ยุติ, ละทิ้ง, เลิก |
break off | (phrv) ยุติ, See also: สิ้นสุด, พังทลาย, Syn. declare off, declare on |
break short | (phrv) ยุติกะทันหัน, See also: เลิกกลางคัน, จบทันที, Syn. cut short |
break up | (phrv) ยุติ, See also: เลิก, หยุด, ระงับ |
break with | (phrv) หยุดการติดต่อกับ, See also: เลิกคบ, ยุติการคบหากับ |
bring an end to | (idm) ยุติ, See also: สิ้นสุด, Syn. be at, put to |
bring something to a dead end | (idm) ยุติ, See also: เลิก, หยุด, Syn. be at, come to |
cardinal virtue | (n) คุณสมบัติของคนที่น่าเคารพอย่างมาก (ฉลาดรอบคอบ, ยุติธรรม, การควบคุมอารมณ์, ความอดทน) |
cease | (n) การสิ้นสุด, See also: การยุติ, การจบ, การหยุด, Syn. cessation |
cease | (vi) จบ, See also: ยุติ, สิ้นสุด, Syn. end |
cease-fire | (n) การหยุดรบ, See also: การยุติการสู้รบ, การตกลงหยุดสู้รบเพื่อการเจรจาหาสันติ, Syn. truce, armistece, cease-fire |
clean | (adj) ยุติธรรม, Syn. fair |
closure | (n) การจบ, See also: การยุติ, การสิ้นสุด, Syn. end, finish |
court | (n) ศาล, See also: ศาลยุติธรรม, ที่ตัดสินความ, Syn. courthouse, justice building |
call a halt to | (idm) หยุด, See also: ยุติ |
call off | (phrv) ยุติ, See also: หยุด, ยกเลิก, ล้มเลิก |
come to an end | (idm) สิ้นสุด, See also: จบ, ยุติ |
cut off | (phrv) ยกเลิก, See also: ยุติ |
differentiate between | (phrv) ปฏิบัติต่อ (บางคน) อย่างไม่ยุติธรรม, Syn. discriminate between |
do down | (phrv) ทำให้พ่ายแพ้ (โดยวิธีที่ไม่ยุติธรรม) |
do justice to | (phrv) ปฏิบัติกับ...อย่างยุติธรรม, See also: ยุติธรรมกับ |
fair do's | (idm) ยุติธรรม (คำไม่เป็นทางการ) |
fight through | (phrv) ต่อสู้กันจนรู้ผล, See also: ต่อสู้จนยุติ, Syn. fight out, slug out |
finish up | (phrv) ยุติ (การกระทำ), Syn. end up |
death | (n) การสิ้นสุด, See also: การยุติ, การจบสิ้น, การถูกทำลาย, การดับ, Syn. destruction, end, extinction |
deselect | (vt) ยุติการฝึกงานก่อนกำหนด, See also: คัดออก |
desist | (vi) หยุดการกระทำ, See also: ระงับ, ยุติ, เลิก, งดเว้น, Syn. cease, refrain, hold, stop |
desistance | (n) การหยุดการกระทำ, See also: การระงับ, การยุติ, การเลิก, การงดเว้น, Syn. astinenee |
determine | (vt) สิ้นสุด, See also: ยุติ, Syn. end, terminate |
determine | (vi) สิ้นสุด, See also: ยุติ, Syn. end, terminate |
equitable | (adj) ยุติธรรม, See also: เที่ยงตรง, ถูกต้อง, Syn. fair, impartial, just |
equity | (n) ความถูกต้อง, See also: ความยุติธรรม, ความเที่ยงตรง, Syn. fairness, impartiality, justice |
even-handed | (adj) ยุติธรรม, See also: ไม่เอนเอียง, เที่ยงตรง, Syn. equal, impartial, unbiased |
fair | (adj) ยุติธรรม, See also: เป็นธรรม, เที่ยงตรง, ถูกต้อง, ซื่อสัตย์, สมเหตุสมผล, Syn. reasonable, equal |
fair | (adv) อย่างยุติธรรม, See also: อย่างเที่ยงธรรม, ถูกต้องตามกฎ |
fairly | (adv) อย่างยุติธรรม, See also: อย่างเท่าเทียม, อย่างสมเหตุสมผล, Syn. equitably, dispassionately, justly |
fair-minded | (adj) เที่ยงตรง, See also: ยุติธรรม, ไม่ลำเอียง, ไม่มีอคติ, Syn. unbiased, unprejudiced |
fairness | (n) ความยุติธรรม, See also: ความไม่ลำเอียง, ความตรงไปตรงมา, Syn. impartiality, justice, Ant. injustice, unfairness |
finish | (vt) จบ, See also: ยุติ, สำเร็จ, Syn. end, terminate, Ant. start, begin |
Hope Dictionary
astraea | (แอสทรี'อะ) n. เทพเจ้าแห่งความยุติธรรม (goddess of justice) |
candor | (แคน'เดอะ) n. ภาวะเปิดเผย, ภาวะตรงไปตรงมา, ความยุติธรรม, สีขาว, ความบริสุทธิ์, ความใจดี, Syn. openness, Ant. bias |
candour | (แคน'เดอะ) n. ภาวะเปิดเผย, ภาวะตรงไปตรงมา, ความยุติธรรม, สีขาว, ความบริสุทธิ์, ความใจดี, Syn. openness, Ant. bias |
cease | (ซีส) vi. หยุด, ยุติ, เลิก, เว้น, ตาย vt. หยุด, เลิก, Syn. quit -Conf. seize |
ceasing | (ซีส'ซิง) n. การหยุด, การยุติ |
closing | n. การสิ้นสุด, การปิด adj. สิ้นสุด, ยุติ, หมดเวลา |
closure | (โคลส'เชอะ) n. การปิด, การยุติ, สิ่งที่ปิด, กำแพงล้อมรอบ, ฝาปิด, สิ่งปกคลุม. vt., vi. ทำให้ยุติ, ยุติ |
cricket | (คริค'คิท) n. จิ้งหรีด, กีฬาคริคเก็ต, การเล่นที่ยุติธรรม, ความประพฤติของสุภาพของสุภาพบุรุษ vi. |
determination | (ดิเทอร์มิเน'เชิน) n. การกำหนดความแน่นอน, การตกลงใจ, ความตั้งใจ, การยุติ, การสิ้นสุด -S.decision, Ant. uncertainty |
determine | (ดิเทอร์'มิน) vt. กำหนด, ตัดสินใจ, ตกลงใจ, ตั้งใจ, ยุติ, ทำให้สิ้นสุด vi. ตกลงใจ., See also: determinable adj. determinability n., Syn. decide |
dissolve | (ดิซอลว') vi., vt. ละลาย, กระจายตัว, หลอมเหลว, กลายเป็นของเหลว, แตกตัว, ยุติ, สิ้นสุด, See also: dissolvability n. ดูdissolve dissolvable adj. ดูdissolve, Syn. divide, melt, disappear, fade, Ant. solidify, thicken, unite |
drop | (ดรอพ) { dropped, dropping, drops } n. หยด, หยาด, จำนวนเล็กน้อย, หยดยา, ลูกตุ้ม, การตกลง vi., vt. (ทำให้) หยดลง, หย่อนลง, ตก, จมลง, สิ้นสุด, ถอน, ยุติ, หายไป, หมอบ, ตกต่ำลง, ถอยหลัง, เคลื่อนต่ำลง -Phr. (drop behind ล้าหลัง, ไม่ครบ, ไม่ถึง) |
due | (ดิว) adj. เหมาะสม, สมควร, พอเพียง, พอควร, ครบกำหนด, ถึงกำหนด, ถูกต้อง, ถูกทำนองคลองธรรม, ตรง, หลีกเลี่ยงไม่ได้. n. สิทธิที่ควรได้รับ, หนี้, เงินที่พึงชำระ, ค่าธรรมเนียม, ความยุติธรรม. -adv. โดยตรง, แน่นอน. -Phr. (due to เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เพราะ) ., See also: d |
emancipate | (อิแมน'ซะเพท) vt. ปลดเปลื้อง, ปล่อยให้อิสระ, ปล่อยทาส, เลิกทาส, ยุติการควบคุม, See also: emancipation n. ดูemancipate emancipative adj. ดูemancipate emancipator n. ดูemancipate emancipatory adj. ดูemancipate emanipated adj. ดูemancipate |
end | (เอนดฺ) n. ปลาย, ท้าย, ตอนจบ, จุดจบ, ชั้นสุดท้าย, มรณกรรม, ความพินาศ, ความหายนะ, ผลเบื้องปลาย, ผลประสงค์, วัตถุที่ประสงค์, การลงเอย, สภาพสุดท้าย vt. ยุติ, ยกเลิก, ฆ่า, ทำลาย, ขจัดสิ้น. vi. สิ้นสุด, ยุติ, ตาย, ถึงขั้นสุดท้าย -Phr. (make both ends meet หาเงินให้พอกับความต้องก |
ending | (เอน'ดิง) n. การยุติ, ตอนจบ, เบื้องปลาย, ความตาย, ท้ายคำศัพท์ |
even | (อี'เวิน) adj. เรียบ, ราบ, สม่ำเสมอ, ซึ่งหารด้วยเลข2ได้ลงตัว, ได้สมดุล, ยุติธรรม, พอดี, ไม่ขาดไม่เกิน, เงียบสงบ -adv. อย่างราบเรียบ, ยังคง, ยิ่งกว่านั้น, แม้ว่า n. ตอนเย็น vt. ทำให้ราบ, ทำให้เรียบ, ทำให้สมดุล, ทำให้เท่ากัน. vt. กลายเป็นเท่ากัน. -Id. (be (get) even wi |
even-handed | (อี'เวินแฮน'ดิด) adj. ไม่เอนเอียง, ยุติธรรม, See also: even-handedly adv. even-handedness n. ดูeven-handed, Syn. fair |
expiration | (เอคซฺพิเร'เชิน) n. การหายใจออก, การสิ้นสุด, การยุติ, การหมดอายุ, การตาย |
expire | (เอคซไพ'เออะ) { expired, expiring, expires } v. หายใจออก, ยุติ, หมดอายุ, ตาย., See also: expirer n., Syn. perish |
expiry | (เอคซฺไพ'รี) n. การหายใจออก, การหมดอายุ, การยุติ, การตาย |
extinguish | (อิคซฺทิง'กวิช) vt. ดับ, ทำให้สิ้น, ยกเลิก, ยุติ, ชำระหนี้., See also: extinguishable adj. extinguishment n., Syn. douse |
fair | (แฟรฺ) adj. ยุติธรรม, ถูกต้อง, ซื่อสัตย์, ใหญ่พอสมควร, มาก, ปานกลาง, ดีพอใช้, สภาพ, สวยงาม, ไม่มีจุดด่างพร้อย, สะอาด, ชัดเจน, มีผิวพรรณดี, มีเสน่ห์., See also: fairness n. -adv. สุภาพ, ยุติธรรม. -Phr. fair and square ซื่อสัตย์, ตรงไปตรงมา . -Phr. see fair ตัด |
fair and square | n. ตรงไปตรงมา, ยุติธรรม, ซื่อสัตย์ |
fair play | n. การตัดสินอย่างยุติธรรม, การเล่นอย่างยุติธรรม, พฤติกรรมที่เที่ยงธรรม |
fair-minded | (แฟรฺ'ไม ดิด) adj. ซึ่งมีใจยุติธรรม, เที่ยงธรรม., See also: fair-mindedness n. |
fairly | (แฟร'ลี) adj. อย่างตรงไปตรงมา, อย่างยุติธรรม, อย่างปานกลาง, โดยความเป็นจริง, โดยสิ้นเชิง, Syn. justly |
finish | (ฟิน'นิช) { finished.finishing, finishes } v. ทำให้เสร็จ, ทำให้หมด, ทำจบ, เสร็จ, จบ, สิ้นสุด, ยุติ, เอาชนะได้สิ้นเชิง, ทำลาย, ฆ่า. n. สุดท้าย, วาระสุดท้าย, ความตาย, ความเกลี้ยงเกลา, ยาขัดเงา, ผิวหน้าที่เกลี้ยงเกลา, ความมันเป็นเงา, ลาย, พื้นหน้าเคลือบเงา, See also: fi |
finished | (ฟิน'นิชทฺ) adj. ปลาย, สิ้นสุด, เสร็จ, ยุติ, สมบูรณ์, ดีเยี่ยม, ประณีตงดงาม |
forensic | (ฟอเรน'ซิค) adj. (เกี่ยวกับ) กฎหมาย, ศาลยุติธรรม, การเล่นสำนวนโวหาร, See also: forensics n. วิชาเกี่ยวกับศิลปะแห่งการพูดหรือเขียนเพื่อจูงใจคน forensicality n. forensicsally adv. |
game | (เกม) { gamed, gaming, games } n. กีฬา, เกม, เนื้อสัตว์ที่ล่ามา, สิ่งที่ตามล่า -Phr. (play the game เล่นอย่างยุติธรรม, เล่นตามกติกา) . adj. เกี่ยวกับสัตว์ที่ล่า, อย่างนักกีฬา, กล้าได้กล้าเสีย, เต็มใจเล่น. vi. เล่นพนัน, พนัน, ขันต่อ. vt. พนันหมด, เสียพนัน คำศัพท์ย่อย |
gerrymander | vt., vi., n. (การ) แบ่งเขตเลือกตั้งอย่างไม่ยุติธรรม, ทำตบตา |
impartial | (อิมพาร์'เชิล) adj. ยุติธรรม, ไม่เอนเอียง, ไม่มีคติ., See also: impartiality, impartialness n., Syn. just, fair |
inequality | (อินอิควอล'ลิที) n. ความไม่เท่ากัน, ความไม่ยุติธรรม, ความลำเอียง, ความไม่เสมอภาค |
inequitable | (อินเอค'ควิทะเบิล) adj. ไม่เสมอภาค, ไม่ยุติธรรม., See also: inequitableness n . inequitably adv., Syn. unfair, unjust |
inequity | (อินเอค'ควิที) n. ความไม่เสมอภาค, ความไม่ยุติธรรม, Syn. unfairness, injustice |
iniquitous | (อินิค'ควิทัส) adj. ไม่ยุติธรรม, ไม่ซื่อตรง, ไร้ศีลธรรม, ชั่วช้า., See also: iniquitously adv. adv. iniquitousness n., Syn. unjust, immoral, wicked |
iniquity | (อนิค'ควิที) n. ความอยุติธรรม, การไร้ศีลธรรม, ความชั่วช้า, Syn. wickedness |
injury | (อิน'จะรี) n. อันตราย, ภัย, ความเสียหาย, ความอยุติธรรมที่ได้รับ, การล่วงละเมิด, การก้าวร้าว, Syn. harm, hurt |
injustice | (อินจัส'ทิส) n. ความอยุติธรรม, ความไม่เป็นธรรม, การล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น, การกระทำที่ไม่ยุติธรรม, ความผิด, Syn. grievance |
judicature | (จู'ดะเคเชอะ) n. การพิจารณาอรรถคดีตามกฎหมาย, ผู้พิพากษาทั้งหลาย, อำนาจในการพิพากศาอรรถคดี, ศาลยุติธรรม, กฎหมาย |
judicial | (จูดิช'เชิล) adj. เกี่ยวกับการตัดสินอรรถคดีตามกฎหมาย, เกี่ยวกับศาลยุติธรรม, เกี่ยวกับผู้พิพากษา, เกี่ยวกับกฎหมาย, ซึ่งเกิดจากพระผู้เป็นเจ้า, Syn. legal, juridical |
judiciary | (จูดิช'ชีเออรี) adj. เกี่ยวกับการตัดสินอรรถคดีของศาลยุติธรรม, เกี่ยวกับกฎหมาย, เกี่ยวกับผู้พิพากษา n. การพิจารณาคดีตามกฎหมาย, ศาลยุติธรรม, ระบบศาล, การะทรวงยุติธรรม, ผู้พิพากษาทั้ง, หลาย, Syn. legal, discerning |
juristic | (จูริส'ทิค) adj. เกี่ยวกับนักกฎหมาย, เกี่ยวกับกฎหมาย, เกี่ยวกับศาลยุติ, ธรรม |
juristic act | n. นิติกรรม, การกระทำของบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงยุติหรือมีผลต่อนิติ, สัมพันธ์ |
just | (จัสทฺ) adj. ยุติธรรม, เที่ยงธรรม, เป็นธรรม, พอดี, สมควร, พอเหมาะ, สมเหตุสมผล, ถูกต้องแม่นยำ, เล็กน้อย, เท่านั้น, จริง ๆ |
justice | (จัส'ทิส) n. ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, ความสมควร -Phr. (bring tojustice นำขึ้นศาล) -Phr. (dojustice to ให้ความยุติธรรมแก่), Syn. impartiality, equity |
justiciable | (จัสทิช'เชียเบิล) adj. ซึ่งตัดสินใจโดยกฎหมายหรือโดยศาลยุติ, ธรรม., See also: justiciability n. ดูjusticiable, Syn. defensible, right |
justiciary | (จัสทิช'ชีเออรี) adj. เกี่ยวกับการพิจารณาอรรถคดีโดยศาลยุติธรรม n. ที่ทำการหรืออำนาจหน้าที่ของตุลาการ |
justly | (จัสทฺ'ลี) adv. อย่างยุติธรรม, อย่างซื่อสัตย์, โดยความเป็นธรรม, ตามข้อเท็จจริง, แม่นยำ, แน่ชัด, Syn. honestly, fairly |
Nontri Dictionary
cease | (vi, vt) ยุติ, เลิก, หยุด, สิ้นสุด, เว้น |
cessation | (n) การสิ้นสุด, การหยุด, การยุติ, การเลิก, การเว้น |
close | (n) การปิด, การจบ, การยุติ, การสิ้นสุด, การเลิก, การลงเอย |
close | (vt) ปิด, จบ, อวสาน, สิ้น, เลิก, ยุติ, ลงเอย |
closure | (n) การปิด, การจบ, การยุติ, ฝาปิด |
conclusion | (n) การจบ, การตัดสินใจ, ข้อยุติ |
deservedly | (adv) อย่างเหมาะสม, สมควรแล้ว, สมน้ำหน้า, โดยยุติธรรมแล้ว |
dissolve | (vt) ทำให้ละลาย, ลบล้าง, เลิกล้ม, ทำลาย, ยุบ(สภา), ยุติ |
drop | (vi) หยด, ตก, หย่อนลง, เคลื่อนต่ำลง, จมลง, ยุติ, สิ้นสุด |
due | (n) หนี้, เงินที่ต้องชำระ, ความยุติธรรม, ค่าธรรมเนียม |
end | (vt) ทำให้จบ, ลงเอย, ลงท้าย, ยุติ, ทำลาย, ฆ่า |
equitable | (adj) เสมอภาค, ยุติธรรม, เที่ยงธรรม, เป็นธรรม |
equity | (n) ความเสมอภาค, ความยุติธรรม, ความเที่ยงธรรม |
expire | (vi) สิ้นสุด, ยุติ, ตาย, หมดลม, สิ้นใจ, สิ้นลม |
extinguish | (vt) ดับ, ทำให้สิ้น, ยุติ, ระงับ, เลิก |
finish | (vt) ทำให้เสร็จ, สิ้นสุด, ลงท้าย, หมด, ยุติ |
foul | (adj) เปรอะเปื้อน, สกปรก, เน่า, ไม่ยุติธรรม, เลว, ร้ายกาจ, ชั่ว, ยุ่ง |
imparity | (n) ความไม่เสมอภาค, ความไม่ยุติธรรม, การขาดดุล |
impartial | (adj) ไม่ลำเอียง, ยุติธรรม, เสมอภาค, เป็นธรรม |
impartiality | (n) ความไม่ลำเอียง, ความยุติธรรม, ความเป็นธรรม |
inequitable | (adj) ไม่สมดุล, ไม่เสมอภาค, ไม่เท่ากัน, ไม่ยุติธรรม |
inimitable | (adj) อยุติธรรม, เลียนแบบไม่ได้, เลิศล้ำ |
iniquity | (n) ความอยุติธรรม, ความไม่มีศีลธรรม, ความชั่วช้า |
invidious | (adj) ขัดเคือง, น่าริษยา, ไม่ยุติธรรม, ไม่เสมอหน้า, แสลงหู |
just | (adj) เที่ยงตรง, เป็นธรรม, ยุติธรรม, ถูกต้อง, สมควร, สมเหตุผล |
justice | (n) ความยุติธรรม, ความเที่ยงตรง, ความถูกต้อง |
ONE-one-sided | (adj) มีด้านเดียว, เข้าข้าง, ไม่ยุติธรรม, ลำเอียง |
outstanding | (adj) มีชื่อ, เด่น, สำคัญ, ยังไม่ยุติ, ยังไม่เสร็จ |
partial | (adj) เป็นบางส่วน, ลำเอียง, อคติ, ไม่ยุติธรรม |
partiality | (n) ความลำเอียง, ความอคติ, ความไม่ยุติธรรม |
quietus | (n) การดับสูญ, ความยุติ, ความสงบ, การออกจากงาน |
quit | (vt) ปล่อยไป, เลิก, ลบล้าง, ทิ้ง, ออกจาก, ปลดเปลื้อง, ยุติ |
rectitude | (n) ความยุติธรรม, ความเที่ยงธรรม, ความถูกต้อง, ความมีศีลธรรม |
right | (n) ความยุติธรรม, สิทธิ, ความถูกต้อง, ข้อเท็จจริง, ฝ่ายขวา |
rightful | (adj) โดยชอบธรรม, ถูกกฎหมาย, ยุติธรรม |
rightly | (adv) อย่างยุติธรรม, อย่างถูกต้อง, อย่างเป็นธรรม |
stop | (n) เครื่องกั้น, การหยุด, การยุติ, การเลิก, อุปสรรค, การยับยั้ง, การจอด |
stop | (vi) ยุติ, หยุด, เลิก, พักไว้ |
stoppage | (n) เครื่องกีดขวาง, การหยุด, การยุติ, การห้าม, การเลิก, การอุด |
surcease | (n) การสิ้นสุด, การหยุด, การยุติ, การเลิก |
surcease | (vt) สิ้นสุด, หยุด, ยุติ, เลิก |
terminable | (adj) สิ้นสุดลงได้, หมดอายุ, ยุติลงได้ |
terminate | (vi, vt) สุดสิ้นลง, จบลง, ลงท้าย, ลงเอย, ยุติ |
unequal | (adj) ไม่เท่ากัน, ไม่ยุติธรรม, ไม่สม่ำเสมอ |
unfair | (adj) ไม่ยุติธรรม, ไม่ถูกต้อง |
unjust | (adj) ไม่ยุติธรรม, ไม่เที่ยงธรรม |
upright | (adj) ตรง, เที่ยงตรง, ยุติธรรม, ซื่อตรง |
uprightness | (n) ความซื่อตรง, ความเที่ยงตรง, ความยุติธรรม, ความเที่ยงธรรม |
wrong | (n) ความผิด, ความชั่ว, ความอยุติธรรม, การใส่ร้ายผู้อื่น |
wrongful | (adj) ผิดพลาด, ไม่ยุติธรรม, ผิดกฎหมาย, ไม่ถูกต้อง, ผิดศีลธรรม |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Court Officer | เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม |
European Court of Justice | (name) ศาลยุติธรรมยุโรป |
extrajudicial killings | (n, jargon) การสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม |
obstruction of justice | (n) การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม |
retributive justice | กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ |
retributive justice | (n) (ก่อนหน้านี้ที่เสนอไปผิดค่ะ) ขอแก้ไขเป็น "กระบวนการยุติธรรมเชิงแก้แค้นทดแทน", See also: A. restorative justice |
ศาลล้มละลายกลาง | (n, org, uniq) ศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ http://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html |
ศาลล้มละลายกลาง | (n, org, uniq) ศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ http://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html |
Longdo Approved JP-TH
結論 | [けつろん, ketsuron] (n) การจบ, การตัดสินใจ, ข้อยุติ |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
法務省 | [ほうむしょう, houmushou] (n) กระทรวงยุติธรรม |
正義 | [せいぎ, seigi] (n) ความยุติธรรม ความถูกต้อง |
ministry of justice | [houmushou, houmushou] (n, vi, vt, modal, ver) กระทรวงยุติธรรม |
公明正大 | [こうめいせいだい, koumeiseidai] (n, adj) บริสุทธิ์ยุติธรรม |
Longdo Approved DE-TH
ausgehen | (vi) |geht aus, ging aus, ist ausgegangen| ดับ, ทำให้สิ้น, ยกเลิก, ยุติ เช่น Nachdem er mich viel geschumpfen hatte, ging mir die Geduld aus. หลังจากที่เขาด่าฉันซะมากมาย ความอดทนของฉันก็มลายหายไป |
Longdo Unapproved DE-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Gerechtigkeit { f } | (n) ความยุติธรรม |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0664 seconds, cache age: 8.426 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม