204 ผลลัพธ์ สำหรับ *เป็นประจำ*
ภาษา
หรือค้นหา: เป็นประจำ, -เป็นประจำ-Longdo TH - TH
ไม้เบื่อไม้เมา | ไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกันเป็นประจำ. |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
เป็นประจำ | (adv) regularly, See also: frequently, normally, ordinarily, always, often, Syn. เสมอๆ, บ่อยๆ, Ant. เป็นครั้งคราว, Example: เรื่องทำนองนี้มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำ |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ก๊วน | น. กลุ่มคนที่สนิทสนมและร่วมทำกิจกรรมเดียวกันเป็นประจำ เช่น เขาสนิทกับรัฐมนตรีคนนี้เพราะเล่นกอล์ฟก๊วนเดียวกัน |
การจร | น. งานซึ่งไม่ได้ทำเป็นประจำหรือที่คาดไม่ถึง. |
กิจวัตร | น. กิจที่ทำเป็นประจำ. |
กินนอน | น. เรียกโรงเรียนที่นักเรียนต้องกินอยู่หลับนอนอยู่ที่โรงเรียนเป็นประจำ ว่า โรงเรียนกินนอน, โรงเรียนประจำ ก็เรียก, เรียกนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนกินนอน ว่า นักเรียนกินนอน หรือ นักเรียนประจำ. |
ขี้เมา | น. คนที่ชอบดื่มเหล้าและเมาเป็นประจำ. |
ขี้เมาหยำเป | น. คนที่ดื่มเหล้าเมาจนครองสติไม่อยู่เป็นประจำ. |
ขึ้นเหนือล่องใต้ | ก. เดินทางไกลไปยังที่ต่าง ๆ โดยมักไปเป็นประจำ. |
คณะกรรมาธิการสามัญ | น. คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เลือกและแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำ. |
จำนำ | ก. ประจำ, เรียกผู้ซื้อขายหรือติดต่อกันเป็นประจำว่า เจ้าจำนำ. |
เจ้าจำนำ | น. ผู้ซื้อขายหรือติดต่อกันเป็นประจำ. |
ชาววัด | น. คฤหัสถ์ที่ไปทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมที่วัดเป็นประจำ. |
ตลาด | สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด. |
ติดยาเสพติดให้โทษ | น. เสพเป็นประจำติดต่อกันและตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องพึ่งยาเสพติดให้โทษนั้น โดยสามารถตรวจพบสภาพเช่นว่านั้นได้ตามหลักวิชาการ. |
นิตยภัต | น. อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์, เงินงบประมาณแผ่นดินที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลเป็นประจำทุกปี เพื่อเบิกจ่ายถวายอุดหนุนอุปถัมภ์แก่พระภิกษุผู้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระสังฆาธิการ พระเลขานุการ พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค เป็นต้น. |
นิตยสาร | น. หนังสือที่มีกำหนดออกเป็นประจำและแน่นอน มีเนื้อหาให้อ่านเพื่อความเพลิดเพลินและความรู้ทั่วไป เช่น นิตยสารรายสัปดาห์ นิตยสารรายเดือน. |
บุริมสิทธิสามัญ | น. บุริมสิทธิของเจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน ค่าปลงศพ ค่าภาษีอากร และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้าง ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน ในอันที่จะได้รับชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้. |
ประจำ | ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจำ นั่งประจำ |
ประเทศราช | (ปฺระเทดสะราด) น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อำนาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการถวายเป็นประจำ และในเวลาเกิดศึกสงครามต้องเกณฑ์กำลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย. |
เป็นแดน | ว. เป็นไปเสมอ, เป็นประจำ, เช่น นั่งที่ไหนนินทาเขาเป็นแดน (สุภาษิตสอนหญิง). |
เป็นอัตรา | ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ขยันเป็นอัตรา ขี้เกียจเป็นอัตรา. |
ไม้เบื่อไม้เมา | ว. ไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกันเป็นประจำ. |
ยกครู | ก. ทำพิธีบูชาครูเป็นประจำปี กล่าวคือ นำขันล้างหน้า ผ้าขาว เงิน ไปบูชาครูเป็นการคำนับ, ทำพิธีมอบตัวให้เป็นศิษย์ของครู กล่าวคือ นำดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ไปบูชาครู. |
ยืนโรง | น. เรียกผู้แสดงเป็นตัวละครหรือลิเกเป็นต้นตัวใดตัวหนึ่งประจำ เช่น พระเอกยืนโรง ตัวตลกยืนโรง, เรียกผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาเป็นตัวยืนโรงในการประชุม |
ยืนโรง | ก. ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาต้องยืนโรงตอบปัญหาตลอดรายการ |
รัฐพิธี | น. งานที่รัฐบาลจัดขึ้นโดยกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงรับไว้มีกำหนดการเป็นประจำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน เช่นวันที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า. |
รุกขมูลิกธุดงค์ | (-มูลิกะ-) น. ธุดงค์อย่าง ๑ ใน ๑๓ อย่าง ที่ภิกษุจะต้องสมาทานว่าจะอยู่โคนต้นไม้เป็นประจำ. |
โรคประจำตัว | น. โรคที่มีติดตัวอยู่เป็นประจำ รักษาไม่หายขาด. |
โรงเรียนกินนอน, โรงเรียนประจำ | น. โรงเรียนที่นักเรียนต้องกินอยู่หลับนอนอยู่ที่โรงเรียนเป็นประจำ, เรียกนักเรียนเช่นนั้น ว่า นักเรียนกินนอน หรือ นักเรียนประจำ. |
โล่งหู | ก. รู้สึกสบายอกสบายใจเพราะไม่ได้ยินเสียงที่เคยทำให้รำคาญหูอยู่เป็นประจำ. |
ว่ากล่าว | ก. ตำหนิ, ตักเตือน, เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ จึงถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปว่ากล่าว, สั่งสอน เช่น ผู้ใหญ่ว่ากล่าวไม่เชื่อฟัง. |
ส่งข้าวส่งน้ำ, ส่งปิ่นโต | ก. เอาข้าวปลาอาหารเป็นต้นไปให้แก่ผู้ต้องหาหรือนักโทษ เช่น ถ้าติดตะรางใครจะส่งข้าวส่งน้ำให้ ญาติติดคุกเลยต้องส่งปิ่นโตให้เป็นประจำ. |
ส่งส่วย | ก. ส่งเงินเป็นต้นให้เป็นประจำตามที่ตกลงกัน (มักใช้ในทางไม่สุจริต) เช่น ผู้ลักลอบเล่นการพนันต้องส่งส่วยให้พวกนักเลงเจ้าถิ่น. |
สถานประกอบการ | น. สถานที่ซึ่งผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการเป็นประจำและหมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย. |
ส่วย ๑ | สิ่งของพื้นเมืองที่เมืองหลวงเรียกเกณฑ์จากหัวเมืองเป็นประจำเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการ |
เสมอ ๆ | ตลอดไป, บ่อยและเป็นประจำ, เช่น เขามาหาเสมอ ๆ. |
หน้ารับแขก | น. หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นประจำ. |
หูปลาช่อน | น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ เช่น ไม้ล้มลุกชนิด Emilia sonchifolia (L.) DC. ไม้ล้มลุกชนิด Aster cordifolius L. ในวงศ์ Compositae ใบแคบ โคนใบรูปหัวใจ ช่อดอกสีชมพู หรือสีฟ้า, ไม้พุ่มชนิด Acalypha wilkesiana Müll. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใบมีหลายสี ค่อนข้างกลม ขอบหยักและเป็นคลื่น ในวงศ์ Compositae ใบมีขน ขอบใบจัก กินได้ แต่ไม่ควรกินเป็นประจำ, หางปลาช่อน ก็เรียก. |
อยู่อัตรา | ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ให้เพิ่มพูนปรนนิบัติอยู่อัตรา (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓), (ปาก) เป็นอัตรา. |
อัตรา | (อัดตฺรา) ว. เป็นประจำตามกำหนด, สมํ่าเสมอ, เป็นนิจ, เช่น แล้วให้เทศนาอัตราไป (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓). |
อาชีพ, อาชีว-, อาชีวะ | งานที่ทำเป็นประจำเพื่อเลี้ยงชีพ. |
อุดหนุน | ก. ช่วยเหลือสนับสนุน เช่น บริษัทเอกชนอุดหนุนการจัดงานวันเด็ก, ช่วยเหลือให้อยู่ได้ เช่น ร้านนี้มีลูกค้ามาอุดหนุนเป็นประจำ. |
อุดหนุนจุนเจือ | ก. ช่วยพยุงให้อยู่ได้ เช่น เขาเป็นคนใจบุญ คอยอุดหนุนจุนเจือคนตกทุกข์ได้ยากเป็นประจำ. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
commute | ไปกลับเป็นประจำ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
commuter | ผู้ไปกลับเป็นประจำ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
commuting | การไปกลับเป็นประจำ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] |
Monitoring | การเฝ้าสังเกต, การเฝ้าสังเกตปริมาณรังสี หรือ การเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากการตรวจวัด เพื่อประเมินหรือควบคุมการรับรังสี แบ่งเป็น 2 แบบ คือ <br>1. การเฝ้าสังเกตตามจุดตรวจ ได้แก่ การเฝ้าสังเกตตามรายบุคคล สถานที่ปฏิบัติการ ต้นกำเนิดรังสี และสิ่งแวดล้อม</br> <br>2. การเฝ้าสังเกตตามความมุ่งหมาย ได้แก่ การเฝ้าสังเกตเป็นประจำ หรือตามภารกิจที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นกรณีพิเศษ</br> [นิวเคลียร์] |
Commuter | ผู้ไปกลับเป็นประจำ, Example: บุคคลที่เดินทางจากสถานที่อยู่อาศัย ไปยังสถานที่ทำงานเป็นประจำ [สิ่งแวดล้อม] |
ASEAN Committee in Tokyo | คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโตเกียว ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตอาเซียน 10 ประเทศซึ่งประจำที่กรุง โตเกียว มีการหารือเป็นประจำทุก 1-2 เดือน หรือตามความจำเป็น [การทูต] |
ASEAN Finance Minister + 3 (China, Japan and the Republic of Korea) Meeting | การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับผู้แทนจากจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ในช่วงการประชุม ประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่กรุงมะนิลา และได้ ตกลงในหลักการที่จะจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาค และร่วมมือหามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์การเงินในภูมิภาค ผลงานที่สำคัญคือ ข้อตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) [การทูต] |
ASEAN Inter-Parliamentary Organization | องค์การรัฐสภาอาเซียน " เป็นเวทีการประชุมของผู้แทนรัฐสภาของประเทศสมาชิกอาเซียน จัดขึ้น เป็นประจำทุกปี " [การทูต] |
ASEAN-Japan Forum | การประชุมอาเซียน-ญี่ปุ่น " เป็นการประชุมระดับปลัดกระทรวงฯ เดิมจัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ 18-24 เดือน ต่อมาได้ตกลงกันที่จะจัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อหารือเกี่ยวกับ ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายในทุกด้าน " [การทูต] |
ASEAN-JAPAN SUMMIT | การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น เป็นการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งในหลักการจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 [การทูต] |
ASEAN Ministerial Meeting on Agriculture and Forestry | การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อกำหนดนโยบายและติดตามความร่วมมือด้านเกษตรและป่าไม้ของอาเซียน [การทูต] |
ASEAN Ministerial Meeting on the Environment | การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อหารือ กำหนดนโยบาย และติดตามผลความคืบหน้าของความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม [การทูต] |
ASEAN Ministerial Meeting on Science and Technology | การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี " จัดขึ้นเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อหารือ กำหนดนโยบาย และติดตามผลความคืบหน้าของการดำเนินงานความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยในช่วงกลางระหว่างสามปีดังกล่าวจะมีการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่เป็นทางการด้วย " [การทูต] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
ASEAN Heads of State/Government Meeting | การประชุมสุดยอดอาเซียน เป็นการประชุมระดับผู้นำรัฐบาลอาเซียน ปัจจุบันมีการประชุมเป็นประจำทุกปี โดยประเทศสมาชิกอาเซียนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เป็นคณะกรรมาธิการหลัก ซึ่งรับผิดชอบในการเสาะหามาตรการในการส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งตรวจสอบและสอดส่องการดำเนินการด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษย ชนในประเทศต่าง ๆ ด้วย คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 53 ประเทศ มาจากการเลือกตั้ง ดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี คณะกรรมาธิการฯ โดยจะมีการประชุมเป็นประจำทุกปี ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ณ นครเจนีวา ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเข้าเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการฯ สำหรับวาระ พ.ศ. 2544-2546 [การทูต] |
Cobra Gold | การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทยและกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) ร่วมกันเป็น เจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี การฝึกคอบร้าโกลด์พัฒนามาจากการฝึกผสมยกพลขึ้นบกระหว่างกองทัพเรือไทยกับกอง ทัพเรือสหรัฐอเมริกาและกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการฝึกร่วมกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ต่อมาใน พ.ศ. 2525 ได้รวมการฝึกหลายอย่างเข้าด้วยกันแล้วกำหนดชื่อรหัสการฝึกขึ้นใหม่ว่า "การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์" ปัจจุบัน มีประเทศที่ร่วมฝึกรวม ทั้งร่วมสังเกตการณ์หลายประเทศ รวมทั้งได้ขยายการฝึกครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตอบโต้การก่อการร้ายด้วย [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Convention | ในภาษาไทยแปลว่า อนุสัญญา แต่คำนี้ใช้แทนคำว่า สนธิสัญญา (Treaty) บ่อย ๆ ผู้เขียนหลายท่านเห็นว่า ทั้งสองคำนี้ไม่ค่อยจะมีความหมายแตกต่างกันมากนัก แม้ว่าคำ Convention มักจะใช้กันเป็นประจำ โดยหมายถึงความตกลงที่กระทำกันในการประชุมระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่กระทำกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ถึง 14 เมษายน ค.ศ. 1961 (The Vienna Convention on Diplomatic Relations) [การทูต] |
Functions of Diplomatic Mission | ภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะผู้แทนทางการทูต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติเป็นประจำของผู้แทนทางการทูตนั้น ได้แก่ หน้าที่การเจรจา การสังเกต และการคุ้มครอง อย่างไรก็ดี มีบางประเทศได้มอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตของตนปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล และกิจกรรมเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญใด ๆ กับการทูตเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า1. นอกจากประการอื่นแล้ว การหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตประกอบด้วยก. ทำหน้าที่แทนรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับข. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของคนชาติของรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดอันกฎหมายระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ค. เจรจากับรัฐบาลของรัฐผู้รับง. สืบเสาะให้แน่ด้วยวิถีทางทั้งมวลอันชอบด้วยกฎหมายถึงสถาวะและพัฒนาการในรัฐ ผู้รับ แล้วรายงานไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่งจ. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ2. ไม่มีข้อความในอนุสัญญานี้ ที่จะหมายความได้ว่าเป็นการห้ามไม่ให้คณะผู้แทนทางการทูตปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล [การทูต] |
International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
Multiple Representation | คือการเป็นตัวแทนประจำประเทศต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามหลักทั่วไป รัฐหนึ่งจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้ไปประจำเพียงรัฐเดียวในตำแหน่งเอกอัคร ราชทูต แต่มาในทุกวันนี้ เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีจำกัด จึงเป็นธรรมเนียมแพร่หลายที่จะตั้งให้เอกอัครราชทูตคนเดียวไปประจำปลาย ประเทศได้ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นแต่ว่ารัฐผู้รับหนึ่งใดจะแสดงการคัดค้านอย่างแจ้งชัดเอกอัครราชทูตคน เดียวกัน ซึ่งไปประจำอยู่หลายประเทศนั้น จะมีถิ่นพำนักถาวร (Permanent Residence) อยู่ในนครหลวงของเพียงประเทศหนึ่ง ส่วนในประเทศที่เหลือที่เขาเป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ด้วยนั้น เขาไปพำนักอยู่เพียงระยะเวลาจำกัดเป็นพัก ๆ รัฐผู้ส่งจะมีคณะผู้แทนทางการทูตของตนไปประจำ ณ นครหลวงของแต่ละประเทศเหล่านั้น ตัวหัวหน้าคณะแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Charge d? Affaires ad interim)เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ดังนี้ ?1. หลังจากที่ได้บอกกล่าวแก่รัฐผู้รับที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดแจ้งโดยรัฐผู้รับรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐผู้ส่งอาจแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือแต่งตั้งบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตแล้วแต่กรณี ไปยังมากกว่ารัฐหนึ่งก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐอื่นหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐผู้ส่งอาจสถาปนาคณะผู้แทนทางการทูตโดยมีอุปทูตชั่วคราวเป็นหัวหน้าในแต่ ละรัฐที่หัวหน้าคณะผู้แทนไม่มีที่นั่งทำงานของตนเป็นประจำก็ได้ 3. หัวหน้าคณะผู้แทน หรือบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตของคณะผู้แทน อาจกระทำการในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐผู้ส่งในองค์การระหว่างประเทศใดก็ได้" [การทูต] |
order at sea | การจัดระเบียบทางทะเล " เช่น ความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือไทย-เวียดนามในการลดความ ขัดแย้งในทะเลระหว่างกัน อาทิ การล่วงล้ำน่านน้ำและลักลอบทำประมง โดยมีมาตรการสำคัญ คือ การลาดตระเวนร่วมในพื้นที่ประชิดกันทางทะเลระหว่างกองทัพเรือทั้งสองฝ่าย เป็นประจำ " [การทูต] |
สถานีบริการ | สถานีบริการ, สถานที่สำหรับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนโดยวิธีเติมหรือใส่ลงในที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ที่ติดตั้งไว้เป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง [พลังงาน] |
soap opera | บริษัทผลิตสบู่, ละครวิทยุหรือโทรทัศน์ที่ออกอากาศเป็นตอนๆ ต่อเนื่องกันเป็นประจำ เนื้อเรื่องที่นำมาแสดงมักจะเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน และปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวละครในเรื่อง ในช่วงแรกเริ่มผู้อุปถัมภ์รายการละครวิทยุหรือโทรทัศน์ ลักษณะนี้เป็นบริษัทผลิตสบู่ จึงถูกเรียกว่า soap หรือ soap opera [อื่นๆ] |
Colon, Cathartic | ลำไส้ใหญ่ที่ใช้ยาถ่ายเป็นประจำ [การแพทย์] |
Colon, Purged | ลำไส้ใหญ่ที่ใช้ยาถ่ายเป็นประจำ [การแพทย์] |
Diagnosis, Routine | การวินิจฉัยที่ปฏิบัติกันเป็นประจำ [การแพทย์] |
Diarrhea, Chronic | ท้องร่วงเรื้อรัง, โรคท้องเดินเรื้อรัง, อาการท้องเดินเป็นประจำ, การสูญเสียอาหารมากผิดปกติ, ท้องร่วงเรื้อรัง, ท้องเดินเรื้อรัง [การแพทย์] |
Errors, Systematic | ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นเป็นประจำในเทคนิควิเคราะห์, ความผิดพลาดที่เกิดจากอคติข้อผิดพลาดแบบระบบ [การแพทย์] |
Errors, Systematic, Combined | ความคลาดเคลื่อนที่เกิดเป็นประจำของเทคนิค [การแพทย์] |
Really Simple Syndication( RSS) | อาร์เอสเอส, เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำได้แบบอัตโนมัติ โดยผู้ใช้ต้องขอรับบริการ ผู้ใช้ไม่ต้องเข้าไปยังเว็บไซต์ที่สนใจต่างๆ โดยตรง เพื่ออ่านข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงในแต่ละวันด้วยตนเองทีละเว็บไซต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Immunization, Routine | วัคซีนที่ได้รับการแนะนำให้ใช้เป็นประจำ [การแพทย์] |
Methadone Maintenance | การใช้ยาเมทาโดนทดแทน, ให้ยาเมธาโดนแทนฝิ่นเป็นประจำ [การแพทย์] |
Movement Disorders, Stereotyped | การเคลื่อนไหวผิดปกติที่ทำซ้ำๆเป็นประจำ [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
เป็นประจำ | [pen prajam] (x) EN: regularly ; frequently ; normally ; ordinarily ; always ; often FR: fréquemment ; régulièrement ; ordinairement |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
accustomed | (adj) คุ้นเคย, See also: เคยชิน, เป็นประจำ, Syn. habitual, usual, customary |
always | (adv) เสมอ, See also: เสมอๆ, ทุกคราว, ทุกครั้ง, ทุกที, เป็นประจำ, บ่อยๆ |
be on | (phrv) รับประทานยาเป็นประจำ, See also: รับประทานยาสม่ำเสมอ, Syn. keep on |
be upon | (phrv) รับประทานยาเป็นประจำหรือสม่ำเสมอ, Syn. keep on |
chronic | (adj) ที่ติดเป็นนิสัย, See also: ติด, ทำเป็นประจำ, Syn. habitual |
churchgoer | (n) ผู้ที่ใช้โบสถ์เป็นประจำ |
confirmed | (adj) ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ, Syn. habitual, regular |
continual | (adj) ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ |
continually | (adv) เป็นประจำ |
frequent | (adj) ซึ่งเป็นประจำ, See also: ถี่, บ่อย, ชุก, เป็นนิจสิน, ซ้ำแล้วซ้ำเล่า, Syn. chronic, regular, repeated, Ant. occasional, sporadic |
frequent | (vt) ไปบ่อย, See also: ไปเป็นประจำ |
habit | (n) กิจวัตร, See also: สิ่งที่ทำเป็นประจำ |
habitually | (adv) อย่างเป็นประจำ, See also: อย่างเป็นนิสัย, อย่างสม่ำเสมอ, Syn. chronically, regularly, Ant. occasionally;sporadically |
hangout | (n) ที่ที่คนๆ หนึ่งชอบไปเป็นประจำ (คำสแลง), Syn. haunt, purlieu |
haunt | (n) สถานที่ที่ไปเป็นประจำ, Syn. hangout, purlier, resort |
make a habit of | (idm) สร้างนิสัยของ, See also: ทำ นิสัย เป็นประจำ |
mailing list | (n) รายชื่อและที่อยู่ของผู้ที่ได้รับข่าวสาร ข้อมูลหรือโฆษณาเป็นประจำ, Syn. address list, subscribers, list |
monthly | (adj) เป็นรายเดือน, See also: เป็นประจำทุกเดือน, รายเดือน, Syn. mensal, menstrual, phasic |
moviegoer | (n) ผู้ที่ชอบชมภาพยนตร์, See also: คนชมภาพยนตร์เป็นประจำ |
over and over again | (adv) เป็นประจำ, See also: สม่ำเสมอ, Syn. regularly |
perfunctory | (adj) ที่ทำเป็นประจำจนเคยชินเลยไม่ใส่ใจ, Syn. careless, negligent, thoughtles, Ant. careful |
prayerful | (adj) ที่สวดมนต์เป็นประจำ, Syn. orthodox, pious, religious |
quotidian | (adj) เป็นประจำ, See also: เป็นปกติประจำ, Syn. as usual, regular |
regular | (adj) เป็นประจำ, See also: สม่ำเสมอ, Syn. constant, even, steady |
regularly | (adv) โดยปกติ, See also: เป็นประจำ, เสมอๆ, Syn. habitually, often |
repair | (vt) ไปเป็นประจำ, Syn. go |
routine | (adj) เป็นประจำ, See also: สม่ำเสมอ, เป็นกิจวัตร, Syn. everyday, habitual, usual |
roll round | (phrv) เวลาหรือเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นประจำ, Syn. come round |
on the sauce | (sl) ดื่มสุราเป็นประจำ |
boozer | (sl) นักดื่ม, See also: คนที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ, คนที่ติดเหล้า |
piss-head | (sl) คนที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ |
see around | (phrv) เห็นเป็นประจำ, See also: เห็นบ่อยๆ, เห็นอยู่ |
use | (vt) ใช้เป็นประจำ, Syn. utilize |
used | (adj) ที่คุ้นเคยเพราะใช้อยู่เป็นประจำ, Syn. familiar |
usual | (adj) เป็นปกติ, See also: ธรรมดา, เป็นประจำ, สามัญ, Syn. normal, typical, common, ordinary |
Hope Dictionary
alway | (ออล' เวย์) adv. ตลอดเวลา, ตลอดไป, เป็นประจำ, Syn. always |
always | (ออล' เวย์ซ) adv. ตลอดเวลา, ตลอดไป, เป็นประจำ, โดยไม่มีการยกเว้น, โดยไม่มีเงื่อนไข, ตายตัว, เด็ดขาด, Syn. eternally, perpetually |
anon | (อะนอน') adv. ไม่ช้า, เวลาอื่น, ทันที. -ever and anon เป็นประจำปี, บ่อย |
chronic | (ครอน'นิค) adj. เรื้อรัง, เป็นประจำ, See also: chronicity n. ดูchronic |
chronical | (ครอน'นิค) adj. เรื้อรัง, เป็นประจำ, See also: chronicity n. ดูchronic |
computer virus | ไวรัสคอมพิวเตอร์หมายถึง โปรแกรมที่คนบ้า ๆ เขียนซ่อนไว้เพื่อทำลายโปรแกรม แฟ้มข้อมูลหรือ อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่ง คือ เกาะติดตามไปกับโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟ้มข้อมูล command.com ทำให้มีการติดต่อระบาดไปในที่ต่างได้เหมือนเชื้อไวรัส สาเหตุของการติดไวรัส ก็คือมีการใช้จานบันทึกร่วมกัน ไวรัสเหล่านี้มักจะกำหนดมาให้เพิ่มความสามารถในการทำลายทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่ใช้โปรแกรมนั้น วิธีการป้องกันไวรัสในขั้นต้นก็คือ 1. อย่าใช้จานบันทึกของผู้อื่น หรือร่วมกับผู้อื่น2. ใช้โปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่ใช้จานบันทึกในหน่วยบันทึก A: หรือ B: รวมทั้งจัดการใช้วัคซีนฉีดกันไว้ก่อน แม้ว่าในปัจจุบัน ไม่สู้จะได้ผลนัก เพราะมีไวรัสใหม่ ๆ เพิ่มมาทุกวัน (ดู vaccine) 3. จัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ใหม่ วิธีนี้รับประกันได้ผลแน่นอน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ข้อมูลหรือโปรแกรมอื่นที่เก็บไว้แม้จะยังมิได้ติดไวรัสก็จะหายไปหมด พร้อมกับไวรัส |
continual | (คันทิน'นิวเอิล) adj. ต่อเนื่อง, ไม่ขาดสาย, สืบเนื่อง, เป็นประจำ, บ่อยมาก., See also: continuality n., Syn. continuous -Conf. continous |
frequent | (ฟรี'เควินทฺ) adj. บ่อย, ถี่, ชุก, เป็นนิสัย, เป็นนิจสิน, เป็นประจำ, มักเกิดขึ้นเสมอ. vt. เยี่ยมบ่อย, ไม่บ่อย., See also: frequentable adj. frequenter n. frequentness n., Syn. constant, common, Ant. revisit |
frequently | (ฟรี'เควินทฺลี) adv. บ่อย, หลายครั้ง, ถี่เป็นประจำ, เป็นนิจศีล., Syn. regularly, often |
mornings | (มอร์'นิงซฺ) adv. ในระหว่างตอนเช้าเป็นประจำ |
nights | (ไนทซฺ) adv. ในเวลากลางคืนเป็นประจำ |
normal | (นอร์'เมิล) adj. ปกติ, ธรรมดา, โดยธรรมชาติ, เป็นประจำ, เป็นมาตรฐาน, มีจิตปกติ, เป็นมุมฉาก, ตั้งฉาก, ซึ่งปราศจากการติดเชื้อ. n. มาตรฐาน, ปกติวิสัย, รูปแบบธรรมดา, ค่าเฉลี่ย, เส้นตั้งฉาก., See also: normality n., Syn. usual |
often | (ออฟ'เฟิน, ออ'เฟิน) adv. บ่อย ๆ , เป็นประจำ |
regular | (เรก'กิวละ) adj. ปกติ, ธรรมดา, สามัญ, เป็นประจำ, สม่ำเสมอ, เป็นกิจวัตร, ตามกฎ, มีกฎเกณฑ์, มีระเบียบ, ตามระเบียบ, ตามแบบแผน, ถูกต้องตามกฎเกณฑ์, เกี่ยวกับทหารประจำการ, (กาแฟ) มีปริมาณปกติของนมหรือครีม n. ลูกค้าประจำ, ทหารอาชีพ, ทหารประจำการ, สมาชิกพรรคที่ยึดถือนโยบายของพรรค |
regularly | (เรก'กิวเลอลี) adv. โดยปกติ, ตามธรรมดา, เป็นประจำ, ตามแบบแผน |
regulation | (เรกกิวเล'เชิน) n. กฎ, กฎข้อบังคับ, กฎเกณฑ์, ระเบียบ, ระบบ, การควบคุม, การดูแล, การปรับ, การทำให้เป็นระเบียบ adj. ปกติ, ธรรมดา, เป็นประจำ, เป็นกิจวัตร |
usual | (ยู'ชวล) adj., n. (สิ่งที่) เป็นธรรมดา, เป็นปกติ, เป็นประจำ, ทุกวัน, as usual ตามปกติ, เหมือนที่เคยปฎิบัติ., See also: usually adv. usualness n., Syn. common, regular |
Nontri Dictionary
always | (adv) เสมอ, นิจสิน, ทุกเวลา, ตลอดเวลา, เป็นประจำ, ตลอดไป |
characteristic | (adj) มีลักษณะพิเศษ, เช่นเคย, เป็นนิสัย, เป็นประจำ, มีลักษณะเฉพาะ |
continual | (adj) บ่อยๆ, ไม่ขาดสาย, ตลอดไป, เรื่อยไป, ต่อเนื่อง, เป็นประจำ |
customary | (adj) เป็นประจำ, เป็นกิจวัตร, เป็นนิสัย, เป็นปกติ, เกี่ยวกับประเพณี |
frequent | (adj) เสมอ, บ่อย, ถี่, ชุก, เป็นประจำ, เป็นนิจสิน |
frequently | (adv) เสมอๆ, บ่อยๆ, ถี่, เป็นประจำ, เป็นนิจสิน, หลายครั้ง |
habitual | (adj) เคยชิน, ติดนิสัย, ทำจนเป็นนิสัย, ทำเป็นประจำ |
habitually | (adv) ติดนิสัย, เป็นนิสัย, เสมอ, เป็นเนืองนิจ, เป็นประจำ, เนืองๆ |
incident | (adj) อาจเกิดขึ้นได้, เป็นประจำ, ซึ่งตกกระทบ |
normal | (adj) โดยธรรมชาติ, ธรรมดา, ปกติ, เป็นมาตรฐาน, เป็นประจำ |
oft | (adv) เป็นประจำ, เสมอๆ, บ่อยๆ, หลายครั้ง, ส่วนมาก, มักจะ |
often | (adv) เป็นประจำ, เสมอๆ, บ่อยๆ, หลายครั้ง, ส่วนมาก, มักจะ |
repair | (vi) ไปเป็นประจำ, ไปยัง, ชุมนุม |
usual | (adj) เช่นเคย, เป็นธรรมเนียม, ตามปกติ, เป็นประจำ |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
頻繁 | [ひんぱん, hinpan] (adj) เป็นประจำ |
いつも | [いつも, itsumo, itsumo , itsumo] (n) เสมอ ๆ, ตามปกติ, เป็นประจำ |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
行事 | [ぎょうじ, gyouji] TH: งานหรือพิธีการที่จัดขึ้นเป็นประจำเป็นประเพณีหรือธรรมเนียมของสังคม |
Longdo Approved DE-TH
stets | เป็นประจำ |
versoffen | (adj, adv, slang) เมา หรือ มึนเพราะดื่มแอลกอฮอล์ ตัวอย่างการใช้ คำ 1° Deine Stimme klingt irgendwie versoffen. = เวลาคุณพูด เสียงคุณเหมือนจะบอกว่า คุณเมาเลยนะ ( หรือว่า versoffene Stimme ก็ได้ ) 2° Mein Onkel ist immer versoffen. = ลุงฉันอะน่ะ เมาเป็นประจำ, See also: A. bewusst, Syn. betrunken |
im Abo | ที่บอกรับเป็นสมาชิก เช่น ein Magazin im Abo นิตยสารที่รับเป็นประจำ, See also: Related: abonnieren |
ständig | (adv) สม่ำเสมอ, เป็นประจำ เช่น Der Student stellt Fragen ständig in der Vorlesung. นักศึกษาคนนี้ตั้งคำถามในห้องเรีอนเสมอ, See also: stets, Syn. immer |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0302 seconds, cache age: 43.677 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม