เทหวัตถุ | (เทหะ-) น. ก้อนหรือชิ้นหรือส่วนหนึ่งของสสาร อาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ก็ได้. |
กลศาสตร์ | (กนละ-) น. วิชาฟิสิกส์สาขาหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับการกระทำของแรงต่อเทหวัตถุ และผลที่เกิดขึ้นแก่เทหวัตถุนั้นภายหลังที่ถูกแรงมากระทำ. |
กลาบาต ๑ | (กะลาบาด) น. เทหวัตถุแข็งจากอวกาศตกลงมาสู่ผิวโลก เมื่อเคลื่อนที่ผ่านบรรยากาศสู่ผิวโลก จะลุกไหม้ให้แสงสว่างจ้าเนื่องจากเสียดสีกับอากาศ ถือว่าเป็นลางบอกเหตุร้าย, ผีพุ่งไต้. (กร่อนมาจากคำว่า อุกลาบาต). |
การนำ | การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านเทหวัตถุโดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของเทหวัตถุนั้นกระทบกระแทกกันเนื่องจากโมเลกุลสั่นสะเทือนอย่างรวดเร็วมาก. |
การแผ่รังสี | น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนในลักษณะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของแสง เมื่อเทหวัตถุใดดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นไว้ได้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็จะแปรสภาพเป็นพลังงานความร้อน เป็นผลให้เทหวัตถุนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเดิม. |
ความเค้น | น. แรงที่กระทำต่อ ๑ หน่วยพื้นที่ของเทหวัตถุ เมื่อเทหวัตถุใดถูกความเค้นมากระทำจะเกิดความเครียดขึ้นแก่เทหวัตถุนั้น. |
ความเครียด | น. อัตราส่วนระหว่างขนาดที่เปลี่ยนไปเนื่องจากความเค้นกับขนาดเดิมของเทหวัตถุ. (อ. strain) |
ความเฉื่อย | น. สมบัติของเทหวัตถุที่จะคงสภาพนิ่งอยู่อย่างเดิมตลอดไปหรือคงสภาพเคลื่อนที่อย่างสมํ่าเสมอในแนวเส้นตรงตลอดไป. |
ความถ่วง | น. แรงดึงดูดของโลกต่อเทหวัตถุ, แรงดึงดูดระหว่างกันของเทหวัตถุ. |
ความถ่วงจำเพาะ | น. อัตราส่วนของนํ้าหนักของเทหวัตถุกับนํ้าหนักของสารมาตรฐานที่มีปริมาตรเท่ากับเทหวัตถุนั้น โดยทั่วไปใช้นํ้าบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ ๔ ํซ. เป็นสารมาตรฐาน. |
ความโน้มถ่วง | น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทำต่อเทหวัตถุ. |
จลนพลศาสตร์ | (จะละนะพนละ-, จนละนะพนละ-) น. สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง และแรงที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่นั้นด้วย. |
จลนศาสตร์ | (จะละนะ-, จนละนะ-) น. สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง โดยไม่คำนึงถึงแรงที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่นั้น. |
จุดศูนย์ถ่วง | น. จุดซึ่งแนวของนํ้าหนักของก้อนเทหวัตถุนั้นผ่านดิ่งลง ไม่ว่าก้อนเทหวัตถุนั้นจะอยู่ในลักษณะใดก็ตาม, จุดศูนย์กลางของความถ่วง ก็ว่า. |
ดาวตก | น. เทหวัตถุแข็งจากอวกาศ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งประกอบด้วยหินเป็นส่วนใหญ่ อีกชนิดหนึ่งประกอบด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเคลื่อนที่ผ่านบรรยากาศสู่ผิวโลก จะลุกไหม้ให้แสงสว่างจ้าเนื่องจากเสียดสีกับอากาศ ถ้ามีขนาดเล็กก็จะไหม้หมดก่อนถึงผิวโลก ถ้ามีขนาดใหญ่ก็จะตกถึงผิวโลกและเรียกว่า อุกกาบาต, ผีพุ่งไต้ ก็เรียก. |
เทห์ฟากฟ้า | น. เทหวัตถุในท้องฟ้าหรือในอวกาศ เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ อุกกาบาต, บางทีใช้ เทห์ฟ้า. |
ผีพุ่งไต้ | น. เทหวัตถุแข็งจากอวกาศ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งประกอบด้วยหินเป็นส่วนใหญ่ อีกชนิดหนึ่งประกอบด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเคลื่อนที่ผ่านบรรยากาศสู่ผิวโลก จะลุกไหม้ให้แสงสว่างจ้าเนื่องจากเสียดสีกับอากาศ ถ้ามีขนาดเล็กก็จะไหม้หมดก่อนถึงผิวโลก ถ้ามีขนาดใหญ่ก็จะตกถึงผิวโลกและเรียกว่า อุกกาบาต, ดาวตก ก็เรียก. |
พลศาสตร์ | (พนละ-) น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง แบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ คือ จลนพลศาสตร์ และ จลนศาสตร์. |
พลังงานจลน์ | น. พลังงานที่มีในเทหวัตถุ เนื่องจากการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุนั้น. |
พลังงานศักย์ | น. พลังงานที่มีในเทหวัตถุ เนื่องจากตำแหน่งที่อยู่ของเทหวัตถุนั้น. |
มวลสาร | น. เนื้อของเทหวัตถุที่รวมกันอยู่ในเทหวัตถุนั้น ๆ. |
ระนาบเอียง | น. สิ่งที่มีพื้นแบนเรียบเอียงทำมุมแหลมกับพื้นระดับ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องกลอย่างง่ายสำหรับเลื่อนเทหวัตถุหนักไปสู่ระดับที่ต้องการโดยที่สามารถพักเทหวัตถุนั้นได้เป็นระยะ ๆ. |
แรง ๒ | น. อิทธิพลภายนอกใด ๆ ที่เปลี่ยนแปลงหรือพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่นิ่งหรือสถานะการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง. |
แรงดึงดูด | น. แรงระหว่างเทหวัตถุ ๒ ชิ้นที่ดึงหรือพยายามดึงให้เทหวัตถุทั้ง ๒ เคลื่อนที่เข้าใกล้กัน ต้านหรือพยายามต้านการแยกเทหวัตถุทั้ง ๒ ออกจากกัน. |
แรงสู่ศูนย์กลาง | น. แรงที่กระทำต่อเทหวัตถุในขณะที่เทหวัตถุนั้นเคลื่อนที่เป็นทางวงกลม แรงนี้มีแนวทิศเข้าสู่จุดศูนย์กลางของทางวงกลมนั้น และมีขนาดเท่ากับแรงหนีศูนย์กลาง. |
แรงหนีศูนย์กลาง | น. แรงที่กระทำต่อเทหวัตถุในขณะที่เทหวัตถุนั้นเคลื่อนที่เป็นทางวงกลม แรงนี้มีแนวทิศออกจากจุดศูนย์กลางของทางวงกลมนั้น และมีขนาดเท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง. |
สถิตยศาสตร์ | (สะถิดตะยะ-) น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยแรงที่กระทำต่อเทหวัตถุซึ่งเป็นของแข็ง โดยที่เทหวัตถุนั้น ๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่. |