ไตรภพ, ไตรภูมิ | (-พบ, -พูม) น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ตรีโลก หรือ ไตรโลก ก็ว่า. |
กรรมขัย | (กำมะไข) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล (ไตรภูมิ). |
กระคุก | ก. คุกคลาน เช่น ทั้งล้มทั้งลุกกระคุกหัวเข่า (ไตรภูมิ). |
กระนก | (-หฺนก) น. ทองคำ. (ไตรภูมิ). (ดู กนก). |
กระสา ๒ | น. ชื่องูชนิดหนึ่ง เช่น งูไซงูกระสา (ไตรภูมิ). |
กระหย่อน | ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ใช้. |
กลละ | (กะละละ) น. รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพุชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้นน้อยนักหนา เรียกชื่อว่า กลละหัวปีมีเท่านี้ (ไตรภูมิ). |
เครือดิน | น. ไม้เถาตามที่กล่าวไว้ในไตรภูมิวินิจฉัยว่ามีสัณฐานประดุจดังผักบุ้งและแพงพวย. |
ง้วน ๑ | น. เรียกโอชะของบางสิ่ง เช่น ง้วนดิน คือ โอชะของดิน ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัยว่ามีรสหวาน, ง้วนผึ้ง คือ ละอองดอกไม้ที่ผึ้งนำมาสะสมไว้ที่รัง มีสีเหลือง มีรสมัน หอมหวาน. |
จำหุด | ก. แม่น, ปรากฏ, เที่ยง, แข็งแรง, เปรื่องปราด, ศักดิ์สิทธิ์, สำคัญ, เช่น อันหนึ่งให้จำหุดให้กระทำบุญ (ไตรภูมิ). |
ชนมาพิธี, ชนมายุพิธี | (ชนมา-) น. อายุ, กำหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
ชมพูนท, ชมพูนุท | น. ชื่อทองคำเนื้อบริสุทธิ์ที่กล่าวอยู่ในไตรภูมิพระร่วงว่าเกิดจากผลหว้าที่ตกลงกลางแม่น้ำในชมพูทวีป, ชัมพูนท หรือ ชามพูนท ก็ว่า. |
ชัมพูนท | (ชำพูนด) น. ชื่อทองคำเนื้อบริสุทธิ์ที่กล่าวอยู่ในไตรภูมิพระร่วงว่าเกิดจากผลหว้าที่ตกลงกลางแม่น้ำในชมพูทวีป, ชมพูนท ชมพูนุท หรือ ชามพูนท ก็ว่า. |
ชามพูนท | น. ชื่อทองคำเนื้อบริสุทธิ์ที่กล่าวอยู่ในไตรภูมิพระร่วงว่าเกิดจากผลหว้าที่ตกลงกลางแม่น้ำในชมพูทวีป, ชมพูนท ชมพูนุท หรือ ชัมพูนท ก็ว่า. |
ดับ ๓ | น. ลำดับ เช่น ดับนั้น จึงลูกเจ้าเหง้าขุนแลโหราจารย์ทั้งหลาย (ไตรภูมิ). |
เดินหน | ก. เดินไปตามทาง เช่น ผิอยู่เหนือหลิ่งก็ดี เหนือเขาก็ดี แลเดินหนต่ำ ลางคาบไกลได้ ๖๐ โยชน์ (ไตรภูมิ), เหาะ เช่น เทวดาเดินหน. |
ตรีกูฏ | น. ชื่อภูเขา ๓ ลูก ในไตรภูมิกล่าวว่าเป็นภูเขาที่รองรับเขาพระสุเมรุ, ผาสามเส้า ก็เรียก. |
ตรีภพ | น. โลกทั้ง ๓, ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีโลก ไตรโลก ไตรภพ หรืิอ ไตรภูมิ ก็ว่า. |
ตรีโลก | น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือ ภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ไตรโลก ไตรภพ หรือ ไตรภูมิ ก็ว่า. |
ติมิ | น. ชื่อปลา ๑ ใน ๗ ตัว ในหนังสือไตรภูมิกถา. |
ติมิงคละ | (-คะละ) น. ชื่อปลา ๑ ใน ๗ ตัว ในหนังสือไตรภูมิกถา. |
ติมินทะ | น. ชื่อปลา ๑ ใน ๗ ตัว ในหนังสือไตรภูมิกถา. |
ติมิรปิงคละ | (ติมิระปิงคะละ) น. ชื่อปลา ๑ ใน ๗ ตัว ในหนังสือไตรภูมิกถา. |
ไตรโลก | น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ตรีโลก ไตรภพ หรือ ไตรภูมิ ก็ว่า. |
ทวีป | ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่าแผ่นดินมี ๔ ทวีป คือ ๑. ชมพูทวีป ๒. อมรโคยานทวีปหรืออปรโคยานทวีป ๓. อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป ๔. บุพวิเทหทวีป. |
เทียร, เที้ยร, เทียรย่อม | ก. ย่อม, ล้วนแล้วไปด้วย, เช่น นี่รอยเบื้องบุญสองรา เทียรทอดรอดมา มาลุมาหล่งโดยใจ (อนิรุทธ์), เขาอันชื่อไกรลาสนั้นเทียรย่อมเงินแล (ไตรภูมิ). |
นารีผล | น. ผลของต้นมักกะลี ต้นไม้ในวรรณคดี ลักษณะคล้ายหญิงวัยรุ่น เช่น ถัดนั้นไปมีป่าไม้นารีผล แลว่าลูกไม้นั้นงามนัก ดั่งสาวอันพึงใหญ่ได้ ๑๖ ปีแล ฝูงผู้ชายได้เห็นก็มีใจรักนัก ครั้นว่าหล่นตกลง ฝูงนกกลุ้มกินดั่งหมีกินผึ้ง (ไตรภูมิ). |
บแรง, บ่แรง | ก. ไม่มีกำลัง, ไม่ไหว, เช่น มีลางสิ่งกินอันบ่แรงหลักถานเขา เนื้ออันบ่แรงนั้นกลัวเขา ก็แล่นไปเร้นที่ลับ (ไตรภูมิ). |
เพรา ๑ | (เพฺรา) น. เวลาเย็น เช่น เกลออย่ากินเข้าเพราเลย เกลออดเข้าเพราให้เถิงรุ่ง (ไตรภูมิ) |
มหาติมิระ | น. ชื่อปลา ๑ ใน ๗ ตัว ในหนังสือไตรภูมิกถา. |
ยอง ๑, ยอง ๆ | ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ โดยก้นไม่ถึงพื้น เช่น นั่งยองอยู่ในท้องแม่ (ไตรภูมิ), หย่อง ก็ว่า. |
แล ๒ | ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบหลายคราลำบากนักหนาแล (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล (ตะเลงพ่าย). |
แล ๓ | สัน. และ, กับ, เช่น ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบทั่วกัน (ประกาศ ร. ๔), ฝูงเทพยดาถือค้อนแลตระบองเทียรย่อมแก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร (ไตรภูมิ). |
ศาสนจักร | (สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก) น. อำนาจปกครองทางศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่ายคริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความว่า อำนาจปกครองทางบ้านเมือง. |
อนนต์ | น. ชื่อปลา ๑ ใน ๗ ตัว ในหนังสือไตรภูมิกถา, ชื่อปลาใหญ่ในวรรณคดี เชื่อกันว่าหนุนแผ่นดิน เมื่อปลานี้พลิกตัวจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว, อานนท์ ก็ว่า. |
อสัญญีสัตว์ | น. พรหมพวกหนึ่งมีรูปแต่ไม่มีสัญญา ดังมีกล่าวไว้ในไตรภูมิกถา. |
อัชฌนาโรหะ | น. ชื่อปลา ๑ ใน ๗ ตัวในหนังสือไตรภูมิกถา. |
อานนท์ ๒ | น. ชื่อปลา ๑ ใน ๗ ตัว ในหนังสือไตรภูมิกถา, ชื่อปลาใหญ่ในวรรณคดี เชื่อกันว่าหนุนแผ่นดิน เมื่อปลานี้พลิกตัวจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว, อนนต์ ก็ว่า. |
อาม ๑, อ่าม | ว. ไม่ เช่น เลี้ยงลาอามสาย, หนึ่งจงเลี้ยงม่ามอ่ามสาย (ไตรภูมิ). |
เอือน ๑ | น. พยาธิในท้องชนิดหนึ่ง เช่น ลางคาบมีตืดมีเอือนในท้องนั้น (ไตรภูมิ). |