361 ผลลัพธ์ สำหรับ *มุ่ง*
ภาษา
หรือค้นหา: มุ่ง, -มุ่ง-Longdo Unapproved TH - EN
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N | [มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N] (n, vi, vt, modal, verb, aux, verb, adj, adv, prep, conj, pron, phrase, jargon, slang, colloq, vulgar, abbrev, name, o) มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: Norma Jeane Mortenson) เกิดวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1926 – 5 สิงหาคม ค.ศ. 1962) เป็นอดีตนักแสดง นักร้อง นางแบบชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากบทบาท "dumb blonde" เธอกลายเป็นสัญลักษณ์ทางเพศที่ได้รับความนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นสัญลักษณ์ของทัศนคติที่มีต่อเพศแห่งยุค แม้ว่าเธอได้เป็นนักแสดงระดับต้น ๆ เพียงแค่หนึ่งทศวรรษ ภาพยนตร์ของเธอทำรายได้ได้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนที่เธอจะเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดใน ค.ศ. 1962[ 1 ] เธอยังถือว่าเป็นสัญรูปของวัฒนธรรมสมัยนิยมหลัก ๆ นับแต่นั้นมา[ 2 ] มอนโรเกิดและเติบโตในลอสแอนเจลิส วัยเด็กเธออาศัยอยู่ในบ้านรับเลี้ยงเด็ก และสถานเด็กกำพร้า และสมรสครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ขณะทำงานในโรงงานเป็นส่วนหนึ่งของกำลังสงคราม ใน ค.ศ. 1944 เธอพบกับช่างภาพคนหนึ่ง และเริ่มทำอาชีพนางแบบ งานของเธอทำให้เธอได้เซ็นสัญญากับภาพยนตร์ขนาดสั้น 2 เรื่องกับค่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ (1946-1947) และโคลัมเบียพิกเจอส์ (1948) หลังจากรับบทย่อยในภาพยนตร์จำนวนหนึ่ง เธอเซ็นสัญญาใหม่กับฟอกซ์ใน ค.ศ. 1951 เธอกลายเป็นนักแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วด้วยบทบาทตลกขบขันหลายบทบาท เช่นในเรื่อง แอสยังแอสยูฟีล (1951) และมังกีบิสเนส (1952) และในภาพยนตร์ดรามาเรื่อง แคลชบายไนต์ (1952) และ โดนต์บาเดอร์ทูน็อก (1952) มอนโรเผชิญหน้ากับข่าวลือหลังจากมีการเปิดเผยว่าเธอเคยถ่ายแบบเปลือยก่อนมาเป็นนักแสดง แต่แทนที่จะทำลายอาชีพเธอ มันกลับทำรายได้ให้กับบอกซ์ออฟฟิศ ก่อน ค.ศ. 1953 มอนโรเป็นหนึ่งในดาราฮอลลิวูดที่มีบทบาทนำในภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ ฟิล์มนัวร์ เรื่อง ไนแอการา (ภาพยนตร์ ค.ศ. 1953)|ไนแอการา ซึ่งมุ่งจุดสนใจที่เสน่ห์ทางเพศของเธอ และภาพยนตร์ตลกเรื่อง เจนเทิลเม็นพรีเฟอร์บลอนส์ และ ฮาวทูแมร์รีอะมิลเลียนแนร์ ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ให้เธอเป็น "dumb blonde" แม้ว่าเธอจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างและจัดการภาพลักษณ์สาธารณะของเธอตลอดอาชีพการทำงาน เธอรู้สึกผิดหวังต่อสตูดิโอที่ไทป์แคสต์ และการให้ค่าตัวเธอต่ำไป เธอถูกพักงานเป็นช่วงสั้น ๆ ในต้นปี ค.ศ. 1954 เนื่องจากเธอปฏิเสธโครงการทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง แต่กลับมาเป็นดาราในภาพยนตร์เรื่องที่ประสบความสำเร็จที่สุดเรื่องหนึ่งคือ เดอะเซเวนเยียร์อิตช์ (1955) เมื่อสตูดิโอยังลังเลที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญาของเธอ มอนโรก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ใน ค.ศ. 1954 ชื่อ มาริลิน มอนโร โพรดักชันส์ (MMP) ขณะก่อสร้างบริษัท เธอเริ่มศึกษาการแสดงที่แอกเตอส์สตูดิโอ ในปลายปี ค.ศ. 1955 ฟอกซ์มอบฉันทะให้เธอควบคุมและให้เงินเดือนสูงขึ้น หลังจากได้รับคำสรรเสริญจากการแสดงในเรื่อง บัสสต็อป (1956) และการแสดงในภาพยนตร์อิสระเรื่องแรกของบริษัท MMP เรื่อง เดอะพรินซ์แอนด์เดอะโชว์เกิร์ล (1957) เธอได้รับรางวัลลูกโลกทองคำจากเรื่อง ซัมไลก์อิตฮอต (1959) ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของเธอที่ถ่ายทำจนเสร็จคือเรื่อง เดอะมิสฟิตส์ (1961) |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
มุ่งมาด | (v) be determined, See also: aim at, intend, expect, look forward to, desire, hope for, Syn. คาดหมาย, ตั้งใจ, หมายมั่น, ประสงค์, หวัง, มุ่งมาดปรารถนา, Example: หล่อนมุ่งมาดที่จะเข้าทำงานในธนาคารแห่งนี้, Thai Definition: คาดหมายไว้ |
มุ่งมั่น | (v) be engrossed in, See also: immerse oneself, be absorbed in, be concentrated in, be up to the eyes in, work hard, Syn. คร่ำเคร่ง, ตั้งใจ, Example: ทีมฟุตบอลไทยมุ่งมั่นที่จะคว้าแชมป์ปีนี้ให้ได้, Thai Definition: ตั้งใจทำอย่างจริงจัง |
มุ่งร้าย | (v) bear ill will, See also: intend to do harm, have bad intention, bear malice toward somebody, Syn. ปองร้าย, ประสงค์ร้าย, คิดร้าย, มุ่งร้ายหมายขวัญ, Ant. หวังดี, มุ่งดี, ประสงค์ดี, Example: มีคนมุ่งร้ายคอยใส่ความเขาอยู่เสมอ, Thai Definition: มุ่งจะทำร้าย |
มุ่งหน้า | (v) head for, See also: head towards, move towards, go forward, be bound for, march ahead, Example: คนหิวข้าวจะไม่เดินไปแถวๆ ห้องนอนหรือห้องน้ำ แต่จะมุ่งหน้าเดินตรงไปที่ห้องครัว, Thai Definition: มุ่งไปยังทิศทางข้างหน้า |
มุ่งหน้า | (v) aim, See also: intend, mean, attempt, endeavour, strive, try, Example: เฮสเสคือนักแสวงหาปัญญาที่ปฏิเสธครูปฏิเสธคำสอน แต่มุ่งหน้าศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จในที่สุด, Thai Definition: มุ่งมั่นทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง |
มุ่งหมาย | (v) aim at, See also: intend, mean, desire, endeavour, set one's sights on, Syn. มุ่ง, ตั้งใจ, ปรารถนา, วางเป้าหมาย, หมายมุ่ง, Example: คู่แข่งมุ่งหมายจะทำลายภาพบริษัทเราอย่างไม่ต้องสงสัย, Thai Definition: ตั้งใจกำหนดหรือปรารถนาสิ่งใดให้เป็นไปตามประสงค์ |
มุ่งหมาย | (v) intend, See also: aim, mean, propose, object to, Syn. ตั้งใจ, ปรารถนา, ปอง, Example: การปฏิบัติราชการในปัจจุบันนี้มุ่งหมายเอาประสิทธิภาพ ปริมาณงานและความรวดเร็วเป็นสำคัญ |
มุ่งหวัง | (v) expect, See also: anticipate, hope for, Syn. มุ่งหมาย, คาดหวัง, หวัง, หมายมั่น, หมายมุ่ง, Example: พ่อแม่ต่างก็มุ่งหวังให้ลูกเรียนสูงที่สุดเท่าที่โอกาสจะอำนวย, Thai Definition: ประสงค์ที่จะได้ |
มุ่งเน้น | (v) emphasize, See also: aim at, focus on, Syn. เน้น, Ant. มองข้าม, Example: วิธีการสอนแบบนี้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จักคิดและแสดงความคิดเห็นมากกว่าเป็นผู้ฟัง, Thai Definition: ให้ความสนใจกับสิ่งนั้นเป็นพิเศษ |
มุ่งเสนอ | (v) bring up, See also: introduce, present, show, display, suggest, put on, exhibit, demonstrate, Syn. เสนอ, นำเสนอ, Example: เขาใส่ใจต่อเรื่องนี้ค่อนข้างสูงน่าเสียดายอยู่นิดตรงสาระที่เขามุ่งเสนอออกจะพร่าเลือนไป |
จุดมุ่งหมาย | (n) aim, See also: intention, purpose, objective, goal, Syn. จุดหมาย, Example: รัฐบาลมีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหาการจราจรในช่วงเทศกาล, Thai Definition: จุดที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง |
ความมุ่งมั่น | (n) will, See also: intention, determination, Syn. ความตั้งใจ, Example: นักวิจัยมีความมุ่งมั่นในการทำวิจัยเพื่อผลงานที่เป็นประโยชน์แก่วงวิชาการ |
ความมุ่งหมาย | (n) goal, See also: aim, purpose, object, Syn. จุดมุ่งหมาย, เป้าประสงค์, ความตั้งใจ, ความมุ่งมั่น, Example: ความมุ่งหมายอันสูงสุดของการศึกษาคือการให้เยาวชนเป็นผู้ใหญ่ที่บรรลุวุฒิภาวะทั้งทางอารมณ์และสติปัญญา |
มุ่งร้ายหมายขวัญ | (v) bear ill will, See also: bear malice toward somebody, wish to do evil or cause suffering to someone, Syn. มุ่งร้าย, ปองร้าย, ประสงค์ร้าย, Ant. หวังดี, มุ่งดี, ประสงค์ดี, Example: นางอิจฉามักจะมุ่งร้ายหมายขวัญนางเอกผู้ไร้เดียงสา, Thai Definition: มุ่งจะทำร้าย |
ความมุ่งมาดปรารถนา | (n) desire, See also: aim, wish, aspiration, intention, purpose, Syn. ความปรารถนา, ความต้องการ, ความมุ่งมาด, Example: นายกรัฐมนตรีรับใช้บ้านเมืองด้วยความมุ่งมาดปรารถนาอยากเห็นสังคมดีงาม |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ความมุ่งหมาย | น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วยความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง. |
มุ่ง | ก. ตั้งใจ เช่น มุ่งทำความดี, ตั้งหน้า เช่น มุ่งศึกษาหาความรู้, ในบทกลอนใช้ว่า ม่ง ก็มี. |
มุ่งแต่จะ | ก. มุ่งเฉพาะจะ เช่น เขามุ่งแต่จะทำงาน. |
มุ่งมั่น | ก .ตั้งใจอย่างแน่วแน่ เช่น เขามุ่งมั่นในการทำความดี. |
มุ่งมาด | ก. ปรารถนา, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มุ่งมาดปรารถนา. |
มุ่งร้ายหมายขวัญ | ก. คิดปองร้าย. |
มุ่งหน้า | ก. ตรงไปสู่จุดหมาย เช่น เขามุ่งหน้าไปโรงเรียน. |
มุ่งหมาย | ก. ตั้งใจที่จะให้บรรลุถึงจุดที่หมายไว้. |
มุ่งหวัง | ก. ตั้งใจ, หวังจะเอาให้ได้. |
มุ้ง | น. ผ้าหรือสิ่งอื่นที่ทำขึ้นสำหรับกางกันยุงหรือป้องกันยุง, ลักษณนามว่า หลัง. |
มุ้งกระโจม | น. มุ้งที่มีรูปร่างอย่างจอมแห ใช้แขวนจากเพดาน ให้ชายด้านล่างคลุมเตียงหรือที่นอนจนถึงพื้นโดยรอบ. |
มุ้งประทุน | น. มุ้งรูปโค้งคล้ายประทุน มีโครงเป็นลวดเหล็ก หุบเก็บและกางได้. |
มุ้งลวด | น. มุ้งที่ทำด้วยตาข่ายลวดตาละเอียด, โดยอนุโลมเรียกห้องที่ใช้ตาข่ายลวดตาละเอียดกรุประตู หน้าต่าง และช่องลมเพื่อกันยุงหรือแมลง ว่า ห้องมุ้งลวด. |
มุ้งสายบัว | น. ห้องขังผู้ต้องหา. |
มุ้งกระต่าย | ดู ซุ้มกระต่าย. |
ก่น ๑ | ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ก่อการร้าย | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อบุคคล ต่อทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะ หรือต่อทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของบุคคลใดหรือต่อสิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ โดยผู้กระทำมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. |
กาง ๑ | ก. ถ่างออก เช่น กางขา, คลี่ เช่น กางปีก, เหยียดออกไป เช่น กางแขน, ขึงออกไป เช่น กางใบ กางมุ้ง, แบะออก เช่น กางหนังสือ. |
การก่อวินาศกรรม | น. การกระทำใด ๆ อันเป็นการมุ่งทำลายทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ หรือสิ่งอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการรบกวนขัดขวางหน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใด ๆ ตลอดจนการประทุษร้ายต่อบุคคลอันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมืองการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ. |
การประกอบโรคศิลปะ | น. การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ. |
เก่น | ก. เข่น, หนัก, แรง, เร่ง, เช่น ตาแกก็มุมุ่นมุ่งเขม้น ถ่อกายเก่นตะเกียกเดิน (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
เข็ม ๑ | โดยปริยายหมายความว่า จุดมุ่งหมาย เช่น ตั้งเข็มชีวิต. |
เขม้น | (ขะเม่น) ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าวบางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้ (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ (ปรัดเล). |
แข่งดี | ก. มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมลดราวาศอกให้แก่กัน, มุ่งเอาชนะชิงดีชิงเด่นโดยไม่ยอมผ่อนปรนให้แก่กัน. |
คหกรรมศาสตร์ | (คะหะกำมะสาด) น. วิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ โดยมุ่งพัฒนาครอบครัวด้วยการจัดการทรัพยากรบุคคล วัสดุและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอาชีพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและสังคม. |
คอย ๑ | ก. มุ่งรออยู่, รอ |
ค่ายอาสาพัฒนา | น. ค่ายเยาวชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมหรือฝึกฝนให้เยาวชนได้ร่วมมือร่วมใจกันบำเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน. |
คิด | มุ่ง, จงใจ, ตั้งใจ, เช่น อย่าคิดร้ายเขาเลย |
เครื่องสด | น. ของสด เช่น หยวก ใบตอง ดอกไม้ และผลไม้บางชนิด ที่ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับตกแต่งเชิงตะกอนที่เผาศพเป็นต้น, ถ้ามุ่งเอาหยวกเป็นหลักก็เรียกว่า เครื่องหยวก. |
เครื่องสำอาง | วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย. |
จ่อ ๑ | มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำ จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามีใจจดจ่อกับงาน. |
จ้อง ๒ | ก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทำร้าย จ้องจะแทง, กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. |
จับดำถลำแดง | ก. มุ่งอย่างหนึ่งไปได้อีกอย่างหนึ่ง, มุ่งอย่างหนึ่งกลายไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง. |
จำนง | ก. ประสงค์, มุ่งหวัง, ตั้งใจ. |
เจตจำนง | (เจด-) น. ความตั้งใจมุ่งหมาย, ความจงใจ. |
เจตนา | (เจดตะนา) ก. ตั้งใจ, จงใจ, มุ่งหมาย. |
เจตนา | (เจดตะนา) น. ความตั้งใจ, ความจงใจ, ความมุ่งหมาย. |
เจตนารมณ์ | น. ความมุ่งหมาย. |
เจาะ ๒, เจาะจง | ก. ตั้งใจเฉพาะ, มุ่งไปที่, เช่น นักข่าวเจาะข่าวเรื่องยาเสพติดในโรงเรียน หัวหน้าเจาะจงให้เขาทำงานชิ้นนี้. |
ใจจดใจจ่อ | ว. มุ่งอยู่, เป็นห่วงอยู่. |
แช่ง | ก. กล่าวด้วยตั้งใจมุ่งร้ายเพื่อให้เขาเป็นเช่นนั้น. |
แช่งชักหักกระดูก | ก. แช่งด่ามุ่งร้ายให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างร้ายแรง. |
ซุ้มกระต่าย | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Blinkworthia lycioides Choisy ในวงศ์ Convolvulaceae ดอกรูประฆัง สีนวล, มุ้งกระต่าย ก็เรียก. |
ด้น | ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น หนทางไกลเท่าใดก็จะด้นไปหา, ด้นดั้น หรือ ดั้นด้น ก็ว่า |
ด้นดั้น | ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น ด้นดั้นไปตามหาเธอ, ด้น หรือ ดั้นด้น ก็ว่า. |
ดั้น ๑ | ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น ดั้นหมอกออกเมฆด้วยฤทธิไกร ผ่านพิชัยขีดขินบูรินมา (รามเกียรติ์ ร. ๑), มักใช้เข้าคู่กับคำ ด้น เป็น ดั้นด้น หรือ ด้นดั้น. |
ดั้นด้น | ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น จะไกลแค่ไหน ฉันก็จะดั้นด้นไปหาเธอ, ด้น หรือ ด้นดั้น ก็ว่า. |
ดุ่ม, ดุ่ม ๆ | ว. อาการที่มุ่งหน้าเดินไปโดยเร็ว. |
ตลบ | (ตะหฺลบ) ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นเป็นผืนเช่นชายม่านตีนมุ้งที่อยู่ข้างล่างหกกลับไปพาดไว้ข้างบนทั้งผืนทั้งแผ่น เช่น ตลบม่าน ตลบมุ้ง |
ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย | ก. กำหนดจุดมุ่งหมาย เช่น ล้าต้าต้นหนก็มุ่งมอง ตั้งเข็มส่องกล้องสลัด (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
purpose | ความมุ่งประสงค์, ความมุ่งหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
legislative intent | ความมุ่งหมายของกฎหมาย, เจตนารมณ์ของกฎหมาย [ ดู intendment of law และ spirit of law ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
stereotypy | อาการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ (ไร้จุดมุ่งหมาย) [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
specialism | การมุ่งเฉพาะวิชา [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
spirit | เจตนารมณ์, ความมุ่งหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
objective | ๑. วัตถุประสงค์, จุดมุ่งหมาย๒. วัตถุวิสัย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
intent, legislative | ความมุ่งหมายของกฎหมาย, เจตนารมณ์ของกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
zonipetal | -มุ่งสู่เขต [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
will to power | เจตจำนงมุ่งอำนาจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
กงเต๊กหลวง | เป็นพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายในงานพระบรมศพเจ้านายที่เพิ่มเติมเข้ามาจากแบบแผนราชสำนัก เป็นการผสานทางศาสนาพุทธนิกายมหายานและวัฒนธรรมญวน-จีน กับความเชื่อของไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการส่งเสด็จเจ้านายที่ล่วงลับสู่สวรรคาลัย [ศัพท์พระราชพิธี] |
Export-oriented industry | อุตสาหกรรมมุ่งการส่งออก [เศรษฐศาสตร์] |
Routine monitoring | การเฝ้าสังเกตประจำ, การตรวจติดตามปริมาณรังสีอย่างต่อเนื่อง โดยมีความมุ่งหมายเพื่อแสดงว่า สภาพการปฏิบัติงาน รวมทั้งระดับของปริมาณรังสีรายบุคคล เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด การเฝ้าสังเกตประจำ อาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือการเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการ, Example: [นิวเคลียร์] |
Monitoring | การเฝ้าสังเกต, การเฝ้าสังเกตปริมาณรังสี หรือ การเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากการตรวจวัด เพื่อประเมินหรือควบคุมการรับรังสี แบ่งเป็น 2 แบบ คือ <br>1. การเฝ้าสังเกตตามจุดตรวจ ได้แก่ การเฝ้าสังเกตตามรายบุคคล สถานที่ปฏิบัติการ ต้นกำเนิดรังสี และสิ่งแวดล้อม</br> <br>2. การเฝ้าสังเกตตามความมุ่งหมาย ได้แก่ การเฝ้าสังเกตเป็นประจำ หรือตามภารกิจที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นกรณีพิเศษ</br> [นิวเคลียร์] |
Habit survey | การสำรวจลักษณะนิสัย, การสำรวจลักษณะนิสัยของกลุ่มประชากรในแต่ละพื้นที่ ที่อาจนำไปสู่การได้รับรังสี เช่น พฤติกรรมการบริโภคและอาชีพ เพื่อประเมินปริมาณรังสีที่คาดว่าจะได้รับ โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มประชากรที่คาดว่าจะได้รับรังสีสูงสุด, Example: [นิวเคลียร์] |
Commercial Bank | สถาบันการเงินที่มุ่งเน้นการรับฝากเงิน [ธุรกิจ] |
Asia Cooperation Dialogue | ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market) [การทูต] |
Ad hoc | เพื่อวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายโดยเฉพาะ เช่น คณะกรรมการการเมืองพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะ ตามที่รับมอบหมายจากสมัชชาสหประชาชาตินั้น แต่เดิมมีชื่อว่าคณะกรรมการการเมืองเฉพาะเรื่อง (Ad hoc Committee) [การทูต] |
African Union | สหภาพแอฟริกา สหภาพแอฟริกาซึ่งเป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญ ของทวีป แอฟริกา ได้ก่อกำเนิดมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity ? OAU) เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยได้ปรับปรุงกฎบัตรเดิมขององค์การเอกภาพแอฟริกา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสามารถแทรกแซงกิจการของประเทศ สมาชิกโดยผ่านกองกำลังรักษาสันติภาพ กลไกที่สำคัญของสหภาพ แอฟริกาที่เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารกลาง นอกจากนี้ นโยบายสำคัญที่สหภาพแอฟริกาเน้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และได้ใช้โครงการ The New Partnership for Africa?s Development หรือ NEPAD เป็นหลักในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมุ่งเน้นการขจัดความยากจน [การทูต] |
Aide-memoire หรือ Memoire | แปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
ASEAN Vision 2020 | วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 เป็นเอกสารซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ได้ให้ความเห็นชอบ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและพันธกรณีของอาเซียนที่จะนำประชาชนในภูมิภาคนี้ ไปสู่ (1) การเป็นภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ (2) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจ อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น (3) การเป็นสังคมที่เปิดกว้าง มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรต่อกัน และ (4) การกระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและโลกภายนอก บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันและมีความเคารพซึ่งกันและกัน [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] |
East Asia Vision Group | กลุ่มวิสัยทัศน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของประธานาธิบดีคิม แด จุง แห่งสาธารณรัฐเกาหลี ในระหว่างการประชุมหัวหน้ารัฐบาลอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนธันวาคม 2541 เพื่อเป็นเวทีระดมความคิดและแสวงหาแนวทางขยายความร่วมมือระหว่างกันในทุก ด้านและทุกระดับเพื่อมุ่งแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและพัฒนาภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง [การทูต] |
Economic and Social Council | คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (แห่งสหประชาชาติ) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำแนะนำเสนอต่อสมัชชา สมาชิกของสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพของมวลมนุษย์ ทั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติ 54 ประเทศ [การทูต] |
Exemption from Taxation of Diplomatic Agent | การยกเว้นภาษีอากรให้แก่ตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ข้อ 34 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ให้ตัวแทนทางการทูตได้รับยกเว้นจากภาระผูกพันและภาษีทั้ง ปวงของชาติท้องถิ่นหรือเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน เว้นแต่ก. ภาษีทางอ้อม ชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาของสินค้าหรือบริการแล้วข. ภาระผูกพันและภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับ นอกจากว่า ตัวแทนทางการทูตครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในนามของรัฐผู้ส่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนค. อากรกองมรดก การสืบมรดก หรือการรับมรดก ซึ่งรัฐผู้รับเรียกเก็บภายในบังคับแห่งบทของวรรค 4 ข้อ 39 ง. ภาระผูกพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัว ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในรัฐผู้รับ และภาษีเก็บจากเงินทุนซึ่งได้ลงทุนในการประกอบการพาณิชย์ในรัฐผู้รับจ. ค่าภาระซึ่งเรียกเก็บสำหรับบริการจำเพาะที่ได้ให้ฉ. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมศาล หรือสำนวนความ ภาระผูกพันในการจำนอง และอากรแสตมป์ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ภายในบังคับแห่งบทของข้อ 23?นอกจากนี้ ข้อ 35 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า ?ให้รัฐผู้รับให้ตัวแทนทางการทูตได้รับการยกเว้นจากการบริการส่วนบุคคลทั้ง มวล จากบริการส่วนสาธารณะทั้งมวล และจากข้อผูกพันทางทหาร เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกเกณฑ์ ส่วนบำรุง หรือเรียกคืนที่พักอาศัยเพื่อปฏิบัติการทางทหาร? [การทูต] |
Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] |
Humanitarian Intervention | การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต] |
Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agents | ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
International Trade Organization | องค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต] |
Marshall Plan | แผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต] |
Nuclear Test Ban | หมายถึง สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้มีผลบังคับเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1963 ประเทศที่ลงนามเริ่มแรกในสนธิสัญญาได้แก่ อังกฤษ สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา รวมสามประเทศจุดมุ่งหมายสำคัญของสนธิสัญญาคือ รัฐบาลของประเทศทั้งสาม ต้องการให้มีการทำความตกลงกันเป็นผลสำเร็จเกี่ยวกับการลดอาวุธ หรือปลดกำลังอาวุธทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ตามความมุ่งประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติหรือเลิกการแข่งขันกันสะสมอาวุธ และกำจัดมิให้มีเหตุจูงใจที่จะผลิตและทดสอบอาวุธไม่ว่าชนิดใดทั้งหมด รวมทั้งอาวุธนิวเคลียร์ด้วย นอกจากนี้ ยังเสาะแสวงหาที่จะให้หยุดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ไปตลอดชั่วกาลนานสนธิ สัญญานี้มีข้อความอยู่ 5 มาตรา และไม่จำกัดอายุเวลา ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ ทั้งหลายเข้าร่วมลงนามเป็นภาคีได้ ในทางตรงกันข้าม ประเทศภาคีก็มีสิทธิใช้อธิปไตยแห่งชาติได้เพื่อถอนตัวจากสนธิสัญญา ถ้าหากประเทศนั้น ๆ เห็นว่า ประโยชน์อันสูงสุดของประเทศตนต้องตกอยู่ในอันตราย และแจ้งล่วงหน้าสามเดือนให้ประเทศภาคีอื่น ๆ ทั้งหมดทราบการตกลงใจนั้น [การทูต] |
Organization of American States | คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกราน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดย สันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
Pacific Charter | คือกฎบัตรแปซิฟิค ซึ่งประกาศ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ในโอกาสที่มีการตกลงกันทำสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Defense Treaty-SEATO ) ประเทศที่ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาสาระสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SEATO (ซีโต้) นั้นคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตรฐานการครอง ชีพสูงขึ้น มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคามสนธิสัญญาคือ บรรดาประเทศภาคีตกลงที่จะป้องกันหรือตอบโต้ความพยายามใด ๆ ที่จะล้มล้างเสรีภาพที่มีอยู่ในเขตสนธิสัญญา หรือทำลายอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งเขตแดนของประเทศภาคี พูดอย่างสั้น ๆ ก็คือฝ่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ต้องการกีดกันมิให้ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไปมีอำนาจครอบงำดินแดนเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเย็น (Cold War ) โดยวิธีรุกรานหรือวิธีอื่นใดก็ตาม [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] |
Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] |
Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] |
premises of the mission | สถานที่ของคณะผู้แทน คือ อาคารหรือส่วนของอาคารและที่ดินซึ่งอาคารตั้งอยู่ ซึ่งใช้เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนโดยไม่คำนึงถึงกรรมสิทธิ์ รวมถึงที่อยู่ของหัวหน้าคณะผู้แทนด้วย [การทูต] |
United Nations University | มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1973 ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นสถาบันอิสระที่บริหารปกครองตนเองภายในโครงร่างของสหประชาชาติ เรียกได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศในเชิงวิชาการ ในอันที่จะมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลต่อการแก้ปัญหาเร่งด่วนต่าง ๆ ของโลก มหาวิทยาลัยนี้มีลักษณะไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นทั่ว ๆ ไป ทั้งในด้านโครางสร้างและแบบอย่างการดำเนินงาน กล่าวคือ ไม่มีนิสิตนักศึกษาของตนเอง ไม่มีคณะในมหาวิทยาลัย และไม่มีบริเวณมหาวิทยาลัย (campus) ดำเนินงานภายในเครือข่ายของสถาบันวิจัยและวิชาการต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งศูนย์ฝึกและศูนย์วิจัยของตนเอง ทั้งยังรวมไปถึงผู้คงแก่เรียนเป็นรายบุคคลด้วย ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลกเป็นจุดสำคัญเรื่องที่มหาวิทยาลัยสหประชาชาติกำลังกังวลและสนใจอยู่ใน ขณะนี้ คือ เรื่องเกี่ยวกับค่านิยมของมนุษย์ทั่วโลก รวมทั้งความรับผิดชอบทั้งหลายที่มนุษย์ทั่วโลกจะพึงมี เรื่องทิศทางใหม่ ๆ ในภาวะเศรษฐกิจที่กลังปรากฏอยู่ในโลก รวมทั้งเรื่องความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการทางเทคโนโลยีเรื่องพลัง ที่ทำให้เกิดความผันแปรระหว่างพลเมืองของโลก ตลอดจนเรื่องสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ยังมุ่งหมายที่จะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพในการวิจัย และการฝึกในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายด้วย และภายในมหาวิทยาลัยเองก็กำลังสนใจด้านวิจัยและการฝึกฝนในบางเรื่องโดยเฉพาะ [การทูต] |
visit | การเยือน " - State Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในระดับประมุขของรัฐ หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญของต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ ที่มีสถานะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี โดยเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐผู้รับ รัฐผู้รับจะจัดพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Official Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ รัฐบาล หมายถึง การเยือนเป็นทางการของประมุขของรัฐ มกุฎราชกุมาร หัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่ง เทียบเท่า โดยเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาล และจัดพิธีการรับรองต่าง ๆ อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Visit as Guest of the Royal Thai Government การเยือนในฐานะแขกของรัฐบาล หมายถึง การเยือนของประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้า องค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าซึ่งไม่ได้เดินทางมาเยือนอย่าง เป็นทางการหรือเพื่อเจรจาทำงาน รวมทั้งการเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์ รองประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า ซึ่งรัฐบาลไทยปรารถนาที่จะแสดงไมตรีจิตโดยเชิญให้มาเยือนประเทศไทยในฐานะแขก ของรัฐบาล และจัดการต้อนรับให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเยือนในแต่ละกรณี - Working Visit การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เจรจาในปัญหาหรือประเด็นใดเป็นการเฉพาะในระยะเวลาอันสั้น - Visit as Guest of Their Majesties the King and Queen of Thailand การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ หมายถึง การเสด็จเยือนของพระราชวงศ์ต่างประเทศ หรือการเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วน พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - Private Visit การเยือนส่วนตัวหรือแวะผ่าน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ พระราชวงศ์ หัวหน้ารัฐบาล หรือผู้นำองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่า และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเยือนเป็นการส่วนตัวหรือการแวะผ่านประเทศในระยะเวลา อันสั้น รัฐผู้รับจะจัดการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ตามความเหมาะสม " [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
Core Competency | สมรรถนะหลัก, ขีดความสามารถขององค์กร ซึ่งเกิดจากวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร เช่น การทำงานเป็นทีม (Teamwork) การทำงานแบบมืออาชีพ (Professionalism) การมุ่งเน้นผลงาน (Result Orientation) การบริหารตนเอง(Self Management) การใส่ใจลูกค้า (Customer Focus) และภาวะผู้นำ (Leaderships) เป็นต้น [การจัดการความรู้] |
Abreactive Purposes | จุดมุ่งหมายในการระบายอารมณ์ [การแพทย์] |
Behavioral Objectives | วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม, ความมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม [การแพทย์] |
Cephalad | ทางศีรษะ, มุ่งปลายเข็มไปทางหัว [การแพทย์] |
Co-creation | การสร้างคุณค่าแก่สินค้าและบริการ ที่มุ่งเน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง โดยส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือระหว่างคนหลายกลุ่ม รวมทั้งผู้บริโภค, Example: การสร้างคุณค่าแก่สินค้าและบริการ ที่มุ่งเน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง โดยส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือระหว่างคนหลายกลุ่ม รวมทั้งผู้บริโภค (Co-creation) เพื่อการออกแบบและผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งอาศัยเครือข่ายสังคมมาเป็นกลไกเชื่อมโยงกลุ่มบุคคลเหล่านี้เข้าด้วยกัน ทำให้แนวคิดที่ให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการมีความเป็นไปได้สูง ประหยัดและได้ผลรวดเร็ว [เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ] |
Fibers, Root, Ascending | เส้นใยประสาทรับความรู้สึกที่มุ่งขึ้นข้างบน [การแพทย์] |
ความคับข้องใจ | ความคับข้องใจ, สภาพทางจิตใจหรือความรู้สึกที่เป็นผลสืบเนื่องอันได้แก่ ความหงุดหงิด กระวนกระวายใจ กลุ้มใจ สิ่งเหล่านี้มาจากความปรารถนาที่บุคคลมุ่งหวัง แต่ถูกขัดขวาง ทำให้ลดแรงจูงใจ บั่นทอนอิทธิพลความพยายาม ไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย ไม่ตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ด้วยอุปสรร [สุขภาพจิต] |
intensive agriculture | intensive agriculture, การเกษตรมุ่งเน้น [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
intensive farming | intensive farming, การทำไร่นาแบบมุ่งเน้น [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
descriptive statistics | สถิติเชิงพรรณนา, การวิเคราะห์ขั้นต้นที่มุ่งวิเคราะห์เพื่ออธิบายลักษณะกว้าง ๆ ของข้อมูลชุดนั้น โดยวิธีการสรุปข้อมูลแต่ละชุดที่สนใจ จากการวัดค่าสถิติ และนำเสนอผลสรุป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Level of Aspiration | ระดับความมุ่งหวัง, ระดับของความมุ่งหวัง [การแพทย์] |
Movement, Purposeless | การขยับแขนขาอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย, การเคลื่อนไหวอย่างไม่มีจุดประสงค์, การเคลื่อนไหวโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
จุดมุ่งหมาย | [jutmungmāi] (v) EN: aim ; purpose ; intention ; objective ; goal FR: objectif [ m ] ; but [ m ] ; intention [ f ] |
กางมุ้ง | [kāng mung] (v, exp) EN: hang up a mosquito net ; draw a mosquito curtain FR: dresser une moustiquaire ; mettre la moustiquaire |
กางมุ้งรอ | [kāng mung rø] (v, exp) EN: sit twiddling one's thumbs FR: poireauter (fam.) |
ความมุ่งหมาย | [khwām mungmāi] (n) EN: goal ; aim ; purpose ; object ; spirit FR: objectif [ m ] ; but [ m ] ; esprit [ m ] ] |
ไม่มุ่งหาผลกำไร | [mai mung hā phonkamrai] (adj) EN: charitable ; non-profit |
มุ่ง | [mung] (v) EN: be bound for ; intend ; aim at ; advance towards ; go to ; target FR: viser ; se focaliser sur ; se diriger vers ; tendre vers ; se destiner à |
มุ้ง | [mung] (n) EN: mosquito net FR: moustiquaire [ f ] |
มุ้งลวด | [mung lūat] (n, exp) EN: mosquito wire screen FR: moustiquaire métallique [ f ] |
มุ่งหมาย | [mungmāi] (v) EN: aim at ; intend ; mean ; desire ; endeavour ; set one's sights on FR: viser ; ambitionner |
มุ่งมั่น | [mungman] (v) EN: be engrossed in ; immerse oneself ; be absorbed in ; be concentrated in ; be up to the eyes in ; work hard FR: s'entêter ; s'obstiner |
มุ่งหน้า | [mungnā] (v) EN: head for ; head towards ; move towards ; go forward ; be bound for ; march ahead FR: se diriger vers |
มุ่งหน้า | [mungnā] (v) EN: aim ; intend ; mean ; attempt ; endeavour ; strive ; try |
มุ่งหวัง | [mungwang] (v) EN: expect ; anticipate ; hope for FR: escompter ; compter sur |
Longdo Approved EN-TH
willful | (adj) มุ่งมั่น, อย่างตั้งใจ เช่น For example, if your neighbor builds an ugly new fence and you intentionally run it down with your truck, that's a willful tort., I want you to understand that what I hate is willful ignorance. |
zero in on | (verb, phrase) เน้นที่, มุ่งประเด็นไปที่ เช่น Scientists zero in on pancreatic cancer genes., Syn. focus on |
RWY | (abbrev) อักษรย่อของ runway ทางวิ่งของเครื่องบิน โดยทั่วไปแล้วจะมีตัวเลข 2 หลักแสดงต่อทางด้านหลังเพื่อแสดงทิศที่มุ่งไป, See also: TWY |
homoeopathy | [โฮมีโอพาธี] (n) การบำบัดแบบโฮมีโอพาธีมีแนวคิดหรือปรัชญาพื้นฐานในการทำความเข้าใจร่างกายมนุษย์ที่แตกต่างจากระบบการแพทย์แผนปัจจุบันโดยสิ้นเชิง การมองร่างกายและจิตใจของ ผู้ป่วยจะไม่ได้มองเป็นอวัยวะที่แยกส่วนออกจากกัน แต่จะมองร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นภาพรวมเดียวกัน ดังนั้นก่อนที่จะบำบัดผู้ป่วยจะต้องมีการสัมภาษณ์และคุยกับผู้ป่วยในเรื่องของลักษณะทั่วไป บุคลิกภาพ ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว อารมณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม อาหาร อากาศ ฯลฯ รวมทั้งอาการของโรคด้วย นักบำบัด (practitioner) จะต้องนำคำตอบทั้งหมดมาประมวลและสรุปเป็นภาพรวมโดยเรียกว่า “ภาพของอาการ” (symtom picture)ดังนั้นการประเมินประสิทธิภาพของการบำบัดจึงไม่ควรใช้กรอบและแนวคิดของระบบการแพทย์แผนปัจจุบันประเมินแต่เพียงอย่างเดียว ควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีด้วย โดยสรุปแล้วการบำบัดแบบโฮมีโอพาธีจัดเป็นศาสตร์การรักษาสุขภาพแบบองค์รวมที่เน้นเรื่องการปรับสมดุลสารชีวเคมีและพลังไหลเวียนภายในร่างกาย การให้ยาเป็นไปเพียงเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการปรับสมดุลด้วยกลไกตามธรรมชาติของร่างกายเอง ไม่ได้มุ่งหมายให้ยาไปขจัดหรือทำลายกลไกของร่างกายหรือสารที่ก่อให้เกิดอาการป่วย รวมทั้งไม่ได้มุ่งหมายที่จะขจัดสิ่งมีชีวิตใด ๆ ออกจากร่างกายด้วย |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
abortion | (n) ความล้มเหลว, See also: ความไม่สำเร็จ, ความไม่สามารถไปถึงจุดมุ่งหมาย, Syn. failure, disaster |
adhere | (vi) ยึดมั่น, See also: ตั้งมั่น, มุ่งมั่น |
aim | (n) ความตั้งใจ, See also: จุดหมาย, จุดประสงค์, วัตถุประสงค์, เป้าหมาย, จุดมุ่งหมาย, Syn. object, plan, purpose |
aim | (vt) ตั้งเป้า, See also: มุ่งเป้า |
aim | (vi) ตั้งเป้า, See also: เล็งเป้าหมาย, มุ่งเป้า |
ambition | (n) จุดมุ่งหมาย, See also: เป้าหมาย, Syn. gold, end |
aspiration | (n) ความทะเยอทะยาน, See also: ความมักใหญ่ใฝ่สูง, ความมุ่งมาดปรารถนา, ความทะยานอยาก, Syn. eagerness, yearning, ambition |
advance to | (phrv) มาถึง, See also: ไปถึง, มุ่งสู่ |
advance towards | (phrv) มุ่งหน้าสู่, See also: มุ่งสู่ |
aim at | (phrv) มุ่งหมายเพื่อ, See also: มุ่งไปยัง, มุ่งมั่นเพื่อ, Syn. drive at, drive for |
aim for | (phrv) พยายามเพื่อ, See also: มุ่งมั่นเพื่อ |
aspire after | (phrv) อยากมี, See also: ต้องการ, ปรารถนาที่จะ, มุ่งที่จะเป็น, แสวงหา, Syn. aspire to |
aspire to | (phrv) อยากมี, See also: ต้องการ, ปรารถนาที่จะ, มุ่งที่จะเป็น, แสวงหา, Syn. aspire after |
at cross purposes | (idm) (มุ่ง) คนละทาง, See also: มุ่ง คนละเรื่อง |
baleful | (adj) มุ่งร้ายหรือร้ายกาจ, See also: ทำให้เกิดอันตราย, Syn. baleful, baneful, harmful |
battle | (vi) ดิ้นรนต่อสู้, See also: มุ่งมั่นฝ่าฟัน, Syn. strive |
bear | (vi) มุ่งหน้าไปทางใดทางหนึ่ง, See also: บ่ายหน้า, Syn. veer, turn |
blitz | (n) ความพยายามอย่างมุ่งมั่นที่จะทำบางสิ่งให้สำเร็จ (ภาษาไม่เป็นทางการ) |
bound | (vi) มุ่งหน้า, See also: มุ่ง, ตรงไปยัง |
be at | (phrv) มุ่งหมายที่จะ, See also: ตั้งเป้าเพื่อ, มุ่งมั่นที่จะ, Syn. drive at, get at |
be out for | (phrv) มุ่งมั่นเพื่อ, See also: พยายามเพื่อ, Syn. go out |
be set to do something | (idm) ตั้งใจทำ, See also: มุ่งมั่น |
bend on | (phrv) มุ่งมั่นในเรื่อง, See also: ตั้งใจมั่นกับ, แน่วแน่ในเรื่อง |
bend upon | (phrv) มุ่งมั่นในเรื่อง, See also: ตั้งใจมั่นกับ, แน่วแน่ในเรื่อง, Syn. bend on |
by the sweat of one's brow | (idm) ด้วยความพยายาม, See also: ด้วยความมุ่งมั่น |
center | (vt) มุ่งความสนใจไปยัง, Syn. concentrate, focus |
centre | (vt) มุ่งความสนใจไปยัง, Syn. concentrate, focus |
channel | (vt) มุ่งไปยัง, See also: ใช้ไปในทาง, Syn. direct |
concenter | (vt) มุ่งความสนใจไปยัง, Syn. concentrate, converge |
concenter | (vi) มุ่งความสนใจไปยัง |
concentration | (n) การมุ่งไปยังศูนย์กลาง |
consuming | (adj) แรงกล้า, See also: ซึ่งมุ่งมั่น, แรง, อย่างแรง |
carry forward | (phrv) ทำให้เดินหน้าต่อไป, See also: มุ่งหน้าทำต่อไป |
center in | (phrv) มีจุดสำคัญอยู่ที่, See also: รวมอยู่ที่, มุ่งไปที่, Syn. centre in |
center on | (phrv) รวมอยู่ที่, See also: มุ่งไปที่, Syn. centre on, centre round, centre upon |
center round | (phrv) รวมอยู่ที่, See also: มุ่งไปที่, Syn. center on |
center upon | (phrv) รวมอยู่ที่, See also: มุ่งไปที่, Syn. center on |
centre in | (phrv) มีจุดสำคัญอยู่ที่, See also: รวมอยู่ที่, มุ่งไปที่, Syn. center in |
centre on | (phrv) รวมอยู่ที่, See also: มุ่งไปที่, Syn. center on, center round, center upon |
centre round | (phrv) รวมอยู่ที่, See also: มุ่งไปที่, Syn. centre on |
centre upon | (phrv) รวมอยู่ที่, See also: มุ่งไปที่, Syn. centre on |
concentrate at | (phrv) มุ่งไปที่, See also: เพ่งเล็งไปที่ |
concentrate on | (phrv) รวมรวมไปที่, See also: มุ่งไปที่, รวมศูนย์ไปที่, Syn. concentrate upon, focus on |
concentrate upon | (phrv) รวมรวมไปที่, See also: มุ่งไปที่, รวมศูนย์ไปที่, Syn. concentrate on, focus on |
converge on | (phrv) บรรจบกันที่, See also: มุ่งไปที่ |
dead ahead | (idm) ตรงไปข้างหน้า, See also: มุ่งไปข้างหน้า |
dig in one's heels | (idm) ดื้อรั้น, See also: มุ่งมั่น, ไม่ยอมเปลี่ยนใจ |
dig one's heels in | (idm) ดื้อรั้น, See also: มุ่งมั่น, ไม่ยอมเปลี่ยนใจ |
direct to | (phrv) มุ่งหมายเพื่อ, See also: ทำเพื่อ, Syn. direct towards |
drink at | (phrv) พยายามมุ่งที่, See also: ตั้งใจทำเพื่อ, Syn. aim at |
Hope Dictionary
aim | (เอม) vt., vi., n. เล็ง, เข้าหา, มุ่งหมาย, จุดประสงค์, ความมุ่งหมาย, การเล็งเป้า. -aimer n. -aimful adj -aimless adj. -aimlessness n., Syn. mark, goal, aspiration |
anticipate | (แอนทิส' ซะเพท) vt. คาด, มุ่งหวัง, ทำนาย, ลงมือกระทำการก่อน, ตัดบท, ใช้สอยล่วงหน้า, บังเกิดล่วงหน้า. -anticipator n., |
baleful | (เบล'ฟูล) adj. มุ่งร้าย, ร้ายกาจ, ชั่วร้าย, Syn. evil, sinister, Ant. good |
belligerent | (บะลิจ'เจอเรินทฺ) adj. ชอบสงคราม, ทำสงคราม, มุ่งร้าย, ก่อสงคราม n. ภาวะสงคราม, ฝ่ายที่เข้าทำสงคราม, Syn. pugnacious, Ant. pacific |
black | (แบลค) { blacked, blacking, blacks } adj. ด่า, สีดำ, สวมเสื้อสีดำ, เกี่ยวกับนิโกร, เปื้อน, ผิวดำ, มุ่งร้าย, เป็นอันตราย, แห้งแล้ง, มลทิน, ด่างพร้อย, มืดมน, นิโกร, อารมณ์เสีย, ไม่ใส่ครีม (กาแฟ) n. คนผิวดำ, จุดดำ, เครื่องดำ, เครื่องไว้ทุกข์, ตาฟกช้ำ, สารสีดำ, ม้าดำ, เสื้อสีดำ vt. ท |
bone | (โบน) { boned, boning, bones } n. กระดูก vt. เอากระดูกออก vi. มุ่งเรียนอย่างหนัก -Phr. (bone of connection เรื่องที่ทะเลาะกัน) |
contemplate | (คอน'เทมเพลท) v. ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, มุ่งหมาย, เข้าญาน, See also: contemplator n. |
contemplation | (คอนเทมเพล'เชิน) n. การใคร่ครวญ, การไตร่ตรอง, การพิจารณาอย่างระมัดระวัง, เจตนา, ความมุ่งหมาย, การอธิษฐาน, การเข้าญาน, Syn. thought |
design | (ดิไซนฺ') v. ออกแบบ, วางแผน, มุ่งหมาย, คิด, กำหนด, ประสงค์., See also: designed adj. n. แบบ |
despiteful | (ดิสไพทฺ'ฟูล) adj. มุ่งร้าย, อาฆาตแค้น, See also: despitefulness n. |
despiteous | (ดิสพิท'เทียส) adj. มุ่งร้าย, มีเจตนาร้าย, Syn. malicious |
destination | (เดสทะเน'เชิน) n. จุดหมายปลายทาง, จุดมุ่งหมาย, Syn. objective |
direct | (ดิเรคทฺ', ไดเรคทฺ') v. ชี้ทาง, นำทาง, ชี้แนว, แนะแนว, ควบคุม, อำนวยการ, บัญชาการ, จ่าหน้าซอง, มุ่งส่ง, เล็ง, บ่าย adj., adv. โดยตรง, เปิดเผย, แน่นอน, เด็ดขาด, See also: directness n., Syn. control, straight, candid |
direction | (ดิเรค'เชิน, ไดเรค'เชิน) n.การชี้ทาง, ทิศทาง, การบัญชา, การควบคุม, การเล็ง, การจ่าหน้าซอง, การมุ่งหมาย, ชื่อและตำบลที่อยู่ของผู้รับ, Syn. way, aim |
drive | (ไดรฟว) { drove, driving, drives } vt. ขับ, ขับไล่, ไล่, ผลัก, ไส, ผลักดัน, ขับขี่, ต้อน (สัตว์เลี้ยง) , ลอย (ซุง) vi. แล่น, พุ่ง, ขับรถ, ตี (ลูกกอล์ฟ, ตะปู) , มุ่งหมาย n. การขับ, การขับขี่, ทางรถ, สัตว์ที่ไล่ตาม, สัตว์ (ที่ต้อน) , การรุกทางทหาร, พลังงาน, แรงกระตุ้น, กลไกในการขับ, หน่วยขับหน่วยบันทึกไดร์ฟ <คำอ่าน>อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่อ่านและบันทึกข้อมูล เช่น หน่วยขับแถบบันทึก (tape drive) หน่วยขับจานบันทึก (disk drive) |
hellbent | (เฮล'เบนทฺ) adj. ดื้อรั้น, มุ่งหน้าอย่างไม่ยอมกลับ |
ill | (อิล) adj., adv. ไม่สบาย, ป่วย, เป็นโรค, เลว, ชั่ว, น่ารังเกียจ, ไม่เหมาะสม, ยุ่งยาก, ไม่ชำนาญ, มุ่งร้าย. n. ความเลว, ผลร้าย, อันตราย, โชคร้าย, บาดเจ็บ, โรคบาป., See also: illilly adv., Syn. sick, evil, harm |
ill will | ความมุ่งร้าย, เจตนาร้าย, ความเป็นปฏิปักษ์, Syn. animosity |
ill-feeling | (อิลฟิล'ลิง) adj. มุ่งร้าย, มีเจตนาไม่ดี, มีใจเป็นปฏิปักษ์, Syn. ugly |
intend | (อินเทนดฺ') vt., vi. ตั้งใจ, ปรารถนา, มีเจตนา, มุ่งหมาย, มีความหมาย., See also: intender n., Syn. propose |
intended | (อินเทน'ดิด) adj. ซึ่งมีเจตนา, ตั้งใจว่า, มุ่งหมายไว้, หมั้นหมาย. n. คู่หมั้น. |
intent | (อินเทนทฺ') n. เจตนา, ความตั้งใจ, ความมุ่งหมาย, จุดประสงค์, ความหมาย, ความสำคัญ. adj. ยึดมั่น, แน่วแน่, มุ่งหมายไว้, ตั้งใจไว้., See also: intently adv. intentness n., Syn. intention |
intention | (อินเทน'เชิน) n. เจตนา, ความตั้งใจ, เป้าหมาย, See also: intentional adj. ซึ่งมีเจตนาเกี่ยวกับความตั้งใจ ความมุ่งหมาย, เป้าหมาย |
landward | (แลนดฺ'เวิร์ด) adv. เข้าหาแผ่นดิน adj. มุ่งสู่แผ่นดิน, See also: landwards adj. |
lay | (เล) { laid, laid, laying, lays } vt. วาง, ปู, พาด, ลาด, ปู, ปล่อย, ทา, ตีแผ่น, เผยแพร่, นำเสนอ, ฝัง, ลงราก, กำหนด, ตั้ง, วางแผน, วางโครง, ออกไข่, ทิ้งระเบิด, กำหนดโทษ, วางเดิมพัน, พนัน, กะ, วัด, กด, ระงับ, บรรเทา, มุ่งหมาย, เล็งปืน vi. วางไข่, ออกไข่, พนัน, วางเดิมพัน, ขันต่อ, วางโครงการ, นอ |
malevolent | (มะเลฟ'ะเลินทฺ) adj. มุ่งร้าย, เป็นอันตราย, ชั่ว, เลว, เป็นภัย, See also: malevolently adv., Syn. hostile |
malice | (แมล'ลิสฺ) n. ความมุ่งร้าย, การผูกพยาบาท, ความจองร้าย |
malicious | (มะลิช'เชิส) adj. มุ่งร้าย, ปองร้าย, มุ่งร้าย, ผูกพยาบาท., See also: maliciously adv. maliciousness n. |
malignancy | (มะลิก'เนินซี) n. ความมุ่งร้าย, การกล่าวร้าย, การกล่าวหา, การทำให้เสียชื่อเสียง, ความร้าย, การมีภัยร้ายแรง |
malignity | (มะลิก'นิที) n. ความร้าย, การมีอันตรายมาก, ความมุ่งร้าย, การกระทำที่ประสงค์ร้าย, Syn. malice |
mark | (มาร์ค) n. คะแนน, เครื่องหมาย, หมาย, แกงได, รอย, จุด, แต้ม, เป้า, เป้าหมาย, สัญลักษณ์, มาตรฐาน, ความสำคัญ, ชื่อเสียง, เส้นเริ่มออกวิ่ง, พรมแดน, หน่วยเงินตราของเยอรมน vt. ทำเครื่องหมาย, ทำรอย, ทำให้เป็นแผลเป็น, เป็นมลทิน, ทำให้เป็นจุด, ชัด, กะ, แสดงให้ปรากฎชัด, เพ่งเล็ง, มุ่งหมาย, บันทึก, ระวัง, สังเกต |
mean | (มีน) vt. มุ่งหมาย, มีเจตนา, ตั้งใจ, หมายถึง, ทำให้เกิดขึ้น, นำมาซึ่ง, มีความหมายต่อ, มีความสำคัญต่อ. vi. ตั้งใจ, มุ่งหมาย adj. ต่ำต้อย, ชั้นต่ำ, ไม่สำคัญ, ถ่อย, สกปรก, เลว, ใจแคบ, ขี้เหนียว, เห็นแก่ตัว, สร้างความเดือดร้อน, ร้าย, เชี่ยวชาญ, ประทับใจ, ระหว่างกลาง, โดยเฉลี่ย n. ค่าเฉลี่ย |
meaning | (มีน'นิง) n. ความหมาย, จุดประสงค์, ความสำคัญ. adj. มีความหมาย, มุ่งหมายไว้, ตั้งใจไว้., See also: meaningly adv. |
meditate | (เมด'ดิเทท) vi. คิดคะนึง, ไตร่ตรอง, เพ่งพิจารณาดู, มุ่งหมาย, เข้าฌาน. vt. มุ่งหมาย, วางแผน., See also: meditatingly adv. meditator n., Syn. intend |
meditation | (เมดดิเท'เชิน) n. การคิดคะนึง, การไตร่ตรอง, การเพ่งพิจารณาดู, การมุ่งหมาย, การเข้าฌาน, Syn. contemplation, pondering |
meditative | (เมดดิ ดิเททิฟว) adj. ซึ่งไตร่ตรอง, ซึ่งเพ่งพิจารณา, ซึ่งมุ่งหมาย., See also: meditativeness n., Syn. contemplative |
occupy | (ออค'คิวไพ) vt. ครอบครอง, ยึดครอง, ครอง, ใช้เวลา, มุ่งมั่น, ยุ่งอยู่, อาศัยอยู่, มีถิ่นที่อยู่, Syn. seize |
otherworldly | (อัธ'เธอะเวิร์ลลี) adj. เกี่ยวกับ (โลกอื่น, โลกหน้า, ชาติหน้า) , ซึ่งมุ่งทางจิต., See also: otherworldliness n. |
presentation graphics | ภาพเพื่อการนำเสนอหมายถึง ซอฟต์แวร์ประเภทที่มุ่งไปในด้านการนำเสนอผลงานที่ชวนให้ประทับใจ โดยเฉพาะ เพื่อนำไปใช้ประกอบการบรรยาย หรืองานประชาสัมพันธ์ เป็นต้นว่า จะต้องสามารถแปลงตัวเลขใน ตารางจัดการ เป็นผังงาน กราฟ ฯ แล้วสามารถนำข้อความ ภาพ และเสียง หรือที่เรียกว่า สื่อหลายแบบ (multimedia) มาจัดเสนอในรูปแบบที่จะดึงดูดใจให้ดูน่าเชื่อถือ กับทั้งอาจจัดทำเป็น สไลด์ หรือแสดงบนจอภาพแล้วถ่ายทอดออกทางเครื่องฉายข้ามศีรษะ (overhead projector) ได้ นับเป็นการแสดงถึงเทคโนโลยีชั้นสูงอย่างหนึ่ง โปรแกรมที่ใช้กันมาก ก็มี Freelance, HiJack ฯ |
preventive maintenance | การบำรุงรักษาเชิงป้องกันหมายถึง แผนงานการบริการการบำรุงรักษา ซึ่งมุ่งเป้าไปถึงการป้องกันไม่ให้เครื่องเสีย การบำรุงรักษานั้น รวมตั้งแต่ การทำความสะอาดเครื่องเป็นระยะ ๆ การตรวจสอบ หรือคอยดูแลเปลี่ยนอุปกรณ์ หรือวงจรที่จะครบอายุการใช้งานทุกระยะด้วย |
purpose | (เพอ'เพิส) n. วัตถุประสงค์, ความมุ่งประสงค์, เป้าหมาย, ความมุ่งหมาย, ผล, ผลประ-โยชน์, เจตนา, vt. มุ่งประสงค์, ประสงค์, ตั้งเป้าหมาย, มีเจตนา, ตั้งใจเด็ดเดี่ยว. vi. มุ่งประสงค์., See also: purposeful adj. purposely adj., Syn. inte |
sake | (เซค) n. ผลประโยชน์, ความเห็นแก่.....วัตถุประสงค์, จุดมุ่งหมาย, มูลเหตุ, เหตุ, เหล้าสาเกของญี่ปุ่นทำจากข้าว., Syn. motive, purpose, aim |
scatterbrained | adj. ไม่รอบคอบ, เลินเล่อ, ประมาท, มีจิตใจที่ไม่มุ่งมั่น |
seaward | (ซี'เวิร์ด) adv. สู่ทะเล, ไปยังทะเล adj. หันไปทางทะเล, มุ่งไปทางทะเล, มาจากทะเล. n. ทิศทางสู่ทะเล, ทิศทางจากแผ่นดิน |
self-centered | (เซลฟฺ'เซนเทิร์ด) adj. คำนึงถึงตัวเอง, มุ่งแต่ตัวเอง, เห็นแก่ตัว, ถือเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง, Syn. self-important, selfish, conceited |
self-centred | (เซลฟฺ'เซนเทิร์ด) adj. คำนึงถึงตัวเอง, มุ่งแต่ตัวเอง, เห็นแก่ตัว, ถือเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง, Syn. self-important, selfish, conceited |
settle | (เซท'เทิล) vt., vi. จัด, จัดการ, วาง, จ่ายเงิน, ชำระ, ปิดบัญชี, อพยพเข้า, ตั้งรกราก, ตั้งหลักฐาน, ทำให้สงบ, ทำให้มั่นคง, ทำให้ค่อย ๆ จมลง, ขจัดให้เสร็จสิ้น, ตัดสินใจ, จัดการ, ตกลง, พัก, นอนก้น -Phr. (settle down ตั้งรกราก, ตั้งถิ่นฐาน, สงบใจ เงียบสงบ มีจิตมุ่งมั่น) |
sharpshooter | (ชาร์พ'ชูทเทอะ) n. นักแม่นปืน, มือปืน, ผู้เชี่ยวชาญในการยิงปืน, นักธุรกิจผู้มุ่งผลกำไรเร็ว., See also: sharpshooting n. |
shrewd | (ชรูด) adj. เฉียบแหลม, หลักแหลม, เฉลียวฉลาด, ว่องไว, ร้ายแรง, มุ่งร้าย., See also: shrewdness n., Syn. cunning, knowing, keen, sharp |
shylock | (ชาย'ลอค) n. ผู้ให้กู้ยืมเงินที่มุ่งร้าย, พ่อค้าขูดเลือด, ผู้ให้กู้ยืมเงินที่ขูดเลือด |
Nontri Dictionary
aim | (n) การเล็ง, จุดประสงค์, จุดมุ่งหมาย |
aim | (vi) เล็ง, เพ่ง, มุ่งหมาย |
anticipate | (vt) คาดหมาย, มุ่งหวัง, ชิงทำ, ทำล่วงหน้า |
anticipation | (n) ความคาดหมาย, ความมุ่งหวัง, การทำล่วงหน้า |
design | (vt) ออกแบบ, คิด, กำหนด, เตรียมแผนการ, มุ่งหมาย, เจตนา |
despiteful | (adj) ซึ่งพยาบาท, ซึ่งอาฆาต, ซึ่งมุ่งร้าย |
destination | (n) จุดหมายปลายทาง, จุดมุ่งหมาย, เป้าหมาย |
direct | (vt) มุ่ง, นำ, ชี้ทาง, ชี้แนว, เพ่งเล็ง, บัญชา, สั่ง, ควบคุม, บ่าย |
earnestness | (n) ความเอาจริงเอาจัง, ความจริงจัง, ความตั้งใจจริง, ความมุ่งมั่น |
head | (vi) มุ่งหน้าไปทาง, บ่ายหน้าไปยัง, ออกเดินทาง |
hostile | (adj) เป็นศัตรู, มุ่งร้าย, เกลียดชัง, ไม่เป็นมิตร |
hostility | (n) ความเป็นศัตรู, ความไม่เป็นมิตร, ความมุ่งร้าย, ความเกลียดชัง |
ILL ill will | (n) ความเป็นศัตรู, ความไม่จริงใจ, ความมุ่งร้าย |
intend | (vi, vt) ตั้งใจ, มุ่งหมาย, เจตนา, ปรารถนา |
intent | (vt) ตั้งใจ, เจตนา, มุ่งมั่น, จดจ่อ, ขะมักเขม้น |
intention | (n) ความตั้งใจ, เจตนา, ความมุ่งหมาย |
landward | (adj) เข้าหาฝั่ง, มุ่งสู่ฝั่ง, หันเข้าฝั่ง |
landward | (adv) เข้าหาฝั่ง, มุ่งสู่ฝั่ง, ลึกเข้าไปในแผ่นดิน |
landwards | (adj) เข้าหาฝั่ง, มุ่งสู่ฝั่ง, หันเข้าฝั่ง |
landwards | (adv) เข้าหาฝั่ง, มุ่งสู่ฝั่ง, ลึกเข้าไปในแผ่นดิน |
malevolence | (n) ความมุ่งร้าย, การให้ร้าย, การคิดร้าย |
malevolent | (adj) ซึ่งมุ่งร้าย, ซึ่งให้ร้าย, ซึ่งคิดร้าย |
malice | (n) ความมุ่งร้าย, การปองร้าย, การผูกพยาบาท |
malicious | (adj) ซึ่งมุ่งร้าย, ซึ่งปองร้าย, ที่ผูกพยาบาท |
malign | (adj) มุ่งร้าย, ร้ายกาจ, เป็นภัย |
malignity | (n) ความมุ่งร้าย, ความร้ายกาจ, การใส่ร้าย |
meaning | (adj) มีความหมาย, ตั้งใจ, มุ่งหมาย, มีเจตนา |
objective | (n) วัตถุประสงค์, จุดมุ่งหมาย, เป้าหมาย, ที่หมาย |
onward | (adj) ก้าวหน้า, ต่อไปข้างหน้า, ต่อมา, มุ่งหน้าไป |
onward | (adv) ต่อไปข้างหน้า, มุ่งหน้าไป, ก้าวหน้า, ต่อมา |
onwards | (adv) ต่อไปข้างหน้า, มุ่งหน้าไป, ก้าวหน้า, ต่อมา |
purposely | (adv) โดยเจตนา, โดยมีจุดมุ่งหมาย, โดยมีเป้าหมาย |
sinister | (adj) อัปรีย์, มุ่งร้าย, น่าขนลุก, น่ากลัว, ร้ายกาจ |
spirit | (n) ผี, จิตใจ, กำลังใจ, ความกล้า, วิญญาณ, อารมณ์, ความมุ่งมั่น |
spite | (n) ความุ่งร้าย, ความโกรธเคือง, ความอาฆาตแค้น |
spiteful | (adj) มุ่งร้าย, อาฆาตแค้น, มีเจตนาร้าย |
splenetic | (adj) เกี่ยวกับม้าม, ซึ่งมุ่งร้าย, ขุ่นเคือง |
steer | (vi, vt) คัดท้าย, ถือท้าย, ถือหางเสือ, เลี้ยว, มุ่ง, บ่ายหน้า |
strive | (vi) มุ่งมั่น, พยายาม, ต่อสู้, ดิ้นรน, ฝ่าฟัน |
target | (n) เป้า, โล่กลม, จุดมุ่งหมาย |
unfriendly | (adj) ไม่เป็นมิตร, มุ่งร้าย |
venom | (n) พิษ, ความเคียดแค้น, ความชิงชัง, ความมุ่งร้าย |
venomous | (adj) มีพิษ, เป็นพิษ, มุ่งร้าย, ชั่วร้าย |
willing | (adj) เต็มใจ, สมัครใจ, ใจมุ่ง, ตั้งใจ |
wish | (vi) ประสงค์, อวยพร, ปรารถนา, อยาก, มุ่งหวัง |
wreak | (vt) แสดงออกมา, ระบายความโกรธ, มุ่งร้าย, ทำโทษ, แก้แค้น |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
biosecurity | ความปลอดภัยทางชีวะภาพ ความหมาย มาตรการที่มุ่งป้องกันการนำเข้าและ/หรือการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายไปยังสัตว์และพืช เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ ในการเกษตร มาตรการเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การปกป้องพืชผลอาหารและปศุสัตว์จากศัตรูพืช ชนิดพันธุ์ที่รุกราน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ |
biosecurity | ความปลอดภัยทางชีวะภาพ ความหมาย มาตรการที่มุ่งป้องกันการนำเข้าและ/หรือการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายไปยังสัตว์และพืช เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ ในการเกษตร มาตรการเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การปกป้องพืชผลอาหารและปศุสัตว์จากศัตรูพืช ชนิดพันธุ์ที่รุกราน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ |
biosecurity | ความปลอดภัยทางชีวะภาพ ความหมาย มาตรการที่มุ่งป้องกันการนำเข้าและ/หรือการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายไปยังสัตว์และพืช เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ ในการเกษตร มาตรการเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การปกป้องพืชผลอาหารและปศุสัตว์จากศัตรูพืช ชนิดพันธุ์ที่รุกราน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ |
perv | (n) คนที่มุ่งแต่เรื่องในกาม, บ้ากาม |
prospective | ที่มุ่งหวัง |
revolve around | มุ่งไปที่, focus on |
synlynn | [ซินลินน์] ผู้ที่มีความมุ่งมั่น, ผู้มีเจตจำนงค์, ผู้ไม่ย่อท้อ |
Longdo Approved JP-TH
向かう | [むかう, mukau] (vt) มุ่งไป |
目指す | [めざす, mezasu] (vt) มุ่งไป |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
一心 | [いっしん, isshin] ใจดวงเดียวกัน , จิตใจมุ่งมั่น |
目安 | [めやく, meyaku] (n) เป้าหมาย, จุดมุ่งหมาย |
意思 | [いし, ishi] ความมุ่งหมาย ความประสงค์ |
目安 | [めやす, meyasu] (n) เกณฑ์ บรรทัดฐาน จุดประสงค์ ความมุ่งหมาย คร่าว ๆ |
期待 | [きたい, kitai] (n) ความมุ่งหวัง, การคาดหวัง |
Longdo Approved DE-TH
verschwommen | (adj, adv) เลือนลาง, ไม่แน่ชัด, ไม่มุ่งหมาย, See also: A. klar, gezielt, deutlich |
gegen | ตรงไปที่(เป็นคำบุพบทใช้บ่งทิศทางที่มุ่งไป) |
die Ellbogen einsetzen | (phrase) ไม่คำนึงถึงบุคคลอื่นในยามที่ต้องการจะทำอะไรให้บรรลุจุดมุ่งหมาย, Syn. die Ellbogen gebrauchen |
die Ellbogen gebrauchen | (phrase) ไม่คำนึงถึงบุคคลอื่นในยามที่ต้องการจะทำอะไรให้บรรลุจุดมุ่งหมาย, Syn. die Ellbogen einsetzen |
sakral | (adj) ที่มาจากเหตุผลทางศาสนา, ที่มีจุดมุ่งหมายทางศาสนา เช่น ein sakraler Gesang, See also: A. weltlich, profan, Syn. heilig |
gGmbH | มาจากคำว่า gemeinnützige GmbH ซึ่งหมายถึงบริษัทจำกัด"ที่ไม่มุ่งหวังกำไร", See also: GmbH |
Longdo Unapproved DE-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
*nblick { m }; Ansicht { f }; Sicht { f }; Blick { m }; Aus* | n. ภาพ, ทิวทัศน์, ทัศนวิสัย, ทรรศนะ, สายตา, การมอง, การสังเกต, ข้อคิดเห็น, ทัศนคติ, จุดประสงค์, เจตนา, จุดมุ่งหมาย, การสำรวจทั่วไป, -Phr. (in view ภายในแนวสายตา ภายใต้การพิจารณา) -Phr. (in view of เมื่อพิจารณาถึงในเรื่องเกี่ยวกับ) vt. ดู, มอง, สังเกต, สำรวจ, ตรวจสอบ |
Longdo Approved FR-TH
approcher | (vi) ใกล้เข้ามา, กระชั้นชิดเข้ามา เช่น 1° appprocher du but = ใกล้ถึงจุดมุ่งหมาย 2° le printemps approche = ฤดูใบไม้ผลิใกล้เข้ามาแล้ว 3° la nuit approche = จวนจะมืดแล้ว |
fin, -s | (n) la, = ตอนจบ, ตอนสุดท้าย , (but)จุดมุ่งหมาย, ความตั้งใจ, เป้าหมาย เช่น à la fin mai = ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม , sans fin = ไม่มีที่สิ้นสุด, ไม่จบสิ้น, Ant. début, commencement |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 1.5419 seconds, cache age: 7.121 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม