Online bibliographic searching | การค้นทางบรรณานุกรมแบบออนไลน์ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Bibliographic citation | การอ้างถึงทางบรรณานุกรม [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Author bibliographies | บรรณานุกรมของผู้แต่ง, บรรณานุกรมของผู้แต่ง, Example: เป็นรายชื่อผลงานของผู้แต่งที่รวบรวมขึ้น <p> <p>ตัวอย่าง บรรณานุกรมของผู้แต่ง <p> <p> 1. บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) <p> 2. บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน <p> 3. บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน และพระสารประเสริฐ <p> 4. บรรณานุกรมงานนิพนธ์ของ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล <p> 5. บรรณานุกรมงานส่วนบุคคลของศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร <p> 6. บรรณานุกรมประกอบบรรณนิทัศน์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว <p> 7. บรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และเรื่องที่เกี่ยวข้อง <p> 8. เรียงร้อยบรรณรัตน์ : บรรณานุกรมและดรรชนีพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี <p> 9. รายชื่อหนังสือพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Online bibliographic searching | การค้นทางบรรณานุกรมแบบออนไลน์, Example: <p>บรรณานุกรม (Bibliographic) หมายถึงข้อความที่ประกอบ หรือระบุหรือไว้ในส่วนท้าย หรือแนบท้ายหนังสือ รายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย เพื่อแสดงหลักฐาน ความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้อ่านรายงาน บทความวิชาการ และงานวิจัย ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เป็นการให้เครดิตแก่เจ้าของผลงาน และป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ <p>การค้นทางบรรณานุกรมแบบออนไลน์ ตัวอย่างเช่น การสืบค้นข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดหาเข้ามา หรือ รายการเข้าถึงแบบออนไลน์ (Online Public Access Catalog : OPAC) ข้อมูลบรรณานุกรมที่แสดง คือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เลขเรียกหนังสือ สถานที่จัดเก็บ และสถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศ นอกจากนี้การสืบค้นทางบรรณานุกรมแบบออนไลน์ ยังรวมถึงการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ประเภทฐานข้อมูลบรรณานุกรม ที่แสดงผลเฉพาะข้อมูลบรรณานุกรม เช่น ฐานข้อมูล ISI : Web of Science หรือ ฐานข้อมูล Scopus เป็นต้น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Bibliographic control | การควบคุมทางบรรณานุกรม, Example: <p>การควบคุมทางบรรณานุกรม หมายถึง การเข้าถึงบันทึกความรู้ต่างๆ โดยการใช้บรรณานุกรม การควบคุมทางบรรณานุกรมช่วยให้ทราบว่ามีสิ่งพิมพ์หรือบันทึกความรู้ใดบ้างที่มีผู้บันทึกหรือจัดทำไว้ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งสามารถเป็นเครื่องมือในการค้นคว้า นำออกมาใช้ได้ การควบคุมทางบรรณานุกรมสามารถทำได้โดย การจัดทำบรรณานุกรม ดรรชนี สาระสังเขป นามานุกรม เป็นต้น <p>องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้มีรายงานเกี่ยวกับการปรับปรุงการควบคุมทางบรรณานุกรมที่ปารีส ค.ศ. 1950 ถึงความจำเป็นในการควบคุมทางบรรณานุกรม ว่าจำเป็นต้องมีการจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติเพื่อบันทึกหลักฐานของสิ่งพิมพ์และวัสดุความรู้อื่นๆ ที่ผลิตภายในประเทศ หน้าที่หนึ่งในจำนวนหน้าที่หลายประการขององค์การศึกษาฯ ก็คือ การปรับปรุงงานด้านการศึกษา ซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อปรับปรุงงานห้องสมุด งานด้านบรรณานุกรมและการผลิตสิ่งพิมพ์ <p>บทบาทขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติในการควบคุมบรรณานุกรมแห่งชาติ คือ <p>1. ร่วมกับหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ในการสำรวจงานด้านบรรณานุกรมและจัดพิมพ์ผลการสำรวจชื่อ Bibliographical Services : Their Present State and Posibilities of Improvement (ปี ค.ศ. 1953) <p>2. ชักชวนให้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การศึกษาฯ จัดทำบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ใหม่ๆ และร่วมมือในการให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมแก่กัน จึงได้เริ่มรณรงค์เพื่อความร่วมกันดังกล่าว ตั้งแต่ ค.ศ. 1946 <p>3. จัดพิมพ์คู่มือการทำงานด้านการควบคุมทางบรรณานุกรม เขียนโดย Knud Larsen ชื่อ National Bibliographical Services : Their Creation and Operation และตีพิมพ์บทความ เขียนโดย Knud Larsen ในวารสาร Unesco Bulletin for Libraries ปีที่ 15 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ค.ศ. 1961 กล่าวถึง หน้าที่ของศูนย์บรรณานุกรมแห่งชาติ ซึ่งมีความสำคัญในการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางบรรณานุกรม <p>4. สำรวจและจัดพิมพ์ Guide to National Bibliographical Centeres (ปี ค.ศ. 1970) <p>5. การส่งเสริมการก่อตั้งระบบสารนิเทศแห่งชาติ (National Information System หรือ NATIS) วัตถุประสงค์ของระบบสารนิเทศแห่งชาติ คือ การสร้างโครงงานสำหรับกิจกรรมเพื่อที่จะประสานงานกันในงานสารนิเทศของประเทศต่างๆ ช่วยให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ มองเห็นแนวทางที่จะดำเนินงานนี้ร่วมกัน และมุ่งจะช่วยให้ประเทศที่มีพัฒนาการต่างกันได้ประโยชน์จากระบบสารนิเทศของโลกทั่วกัน และมีส่วนร่วมในการกระจายสารนิเทศสองทาง คือ เป็นผู้ให้สารนิเทศและเป็นผู้ที่รับสารนิเทศด้วย องค์การศึกษาฯ ได้กำหนดให้ประเทศต่างๆ จัดกิจกรรมต่างๆ โดยให้ความสนับสนุนเพื่อให้ความพยายามที่จะควบคุมบรรณานุกรมสากล (Universal Bibliographical Control หรือ UBC) โดยให้เข้าถึงข้อมูลทางบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ทุกชิ้นโดยที่มีการบันทึกหลักฐานทางบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ไว้ในแบบแผนที่เป็นสากล <p>บรรณานุกรม <p>สุนทรี หังสะสูต. การควบคุมทางบรรณานุกรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2523 [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Bibliographical information | รายละเอียดทางบรรณานุกรม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Bibliography of bibliographies | บรรณานุกรมของบรรณานุกรม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Bibliographic citation | การอ้างถึงบรรณานุกรม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Bibliographic service | บริการจัดทำบรรณานุกรม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
International Standard Bibliographic Descriptions | มาตรฐานสากลการลงรายการบรรณานุกรมทั่วไป, ข้อมูลทางบรรณานุกรมสากล [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Universal Bibliographical Control | การควบคุมทางบรรณานุกรมสากล [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Searching, Bibliographical | การค้นทางบรรณานุกรม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Bibliographical citation | การอ้างถึงทางบรรณานุกรม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Bibliographic format | รูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Bibliographical citations | การอ้างถึงทางบรรณานุกรม [TU Subject Heading] |
Bibliographical services | บริการทางบรรณานุกรม [TU Subject Heading] |
Bibliography of bibliographies | บรรณานุกรมของบรรณานุกรม [TU Subject Heading] |
Machine-readable bibliographic data | ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ [TU Subject Heading] |
Online bibliographic searching | การสืบค้นข้อมูลบรรณานุกรมแบบออนไลน์ [TU Subject Heading] |
Bibliographic instruction | การสอนการเข้าถึงบรรณานุกรม, Example: <b>การสอนการเข้าถึงบรรณานุกรม (Bibliographic instruction)</b> เป็นบริการที่บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้ให้ บริการแก่ผู้ใช้โดยการสอนหรือสร้างทักษะการรู้สารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ ประกอบด้วยโปรแกรมการเรียนการสอนที่ออกแบบมาเพื่อสอนผู้ใช้ห้องสมุดเกี่ยวกับวิธีการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเป็นการช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง ในการสอนมักจะครอบคลุมถึงระบบของห้องสมุด โครงสร้างของวรรณกรรมในสาขา วิธีการวิจัยที่เหมาะสมในสาขาวิชา ทรัพยากรโดยเฉพาะ และเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหา (บัตรรายการห้องสมุด ดัชนีและบริการสาระสังเขป ฐานข้อมูลบรรณานุกรม ฯลฯ ) โดยการสอนแนวคิดและตรรกะในการเข้าถึงสารสนเทศและการประเมินผล และโดยสนับสนุนความเป็นอิสระของสารสนเทศและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสอนการใช้ห้องสมุดเกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ในชั้นเรียนแบบเป็นทางการ ในกลุ่มขนาดเล็ก การพบกันแบบตัวต่อตัว การนำเสนอด้วยวีดิทัศน์และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน<br> <br>ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย การสอนการเข้าถึงบรรณานุกรมอาจเป็นการสอนโดยให้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาหรือเป็นการสอนแบบบูรณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร ห้องสมุดที่มีห้องปฏิบัติการการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์ครบครันสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสอนเกี่ยวกับการใช้บัตรรายการออนไลน์ ฐานข้อมูลบรรณานุกรม และทรัพยากรอินเทอร์เน็ต ซึ่งหน้าที่สอนการเข้าถึงรายการบรรณานุกรมเป็นหน้าที่หลักสำคัญของบรรณารักษ์ผู้ให้บริการที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษและมีประสบการณ์ในด้านวิธีการสอน อย่างไรก็ตามการสอนการเข้าถึงบรรณานุกรมโดยให้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาที่เรียนในหลักสูตรนั้น คณาจารย์อาจต้องร่วมมือกับบรรณารักษ์ของห้องสมุด เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีค้นสารสนเทศด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป นอกจากนั้นห้องสมุดมหาวิทยาลัยบางแห่งอาจจัดช่วงเวลาให้กับผู้ใช้ที่ทำวิจัย โดยบรรณารักษ์จะทำงานกับผู้ใช้แบบหนึ่งต่อหนึ่งเพื่อช่วยให้คำปรึกษาการทำวิจัยแก่ผู้ใช้ที่ทำวิจัยโดยเฉพาะ [Assistive Technology] |