เกิดสูรย์ | ก. เกิดสุริยุปราคา, มักใช้เข้าคู่กับคำ เกิดจันทร์ เป็น เกิดสูรย์เกิดจันทร์. |
บังสูรย์ | น. เครื่องสูงอย่างหนึ่งสำหรับใช้ในริ้วขบวนพิธีแห่ คู่กับ บังแทรก. |
สุริยคราส, สูรยคราส | (สุริยะคฺราด, สูระยะคฺราด) น. “การกลืนดวงอาทิตย์” ตามความเข้าใจของคนโบราณที่เชื่อว่าพระราหูอมดวงอาทิตย์, สุริยุปราคา ก็เรียก. |
สูรย- | (สูระยะ-) น. พระอาทิตย์, ตะวัน, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. |
สูรยกานต์ | น. ชื่อแก้วชนิดหนึ่งถือกันว่าเมื่อถูกแสงพระอาทิตย์ทำให้เกิดไฟ, สุริยกันต์ หรือ สุริยกานต์ ก็ว่า. |
สูรยคราส, สุริยคราส | น. “การกลืนดวงอาทิตย์” ตามความเข้าใจของคนโบราณที่เชื่อว่าพระราหูอมดวงอาทิตย์, สุริยุปราคา ก็เรียก. |
สูรยพิมพ์ | น. ดวงหรือวงตะวัน, สุริยมณฑล หรือ สูรยมณฑล ก็ว่า. |
สูรยมณฑล | น. ดวงหรือวงตะวัน, สุริยมณฑล หรือ สูรยพิมพ์ ก็ว่า. |
สูรยวาร | น. วันอาทิตย์, อาทิจจวาร หรือ อาทิตยวาร ก็ว่า. |
สูรย์ | (สูน) น. สุริยุปราคา ในคำว่า เกิดสูรย์. |
กานต์ | ว. เป็นที่รัก, โดยมากใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จันทรกานต์ เป็นที่รักของพระจันทร์ ได้แก่แก้วผลึกที่ถูกแสงจันทร์แล้วมีเหงื่อ, คู่กับ สูรยกานต์ เป็นที่รักของพระอาทิตย์ ได้แก่แก้วที่รวมแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟได้. |
ขะแข่น, ขะแข้น | ว. แข้น, แข็ง, เขียนเป็น ขแข่น ก็มี เช่น สองอ่อน โอ้อาดูร ร้อนแสงสูรย์ขแข่น (ม. คำหลวง กุมาร), ร้อนขะแข้น (ม. คำหลวง กุมาร). |
จระกล้าย | (จะระ-) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล (ม. คำหลวง กุมาร). |
บังตะวัน | น. บังสูรย์. |
บังแทรก | (-แซก) น. เครื่องสูงอย่างหนึ่งสำหรับใช้ในริ้วขบวนพิธีแห่, คู่กับ บังสูรย์ อยู่ระหว่างฉัตร, โบราณเรียก ทานตะวัน หรือ ทอนตะวัน ก็มี. |
สุริยกันต์, สุริยกานต์ | น. ชื่อแก้วชนิดหนึ่งถือกันว่าเมื่อถูกแสงพระอาทิตย์ทำให้เกิดไฟ, สูรยกานต์ ก็ว่า. |
สุริยมณฑล | น. ดวงหรือวงตะวัน, สูรยพิมพ์ หรือ สูรยมณฑล ก็ว่า. |
สุริยุปราคา | (-ยุปะราคา, -ยุบปะราคา) น. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกโคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน ดวงจันทร์จึงบังแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก เป็นเหตุให้เห็นดวงอาทิตย์มืดเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด, (ปาก) สุริยคราส หรือ สูรยคราส. |
อาทิจจวาร | น. วันอาทิตย์, สูรยวาร หรือ อาทิตยวาร ก็ว่า. |
อาทิตย-, อาทิตย์ | (-ทิดตะยะ-, -ทิด) น. “เชื้ออทิติ” คือ เทวดาพวกหนึ่งซึ่งเป็นลูกนางอทิติผู้เป็นชายาพระกัศยปประชาบดี เทวดาพวกนี้มีจำนวนกล่าวไว้ต่างกัน บ้างว่ามี ๕ องค์ บ้างว่ามี ๗ องค์ บ้างว่ามี ๑๒ องค์ ได้แก่ อินทราทิตย์ (พระอินทร์) วรุณาทิตย์ (พระพิรุณ) ฯลฯ สูรยาทิตย์ (พระอาทิตย์ที่ส่องโลก) |
อาทิตย-, อาทิตย์ | ชื่อเทวดาพระเคราะห์ คือ สูรยาทิตย์ |
อาทิตย-วาร | น. วันอาทิตย์, สูรยวาร หรือ อาทิจจวาร ก็ว่า. |