ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*metadata*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: metadata, -metadata-
Possible hiragana form: めただた
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา ศัพท์แพทย์ศาสตร์สำหรับคนไทย (MED) - ไทย (TH) (UNAPPROVED version -- use with care )
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
metadata[สาน ระ ลัก] (n) สารลักษณ์, ลักษณะที่อธิบายถึง ข้อมูล(สาร) ที่มี

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Metadataเมทาดาทา [เทคโนโลยีการศึกษา]
Metadataเมทาดาทา, Example: เมทาดาทา คือ การอธิบายให้ทราบรายละเอียดของข้อมูล ซึ่งจะต้องคุณสมบัติ 2 ประการ คือ เป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง และ ต้องอธิบายถึงทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ <p>ความจำเป็นที่ต้องมีเมทาดาทา เกิดขึ้น เนื่องจากสารสนเทศที่สร้างขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ลักษณะ คือ <p>1. เนื้อหา (Content) ของงาน เกี่ยวกับชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ต้นฉบับ (แำหล่งที่มา) ภาษา เรื่องที่เกี่ยวข้อง และขอบเขต <p>2. บริบท (Context) ของสารสนเทศ เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของงาน เช่น ผู้เขียน ผู้สร้างสรรค์ผลงาน สำนักพิมพ์ ผู้มีส่วนร่วมในผลงาน และสิทธิในงานนั้นๆ <p>3. โครงสร้าง (Structure) ของข้อมูลเกี่ยวกับ วัน เดือน ปีที่สร้างผลงาน ประเภทของเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอผลงาน และตัวบุ่งชี้หรือตัวระบุถึงทรัพยากร <p>ประเภทและหน้าที่ของเมทาดาทา <p>การทำเมทาดาทา จะต้องเข้าใจถึงประเภทของเมทาดาทาซึ่งจำแนกตามหน้าที่ได้ 3 ประการ คือ <p>1. เมทาดาทาเชิงการบริหาร (Administrative metadata) เป็นการกำหนดเมทาดาทาเพื่อใช้ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เช่น เป็นเมทาดาทาของข้อมูลเกี่ยวกับ การจัดหาสารสนเทศนั้นๆ การสร้าง การปรับปรุงสารสนเทศ เป็นเมทาดาทาเกี่ยวกับการสงวนรักษาข้อมูล เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการย้้ายสภาพ เป็นต้น <p>2. เมทาดาทาเชิงการพรรณนา (Descriptive metadata) เป็นเมทาดาทาที่อธิบายเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ เช่น การลงรายการ ชื่อเรื่อง ชื่่อผู้แต่ง หัวเรื่อง การจัดหมวดหมู่ <p>3. เมทาดาทาเชิงโครงสร้าง (Structure metadata) เป็นเมทาดาทาที่แสดงหรือนำสารสนเทศไปถึงผู้ใช้ เช่น เมทาดาทาของข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเครื่องที่ใช้ในการอ่านภาพ ข้อมูลการแปลงเป็นดิจิทัล เป็นต้น <p>ลักษณะของเมทาดาทา <p>การใส่เมทาดาทา เพื่ออธิบายสารสนเทศนั้น สามารถใส่เมทาดาทาไปกับตัววัตถุ (Embedded object) เช่น ใส่เมทาดาทาไปกับแฟ้มข้อมูลที่สร้างขึ้น หรือ ใส่เมทาดาทาแยกจากสารสนเทศ โดยผ่านตัวแบบฟอร์มการกรอกเมทาดาทาของระบบอีกต่อหนึ่ง <p>ความสำคัญของเมทาดาทา <p>1. เพื่อการค้นหาสารสนเทศ เมทาดาทาที่ถูกกำหนดไว้จะเป็นตัวช่วยในการเข้าสารสนเทศได้ <p>2. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เว็บพอร์ทัลที่เชื่อมโยงไปยังสารสนเทศต่างๆ จะได้ประโยชน์โดยเฉพาะถ้าเว็บเหล่านั้น ถูกสร้างเป็นแบบไดนามิกเว็บจากเมทาดาทาที่เก็บในฐานข้อมูล โดยการใช้โปรแกรมหรือเครื่องมือในการดึงและการปรับรูปแบบใหม่ (Reformat) ได้ <p>3. การใช้งานได้หลากหลายระบบ (Interoperability) ด้วยความแตกต่างทางฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ โครงสร้างข้อมูลและส่วนต่อประสาน การกำหนดใช้เมทาดาทา โปรโตคอลที่ใช้ในการแบ่งปันข้อมูล และ Crosswalk ระหว่างเมทาดาทา สามารถช่วยให้การสืบค้นข้ามระบบหรือทำให้ความแตกต่างดังกล่าวไม่เป็นอุปสรรค โดย 2 แนวทาง ได้แก่ <p>3.1 การสืบค้นข้ามระบบ (Cross-system search) โดยมีโปรโตคอล Z39.50 เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการสืบค้นข้ามระบบ <p>3.2 การเก็บเกี่ยวเมทาดาทา (Metadata harvesting) Open Archives Initiative (OAI) OAI เสนอกลไกสำหรับเจ้าของสารสนเทศให้เปิดเผยเมทาดาทาที่ใช้ เพื่อให้ระบบสามารถใช้เทคโนโลยีในการค้นและเข้าถึงข้อมูลได้ OAI เป็นการหาข้อมูลทั้งหมด จากนั้นแปลเมทาดาทาของเดิม (Native metadata) ไปเป็นหน่วยข้อมูลที่ใช้กันโดยทั่วไป และนำออกเพื่อการเก็บเกี่ยว (harvesting) ตัวให้บริการคำค้นจะรวบรวมเมทาดาทาเข้าไปเก็บไว้ในดรรชนีส่วนกลาง (คลังเก็บคำค้นส่วนกลาง) เพื่อให้มีการสืบค้นข้ามแหล่งเก็บนี้ได้ <p>4. การบ่งชี้ดิจิทัล เค้าร่างเมทาดาทาส่วนใหญ่ มีองค์ประกอบที่เป็นเลขมาตรฐาน เพื่อเป็นการบ่งชี้เฉพาะถึงผลงานหรือสารสนเทศที่เมทาดาทานั้นอ้างถึง ที่อยู่หรือตำแหน่งของสารสนเทศดิจิทัลอาจถูกกำหนดด้วยชื่อแฟ้มข้อมูล ยูอาร์แอลหรือตัวบ่งชี้ถาวร การมีองค์ประกอบที่มีข้อมูลตัวนี้จะเป็นตัวชี้ไปยังสารสนเทศ เมทาดาทาสามารถถูกรวมไปกับการอธิบายตัวข้อมูลด้วย <p>5. การเก็บถาวรและการสงวนรักษา เมทาดาทาเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้แน่ใจว่า สารสนเทศจะถูกสามารถเข้าใช้หรือเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่อง องค์ประกอบของการจัดเก็บถาวรและสงวนรักษา จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อติดตามเส้นทางของสารสนเทศ (แหล่งที่มา และประวัติการเปลี่นแปลง) เพื่อดูรายละเอียดของลักษณะทางกายภาพ และเพื่อที่จะแข่งขันหรือพยายามเลียนแบบเทคโนโลยีในอนาคต [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Dublin Core Metadataดับลินคอร์เมทาดาทา, Example: ดับลินคอร์เมทาดาทา เป็นหลักเกณฑ์ของการลงเมทาดาทาสำหรับเอกสารบนเว็บ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีสารสนเทศจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นเอกสารที่เจ้าของผลงานผลิตขึ้นเองโดยใช้เพียงภาษาเอชทีเอ็มแอล ในการกำหนดรูปแบบการแสดงผลและเชื่อมโยงข้อมูลเท่านั้น ไม่มีโครงสร้างมาตรฐานสำหรับสืบค้นที่ระบุเขตข้อมูล คณะทำงานดับลินคอร์ซึ่งประกอบด้วย บรรณารักษ์ นักเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้ทำงานด้านสร้างข้อมูลในเว็บของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และหลายประเทศในยุโรปต่างประสบปัญหาและเห็นว่าการสร้างสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องมีการกำหนดคำจำกัดความตามมาตรฐาน เพื่อช่วยให้สืบค้นสารสนเทศได้เนื้อหาตรงกับความต้องการได้ ในปี ค.ศ. 1995 คณะทำงานดับลินคอร์จึงได้ประชุมกันครั้งแรกที่เมืองดับลิน รัฐโอไฮโอ และกำหนดชุดหน่วยข้อมูลย่อย 15 หน่วย สำหรับใช้พรรณนาสารสนเทศดิจิทัลเพื่อให้เจ้าของผลงานจัดทำเมทาดาทาด้วยตนเอง และสามารถสืบค้นร่วมกันกับฐานข้อมูลต่างระบบ ปัจจุบันดับลินคอร์ได้รับการประกาศเป็นมาตรฐานสากล ISO 15836 และมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา NISO Z39.85 ดับลินคอร์ได้รับการนำไปใช้อย่างกว้างขวางและเป็นพื้นฐานของการประยุกต์ใช้ ในโครงการต่างๆ หรือห้องสมุดต่างๆ มากมาย หน่วยข้อมูลย่อยดับลินคอร์แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ <p>หน่วยข้อมูลย่อยที่เกี่ยวกับเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ เป็นหน่วยข้อมูลที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับ ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ต้นฉบับ (แหล่งที่มา) ภาษา เรื่องที่เกี่ยวข้อง และขอบเขต <p>หน่วยข้อมูลย่อย ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา เป็นหน่วยข้อมูลที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับ ผู้เขียน ผู้สร้างสรรค์ผลงาน สำนักพิมพ์ ผู้มีส่วนร่วมในผลงานนั้นๆ และสิทธิ <p>หน่วยข้อมูลย่อยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบที่ปรากฏให้ใช้งาน เป็นหน่วยข้อมูลที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี ที่สร้างผลงาน ประเภทของเนื้อหา รูปแบบของการนำเสนอผลงาน และตัวบ่งชี้หรือตัวระบุถึงทรัพยากร <p>ดับลินคอร์เมทาดาทา 15 เขตข้อมูล ได้แก่ <p> 1. Title ชื่อของทรัพยากรสารสนเทศ ชื่อหนังสือ ชื่อวารสาร โดยทั่วไปใช้ชื่อที่รู้จักแพร่หลายอย่างเป็นทางการ <p> 2. Creator ผู้รับผิดชอบการจัดทำต้นฉบับเนื้อหาทรัพยากร หมายรวมถึง บุคคล องค์กร หรือหน่วยบริการ ปกติชื่อเจ้าของงานควรใช้ชื่อที่มีตัวตนเป็นรูปธรรมหรือหน่วยงานที่มีอยู่จริง <p> 3. Subject หัวเรื่องของเนื้อหา จะแสดงด้วยคำสำคัญ วลีสำคัญ หรือรหัสหมวดวิชาที่กล่าวถึงทรัพยกร <p> 4. Description คำอธิบายย่อเนื้อหาของทรัพยากร เป็นบทคัดย่อจากเนื้อหาของทรัพยากรที่เจ้าของงานหรือผู้อื่นเป็นผู้จัดทำ <p> 5. Publisher ผู้รับผิดชอบให้มีการสร้างหรือผลิตทรัพยากรขึ้น หมายรวมถึง บุคคล องค์กรหรือหน่วยบริการ ปกติควรใช้สำนักพิมพ์ที่มีตัวตนเป็นรูปธรรมหรือหน่วยงานที่มีอยู่จริง <p> 6. Contributor ผู้รับผิดชอบร่วมให้มีการสร้างหรือผลิตด้านเนื้อหาทรัพยากร หมายรวมถึงบุคคล องค์กรหรือหน่วยบริการ ปกติควรใช้ชื่อที่มีตัวตนเป็นรูปธรรมหรือหน่วยงานที่มีอยู่จริง <p> 7. Date ปีที่จัดพิมพ์เผยแพร่เอกสารในรูปสิ่งพิมพ์ แนะนำให้ใช้แบบแผน ISO 8601 yyyy-mm-dd <p> 8. Type ประเภททรัพยากร ชนิดของเนื้อหาหรือประเภทของสารสนเทศ <p> 9. Format รูปลักษณ์ของทรัพยากร <p> 10. Identifier รหัสทรัพยากรสารสนเทศ รหัสที่ใช้ระบุว่าหมายถึงทรัพยากรรายการนั้น เช่น URL UR ISBN หรือเลขเรียกหนังสือ (Call no.) <p> 11. Source การอ้างอิงต้นฉบับของทรัพยากรซึ่งเป็นที่มาของการแปลง แปร หรือแปลทรัพยากรสู่รูปแบบปัจจุบัน <p> 12. Language ภาษาที่ใช้เรียบเรียงเนื้อหา <p> 13. Relation การอ้างอิงถึงทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง <p> 14. Coverage ระยะเวลาหรือขอบเขตเนื้อหาของทรัพยากร <p> 15. Rights ข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีสิทธิในทรัพยากรนั้นๆ <p> ตัวอย่าง Dublin Core ในเอกสารเว็บ <p><a href ="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/20120526-Dublin-Core.jpg"><img src="http://www.thaiglossary.org/sites/default/files/20120526-Dublin-Core.jpg" alt="Dublin Core" width="670px"></a> <p>การที่ดับลินคอร์เมทาดาทาเป็นที่นิยมใช้ เนื่องจาก ผู้นำไปใช้ไม่จำเป็นต้องใช้หน่วยข้อมูลย่อยทั้งหมด สามารถเลือกใช้เท่าที่จำเป็นหรือต้องการ สามารถใช้หน่วยข้อมูลซ้ำได้ สามารถเพิ่มขยายหน่วยข้อมูลได้ตามความจำเป็น และใช้งานได้หลากหลายระบบ (Interoperability) และเป็นสากล <p>บรรณานุกรม: <p>Dublin Core Metadata Initiative. [ Online ]. Available: http://dublincore.org/ Accessed: 2012-05-26. <p>Dublin Core Tutorial. [ Online ]. Available: http://www.tutorialsonline.info/Common/DublinCore.html. Accessed: 2012-05-26. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์]
Metadataเมตะดาตา [TU Subject Heading]
Metadataข้อมูลรายละเอียดที่อธิบายถึงความเป็นมาของข้อมูล หรืออธิบายข้อมูลหลัก [การจัดการความรู้]

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
metadata(n) ข้อมูลของข้อมูล ซึ่งจะใช้ข้อมูลอธิบายถึงข้อมูลอีกชุดหนึ่งตามต้องการ, See also: metatable
metadata(n) นิยามข้อมูล

WordNet (3.0)
metadata(n) data about data

Japanese-English: EDICT Dictionary
メタデータ[metade-ta] (n) { comp } metadata [Add to Longdo]

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top