ณ ๒ | (นะ) บ. ใน, ที่, เป็นคำบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, เช่น ณ ที่นั้น ณ ห้องประชุม, ถ้าใช้นำหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ เชียงใหม่ ณ นคร. |
คุณ ๒ | น. อาถรรพณ์ คือ พิธีทำร้ายต่ออมิตร โดยเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าในตัวหรือฝังรูปฝังรอย เรียกกันว่า กระทำคุณ, ผู้ถูกกระทำ เรียกว่า ถูกคุณ, คุณไสย ก็ว่า. |
ศาณ ๒ | น. ผ้าป่าน. |
ศาณ ๒ | ว. ทำด้วยป่านหรือปอ. |
กระจง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Tragulidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่เล็กที่สุด กระเพาะมี ๓ ส่วน รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวบนที่แหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย [ Tragulus napu (Cuvier) ] สูงประมาณ ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก [ T. javanicus (Osbeck) ] สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. |
กระแจะ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนามเปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับนํ้าใช้เป็นเครื่องประทิ่นผิว รากใช้ทำยา, กะแจะ ขะแจะ ตุมตัง หรือ พญายา ก็เรียก. |
กระทาย | เครื่องตวง ใช้ตวงข้าวสมัยโบราณ ๒ กระทาย เป็น ๑ กระบุง มีอัตราเท่ากับครึ่งถัง หรือ ๑๐ ลิตร. ก. กระทกของเอากากออก. |
กรับเสภา | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แก่นเช่นไม้ชิงชัน มี ๔ ด้าน ด้านหนึ่งโค้งสำหรับกระทบให้เกิดเสียง ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๕ เซนติเมตร ลบเหลี่ยมเล็กน้อยเพื่อมิให้บาดมือและให้สามารถกลิ้งตัวกระทบกันได้สะดวก ใช้ขยับประกอบในการขับเสภา โดยผู้ขับเสภาจะต้องใช้กรับ ๒ คู่ ประคองไว้ในอุ้งมือข้างละคู่ ขณะที่ขับเสภาก็ขยับกรับแต่ละคู่ให้กระทบกันให้สอดคล้องกับท่วงทำนองขับ, กรับขยับ ก็ว่า. |
กล่ำ ๑ | (กฺลํ่า) น. ชื่อมาตราชั่งของโทยโบราณ ๒ กล่อม เป็น ๑ กลํ่า ๒ กลํ่า เป็น ๑ ไพ. |
ขันทองพยาบาท | (-พะยาบาด) น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Suregada multiflora (A. Juss.) Baill. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๕-๘ เมตร ใบรี หนา ด้านบนสีเขียวแก่เป็นมัน ผลกลมมี ๓ พู ขนาดกว้างประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ใช้ทำยาได้. |
ข้าวฟ่าง | น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิด ในวงศ์ Gramineae คือ ข้าวฟ่างหางหมา [ Setaria italica (L.) P. Beauv. ] ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร เมล็ดขนาดเมล็ดงา และข้าวฟ่างสมุทรโคดมหรือข้าวฟ่างหางช้าง [ Sorghum bicolor (L.) Moench ] ต้นสูงประมาณ ๒ เมตร เมล็ดขนาดเมล็ดพริกไทย. |
ข้าวข้า | น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Euphorbia sessiliflora Roxb. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ต้นและใบอวบนํ้า เส้นกลางใบด้านล่างเป็นสันแหลม ทุกส่วนมียางขาว หัวใช้ทำยาได้, ว่านพระฉิม ก็เรียก, เขียนเป็น เข้าค่า ก็มี. |
เขยตาย | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลมขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทำยา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก ส้มชื่น. |
ชักเย่อ | (ชักกะ-) น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีจำนวนเท่า ๆ กันหรือกำลังพอ ๆ กัน มักใช้เชือกขนาดพอกำรอบ ยาวพอที่จะให้ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายเรียงแถวจับได้ โดยมีที่ว่างระหว่างกลางเหลือไว้ประมาณ ๒ เมตร กลางเชือกคาดด้วยผ้าหรือใช้สีป้ายเป็นเครื่องหมายไว้ วางกึ่งกลางเชือกไว้บนพื้นที่ที่มีเส้นขีดกลางเป็นเส้นแบ่งเขตแดน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็จะพยายามดึงเชือกให้กึ่งกลางของเชือกเข้ามาในแดนของตน ถ้าฝ่ายใดสามารถดึงกึ่งกลางเชือกเข้ามาในแดนของตนได้ ถือว่าชนะ ตามปรกติจะแข่งกัน ๓ ครั้ง ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ ครั้งถือว่าชนะเด็ดขาด. |
ชั่วเคี้ยวหมากจืด | น. เวลาประมาณ ๒๐-๓๐ นาที (มาจากระยะเวลาในการเคี้ยวหมาก ๑ คำ ตั้งแต่เริ่มเคี้ยวจนหมากจืดหมดคำ จึงคายชานหมากทิ้ง), พูดเพี้ยนเป็น ชั่วเคี้ยวหมากแหลก ก็มี. |
ชั่วหม้อข้าวเดือด | น. ระยะเวลาประมาณ ๒๐-๓๐ นาที (มาจากระยะเวลาที่ตั้งหม้อข้าวจนเดือด). |
ดีด ๒, ดีดขัน ๑ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Elateridae ลำตัวยาว แบนเล็กน้อย และเรียวไปทางหาง สีดำ นํ้าตาล หรือเทา บางชนิดมีจุดเป็นลาย แผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องแรกมีแกนยาวเป็นเครื่องดีด ซึ่งยึดโดยร่องของแผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องที่ ๒ ทำให้สามารถดีดตัวกลับได้เมื่อถูกจับให้หงายท้อง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดีดกะลา คอลั่น ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด Agrypnus aegualiaCandèze ลำตัวยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร สีดำ. |
เดินทาง | ก. ไปสู่ที่ใดที่หนึ่งที่ไกลออกไป เช่น เขาใช้เวลาเดินทางจากบ้านไปที่ทำงานประมาณ ๒ ชั่วโมง. |
เดือนจันทรคติ | (-จันทฺระคะติ) น. เดือนที่กำหนดโดยถือเอาดวงจันทร์เดินรอบโลกเป็นเกณฑ์ โดยนับจากวันขึ้น ๑ ค่ำไปถึงวันเดือนดับถัดไป มีระยะเวลาประมาณ ๒๙ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๔๔ นาที เรียกชื่อตามลำดับจากเดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เรื่อยไปจนถึงเดือนสิบสอง. |
ตะพด | น. ไม้ถืออย่างหนึ่งใช้ป้องกันตัว ทำด้วยไม้รวกเป็นต้น ยาวประมาณ ๒ ศอก. |
ตะเพรา | (-เพฺรา) น. ไม้รวกยาวประมาณ ๒ วา มีขอทำด้วยเหล็กสวมอยู่ปลายไม้สำหรับเกี่ยวให้เรือเข้ามาหรือคํ้าไม่ให้เรือชนกัน เรียกว่า ขอตะเพรา |
ตะเภา ๖ | น. ชื่อขันชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่ ปากกว้างประมาณ ๒ คืบ. |
ตะโล้ดโป๊ด | น. ชื่อกลองสองหน้าชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๘๐ เซนติเมตร หน้ากว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ใช้ตีประกอบการฟ้อนและการเล่นพื้นเมืองทางภาคเหนือ, ใช้ตีคู่กับ กลองแอว. |
ทองดำ ๓ | น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด Gryllus bimaculatus (De Geer) ในวงศ์ Gryllidae ลำตัวยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร โดยทั่วไปสีดำตลอดทั้งตัว โคนปีกคู่หน้ามีแต้มสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน ๒ แต้ม. |
ทะนาน | ชื่อหน่วยในมาตราตวงโบราณ ๒๐ ทะนาน เป็น ๑ ถัง, ชื่อหน่วยในมาตราตวงของไทยโบราณเท่ากับ ๘ ฟายมือ. |
นางนวล | น. ชื่อนกขนาดกลาง วงศ์ย่อย Larinae ในวงศ์ Laridae มี ๒ กลุ่ม คือ นางนวลใหญ่ มีปลายปากเป็นปากขอเล็กน้อย ตัวใหญ่ แข็งแรง ส่วนใหญ่สีขาวเทา ปีกกว้าง ปลายหางมน กินปลาและสัตว์น้ำโดยโฉบกินตามผิวนํ้าหรือรวมฝูงกันจับขณะว่ายนํ้า ในประเทศไทยพบประมาณ ๒๐ ชนิด เช่น นางนวลธรรมดา (Larus brunnicephalus Jerdon) นางนวลขอบปีกขาว (L. ridibundusLinn.), และนางนวลแกลบ ตัวเล็กกว่านางนวลใหญ่ ปลายปากแหลม ปลายหางเว้าตื้น เว้าลึก หรือเป็นแฉก กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็กโดยดำลงไปจับเหยื่อหรือโฉบกินตามผิวนํ้า มักไม่ว่ายนํ้าเหมือนนางนวลใหญ่ มีหลายชนิด เช่น นางนวลแกลบเล็ก [ Sterna albifrons (Pallas) ] นางนวลแกลบเคราขาว [ Chlidonias hybrida (Pallas) ] นางนวลแกลบปากหนา [ Gelochelidon nilotica (Gmelin) ]. |
บีตา | น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสีแกมมา. |
โปโล ๒ | น. เสื้อคอเชิ้ต ผ่าอกลึกลงมาประมาณ ๒๐ เซนติเมตร. |
พระ | ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. ภิกษุ เช่น พระสมศักดิ์ ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ |
พาย | น. เครื่องมือสำหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเคลื่อนไป ทำด้วยไม้ มีด้ามกลมยาวประมาณ ๒ ศอกสำหรับจับ ส่วนที่ใช้พุ้ยน้ำมีลักษณะแบน เรียกว่า ใบพาย, ถ้าลอกลวดเป็นคิ้วตลอดกลางใบพาย เรียกว่า พายคิ้ว, ถ้าด้ามสั้น ใบป้อม เพื่อให้จับได้ถนัด เรียกว่า พายทุย, เรียกไม้แบน ๆ ที่มีรูปคล้ายพาย เช่น พายกวนขนม. |
มฤตยู | ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๗ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๒, ๘๗๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐, ๘๐๐ กิโลเมตร, ดาวยูเรนัส ก็เรียก. |
แม่ฟ้าหลวง ๒ | น. ชื่อปูน้ำจืดชนิดDromothelphusa sangwan Naiyanetr ในวงศ์ Potamidae มีขอบตา ขอบปาก ปลายขาและปลายก้ามหนีบสีแดง ขุดรูอยู่บริเวณ ๒ ฝั่งริมลำธารตามภูเขา พบที่ดอยตุง จังหวัดเชียงราย. |
ไม้ตะพด | น. ไม้ถืออย่างหนึ่งใช้ป้องกันตัว ทำด้วยไม้รวกเป็นต้น ยาวประมาณ ๒ ศอก. |
ยูเรนัส | น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๗ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๒, ๘๗๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐, ๘๐๐ กิโลเมตร, ดาวมฤตยู ก็เรียก. |
เรือกลอง | น. เรือที่ใช้ในราชการแต่โบราณบรรทุกนักดนตรีและเครื่องประโคมตีและเป่านำกระบวนเรือพระที่นั่ง วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๒๐ คน. |
เรือประจัญบาน | น. เรือรบขนาดใหญ่ระวางขับน้ำประมาณ ๒๐, ๐๐๐ ตันขึ้นไป มีเกราะป้องกันตนเอง มีอาวุธสมัยใหม่หลายประเภท รวมทั้งอาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้น และพื้นสู่อากาศ มีหน้าที่หลักในการต่อตีเรือข้าศึก และระดมยิงฝั่งเพื่อสนับสนุนการรบสะเทินน้ำสะเทินบก. |
ลัง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger kanagurta (Cuvier) ในวงศ์ Scombridae รูปร่างและลักษณะทั่วไปคล้ายปลาทู แต่ขนาดใหญ่และลำตัวเพรียวกว่าเล็กน้อย ปากกว้าง ลำตัวสีน้ำเงินปนเทาและมีแถวจุดบริเวณ ๒ ข้างของครีบหลังเข้มกว่าปลาทู มีลายเส้นสีทึบพาดตามยาวข้างลำตัว ๒-๓ เส้น มีชุกชุมโดยอยู่รวมกันเป็นฝูงในบริเวณห่างฝั่งมากกว่าปลาทู, ทูโม่ง หรือ ทูลัง ก็เรียก. |
แล่ง ๑ | น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๒ จังออน = ๑ แล่ง และ ๒ แล่ง = ๑ ทะนาน. |
สัด ๑ | ชื่อมาตราตวงโบราณ ๒๕ ทะนาน เป็น ๑ สัด มีอัตราเท่ากับ ๑ ถัง หรือ ๒๐ ลิตร. |
สาบ ๒ | น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Blattidae ลักษณะคล้ายแมลงแกลบแต่ส่วนใหญ่ตัวโตกว่า ลำตัวยาวประมาณ ๒ เซนติเมตรหรือมากกว่า รูปร่างเป็นรูปไข่ค่อนข้างแบนลง หัวซ่อนอยู่ใต้ส่วนอก หนวดยาวคล้ายเส้นด้าย ขายาวมีหนาม ตัวเต็มวัยมีทั้งพวกมีปีกและไม่มีปีก มีกลิ่นเฉพาะตัว กินอาหารได้หลากหลาย พบได้ทั่วไป ที่พบบ่อยตามบ้านเรือนทั่วโลกในปัจจุบัน เช่น ชนิด Periplaneta Americana (Linn.) และชนิด Blatta orientalisLinn. |
ไส้เดือนฝอย | น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มที่มีลำตัวกลมไม่เป็นปล้องหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ขนาดแตกต่างกัน ชนิดที่รู้จักกันดี คือ ไส้เดือนฝอยรากปม [ Meloidogyne javanica (Treub) ] ในวงศ์ Meloidogynidae ขนาดประมาณ ๒ มิลลิเมตร ลำตัวเป็นริ้ว เป็นปรสิตตามรากผัก ถั่ว และต้นไม้. |
หุ่นใหญ่ | น. หุ่นชนิดทำจำลองย่อส่วนตัวละครขนาดสูงประมาณ ๒ ศอก ตัวหนึ่งใช้คนเชิด ๓ คน ใช้แสดงละครเล็ก. |
เหล้าโรง | น. เหล้าที่กลั่นจากโรงงานสุราโดยทั่วไปมักมีความเข้มข้นของเอทิลแอลกอฮอล์ประมาณ ๒๘ ดีกรี หรือ ๔๐ ดีกรี, เหล้าขาว ก็เรียก. |
อังคาร | ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๔ ในระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ ๒๒๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖, ๗๘๗ กิโลเมตร มีพื้นผิวขรุขระและมีบรรยากาศเบาบาง ส่วนใหญ่เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีบริวาร ๒ ดวง |
เอเคอร์ | น. หน่วยวัดพื้นที่ ๑ เอเคอร์ เท่ากับ ๔, ๘๔๐ ตารางหลา หรือ ประมาณ ๔, ๐๐๐ ตารางเมตร หรือ ประมาณ ๒ ไร่ครึ่ง. |
แอลฟา | น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม มักเรียกกระแสอนุภาคแอลฟาว่า รังสีแอลฟา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้น้อย เมื่อกระทบกับฉากเรืองแสงจะทำให้เกิดแสงเรืองขึ้นได้. |
ฮิปโปโปเตมัส | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Hippopotamus amphibius Linn. ในวงศ์ Hippopotamidae หนังหนาสีนํ้าตาล มีขนนิ่มกระจายห่าง ๆ ริมฝีปากหนามีขนแข็งยาว ฟันหน้าและเขี้ยวยาวมาก จมูก หู และตาอยู่ตอนบนของหัวเพื่อช่วยในการมองและหายใจขณะอยู่ในน้ำได้ดี หางแบน หูและปลายหางด้านข้างมีขนแข็งยาว เหงื่อสีแดงเรื่อ ๆ หนักประมาณ ๒, ๐๐๐ กิโลกรัม ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำมากกว่าบนบก ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา. |
ฮิปโปโปเตมัสแคระ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Choeropsis liberiensis (Morton) ในวงศ์ Hippopo-tamidae ลักษณะคล้ายฮิปโปโปเตมัส ยกเว้นมีจมูก หู และตาอยู่ด้านข้างของหัว เหงื่อใส ตัวเล็กกว่า หนักประมาณ ๒๐๐ กิโลกรัม นิสัยและถิ่นกำเนิดเช่นเดียวกับฮิปโปโปเตมัส. |