ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

library classification

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -library classification-, *library classification*
(เนื่องจากผลลัพธ์จากการค้นหา library classification มีน้อย ระบบได้ทดลองค้นหาใหม่โดยใส่ดอกจันทน์ (wild-card) ให้โดยอัตโนมัติ: *library classification*)
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Library classificationการจัดหมู่หนังสือ, Example: เดิมห้องสมุดส่วนใหญ่จัดเก็บหนังสือ ตามขนาดของหนังสือ ตามสีของปก หรือตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือ ต่อมา ได้มีผู้คิดระบบจัดหมู่หนังสือขึ้น โดยแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ โดยมีพัฒนาการ ดังนี้ <p> <p>1. สมัยโบราณ <p><p> 1.1 ชาวอัสซีเรียน เชื่อกันว่า ชาวอัสซีเรียนเป็นพวกที่เริ่มวิธีการจัดหมู่อย่างเป็นแบบแผน ในสมัยพระเจ้าอัสซูบานิปาล มีการจัดกลุ่มแท่งดินเหนียวในห้องสมุดแห่งเมืองนิเนเวห์ออกเป็น 2 หมวดใหญ่แบ่งตามเนื้อเรื่อง คือ เรื่องราวทางโลก และ เรื่องราวทางสวรรค์ <p><p> 1.2 ชาวโรมัน ห้องสมุดในสมัยโรมัน มีการแบ่งแยกหนังสือตามประเภทของผู้เขียน เป็น 2 หมวด คือ หนังสือของพวกนักเขียนนอกศาสนา และหนังสือของพวกนักเขียนที่นับถือศาสนาคริสต์หรือนักบวช <p><p> 1.3 ชาวอียิปต์ คัลลิมาคัส ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ของห้องสมุดอเล็กซานเดรีย จัดแบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่ คือ กวีนิพนธ์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา วาทศิลป์ และเบ็ดเตล็ด <p> 2 สมัยกลาง อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก คิดระบบการจัดแบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 3 ภาคได้แก่ <p><p> - ความรู้ภาคปฏิบัติ (Practical หรือ Ethical) ประกอบด้วย วิชาเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ <p><p> - ความรู้ในทางสร้างสรรค์ (Productive หรือ Creative) ประกอบด้วย วิชากวีนิพนธ์ และศิลปะ <p><p> - ความรู้ภาคทฤษฎี (Theoretical) ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเทววิทยา <p> 3. สมัยศตวรรษที่ 16 คอนราด เกสเนอร์ (Conrad Gesner) เขียนหนังสือชื่อ Bibliotheca Universalis ซึ่งเป็นบรรณานุกรมที่รวบรวมรายชื่อหนังสือภาษาลาติน กรีก และฮินดู จัดเรียงตามรายชื่อหนังสือตามลำดับหัวข้อวิชา โดยแบ่งออกเป็น 21 หัวข้อ <p> 4. สมัยศตวรรษที่ 17 เซอร์ ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon) ได้เขียนหนังสือชื่อ The Advancement of Learning ขึ้นในปี ค.ศ. 1605 โดยเบคอนมีความคิดว่า มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดเป็น 3 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนมีผลทำให้เกิดความรู้ขึ้น ได้แก่ ส่วนที่ 1 ความจำ (Memory) ทำให้เกิดวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนที่ 2 จินตนาการ (Imagination) ทำให้เกิดวิชาร้อยกรอง และ ส่วนที่ 3 เหตุผล (Reason) ทำให้เกิดวิชาปรัชญา <p> จากแนวความคิดนี้เอง ประธานาธิบดี โธมัส เจฟเฟอสัน (Thomas Jefferson) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้นำมาจัดทำเป็นระบบจัดหมู่หนังสือในห้องสมุดส่วนตัว ซึ่งต่อมาก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นระบบจัดหมู่หนังสือในหอสมุดรัฐสภาอเมริกันในยุคแรก <p> 5. สมัยศตวรรษที่ 18 กุสตาฟ บูรเนต์ (Gustave Brunet) ชาวฝรั่งเศส เขียนหนังสือคู่มือการจัดหมู่หนังสือและห้องสมุดชื่อ Manuel du Libraire et d l' Amateur de Livres โดยแบ่งความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่คือ เทววิทยา นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดี <p> 6. สมัยศตวรรษที่ 19-20 ได้มีผู้คิดระบบจัดหมู่หนังสือเพื่อใช้ในห้องสมุดอย่างจริงจังหลายระบบ ได้แก่ <p><p> ค.ศ. 1876 ระบบทศนิยมดิวอี้ <p><p>ค.ศ. 1891 ระบบเอ็กแพนซีฟ <p><p>ค.ศ. 1901 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p><p>ค.ศ. 1905 ระบบทศนิยมสากล <p><p> ค.ศ. 1906 ระบบซับเจ็ค <p><p> ค.ศ. 1933 ระบบโคลอน <p><p> ค.ศ. 1935 ระบบบิบลิโอกราฟิค <p> ระบบการจัดหมู่ในระยะแรกมีแนวคิดในการแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่อย่างมีเหตุผลตามแนวทฤษฎี จึงเรียกว่า ระบบทฤษฎี (Theoretical system) ต่อมาในศตวรรษที่ 20 แนวความคิดเปลี่ยนเป็นการคำนึงถึงหนังสือที่มีอยู่จริงในห้องสมุด จึงเรียกว่า ระบบปฏิบัติ (Practical system) <p> บรรณานุกรม <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์. แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์. 2520. ประวัติการทำบัตรรายการและการจัดหมู่หนังสือ. เอกสารบรรณารักษศาสตร์ เล่ม 19. กรุงเทพฯ : แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. <p> Wynar, Bohdan S. 1985. Introduction to Cataloging and Classification. 7th ed. Littletob, Colo. : Libraries Unlimited. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือ[rabop kān jat mūatmū nangseū] (n, exp) EN: library classification  FR: système de classification des livres [ m ] ; système de classification des documents [ m ]
การแบ่งหมวดหมู่หนังสือ[kān baeng mūatmū nangseū] (n, exp) EN: classification of books ; library classification  FR: classification des ouvrages [ f ]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Library classificationการจัดหมู่หนังสือ, Example: เดิมห้องสมุดส่วนใหญ่จัดเก็บหนังสือ ตามขนาดของหนังสือ ตามสีของปก หรือตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือ ต่อมา ได้มีผู้คิดระบบจัดหมู่หนังสือขึ้น โดยแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ โดยมีพัฒนาการ ดังนี้ <p> <p>1. สมัยโบราณ <p><p> 1.1 ชาวอัสซีเรียน เชื่อกันว่า ชาวอัสซีเรียนเป็นพวกที่เริ่มวิธีการจัดหมู่อย่างเป็นแบบแผน ในสมัยพระเจ้าอัสซูบานิปาล มีการจัดกลุ่มแท่งดินเหนียวในห้องสมุดแห่งเมืองนิเนเวห์ออกเป็น 2 หมวดใหญ่แบ่งตามเนื้อเรื่อง คือ เรื่องราวทางโลก และ เรื่องราวทางสวรรค์ <p><p> 1.2 ชาวโรมัน ห้องสมุดในสมัยโรมัน มีการแบ่งแยกหนังสือตามประเภทของผู้เขียน เป็น 2 หมวด คือ หนังสือของพวกนักเขียนนอกศาสนา และหนังสือของพวกนักเขียนที่นับถือศาสนาคริสต์หรือนักบวช <p><p> 1.3 ชาวอียิปต์ คัลลิมาคัส ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ของห้องสมุดอเล็กซานเดรีย จัดแบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่ คือ กวีนิพนธ์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา วาทศิลป์ และเบ็ดเตล็ด <p> 2 สมัยกลาง อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก คิดระบบการจัดแบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 3 ภาคได้แก่ <p><p> - ความรู้ภาคปฏิบัติ (Practical หรือ Ethical) ประกอบด้วย วิชาเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ <p><p> - ความรู้ในทางสร้างสรรค์ (Productive หรือ Creative) ประกอบด้วย วิชากวีนิพนธ์ และศิลปะ <p><p> - ความรู้ภาคทฤษฎี (Theoretical) ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเทววิทยา <p> 3. สมัยศตวรรษที่ 16 คอนราด เกสเนอร์ (Conrad Gesner) เขียนหนังสือชื่อ Bibliotheca Universalis ซึ่งเป็นบรรณานุกรมที่รวบรวมรายชื่อหนังสือภาษาลาติน กรีก และฮินดู จัดเรียงตามรายชื่อหนังสือตามลำดับหัวข้อวิชา โดยแบ่งออกเป็น 21 หัวข้อ <p> 4. สมัยศตวรรษที่ 17 เซอร์ ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon) ได้เขียนหนังสือชื่อ The Advancement of Learning ขึ้นในปี ค.ศ. 1605 โดยเบคอนมีความคิดว่า มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดเป็น 3 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนมีผลทำให้เกิดความรู้ขึ้น ได้แก่ ส่วนที่ 1 ความจำ (Memory) ทำให้เกิดวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนที่ 2 จินตนาการ (Imagination) ทำให้เกิดวิชาร้อยกรอง และ ส่วนที่ 3 เหตุผล (Reason) ทำให้เกิดวิชาปรัชญา <p> จากแนวความคิดนี้เอง ประธานาธิบดี โธมัส เจฟเฟอสัน (Thomas Jefferson) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้นำมาจัดทำเป็นระบบจัดหมู่หนังสือในห้องสมุดส่วนตัว ซึ่งต่อมาก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นระบบจัดหมู่หนังสือในหอสมุดรัฐสภาอเมริกันในยุคแรก <p> 5. สมัยศตวรรษที่ 18 กุสตาฟ บูรเนต์ (Gustave Brunet) ชาวฝรั่งเศส เขียนหนังสือคู่มือการจัดหมู่หนังสือและห้องสมุดชื่อ Manuel du Libraire et d l' Amateur de Livres โดยแบ่งความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่คือ เทววิทยา นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดี <p> 6. สมัยศตวรรษที่ 19-20 ได้มีผู้คิดระบบจัดหมู่หนังสือเพื่อใช้ในห้องสมุดอย่างจริงจังหลายระบบ ได้แก่ <p><p> ค.ศ. 1876 ระบบทศนิยมดิวอี้ <p><p>ค.ศ. 1891 ระบบเอ็กแพนซีฟ <p><p>ค.ศ. 1901 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p><p>ค.ศ. 1905 ระบบทศนิยมสากล <p><p> ค.ศ. 1906 ระบบซับเจ็ค <p><p> ค.ศ. 1933 ระบบโคลอน <p><p> ค.ศ. 1935 ระบบบิบลิโอกราฟิค <p> ระบบการจัดหมู่ในระยะแรกมีแนวคิดในการแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่อย่างมีเหตุผลตามแนวทฤษฎี จึงเรียกว่า ระบบทฤษฎี (Theoretical system) ต่อมาในศตวรรษที่ 20 แนวความคิดเปลี่ยนเป็นการคำนึงถึงหนังสือที่มีอยู่จริงในห้องสมุด จึงเรียกว่า ระบบปฏิบัติ (Practical system) <p> บรรณานุกรม <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์. แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์. 2520. ประวัติการทำบัตรรายการและการจัดหมู่หนังสือ. เอกสารบรรณารักษศาสตร์ เล่ม 19. กรุงเทพฯ : แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. <p> Wynar, Bohdan S. 1985. Introduction to Cataloging and Classification. 7th ed. Littletob, Colo. : Libraries Unlimited. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
การแบ่งหมวดหมู่หนังสือ[kān baeng mūatmū nangseū] (n, exp) EN: classification of books ; library classification  FR: classification des ouvrages [ f ]
ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือ[rabop kān jat mūatmū nangseū] (n, exp) EN: library classification  FR: système de classification des livres [ m ] ; système de classification des documents [ m ]

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top