495 ผลลัพธ์ สำหรับ *ยอม*
ภาษา
หรือค้นหา: ยอม, -ยอม-Longdo TH - TH
มนุษย์ป้า | คำที่ใช้เรียกผู้ที่มีพฤติกรรมที่มีลักษณะที่เห็นแก่ตัว ทำสิ่งต่างๆ โดยไม่สนใจว่าจะทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การแย่งที่นั่งว่างในรถโดยสาธารณะ, การแซงคิวไม่ยอมต่อแถวคอยเวลาขึ้นรถไฟฟ้า, โดยส่วนมากจะเป็นสุภาพสตรีในวัยกลางคนจนถึงสูงอายุ จึงเป็นที่มาถึงคำว่า "ป้า" เริ่มเป็นที่ใช้กันแพร่หลายในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในช่วงปี 2557 โดยล่าสุดมีลือกันถึงกรณีมีผู้เปิดประตูรถแท็กซี่มีผู้โดยสารอยู่ขณะที่กำลังจอดติดไฟแดง ขอขึ้นไปนั่งด้วยหน้าตาเฉยโดยอ้างว่าขอติดรถไปด้วยตามเส้นทางที่ผ่าน |
Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
abidance | (n) การคงอยู่, การยอมปฏิบัติตาม |
คำพิำพากษาตามยอม | (n) compromise verdict |
เต่าถุย | (slang) คนพวกเต่าถุยคือ คนพวกที่อยู่ในกะลามากกว่ากบ มีชีวิตไปวันๆ แบบที่พ่อแม่สั่งสอนไม่เคยจะยอมฟัง มีความเชื่อมั่นในความคิดเต่าล้านปีของตัวเองสูง บางคนถึงกับบอกว่าตนเองนั้นเป็นบัวเหล่าพิเศษ คือเต่ากินแล้วยังต้องถุยออกมา |
Longdo Unapproved KO - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Kim Taeyeon | (n, name) ศิลปินเกาหลี หัวหน้าวงเกิลกรุ๊ปชื่อดัง Girls' Generation หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า So nyeo Shi Dae ทั้ง 2 ชื่อแปลว่า ยุคของหญิงสาว มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน มีผลงานเพลงออกมาหลายอัลบั้ม คิม แทยอน เป็นนักร้องที่เสียงทรงพลังมากที่สุดในวง มีพรสวรรค์ในการร้องเพลงเป็นอย่างมาก ด้วยน้ำเสียงที่หาคนเทียบได้ยาก ได้ร้องเพลงประกอบละคร ไว้หลายเรื่อง เช่น Hong Gill Dong / Beethoven Virus / Hana sang / Atena เป็นต้น และมีรางวัลการันตีในความสามารถด้านการร้องเพลงมากมาย มีผลงานดูเอ๊ทกับศิลปินหลายๆคน รวมถึง อาจารย์ที่สอน คิม แทยอนร้องเพลง หรือที่รู้จักในนามของ The one คิม แทยอน เป็นหัวหน้าวงที่นำวงจนสามารถรับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัล แผ่นเสียงทองคำ (Golden Disk Daesang) ทำให้ คิม แทยอน เป็นที่ยอมรับในวงการเพลงเกาหลี เป็นคนที่มากด้วยความสามารถ |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ยอม | (v) give in, See also: surrender, yield, Example: เขาตัดสินใจยอมถอยจากพรรค เพื่อไปตั้งทีมทำงานการเมืองใหม่, Thai Definition: ไม่สู้ |
ยอม | (v) allow, See also: permit, Example: ในการเจรจาต่อรองครั้งนี้คอมลิงค์ยอมลดดอกเบี้ยให้ ทศท. เหลือเพียงประมาณ 3, 800 ล้านบาท, Thai Definition: ผ่อนผันให้ |
ยอม | (v) agree, See also: consent, yield, submit, Syn. ยินยอม, Example: เหล่าประเทศในเอเชียยอมตกลงเปิดเสรีตลาดการเงิน เพื่อช่วยสร้างเสถียรภาพทางด้านการเงินให้แก่ภูมิภาค, Thai Definition: อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ |
จำยอม | (v) be unwilling, See also: be reluctant, Syn. จำใจ, ยอม, Example: แม่จำยอมให้ลูกสาวไปเที่ยวกับเพื่อน, Thai Definition: ยอมให้อย่างเสียไม่ได้ |
สมยอม | (v) mutually consent, See also: connive, make a secret settlement, Ant. บังคับ, บีบบังคับ, Example: คณะกรรมการกำลังปรับปรุงแก้ไขระเบียบ และเพิ่มโทษเอกชนผู้ฮั้วประมูลหรือสมยอมราคา, Thai Definition: ยอมตกลงด้วย |
ยอมตาม | (v) yield, See also: give way to, Syn. เออออห่อหมก, ตามใจ, Ant. ขัดขวาง, Example: เขาเป็นคนหัวอ่อน ยอมตามคนอื่นๆ ไม่ค่อยตั้งคำถามสงสัยเกี่ยวกับอะไรมากนัก |
ยอมรับ | (v) agree, See also: accept, concur, acquiesce, Syn. เห็นด้วย, Example: นักภาษาศาตร์คอมพิวเตอร์มักจะยอมรับการแก้ปัญหาแบบอนุโลม, Thai Definition: เห็นด้วยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, ยอมรับเอา |
ยอมรับ | (v) confess, See also: plead guilty, admit, Syn. สารภาพ, รับสารภาพ, รับผิด, Example: เขาไม่ยอมรับในสิ่งที่เขาทำให้เกิดผลเสียขึ้นมา |
ยอมสยบ | (v) surrender to, See also: yield to, Syn. ยอมศิโรราบ, Ant. อหังกา, Example: แม้วัยจะล่วงเลยมาถึงปีที่ 78 แล้ว แต่ใจของท่านก็ยังไม่ยอมสยบต่อการเมือง, Thai Definition: ยอมแพ้และอยู่ใต้อำนาจ |
ยอมแพ้ | (v) surrender, See also: capitulate, give in, yield, give up, Syn. ยอม, จำนน, ยอมยกธงขาว, Example: มีคนไข้ของเราหลายคนพบทุกข์แล้วยอมแพ้จนถึงกับฆ่าตัวตาย |
ยอมให้ | (v) yield, See also: agree to let, agree to allow, Syn. ยอม, ยินยอมให้, Ant. ขัดใจ, Example: หากผมทำผิดจริงผมก็จะยอมให้บริษัทตัดเงินเดือน |
ยินยอม | (v) consent, See also: agree, assent, approval, allow, Syn. ยอม, ตาม, Ant. ขัดขวาง, ขัด, ขัดขืน, ปฏิเสธ, Example: การหย่าร้างจะมีขึ้นได้เมื่อคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายยินยอม, Thai Definition: คล้อยตามและยอมให้เป็นเช่นนั้น |
ไม่ยอม | (v) refuse, See also: deny, be not willing to, not allow, say no, Syn. ไม่ยินยอม, ไม่สมยอม, Example: เจ้าของบ้านไม่ยอมให้ตำรวจขึ้นไปตรวจค้นชั้นบน, Thai Definition: อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าไม่เห็นด้วย ไม่ผ่อนผันให้ |
ยอมความ | (v) compromise, See also: make a settlement, settle, conciliate, agree, negotiate, Syn. ตกลงความ, ระงับข้อพิพาษ, Example: จำเลยตัดสินใจยอมความแล้ว, Thai Definition: ตกลงระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด, Notes: (กฎหมาย) |
ยอมจำนน | (v) surrender, Syn. ยอมแพ้, Ant. สู้, Example: ชาวบ้านต้องยอมจำนนต่อรัฐผู้มีอำนาจ เพราะไม่มีทางที่จะไปเถียงแข่งได้, Thai Definition: ยอมแพ้เพราะไม่มีทางสู้ |
คำยินยอม | (n) consent, Example: เจ้าของบัญชีจะต้องให้คำยินยอมเป็นหลักฐานต่อธนาคาร, Thai Definition: ถ้อยคำยอมตามอย่างไม่ขัด |
หยอมแหยม | (adv) be thinly scattered, See also: sparse, few and far between, Syn. หรอมแหรม, Example: ในการสัมมนาครั้งนี้ มีรัฐมนตรีไปกันหยอมแหยม, Thai Definition: มีเล็กน้อย, มีห่างๆ, ไม่เป็นพวกเป็นหมู่ |
ที่ยอมรับ | (adj) acceptable, See also: agreeable, admissible, Syn. เป็นที่ยอมรับ |
ภาระจำยอม | (n) servitude, Example: ทางเดินภายในตลาดปีนังคือภาระจำยอมซึ่งชาวบ้านใช้ร่วมกันมากกว่า 20 ปีแล้ว, Thai Definition: ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น, Notes: (กฎหมาย) |
ภาวะจำยอม | (n) servitude, Example: การขึ้นราคาค่ารถโดยสารประจำทางทำให้ประชาชนอยู่ในภาวะจำยอมเพราะประชาชนไม่มีทางเลือก, Thai Definition: หมดทางเลือก, ไม่มีอำนาจต่อรอง |
ยอมรับผิด | (v) confess, See also: admit/acknowledge one's mistake, Syn. รับผิด, Ant. ปฏิเสธ, Example: เขายอมรับผิดว่าเขาได้ให้ข่าวนี้แก่ผู้สื่อข่าวคนหนึ่ง, Thai Definition: ยอมรับความผิดที่ได้กระทำไป |
ไม่ยอมรับ | (v) refuse to admit, See also: refuse to acknowledge, Syn. ไม่รับ, ไม่รับผิด, Example: จำเลยไม่ยอมรับว่าเป็นผู้ลงมือสังหาร, Thai Definition: ให้คำตอบปฏิเสธ, ไม่ยอมสารภาพ |
การยอมจำนน | (n) succumbing, See also: surrender, submission, yield, knuckle under, giving up, defeat, Syn. การยอมแพ้, การจำนน, การยกธงขาว, Example: ท่าทีล่าสุดของประธานาธิบดีครั้งนี้เป็นการยอมจำนนให้กับโซเวียตมากเกินไป |
ความยินยอม | (n) agreement, See also: consent, Syn. ความยินยอมพร้อมใจ, Ant. ความดื้อ, ความดื้อรั้น, Example: การกระทำนี้เป็นความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย |
เป็นที่ยอมรับ | (v) be accepted, See also: be acknowledged, be admitted, approve, be acceptable, Syn. เป็นที่รับรอง, Ant. ปฏิเสธ, Thai Definition: ได้รับการพิสูจน์โดยทั่วไปว่าเป็นจริง |
ความยินยอมพร้อมใจ | (n) consent, See also: permission, approval, agreement, compliance, acquiescence, Syn. ความยินยอม, Ant. ความดื้อ, ความดื้อรั้น, Example: พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติด้วยความยินยอมพร้อมใจของประชาชนชาวไทย |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ความผิดอันยอมความได้ | น. ความผิดที่มีผลต่อผู้เสียหายเป็นการเฉพาะตัวโดยตรง และมีกฎหมายกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ในการดำเนินคดีอาญาในความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องฟ้องหรือร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดและเมื่อฟ้องแล้วจะถอนฟ้อง หรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้. |
ประนีประนอมยอมความ | น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน. |
พะยอม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Shorea roxburghii G. Don ในวงศ์ Dipterocarpaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง. |
ภาระจำยอม | น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจำยอม. |
ยอม | ก. อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ เช่น ยอมตามที่สั่ง ยอมนั่ง ยอมตาย, ผ่อนผันให้ เช่น ยอมให้ทำได้ ยอมให้ไป, ไม่สู้ เช่น เรื่องนี้ผมยอมเขา. |
ยอมความ | ก. ตกลงระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด. |
ยินยอม | ก. ยอม, ไม่ขัด, ตกลง, ชอบใจ, ตาม. |
ยินยอมพร้อมใจ | ก. เห็นด้วยร่วมกัน. |
สมยอม | ก. ยอมตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาบางอย่าง (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เจ้าทุกข์สมยอมกับเจ้าหน้าที่. |
เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร | ก. ไม่ยอมยกสามีให้หญิงอื่นแม้จะแลกกับทรัพย์สินเงินทองจำนวนมากก็ตาม. |
กฎหมาย | น. กฎเกณฑ์ที่ผู้มีอำนาจตราขึ้นเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามเป็นการทั่วไป ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับผลร้าย กฎหมายอาจตราขึ้นเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ กฎหมายอาจเกิดจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือกันก็ได้. |
กฎหมายปิดปาก | น. หลักกฎหมายที่ไม่ยอมให้อ้างหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามพฤติการณ์ ไม่ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม. |
กฎหมายระหว่างประเทศ | น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศ. |
ก้นหนัก | ก. นั่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งได้นาน ๆ ไม่ลุกหรือขยับเขยื้อนไปไหนง่าย ๆ เช่น แม่คนนี้ก้นหนัก ไปนั่งคุยอยู่บ้านเพื่อนตั้งแต่เช้ายังไม่ยอมกลับ. |
ก้มหัว | ก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร. |
กรมธรรม์ | (กฺรมมะทัน) น. เอกสารสัญญาซึ่งทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด เช่น เอกสารที่ทาสลูกหนี้ยินยอมให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน สัญญาขายฝากที่ไร่ที่สวน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน (สามดวง). |
กรรโชก | (กัน-) น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น. |
กระด้างกระเดื่อง | ว. ไม่อ่อนน้อม, เอาใจออกหากไม่ยอมอ่อนน้อมอย่างเคย. |
กระดูก ๓ | ว. ขี้เหนียวอย่างไม่ยอมให้อะไรแก่ใครง่าย ๆ เช่น เจ้านายคนนี้กระดูกจริง ๆ ดินสอแท่งเดียวก็ไม่ยอมให้เบิก. |
กระดูกขัดมัน | ว. ขี้เหนียวมากอย่างไม่ยอมให้อะไรแก่ใครง่าย ๆ เช่น แม่ค้าคนนี้กระดูกขัดมันเหลือเกิน เราซื้อผลไม้แกตั้งร้อยกว่าบาทขอแถมเงาะลูกหนึ่งก็ไม่ได้ |
กระต่ายสามขา | ว. ยืนกรานไม่ยอมรับ, กระต่ายขาเดียว ก็ว่า. |
กระเป๋าหนัก | ว. มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็นเจ้ามือเลี้ยงข้าว สงสัยจะกระเป๋าหนัก. |
กลฉ้อฉล | (กน-) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ผู้อื่นหลงผิดจนเข้าทำนิติกรรม หรือจนคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันเป็นภาระอันหนักขึ้นกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปรกติ. |
กลับลำ | ก. เปลี่ยนความคิด เช่น เมื่อวานเขาให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ยอมให้มีวันหยุดชดเชย วันนี้กลับลำอนุญาตให้มีตามเดิมแล้ว. |
กลางเมือง | เรียกหญิงที่บิดามารดายินยอมยกให้เป็นภรรยาชาย ว่า เมียกลางเมือง. (สามดวง) |
กลืนเลือด | ก. กล้ำกลืนความเจ็บแค้นอย่างแสนสาหัส เช่น แม้จะแค้นหัวหน้าพวกเขาก็ยอมกลืนเลือด เพราะยังต้องพึ่งพาหัวหน้าคนนี้อยู่. |
กอดเก้าอี้ | ก. ยึดตำแหน่ง, ไม่ยอมละตำแหน่ง, เช่น ไม่ว่างานของเขาจะล้มเหลวและก่อให้เกิดความเสียหายเพียงใด เขาก็กอดเก้าอี้แน่น ไม่ยอมลาออก. |
กาหลงรัง | น. ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้วไม่ยอมกลับบ้านของตน, ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง. |
กินน้ำใต้ศอก | ก. จำต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง). |
เก | ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ |
เกทับ | ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหนือกว่าคู่แข่งขันเพื่อแสดงว่าตนมีสิ่งที่ดีกว่า เช่น พอมีคนวางเงินประมูลสร้อยเพชร ๑๐๐, ๐๐๐ บาท เขาก็เกทับเป็น ๒๐๐, ๐๐๐ บาท จนอีกฝ่ายยอมถอย. |
เกลือจิ้มเกลือ | ว. ไม่ยอมเสียเปรียบกัน, แก้เผ็ดให้สาสมกัน. น. คนเค็มต่อคนเค็มมาพบกัน. |
เกี่ยง | ก. อาการที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมทำเพราะกลัวจะเสียเปรียบกันเป็นต้น. |
เกี่ยงตาย | ก. เลี่ยงไปทางตาย, ยอมตาย, เช่น หวั่นฤทธิ์คิดครั่นสงคราม จักยุทธพยายาม คือขวัญสกนธ์เกี่ยงตาย (สรรพสิทธิ์). |
โกง | ก. ใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง เช่น โกงเงิน, แสดงอาการดื้อไม่ยอมทำตาม เช่น เด็กโกง ม้าโกง. |
ขมา | การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด เช่น รับขมา. |
ขวนขวาย | (-ขฺวาย) ก. หมั่นเสาะแสวงหาเพิ่มเติมโดยไม่ยอมอยู่นิ่ง, ขวายขวน ก็ว่า. |
ขวายขวน | (ขฺวายขฺวน) ก. หมั่นเสาะแสวงหาเพิ่มเติมโดยไม่ยอมอยู่นิ่ง, ขวนขวาย ก็ว่า. |
ของ้อ | ก. อ่อนเข้าหาเพื่อขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ. |
ข้อมูล | น. ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ. |
ขัดข้อง | ก. ไม่ยอมให้ทำ, ไม่ตกลงด้วย, ติดขัด. |
ขัดใจ | ก. โกรธเพราะทำไม่ถูกใจ, ไม่ยอมให้ทำตามใจ. |
ขาย | ก. เอาของแลกเงินตรา, โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่กันโดยตกลงกันว่าผู้รับโอนจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้น มีหลายลักษณะ คือ ชำระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน เรียกว่า ขายเงินสด, ขายโดยยอมเก็บเงินอันเป็นราคาของในวันหลัง เรียกว่า ขายเชื่อ, (เลิก) เอาเงินเขามาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าเงิน เรียกว่า ขายตัวลงเป็นทาส. |
ขายเงินเชื่อ, ขายเชื่อ | ก. ขายโดยยอมเก็บเงินอันเป็นมูลค่าในวันหลัง. |
ขายผ้าเอาหน้ารอด | ก. ยอมเสียสละแม้แต่ของจำเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทำให้สำเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้. |
ขิงก็ราข่าก็แรง | ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน. |
ขี้แพ้ชวนตี | ก. แพ้ตามกติกาแล้วยังไม่ยอมรับว่าแพ้จะเอาชนะด้วยกำลัง, แพ้แล้วพาล. |
ขืน | ไม่ควรทำแต่ยังกล้าทำ เช่น ขืนกิน ขืนสู้, ไม่ยอมทำตาม เช่น ขืนคำสั่ง. |
ขืนใจ | ก. บังคับให้ยอมทำตาม เช่น ขืนใจเด็กให้กินยา |
ขูดรีด | ก. แสวงหาประโยชน์โดยวิธีบีบบังคับเอา, แสวงหาประโยชน์โดยวิธีบีบบังคับให้จำยอม. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
plenary confession | ๑. การรับสารภาพตลอดข้อหา (ป. วิ. อาญา)๒. การยอมรับเต็มตามคำฟ้อง (ป. วิ. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
policy proof of interest | กรมธรรม์ยอมรับส่วนได้เสีย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
predial servitude | หน้าที่ตามภาระจำยอม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
pace (L.) | ด้วยความยินยอม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legal easement | ภาระจำยอมโดยกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
leave and licence | การต่อสู้คดีบุกรุกว่าได้รับความยินยอม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
render | ทำให้, ให้คืน, ยื่นให้, ยอมให้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
recognition | การยอมรับ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
recognition | ๑. การรับรอง (รัฐ, รัฐบาลใหม่)๒. การยอมรับนับถือ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
res sua nemini servit (L.) | ภาระจำยอมย่อมไม่มีในที่ดินของตนเอง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
revolutionary defeatism | การยอมสยบก่อนปฏิวัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
renounce | สละ, ยอมสละ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
renunciation | การสละ, การยอมสละ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
refuse | ๑. สละ, บอกปัด, ไม่ยอม๒. ขยะ, มูลฝอย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
repudiation | การปฏิเสธ, การไม่ยอมรับ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
repudiation of a child | การไม่ยอมรับเด็กว่าเป็นบุตร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
sale or return | ขายโดยยอมให้คืนได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
sandwich lease | สัญญาเช่าที่ยอมให้เช่าช่วง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
seaworthiness admitted | สภาพพร้อมออกทะเลที่ยอมรับแล้ว [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
surrender | ๑. คืน, เวนคืน, ปล่อย, สละ๒. ยอมจำนน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
stifling a prosecution | การยอมความในคดีอาญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
surrender, unconditional | การยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
subject approval no risk | การรับเสี่ยงภัยขึ้นอยู่กับการยอมรับเงื่อนไข [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
scale tolerance | ส่วนแตกต่างของเครื่องวัดที่ยอมผ่อนผันให้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
servitude | ภาระจำยอม [ ดู easement ประกอบ ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
servitude | ภาระจำยอม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
servitude, involuntary | การจำยอมรับภาระ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
standpatter | ผู้ยืนกราน (ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
sublimation | ๑. การระเหิด๒. การเปลี่ยนให้เป็นที่ยอมรับ (กลไกทางจิต) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
adhesion contract | สัญญาจำยอมตาม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
acceptance test | การทดสอบเพื่อยอมรับ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
acceptance test | การทดสอบเพื่อยอมรับ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
appeasement | การจำยอมสละ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
acquiescence | การยอมรับโดยปริยายที่ทำให้เสียสิทธิ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
age of consent | อายุของหญิงที่ยอมให้มีการร่วมประเวณีได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
admissible; admissible evidence | ๑. ที่รับไว้พิจารณาได้, ที่ยอมรับได้๒. ที่อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
admissible evidence; admissible | ๑. ที่รับไว้พิจารณาได้, ที่ยอมรับได้๒. ที่อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
admission | การยอมรับเป็นสมาชิก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
admissions | การยอมรับ (ข้อเท็จจริง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
age admitted | อายุที่ยอมรับ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
ab invito (L.) | โดยไม่ยินยอม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
assent | ความยินยอม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
accord | ๑. ตกลง, ยินยอม, ข้อตกลง๒. ข้อตกลงทางการระหว่างประเทศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
accord | ๑. ข้อตกลง๒. ตกลง, ยินยอม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
acceptance, zone of | ขอบเขตการบังคับบัญชาที่ยอมรับได้ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
accepted value | มูลค่าที่ยอมรับ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joinder in issue | การยอมรับข้อเท็จจริงของอีกฝ่ายหนึ่ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joinder in pleading | การยอมรับข้อเท็จจริงร่วมกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
judicial comity | การยอมรับนับถืออำนาจของศาล (ต่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
qui non negat fatetur (L.) | ผู้ไม่ปฏิเสธถือว่ายอมรับ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Innovation | นวัตกรรม, นวัตกรรม หรือนวกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่และเหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดย มีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ที่จัดเป็นหลักพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาหรือไม่ คือ <ul><li>สิ่งนั้นควรเป็นสิ่งที่ค้นพบ หรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือการปรับปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมกับกาลสมัยมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ</li><li>ได้ผ่านการทดลอง การปรับปรุงพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับกับอย่างแพร่หลาย</li><li>ได้มีการนำมาปฏิบัติจริงในวงการนั้น</li></ul> [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Aquifer | ชั้นหินใต้ผิวดินที่มีคุณสมบัติยอมให้น้ำซึมเข้าได้โดยง่าย, Example: ในทางปิโตรเลียม Aquifer จะต้องประกอบด้วยชั้นหินที่ยอมให้น้ำมันดิบหรือก๊าซไหลซึมผ่านได้อยู่ด้านล่าง และชั้นหินที่ไม่ยอมให้น้ำมันหรือก๊าซซึมผ่านได้อยู่ด้านบน (หรือที่เรียกว่าหินปิดกั้น) และจะต้องมีช่องว่างสำหรับกักเก็บน้ำมันหรือก๊าซได้ [ปิโตรเลี่ยม] |
Cap Rock | ชั้นหินที่ไม่ยอมให้ของเหลวหรือก๊าซไหลผ่าน, ชั้นหินที่ไม่ยอมให้ของเหลวหรือก๊าซไหลผ่าน ปิดทับอยู่ด้านบนของชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม และปิดกั้นไม่ให้ไฮโดรคาร์บอนหนีออกมาถึงพื้นผิวดินได้ [ปิโตรเลี่ยม] |
Kokoku | เอกสารสิทธิบัตรยื่นต่อสำนักงานสิทธิบัตรประเทศญี่ปุ่น ที่ทำการตรวจสอบแล้วและยอมรับให้เป็นเอกสารขอรับสิทธิบัตรที่สมบูรณ์ [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Rejection | สำนักงานสิทธิบัตรปฏิเสธ ไม่ยอมรับคำขอรับสิทธิบัตร [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Mutant variety | พืชพันธุ์กลาย, พืชพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากการใช้รังสีหรือสารเคมีเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ เป็นที่ยอมรับและมีการปลูกอย่างกว้างขวาง, Example: [นิวเคลียร์] |
Mutant cultivar | พืชพันธุ์กลาย, พืชพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากการใช้รังสีหรือสารเคมีเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ เป็นที่ยอมรับและมีการปลูกอย่างกว้างขวาง [นิวเคลียร์] |
กฎหมาย | กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ กฏหมาย [คำที่มักเขียนผิด] |
อนุญาต | ยินยอม ยอมให้, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ อนุญาติ [คำที่มักเขียนผิด] |
Acceptance sampling | การสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ [TU Subject Heading] |
Adhision contracts | สัญญาจำยอมตาม [TU Subject Heading] |
Admissible evidence | พยานหลักฐานที่ยอมรับได้ [TU Subject Heading] |
Consent (Law) | ความยินยอม (กฎหมาย) [TU Subject Heading] |
Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Award (1958) | อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับและใช้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ (ค.ศ. 1958) [TU Subject Heading] |
Informed consent (Medical law) | ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว (กฎหมายการแพทย์) [TU Subject Heading] |
Patient acceptance of health care | การยอมรับการดูแลทางการแพทย์ของผู้ป่วย [TU Subject Heading] |
Public servitudes | ภาระจำยอม [TU Subject Heading] |
Reception | การยอมรับ [TU Subject Heading] |
Respect for persons | การยอมรับความเป็นมนุษย์ [TU Subject Heading] |
Self-acceptance | การยอมรับตนเอง [TU Subject Heading] |
Shorea | พะยอม [TU Subject Heading] |
Social acceptance | การยอมรับทางสังคม [TU Subject Heading] |
Social acceptance in children | การยอมรับทางสังคมในเด็ก [TU Subject Heading] |
accession | ภาคยานุวัติ หมายถึง การให้ความยินยอมที่จะผูกพันตามสนธิสัญญาภายหลังจากที่มีการลงนามในสนธิ สัญญาไปแล้ว [การทูต] |
Accession | การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต] |
Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] |
Convention on Prohibitions or Restrictions on the Use od Certain Conventional Weapons Which May Be Deemed to Be Excessively Inju | Convention on Prohibitions or Restrictions on the Use od Certain Conventional Weapons Which May Be Deemed to Be Excessively Injurious or to Have Indiscriminate Effects = อนุสัญญาห้ามอาวุธตามแบบบางชนิดที่ก่อให้เกิดการบาด เจ็บร้ายแรงเกินความจำเป็นหรือก่อให้เกิดลโดยไม่จำกัดเป้าหมาย มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการห้ามหรือหารจำกัดการใช้อาวุธตามแบบบางชนิดที่ก่อให้ เกิดผลกระทบร้ายแรงด้านมนุษยธรรม โดยสาระสำคัญของการ คอบคุมอาวุธตามแบบแต่ละชนิดจะถูกกำหนดไว้ในพิธีสารแต่ละฉบับต่างหาก ซึ่งในชั้นนี้ มีพิธีสาร 5 ฉบับ และรัฐต่างๆ สามารถเลือกยอมรับพิธีสารต่อท้ายอนุสัญญาฯ ฉบับใดก็ได้อย่างน้อยจำนวน 2 ฉบับ [การทูต] |
Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] |
Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] |
Establishment of Diplomatic Relations and Missions | การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต] |
Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] |
Exercise of Consular Functions in a Third State | การปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐที่สาม (A Third State) ในเรื่องนี้ข้อ 7 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้ระบุว่า?เมื่อได้บอกกล่าวให้รัฐที่เกี่ยวข้องทราบ แล้ว รัฐูผู้ส่งอาจมอบหมายให้สถานีที่ทำการทางกงสุลที่ได้ตั้งอยู่ในรัฐหนึ่งโดย เฉพาะปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในอีกรัฐหนึ่งได้ นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดเจนโดยรัฐหนึ่งในบรรดารัฐที่เกี่ยวข้อง?นอกจาก นี้ สถานที่ทำการทางกงสุลยังอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลแทนรัฐที่สามได้ เรื่องนี้ข้อ 8 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้กำหนดว่า เมื่อบอกกล่าวอย่างเหมาะสมแก่รัฐผู้รับแล้ว สถานที่ทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งอาจปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลในรัฐผู้รับ แทนรัฐที่สามได้ นอกจากรัฐผู้รับนั้นจะคัดค้าน และพนักงานฝ่ายกงสุลอาจปฏิบัติการหน้าที่ของตนนอกเขตกงสุลได้ในพฤติการณ์ พิเศษ และด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อ 6 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่จะให้พนักงานฝ่ายกงสุลปฏิบัติการหน้าที่ทาง กงสุลนอกเขตกงสุล ฝ่ายที่เห็นด้วยว่าควรปฏิบัติการนอกเขตกงสุลได้ อ้างว่า การใช้เอกสิทธิ์เช่นนั้นเป็นการชอบแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจจะมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้นในสถานที่นอกเขตกงสุล ซึ่งเป็นความจำเป็นที่พนักงานฝ่ายกงสุลจะได้ให้บริการในทันที่ที่มีการแจ้ง โดยกะทันหัน [การทูต] |
exequatur | อนุมัติบัตร หมายถึง การอนุมัติจากรัฐผู้รับไม่ว่าจะเป็นในรูปใดก็ตาม ยอมรับให้หัวหน้าสถานทำการทางกงสุลของรัฐผู้ส่งเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ (อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล พ.ศ. 2506) [การทูต] |
final perimeter | แนวเขตที่ยอมรับกันในที่สุด [การทูต] |
Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] |
Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Government in Exile | รัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง [การทูต] |
Heads of State | ผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต] |
instrument of acceptance | ตราสารรับรอง " เป็นหนังสือรับรองว่ายินยอมที่จะผูกพันทางสนธิสัญญาหลังจาก ลงนามในสนธิสัญญาแล้ว " [การทูต] |
instrument of ratification | สัตยาบันสาร " เป็นหนังสือแสดงความยินยอมที่จะผูกพันทางสนธิสัญญาหลังจาก ลงนามในสนธิสัญญาแล้ว " [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
Iron Curtain | ม่านเหล็ก เป็นศัพท์ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นหมายถึงเครื่องกีดขวางปิดกั้นเขต ซึ่งโซเวียตรัสเซียและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้มีการ ติดต่อหรือเดินทางเข้าไปในอาณาเขตของประเทศดังกล่าว ที่เรียกกันว่า ประเทศหลังม่านเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองในระหว่างสงครามเย็น แต่ภายหลังที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ม่านเหล็กก็พลอยหมดสภาพไปในที่สุด [การทูต] |
legalisation | นิติกรณ์ " กระบวนการรับรองความถูกต้อง คำแปลหรือลายมือชื่อผู้มีอำนาจ ลงนามในเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต สถานกงสุล หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้ในทางการระหว่างประเทศ " [การทูต] |
Legalisation (legalization) | นิติกรณ์ กระบวนการรับรองความถูกต้อง คำแปลหรือลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สถานฑูต สถานกงสุล หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้ในทางการระหว่างประเทศ [การทูต] |
letter of consent | หนังสือแสดงความยินยอม [การทูต] |
Mutual Recognition Arrangement | ความร่วมมือเพื่อการยอมรับร่วม [การทูต] |
mutual consent | ยินยอมร่วมกัน [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
การหย่าโดยความยินยอม | [kān yā dōi khwām yinyøm] (n, exp) FR: divorce à l'amiable [ m ] |
การหย่าโดยความยินยอม(ของ)ทั้งสองฝ่าย | [kān yā dōi khwām yinyøm (khøng) thang søng fāi] (n, exp) FR: divorce par consentement mutuel [ m ] |
การยินยอม | [kān yinyøm] (n) EN: approval |
การยอมจำนน | [kān yømjamnon] (n) EN: succumbing ; resignation |
การยอมโอนให้ | [kān yøm ōn hai] (n, exp) EN: cession |
การยอมรับ | [kān yømrap] (n) EN: acceptance ; acknowledgement ; admission FR: acceptation [ f ] ; admission [ f ] |
การยอมรับโดยปริยาย | [kān yømrap dōi pariyāi] (n, exp) EN: tacit approval |
การยอมรับเป็นสมาชิก | [kān yømrap pen samāchik] (n, exp) EN: admission FR: admission [ f ] |
การยอมรับสภาพ | [kān yømrap saphāp] (n, exp) EN: resignation |
การยอมยกให้ | [kān yøm yok hai] (n, exp) EN: cession |
ขายโดยยอมให้คืนได้ | [khāi dōi yøm hai kheūn dāi] (v, exp) EN: sale or return |
ข้อเท็จจริงอันเป็นที่ยอมรับ | [khøthetjing an pen thī yømrap] (n, exp) EN: accepted fact |
ความผิดอันยอมความได้ | [khwāmphit an yømkhwām dāi] (n, exp) EN: compoundable offense |
ความยินยอม | [khwām yinyøm] (n) EN: agreement ; consent FR: agrément [ m ] |
ความยินยอมโดยปริยาย | [khwām yinyøm dōi pariyāi] (n, exp) EN: implied consent |
ความยินยอมพร้อมใจ | [khwām yinyøm phrømjai] (n, exp) EN: consent |
ความยินยอมร่วมกัน | [khwām yinyøm ruam kan] (n, exp) EN: mutual consent |
ไม่ยอม | [mai yøm] (v, exp) EN: refuse ; deny ; be not willing to ; not allow ; say no FR: refuser ; repousser ; ne pas accepter |
ไม่ยอมอนุโลม | [mai yøm anulōm] (xp) EN: make no exceptions FR: n'accepter aucune exception |
ไม่ยอมให้ | [mai yømhai] (v, exp) FR: refuser que ; ne pas céder |
ไม่ยอมแก่ | [mai yøm kaē] (adj) EN: ageless FR: sans âge |
ไม่ยอมรับ | [mai yømrap] (v, exp) EN: refuse to admit ; refuse to acknowledge ; refuse ; reject ; disapprove FR: refuser d'admettre ; refuser de reconnaître ; refuser d'accepter |
ไม่ยอมรับความจริง | [mai yømrap khwāmjing] (v, exp) FR: refuser la vérité |
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า... | [pen thī yømrap kan thūapai wā ...] (xp) EN: it is generally accepted that ... |
ภาระจำยอม | [phārājamyøm] (n) EN: servitude |
ทำใหยอมจำนน | [tham hai yøm jamnon] (v, exp) EN: face down |
ยินยอม | [yinyøm] (v) EN: agree ; consent to ; allow ; acquiesce to/in ; permit ; allow FR: consentir à ; acquiescer |
ยอม | [yøm] (v) EN: give in ; surrender; yield ; succumb ; agree ; consent ; yield ; submit FR: céder ; se plier à ; se résigner ; se soumettre ; concéder ; abandonner |
ยอม | [yøm] (v) EN: allow ; permit ; let ; agree ; consent FR: admettre ; permettre ; accepter ; consentir |
ยอมความ | [yømkhwām] (v) EN: make a settlement |
ยอมให้ | [yømhai] (v, exp) EN: yield ; agree to let ; agree to allow ; allow ; allocate ; let FR: concéder ; accorder |
ยอมจำนน | [yømjamnon] (v) EN: surrender FR: céder à ; se plier ; se soumettre ; capituler ; succomber |
ยอมความ | [yømkhwām] (v) EN: compromise ; make a settlement ; settle ; conciliate ; agree ; negotiate |
ยอมไม่ได้ | [yøm mai dāi] (adj) FR: inacceptable ; inadmissible |
ยอมแพ้ | [yømphaē] (v) EN: surrender ; capitulate ; give in ; yield ; give up FR: capituler ; se rendre ; abandonner |
ยอมรับ | [yømrap] (v) EN: accept ; agree ; admit ; acknowledge ; recognize ; admit the existence of ; concur ; acquiesce FR: accepter ; admettre ; acquiescer ; consentir ; avouer |
ยอมรับได้ | [yømrap dāi] (adj) EN: acceptable FR: acceptable |
ยอมรับโดยไม่มีข้อแม้ | [yømrap dōi mai mī khømaē] (v, exp) EN: accept unconditionally FR: accepter sans condition |
ยอมรับคำขออภัย | [yømrap kham khø aphai] (v, exp) EN: accept an apology FR: accepter les excuses |
ยอมรับความผิด | [yømrap khwāmphit] (v, exp) EN: face up FR: admettre ; accepter |
ยอมรับไม่ได้ | [yømrap mai dāi] (adj) EN: unacceptable FR: inacceptable |
ยอมรับผิด | [yømrap phit] (v, exp) EN: admit one's guilt ; admit one's mistake ; admit one's fault ; acknowledge one's mistake ; confess FR: reconnaître ses torts |
ยอมรับสารภาพ | [yømrap sāraphāp] (v, exp) EN: confess |
ยอมสยบ | [yøm sayop] (v, exp) EN: surrender to ; yield to |
ยอมตาม | [yømtām] (v) EN: yield ; give way to ; acquiesce ; conform ; accord FR: accéder à ; obéir ; suivre ; se conformer ; se plier à ; se soumettre |
หยอมแหยม | [yømyaēm] (adj) EN: thinly scattered ; sparse ; few and far between FR: clairsemé ; épars ; disséminé |
ยอมยกธงขาว | [yøm yok thong khāo] (v, exp) EN: surrender |
Longdo Approved EN-TH
bayer pattern | (n) รูปแบบตารางแผ่นกรองหลากสี สำหรับปะหน้าตัวรับภาพที่แยกแยะได้เฉพาะค่าความสว่าง (เช่น CCD หรือ CMOS Sensor) เพื่อให้สามารถแยกแยะสีของภาพได้ โดยแผ่นกรองนี้จะยอมให้แสงสีที่กำหนดผ่านไปตกบนตัวรับภาพ ณ บริเวณที่กำหนดเท่านั้น bayer pattern ที่นิยมใช้กันมากในกล้องถ่ายภาพมี สองชนิด คือ RGB bayer pattern และ CMY bayer pattern ซึ่งยอมให้แสงสี Red-Green-Blue และ Cyan-Magenta-Yellow ไปตกบนตัวรับภาพได้ ตามลำดับ ชื่อของแบบตาราง มาจากชื่อของ Dr. Bayer นักวิทยาศาสตร์ของบริษัท Kodak ผู้คิดค้น, See also: CCD |
wave the white flag | (phrase) ยอมยกธงขาว ยอมแพ้ ยอมจำนน |
Not for all the tea in China! | เป็นสำนวนแปลว่า เอาอะไรทุกอย่างมาแลกก็ไม่ยอม เช่น Would you like to go to Antarctic? - No, not for all the tea in China. |
conventional wisdom | (noun, phrase) ความคิดเห็นหรือคำอธิบายที่ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญทำให้เกิดความยอมรับจากสาธารณชน ซึ่ง conventional wisdom อาจถูกหรือผิดก็ได้ |
go out of one's way | อุตส่าห์ยอมลำบาก(ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง)เกินกว่าที่คาดไว้ |
I rest my case. | (idiom) เป็นสำนวน หมายถึง เธอพูดถูก ฉันยอมแล้ว เช่น Ned's mother said he needs to leave home or he'll never be independent. His sister said, “But he can't even do his wash!” and his mother replied, “I rest my case.”, Syn. IRMC |
condescend (to do something) | (vt) ยอมทำ ในลักษณะที่ผู้ทำคิดว่าตนเองอยู่ในระดับทางสังคมหรือตำแหน่งหน้าที่ที่สูงกว่า แต่ยอมลดตัวลงมาทำสิ่งที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า เช่น I had to wait almost two hours before he condescended to see us. ฉันต้องรอเกือบสองชั่วโมง กว่าเขาจะยอมออกมาพบฉัน, Syn. deign |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
abide | (vt) ทน, See also: ยอมทน, อดทน, ทนต่อ, Syn. endure, stand, tolerate |
accede | (vi) เห็นด้วย, See also: ยินยอม, ยอมรับ, Syn. agree, consent |
accept | (vt) เชื่อ, See also: ยอมรับว่าจริง, Syn. believe, trust, affirm |
accept | (vt) ต้อนรับ, See also: ยอมรับเข้ากลุ่ม |
accept | (vt) ยอมทน, Syn. tolerate, bear |
accept | (vt) ยอมรับการตำหนิ, See also: รับผิดชอบ |
accept | (vt) รับ, See also: ยอมรับ, รับเอามา, Syn. take, acquire, admit, Ant. refuse, refect |
accept | (vt) เห็นด้วย, See also: เห็นด้วยกับ, ยอมรับ, ยินยอม |
acceptable | (adj) ที่ยอมรับได้, See also: สามารถรับได้, ยอมรับได้, Syn. agreeable |
acceptable | (adj) ี่น่าพอใจ, See also: น่ายินดี, ซึ่งเป็นที่ยอมรับ, Syn. satisfactory |
acceptably | (adv) ยอมรับได้, Syn. adequately |
acceptance | (n) การตอบรับ (เช่น ตอบรับเข้าทำงาน), See also: การยอมรับ |
acceptance | (n) การยอมรับเข้ากลุ่ม |
acceptance | (n) การอดทน, See also: การยอมทน, การทนทาน |
acceptation | (n) ความหมาย (ของคำหรือวลี) ที่เป็นที่ยอมรับทั่วกัน |
accepted | (adj) ซึ่งเป็นที่ยอมรับ, Syn. conventional, approved, Ant. refused, denied, nullified |
acceptor | (n) ผู้ที่ยอมรับใบเสร็จ (เพื่อจ่ายเมื่อถึงกำหนด) |
accommodation | (n) การตกลงกัน, See also: การยินยอม, การพยายามประนีประนอมกัน |
accord | (n) การตกลงร่วมกัน, See also: การยอมรับร่วมกัน, Syn. harmony |
accord | (vi,, vt) เห็นด้วย, See also: ยอมตกลงกัน, มีความเห็นสอดคล้อง, Syn. reconcile |
accordance | (n) การยอมรับร่วมกัน, See also: การเห็นพ้องต้องกัน, Syn. agreement, conformity, harmony |
according | (adj) ที่ยอมรับร่วมกัน, See also: ที่เห็นด้วย, ที่เห็นพ้องต้องกัน, Syn. agreeing |
accredit | (vt) ให้การยอมรับนับถือ, See also: ให้เกียรติว่า |
acknowledge | (vi) ยอมรับ, Syn. accept, recognize |
acknowledge | (vt) ยอมรับ |
acknowledged | (adj) เป็นที่ยอมรับ, Syn. accepted, approved |
acknowledgement | (n) การยอมรับ, Syn. acknowledgment |
acknowledgment | (n) การยอมรับ, Syn. acknowledgement |
acquiesce | (vi) ยอมทำตาม, See also: ยอมรับ, เห็นด้วยอย่างเงียบๆ, Syn. consent, comply, submit |
acquiescence | (n) การยอมตาม, See also: การยอมรับ, ความเห็นพ้อง, Syn. submission, resignation |
adhibit | (vt) ยอมให้ใช้, See also: ยอมให้เข้าไป, Syn. admit, let in |
admissible | (adj) ซึ่งยอมรับได้, Syn. acceptable, allowable |
admissible | (adj) ซึ่งยอมให้เข้า |
admission | (n) การประกาศยอมรับ, See also: การยอมรับ |
admission | (n) คำสารภาพ, See also: คำยอมรับ |
admit | (vi) ยอมรับ, See also: รับ, ยอมรับความจริง, Syn. receive |
admit | (vt) ยอมรับ, See also: รับ, ยอมรับความจริง |
admit | (vi) ยอมให้เข้า, See also: รับเข้าไว้ |
admit | (vt) สารภาพ, See also: รับสารภาพ, ยอมรับผิด |
admit | (vi) สารภาพ, See also: รับสารภาพ, ยอมรับผิด |
admit | (vt) อนุญาตให้เข้า, See also: ปล่อยให้เข้าไป, ยอมให้เข้าไป, Syn. let in, allow entrance to |
admitted | (adj) ที่ยอมรับ |
admittedly | (adv) เป็นที่ยอมรับกัน |
adopt | (vt) ลงมติยอมรับ, Syn. affirm |
affirmative | (n) ข้อความที่แสดงการยินยอม, See also: ข้อความที่แสดงการเห็นพ้อง |
affirmative | (adj) ซึ่งแสดงถึงการยินยอม, See also: ซึ่งเห็นพ้อง, Syn. agreeing, affirming, Ant. negative |
ageless | (adj) ไม่ยอมแก่ |
agree | (vi) ตกลง, See also: ยอมรับ, ยินยอม |
agree | (vi) ยอมรับ, See also: ยอมรับความจริง |
agreeable | (adj) ซึ่งยินยอม, See also: ซึ่งยินดีทำตาม, ซึ่งเห็นด้วย, Syn. acceptable |
Hope Dictionary
abc | (เอบีซี) ย่อมาจาก Atanasoff-Berry Computer ว่ากันว่า เป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก (หนังสือบางเล่มว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกมีชื่อว่า ENIAC) ศาสตราจารย์ John Atanasoff แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา และ Clifford Berry เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องเอบีซีนี้เมื่อราวทศวรรษ 1940 ABEND การหยุดงานผิดปกติ <คำแปล>ย่อมาจาก abnormal end of task หมายถึงการหยุดงานที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้มีคำสั่งให้หยุดในโปรแกรมหรือชุดคำสั่งมักจะเกิดขึ้น เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสั่งให้ปฏิบัติงานหนึ่งงานใด แล้วไม่ยอมปฏิบัติ อาจจะเป็นเพราะเครื่องเสีย หรือโปรแกรมผิดพลาด |
accede | (แอคซีด') vt. เห็นด้วย, รับคำ, ยอมตาม, เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ, ยินยอม, กำลังจะมาถึง, กำลังครอบงำ, เข้าร่วม. -accedence n. |
accept | (แอคเซพทฺ') vt., vi. รับ, ยอมรับ, ตกลง, สนอง, เห็นด้วย. -accepter n., Syn. agree |
acceptable | (แอคเซพ' ทะเบิล) adj. ซึ่งยอมรับได้, เห็นด้วย, ถูกใจ, ต้อนรับได้ -acceptability n., Syn. admissible |
acceptance | (แอคเซพ' เทินซฺ) n. การยอมรับ, การรับ, การตรวจรับ, การตกลงด้วย (approval) |
acceptancy | (แอคเซพ' เทินซี) n. (pl. -cies) การยอมรับ, การเต็มใจรับ, Syn. acceptance |
acceptant | (แอคเซพ' เทินทฺ) adj. เต็มใจรับ, ซึ่งยอมรับ, Syn. receptive |
acceptation | (แอคเซพเท' เชิน) n. การเห็นด้วย, ความเชื่อ, ความหมายที่ยอมรับกันของศัพท์หรือวลีหรืออื่น, Syn. approval, belief |
accepted | (แอคเซพ' ทิด) adj. ซึ่งยอมรับกันโดยทั่วไป |
access key | กุญแจการเข้าถึงหมายถึง รหัส หรือคำหลักที่ใช้เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลที่มีเก็บไว้ได้ ข้อมูลบางอย่างต้องทำเป็นการเฉพาะ และจะยอมให้เรียกมาใช้ได้เฉพาะคนบางกลุ่ม จึงต้องมีกุญแจที่จะให้รู้กันเฉพาะคนในกลุ่ม ผู้ที่ไม่รู้กุญแจ ก็ไม่สามารถเรียกเอาข้อมูลออกมาดู หรือมาใช้หรือแก้ไขได้ |
accord | (อะคอร์ด') vi., vt., n. สอดคล้อง, ยอมตามตกลง, ความสอดคล้อง, ข้อตกลง, เสียงดนตรี ที่ประสานกัน, Syn. concede, admit, allow |
acknowledge | (แอคนอล' เลจฺ) vt. ยอมรับ (เป็นความจริง) , รับรอง, แจ้งว่าได้รับ, เห็นคุณค่า. -acknowledgeable adj., -acknowledgment, -acknowledgement n. |
acquiesce | (แอค' ควิเอส) vi. ยอมรับในใจ, ยินยอม, นิ่งเฉย. -acquiescence n., |
admissible | (แอดมิส' ซิเบิล) adj. พอจะรับไว้ได้, ยอมได้, Syn. proper, worthy, suitable |
admission | (แอคมิช' เชิน) n. การรับเข้า, การยอมรับรอง, การรับสารภาพ, สิทธหรือวิธีการเข้าไป, ราคาสำหรับเข้าไป, การยอมรับข้อกล่าวหาหรือความจริง, Syn. allowance, admittance |
admissive | (แอดมิส' ซิฟว) adj. ยินยอมรับ |
admit | (แอสดมิท') vt., vi. ให้เข้า, รับเข้า, ให้สิทธิเข้าได้, ยอมให้, ยอมรับรอง, ยอมรับ, รับสารภาพ, รับ, รับรอง. -admittable, admittible adj., Syn. let in, concede |
admittedly | (แอดมิท' ทิดลี) adv. เป็นที่ยอมรับกัน, Syn. by acknowledgment |
aestheticism | (เอสเธท' ทิซิสซึม) การยอมรับความงามเป็นเอก., Syn. estheticism |
age of consent | ขัดอายุอย่างต่ำที่หญิงยินยอมชายได้ในการแต่งงานหรือร่วมเพศ |
ageless | (เอจฺ' เลส) adj. ไม่ยอมแก่, ไม่ยอมล้าสมัย, ชั่วกาลปาวสาน, ตลอดไป, Syn. eternal |
agree | (อะกรี') vt., vi. ตกลง, เห็นพ้อง, ยอมรับ, เห็นด้วย, ยินยอม, สนับสนุน, ตกลงกำหนด, เข้ากันได้, ลงรอย, เหมือน, เหมาะ สมกับ. -agreeingly adv., Syn. concur, comply, assent |
agreement | (อะกรี' เมินทฺ) n. การตกลง, การยินยอม, การเห็นด้วย, ข้อตกลง, สัญญา, ความเห็น ตรงกัน, Syn. pact, consent, alliance |
allow | (อะเลา') vt., vi. ยอมให้, อนุญาตให้, จ่ายให้, ยกให้, พิจารณา, คิด, ให้อภัย, เพื่อให้, Syn. permit, confess, Ant. refuse, deny, withhold |
allowable | (อะเลา' อะเบิล) adj. ซึ่งยอมได้, ซึ่งยินยอมได้. -allowableness n. |
allowance | (อะเลา' เอินซฺ) n. การยินยอม, การอนุญาตให้, สิ่งที่ได้รับส่วนแบ่ง, เงินส่วนแบ่ง, เงินช่วยเหลือ, เงินค่าใช้จ่าย, ส่วนเสริม, การอดทน, การยอมรับ, การพิจารณา, การให้อภัย. vt. เพื่อให้, จัดให้, จัดสรร, Syn. share, allotment |
allowedly | (อะเลา' อิดลี) adv. ซึ่งยินยอมได้ |
amenable | (อะมี' นะเบิล) adj. อ่อนโยน, ไม่ดื้อ, ซึ่งรับผิดชอบ, ยอม รับฟัง, ยอมให้วิจารณ์หรือทดสอ บ ได้-amenableness, amenability n., Syn. agreeable, Ant. stubborn |
apocrypha | (อะพอค'ระฟะ) n. กลุ่ม 14 บทหนังสือของพระคัมภีร์เก่า Old Testment ของคริสเตียน, บทหนังสือศาสนาที่หาแปล่งมาไม่แน่ชัดและไม่เป็นที่ยอมรับกันมาก (shorten) |
appease | (อะพีซ') vt. ทำให้สงบ, ปลอบใจ, ยอมตาม, สนองความอยากรู้อยากเห็น, แก้กระหาย. |
approbation | (แอพระเบ'เชิน) n. การเห็นด้วย, การแนะนำ, การยินยอม, ความรู้สึกพอใจต่อ. |
argue | (อาร์'กิว) vt., vi. ถกเถียง, เถียง, โต้คารม, อ้างเหตุผล, อภิปราย, พูดให้ยอม, โต้แย้งพิสูจน์ว่า, แสดงให้เห็นว่า-arguer n., Syn. debate |
assent | (อะเซนทฺ') vi. ตกลง, ยินยอม, ยอมรับ. -n. การตกลง, การยินยอม. -assentation n. -assentive adj., Syn. concur, agree, allow, Ant. dissent, disagree, denial |
assenter | (อะเซน'เทอะ) n. ผู้ตกลง, ผู้ยินยอม |
assentor | (อะเซน'เทอะ) n. ผู้ตกลง, ผู้ยินยอม |
attorn | (อะเทอร์น') vi. ยอมรับเจ้าของที่ดินคนใหม่. -vt. ย้าย. -attornment n. |
averse | (อะเวิร์ส') adj. คัดค้าน, ไม่ชอบ, รังเกียจ, ไม่ยินยอม, ไม่สมัครใจ, หันไปด้านตรงกันข้ามกับต้น, Syn. opposed, hostile |
avouch | (อะเวาชฺ') vt. รับประกัน, รับรอง, รับผิดชอบ, ยอมรับ, สารภาพ. -avoucher n. |
avow | (อะเวา') vt. ประกาศ, รับรอง, ยอมรับ, รับสารภาพ, ปฏิญาณ, สบถสาบาน. -avower n., Syn. testify, avouch, Ant. deny, hide |
avowal | (อะเวา'เอิล) n. การรับรองอย่างเปิดเผยการประกาศ, การยอมรับ (acknowledgment) |
avowed | (อะเวาดฺ') adj. ยอมรับ, ปฏิญาณ, สบถสาบาน. -avowedness n., Syn. admitted, confessed, Ant. secret, private |
axiom | (แอค' เซียม) n. ความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์, ความจริงในตัวของมันเอง, กฎหรือหลักการที่ยอมรับกันทั่วไป (self-evident truth, maxim) |
axiomatic | (แอคซิโอแมท' ทิค) adj. เกี่ยวกับ axiom, แน่ชัดในตัวของมันเอง, เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป., Syn. axiomatical adj. |
bend | (เบนดฺ) { bent, bent, bending, bends } vt., vi. ทำให้งอ, ทำให้โค้ง, ทำให้ยอม, ก้ม, งอ, โค้ง, น้าว, โน้ม, ดัด, หัน, บ่าย, เบี่ยง, จ้องเขม็ง n. การงอ, การดัด, การเบี่ยง, หัวโค้ง, คุ้ง, เงื่อนเชือก, Syn. curve |
bow | (เบา) { bowed, bowing, bows } vi. โค้ง, ก้มศีรษะ, คำนับ, คำนับอำลา, น้อม, ยอม -n. การโค้ง, การคำนับ, การคำนับอำลา, การยอม, ธนู, ศร, คันธนู, คันศร, คันซอ, คันพิณ, หน้าไม้, ส่วนที่เป็นรูปคันศร, ส่วนโค้ง, โบ, หูกระต่าย, สายรุ้ง, ปีกแว่นตา, หัวเรือ, ส่วนหัวของบิน, มือพายข้างหน้า adj. เก |
bowing | (เบา'อิง) n. การคำนับ, การคารวะ, การยอมรับ |
bring | (บริง) { brought, brought, bringing, brings } vt. เอามาให้, นำมาให้, พามา, นำมาสู่, ทำให้เกิด, ก่อให้เกิด, นำออกมาแสดง, นำเสนอ, ชักชวนขายได้ -Id. (bring about ทำให้เกิด) -Id. (bring around (round)) ชักชวน, โน้มน้าว -Id. (bring forth ทำให้เกิด, นำเสนอ) -Id. (bring in ยอมแพ้) |
broken | (โบร'เคิน) vi. กริยาช่อง 3 ของ break adj. เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, ไม่เรียบ, อ่อนกำลัง, ยอมเชื่อ, พูดอย่างไม่สมบูรณ์, ขรุขระ, แตกแยก, See also: brokenness n. ดูbroken, Syn. split, damaged, sudued |
brook | (บรูค) { brooked, brooking, brooks } n. ห้วย, ลำธาร vt. ทนทุกข์, ยินยอมให้มี, ทน, ยินยอม |
buckle | (บัค'เคิล) n. หัวเข็มขัด, กระดุม vt. กลัดแน่น, รัดแน่น, ติดแน่น vt. รัดเข็มขัด, ติดกระดุม, งอ, โค้ง, ยอม, ยอมจำนน, Syn. clip |
Nontri Dictionary
abnegation | (n) การล้มเลิก, การยกเลิก, การบอกปัด, การยอมแพ้ |
accede | (vi) ยอม, ยอมจำนน, เห็นพ้อง, ยอมตาม, บรรลุ |
accept | (vt) ยอมรับ, รับ |
acceptable | (adj) ยอมรับได้, รับได้, เป็นที่พอใจ |
acceptance | (n) การยอมรับ, การรับ, การเห็นด้วย |
acceptation | (n) ความหมายทั่วไป, การยอมรับ, การเห็นชอบ |
acceptor | (n) ผู้ยอมรับ |
accession | (n) การยอมรับ, การเข้าถึง, การครอบครอง |
accord | (vi, vt) สอดคล้อง, เห็นด้วย, ยินยอม, ให้ |
acknowledge | (vt) รับรอง, ยอมรับ, รับว่า |
acknowledgement | (n) การรับรอง, การยอมรับ, การรับ |
acquiesce | (vi) ยินยอม, ยอมรับ, สงบปากสงบคำ, นิ่งเฉย |
acquiescence | (n) การยินยอม, การยอมรับ, การสงบปากสงบคำ, การนิ่งเฉย |
admissible | (adj) อนุญาตได้, ยอมได้, พอจะรับไว้ได้ |
admission | (n) การอนุญาตให้เข้า, ค่าผ่านประตู, การยอมรับ, การรับเข้า |
admit | (vi, vt) อนุญาตให้เข้า, ยอมรับ, รับ |
admittance | (n) การอนุญาตให้เข้า, การยอมให้เข้า, การรับเข้า |
admittedly | (adv) เป็นที่ยอมรับ |
agree | (vt) เห็นด้วย, ตกลง, ยินยอม, ถูกต้อง, เข้ากันได้ |
agreement | (n) การเห็นด้วย, การตกลง, ความยินยอม, ข้อตกลง, สัญญา |
allowable | (adj) ซึ่งอนุญาตได้, ซึ่งยอมได้, ซึ่งอภัยได้ |
allowance | (n) การอนุญาต, การยินยอม, การให้อภัย, การลดราคา |
amenable | (adj) รับผิดชอบ, ยอมรับฟัง, ถือสาหาความได้ |
approbation | (n) การเห็นชอบ, การเห็นด้วย, การยินยอม, การอนุมัติ |
approval | (n) การยินยอม, การเห็นด้วย, การเห็นชอบ, การอนุมัติ |
approve | (vt) เห็นด้วย, เห็นชอบ, ยินยอม, อนุมัติ, อนุญาต, พอใจ, ถูกใจ |
assent | (n) การยินยอม, การเห็นพ้องต้องกัน, การยอมรับ, การตกลง |
assent | (vi) เห็นด้วย, ตกลง, ยอมรับ, ยินยอม |
avouch | (vt) รับผิดชอบ, ยอมรับ, รับรอง, รับประกัน |
avowal | (n) การยอมรับ, การสารภาพ, การรับรอง, การปฏิญาณ |
avowedly | (adj) อย่างเปิดเผย, อย่างยอมรับ |
bilk | (vt) โกง, หนีหนี้, ไม่ยอมจ่ายเงิน |
brook | (vt) ยอม, ยินยอม, ยอมทน |
capitation | (n) การยินยอม, การยอมจำนน, การยอมแพ้ |
capitulate | (vi) ยินยอม, ยอมจำนน, ยอมแพ้ |
cede | (vt) ยอมให้, ยกให้, สละให้ |
cession | (n) การยกให้, การยอมให้, การยินยอม |
cognizance | (n) การยอมรับ, การสังเกต, อำนาจการพิจารณาคดี |
compliance | (n) การยินยอม, การยอมตาม, การเชื่อฟัง, การอ่อนข้อ |
compliant | (adj) ยินยอม, ซึ่งยอมตาม, ไม่ขัดขืน, ว่าง่าย, ซึ่งเชื่อฟัง |
comply | (vi) ยินยอม, อนุโลม, เชื่อฟัง, ไม่ขัดขืน, ว่าง่าย |
compromise | (n) การประนีประนอม, การยอมความ, การออมชอม, การอะลุ้มอล่วย |
compromise | (vt) ประนีประนอม, ยอมความ, ยอมอ่อนข้อ, ออมชอม, อะลุ้มอล่วย |
concede | (vt) ยอมรับ, ยกให้, ยอมให้, ยอมตาม, ยินยอม |
concession | (n) การยอมให้, การยินยอม, การยอมรับ, การให้เช่าที่, สัมปทาน |
condescend | (vi) ถ่อมตัว, ยอมรับ, ก้มลงมา, ก้มหัวให้ |
condescension | (n) การถ่อมตัว, การยอมรับ, การก้มลงมา |
condone | (vt) ให้อภัย, ยอม, อภัยโทษ, ไม่เอาผิด |
confess | (vi) สารภาพ, ยอมรับ, รับ |
confession | (n) การสารภาพ, การยอมรับ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
adaptogen | [อะ-แด๊พ-เถอะ-เจิ่น] (n) (ในทางยาสมุนไพร) สารธรรมชาติที่ไม่มีพิษและได้รับการยอมรับว่ามีสรรพคุณในการช่วยให้ร่างกายปรับตัวหรือรับมือกับความเครียดได้ เช่น Ashwagandha แอชวากานด้า |
Browse-wrap Contract | หรือ Browse-wrap Agreement หมายถึงข้อสัญญาหรือข้อกำหนดการใช้ งานเว็บไซต์ที่โพสต์ใส่ไว้ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะทำเป็น hyperlink ไว้ด้านล่างของหน้าจอ ข้อสัญญาชนิดนี้ไม่ต้องมีการคลิก I agree หรือฉันตกลง สัญญาชนิด Browse wrap จึงไม่มีการแสดงความยินยอมของผู้ใช้อย่างชัดแจ้ง เพียงแต่มีการใช้งานเว็บไซต์หรือดาวน์โหลดโปรแกรมก็ถือว่าตกลงทำสัญญาแล้วได้ |
consent letter | (n, law) หนังสือแสดงความยินยอม |
Creative Common | (n) สัญญาอนุญาตให้ผู้อื่นนำสำเนาผลงานของผู้เขียน ผู้ประพันธ์ หรือผู้สร้างไปเผยแพร่ผลงานต่อ ซึ่งมีอยู่หลายแบบ โดยผู้สร้างสามารถเลือกได้ว่าจะให้อนุญาตแบบไหน ซึ่งได้แก่ "ยอมรับสิทธิของผู้สร้าง" (Attribution) "ไม่ใช้เพื่อการค้า" (Noncommercial) "ไม่แก้ไขต้นฉบับ" (No Derivative Works) และ "ใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน" (Share Alike), Syn. copyleft |
Dominion | (รัฐศาสตร์) รัฐอธิราช เป็นประเทศเอกราชซึ่งยอมรับกษัตริย์สหราชอาณาจักรเป็นประมุขแห่งรัฐ |
draw the line | ยอมไม่ได้, Syn. To have a limit |
extortionate | (adj) มากเกินกว่าที่จะยอมรับได้ |
guilty as charged | (phrase) ฉันยอมรับตามนั้น เช่น A: "Were you in that place yesterday?" B: "guilty as charged" |
hail | (vt) ยอมรับ เช่น he hailed the court's decision. |
Halloweenorexia | (n, slang) ภาวะการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ โดยมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ยอมอดอาหารเพื่อที่จะใส่ชุดสวย ๆ สำหรับเทศกาลฮัลโลวีน, See also: halloween |
hand in | (vt) ยอมแพ้; ส่งคืน to return or surrender something, especially something lost or illegal, Syn. surrender something |
hollaback girl | (slang) ผู้หญิงที่ยอมผู้ชายทุกอย่าง |
Inclusive Education | (n) การศึกษาแบบเรียนร่วม การจัดการศึกษาให้กับกลุ่มบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ เช่น คนพิการ คนด้อยโอกาส คนไร้สัญชาติ คนอพยพ โดยคำนึงถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ในโรงเรียน หรือระบบการศึกษาแบบปกติ มีจุดมุงหมายเพื่อสร้างความเข้าใจ และการยอมรับความแตกต่าง ความสามารถระหว่างบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบศักยภาพของตนเอง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข |
iou | (n) หนังสือยอมรับสภาพหนี้ |
neandethal | [ni:'ændə:, θɔ:l] (adj) ADJ.เกี่ยวกับมนุษย์ยุคหิน syn:(neanderthal) ADJ. ล้าสมัยมาก relate:{ ซึ่งไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลง } syn:(neanderthal) ADJ. หยาบคาย relate:{ ซึ่งทำสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ } syn:(neanderthal) N. มนุษย์ยุคหิน |
Pharmacopoeia | [ฟามาโคเปีย] (n, pharm) หนังสือตำรายาฉบับสากล ยอมรับและใช้กันทั่วโลก บอกข้อมูลเกี่ยวกับยาและวิธีการตรวจสอบยาในหัวข้อต่างๆ หัวข้อใน pharmacopoeia เช่น Description, Purity rubric, Identification, Assay เป็นต้น Pharmacopoeia ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น USP(pharmacopoeia ของUSA), BP(pharmacopoeia ของBritish) JP(pharmacopoeia ของ Japan) ปัจจุบันประเทศไทยมี pharmacopoeia เป็นของตัวเองแล้ว โดยใช้อักษรย่อว่า TP จัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ |
plant health | (n) ความสามารถในการทำหน้าที่ทางสรีระวิทยาตามปกติในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งสอดคล้องกับศักยภาพทางพันธุกรรม |
receive with open arms | ยอมรับ, Syn. To welcome cordially |
render | ทำให้, ยื่นให้, ให้คืน, ให้ตอบแทน, ยอมให้ |
tiger by the tail | (phrase) (สำนวน) สภาวะจำยอม เหมือนการขี่หลังเสือ |
uncle | ยอมแพ้ ยอมจำนน |
up to snuff | [อัพ ทู สนัพ] บางคนหรือบางสิ่งที่อยู่ในเกณฑ์หรือคุณภาพที่ยอมรับได้ (โดยมากใช้ความหมายเชิงลบ) |
Longdo Approved JP-TH
了解 | [りょうかい, ryoukai] (n) ความเข้าใจ, ความยินยอม เช่น 了解しました เข้าใจแล้วครับ, ตกลงตามนั้น |
勝気 | [かちき, kachiki] (n, adj) ชอบเอาชนะ, ไม่ยอมแพ้ |
和解 | [わかい, wakai] (vt) ประนีประนอม, ยอมความ |
始末屋 | [しまつや, shimatsuya] (n) 1.คนประหยัด, คนมัธยัสถ์ 2.ในสมัยเอโดะ เป็นคนเก็บเงินจากแขกที่ไม่ยอมจ่ายเงินในซ่องโสเภณี |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
定着 | [ていちゃく, teichaku] (n, vt) ยึดติด, เป็นที่ยอมรับ |
認識 | [にんしき, ninshiki] (n) การยอมรับ |
納得 | [なっとく, nattoku] การเข้าใจยอมรับ |
定評 | [ていひょう, teihyou] (adv) ชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ |
溺ぼれる | [おぼれる, oboreru] (vt) จม, ตามใจ, ยอม, ปล่อยใจไปตามความต้องการ, See also: R. indulge in, to be drown |
溺れる | [おぼれる, oboreru] (vt) จม, ตามใจ, ยอม, ปล่อยใจไปตามความต้องการ, See also: R. indulge in, to be drown |
めげる | [めげる, megeru] (vt) ยอมแพ้, See also: R. 負ける |
尊重 | [そんちょう, sonchou] (adj) ยอมรับ(ความคิด) |
Hidetoe | [そんちょう, Hidetoe] (name) เจ้าชายรูปหล่อแห่ง Pramool board เป็นผู้ที่ yong mavin madpackits ให้ความเกรงกลัว และเป็นที่ชื่นชอบของทุกคนในบอร์ด เกลียดแมนยูเป็นชีวิตจิตใจ เพราะเป็นแฟนหงส์สุดยอมทีมของโลก |
認める | [みとめる, mitomeru] ยอมรับ |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
受け入れる | [うけいれる, ukeireru] TH: ยอมรับ EN: to accept |
参る | [まいる, mairu] TH: ยอมแพ้ |
折れる | [おれる, oreru] TH: ยอม EN: to give in |
Longdo Approved DE-TH
eben | เป็นคำที่ใช้เสริมเพื่อบ่งว่าต้องยอมรับเหตุการณ์นั้นๆ เช่น Er kann gar nicht schaffen. Er ist eben mein Bruder. เขาไม่เป็นโล้ไม่เป็นพาย อย่างนั้นก็เถอะเขาก็เป็นน้องชายของฉัน, Syn. halt |
lassen | ยอมให้ (คล้าย let ในภาษาอังกฤษ) (กรณีกริยาช่วย) |
etw. in Kauf nehmen | (phrase) ยอมรับในสิ่งนั้น (ส่วนใหญ่ทางด้านไม่ดี), See also: akzeptieren |
gestehen | (vi) |gestand, gestanden| ยอมรับผิด, See also: zugeben |
absegnen | (vt) |segnete ab, hat abgesegnet| อนุญาต, ยอมให้ เช่น Der Professor hat seine Doktorarbeit endlich abgesegnet. ในที่สุดศาสตราจารย์ก็ยอมให้งานปริญญาเอกของเขาผ่านได้, Syn. genehmigen |
stumm | (adj, adv) เป็นใบ้ หรือ ไม่ยอมพูด เช่น 1° Er sitzt die ganze Zeit stumm da. = เขานั่งเงียบไม่ยอมพูดอะไรตลอดเวลา 2° Meine einzige Tochter ist nach dem Unfall stumm geworden. = ลูกสาวคนเดียวของผมกลายเป็นใบ้หลังจากเกิดอุบัติเหตุครั้งนั้น |
etw. gefallen lassen | (phrase) ยอมรับ หรือ ไม่ต่อต้านให้สิ่งนั้นๆ เกิดขึ้น หรือ ยอมทนให้เกิดขึ้น เช่น Demonstration gefallen lassen = ยอมให้มีการประท้วงเกิดขึ้น |
annehmen | (vi) |nimmt an, nahm an, hat angenommen| ยอมรับด้วยดี, เห็นด้วย เช่น eine Bedingung annehmen ยอมรับเงื่อนไข |
zugeben | (vi) |gab zu, hat zugegeben| ยอมรับว่าผิด, ยินยอม, ยอมรับ เช่น Ich muß zugeben, daß du viel besser kochen kannst als ich. ฉันต้องยอมรับว่าเธอสามารถทำอาหารได้ดีกว่าฉันมาก |
erlauben | (vt) |erlaubte, hat erlaubt, etw./jmdm. etw. zu tun| อนุญาต, ยินยอมให้ทำ เช่น Erlauben Sie mir Sie anzurufen? คุณอนุญาตให้ผมโทรไปหาคุณได้ไหมครับ, See also: A. verbieten |
wachen | (vi) |wachte, hat gewacht, über + A| ไม่นอน, นอนไม่หลับ, คอยเฝ้าระวัง เช่น Er wachte die ganze Nacht am Schreibtisch. เขาอยู่ที่โต๊ะเขียนหนังสือไม่ยอมนอนทั้งคืน |
niemand | (pron) ไม่มีใคร เช่น Niemand wird ihren Forderungen nachgeben. ไม่มีใครยอมทำตามคำขอร้องของเธอได้ |
Zugeständnis | (n) |das, pl. Zugeständnisse| การยินยอม, การยอมอ่อนข้อให้, สิ่งที่ยินยอม, เรื่องที่ยินยอม เช่น Zugeständnisse an die Entführer kommen nicht in Frage. การยินยอมต่อตัวประกันเป็นไปไม่ได้, Syn. Konzession |
nachgeben | (vt) |gibt nach, gab nach, hat nachgegeben| ยอมทำตาม, ยินยอมให้ |
Geständnis | [เก-ฉะ-เต๊น-หนิส] (n) |das, pl. Geständnisse| การสารภาพผิด, การยอมรับผิด, Syn. das Selbstbekenntnis |
Empfang | |der, pl. Empfänge| การต้อนรับ, การได้รับ, การยอมรับ, Syn. Aufnahme |
gestehen | (vi) |gestand, hat gestanden| ยอมรับสารภาพ เช่น die Wahrheit gestehen, Der Verbrecher hat den Diebstahl gestanden., Ich bin enttäuscht; daß sehe ich, offen gestanden, nicht ein., See also: etw. bekennen, Syn. offen aussprechen |
Longdo Approved FR-TH
abandonner | (vt) ละ, ทิ้ง Les algériens ont abandonné leurs maisons pendant la guerre. ยอมแพ้ Les joueurs ont abandonné au premier mi-temps., Syn. renoncer, céder |
céder | (vt) ยอมแพ้ Je cède, Tu cèdes, Il cède, Nous cédons, Vous cédez, Ils cèdent |
excessif | (adj) |f. -ive| มากเกินไป, เกินขอบเขต, เกินไป, เกินกว่าจะยอมรับได้ เช่น Vous êtes aussi excessif(ve) dans vos élans que dans vos courroux., See also: démesuré, énorme, extrême |
Longdo Unapproved FR-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
convenir | (vt) ใช้กับ avoir แปลว่า เหมาะสม หรือ พอดี เช่น cela me convient parfaitement ใช้กับ être แปลว่า ตกลง, ยอมรับ เช่น une date a été convenue, Syn. s'accorder |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0723 seconds, cache age: 4.663 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม