ตัวสะกด | น. พยัญชนะท้ายคำหรือพยางค์ที่ทำหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไปตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. |
ก | (กอ) พยัญชนะตัวที่ ๑ เรียกว่า กอ ไก่ เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากกหรือแม่กก เช่น กก ปาก สัก. |
ก กา | น. เรียกแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด ว่า มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา. |
ก หัน | น. อักษร ก คู่ ในหนังสือโบราณใช้แทนไม้หันอากาศตัวหนึ่ง เป็นตัวสะกดตัวหนึ่ง เช่น จกก = จัก หลกก = หลัก. |
ข | (ขอ) พยัญชนะตัวที่ ๒ เรียกว่า ขอ ไข่ เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากกหรือแม่กก เช่น มุข เลข. |
เขียนไทย | น. วิชาเขียนภาษาไทยตามคำบอกของครู เพื่อฝึกเขียนตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า. |
ค | (คอ) พยัญชนะตัวที่ ๔ เรียกว่า คอ ควาย เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากกหรือแม่กก เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค. |
ครุ ๒ | (คะรุ) ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ั แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย ุ แทน. |
คล้องจอง | ก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้องอยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน |
คำตาย | น. คำสระสั้นที่ไม่มีตัวสะกดพวกหนึ่ง และคำในมาตรากก กด กบ. |
คำเป็น | น. คำสระยาวที่ไม่มีตัวสะกด และคำในมาตรากง กน กม เกย เกอว. |
ฆ | (คอ) พยัญชนะตัวที่ ๖ เรียกว่า ฆอ ระฆัง เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากกหรือแม่กก เช่น เมฆ. |
ง | (งอ) พยัญชนะตัวที่ ๗ เรียกว่า งอ งู เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากงหรือแม่กง เช่น บาง ทอง. |
จ | (จอ) พยัญชนะตัวที่ ๘ เรียกว่า จอ จาน เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น กิจ วินิจฉัย ตำรวจ. |
ช ๑ | พยัญชนะตัวที่ ๑๐ เรียกว่า ชอ ช้าง เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ราช คช กริช แซนด์วิช. |
ซ | (ซอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๑ เรียกว่า ซอ โซ่ เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้นและเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ก๊าซ. |
ญ | (ยอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๓ เรียกว่า ญอ หญิง เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น ปัญญา สัญชาติ ผจญ โคโลญ. |
ฎ | (ดอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๔ เรียกว่า ฎอ ชฎา เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น กฎ มงกุฎ. |
ฏ | (ตอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๕ เรียกว่า ฏอ ปฏัก เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ปรากฏ นาฏ. |
ฐ | (ถอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๖ เรียกว่า ฐอ ฐาน เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น รัฐ อัฐ. |
ฑ | (ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๗ เรียกว่า ฑอ มณโฑ เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น ออกเสียงเป็น ด บ้าง เช่น บัณฑิต มณฑป หรือ ท บ้าง เช่น มณฑล มณฑา และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ษัฑ. |
ฒ | (ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๘ เรียกว่า ฒอ ผู้เฒ่า เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น วัฒน์ วุฒิ. |
ณ ๑ | (นอ) พยัญชนะตัวที่ ๑๙ เรียกว่า ณอ เณร เป็นอักษรต่ำ ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น คุณ บัณฑิต. |
ด | (ดอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๐ เรียกว่า ดอ เด็ก เป็นอักษรกลางใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น มดกัด. |
ต | (ตอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๑ เรียกว่า ตอ เต่า เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น จิต เมตตา ฟุต. |
ถ | (ถอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๒ เรียกว่า ถอ ถุง เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น รถ นาถ. |
ท ๑ | (ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๓ เรียกว่า ทอ ทหาร เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ประมาท บท. |
ธ ๑ | (ทอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๔ เรียกว่า ธอ ธง เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น สุเมธ มคธ. |
น ๑ | (นอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๕ เรียกว่า นอ หนู เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น จาน. |
บ ๑ | (บอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๖ เรียกว่า บอ ใบไม้ เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากบหรือแม่กบ เช่น ดิบ. |
บังคับครุ | น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อำ ใอ ไอ เอา เช่น รำ ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน. |
บังคับลหุ | น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น ละ ติ ลุ. |
ป | (ปอ) พยัญชนะตัวที่ ๒๗ เรียกว่า ปอ ปลา เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากบหรือแม่กบ เช่น บาป เนปจูน สัปดาห์. |
พ | (พอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๐ เรียกว่า พอ พาน เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากบหรือแม่กบ เช่น ภพ ภาพ สรรพ ผลลัพธ์. |
ฟ | (ฟอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๑ เรียกว่า ฟอ ฟัน เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากบหรือแม่กบ เช่น เสิร์ฟ ไมโครเวฟ. |
ภ | (พอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๒ เรียกว่า ภอ สำเภา เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากบหรือแม่กบ เช่น ปรารภ ลาภ. |
ม | (มอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๓ เรียกว่า มอ ม้า เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้นและเป็นตัวสะกดในมาตรากมหรือแม่กม เช่น ลม ยาม. |
มาตรา | แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า มาตรา ก กา หรือ แม่ ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในมาตราเกอวหรือแม่เกอว |
แม่ | คำหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือมาตรา ก กา, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กกหรือมาตรากก, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กงหรือมาตรากง, คำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กดหรือมาตรากด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กนหรือมาตรากน, คำหรือพยางค์ที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด เรียกว่า แม่กบหรือมาตรากบ, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กมหรือมาตรากม, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกยหรือมาตราเกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอวหรือมาตราเกอว. |
ไม้ผัด | น. เครื่องหมายรูปสระดังนี้ ใช้แทนเสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้หันอากาศ หรือ หางกันหัน, ก็เรียก. |
ไม้หันอากาศ | น. เครื่องหมายรูปสระดังนี้ ใช้แทนเสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, ไม้ผัด หรือ หางกังหัน ก็เรียก. |
ย | (ยอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๔ เรียกว่า ยอ ยักษ์ เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตราเกยหรือแม่เกย เช่น ลุย สาย. |
ร | (รอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เรียกว่า รอ เรือ เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น การ วาร, เมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีพยางค์อื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียงประสมสระ ออ และตัว ร ออกเสียง ระ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี). |
รร | (รอหัน) อักษร ร ควบกัน ๒ ตัว ถ้าไม่มีตัวสะกด ใช้แทนสระอะกับแม่กนสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) สรร (สัน) สรรค์ (สัน), ถ้ามีตัวสะกดใช้แทนสระอะ เช่น วรรณ (วัน) สรรพ (สับ) กรรม (กัม) อรรถ (อัด). |
ล | (ลอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๖ เรียกว่า ลอ ลิง เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น กาล พาล ฟุตบอล. |
ลดรูป | ก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียงสระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ–ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ–ะ เป็น ลง. |
ลหุ | ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย ุ แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย ั แทน. |
ว | (วอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๗ เรียกว่า วอ แหวน เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้นและใช้เป็นตัวสะกดในมาตราเกอวหรือแม่เกอว เช่น กล่าว นิ้ว, ใช้ประสมกับรูปไม้หันอากาศเป็นสระอัวในคำที่ไม่มีตัวสะกด เช่น ตัว มัว, ใช้เป็นสระอัวในคำที่มีตัวสะกด เช่น สวย รวม. |
ศ | (สอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๘ เรียกว่า ศอ ศาลา เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น ปราศจาก อัศวิน อากาศ. |
ษ | (สอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๙ เรียกว่า ษอ ฤๅษี เป็นอักษรสูง ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากดหรือแม่กด เช่น เศรษฐี พิษ อังกฤษ. |