318 ผลลัพธ์ สำหรับ *สมควร*
ภาษา
หรือค้นหา: สมควร, -สมควร-Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
จุงเบย | จังเลย เป็นภาษาวัยรุ่น เพี้ยนมาจาก "จังเลย" บ้างว่าเนื่องมาจาก การพิมพ์บนคอมพิวเตอร์ที่ ไม้หันอากาศ อยู่ใกล้กับ สระอุ และ ล ลิง อยู่ใกล้กับ บ ใบไม้ พิมพ์ผิดบ่อยครั้งเลยกลายเป็นที่ใช้กันพอสมควรในบริบทที่เป็นลักษณะเล่นๆ หรือ เด็กๆ หรือ ทีเล่นทีจริง |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
สมควร | (adv) suitably, See also: properly, appropriately, Syn. ควร, เหมาะ, เหมาะสม, Example: การบริจาคเงินเพื่อการศึกษา เป็นการใช้เงินเพื่อการกุศลอย่างสมควร |
สมควร | (v) should, See also: ought to, Syn. ควร, เหมาะ, Example: เราสมควรพยายามฝึกฝนตนเองให้มีความเข้มแข็งทั้งกายและใจ |
พอสมควร | (adv) moderately, See also: reasonably, Syn. พอควร, พอเหมาะพอควร, พอสมควร, Example: การกู้วิกฤติต้องมองให้รอบคอบ และลึกพอสมควร |
ตามสมควร | (adv) properly, See also: suitably, appropriately, fitly, as it should be, as discretion, as may be reasonable, Syn. ตามควร, Example: ผู้ใหญ่ควรให้โอกาสเด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ แต่ขณะเดียวกันก็จำกัดขอบเขตตามสมควร, Thai Definition: อย่างเป็นไปตามความเหมาะสม |
เห็นสมควร | (v) view as proper, See also: see as appropriate, consider approve, see as being what should be/happen, Syn. เห็นควร, Example: ผู้จัดการมีอิสระในการบริหารกิจการ และสามารถจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานตามจะเห็นสมควร, Thai Definition: เห็นว่ามีความเหมาะสม |
เห็นสมควร | (v) view as proper, See also: see as appropriate, consider approve, see as being what should be/happen, Syn. เห็นควร, Example: ผู้จัดการมีอิสระในการบริหารกิจการ และสามารถจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานตามจะเห็นสมควร, Thai Definition: เห็นว่ามีความเหมาะสม |
เป็นการสมควร | (v) reasonable, See also: suitable, right, Syn. เหมาะสม, พอสมควร, มีเหตุผล, Example: เป็นการสมควรที่เราจะช่วยเหลือเขาในฐานะเพื่อนบ้าน |
ตามที่เห็นสมควร | (adv) as one see / think fit, Example: คณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณากำหนดรายละเอียดของการเสนอขายตามที่เห็นสมควร |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
พอสมควร | ว. พอประมาณ เช่น เรียนเก่งพอสมควร ทำดีพอสมควร, พอควร ก็ว่า. |
สมควร | ว. ควรยิ่ง, เหมาะสมยิ่ง, เช่น เขาทำงานดีสมควรขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น. |
กงฉาก | น. เครื่องมือทางช่างชนิดหนึ่ง สำหรับหามฉากในการปักผังหรือกำหนดผังเสา โดยใช้ไม้แบนที่มีความยาวพอสมควรมาประกอบให้เป็นมุม ๙๐ องศา แล้วยึดปลายทั้ง ๒ ข้างด้วยไม้อีกชิ้นหนึ่ง. |
กระแตเวียน | น. อุปกรณ์สำหรับช่วยให้เด็กหัดเดิน ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วสวมลงกับหลักไม้ เหนือข้อตอนบนสอดไม้ขวางให้ยาวพอสมควรสำหรับให้เด็กเกาะประคองตัวหัดเดิน. |
กระทรวง ๑ | (-ซวง) น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา (ปกีรณำพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ซื่อให้เสื่อมเท็จ (สุ. สอนเด็ก). |
กลอก | (กฺลอก) น. ลักษณะของเสียงที่บรรเลงเลื่อนไหลไปตามท่วงทำนองอย่างนุ่มนวลกลมกลืน เหมือนลักษณะของหยดน้ำที่กลิ้งอยู่บนใบบอน, ในการขับร้องหมายถึง เสียงที่เปล่งออกจากลำคอพอสมควรสลับกับเสียงทางจมูก แล้วตวัดเสียงให้สะบัดวกวนกลับไปกลับมา ๒ หรือ ๓ ครั้ง สุดแต่ผู้ขับร้องจะเห็นเหมาะสม. |
กักยาม | น. การกักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่สมควรตามที่จะกำหนด. |
กัปปิย-, กัปปิยะ | (กับปิยะ-) ว. สมควร. |
เกิน | ว. พ้น, เลย, คำนี้ใช้แก่ลักษณะที่มีมากกว่าหรือยิ่งกว่ากำหนด เช่น เกินขนาด เกินฐานะ เกินเวลา เกินสมควร. |
โก่ง | บอกราคาเกินสมควร เช่น โก่งราคา. |
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม | น. ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร. |
ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น | ก. ทำสิ่งที่ไม่สมควรให้ผู้น้อยเห็น. |
ขึ้น ๒ | มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ. |
ขูดเลือด, ขูดเลือดขูดเนื้อ | ก. เรียกเอาราคาหรือดอกเบี้ยเกินสมควร. |
ความคิด | สติปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลายของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด. |
ค่ารายปี | น. จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ. |
คุ้ม ๑ | พอ, สม, พอสมควรกัน, เช่น คุ้มค่า คุ้มเหนื่อย |
คุ้ม ๑ | ว. มากพอสมควรกัน เช่น กินเสียคุ้ม. |
เงินทดรองราชการ | น. เงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่าย |
เจ๋อ, เจ๋อเจ๊อะ | ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ไม่สมควรเมื่อเขาไม่ต้องการหรือมิได้เรียกหา. |
ใจเติบ | ว. มีใจกว้างขวางเกินสมควร |
ชิงสุกก่อนห่าม | ก. ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน), ใช้เป็นคำสอนหรือเตือนสติว่า อย่าชิงสุกก่อนห่าม. |
แช่ | ก. ใส่ลงในนํ้าหรือของเหลวอย่างอื่น ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น เอาเท้าแช่น้ำอุ่น แช่ข้าว กุ้งแช่น้ำปลา, ใส่ไว้ในน้ำแข็ง หรือตู้ทำความเย็นเป็นต้น เช่น เอาปลาแช่น้ำแข็ง เอาผักแช่ตู้เย็น, โดยปริยายใช้หมายถึง อาการที่ชักช้าอยู่กับที่เกินสมควรโดยไม่จำเป็น เช่น ไปนั่งแช่อยู่ได้. |
ซุง ๓ | น. เชือกที่ยาวประมาณ ๓ เท่าของอกว่าว ผูกปลายทั้ง ๒ กับอกว่าวให้ห่างกันพอสมควรสำหรับต่อกับสายป่าน เพื่อให้ว่าวทรงตัวตรงเมื่อต้านลม. |
ซุ่มคม | ก. ซ่อนความฉลาดไว้รอเวลาที่สมควร. |
ฐานานุรูป | ว. สมควรแก่ฐานะ. |
ดุลพินิจ | (ดุนละ-, ดุน-) น. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลยพินิจ ก็ใช้. |
ดุลยพินิจ | น. การวินิจฉัยที่เห็นสมควร, ดุลพินิจ ก็ใช้. |
ต่อความยาวสาวความยืด | ก. พูดกันไปพูดกันมาให้มากเรื่องเกินสมควร. |
ตามมี | ว. สมควรแก่ที่มีอยู่. |
ตีโพยตีพาย | ก. แกล้งร้องหรือทำโวยวายเกินสมควร, แสดงความเสียอกเสียใจจนเกินเหตุ. |
เติบ | ว. มากเกินสมควร เช่น เด็ก ๆ กินกับเติบ ไม่ค่อยกินข้าว. |
ท้วม, ท้วม ๆ | พอสมควร, พอประมาณ, เช่น พอท้วม ๆ. |
ทะลึ่ง | แสดงกิริยาหรือวาจาไม่สมควร ไม่รู้จักที่ตํ่าสูง เช่น อย่าทะลึ่งกับผู้ใหญ่ |
ทิ้งฟ้อง | ก. การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จำเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันยื่นคำฟ้อง หรือการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว. |
ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา | น. การประชุมของผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาทุกคนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนด เช่น การวินิจฉัยปัญหาในคดีตามที่ประธานศาลฎีกาเห็นสมควร หรือการเลือกองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง. |
ธรรมการย์ | น. กิจอันเป็นธรรม, การกุศล, หน้าที่อันสมควร. |
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ | (ทำมา-) น. การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม, การประพฤติความดีสมควรแก่ฐานะ. |
นางจรัล | น. เสาที่ปักรายเป็นแถว ไว้ระยะแต่ละต้นห่างกันพอสมควร สำหรับแสดงแนวถนนหรือกั้นเขต, นางเรียง ก็ว่า. |
นางเรียง | น. เสาที่ปักรายเป็นแถว ไว้ระยะแต่ละต้นห่างกันพอสมควร สำหรับแสดงแนวถนนหรือกั้นเขต, นางจรัล ก็ว่า. |
บันยะบันยัง | ก. รู้จักความพอดี. ว. พอสัณฐานประมาณ, พอสมควร. |
บุญคุณ | น. ความดีที่ทำไว้ต่อผู้ใดผู้หนึ่งและสมควรจะได้รับการตอบแทน เช่น พ่อแม่มีบุญคุณต่อเรา. |
เบี้ยปรับ | น. จำนวนเงินหรือการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็นจำนวนเงินซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร |
ปฏิรูป, ปฏิรูป- | (-รูปะ-) ว. สมควร, เหมาะสม, เช่น ปฏิรูปเทส คือ ถิ่นที่สมควร หรือ ถิ่นที่เหมาะสม |
ปฏิรูป, ปฏิรูป- | (-รูปะ-) ก. ปรับปรุงให้สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง. |
ปริญญา | ชั้นความรู้ขั้นมหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กำหนดไว้, ถ้าประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่า ปริญญากิตติมศักดิ์. |
ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า | ก. ทำสิ่งใด ๆ ให้พอสมควรกับฐานะของตน, ปลูกเรือนแต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า ก็ว่า. |
ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย | ก. กระทำการอันจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงโดยกระทำพอสมควรแก่เหตุ. |
ปากโป้ง | ก. ชอบพูดเปิดเผยสิ่งที่ไม่สมควรออกมาโดยไม่คำนึงถึงความผิดพลาดเสียหาย. |
ปานกลาง | ว. ขนาดกลาง, ไม่มากไม่น้อย, พอสมควร, อยู่ระหว่างที่สุด ๒ ฝ่าย เช่นระหว่างสูงกับต่ำ ใหญ่กับเล็ก มากกับน้อย ฉลาดกับโง่. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
proper | ถูกต้อง, แท้, สมควร, เหมาะสม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
proper care | การระมัดระวังตามสมควร [ ดู reasonable care ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
powers, permissive; permissive powers | อำนาจที่มอบให้องค์การส่วนท้องถิ่น (ใช้ตามที่เห็นสมควร) (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
permissive powers; powers, permissive | อำนาจที่มอบให้องค์การส่วนท้องถิ่น (ใช้ตามที่เห็นสมควร) (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
reasonable time | เวลาอันสมควร, เวลาพอสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reasonable | ตามสมควร, สมควรแก่เหตุ, มีเหตุอันควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reasonable act | การกระทำที่สมควรแก่เหตุ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reasonable care | การระมัดระวังตามสมควร [ ดู proper care ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reasonable cause | มูลเหตุอันสมควร [ ดู reasonable ground ประกอบ ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reasonable financial provision | ข้อกำหนดให้ได้รับเงินค่าเลี้ยงชีพตามสมควร (จากกองมรดก) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reasonable force | (การใช้) กำลังตามสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reasonable needs | การอันจำเป็นตามสมควร (เพื่อเลี้ยงชีพ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reasonable notice | คำบอกกล่าวที่ให้เวลาพอสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
justification | การให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมาย, การกล่าวอ้างที่มีเหตุผลสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
justifying bail | หลักประกันที่สมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
misfeasance | การกระทำที่ไม่ถูกต้อง, การกระทำที่ไม่สมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
mere motion; ex mero motu (L.) | การกระทำตามที่ศาลเห็นสมควร, การกระทำที่ตนเองริเริ่ม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
malicious abandonment | การละทิ้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร (ภริยาหรือสามี) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
due | ครบกำหนด, สมควร, ถูกต้อง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
due care | ความระมัดระวังตามสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
disposition, voluntary | การจงใจจำหน่ายในราคาที่ไม่สมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
fair equivalent | ค่าทดแทนที่สมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
ex mero motu (L.) | การกระทำตามที่ศาลเห็นสมควร, การกระทำที่ตนเองริเริ่ม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
immoderate | เกินสมควร, เกินกว่าเหตุ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
inoperable | ๑. เกินผ่าตัดให้หาย๒. ไม่สมควรผ่าตัด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
voluntary disposition | การจงใจจำหน่ายในราคาที่ไม่สมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
unreasonable | ไม่มีเหตุผล, ไม่มีเหตุผลอันสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
unreasonable conduct | ความประพฤติที่ไม่มีเหตุอันสมควร (ของคู่สมรส) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
within a reasonable time | ภายในเวลาอันสมควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
ถวายพระพรลา | กระทำภายหลังจากที่พระสงฆ์สวดบท ภวตุ สพฺพมงฺคลํ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์รูปที่ ๒ จะต้องเป็นผู้กล่าวถวายพระพรลา ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้ คือ "ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล พระชนมสุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เวลานี้สมควรแล้ว อาตมภาพทั้งปวง ขอถวายพระพรลา แด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ขอถวายพระพร" [ศัพท์พระราชพิธี] |
Proportionality in law | ความพอสมควร (กฎหมาย) [TU Subject Heading] |
Certificate of Identity (C.I.) | หนังสือสำคัญประจำตัว จะออกให้แก่คนไทยในต่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศไทยโดย รีบด่วน หากแต่ไม่มีหนังสือเดินทาง เพราะสูญหายหรือปล่อยให้ขาดอายุนาน แต่ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะต่ออายุหรือออกหนังสือเดินทางให้ใหม่ [การทูต] |
Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
Diplomatic Illness | นักการทูตแสร้งทำเป็นป่วย ใช้เป็นข้อแก้ตัวในการที่ไม่ไปร่วมพิธี ร่วมประชุม หรือร่วมงานสังคม เพื่อมิให้เป็นการแสลงน้ำใจโดยมิสมควรแก่ผู้เชิญ [การทูต] |
Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] |
Duration of Diplomatic Privileges and Immunities | ระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต] |
Multiple Representation | คือการเป็นตัวแทนประจำประเทศต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามหลักทั่วไป รัฐหนึ่งจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้ไปประจำเพียงรัฐเดียวในตำแหน่งเอกอัคร ราชทูต แต่มาในทุกวันนี้ เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีจำกัด จึงเป็นธรรมเนียมแพร่หลายที่จะตั้งให้เอกอัครราชทูตคนเดียวไปประจำปลาย ประเทศได้ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นแต่ว่ารัฐผู้รับหนึ่งใดจะแสดงการคัดค้านอย่างแจ้งชัดเอกอัครราชทูตคน เดียวกัน ซึ่งไปประจำอยู่หลายประเทศนั้น จะมีถิ่นพำนักถาวร (Permanent Residence) อยู่ในนครหลวงของเพียงประเทศหนึ่ง ส่วนในประเทศที่เหลือที่เขาเป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ด้วยนั้น เขาไปพำนักอยู่เพียงระยะเวลาจำกัดเป็นพัก ๆ รัฐผู้ส่งจะมีคณะผู้แทนทางการทูตของตนไปประจำ ณ นครหลวงของแต่ละประเทศเหล่านั้น ตัวหัวหน้าคณะแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Charge d? Affaires ad interim)เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ดังนี้ ?1. หลังจากที่ได้บอกกล่าวแก่รัฐผู้รับที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดแจ้งโดยรัฐผู้รับรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐผู้ส่งอาจแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือแต่งตั้งบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตแล้วแต่กรณี ไปยังมากกว่ารัฐหนึ่งก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐอื่นหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐผู้ส่งอาจสถาปนาคณะผู้แทนทางการทูตโดยมีอุปทูตชั่วคราวเป็นหัวหน้าในแต่ ละรัฐที่หัวหน้าคณะผู้แทนไม่มีที่นั่งทำงานของตนเป็นประจำก็ได้ 3. หัวหน้าคณะผู้แทน หรือบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตของคณะผู้แทน อาจกระทำการในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐผู้ส่งในองค์การระหว่างประเทศใดก็ได้" [การทูต] |
National Holiday | วันชาติ คือสถานเอกอัครราชทูตทีมีอยู่ทั่วโลก จะนิยมฉลองวันชาติของประเทศของตน ส่วนมากจะถือเอาวันครบรอบปีแห่งการประกาศเอกราช หรือวันครบรอบปีของเหตุการณ์ที่ทรงความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของ ประเทศตนเป็นวันชาติ ส่วนในประเทศที่มีระบอบกษัตริย์ ก็จะยึดเอาวันพระราชสมภพชองกษัตริย์หรือราชินีเป็นวันชาติของประเทศ ในวันชาติ สถานเอกอัครราชทูตจะมีธรรมเนียมจัดงานเลี้ยงรับรอง (Reception) ขึ้นในสถานเอกอัครราชทูตของตนหรือหากเป็นการไม่สะดวกที่จัดงานดังกล่าวขึ้น ในสถานทูต ก็มักไปจัดกัน ณ โรงแรมที่เหมาะสม ในงานเลี้ยงรับรองนี้จะเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงการต่างประทเศ หัวหน้าคณะทูตข้าราชการในสถานเอกอัครราชทูตอื่น ๆ นักหนังสือพิมพ์ เจ้าหน้าที่สื่อมวลชน บุคคลชั้นนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม บรรดาคนชาติเดียวกับเอกอัครราชทูตที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศนั้น ตลอดจนบุคคลสำคัญในสังคม รวมทั้งมิตรสหายของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่สมควรเชิญ [การทูต] |
Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] |
Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] |
Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunities | บุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต] |
Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] |
Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] |
Size of Consular Staff | ขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล ข้อ 20 ในอนุสัญญากรุงเวียนนาบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ไม่มีความตกลงอย่างชัดเจนในเรื่องขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล รัฐผู้รับอาจกำหนดให้รักษาขนาดของคณะเจ้าหน้าที่ไว้ภายในขีดจำกัดที่ตน พิจารณาเห็นว่าปกติและสมควรได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และสถานการณ์ในเขตกงสุลนั้น รวมทั้งความต้องการของสถานที่ทำการทางกงสุลแห่งนั้นโดยเฉพาะ [การทูต] |
Random Access Memory ( RAM) | แรม, หน่วยความจำหลัก ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากการประมวลผลเป็นการชั่วคราว ซึ่งอนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควรแต่จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นหากเกิดไฟฟ้าดับ ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งจะสูญหายไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Inappropriate | ไม่สอดคล้อง ไม่เข้ากับเหตุการณ์, ไม่เหมาะสม, ไม่สมควร, ผิดไปจากความสมเหตุสมผล [การแพทย์] |
Left Posterior Oblique | นอนตะแคงไปทางซ้ายพอสมควร [การแพทย์] |
Menopause, Premature | การหมดประจำเดือนก่อนวัยที่สมควร, ระยะหมดระดูที่เกิดก่อนกำหนด [การแพทย์] |
Moderately Advanced Stage | ระยะที่โรคขยายตัวพอสมควร, ระยะลุกลามปานกลาง [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร | [dōi mai mī hētphon an somkhūan] (x) EN: without sufficient reason |
ความระมัดระวังตามสมควร | [khwām ramatrawang tām somkhūan] (n, exp) EN: due care and attention ; due diligence |
ไม่สมควร | [mai somkhūan] (adj) EN: improper ; unseemly ; unbecoming ; unsuitable ; inadvisable ; inapt FR: inapte ; incapable |
ไม่สมควรแก่เหตุ | [mai somkhūan kaē hēt] (adj) EN: unreasonable |
ในเวลาอันสมควร | [nai wēlā an somkhūan] (x) EN: in due time |
เป็นการสมควร | [pen kān somkhūan] (x) EN: reasonable ; suitable ; right |
สมควร | [somkhūan] (adj) EN: fitting ; becoming ; appropriate FR: approprié ; convenable ; apte ; qui a l'étoffe de |
สมควร | [somkhūan] (adv) EN: suitably ; properly ; appropriately FR: convenablement |
สมควรแก่เหตุ | [somkhūan kaē hēt] (adj) EN: reasonable |
ตามที่เห็นสมควร | [tāmthī hen somkhūan] (adv) EN: as one see |
Longdo Approved EN-TH
have it coming | (phrase) สมควรแล้ว, สมแล้ว (ที่จะได้รับสิ่งนั้น หรือ ที่จะเป็นเช่นนั้น ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่ดี หรือ เลว ก็ได้) เช่น It's too bad he got fired, but he sure had it coming. |
golden calf | (n) สิ่งที่ได้รับการยกย่องหรือสักการะ ทั้งๆที่ไม่สมควรได้รับการยกย่อง |
mansplaining | (n, slang) การกระทำที่ผู้พูด (มักเป็นผู้ชาย) อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้ฟัง (มักเป็นผู้หญิง) ในลักษณะที่ทำตัวเหนือกว่า, คิดว่าฝ่ายผู้ฟังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือ ใช้คำอธิบายในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายจนเกินสมควรเช่นเหมือนอธิบายเด็ก ดูคำอธิบายเพิ่มเติม https://dict.longdo.com/blog/word-of-the-day-mansplaining/ |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
approve | (vt) เห็นด้วย, See also: เห็นควร, เห็นสมควร, เห็นพ้อง, เห็นชอบ, เห็นดีเห็นชอบ, Syn. affirm, support, ratify, Ant. refect, veto |
attention | (n) การรักษาที่เหมาะสม, See also: การปฏิบัติที่สมควร, การดูแล |
accredit to | (phrv) ถือว่าเป็นของ, See also: สมควรเป็นของ |
all right | (idm) น่าพอใจ, See also: ถูกต้อง, สมควร |
becoming | (adj) เหมาะสม, See also: สมควร, Syn. Appropriate, suitable |
befit | (vt) เหมาะสม, See also: สมควรพอดี, สมควรเหมาะเจาะ, Syn. become |
bowdlerise | (vt) ชำระหรือตัดส่วนที่ไม่สมควรออก, Syn. expurgate |
bowdlerize | (vt) ชำระหรือตัดส่วนที่ไม่สมควรออก |
be cut out for | (phrv) เหมาะสมสำหรับ, See also: สมควรกับ |
be cut out to be | (phrv) เหมาะที่จะเป็น, See also: สมควรจะเป็น |
be in keeping with | (idm) เหมาะสม, See also: สมควรกับ, Syn. be out of |
be in the running for | (idm) มีค่าคู่ควรกับ, See also: สมควรกับ, Syn. be out of |
carryings-on | (n) พฤติกรรมที่ไม่สมควร |
contemptible | (adj) น่าเหยียดหยาม, See also: ซึ่งสมควรแก่การดูถูกดูหมิ่น, Syn. despicable, worthless |
call for | (phrv) สมควรได้รับ, See also: ควรได้ |
count as | (phrv) นับว่าเป็น, See also: ถือว่าเป็น, สมควรเป็น, Syn. reckon as, regard as |
deserve of | (phrv) สมควรได้รับจาก |
fringe benefit | (n) สิ่งที่ลูกจ้างสมควรได้รับนอกจากค่าจ้างหรือเงินเดือน |
decent | (adj) เหมาะสม, See also: สมควร, น่านับถือ |
decently | (adv) อย่างเหมาะสม, See also: อย่างสมควร, อย่างถูกทำนองคลองธรรม, Syn. proprely, seemly |
deserve | (vt) สมควรได้รับ, See also: ควรค่าแก่การได้รับ, คู่ควร, Syn. merit, earn, rate, warrant |
deserve | (vi) สมควรได้รับ, See also: ควรค่าแก่การได้รับ, คู่ควร, Syn. merit, earn, rate, warrant |
deserved | (adj) ซึ่งสมควรได้รับ, See also: ซึ่งสมควรแล้ว, ซึ่งคู่ควร, Syn. earned, merited |
deservedly | (adv) อย่างที่สมควรได้รับ |
deserving | (adj) ซึ่งสมควรได้รับ, See also: ซึ่งสมควรแล้ว, ซึ่งคู่ควร, Syn. earned, merited |
due | (n) สิ่งที่สมควรได้รับ |
earn | (vt) ได้รับ, See also: สมควรได้รับ, Syn. deserve |
elitism | (n) ความเชื่อที่ว่าคนบางคนสูงส่งกว่าคนอื่นและสมควรจะได้รับสิทธิพิเศษต่างจากคนอื่น |
enough | (adj) พอเพียง, See also: พอ, พอสมควร, เพียงพอ, Syn. adequate, ample, sufficient |
enough | (adv) พอเพียง, See also: พอ, พอสมควร, เพียงพอ, พอยอมรับได้, Syn. adequately, amply, sufficiently |
fair | (adj) มากพอประมาณ, See also: มากพอสมควร, Syn. quite large |
fairish | (adj) ดีพอสมควร, See also: ดีพอใช้ |
fairish | (adj) มากพอสมควร, See also: ใหญ่พอควร |
fairly | (adv) อย่างพอสมควร, See also: พอใช้, พอใช้ได้, พอควร, Syn. moderately |
fit | (adj) ที่เหมาะสม, See also: ที่สมควร, ที่เหมาะเจาะ, Syn. appropriate, suitable, proper, Ant. unfit, unsuitable |
hold good for | (idm) สมควร, See also: เหมาะสม, เทียบเท่า |
it figures | (idm) สมเหตุสมผล, See also: สมควรเป็นอย่างนั้น |
get a good run for one's money | (idm) ได้สิ่งที่คาดหวังหรือสมควรได้รับ |
poetic justice | (idm) กรรมตามทัน, See also: สมควรได้รับ |
worthy of the name | (idm) สมควรแก่การเรียกเช่นนั้น, See also: สมควรได้รับ |
illy | (adv) ไม่ดี, See also: ไม่เหมาะสม, ไม่สมควร, Syn. badly, ill |
improper | (adj) ไม่เหมาะสม (คำทางการ), See also: ไม่สมควร, Syn. unbecoming, unsuitable, Ant. proper, suitable |
improperly | (adv) อย่างไม่เหมาะสม, See also: อย่างไม่ถูกต้อง, อย่างไม่สมควร, Syn. unbecomingly, unsuitably, Ant. properly, suitably |
inadvisable | (adj) ซึ่งไม่เหมาะสม, See also: ซึ่งไม่สมควร, Syn. inexpedient, prudent, Ant. advisable, expedient |
inapt | (adj) ซึ่งไม่เหมาะสม, See also: ซึ่งไม่สมควร, Syn. inappropriate, unsuitable, Ant. appropriate, apt, suitable |
inaptitude | (n) การขาดความเหมาะสม, See also: ความไม่สมควร, Syn. inappropriateness, unsuitability, Ant. appropriateness |
incorrect | (adj) ซึ่งไม่เหมาะสม, See also: ซึ่งไม่สมควร |
incorrectly | (adv) อย่างไม่ถูกต้อง, See also: อย่างผิดพลาด, อย่างไม่สมควร, Syn. erroneously, inaccurately, Ant. accurately, correctly |
indiscreet | (adj) ซึ่งไม่รอบคอบ, See also: ซึ่งไม่สมควร, ซึ่งไม่ระวัง, Syn. impolitie, incautious, tactless, Ant. discreet, tactful |
infelicitous | (adj) ซึ่งไม่เหมาะสม, See also: ซึ่งไม่สมควร, Syn. inexpedient, unsuitable, ineligible, Ant. fitting, conductive |
Hope Dictionary
advisable | (แอดไว' ซะเบิล) adj. ซึ่งแนะนำได้, เหมาะ, สมควร. -advisability. -advisableness n., Syn. suggested |
become | (บิคัม') { became, become, becoming, becomes } vi., vt. กลายเป็น, เป็น, เปลี่ยนเป็น, มาเป็น, สอดคล้องกัน, เหมาะ, สมควร, น่าดู, Syn. happen, befit |
becoming | (บิคัม'มิง) adj. เหมาะ, สมควร n. กระบวนการเปลี่ยนแปลง, Syn. proper |
beneath | (บินีธ') adj., prep. ข้างใต้, ต่ำกว่า, ภายใต้, เลวกว่า, ไม่เหมาะ, ไม่สมควร, เสื่อมเสีย, เสียศักดิ์ศร', Syn. below |
commemorable | (คะเมม'มะระเบิล) adj. น่าฉลอง, สมควรจะได้รับการฉลอง, ซึ่งควรระลึกถึง |
comparative | (คัมแพ'ระทิฟว) adj. เกี่ยวการเปรียบเทียบ, ซึ่งเทียบเคียง, พอสมควร., See also: comparativist ผู้เปรียบเทียบ, Syn. parallel -Conf. superlative |
computer appreciation | คอมพิวเตอร์วิจักขณ์หมายถึง การเรียนรู้วิชาทางคอมพิวเตอร์เพียงพอที่จะรู้เรื่องราว ความเป็นมา องค์ประกอบ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวิธีที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ พอ สมควร มีความหมายเหมือน computer education |
computer education | คอมพิวเตอร์ศึกษาหมายถึง การเรียนรู้วิชาทางคอมพิวเตอร์เพียงพอที่จะรู้เรื่องราว ความเป็นมา องค์ประกอบ การใช้ งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวิธีที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ พอ สมควร มีความหมายเหมือน computer appreciation |
condign | (คันไดน์') adj. พอเพียง, เหมาะสม, สมควร, Syn. deserved, adequate, meet |
correct | (คะเรคทฺ') { corrected, correcting, corrects } vt. ทำให้ถูกต้อง, แก้ไข, แก้, ตำหน' (เพื่อแก้ไข) , ลงโทษ (เพื่อแก้ไข) , ตรวจ, แก้, ต่อต้าน adj. ถูกต้อง, ไร้ความผิด, สมควร, เหมาะ, สอดคล้อง, See also: correctable adj. correctible adj. correctness n. ดูcorrect |
deserve | (ดีเซิร์ฟว') vt., vi. สมควรจะได้รับ., See also: deserver n. ดูdeserve, Syn. merit, earn, rate |
deserved | (ดิเซิร์ฟวดฺ') adj. ซึ่งสมควรได้รับ, ดีสม, สมควรแล้ว, See also: deservedness n. |
deservedly | (ดิเซิร์ฟ'วิดลี) adv. สมควรแล้ว |
deserving | (ดิเซิร์ฟ'วิง) adj. ซึ่งสมควรได้รับ (รางวัล, การชมเชย, ความช่วยเหลือ), See also: deservingness n., Syn. worthy |
due | (ดิว) adj. เหมาะสม, สมควร, พอเพียง, พอควร, ครบกำหนด, ถึงกำหนด, ถูกต้อง, ถูกทำนองคลองธรรม, ตรง, หลีกเลี่ยงไม่ได้. n. สิทธิที่ควรได้รับ, หนี้, เงินที่พึงชำระ, ค่าธรรมเนียม, ความยุติธรรม. -adv. โดยตรง, แน่นอน. -Phr. (due to เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เพราะ) ., See also: d |
earn | (เอิร์น) v. หาได้, หามาได้, ได้กำไร, ได้รับ, สมควรได้รับ, มีรายได้, อยากได้, ปรารถนา, See also: earner n. |
fair | (แฟรฺ) adj. ยุติธรรม, ถูกต้อง, ซื่อสัตย์, ใหญ่พอสมควร, มาก, ปานกลาง, ดีพอใช้, สภาพ, สวยงาม, ไม่มีจุดด่างพร้อย, สะอาด, ชัดเจน, มีผิวพรรณดี, มีเสน่ห์., See also: fairness n. -adv. สุภาพ, ยุติธรรม. -Phr. fair and square ซื่อสัตย์, ตรงไปตรงมา . -Phr. see fair ตัด |
fit | (ฟิท) { fitted, fitting, fits } adj.เหมาะ, เหมาะสม, สมควร, คู่ควร, สอดคล้อง, ถูกต้อง, (สุขภาพ) ปกติ, (สุขภาพ) สมบูรณ์. vt. ทำให้เหมาะสม, ปรับ, ปรับปรุง, ทำให้พอดี, เตรียม, จัดหา. vi. เหมาะกับ, เหมาะสมกับ, คู่ควรกับ, สอดคล้องกับ. -Phr. (fit out (up) จัดหาเตรียม, จัดหาเสื้อผ้า, เ |
fitting | (ฟิท'ทิง) adj. เหมาะสม, เหมาะ, สมควร, สอดคล้อง. n. การกระทำที่เหมาะสม, สิ่งที่เหมาะสม, การสวมได้เหมาะ, ขนาดเสื้อผ้าที่เหมาะ, เครื่องมือ, อุปกรณ์., See also: fittingly adv. fittingness n., Syn. fit, appropriate, part, component |
hooly | (ฮุค'กี) adj. เต็มไปด้วยขอ, เป็นรูปขอ n. การขาดโรงเรียนโดยไม่มีเหตุผลที่สมควร. |
improper | (อิมพรอพ' เพอะ) adj. ไม่เหมาะสม, ไม่ถูกต้อง, ผิดพลาด, ไม่สมควร., See also: improperly adv. improperness n., Syn. unbecoming, unsuitable, Ant. suitable |
inadvisable | (อินดัดไว' ซะเบิล) adj. ไม่ฉลาด, ไม่สมควร, ไม่บังควร., See also: inadvisability, inadvisableness n. inadvisably adv., Syn. unwise, improper |
inapt | (อินแอพทฺ') adj. ไม่เหมาะ, ไม่สมควร, ไม่ชำนาญ, ไม่คล่องแคล่ว., See also: inaptly adv. inaptness n., Syn. inept, clumsy |
indign | (อินไดนฺ') adj. ไม่เหมาะสม, ไม่สมควร., See also: indignly adv., Syn. undeserved |
ineligible | (อินเอล'ลิจิเบิล) adj. ขาดคุณสมบัติที่จะได้รับการรับเลือก, ขาดคุณสมบัติ, ไม่สมควรที่จะ ได้รับเลือก., See also: ineligibility, ineligibleness n. |
inexpedient | (อินอิคซพี'เดียนทฺ) adj. ไม่เหมาะสม, ไม่สะดวก, ไม่ฉลาด, ไม่สมควร., See also: inexpedience, inexpediency n., Syn. impractical |
infelicitous | (อินฟะลิส'ซิทัส) adj. ไม่เหมาะสม, ไม่สมควร, โชคร้าย, Syn. unfortunate |
judicable | (จู'ดะคะเบิล) adj. สมควรที่จะได้รับการตัดสิน, เลือกเอาได้, ชี้ขาดได้ |
judicious | (จูดิช'เชิส) adj. รอบคอบ, สุขุม, มีเหตุมีผล, ฉลาด, เหมาะสม, สมควร., See also: judiciousness n. ดูjudicious -S.prudent, Ant. silly |
just | (จัสทฺ) adj. ยุติธรรม, เที่ยงธรรม, เป็นธรรม, พอดี, สมควร, พอเหมาะ, สมเหตุสมผล, ถูกต้องแม่นยำ, เล็กน้อย, เท่านั้น, จริง ๆ |
justice | (จัส'ทิส) n. ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, ความสมควร -Phr. (bring tojustice นำขึ้นศาล) -Phr. (dojustice to ให้ความยุติธรรมแก่), Syn. impartiality, equity |
justification | (จัสทิฟิเค'เชิน) n. การแสดงความบริสุทธิ์, การมีเหตุผลอันสมควร |
legitimacy | (ลิจิท'ทะมะซี) n. ความถูกต้องตามกฎหมาย, ความชอบด้วยกฎหมาย, ความถูกต้องสมควร, ความมีสิทธิตามกฎหมาย, ความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม, ความถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี |
legitimate | (ลิจิท'ทะเมท) adj. ถูกต้องตามกฎหมาย, ถูกต้องสมควร, มีสิทธิตามกฎหมาย, ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม, ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี, โดยการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย vt.ทำให้ถูกต้อง ตามกฎหมาย, ทำให้ชอบด้วยกฎหมาย, มอบอำนาจ., See also: legitimateness n. ดูlegitimate legitimation n. ดูlegimate, Syn. lawful, legal, licit |
likely | (ไลคฺ'ลี) adj. เป็นไปได้, น่าจะเป็นไปได้, เหมาะสม, สมควร, มีหวัง., See also: likeliness n. ดูlikely |
malversation | (แมลเวอเซ'เชิน) n. ความประพฤติที่ไม่สมควรของข้าราชการ, ฉ้อราษฎร์บังหลวง |
meet | (มีท) { met, met, meeting, meets } v. พบ, ประสบ, เผชิญ, กลายเป็น, ทำให้คุ้นเคยกับ, บรรจบ, สบตา, ขัดแย้ง, ต่อต้าน, ต้องใจ, ตกลง. n. การชุมนุม, การประชุม, ผู้ชุมนุม, สถานที่ชุมนุม adj. เหมาะสม, สมควร ., See also: meetly adv. meetness n. |
merit | (เมอ'ริท) n. ความดีเลิศ, ข้อดี, คุณความดี, บุญกุศล., See also: merits n., pl. ข้อถูกผิด, ความสมควร vt. สมควรกับ, ควรได้รับ, Syn. excellence |
misuse | (n. มิสยูซฺ'v. มิสยูซ) n., v. (การ) ใช้ในทางที่ผิดหรือไม่สมควร. |
moderate | (มอด'เดอริท) adj. ปานกลาง, พอสมควร, พอประมาณ, ไม่รุนแรง, ไม่มากเกินไป, เพลา ๆ n. ผู้มีข้อคิดเห็นไม่รุนแรง v. บรรเทา, ทำให้น้อยลง, เป็นพิธีกร, เป็นประธานการดำเนินงาน., See also: moderately adv. moderateness n., Syn. sparing |
pascal | ปาสกาลเป็นชื่อภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่นิยมใช้กันมากพอสมควร มักใช้ในการสอนวิชามโนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม ผู้คิดภาษานี้ชื่อ Niklaus Wirth แต่ตั้งชื่อภาษาตามชื่อของนักคณิตปรัชญาคนสำคัญคนหนึ่งคือ Blaise Pascalดู high level language ประกอบ |
permissive | (เพอมิส'ซิฟว) adj. ซึ่งอนุญาต, ซึ่งอนุมัติ, ซึ่งยินยอม, ตามใจ, ตามแต่เห็นสมควร, See also: permissiveness n., Syn. tolerant, lenient, lax |
proper | (พรอพ'เพอะ) adj. เหมาะสม, เหมาะ, สมควร, ถูกต้อง, ถูกกาลเทศะ, ถูกมารยาท, เกี่ยวกับบุคคลใดหรือสิ่งใดโดยเฉพาะ, อันแท้จริง, ดั้งเดิม, กับตา, โดยตัวของมันเอง, เคร่งครัด, สมบูรณ์, เต็มที่, ดี. n. พิธีการ, มารยาท, ความประพฤติ, Syn. fit, suitable |
properly | (พรอพ'เพอลี) adv. อย่างเหมาะสม, อย่างสมควร, อย่างถูกต้อง, อย่างแม่นยำ, อย่างแน่ชัด, อย่างยุติธรรม, อย่างสมบูรณ์, อย่างเต็มที่, อย่างถ้วนทั่ว |
proportional | (พระพอ'เชินเนิล) adj. ได้สัด-ส่วน, พอเหมาะ, พอสมน้ำสมเนื้อ, สมควร., See also: proportionality n., Syn. proportionate |
propriety | (โพรไพร'อะที) n. ความเหมาะสม, ความถูกต้อง, ความสมควร, สิทธิ, กรรมสิทธิ์., See also: proprieties n., pl. มารยาทหรือขนบธรรมเนียมประเพณี, Syn. decorum, decency |
rather | (รา'เธอะ) adv. ค่อนข้าง, ค่อนข้างจะ, ออกจะ, พอสมควร, อยาก, มากกว่า, ตรงกันข้าม, แน่นอนทีเดียว -interj. คำอุทานแสดงการยืนยัน |
reasonable | (รี'เซินนะเบิล) adj. เหมาะสม, มีเหตุผล, พอสมควร, ไม่เกินไป, ไม่แพงไป, ราคาพอสมควร, See also: reasonableness n. reasonability n. reasonable adv., Syn. sensible, judicious, rational, Ant. illogical |
respectability | (รีสเพค'ทะบิล'ลิที) n. ความน่านับถือ, ความน่าเคารพ, ความน่ายำเกรง, ความมีหน้ามีตา, บุคคลที่มีหน้ามีตา, ความสูงต่ำ, ความเหมาะสม, ความถูกต้องสมควร, See also: respectabilities n. สิ่งที่ถูกต้องสมควร, สิ่งที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม |
respectable | (รีสเพค'ทะเบิล) adj. น่านับถือ, น่าเคารพ, น่ายำเกรง, มีหน้ามีตา, สูงส่ง, สมควร, ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม, มีศักดิ์ศรี, มากมาย, See also: respectableness n. respectably adv., Syn. admirable, proper, appreciable |
Nontri Dictionary
advisable | (adj) สมควร, ซึ่งแนะนำได้, เหมาะ |
appropriate | (adj) เหมาะสม, สมควร, เหมาะเจาะ, ได้ฤกษ์ |
appropriately | (adv) อย่างเหมาะสม, อย่างเหมาะเจาะ, อย่างสมควร |
become | (vt) กลายเป็น, มาเป็น, เปลี่ยนเป็น, เหมาะ, สมควร, สอดคล้องกับ |
becoming | (adj) เหมาะ, เหมาะสม, สมควร |
beseem | (vt) เหมาะสม, เหมาะ, สมควร, สอดคล้องกับ |
correct | (adj) ถูกต้อง, เหมาะ, สมควร |
deserve | (vt) สมควรได้รับ |
deservedly | (adv) อย่างเหมาะสม, สมควรแล้ว, สมน้ำหน้า, โดยยุติธรรมแล้ว |
due | (adj) เป็นหนี้, ถึงกำหนด, ครบกำหนด, สมควร, เหมาะสม, ถูกต้อง |
duly | (adv) โดยสมควร, ตรงเวลา, อย่างเหมาะสม, ครบกำหนด |
excusable | (adj) สมควรจะให้อภัย, ซึ่งพอให้อภัยได้, ซึ่งยกโทษให้ได้ |
fit | (vi, vt) เหมาะกัน, สมควร, คู่ควร, เหมาะสม, จัดหา, เตรียม, ปรับ |
impolitic | (adj) ไม่เหมาะสม, ไม่สมควร |
improper | (adj) ไม่เหมาะ, ไม่ถูกต้อง, ไม่สมควร |
impropriety | (n) ความไม่เหมาะ, ความไม่ถูกต้อง, ความไม่สมควร |
inadvisable | (adj) ไม่ฉลาด, ไม่สมควร, |
inappropriate | (adj) ไม่เหมาะสม, ไม่สมควร, ไม่คู่ควร |
inapt | (adj) ไม่เหมาะ, ไม่เชี่ยวชาญ, ไม่สมควร |
indiscreet | (adj) ไม่สมควร, ไม่ระวังตัว, ปากสว่าง, ปากโป้ง |
indiscretion | (n) ความไม่ระวังตัว, ความไม่สมควร, การสอพลอ |
inept | (adj) โง่เขลา, เซ่อ, ทึ่ม, ไม่ถูกที่, ไม่สมควร, ไม่เหมาะ |
inexpedient | (adj) ไม่เหมาะ, ไม่สะดวกสบาย, ไม่สมควร |
judicious | (adj) ฉลาด, สุขุม, รอบคอบ, สมควร, เหมาะ, มีเหตุผล |
just | (adj) เที่ยงตรง, เป็นธรรม, ยุติธรรม, ถูกต้อง, สมควร, สมเหตุผล |
meet | (adj) เหมาะสม, พอควร, สมควร |
merit | (vt) สมควรจะได้รับ, เหมาะกับ, สมควรกับ |
proper | (adj) เหมาะสม, สมควร, ถูกต้อง, ถูกกาลเทศะ |
properly | (adv) อย่างถูกต้อง, อย่างเหมาะสม, อย่างสมควร |
propriety | (n) ความเหมาะสม, ความถูกต้อง, ความสมควร, ความประพฤติ, ระเบียบ |
reasonable | (adj) เหมาะสม, มีเหตุผล, พอสมควร |
seemliness | (n) ความสมควร, ความเหมาะสม, การบังควร |
seemly | (adj) สมควร, เหมาะสม, บังควร, น่าชม, น่ารัก |
suitability | (n) ความคู่ควร, ความเหมาะสม, ความสมควร |
suitable | (adj) คู่ควร, เหมาะสม, สมควร |
unmeet | (adj) ไม่เหมาะ, ไม่สมควร, ไม่ดีไม่งาม |
unreasonable | (adj) ไม่มีเหตุผล, ขาดสติ, เกินสมควร |
unseemly | (adj) ไม่เหมาะ, ไม่สมควร |
worth | (adj) สมควร, คุ้มค่า, มีคุณค่า, มีราคา |
worthy | (adj) มีค่า, คุ้มค่า, คู่ควร, สมควร, มีราคา, น่ายกย่อง, มีเกียรติ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
be supposed to | (vt, phrase) สมควรที่จะต้อง, ควรที่จะ |
deserve | [ดีเซิร์ฟว] สมควรจะได้รับ, ควรค่าแก่การได้รับ, คู่ควร |
mansplaining | การกระทำที่ผู้พูด อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ ให้แก่ผู้ฟังในลักษณะที่ทำตัวเหนือกว่า, คิดว่าฝ่ายผู้ฟังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ หรือ ใช้คำอธิบายในลักษณะที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายจนเกินสมควรเช่นเหมือนอธิบายเด็ก ดูคำอธิบายเพิ่มเติม |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
値する | [あたいする, ataisuru] สมควร, คู่ควร, เหมาะสม |
適合 | [てきごう, tekigou] (n) การปรับเปลี่ยน, ความเหมาะสม, ความสมควร |
Longdo Approved DE-TH
entsprechen | (prep) สมควรแก่, ที่เหมาะสมแก่, ตาม เช่น entsprechend den Vorschriften arbeiten ทำงานตามกฏระเบียบ, Syn. gemäß |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0578 seconds, cache age: 15.282 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม