ถึง ๑ | ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง ไปถึงบ้าน |
ถึง ๑ | รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก |
ถึง ๑ | มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง |
ถึง ๑ | จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ หรือ ถึงกับ ก็ว่า |
ถึง ๑ | บรรลุระดับที่กำหนด เช่น มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. |
ถึง ๑ | บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่น เรื่องนี้ถ้ารู้ถึงผู้ใหญ่จะไม่ดี เมื่อวานนี้เธอไม่มา ทุกคนต่างก็พูดถึงเธอ |
ถึง ๑ | ใช้เป็นคำจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด |
ถึง ๑ | จึง เช่น ทำอย่างนี้ถึงจะดี. |
กระดี่ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล <i> Trichogaster</i> วงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ [ <i> T. trichopterus</i> (Pallas) ] ข้างตัวมีลายหลายเส้นพาดขวาง มีจุดดำที่กลางลำตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง [ <i> T. microlepis</i> (Günther) ] สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้าหรือกระดี่มุก [ <i> T. leeri</i> (Bleeker) ] พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด. |
กระทุงเหว | น. ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิด ในวงศ์ Belonidae และ Hemiramphidae ลำตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล <i> Hemiramphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura</i>และ<i> Zenarchopterus</i>ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง [ <i> Ablennes hians</i> (Valenciennes) ] ซึ่งมีชุกชุมที่สุด บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง [ <i> Xenentodon cancila</i> (Hamilton) ] ขนาดยาวได้ถึง ๑.๒๕ เมตร, เข็ม ก็เรียก. |
กระบอก ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยและปลาทะเลหลายชนิด ในสกุล<i> Liza, Valamugil, Oedalechilus</i> และ<i> Mugil</i> วงศ์ Mugilidae ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ [ <i> L. vaigiensi</i> (Qnoy & Gaimard) ] กระบอกดำ [ <i> L</i>.<i> parsia</i> (Hamilton-Buchanan) ] กระบอกขาว [ <i> V. seheli</i> (Forsskål) ], กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สำหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก หมก หรือ มก. |
กระสือ ๓ | น. ชื่อตัวอ่อนหิ่งห้อยและตัวเต็มวัยหิ่งห้อยเพศเมียที่ไม่มีปีกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Lampyridae เช่น สกุล <i> Lamprigera, Pyrocoelia, Diaphanes</i>ยาวได้ถึง ๑๐ เซนติเมตร อยู่ตามพื้นดิน สามารถทำแสงจากอวัยวะทำแสงที่อยู่ปลายท้องได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. <i> (ดู หิ่งห้อย ประกอบ)</i>. |
กราย ๑ | (กฺราย) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i> Chitata ornata</i> (Gray) วงศ์ Notopteridae หัวและลำตัวแบนข้างมาก สันหัวแอ่นลง ท้องเป็นสันคม ครีบท้องเล็กมาก ครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบมน บริเวณเหนือครีบก้นมีจุดสีดำ ๕-๑๐ จุดเรียงเป็นแถวตามยาว ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, ตองกราย หรือ หางแพน ก็เรียก. |
กะตัก | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล <i> Encrasicholina</i> และ <i> Stolephorus</i> วงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่างครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลมขนาดเล็กมาก ๒-๗ อัน ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ชินชัง ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างขนาด ชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ ขนาดยาวได้ถึง ๑๔ เซนติเมตร. |
กะลา ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Etlingera elatior</i> (Jack) R. M. Sm. ในวงศ์ Zingiberaceae ต้นคล้ายข่า สูง ๓-๔ เมตร ช่อดอกคล้ายบัวตูมแต่กลีบแข็ง สีชมพูหรือแดง มีดอกเล็ก ๆ แน่นเป็นกระจุกอยู่ภายใน ก้านช่อดอกผุดขึ้นจากดินและยาวได้ถึง ๑ เมตร หน่อและดอกอ่อนใช้เป็นอาหาร, กาหลา หรือ ดาหลา ก็เรียก, ปักษ์ใต้บางจังหวัดเรียก ปุดกะลา. |
การ์ตูน ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล <i> Amphiprion</i> วงศ์ Pomacentridae ลำตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดำคลํ้า มักมีแถบสีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลำตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิดหรือขนาดบ้างมีสีส้ม พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประเภทหนึ่งในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ขนาดยาวได้ถึง ๑๖ เซนติเมตร. |
กุเรา | น. ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ ในสกุล <i> Eleutheronema</i>และในสกุล<i> Polynemus</i> วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลำตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด <i> E. tetradactylum</i> (Shaw), P. sextarius Bloch & Schneider ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เซนติเมตร, กุเลา ก็เรียก. |
กุแล | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล <i> Sardinella</i> และ <i> Herklotsichthys</i> วงศ์ Clupeidae ลำตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องบางคล้ายคมมีด เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีนํ้าเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคลํ้า ๑ จุด ครีบหลังและครีบหางสีดำคลํ้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึงชนิดในสกุล <i> Dussumieria</i> ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกันเป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนน้อยและสั้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก |
แก้ว ๔ | น. ชื่อปลาทะเลพวกปลาจวดชนิด<i> Otolithoides biauritus</i> (Cantor) ในวงศ์ Sciaenidae ลำตัวยาวเรียว ปากเล็ก ทู่ ฟันเล็ก ครีบหางแหลม ก้านครีบก้นมีขนาดเล็ก เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวขยายใหญ่และนูนเป็นสัน ลำตัวสีเทา ใกล้สันท้องมีสีเงินคล้ายปลาจวดชนิดอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, จวดลาก ก็เรียก. |
ข้างเงิน | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล <i> Allanetta</i> และ <i> Stenatherina</i> วงศ์ Atherinidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก. |
ข้าวเม่า ๒ | น. ชื่อปลาทะเลและปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล <i> Ambassis</i> วงศ์ Ambassidae หรือมีผู้รวมไว้กับวงศ์ Centropomidae เป็นปลาขนาดเล็ก ยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร ลำตัวแบนข้าง ค่อนข้างใส ก้านครีบแข็ง แหลม และมักชี้กางทำให้ทิ่มตำเมื่อจับต้อง ยังพบมีผู้เรียกปลาทะเลชนิด <i> Ephippus orbis</i> Bloch ในวงศ์ Ephippidae และปลานํ้าจืดในสกุล <i> Chela</i> วงศ์ Cyprinidae ว่า ปลาข้าวเม่า ด้วย, สำหรับปลาในวงศ์ Ambassidae เกล็ดข้าวเม่า หรือ แป้น ก็เรียก. |
ข้าหลวง ๓ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด <i> Scolopsis ciliatus</i> (Lacepéde) ในวงศ์ Nemipteridae ลำตัวป้อม แบนข้างปานกลาง พื้นลำตัวสีเขียวหม่น มีแถบสีขาวเด่นพาดตามยาวใกล้แนวสันหลังข้างละเส้น ระหว่างตาและแผ่นกระดูกใต้ตามีหนามแหลม ๑ อัน ชี้ไปทางด้านหน้า ขอบด้านนอกของขากรรไกรบนจักเป็นฟันเลื่อย พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๑๓ เซนติเมตร. |
ขี้ควาย | น. ชื่อปลาทะเลชนิด <i> Trachicephalus uranoscopus</i> (Bloch & Schneider) ในวงศ์ Scorpaenidae ตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวสั้น ปากกว้างเชิดขึ้น ลำตัวมีรอยด่างสีนํ้าตาล มักมีจุดขาวประปราย ขอบครีบเป็นสีดำคลํ้า เงี่ยงมีพิษ ซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินหรือหมกตัวอยู่ตามพื้นท้องทะเล ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร, ขี้ขุย ก็เรียก. |
ค็อด | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดแถบเขตหนาวของซีกโลกด้านเหนือ มีหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Gadidae ลำตัวยาวได้ถึง ๑๗๕ เซนติเมตร แบนข้างเล็กน้อย และเรียวไปทางข้างหาง เป็นปลาล่าเหยื่อ อยู่เป็นฝูงโดยเฉพาะขณะเดินทางเพื่อสืบพันธุ์ คนไทยรู้จักชื่อปลาค็อดมานาน คือ น้ำมันตับปลาปลาค็อด. |
งา ๔ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด <i> Thryssa setirostris</i> (Broussonet) ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือครีบก้น ลำตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงินอมเหลืองส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร. |
จาด ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i> Neolissochilus</i> <i> stracheyi</i> ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็ก ลำตัวยาว เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายทรงกระบอก ลำตัวสีเงิน ด้านหลังสีเขียวเข้ม อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าสะอาดใกล้ต้นนํ้า เป็นปลาขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๑ เมตร, พลวง หรือ โพ ก็เรียก. |
ชะโด | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i> Channa micropeltes</i> (Cuvier) ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อน ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันแต่เกล็ดเล็กและมีจำนวนมากกว่า เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๘๒-๙๕ เกล็ด เมื่อยังเล็กข้างลำตัวมีแถบสีดำเรียงคู่กันจากตาถึงครีบหาง ระหว่างแถบเป็นสีแดง แถบนี้แตกเป็นแต้มหรือจุดในปลาที่โตเต็มที่ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, แมลงภู่ อ้ายป๊อก หรือ โด ก็เรียก, พายัพเรียก ก่อ. |
ดัก ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด <i> Amblyceps</i> <i> mucronatum</i> Ng & Kottelat ในวงศ์ Amblycipitidae ตาเล็กมาก มีหนวดอยู่ระหว่างรูจมูก ๔ คู่ ไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว แบนข้าง ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง มีแผ่นเนื้ออยู่ส่วนหน้าของครีบอก ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อ คอดหางกว้าง ครีบหางเป็นแฉก พบอาศัยอยู่ตามแหล่งต้นนํ้าลำธาร ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร. |
ตัวตืด | น. ชื่อพยาธิหลายชนิดหลายวงศ์ ในชั้น Cestoda ตัวแบนเป็นปล้องเรียงต่อกันเป็นแถบยาว หัวมีอวัยวะใช้เกาะยึด ถัดมาลำตัวเป็นปล้อง จำนวนปล้องแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ ๒-๓ ปล้อง จนถึง ๑, ๐๐๐ ปล้อง ปล้องท้ายสุดเกิดก่อน ปล้องถัดจากคอเกิดหลังสุด มักอาศัยดูดอาหารในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ถ้ามีจำนวนมากจะไปกั้นทางเดินอาหาร ทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง ชนิดที่อยู่ในคน เช่น ชนิด <i> Taenia solium</i> Linn. ซึ่งตัวอ่อน เรียก เม็ดสาคู อยู่ในเนื้อหมู ชนิด <i> T. saginata</i> Goeze ซึ่งตัวอ่อนอยู่ในเนื้อวัว, ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Taeniidae และเป็นพยาธิในลำไส้เล็กของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด. |
ตูหนา | น. ชื่อปลาไหลนํ้าจืดชนิด <i> Anguilla bicolor</i> (Richardson) ในวงศ์ Anguillidae ที่ว่ายลงทะเลเพื่อขยายพันธุ์ ลำตัวกลมยาว แบนข้างทางท่อนหาง มีครีบอก เกล็ดเล็กฝังแน่นอยู่ในหนัง ลำตัวและครีบสีนํ้าตาลหรือเกือบดำเสมอกัน พบทางเขตภาคใต้ด้านทะเลอันดามัน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร. |
ที่ไหนได้ | ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คำใช้แสดงความประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท. |
เทโพ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด <i> Pangasius larnaudii</i> Bocourt ในวงศ์ Pangasiidae ไม่มีเกล็ด ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย รูปร่างคล้ายปลาสวาย แต่มีจุดสีดำเด่นอยู่บนลำตัวเหนือครีบอก และพื้นลำตัวสีเรียบไม่มีลายพาดตามยาว พบชุกชุมตามแม่นํ้าในเขตภาคกลางและลุ่มแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๑.๓ เมตร. |
นวลจันทร์ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อยชนิด <i>Chanos</i> <i>chanos</i> (Forsskål) ในวงศ์ Chanidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หัวหลิม ตาโต ครีบหลังมีครีบเดียวตั้งอยู่ในแนวกลางตัว ครีบหางเป็นแฉกลึก เกล็ดทั่วตัวมีสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เมตร อยู่ในน้ำจืดได้, ชะลิน ดอกไม้ หรือ นวลจันทร์ทะเล ก็เรียก. |
น้องเพล | น. เรียกเวลาก่อนเพล ระหว่าง ๑๐ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา. |
เบาะลม | น. ถุงลมขนาดใหญ่ที่อัดอากาศไว้ภายใต้พื้นล่างของยานพาหนะ ทำหน้าที่เสมือนเป็นเบาะพยุงให้ตัวยานพาหนะลอยอยู่เหนือพื้นได้ตลอดเวลาที่เคลื่อนที่ไป ระยะที่ลอยอยู่เหนือพื้นอาจสูงได้ถึง ๑๐ ฟุต. |
ปลาสเตอร์ | ผงสีขาวคล้ายปูนขาวได้จากการเผายิปซัมให้ร้อนถึง ๑๒๐ °-๑๓๐ °ซ. เมื่อนำไปผสมกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะแข็งตัวได้เร็วมาก ใช้ประโยชน์ในการนำไปทำแม่พิมพ์ รูปปั้น เป็นต้น หรือพอกอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในการรักษากระดูกหัก. |
ปากแตร ๒ | น. ชื่อปลาทะเลในสกุล <i> Fistularia</i> วงศ์ Fistulariidae หัวและลำตัวแบนลงแต่แคบและยาวมาก ตาโต ปากเป็นท่อยาวคล้ายแตร มีช่องปากขนาดเล็กอยู่ปลายสุด ลำตัวไม่มีเกล็ดยกเว้นเฉพาะที่แนวสันหลัง ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบหางเป็นแฉกมีเส้นยาวคล้ายแส้ยื่นออกจากกึ่งกลางครีบ ลำตัวทั่วไปรวมทั้งหัวและครีบสีนํ้าตาลแดง ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร เช่น ชนิด <i> F. villosa</i> Klunzinger, สามรส ก็เรียก. |
ปูนปลาสเตอร์ | น. แคลเซียมซัลเฟต (CaSO<sub>4</sub><i>·</i> H<sub>2</sub>O) ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายปูนขาว ได้จากการเผายิปซัม (CaSO<sub>4</sub><i>·</i>2H<sub>2</sub>O) ให้ร้อนถึง ๑๒๐ °-๑๓๐ °ซ. เมื่อนำไปผสมกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะแข็งตัวได้เร็วมาก ใช้ประโยชน์ในการนำไปทำแม่พิมพ์ รูปปั้น เป็นต้น หรือพอกอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในการรักษากระดูกหัก. |
ผมนาง | น. ชื่อปลาทะเลชนิด <i> Alectis ciliaris</i> (Bloch), A. indicus (Rüppell), <i> Carangoides armatus</i> (Rüppell) และ <i> C. hedlandensis</i> (Whitley) ในวงศ์ Carangidae รูปร่างแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหางเล็ก เกล็ดละเอียด เว้นแต่ที่ส่วนปลายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะบริเวณคอดหางเกล็ดจะขยายใหญ่เป็นสันแข็ง มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น และพับลงในร่องได้ ที่สำคัญคือ ต่างก็มีส่วนหน้าของทั้งครีบหลังตอนที่ ๒ และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลำตัวสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลังเป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็นบั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดำ จึงได้ชื่อว่า ผมนาง เฉพาะปลาขนาดเล็กของชนิด <i> A. indicus</i> (Rüppell) ยังมีครีบท้องยาวมากและมีขนาดยาวได้ถึง ๑๕๐ เซนติเมตร, โฉมงาม ก็เรียก. |
ม่ง ๑ | น. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือสีกุน โดยเฉพาะที่มีขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ในวงศ์ Carangidae มีลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับลงในร่องได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ไม่มีสีฉูดฉาด อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด <i>Caranx sexfasciatus</i> Quoy & Gaimard<i>, </i> <i>C. melampygus</i> Cuvier, <i>C. ignobilis</i> (Forsskal), <i>Carangoides</i> <i>gymnostethus</i> (Cuvier), <i>C. fulvoguttatus</i> (Forsskal) และ <i>Alectis ciliaris</i> (Bloch) ปลาเหล่านี้บางชนิดอาจมีขนาดยาวได้ถึง ๑.๔ เมตร, กะมง กะม่ง หรือ ม่ง ก็เรียก. |
มาน ๑ | น. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็ง ลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้อง อาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง ๑๕-๒๐ ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่งพองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจลำบาก เท้าบวม เป็นต้น. |
ม่านลาย | น. ชื่อตะพาบชนิด <i>Chitra chitra</i> Nutphand ในวงศ์ Trionychidae เป็นเต่ากระดองอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่แม่นํ้าแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี มีนํ้าหนักถึง ๑๔๘ กิโลกรัม ทั้งตัวและหัวสีนํ้าตาล มีลายสีนํ้าตาลอ่อน กินปลา, กริวลาย ม่อมลาย หรือ กราวด่าง ก็เรียก. |
ม้าน้ำ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล <i>Hippocampus</i> วงศ์ Syngnathidae ลำตัวหนา หัวพับเข้าหาลำตัว ปากเป็นท่อยาว ทำให้ส่วนหัวดูคล้ายม้า ส่วนหางเรียวยาว ม้วนได้ ไม่มีครีบหาง ครีบหลังอยู่ตรงข้ามครีบก้นที่มีขนาดเล็กมาก มีครีบอกแต่ไม่มีครีบท้อง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้องตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดำที่บางส่วนของลำตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการังและสาหร่ายทะเล โดยทรงตัวในแนวตั้งและอาจใช้ส่วนหางพันยึดวัตถุใต้นํ้า หลังผสมพันธุ์ ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร. |
แมว ๒ | น. ชื่อปลาทุกชนิดในสกุล <i>Thryssa, Setipinna</i> และชนิด <i>Lycothrissa crocodilus</i> (Bleeker) ในวงศ์ Engraulidae ลำตัวยาว แบนข้างมาก ปากกว้าง เชิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่ชนิด ฟันแหลมคมคล้ายฟันแมว ตาอยู่ค่อนไปทางปลายจะงอยปาก เกล็ดเป็นแบบเรียบ ใหญ่และบาง ท้องเป็นสันแหลมมีเกล็ดแข็ง เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปลายครีบอกมักยื่นยาวเป็นเส้นคล้ายหนวดแมว ครีบก้นเป็นแผ่นยาว มีทั้งที่อยู่ในนํ้ากร่อย นํ้าทะเล และนํ้าจืด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕-๓๐ เซนติเมตร. |
โมง ๑ | น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า. |
ยิปซัม | น. แร่ชนิดหนึ่ง ชื่อไฮเดรเทดแคลเซียมซัลเฟต (hydrated calcium sulphate) มีสูตร CaSO<sub>4</sub>∙</sub>2H<sub>2</sub>O เมื่อนำมาเผาให้ร้อนถึง ๑๒๐˚- ๑๓๐˚ซ. จะได้ผงสีขาว เรียกว่า ปูนปลาสเตอร์, หินฟองเต้าหู้ หรือ เกลือจืด ก็เรียก. |
ยี่สก | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i>Probarbus jullieni</i> Sauvage ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดำเด่นพาดตามยาวเฉพาะบนลำตัว ๗-๘ แถบ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, ยี่สกทอง ก็เรียก. |
เยาวชน | น. บุคคลอายุเกิน ๑๕ ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์. |
ริวกิว | น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อย ชนิด <i>Arius thalassinus</i> (Rüppell) ในวงศ์ Ariidae ลำตัวกลม ยาว ท้องแบน ปลายจะงอยปากมนในปลาขนาดเล็ก และแหลมป้านในปลาขนาดโต ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนปนแดง หรือฟ้าอมเทา ตัวผู้มีพฤติกรรมฟักไข่และดูแลตัวอ่อนโดยอมไว้ในช่องปาก พบห่างฝั่งมากกว่าปลากดชนิดอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘๕ เมตร, กดทะเล กดโคกกะโส เลียวเซียว ลู่ทู่ กด หรือ อุก ก็เรียก.<i>(ดู กด และ อุก)</i>. |
ฤคเวท | (รึกคะเวด) น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๑ ของพระเวท ใช้ภาษาสันสกฤตรุ่นเก่าที่สุด ประพันธ์เป็นฉันท์ มีอายุประมาณ ๕๐๐ ถึง ๑, ๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล, อิรุพเพท ก็ว่า. (ส.; ป. อิรุพฺเพท). <i>(ดู เวท, เวท- ประกอบ)</i>. |