แต่ ๒ | บ. นำหน้านามบอกเวลาที่เป็นจุดเริ่มต้น เช่น มาแต่เช้า, จาก เช่น มาแต่บ้าน. |
แต้ ๒ | น. ต้นมะค่าแต้. <i> (ดู มะค่าแต้ ที่ มะค่า)</i>. |
กติกา | (กะ-) น. กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปกำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล |
กฤษฎีกา | (กฺริดสะ-) น. กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปกำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากำหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล (ม. คำหลวง วนปเวสน์) |
กัน ๒ | ว. คำประกอบท้ายกริยาของผู้กระทำตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แสดงการกระทำร่วมกัน อย่างเดียวกัน หรือต่อกัน เช่น คิดกัน หารือกัน. |
แก้ม | น. บริเวณหน้าทั้ง ๒ ข้างถัดตาลงมา, ราชาศัพท์ว่า พระปราง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีรูปเช่นนั้น เช่น เฉือนมะม่วงเอาแต่ ๒ แก้ม = เฉือนเอา ๒ ส่วนที่มีลักษณะเหมือนแก้ม. |
เข้าปากไม้ | ก. นำไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นมาบากหรือเจาะตรงปลายแล้วประกอบเข้าด้วยกัน ใช้ลูกสลักไม้หรือปลิงเหล็กยึดปลายนั้นให้แน่น. |
เข้าไม้ ๑ | ก. นำไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นขึ้นไปมาบากรับแล้วประกอบเข้าด้วยกัน ยึดไม้นั้นให้แน่นอยู่ในรูปแบบที่ต้องการด้วยการตอกตะปูหรือตอกอัดด้วยลูกสลักไม้ การต่อหรือประกอบอาจทำได้หลายวิธี. |
ครบบวช | ว. ที่มีอายุตั้งแต่ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ถือว่าอุปสมบทเป็นภิกษุได้. |
ครบมือ | ว. มีอยู่ครบในครอบครอง (ใช้แก่อาวุธและคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มีอาวุธครบมือ |
ควบแน่น | น. กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในลักษณะซึ่งโมเลกุลของสารตั้งแต่ ๒ โมเลกุลขึ้นไปเข้ารวมตัวกันเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้นของสารใหม่ โดยวิธีขจัดโมเลกุลของนํ้าหรือโมเลกุลของสารอื่นออกไป |
คำประสม | น. คำที่เกิดจากการนำคำมูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคำใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมาอีกคำหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า. |
คำประสาน | น. คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกัน อาจเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้ ๒ คำมาประกอบกัน เช่น ชดช้อย ครื้นเครง หรือเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้คำหนึ่งประกอบกับคำที่เกิดอิสระได้อีกคำหนึ่ง เช่น ชาวไร่ อ่อนช้อย, คำผสาน ก็เรียก. |
คู่ฉบับ | น. หนังสือหรือเอกสารที่ทำขึ้นตั้งแต่ ๒ ฉบับขึ้นไป มีข้อความตรงกัน โดยถือว่าทุกฉบับเป็นต้นฉบับ. |
คู่พิพาท | น. บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปซึ่งมีข้อโต้แย้งกัน. |
จักจั่น ๑ | (จักกะ-) น. ชื่อแมลงในวงศ์ Cicadidae ลำตัวยาวตั้งแต่ ๒-๑๐ เซนติเมตร หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่ เนื้อปีกส่วนใหญ่ใสเหมือนกันทั้ง ๒ คู่ เมื่อเกาะอยู่กับที่ปีกพับเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิดเจาะดูด ตาโตเห็นได้ชัด เพศผู้มีอวัยวะทำเสียงอยู่ทางด้านล่างของส่วนท้องได้ยินไปไกล ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ที่พบบ่อยเป็นชนิด <i> Dundubia</i> <i> intermerata</i> Walker. |
ตัวการ | ในทางอาญาหมายถึง บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน |
ตัวคูณร่วมน้อย | น. จำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งนำจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จำนวนขึ้นไปมาหาร แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี เช่น ๗๐ เป็นตัวคูณร่วมน้อยของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ค.ร.น. |
ตัวหารร่วมมาก | น. จำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนำไปหารจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จำนวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหารร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม. |
ตัวตืด | น. ชื่อพยาธิหลายชนิดหลายวงศ์ ในชั้น Cestoda ตัวแบนเป็นปล้องเรียงต่อกันเป็นแถบยาว หัวมีอวัยวะใช้เกาะยึด ถัดมาลำตัวเป็นปล้อง จำนวนปล้องแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ ๒-๓ ปล้อง จนถึง ๑, ๐๐๐ ปล้อง ปล้องท้ายสุดเกิดก่อน ปล้องถัดจากคอเกิดหลังสุด มักอาศัยดูดอาหารในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ถ้ามีจำนวนมากจะไปกั้นทางเดินอาหาร ทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง ชนิดที่อยู่ในคน เช่น ชนิด <i> Taenia solium</i> Linn. ซึ่งตัวอ่อน เรียก เม็ดสาคู อยู่ในเนื้อหมู ชนิด <i> T. saginata</i> Goeze ซึ่งตัวอ่อนอยู่ในเนื้อวัว, ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Taeniidae และเป็นพยาธิในลำไส้เล็กของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด. |
โทรมหญิง | ก. ร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปข่มขืนกระทำชำเราหญิง โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันหรือกระทำพร้อมกัน. |
เนื้ออ่อน | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่แหลมคม ลำตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด <i>Phalacronotus apogon</i> (Bleeker), <i>P. bleekeri</i> (Günther), <i>Kryptopterus</i> <i>cryptopterus</i> (Bleeker), <i>K. limpok</i> (Bleeker)<i>, </i> <i>Ompok</i> <i>bimaculatus</i> (Bloch)<i>, O. hypophthalmus</i> (Bleeker), <i>Ceratoglanis</i> <i>scleronemus</i> (Bleeker), ข้างท้องมักเป็นสีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗ เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบหลังก็ได้ บางชนิดลำตัวด้านหลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่เรียกแตกต่างกันหรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม. |
บูรณาการ | น. กระบวนการผสมผสานเชื่อมโยงองค์ความรู้ตั้งแต่ ๒ องค์ความรู้ขึ้นไปเข้าด้วยกันอย่างสอดคล้องเป็นระบบ. |
ประสานเสียง | ก. ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีที่มีตั้งแต่ ๒ แนวเป็นต้นไปเป็นหมู่ ให้มีเสียงกลมกลืนกัน อาจเป็นเครื่องดนตรีกับเครื่องดนตรี ขับร้องกับขับร้อง หรือเครื่องดนตรีกับขับร้องก็ได้. |
ปืนยาว | น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ลำกล้องยาวตั้งแต่ ๒๐ นิ้วขึ้นไป มีแหนบสำหรับบรรจุกระสุน มักใช้ล่าสัตว์. |
ปืนใหญ่ | น. ปืนที่มีปากลำกล้องกว้างตั้งแต่ ๒๐ มิลลิเมตร ขึ้นไป. |
พิมพ์สอดสี | ก. พิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป. |
มณฑลเทศาภิบาล | น. เขตการปกครองในระบบเทศาภิบาล โดยการรวมเมืองตั้งแต่ ๒ เมืองขึ้นไปเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลที่ส่งไปจากกรุงเทพฯ เป็นผู้ปกครอง. |
โยค-, โยคะ | การที่ดาวนพเคราะห์ตั้งแต่ ๒ ดวงขึ้นไปมารวมกันในราศีเดียว. |
ระหว่าง | บ. คำที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือสถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่างมหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ. |
รูปทรง | สิ่งที่เห็นเป็นกลุ่มก้อนหรือเห็นแต่ ๒ ด้านขึ้นไป มีลักษณะจำกัดด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น รูปทรงพีระมิด. |
เรือเร็วโจมตี | น. เรือรบขนาดเล็กระวางขับน้ำประมาณ ๓๐๐-๖๐๐ ตัน มีความเร็วสูงตั้งแต่ ๒๕ นอตขึ้นไป มีอาวุธที่มีอำนาจในการทำลายสูงหลายประเภทขึ้นอยู่กับภารกิจของเรือนั้น ๆ เช่น ปืน อาวุธนำวิถีระยะปานกลางหรือระยะไกล. |
ศึก | น. การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันอย่างรุนแรงระหว่างรัฐหรือประเทศตั้งแต่ ๒ รัฐหรือ ๒ ประเทศขึ้นไป เช่น ศึกชายแดน, การต่อสู้กันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือระหว่างพวกหนึ่งกับอีกพวกหนึ่ง เช่น ศึกล้างบาง ศึกล้างโคตร, โดยปริยายหมายถึงการเกิดขัดแย้งต่อสู้เป็นปฏิปักษ์ขึ้นในใจ เช่น ศึกในอก. |
สนธิสัญญา | หนังสือสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างประเทศเอกราชตั้งแต่ ๒ ประเทศขึ้นไป. |
สบ | น. บริเวณที่แม่นํ้าตั้งแต่ ๒ สายขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วยซองกาเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย. |
สมาส | (สะหฺมาด) น. การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาต่อกันเป็นศัพท์เดียวตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สุนทร + พจน์ เป็น สุนทรพจน์ รัฐ + ศาสตร์ เป็น รัฐศาสตร์ อุดม + การณ์ เป็น อุดมการณ์. |
สร้อยอ่อน | น. สร้อยขนาดเล็กตั้งแต่ ๒ สายขึ้นไปเรียงกัน มีหัวเป็นที่ร้อย. |
สหพันธ์ | น. สหภาพหรือสมาคมตั้งแต่ ๒ สหภาพหรือ ๒ สมาคมขึ้นไปที่ร่วมกันดำเนินกิจการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพหรือสมาคมที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหพันธ์กรรมกร. |
สหภาพ | น. การรวมตัวขององค์การตั้งแต่ ๒ องค์การขึ้นไป เพื่อทำกิจการทั่วไปหรือกิจการเฉพาะอย่างตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่เข้าร่วมกันนั้น เช่น สหภาพศุลกากร สหภาพรัฐสภา |
สหภาพ | ชื่อรูปแบบหนึ่งของการรวมตัวของรัฐตั้งแต่ ๒ รัฐขึ้นไป เช่น สหภาพพม่า |
สอดสี | ว. ลักษณะการพิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป เรียกว่า พิมพ์สอดสี. |
สังกรประโยค | (สังกะระปฺระโหฺยก, สังกอระปฺระโหฺยก) น. ประโยคใหญ่ที่มีประโยคเล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีประโยคหลักที่มีใจความสำคัญเพียงประโยคเดียว ส่วนประโยคเล็กทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก. |
สารประกอบ | น. สารที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไปมารวมตัวกันโดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี และมีอัตราส่วนผสมคงที่เสมอ. |
สารละลาย | น. ของผสมเนื้อเดียวล้วน ซึ่งประกอบด้วยสารต่างชนิดกันตั้งแต่ ๒ สารขึ้นไป แผ่กระจายผสมรวมกันอยู่อย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น ของแข็งละลายในของเหลว ของเหลวละลายในของเหลว ของแข็งละลายในของแข็ง แก๊สละลายในแก๊ส. |
สื่อผสม | น. วัสดุที่ใช้สำหรับการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ร่วมกันตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไป เช่น สีน้ำที่มีคุณลักษณะบางสดใสกับสีโปสเตอร์ที่มีคุณสมบัติหนาทึบ ดินสอกับหมึก. |
ไส้เดือน ๑ | น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มที่มีลำตัวกลมเป็นปล้องหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ขนาดแตกต่างกันมีตั้งแต่ ๒๐ เซนติเมตร ถึง ๑ เมตร มีสองเพศในตัวเดียวกัน สืบพันธุ์โดยการจับคู่ ชนิดที่รู้จักกันดี คือ ชนิด <i>Pheretima peguana</i> (Rosa) ในวงศ์ Megascolecidae มักพบชุกชุมตามดินร่วนซุย ตามใต้กองขยะมูลฝอย อยู่ในรูขนาดเท่าลำตัว กินดินที่มีอินทรียวัตถุและถ่ายมูลไว้ที่ปากรู มักใช้เป็นเหยื่อตกปลา, ไส้เดือนดิน หรือ รากดิน ก็เรียก. |
หนี้ | นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation) |
แหยม | (แหฺยม) น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปาก ว่า หนวดแหยม. |
อิมัลชัน | น. สารผสมที่ประกอบด้วยของเหลวต่างชนิดกันตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไป ผสมกันอยู่ในลักษณะซึ่งของเหลวชนิดหนึ่งเป็นอย่างน้อยอยู่ในสภาพเป็นเม็ดเล็ก ๆ ลอยแผ่กระจายทั่วโดยสมํ่าเสมอ. |