มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ | classification | (แคลสซิฟิเค'เชิน) n. การแบ่งออกเป็นหมวดหมู่., See also: classificatory adj. -al adj. | classified | (แคลส'ซิไฟดฺ) adj. ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทหรือหมวดหมู่, สำหรับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น, เป็นความลับ. n. แจ้งความเล็ก ๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์, Syn. confidential |
|
| | | Classification | การวิเคราะห์หนังสือ [เทคโนโลยีการศึกษา] | Dewey Decimal Classification | การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ [เทคโนโลยีการศึกษา] | Library classification | การจัดหมู่หนังสือ, Example: เดิมห้องสมุดส่วนใหญ่จัดเก็บหนังสือ ตามขนาดของหนังสือ ตามสีของปก หรือตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือ ต่อมา ได้มีผู้คิดระบบจัดหมู่หนังสือขึ้น โดยแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ โดยมีพัฒนาการ ดังนี้ <p> <p>1. สมัยโบราณ <p><p> 1.1 ชาวอัสซีเรียน เชื่อกันว่า ชาวอัสซีเรียนเป็นพวกที่เริ่มวิธีการจัดหมู่อย่างเป็นแบบแผน ในสมัยพระเจ้าอัสซูบานิปาล มีการจัดกลุ่มแท่งดินเหนียวในห้องสมุดแห่งเมืองนิเนเวห์ออกเป็น 2 หมวดใหญ่แบ่งตามเนื้อเรื่อง คือ เรื่องราวทางโลก และ เรื่องราวทางสวรรค์ <p><p> 1.2 ชาวโรมัน ห้องสมุดในสมัยโรมัน มีการแบ่งแยกหนังสือตามประเภทของผู้เขียน เป็น 2 หมวด คือ หนังสือของพวกนักเขียนนอกศาสนา และหนังสือของพวกนักเขียนที่นับถือศาสนาคริสต์หรือนักบวช <p><p> 1.3 ชาวอียิปต์ คัลลิมาคัส ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ของห้องสมุดอเล็กซานเดรีย จัดแบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่ คือ กวีนิพนธ์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา วาทศิลป์ และเบ็ดเตล็ด <p> 2 สมัยกลาง อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก คิดระบบการจัดแบ่งวิชาความรู้ออกเป็น 3 ภาคได้แก่ <p><p> - ความรู้ภาคปฏิบัติ (Practical หรือ Ethical) ประกอบด้วย วิชาเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ <p><p> - ความรู้ในทางสร้างสรรค์ (Productive หรือ Creative) ประกอบด้วย วิชากวีนิพนธ์ และศิลปะ <p><p> - ความรู้ภาคทฤษฎี (Theoretical) ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเทววิทยา <p> 3. สมัยศตวรรษที่ 16 คอนราด เกสเนอร์ (Conrad Gesner) เขียนหนังสือชื่อ Bibliotheca Universalis ซึ่งเป็นบรรณานุกรมที่รวบรวมรายชื่อหนังสือภาษาลาติน กรีก และฮินดู จัดเรียงตามรายชื่อหนังสือตามลำดับหัวข้อวิชา โดยแบ่งออกเป็น 21 หัวข้อ <p> 4. สมัยศตวรรษที่ 17 เซอร์ ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon) ได้เขียนหนังสือชื่อ The Advancement of Learning ขึ้นในปี ค.ศ. 1605 โดยเบคอนมีความคิดว่า มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดเป็น 3 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนมีผลทำให้เกิดความรู้ขึ้น ได้แก่ ส่วนที่ 1 ความจำ (Memory) ทำให้เกิดวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนที่ 2 จินตนาการ (Imagination) ทำให้เกิดวิชาร้อยกรอง และ ส่วนที่ 3 เหตุผล (Reason) ทำให้เกิดวิชาปรัชญา <p> จากแนวความคิดนี้เอง ประธานาธิบดี โธมัส เจฟเฟอสัน (Thomas Jefferson) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้นำมาจัดทำเป็นระบบจัดหมู่หนังสือในห้องสมุดส่วนตัว ซึ่งต่อมาก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นระบบจัดหมู่หนังสือในหอสมุดรัฐสภาอเมริกันในยุคแรก <p> 5. สมัยศตวรรษที่ 18 กุสตาฟ บูรเนต์ (Gustave Brunet) ชาวฝรั่งเศส เขียนหนังสือคู่มือการจัดหมู่หนังสือและห้องสมุดชื่อ Manuel du Libraire et d l' Amateur de Livres โดยแบ่งความรู้ออกเป็น 5 หมวดใหญ่คือ เทววิทยา นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดี <p> 6. สมัยศตวรรษที่ 19-20 ได้มีผู้คิดระบบจัดหมู่หนังสือเพื่อใช้ในห้องสมุดอย่างจริงจังหลายระบบ ได้แก่ <p><p> ค.ศ. 1876 ระบบทศนิยมดิวอี้ <p><p>ค.ศ. 1891 ระบบเอ็กแพนซีฟ <p><p>ค.ศ. 1901 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p><p>ค.ศ. 1905 ระบบทศนิยมสากล <p><p> ค.ศ. 1906 ระบบซับเจ็ค <p><p> ค.ศ. 1933 ระบบโคลอน <p><p> ค.ศ. 1935 ระบบบิบลิโอกราฟิค <p> ระบบการจัดหมู่ในระยะแรกมีแนวคิดในการแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่อย่างมีเหตุผลตามแนวทฤษฎี จึงเรียกว่า ระบบทฤษฎี (Theoretical system) ต่อมาในศตวรรษที่ 20 แนวความคิดเปลี่ยนเป็นการคำนึงถึงหนังสือที่มีอยู่จริงในห้องสมุด จึงเรียกว่า ระบบปฏิบัติ (Practical system) <p> บรรณานุกรม <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขปรับปรุง. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์. แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์. 2520. ประวัติการทำบัตรรายการและการจัดหมู่หนังสือ. เอกสารบรรณารักษศาสตร์ เล่ม 19. กรุงเทพฯ : แผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. <p> Wynar, Bohdan S. 1985. Introduction to Cataloging and Classification. 7th ed. Littletob, Colo. : Libraries Unlimited. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Decimal classification | การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Dewey Decimal Classification | การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Library of Congress Classification System | ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Universal Decimal Classification | ระบบทศนิยมสากล [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Classification, Dewey Decimal | การวิเคราะห์หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้, Example: ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification Syste, - DDC หรือ DC) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่เก่าแก่และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ผู้คิดระบบทศนิยมดิวอี้ คือ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) บรรณารักษ์ชาวอเมริกัน เมื่อปี ค.ศ. 1873 และจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1876 ใช้ชื่อว่า A Classicification and Subject Index for Cataloging and Arranging Books and Pamphlets of a Library โดยครอบคลุมการแบ่งย่อยเนื้อหาวิชาจากเรื่องกว้างๆ ไปจนถึงเนื้อเรื่องเฉพาะ นอกเหนือจากฉบับพิมพ์แล้ว ปัจจุบันคือ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 22 ยังมีเป็นแบบออนไลน์อีกด้วย <p> <p> ลักษณะทั่วไปของระบบทศนิยมดิวอี้ <p> 1. ระบบทศนิยมดิวอี้ เป็นระบบที่คิดขึ้นโดยการแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ตามหลักทฤษฎี (Theoretical systems) กล่าวคือ กำหนดการแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้ในแต่ละหมวดหมู่ โดยคำนึงถึงลำดับพัฒนาการของการเกิดวิชาความรู้ในแต่ละสาขาเป็นสำคัญ เริ่มจาก <p> - ปรัชญา: เป็นเนื้อหาความรู้แรก เป็นเรื่องที่มนุษย์คิดเกี่ยวกับตน คือใคร มาจากไหน ความดีหรือความชั่ว คืออะไร เป็นอย่างไร <p> - ศาสนา: เป็นวิชาที่มนุษย์คิดเกี่ยวกับพระเจ้า พระเจ้าคือใคร จะช่วยให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างไร <p> - สังคมศาสตร์: ถัดจากคิดเกี่ยวกับตัวเอง คือ การที่มนุษย์คิดเกี่ยวกับบุคคลอื่น การอยู่ร่วมกันต้องมีการคิดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้อื่น <p> - ภาษา: การที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับถ้อยคำและการสื่อสารเพื่อการติดต่อ สมาคม <p> - วิทยาศาสตร์: มนุษย์คิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ทำไมจึงเกิด มีการคิด พิสูจน์ ได้ข้อเท็จจริงที่อธิบายปรากฏารณ์ต่างๆ และบันทึกข้อเท็จจริงนั้นๆ ไว้ <p> - วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี: เมื่อมนุษย์นำความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความสุขสบาย <p> - ศิลปะและนันทนาการ: มนุษย์คิดสร้างสรรค์จากความประทับใจของตนเป็นงานเชิงศิลปะ ดนตรี และความบันเทิง <p> - วรรณกรรมหรือวรรณคดี: งานศิลปะที่สร้างขึ้นถูกมนุษย์นำมาถ่ายทอด และบอกเล่าผ่านทางตัวอักษร <p> - ประวัติศาสตร์: มนุษย์บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับคน สถานที่ เหตุการณ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ <p> - ความรู้ทั่วไปหรือเบ็ดเตล็ด: การเอาความรู้อื่นๆ ที่ไม่อาจจัดไว้ในหมวดหมู่อื่นได้ มารวมไว้ด้วยกัน <p> 2. จัดแบ่งหมวดวิชาความรู้ในสาขาต่างๆ โดยเริ่มจากเรื่องทั่วๆ ไป สู่เรื่องที่เฉพาะยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็นชั้น ชั้นละ 10 กลุ่ม จากหมวดใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อย ดังนี้ <p> 2.1 การแบ่งครั้งที่ 1 (First Summary) คือ แบ่งวิชาความรู้ทุกแขนงวิชาของมนุษยชาติออกเป็นหมวดใหญ่ (Main class) 10 หมวด ใช้เลขอารบิกหลักร้อย 0-9 เป็นสัญลักษณ์แทนวิชาความรู้ทั้ง 10 หมวด ดังนี้ <p> 000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และ ความรู้ทั่วไป (Computer science, information & general works) <p> 100 ปรัชญาและจิตวิทยา (Philosophy and psychology) <p> 200 ศาสนา (Religion) <p> 300 สังคมศาสตร์ (Social sciences) <p> 400 ภาษา (Languages) <p> 500 วิทยาศาสตร์ (Science) <p> 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Technology and applied science) <p> 700 ศิลปะและนันทนาการ (Arts and recreation) <p> 800 วรรณคดี (Literature) <p> 900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และชีวประวัติ (History, geography and biography) <p> 2.2 การแบ่งครั้งที่ 2 (Second Summary) คือ การแบ่งหมวดวิชาความรู้หมวดใหญ่แต่ละหมวดออกเป็นหมวดย่อย (Division) 10 หมวด ใช้เลขอารบิกหลักสิบ 0-9 แทนความรู้หมวดย่อย เช่น หมวดใหญ่ 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ แบ่งเป็นหมวดย่อย 10 หมวด คือ <p> 600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Technology (Applied sciences) <p> 610 แพทยศาสตร์ (Medical sciences) <p> 620 วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) <p> 630 เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p> 640 คหกรรมศาสตร์ (Home economics) <p> 650 การจัดการ (Management) <p> 660 อุตสาหกรรมเคมี (Chemical engineering) <p> 670 โรงงานอุตสาหกรรม (Manufacturing) <p> 680 โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้เฉพาะอย่าง (Manufacture for specific uses) <p> 690 การก่อสร้าง (Buildings) <p> ดังนั้น หมวดใหญ่ 10 หมวดจึงแบ่งเป็นหมวดย่อยได้ 100 หมวด ดังนี้ <p> 000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และความรู้ทั่วไป (Computer science, information & general works) <p> 010 บรรณานุกรม (Bibliographies) <p> 020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (Library & information sciences) <p>030 หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม (Encyclopedias & books of facts) <p> 040 ยังไม่กำหนดใช้ (No longer used) <p> 050 นิตยสาร วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Magazines, journals & serials) <p> 060 สมาคม องค์การและพิพิธภัณฑวิทยา (Associations, organizations & museums) <p> 070 สื่อใหม่ วารสารศาสตร์ และการพิมพ์ (News media, journalism & publishing) <p>080 รวมเรื่อง (General collections) <p> 090 ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก (Manuscripts & rare books) <p> 100 ปรัชญา (Philosophy) <p> 110 อภิปรัชญา (Metaphysics) <p> 120 ญาณวิทยา ความเป็นเหตุผล ความเป็นมนุษย์ (Epistemology, causation, humankind) <p> 130 จิตวิทยานามธรรม (Paranormal phenomena) <p> 140 แนวความคิดปรัชญาเฉพาะกลุ่ม (Specific philosophical schools) <p> 150 จิตวิทยา (Psychology) <p> 160 ตรรกศาสตร์ ตรรกวิทยา (Logic) <p> 170 จริยศาสตร์ ศีลธรรม (Ethics (Moral philosophy)) <p> 180 ปรัชญาสมัยโบราณ สมัยกลาง ตะวันออก (Ancient, medieval, Oriental philosophy) <p> 190 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ (Modern Western philosophy (19th-century, 20th-century)) <p> 200 ศาสนา (Religion) <p> 210 ศาสนาธรรมชาติ (Natural theology) <p> 220 ไบเบิล (Bible) <p> 230 เทววิทยาตามแนวคิดคริสต์ศาสนา (Christian theology) <p> 240 ศีลธรรมชาวคริสต์ การอุทิศเพื่อศาสนา (Christian moral & devotional theology) <p> 250 คริสต์ศาสนาในท้องถิ่นและระเบียบแบบแผนปฏิบัติ (Christian orders & local church) <p> 260 สังคมชาวคริสต์ เทววิทยาทางศาสนา (Christian social theology) <p> 270 ประวัติคริสต์ศาสนา (Christian church history) <p> 280 นิกายต่างๆ ในคริสต์ศาสนา (Christian denominations & sects) <p> 290 ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่นๆ (Other & comparative religions) <p> 300 สังคมศาสตร์ สังคมวิทยา และ มนุษยวิทยา (Social sciences, Sociology & anthropology) <p> 310 สถิติศาสตร์ (General statistics) <p> 320 รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง (Political science) <p> 330 เศรษฐศาสตร์ (Economics) <p> 340 กฎหมาย (Law) <p> 350 รัฐประศาสนศาสตร์ และวิทยาการทหาร (Public administration) <p> 360 การบริการสังคม และสมาคม (Social services; assoication) <p> 370 การศึกษา (Education) <p> 380 การพาณิชย์ การสื่อสาร การขนส่ง (Commerce, communications, transport) <p>390 ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยา (Customs, etiquette, folklore) <p> 400 ภาษา (Language) <p> 410 ภาษาศาสตร์ (Linguistics) <p> 420 ภาษาอังกฤษ (English & Old English) <p> 430 ภาษาเยอรมัน (Germanic languages; German) <p> 440 ภาษาโรมานซ์ ; ภาษาฝรั่งเศส (Romance languages; French) <p> 450 ภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน (Italian, Romanian, Rhaeto-Romantic) <p> 460 ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส (Spanish & Protugese languages) <p> 470 ภาษาละติน (Italic languages; Latin) <p> 480 ภาษากรีก (Hellenic languages; Classical Greek) <p> 490 ภาษาอื่นๆ (Other languages) <p> 500 วิทยาศาสตร์ (Sciences) <p> 510 คณิตศาสตร์ (Mathematics) <p> 520 ดาราศาสตร์ (Astronomy & allied sciences) <p> 530 ฟิสิกส์ (Physics) <p> 540 เคมี (Chemistry & allied sciences) <p> 550 วิทยาศาสตร์โลก (Earth sciences) <p> 560 บรรพชีวินวิทยา (Paleontology; Paleozoology) <p>570 ชีววิทยา (Life sciences) <p> 580 พฤกษศาสตร์ (Plants) <p>590 สัตววิทยา (Zoological sciences/Animals) <p> 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี (Technology (Applied sciences)) <p> 610 แพทยศาสตร์ (Medical sciences; Medicine) <p>620 วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering & applied operations) <p> 630 เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p> 640 คหกรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัว (Home economics & family living) <p> 650 การจัดการธุรกิจ (Management & auxiliary services) <p> 660 วิศวกรรมเคมี (Chemical engineering) <p> 670 โรงงานอุตสาหกรรม (Manufacturing) <p> 680 สินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักร (Manufacture for specific uses) <p> 690 การก่อสร้าง (Buildings) <p> 700 ศิลปกรรม การบันเทิง (Arts) <p> 710 ภูมิสถาปัตย์ (Civic & landscape art) <p> 720 สถาปัตยกรรม (Architecture) <p> 730 ประติมากรรม (Plastic arts; Sculture) <p> 740 การวาดเขียน มัณฑนศิลป์ (Drawing & decorative arts) <p> 750 จิตรกรรม ภาพเขียน (Painting & paintings) <p> 760 ศิลปะการพิมพ์ ศิลปะกราฟิก (Graphic arts; Printmaking & prints) <p> 770 การถ่ายรูป ภาพถ่าย (Photography & photographs) <p> 780 ดนตรี (Music) <p> 790 การบันเทิง นันทนาการ กีฬา (Recreational & performing arts) <p> 800 วรรณกรรม วรรณคดี (Literature) <p> 810 วรรณคดีอเมริกันในภาษาอังกฤษ (Literature rhetoric & criticism) <p> 820 วรรณคดีภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษโบราณ (English & Old English literatures) <p> 30 วรรณคดีภาษาเยอรมัน (Literatures of Germanic languages) <p> 840 วรรณคดีภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมานซ์ (Literatures of Romance languages) <p> 850 วรรณคดีภาษาอิตาลี ภาษาโรมัน (Italian, Romanian, Rhaeto-Romanic) <p> 860 วรรณคดีภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส (Spanish & Portugese literature) <p> 870 วรรณคดีภาษาละติน (Italic literature; Latin) <p> 880 วรรณคดีภาษากรีก (Hellenic literatures; Classical Greek) <p> 890 วรรณคดีภาษาอื่นๆ (Literatures of other languages) <p> 900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ (History, geography & biography) <p> 910 ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว (Geography & travel) <p> 920 ชีวประวัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (Biography, genealogy, insignia) <p> 930 ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ (History of ancient world) <p> 940 ประวัติศาสตร์ยุโรป โลกตะวันตก (General history of Europe) <p> 950 ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออก (General history of Asia; Far East) <p> 960 ประวัติศาสตร์แอฟริกา (General history of Africa) <p> 970 ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ (General history of North America) <p> 980 ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้ (General history of South America) <p> 990 ประวัติศาสตร์ส่วนอื่นๆ ของโลก (General history of other areas) <p>จากหมวดย่อย 100 หมวด เลขตัวที่ 2 คือเลขหลักสิบของหมวดย่อยทั้ง 100 หมวด เป็นเลข 0-9 เหมือนๆ กัน เพราะหมวดใหญ่แต่ละหมวดแบ่งเป็น 10 หมวดย่อยเท่าๆ กัน ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของระบบที่ใช้เลขฐาน 10 เป็นหลักในการแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้จากหมวดใหญ่ไปหมวดย่อย และเลขหมู่หมวดใหญ่แต่ละหมวด ต่างก็มีเนื้อหาครอบคลุมวิชาความรู้หมวดย่อยทุกหมวด เช่น หมวด 100 ครอบคลุมวิชาความรู้ในหมวด 110-190 <p> <p>2.3 การแบ่งครั้งที่ 3 (Third Summary) คือ การแบ่งวิชาความรู้ในหมวดย่อยแต่ละหมวดออกเป็นหมู่ย่อย (Section) 10 หมู่ย่อย ตัวอย่าง การแบ่งหมวดย่อย 630 <p> 630 เกษตรศาสตร์ <p> 631 เทคนิค อุปกรณ์ และวัสดุ (Techniques, equipment, materails) <p> 632 ความเสียหายของพืชอันเกิดจากเชื้อโรคและสัตว์ (Plant injuries, diseases, pests) <p> 633 การเพาะปลูกพืชไร่ (Field & plantation crops) <p> 634 การทำสวนผลไม้ ผลไม้ และป่าไม้ (Orchards, fruits, forestry) <p> 635 การทำสวนครัว (Garden crops (Horticulture)) <p> 636 สัตวบาล (Animal husbandry) <p> 637 อุตสาหกรรมนมเนย (Processing dairy & related products) <p> 638 การเพาะเลี้ยงแมลง (Insect culture) <p> 639 การล่าสัตว์ การตกปลา การอนุรักษ์ (Hunting, fishing, comservation) <p> ในแต่ละหมู่ย่อย ยังแบ่งวิชาความรู้ออกไปสู่เรื่องที่เฉพาะมากขึ้นได้อีก โดยการกระจายเลขหลังจุดทศนิยมต่อจากเลข 3 หลักดังกล่าว เช่น <p> หมวด 600 Technology (Applied sciences) เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ <p> 610 Medical sciences Medicine (การแพทย์) <p> 611 Human anatomy, cytology, tissues (กายวิภาคศาสตร์ เนื้อเยื่อ) <p> 630 Agriculture & related technologies (การเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร) <p> 631 Crops & their production (พืชและผลิตผล) <p> 632 Plant injuries, diseases, pests (โรคพืช แมลงศัตรูพืช) <p> 633 Field crops (พืชไร่) <p> 634 Orchards, fruits, forestry (ผลไม้และการทำป่าไม้) <p> .9 Forestry (การทำป่าไม้) <p> .92 Forest economy (ไม้เศรษฐกิจ) <p> .928 Management (การจัดการ) <p> .956 Forestation (การเพาะพันธุ์) <p> .9562 Seeds, seed collecting, seeding (เมล็ดพันธุ์) <p> ตัวอย่าง หนังสือ เรื่อง การปลูกพืชด้วยเมล็ด เลขหมู่ที่กำหนดได้ คือ 634.9562 <p> พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เลขหมู่ที่กำหนดได้ คือ 495.913 <p> ระบบทศนิยมดิวอี้มีตารางช่วย (Auxiliary tables) ซึ่งเป็นตารางย่อยใช้เติมเข้ากับเลขหมู่หนังสือ เพื่อระบุลักษณะเฉพาะของหนังสือมากยิ่งขึ้น ว่าเนื้อเรื่องที่เขียนในลักษณะใด เขียนเป็นภาษาใด เกี่ยวกับพื้นที่หรือท้องถิ่นใด หรือเกี่ยวกับใคร เป็นต้น ช่วยให้สามารถวิเคราะห์เนื้อหาได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ตารางช่วยดังกล่าวมี 7 ตาราง ได้แก่ <p> ตารางที่ 1 ตารางเลขวิธีเขียน (Standard subdivisions) หรือ ตารางย่อยมาตรฐาน ใช้ประกอบกับเลขหลักในแผนการจัดหมู่ได้ทุกหมวดหมู่ แสดงถึงวิธีเขียน เช่น <p> 01- สำหรับหนังสือที่เขียนในเชิงทฤษฎีและปรัชญา <p> 02- สำหรับหนังสือคู่มือ หนังสือภาพ หนังสือที่มีตาราง แผนภูมิ หรือแผนภาพเป็นส่วนประกอบสำคัญ หนังสือนามานุกรม และหนังสือเบ็ดเตล็ดอื่นๆ <p> 03- สำหรับหนังสือพจนานุกรม สารานุกรม บัญชีคำศัพท์ <p> 04- เป็นเลขว่างซึ่งจะกำหนดใช้เพื่อแบ่งย่อยเรื่องเฉพาะของเลขหมู่บางเลขหมู่เท่านั้น <p> 05- สำหรับสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เช่น หนังสือรายปี รายงานประจำปี วารสารและหนังสือพิมพ์ <p> 06- สำหรับเรื่องของสมาคมและชมรมวิชาชีพ รวมทั้งการดำเนินงานของสมาคมหรือชมรมนั้นๆ <p> 07- สำหรับหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อการศึกษาและการสอน เช่น ตำรา งานวิจัย หลักสูตร สมุดแบบฝึกหัด เป็นต้น <p> 08- สำหรับหนังสือที่เขียนถึงประวัติและพรรณนาเรื่องราวของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มอาชีพ <p> 09- สำหรับหนังสือที่เขียนถึงประวัติของเรื่องราวต่างๆ ในยุคสมัยใดยุคสมัยหนึ่ง และเขียนถึงเรื่องราวต่างๆ ในพื้นที่หรือท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง <p> ตัวอย่าง <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ คือ ประวัติของพุทธศาสนา <p> พุทธศาสนา (เลขหมู่คือ 294) <p> วิธีเขียน (เลขจากตารางที่ 1) <p> ประวัติ (-09) <p> เลขหมู่ที่กำหนดจากการเติม ได้เป็น 294.309 <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ เป็น พจนานุกรมทางวิทยาศาสตร์ <p> วิทยาศาสตร์ (500) <p> วิธีเขียน (เลขจากตารางที่ 1) <p> พจนานุกรม (-03) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 503 <p> ตารางที่ 2 ตารางเลขภูมิศาสตร์ (Areas) ใช้ประกอบกับเลขหลักในแผนการจัดหมู่ที่มีคำอธิบายให้เพิ่มเลขภูมิศาสตร์ เพื่อแสดงให้ทราบถึงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องภายในเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นที่ใด ซึ่งอาจจะเป็นทวีป ประเทศ รัฐ เมือง แม่น้ำ มหาสมุทร เป็นต้น <p> -1 เขตภูมิศาสตร์ทั่วๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น เขตมหาสมุทร ทะเล เขตภูมิอากาศ <p> -2 สำหรับหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั่วๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง <p> -3 ดินแดนสมัยโบราณ เช่น เมโสโปเตเมีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ <p> -4 ทวีปยุโรป <p> -5 ทวีปเอเซีย <p> -6 ทวีปแอฟริกา <p> -7 ทวีปอเมริกาเหนือ <p> -8 ทวีปอเมริกาใต้ <p> -9 พื้นที่ส่วนอื่นๆ เช่น หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และดินแดนที่อยู่นอกโลก เช่น อวกาศ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร <p> ตารางที่ 3 ตารางเลขเฉพาะสำหรับหมวดวรรณคดี ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่ในหมวดวรรณคดีเพื่อระบุลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีนั้นๆ <p> -08 สำหรับหนังสือรวมวรรณคดี เฉพาะภาษาของนักเขียนหลายๆ คน <p> -09 สำหรับหนังสือประวัติศาสตร์และวิจารณ์วรรณคดีเฉพาะภาษาของนักเขียนหลายๆ คน <p> -1-8 ลักษณะคำประพันธ์ ได้แก่ <p> -1 กวีนิพนธ์ <p> -2 บทละคร <p> -3 นวนิยาย <p> -4 ความเรียง บทความ <p> -5 สุนทรพจน์ ปาฐกถา <p> -6 จดหมาย <p> -7 เรื่องเชิงล้อเลียนและตลกขบขัน <p> -8 งานเขียนเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เช่น บันทึกประจำวัน บันทึกความจำ สุภาษิตคำคม <p> ตารางที่ 4 ตารางเลขเฉพาะสำหรับหมวดภาษา เป็นตารางเลขย่อยซึ่งกำหนดให้ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่ในหมวดภาษาเฉพาะ เพื่อระบุเรื่องเฉพาะของแต่ละภาษานั้น เช่น ไวยากรณ์ภาษา พจนานุกรมภาษา หลักการอ่าน เขียนภาษา เป็นต้น <p> -1 หลักในการเขียนและพูดภาษาต่างๆ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน <p> -2 นิรุกติศาสตร์ <p> -3 พจนานุกรมภาษา <p> -32-39 พจนานุกรมสองภาษา <p> -5 ระบบโครงสร้างหรือหลักไวยากรณ์ของภาษาที่ใช้เป็นมาตรฐาน <p> -7 ภาษาที่ไม่ได้ใช้เป็นมาตรฐาน เช่น ภาษาถิ่น ภาษาแสลง ภาษาโบราณ <p> -8 ภาษาประยุกต์ (การนำเอาภาษาไปประยุกต์ใช้ในกรณีต่างๆ เช่น การแปล การสอน) <p> ตัวอย่าง <p> เนื่อเรื่องของหนังสือ เป็นพจนานุกรมภาษาไทย <p> ภาษาไทย (495.91) <p> เรื่องเฉพาะทางภาษา (เลขจากตารางที่ 4) <p> พจนานุกรมภาษาเดียว (-3) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 495.913 <p> ตารางที่ 5 ตารางเลขเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ กลุ่มชนชาติ เป็นตารางย่อยที่ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่หรือเลขในตารางอื่นเพื่อแบ่งย่อยเนื้อเรื่องออกไปตามกลุ่มเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ <p> -01 ชนพื้นเมือง <p> -03 กลุ่มเผ่าพันธุ์พื้นฐานของมนุษย์ เช่น คอเคซอยด์ มองโกลอยด์ <p> -1-9 กลุ่มเชื้อชาติของมนุษย์ จัดตามถิ่นกำเนดหรือถิ่นที่อยู่ <p> -1 เชื้อชาติอเมริกันเหนือ <p> -2 เชื้อชาติแองโกล-แซกซอน บริติช อังกฤษ <p> -3 เชื้อชาตินอร์ดดิค เช่น พวกเยอรมัน <p> -4 เชื้อชาติลาตินใหม่ เช่น พวกฝรั่งเศส <p> -5 เชื้อชาติอิตาเลียน <p> -6 เชื้อชาติสเปนและโปรตุเกส <p> -7 เชื้อชาติอิตาลิค เช่น พวกโรมันโบราณ <p> -8 เชื้อชาติกรีก <p> -9 เชื้อชาติอื่นๆ เช่น พวกอินเดียน สลาฟ แอฟริกัน ไทย จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ <p> ตัวอย่าง <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ เรื่อง ประเพณีการแต่งงานของไทย <p> ประเพณีการแต่งงาน (392.5) <p> เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ (เลขจากตารางที่ 5) <p> เชื้อชาติไทย (-9591) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 392.50899591 <p> ตารางที่ 6 ตารางเลขภาษา กำหนดเพื่อใช้กับเลขหมู่ในตารางช่วยอื่น เพื่อระบุภาษาที่ใช้ในการเขียนเนื้อเรื่องของหนังสือแต่ละเล่ม <p> สังเขปตารางเลขภาษา <p> -1 ภาษาอินโด-ยูโรเปียน <p> -2 ภาษาอังกฤษและแองโกล-แซกซอน <p> -3 ภาษาเยอรมัน <p> -4 ภาษาตระกูลโรมานซ์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส <p> -5 ภาษาอิตาเลียน <p> -6 ภาษาสเปนและโปรตุเกส <p> -7 ภาษาตระกูลอิตาลิค เช่น ภาษาลาติน <p> -8 ภาษาตระกูลเฮลเลนิก เช่น ภาษากรีก <p> -9 ภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาฮีบรู เป็นต้น <p> ตัวอย่าง <p> เนื้อเรื่องของหนังสือ สารานุกรมภาษาไทย <p> สารานุกรมทั่วไป (039) <p> ภาษา (เลขจากตารางที่ 6) <p> ภาษาไทย (-95911) <p> เลขหมู่ที่เกิดจากการเติม 039.95911 <p> ตารางที่ 7 ตารางเลขบุคคล เป็นตารางย่อยซึ่งกำหนดให้ใช้เติมเข้ากับเลขหมู่หรือเลขในตารางช่วยอื่นเพื่อระบุเรื่องย่อยของหนังสือว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในลักษณะใด เช่น กลุ่มอาชีพ เพศ วัย ชนชั้นทางสังคม ฯลฯ ตาราง 7 จะใช้ประกอบกับเลขหมู่ที่มีคำอธิบายให้เติมเลขบุคคลจากตาราง 7 ช่วย (Add "Persons" notation ...) เช่น Add "Person" notation 04-87 from Table 7 to base number 704 e.g. lawyers as artists 704.344; however, class art dealers in 338.7617; description, critical appraisal, wors, biography of artisits in 709.2 <p> สังเขปตารางเลขบุคคล <p> -01 ปัจเจกบุคคล <p> -02 กลุ่มบุคคลทั่วไปไม่ระบุลักษณะเฉพาะทางอาชีพ เพศ วัย และอื่นๆ <p> -03 กลุ่มบุคคลจัดตามภูมิหลังทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ <p> -04 กลุ่มบุคคลจัดตามเพศและความสัมพันธ์ทางเครือญาติ <p> -05 กลุ่มบุคคลจัดตามอายุ <p> -06 กลุ่มบุคคลจัดตามลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ <p> -08 กลุ่มบุคคลจัดตามสภาพทางร่างกายและจิตใจ <p> -09 กลุ่มบุคคลที่ไม่จัดอยู่ในวิชาชีพเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นักวิจัย นักการศึกษา บรรณารักษ์ และนักสารสนเทศ โดยจะมีตัวเลขแบ่งย่อยอีกตามกลุ่มบุคคลในสาขาวิชาชีพต่างๆ <p> ตัวอย่าง หนังสือเกี่ยวกับจิตรกรรมและมัณฑนศิลป์ของเด็กนักเรียน <p> จิตรกรรมและมัณฑศิลป์ (704.04-.87) <p> เด็กนักเรียน หาเลขเด็กนักเีรียนจากตาราง 7 (-054 4) <p> เลขหมู่ทีเ่กิดจากการเติม 704.0544 <p> บรรณานุกรม <p>Guide to use of Dewey decimal classification : based on the practice of the Decimal Classification Office at the Library of Congress. 1962. Lake Placid Club, N.Y. : Forest Press. <p>OCLC Online Computer Library Center, Inc. Summaries DDC Dewey Decimal Classification. 2003. Rereive from http://www.oclc.org/dewey/resources/summaries/deweysummaries.pdf. <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> ทองหยด ประุทุมวงศ์ และ พรทิยพ์ สุวันทารัตน์. การวิเคราะห์สารนิเทศระบบทศนิยมดิวอี้ ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา การวิเคราะห์สารนิเทศ หน้า 150-217. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Classification, Library of Congress | ระบบการจัดหมู่รัฐสภาอเมริกัน, การวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน, Example: ระบบการจัดหมู่รัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classficiation - LC) หรือเรียกสั้นๆ ว่า LC หรือระบบ LCC เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดหมู่หนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> ในระยะแรกก่อตั้งหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เมื่อปี ค.ศ. 1800 ระบบจัดหมู่หนังสือที่ใช้อยู่นั้น คิดขึ้นโดยจอห์น เบคเลย์ (John Beckley) โดยจัดหนังสือตามขนาดหน้ายก หนังสือขนาดเดียวกันจัดเรียงตามลำดับเลขทะเบียนของหนังสือ <p> ต่อมาในปี ค.ศ. 1812 เมื่อหนังสือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนเป็นวิธีการจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง โดยนำระบบจัดหมู่หนังสือของ The Library Company of Philadelphia มาใช้ แบ่งเนื้อเรื่องเป็น 18 หมวด เมื่อห้องสมุดไฟไหม้ จึงได้จัดซื้อหนังสือจำนวน 6, 487 เล่มจากห้องสมุดส่วนตัวของประธานาธิบดีโธมัส เจฟเฟอร์สัน โดยคิดระบบตามที่ประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สัน โดยแบ่งออกเป็น 44 หมวด <p> จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1890 เมื่อมีหนังสือเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ บรรณารักษ์ของหอสมุดในขณะนั้น คือ จอห์น รัสเซล ยัง (John Russell Young)คิดว่าระบบเดิมไม่เหมาะสม ควรคิดหาระบบใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสมมากขึ้น จึงมอบหมายให้ เจมส์ แฮนสัน (James Hanson) และ ชาร์ลส์ มาร์แตล (Charles Martel) ศึกษาหาแนวทางที่จะสร้างระบบจัดหมู่หนังสือใหม่เพื่อใช้ในหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p> การศึกษาอย่างจริงจังได้เริ่มเมื่อ เฮอร์เบิร์ต พุตนัม (Herbert Putnum) เข้ามาดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์ในปี ค.ศ. 1899 และยังคงมอบหมายให้ แฮนสันและมาร์แตลรับศึกษาต่อไป โดยนำระบบ 3 ระบบ คือ ระบบทศนิยมดิวอี้ ระบบเอ็กแพนซีฟ และระบบจัดหมู่หนังสือของเยอรมัน ชื่อ Halle Schema ของออตโต ฮาร์ตวิก (Otto Hartwig) พบว่า ระบบเอ็กแพนซีฟมีความเหมาะสมมาก เนื่องจากการจัดหมวดหมู่กว้างขวางและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายทุกๆ หมวดตามต้องการ สัญลักษณ์ที่ใช้สามารถขยายได้ทั้งชนิดที่เป็นตัวอักษรและตัวเลข เพราะเป็นสัญลักษณ์ผสม เหมาะกับหอสมุดรัฐสภาอเมริกันซึ่งมีหนังสือจำนวนมาก จึงได้จัดทำระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันขึ้นโดยยึดหลักการของระบบเอ็กแพนซีฟ <p> มีการจัดทำหมวด Z เป็นหมวดแรก เมื่อปี ค.ศ. 1902 <p> ลักษณะทั่วไปของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p>1. ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันเป็นระบบที่คิดขึ้นโดยจัดแบ่งหมวดหมู่ตามสาขาวิชาความรู้ที่มีอยู่จริงของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน <p>2. สัญลักษณ์เป็นสัญลักษณ์ผสมระหว่างตัวอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่และเลขอารบิค โดยอักษรโรมันตัวใหญ่หนึ่งตัวแทนหมวดใหญ่และเพิ่มอักษรโรมันตัวใหญ่อีกหนึ่งหรือสองตัวแทนหมวดย่อย (ยกเว้นหมวด E-F และ Z) และแบ่งหมู่ย่อยต่อไปอีก โดยใช้เลขอารบิคจาก 1-9999 รวมทั้งขยายโดยใช้จุดทศนิยม <p>3. แผนการจัดหมวดหมู่จัดแบ่งวิชาความรู้ในสาขาต่างๆ โดยเริ่มจากเรื่องทั่วไปสู่เรื่องที่เฉพาะยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ <p>3.1 การแบ่งครั้งที่ 1 เป็นการแบ่งเนื้อหาวิชาเป็น 20 หมวดใหญ่ (Main class) โดยใช้อักษรตัวเดียวโดดๆ A-Z ยกเว้น I, O, W, X, Y <p>A ความรู้ทั่วไป (General Works) <p>B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion) <p>C ศาสตร์ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary sciences of history) <p>D ประวัติศาสตร์ : เรื่องทั่วไปและประวัติศาสตร์โลกเก่า (History : general and old world) <p>E-F ประวัติศาสตร์ : อเมริกา (History : America) <p>G ภูมิศาสตร์ แผนที่ มานุษยวิทยา นันทนาการ (Geography, Maps, Anthropology, Recreation) <p>H สังคมศาสตร์ (Social science) <p>J รัฐศาสตร์ (Political science) <p>K กฎหมาย (Law) <p>L การศึกษา (Education) <p>M ดนตรี (Music) <p>N ศิลปกรรม (Fine Arts) <p>P ภาษาและวรรณคดี (Languages and Literature) <p>Q วิทยาศาสตร์ (Sciences) <p>R แพทยศาสตร์ (Medicines) <p>S เกษตรศาสตร์ (Agriculture) <p>T เทคโนโลยี (Technology) <p>U ยุทธศาสตร์ (Military science) <p>V นาวิกศาสตร์ (Naval science) <p>Z บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library science) <p>3.2 การแบ่งครั้งที่ 2 เป็นการแบ่งหมวดย่อย (subclass) ตามสาขาวิชา โดยใช้ตัวอักษรโรมันตั้งแต่ 2 ตัว ถึง 3 ตัว เป็นสัญลักษณ์ และใช้หลักการเรียงลำดับตามตัวอักษร A-Z ยกเว้นหมวด Z จะไม่มีการแบ่งครั้งที่ 2 เช่น หมวด Q แบ่งออกเป็นหมวดย่อย 12 หมวดดังนี้คือ <p>Q วิทยาศาสตร์ (Science) <p> QA คณิตศาสตร์ (Mathematics) <p> QB ดาราศาสตร์ (Astronomy) <p> QC ฟิสิกส์ (Physics) <p> QD เคมี (Chemistry) <p> QE ธรณีวิทยา (Geology) <p> QH ธรรมชาติวิทยา (Natural History) <p> QK พฤกษศาสตร์ (Botany) <p> QL สัตววิทยา (Zoology) <p> QM กายวิภาคศาสตร์ (Human Anatomy) <p> QP สรีรวิทยา (Physiology) <p> QR จุลชีววิทยา (Microbiology) <p> ซึ่งยังคงแบ่งต่อไปได้อีก เมื่อต้องการขยายเลขหมู่เพิ่มในภายหลัง <p> 3.3 การแบ่งครั้งที่ 3 คือ การแบ่งออกเป็น หมู่ (division) โดยใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1-9999 ประกอบตัวอักษรโรมัน ในแต่ละหมู่จะมีจำนวนการแบ่งเป็นหมู่ย่อยไม่เท่ากัน เช่น หมวด LA จะแบ่งเป็น LA1-LA 2397 หรือ หมวด HV จะแบ่งเป็น HV 1-HV 9920 เป็นต้น สามารถที่จะขยายเลขหมู่สำหรับวิชาการที่จะเพิ่มใหม่ การแบ่งครั้งที่ 3 มี 2 ลักษณะ คือ <p> 3.3.1 การแบ่งโดยใช้เลขทศนิยม คือ การนำเอาเลขทศนิยมมาขยายเลขย่อยในกลุ่มนั้น ให้ได้เลขหมู่เพิ่มขึ้นสำหรับเนื้อหาวิชาที่ควรจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน <p> 3.3.2 การแบ่งโดยใช้เลขคัตเตอร์ คือ การใช้ตัวอักษรและตัวเลขสำหรับการแบ่งย่อยเนื้อหาที่ละเอียดลงไปอีก เช่น การแบ่งย่อยตามชื่อทางภูมิศาสตร์ (geographical name) และการแบ่งย่อยตามรายชื่อเนื้อหาวิชาเฉพาะ (special topics) และการแบ่งตามเลขคัตเตอร์สำรองที่ได้กำหนดไว้แล้ว <p> ตัวอย่าง HF 5438.5 HF เป็นหมวดย่อยของ H คือ สังคมศาสตร์ ซึ่ง HF เป็นหมู่ย่อย หมายถึง การค้า (Commerce) และแบ่งออกเป็นหมู่ คือ 5438 หมายถึง การขาย (Selling) จากนั้นแบ่งโดยใช้เลขทศนิยม คือ .5 หมายถึง การส่งเสริมการขาย (Sales promotion) <p> ตัวอย่าง ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี <p> DS เป็นเลขหมู่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย <p> 575 แบ่งย่อยเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางการเมืองและการทูต <p> .5 แบ่งย่อยเป็นความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ A-Z <p> .J3 ประเทศญี่ปุ่น (Japan = .J3) <p> จะได้เลขหมู่เป็น DS 575.5.J3 ปัจจุบัน หนังสือคู่มือหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกันมีทั้งแบบสิ่งพิมพ์และแบบออนไลน์ <p> บรรณานุกรม <p> Library of Congress. Library of Congress Classification Outline. 2011. [ Online ] Retrieve from: http://www.loc.gov/catdir/cpso/lcco/. Accessed 20110516. <p> กุลธิดา ท้วมสุข. 2533. การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ. ขอนแก่น : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. <p> กมลา รุ่งอุทัย. 2533. การวิเคราะห์สารนิเทศระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การวิเคราะห์สารนิเทศ หน้า 219-281. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. <p> อัมพร ทีขะระ. 2532. คู่มือการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาััลัย. [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Classification system | ระบบการจำแนกประเภท [เศรษฐศาสตร์] | International classification of goods and services | การจำแนกประเภทสินค้าและบริการระหว่างประเทศ [เศรษฐศาสตร์] | Standard industrial classification | การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม [เศรษฐศาสตร์] | Standard intemational trsde classification | การจัดประเภทมาตรฐานการค้าระหว่างประเทศ [เศรษฐศาสตร์] | Statistical classification | การจัดประเภทเชิงสถิติ [เศรษฐศาสตร์] | Tariff reclassification | การจัดประเภทพิกัดอัตราศุลกากรใหม่ [เศรษฐศาสตร์] | Classification | ระบบการจัดหมวดหมู่สิทธิบัตรตามการประดิษฐ์ [ทรัพย์สินทางปัญญา] | EC Classification | ระบบการจัดหมวดหมู่สิทธิบัตรแบบยุโรป [ทรัพย์สินทางปัญญา] | US Classification | ระบบการจัดหมวดหมู่สิทธิบัตรแบบอเมริกา [ทรัพย์สินทางปัญญา] | IPC Classification | ระบบการจัดหมวดหมู่สิทธิบัตรตามการประดิษฐ์ระหว่างประเทศ [ทรัพย์สินทางปัญญา] | International Design Classification | ระบบการจัดหมวดหมู่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ [ทรัพย์สินทางปัญญา] | Advertising, Classified | โฆษณาย่อย [TU Subject Heading] | Automatic classification | การวิเคราะห์หนังสืออัตโนมัติ [TU Subject Heading] | Classification | การจำแนก [TU Subject Heading] | Classification, Dewey decimal | การวิเคราะห์หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้ [TU Subject Heading] | Classification, Library of Congress | การวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน [TU Subject Heading] | Classification--Books | การวิเคราะห์หนังสือ [TU Subject Heading] | Classifiers (Linguistics) | คำลักษณนาม (ภาษาศาสตร์) [TU Subject Heading] | Defense information, Classified | ข่าวกรอง [TU Subject Heading] | Classification system | ระบบการจัดหมวดหมู่ [เทคโนโลยีการศึกษา] | National Library of Medicine Classification | การวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน [TU Subject Heading] | Security classification (Government documents) | เอกสารลับ [TU Subject Heading] | Soil Classification | การจำแนกดิน [สิ่งแวดล้อม] | Land Capability Classification | การจำแนกสมรรถนะที่ดิน [สิ่งแวดล้อม] | Classification Error | ความคลาดเคลื่อนในการแบ่งกลุ่ม, Example: เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สถิติประชากรเกิด ข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อน [สิ่งแวดล้อม] | Waste Classification System | ระบบแยกประเภทของเสีย [สิ่งแวดล้อม] | Classification system | ระบบจัดหมู่ของห้องสมุด, Example: การจัดหมู่ (Classification) หมายถึง กระบวนการที่รวมสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน สิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกันก็จะอยู่ใกล้ๆ กัน สิ่งที่แตกต่างกันก็จะแยกออกจากกัน <p> ประเภทของการจัดหมู่ อาจแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 2 ประเภท คือ <p> 1. การจัดหมู่อย่างง่ายๆ หรือจัดตามลักษณะทั่วไป (Artificial Classification) ได้แก่ การจัดกลุ่มของสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ ดูจากลักษณะภายนอกที่มองเห็น เช่น สี ขนาด รูปร่าง เป็นต้น โดยเป็นการจัดหมู่ที่ไม่คำนึงถึงเนื้อหาหรือลักษณะตามธรรมชาติของสิ่งที่นำมาจัดหมู่ <p> 2. การจัดหมู่ตามธรรมชาติ (Natural Classification) คือ การจัดกลุ่มของสิ่งต่างๆ ออกเป็นหมวด เป็นหมู่ โดยพิจารณาเนื้อหา ลักษณะโครงสร้าง หรือส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งที่นำมาจัดหมู่ เช่น การจัดหมู่วิชาความรู้ (Classification of knowledge) หรือ Philosophical Classification <p> การจัดหมู่หนังสือ คือ กระบวนการในการจัดหมวดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง หรือตามรูปแบบคำประพันธ์ของหนังสือแต่ละเล่ม พร้อมกำหนดสัญลักษณ์แทนเนื้อหาหรือรูปแบบคำประพันธ์ไว้ที่เล่มหนังสือ เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายแสดงแหล่งที่อยู่ของหนังสือ <p> วัตถุประสงค์ของการจัดหมู่หนังสือ คือ <p> 1. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดหนังสือเข้าชั้น <p> 2. เพื่อใช้จัดทำบรรณานุกรมตามหมวดหมู่วิชา <p> 3. เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกหนังสือที่ตรงกับความต้องการ หรือสามารถเลือกหนังสือที่เกี่ยวข้องที่ต้องการได้ตนเอง ด้วยวิธีการง่ายๆ สะดวก และรวดเร็ว <p> 4. เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดให้บริการทางด้านบรรณานุกรมแก่ผู้ใช้ได้สะดวก <p> 5. เพื่อให้ทราบปริมาณของหนังสือในแต่ละสาขาวิชาว่ามีมากน้อยเพียงไร จะได้สั่งซื้อให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ <p> การจัดหมู่หนังสือจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ ก็ต้องใช้สัญลักษณ์ที่สั้น อ่านเข้าใจง่าย เป็นเครื่องหมายประจำหนังสือ เพื่อกำหนดตำแหน่งที่อยู่ของหนังสือบนชั้น และไม่ว่าห้องสมุดจะใช้การจัดหมู่หนังสือระบบใด เก็บหนังสือไว้ในระบบชั้นเปิด หรือระบบชั้นปิดก็ตาม เครื่องมือสำคัญสำหรับการค้นหาหนังสือก็คือ บัญชีรายชื่อหนังสือของห้องสมุด (Library Catalog) ซึ่งถือเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงพื้นฐานของห้องสมุดจะต้องทันสมัยและสมบูรณ์อยู่เสมอ <p> แนวคิดพื้นฐานของระบบจัดหมู่หนังสือ <p> ระบบจัดหมู่หนังสือส่วนใหญ่ยึดถือหลักการจัดหมวดหมู่ตามเหตุผล หรือตามวิชาความรู้ คือ จัดแบ่งวิชาความรู้ทั้งมวลในจักรวาลออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวดใหญ่ (Class) ไปหาหมวดย่อย (Subclass) และแบ่งเป็นหมู่ย่อยๆ ซึ่งมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ซึ่งมีเนื้อหาสัมพันธ์กัน ตัวอย่าง การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ ซึ่งแบ่งวิชาความรู้ออกเป็นลำดับชั้น คือ แบ่งครั้งที่ 1 เป็น10 หมวดใหญ่ แบ่งครั้งที่ 2 เป็น 100 หมวดย่อย แบ่งครั้งที่ 3 เป็น 1000 หมู่ย่อย และแบ่งต่อไปเป็นทศนิยม ดังตัวอย่าง <p> การแบ่งครั้งที่ 1 600 เทคโนโลยี <p> การแบ่งครั้งที่ 2 620 วิศวกรรมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง <p> การแบ่งครั้งที่ 3 621 ฟิสิกส์ประยุกต์ <p> ทศนิยม 621.3 อิเล็กโทรแมกเนติกและสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง <p> 621.38 วิศวกรรมอิเล็กโทรนิกและวิศวกรรมการสื่อสาร <p> 621.381 วิศวกรรมอิเล็กโทรนิก <p> 621.3819 พัฒนาการเฉพาะด้าน <p> 621.38195 คอมพิวเตอร์ <p> การแบ่งหมวดหมู่วิชาความรู้ต่างๆ ในแต่ละระบบ จำเป็นต้องมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของวิชาความรู้ตามหมวดหมู่ต่างๆ ซึ่งเรียกว่า Notation (ดูเพิ่มเติมที่ Notation) <p> ระบบจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่อง <p> ระบบจัดหมู่หนังสือตามเนื้อเรื่องมีกำเนิดขึ้นในราวปลายคริสตศตวรรษที่ 19 (ดูเพิ่มเติมที่ Library Classification) ระบบที่รู้จักและใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ ระบบทศนิยมดิวอี้ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ระบบทศนิยมสากล และระบบไม่สู้แพร่หลายนัก ได้แก่ ระบบซับเจ็กท์ ระบบบลิส และระบบโคลอน <p> ประเภทของระบบจัดหมู่หนังสือ <p> แบ่งตามประเภทของเนื้อหาของระบบจัดหมู่ แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ <p> 1. ระบบจัดหมู่หนังสือทั่วไป (General Classification) เป็นระบบจัดหมู่ที่ครอบคลุมวิชาความรู้ทั้งมวลในจักรวาล ระบบจัดหมู่ประเภทนี้จะเว้นไว้สำหรับเติมวิชาความรู้ใหม่ๆ ไว้ เช่น ระบบทศนิยมดิวอี้ <p> 2. ระบบจัดหมู่เฉพาะวิชา (Special Classification) เป็นระบบการจัดหมู่ที่ครอบคลุมเนื้อหาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น ระบบจัดหมู่หนังสือเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ของโซเฟีย เอช กลิดเดน ระบบจัดหมู่หนังสือด้านวิชาแพทย์ ของหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน ระบบจัดหมู่หนังสือกฎหมายของ เจ.อาร์เธอ ชิลเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย <p> แบ่งตามการสร้างแผนการจัดหมู่ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ <p> 1. ระบบจัดหมู่ที่เป็นแผนการจัดหมู่แบบครอบจักรวาล (Enumerative Classification) คือ กำหนดสัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชาความรู้ต่างๆ อย่างสมบูรณ์ และเว้นที่ว่างไว้สำหรับเพิ่มเติมสัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชาความรู้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่างเช่น ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และระบบทศนิยมดิวอี้ <p> 2. ระบบแฟเซ็ท หรือฟาเซ็ท (Faceted Classification) เป็นระบบจัดหมู่หนังสือแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือ แยกแง่มุมต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐาน ออกเป็นด้านต่างๆ หรือแง่มุมต่างๆ แล้วนำเอาแง่มุมหรือด้านต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐานมาสังเคราะห์เข้าเป็นเลขหมู่ ระบบจัดหมู่แบบนี้เป็นระบบจัดหมู่ที่ทันสมัย แต่ก็มีสัญลักษณ์ที่ยืดยาวไม่สู้สะดวกในการใช้ ตัวอย่างของระบบการจัดหมู่นี้ ได้แก่ ระบบโคลอน <p> บรรณานุกรม <p> ทองหยด ประทุมวงศ์. ระบบจัดหมู่ของห้องสมุด. วารสารวิทยบริการ 7, 1 (ก.ค. 2538) : 67-79 [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Faceted Classification | ระบบการจัดหมู่แบบแฟเซ็ท, Example: เป็นระบบจัดหมู่หนังสือแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือ แยกแง่มุมต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐาน ออกเป็นด้านต่างๆ หรือแง่มุมต่างๆ แล้วนำเอาแง่มุมหรือด้านต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐานมาสังเคราะห์เข้าเป็นเลขหมู่ ระบบจัดหมู่แบบนี้เป็นระบบจัดหมู่ที่ทันสมัย แต่ก็มีสัญลักษณ์ที่ยืดยาวไม่สู้สะดวกในการใช้ ตัวอย่างของระบบการจัดหมู่นี้ ได้แก่ ระบบโคลอน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Faceted Classification | ระบบการจัดหมู่แบบแฟเซ็ท, Example: เป็นระบบจัดหมู่หนังสือแบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ คือ แยกแง่มุมต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐาน ออกเป็นด้านต่างๆ หรือแง่มุมต่างๆ แล้วนำเอาแง่มุมหรือด้านต่างๆ ของเนื้อหาพื้นฐานมาสังเคราะห์เข้าเป็นเลขหมู่ ระบบจัดหมู่แบบนี้เป็นระบบจัดหมู่ที่ทันสมัย แต่ก็มีสัญลักษณ์ที่ยืดยาวไม่สู้สะดวกในการใช้ ตัวอย่างของระบบการจัดหมู่นี้ ได้แก่ ระบบโคลอน [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Colon classification | ระบบโคลอน, Example: Colon classification หมายถึง ระบบโคลอน เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่พัฒนาขึ้นโดยแรงกานาธาน (S. R. Ranganathan) ชาวอินเดีย แรงกานาธานได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาบรรณารักษศาสตร์ของอินเดีย แรงกานาธานได้คิดระบบนี้ขึ้นใช้ที่ห้องสมุดวิทยาลัยมัทราสที่เขาทำงานอยู่ และตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก ใน ค.ศ. 1933 โดยนำมาใช้จัดหมู่สิ่งพิมพ์ 2 ประเภท คือ หนังสือ และ บันทึกรายงาน ระบบโคลอนมีใช้กันแพร่หลายในอินเดีย และที่ห้องสมุดของวิทยาลัยคริสต์ (Christ’s College) ในประเทศอังกฤษ ระบบนี้มีชื่อว่าระบบโคลอนเนื่องจากการใช้เครื่องหมาย : (colon) แบ่งย่อยเนื้อหาพื้นฐาน ในเลขหมู่หนังสือออกเป็นด้านต่างๆ สัญลักษณ์ของระบบเป็นสัญลักษณ์ผสม ประกอบด้วยอักษรโรมันตัวใหญ่ อักษรกรีก เลขอารบิก เครื่องหมาย : (colon) และเครื่องหมายอื่น ๆ เพื่อใช้ในการแบ่งย่อยเนื้อหา ระบบโคลอนเป็นระบบที่มีความยากและเนื้อหาเน้นสาขาวิชาทางด้านอินเดียและตะวันออก ไม่เหมาะสมกับห้องสมุดตะวันตก จึงไม่เป็นที่นิยมใช้และเป็นระบบที่เกิดขึ้นภายหลังระบบที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Bone, Shape and Classification of | ลักษณะและประเภทต่างๆของกระดูก [การแพทย์] | Classification | การจัดจำพวก, การจัดกลุ่ม, การจัดลำดับชั้น, การจำแนกชนิด, การแบ่งชนิด, การจัดแบ่งชนิด, การแบ่งกลุ่ม, การแยกประเภท, การจัดแบ่ง, การจัดหมวดหมู่, การจำแนกประเภท, การจำแนกชนิดของโรค [การแพทย์] | Classification of Diseases | จัดกลุ่มโรค [การแพทย์] | Classification of Diseases, International | การจำแนกโรคสากล [การแพทย์] | Classification, Cell Type | การจำแนกตามชนิดของเซลล์ [การแพทย์] | Classification, Chronological | จำแนกตามเวลา [การแพทย์] | Classification, Clinical | แบ่งชนิดตามลักษณะทางคลินิค [การแพทย์] | Classification, Etiologic | แบ่งตามสาเหตุ [การแพทย์] | Classification, Etiological | จำแนกตามสาเหตุ [การแพทย์] | Classification, Functional | แบ่งตามหน้าที่ [การแพทย์] | Classification, Geographical | จำแนกตามสภาพภูมิศาสตร์, จำแนกตามสภาพภูมิศาสตร์ [การแพทย์] |
| | The work here at VSI is government classified. | งานที่เราทำใน วีเอสไอ นี้รับมาจากรัฐบาล The Lawnmower Man (1992) | Without explanation they were called back in, the case was reclassified and buried in the X-Files until I dug it up. | เขาใช้เวลาทั้งสัปดาห์ ลิ้มรสปลาแซลมอน บีบมะนาวเล็กน้อย ปราศจากคำอธิบายใดๆ พวกเขาถูกเรียกตัวกลับ.. Deep Throat (1993) | There's classified government information I've been trying to access but someone has been blocking me. | เกิดอะไร ? มีการจัดแยกข้อมูลของรัฐบาล ผมพยายามจะเข้าไปดู... Deep Throat (1993) | Caught up in some incomprehensible hierarchy, dressed in a blue-striped uniform, sometimes classified under the decree known as "Nacht und Nebel" | ถูกให้ยศตำแหน่ง โดยไม่เป็นที่เข้าใจ ถูกให้ใส่เครื่องแบบสีฟ้าลายทาง และถูกตีตราด้วยตัวย่อของคำว่า "Nacht und Nebel" Night and Fog (1956) | - I can't tell you that. It's classified. | - ผมบอกไม่ได้ มันเป็นความลับ Airplane! (1980) | "if discovered appropriating classified documents | "ถ้าพบเอกสารชั้นความลับ Spies Like Us (1985) | it's a highly classified piece of intelligence hardware. | - นั่นมันอุปกรณ์สายลับชั้นสูง Spies Like Us (1985) | You'd be exposed to the kind of technology you wouldn't see anywhere else, because we've classified it. | ได้ผ่าเทคโนโลยี ที่เธอไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนเพราะ เราเป็นหน่วยสืบราชการงานลับ Good Will Hunting (1997) | Isabella Zancona's environment remains classified. | เรื่องอิสเบลล่า ซานโคน่า เป็นความลับสุดยอด The Jackal (1997) | Ming Mecca? They're not even de-classified yet. | "มิง เมกก้า ?" มันยังไม่ผ่านการทดสอบเลยนี่นา Pi (1998) | I'll be classified as an actress. | มันแค่เป็นการแสดงประเภทหนึ่ง Platonic Sex (2001) | Its nature is classified. | เป็นงานของทางทหาร Resident Evil (2002) | Take a look at today's classifieds. | มาดูประกาศประจำวันนี้เถอะ Inspector Gadget 2 (2003) | Taking classified programmers out of the country compromises national security. | การนำพาโปรแกรมเมอร์ออกนอกประเทศ เป็นการละเมิดสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยของชาติ Ghost in the Shell (1995) | All the cybernetic bodies they make are classified. | หุ่นไซบอร์กทุกตัว จะถูกสร้างขึ้นมาให้มีลักษณะต่างๆกัน Ghost in the Shell (1995) | Need I remind you that it's an act of treason to withhold information from me relevant to this matter, regardless of how classified it is. | ผมขอเตือนคุณไว้ก่อนว่า คุณจะมีความผิด ถ้าไม่รับฟังคำแนะนำจากผม... ...ในสิ่งที่คุณกำลังจะทำ, ขอให้พึงระลึกไว้ด้วย. Ghost in the Shell (1995) | - On whose authority? - Classified. | -ภายใต้คำสั่งใคร Resident Evil: Apocalypse (2004) | That's classified | รู้ด้วยหรือค่ะ Swing Girls (2004) | This mission is classified. | ภารกิจนี้เป็นความลับ Rescue Dawn (2006) | This man has been on a highly classified operation. Hold. | ชายผู้นี้ปฏิบัติการลับสุดยอด Rescue Dawn (2006) | We're in the middle of a highly classified debriefing. | เรากำลังสอบภารกิจลับสุดยอด Rescue Dawn (2006) | The late Sergeant Donald, the first one classified as the victim of the virus, was given an extensive autopsy, and no virus was found. | จ่าโดนัลด์ เหยื่อรายแรกที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัส ได้รับการชันสูตรศพอย่างละเอียด The Host (2006) | You told him Mrs. Logan was in her room, when she was actually going through classified documents. | คุณบอกว่าคุณนายโลแกนอยู่ในห้อง ขณะที่เธอไปค้นเอกสารที่เป็นความลับ คุณบอกว่าคุณนายโลแกนอยู่ในห้อง ขณะที่เธอไปค้นเอกสารที่เป็นความลับ Day 5: 10:00 a.m.-11:00 a.m. (2006) | And now his lead counsel is classified as missing. | และตอนนี้ที่ปรึกษาหลักของเค้าถูกพบว่าหายตัวไป Map 1213 (2006) | We've classified him as an organized killer-- careful. | เราจัดให้เขาเป็น ฆาตกรที่มีการวางแผนอย่างดี--ระแวดระวัง Extreme Aggressor (2005) | "Binsfeld's classification of demons." | "การแบ่งประเภทปีศาจของบินส์ฟิลด์" The Magnificent Seven (2007) | Glen, seriously, don't you want to see something classified? | เกลน , ถามจริง เธอไม่อยากจะดูความลับอะไรบ้างเลยเหรอ Transformers (2007) | How classified? | ลับแค่ไหน Transformers (2007) | Like "I will go to jail for the rest of my life for showing you" classified. | ลับสุดยอด ขนาดชั้นติดคุกได้ตลอดชีวิต ถ้าหากชั้นเอาให้เธอดู Transformers (2007) | This was classified above top secret. | และนี่เป็น ข้อมูลลับสุดยอด Transformers (2007) | What you're about to see is totally classified. | ที่กำลังจะเห็นนี่ เป็นข้อมุลลับสุดยอด Transformers (2007) | Hello. This is Pamela Landy. I have to send a classified document. | สวัสดีค่ะ ฉันพาเมล่า แลนดี้ ต้องการจะส่งเอกสารลับค่ะ The Bourne Ultimatum (2007) | - XY is the book classification code. | - XY อยู่แผนกหนังสือลับ National Treasure: Book of Secrets (2007) | It's classified. | เป็นความลับ Rendition (2007) | Classified. | ความลับ_BAR_ Rendition (2007) | These images are from a classified file showing a village of people in Africa that were exterminated by the colonel and his associates. | ภาพนี้มาจากข้อมูลลับ แสดงภาพหมู่บ้านหนึ่งในอัฟรกา ถูกฆ่าล้างหมู่บ้านโดยผู้พันและพรรคพวก Shooter (2007) | You are now classified an enemy of the state. | ขณะนี้คุณถูกจัดเป็นปรปักษ์ต่อแผ่นดิน Eagle Eye (2008) | Perez, Zoe, you are now classified as an enemy of the state. | perez, zoe, คุณถูกจัดอยู่ Eagle Eye (2008) | The photos are classified. We'll need your SD card. | รูปพวกนี้เป็นหลักฐาน เราจำเป็นต้องยึด SD การ์ดของคุณ Episode #2.3 (2008) | The information on the chip contained highly classified intelligence- a refresh for the new Intersect. | สิ่งที่อยู่ในชิปมี ข้อมูลลับสุดยอด สำหรับ อินเตอร์เซค ตัวใหม่ Chuck Versus the Break-Up (2008) | CLASSIFIED born in the Asir Province, 1974. | "ความลับทางราชการ" เกิดที่ซาอุ ปี 1974 Chuck Versus Tom Sawyer (2008) | You gave away classified intel to the enemy. | นายให้ข้อมูลลับกับศัตรู Chuck Versus the Fat Lady (2008) | I can't talk about it. It's classified. | ฉันเล่าให้ฟังไม่ได้ มันเป็นความลับสุดยอด Chuck Versus the Sensei (2008) | His work was classified. | งานของเขาเป็นความลับ Chapter Five 'Angels and Monsters' (2008) | he was part of a classified | เขาอยู่ในโครงการทดลองลับ Pilot (2008) | Trying to leave the premises with classified information. | พยายามจะเอาข้อมูลลับ ออกไปนอกบริษัท Pilot (2008) | Intel that's classified above top-secret. | ข้อมูลที่เป็นความลับลุดยอด Pilot (2008) | listen... every aspect of these investigations is strictly classified. | ฟังนะ... ทุกๆอย่างในการสืบสวนนี้ The Same Old Story (2008) | He was part of classified U.S. army experimental programe... in the area called "Fringe Science" | เขาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการทดลองของกองทัพสหรัฐ ในส่วนที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์หลุดขอบ The Arrival (2008) | Said he had gambling debts and that he was being blackmailed into supplying highly classified data to someone. | บอกว่าถูกโกงหนี้และนั่นทำให้ถูกแบล็กเมลล์เอาข้อมูลระดับสูงจากบางคน. Last Man Standing (2008) |
| | โฆษณาย่อย | (n) classified, See also: classified ad, Example: หากสนใจลงโฆษณาย่อย สามารถติดต่อได้ทุกวันอาทิตย์, Thai Definition: ประกาศข้อความเล็กๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ | ส่วนขยาย | (n) classifier, Syn. บทเสริม, ส่วนเสริม, ส่วนเพิ่มเติม, Ant. ส่วนสรุป, บทสรุป | คำลักษณะนาม | (n) noun classifier, Syn. ลักษณนาม, Example: คำว่า ท่าน เป็นได้ทั้งคำสรรพนามบุรุษที่สอง คำสรรพนามบุรุษที่สาม หรือคำลักษณนามก็ได้, Thai Definition: คำนามที่แสดงลักษณะของสิ่งต่างๆ | หมวดหมู่ | (n) classification, See also: category, grouping, sort, type, Syn. พวก, หมู่, หมวด, Example: นักภาษาศาสตร์ทำการแบ่งภาษาต่างๆ ในโลกออกเป็นหมวดหมู่ตามโซนและต้นตระกูลภาษา | ลักษณนาม | (n) classifier, See also: qualitative noun, numerative noun, Syn. คำลักษณนาม, Example: เธอเป็นครูสอนภาษาไทยมาเป็น 10 ปีแล้วยังใช้ลักษณนามผิดอยู่อีกหรือ, Thai Definition: คำนามที่แสดงลักษณะของสิ่งต่างๆ | วจีวิภาค | (n) speech classification, Example: ตำราภาษาไทยแต่เดิมนั้นประกอบด้วย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์, Thai Definition: ชื่อตำราไวยากรณ์ไทยว่าด้วยการแบ่งคำพูดเป็นชนิดต่างๆ | วิภัตติ | (n) categorization, See also: classification, separation, division, Syn. การแบ่ง, การจัดพวก, การจำแนก, การจัดประเภท, Notes: (บาลี) | วิภาค | (n) division, See also: distinction, classification, partition, separation, Syn. การแบ่ง, การจัดพวก, การจำแนก, การจัดประเภท, Notes: (บาลี/สันสกฤต) | ปริเฉท | (n) chapter, See also: classification, division, compiled and classified articles, Syn. บริเฉท, Example: หนังสือที่ดีจะแบ่งเรื่องราวไว้เป็นสัดส่วนในปริเฉท, Thai Definition: ข้อความที่รวบรวมเอามาจัดเป็นตอนๆ, ข้อความที่กำหนดไว้เป็นหมวดๆ | กระบอก | (clas) classifier of flask, See also: numeration of flask, Example: คนนำทางบอกให้เอาน้ำเข้าป่าไปด้วยคนละหลายๆ กระบอก, Thai Definition: ลักษณนามบอกสัณฐาน สำหรับใช้กับของกลมยาวแต่กลวง | กระบอก | (clas) classifier of gun, See also: numeration of gun, Example: พี่ชายฉันสะสมปืนเอาไว้หลายกระบอก, Thai Definition: ลักษณนามของปืน | กิ่ง | (clas) classifier of ivory, Example: บ้านของกำนันมีงาช้างอยู่ 2 กิ่ง, Thai Definition: ลักษณนามเรียกงาช้าง | การจัดประเภท | (n) categorization, See also: classification, Example: การจัดประเภทของคำสามารถดูได้จากหน้าที่ของคำ | การจำแนก | (n) classification, See also: categorization, Example: ที่ประชุมมีมติให้เลขาฯ ทำการจำแนกข้อมูลรายละเอียดการขายโดยแยกเป็นแต่ละแผนกอย่างชัดเจน | การจำแนกประเภท | (n) classification, See also: categorization, Example: พวกเราได้มีการจำแนกประเภทของข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ | เข้ากลุ่ม | (v) be classified, See also: be sorted, be grouped, Syn. จัดกลุ่ม, Example: จิตแพทย์จัดผู้ป่วยเข้ากลุ่มตามลักษณะอาการเพื่อทำการบำบัด |
| อัน | [an] (classif, (n)) EN: [ classifier : small objects ; pieces of candy ; ashtrays ; round objects ; objects with unknown classifiers ] FR: [ classificateur : petits objets ; choses en général ] | แบ่งตาม | [baeng tām] (v, exp) EN: be classified according to | ใบ | [bai] (n) EN: [ classifier : leaves (of trees); round and hollow objects (hats, cups, glasses, bowls, tin-cans, eggs, fruit, bags, wallets); small documents (tickets, certificates, leaflets) ] FR: [ classificateur : feuilles (arbres et plantes); objets ronds et creux (chapeaux, coupes, bols, cannettes, oeufs, fruits); petits documents (billets, tickets, certificats) ] | บาน | [bān] (n) EN: [ classifier : doors, windows; mirrors; frames; screens; other flat things ] FR: [ classificateur : portes, fenêtres ; miroirs ; cadres ; écrans ; autres objets plats ] | บท | [bot] (n) EN: [ classifier : lessons; songs; poems; verses; stanzas; chapters ] FR: [ classificateur : leçons ; chapitres ; versets ; chansons ; couplets ] | ฉบับ | [chabap] (n) EN: [ classifier : newspapers ; letters ; manuscripts ; documents ; periodicals ] FR: [ classificateur : journaux ; lettres ; documents manuscrits ] | ชนิด | [chanit] (n) EN: [ classifier : types of items ] | เชือก | [cheūak] (n) EN: [ classifier : domesticated elephants ] FR: [ classificateur : éléphants domestiques ] | ชิ้น | [chin] (n) EN: [ classifier : pieces of items (dentures ...); pieces of food (cakes, pastries, croissants, meats, fruits, vegetables ...); pieces of cloths ] FR: [ classificateur : morceaux ou tranches quelconques (gâteaux, pâtisseries, croissants, viande) ; prothèses dentaires ... ] | ช่อ | [chø] (n) EN: [ classifier : bunches of flowers ] FR: [ classificateur : bouquets de fleurs ] | ชุด | [chut] (n) EN: [ classifier : sets of things (crockery, china, glassware ...); suits of clothing; teams ; menus ] FR: [ classificateur : ensembles d'objets assortis ; ensembles vestimentaires (costumes ...); équipes sportives; menus ] | ด้าม | [dām] (n) EN: [ classifier : pens ] FR: [ classificateur : stylos ] | ดอก | [døk] (n) EN: [ classifier : individual flowers; patterns on cloth; tyres/tires treads ] FR: [ classificateur : fleurs; motifs vestimentaires; chapes de pneus ] | ดวง | [dūang = duang] (n) EN: [ classifier : stars, moons, suns; individual lights; postage stamps; seals; medals ] FR: [ classificateur : astres (étoile, lune, soleil, planète) ; lampes ; cachets, sceaux ; médailles ] | เอกสารลับ | [ēkkasān lap] (n, exp) EN: confidential documents ; classified documents FR: document confidentiel [ m ] ; document secret [ m ] | ฟ่อน | [fǿn] (n) EN: [ classifier : bundle, sheaf ] FR: [ classificateur : gerbes ] | ฟอง | [føng] (n) EN: [ classifier : poultry eggs ] FR: [ classificateur : oeufs de volaille ] | ฝูง | [fūng] (n) EN: [ classifier : flocks, herds ] FR: [ classificateur : troupeaux ] | หีบ | [hīp] (n) EN: [ classifier : box ; casket ; chest ; trunk ; coffer ] | ห่อ | [hø] (n) EN: [ classifier : packages, parcels, bundels, packets wrapped in paper ] FR: [ classificateur : paquets, colis dans un emballage de papier ] | ห่อ | [hø] (n) EN: [ classifier : pack ; parcel ; package ; packet ] | ห้อง | [hǿng] (n) EN: [ classifier : rooms ] FR: [ classificateur : pièces d'habitation, chambres ] | หัวผักกาด | [hūaphakkāt] (n) EN: [ classifier : bulbs, tubers ] FR: [ classificateur : bulbes, tubercules ] | จำแนก | [jamnaēk] (v) EN: classify ; segregate ; separate ; divide ; categorize ; sort out ; distribute ; sift FR: diviser ; classifier ; séparer ; trier ; distribuer ; distinguer | จำแนกประเภท | [jamnaēk praphēt] (v, exp) EN: classify ; divide ; group ; sort ; categorize FR: divisier ; classifier ; séparer | แก้ว | [kaēo] (n) EN: [ classifier : drinking glasses ] FR: [ classificateur : verres à boire ] | การแบ่งกลุ่ม | [kān baeng klum] (n, exp) EN: classification ; clustering | การแบ่งกลุ่มข้อมูล | [kān baeng klum khømūn] (n, exp) EN: data clustering ; data classification | การแบ่งกลุ่มข้อมูลอัตโนมัติ | [kān baeng klum khømūn attanōmat] (n, exp) EN: automatic classification | การแบ่งหมวดหมู่ | [kān baeng mūatmū] (n, exp) EN: classification | การแบ่งหมวดหมู่หนังสือ | [kān baeng mūatmū nangseū] (n, exp) EN: classification of books ; library classification FR: classification des ouvrages [ f ] | การจำแนก | [kān jamnaēk] (n) EN: classification ; categorization FR: classification [ f ] ; classement [ m ] ; catégorisation [ f ] ; distribution [ f ] ; séparation [ f ] ; division [ f ] | การจำแนกประเภท | [kān jamnaēk praphēt] (n, exp) EN: classification ; categorization | การจัดประเภท | [kān jat praphēt] (n, exp) EN: classification | กรณี | [karanī = køranī] (n) EN: [ classifier : case ; instance ; example ; contingency ; event ] | ขบวน | [khabūan] (x) EN: [ classifier : processions ; convoys ; trains ] FR: [ classificateur : processions, cortèges ; convois ; trains ] | แคน | [khaēn] (n) EN: [ classifier : soda cans ] FR: [ classificateur : cannettes de soda ] | คำ | [kham] (n) EN: [ classifier : words ; mouthfuls of food ] FR: [ classificateur : mots ; bouchées de nourriture ] | คัน | [khan] (n) EN: [ classifier : automobiles, carriages and other vehicles (buses, motorbikes ...) ; umbrellas ; spoons, forks ] FR: [ classificateur : automobiles, cyclomoteurs, bicyclettes, véhicules motorisés ; parapluies, ombrelles ; cuillères, fourchettes ] | ขนาน | [khanān] (x) EN: [ classifier : medicines, drugs ] FR: [ classificateur : sortes de médicaments ] | ขนาด | [khanāt] (n) EN: [ classifier : sizes (of items) ] FR: [ classificateur : tailles ] | ข้าง | [khāng] (n) EN: [ classifier : legs, arms, sides of objects ] FR: [ classificateur : jambes, bras ] | คน | [khon] (n) EN: [ classifier : persons, people, human beings ] FR: [ classificateur : personnes, individus ] | ขด | [khot] (n) EN: [ classifier : coils of something (wire, rope ...), rings ] FR: [ classificateur : rouleaux (fil métallique, corde ...) ] | โฆษณาย่อย | [khōtsanā yøi] (n, exp) EN: classified ; classified ad | เครื่อง | [khreūang] (n) EN: [ classifier : machines ; tools ; appliances (TVs, radios, refrigerators ...) ] FR: [ classificateur : machines ; outils ; appareils électroménagers (télévisions, radios, réfrigérateurs ...) ; appareillages électriques ] | เครื่องยนต์ | [khreūangyon] (x) EN: [ classifier : motors, engines ] FR: [ classificateur : moteurs ] | คู่ | [khū] (n) EN: [ classifier : pairs of people, animals, articles (socks, shoes ...) ] FR: [ classificateur : couples de personnes ou d'animaux ; paires d'articles (chaussettes, chaussures ...) ] | ขวด | [khūat] (n) EN: [ classifier : bottles (soda, beer ...) ] FR: [ classificateur : bouteilles (soda, bière ...) ] | กลัก | [klak] (n) EN: [ classifier : smalll boxes (matchboxes, tablets, pills ...) ] FR: [ classificateur : petites boîtes (allumettes, pilules ...) ] |
| | | classifiable | (adj) capable of being classified, Syn. distinctive | classification | (n) a group of people or things arranged by class or category, Syn. categorisation, categorization | classification | (n) the basic cognitive process of arranging into classes or categories, Syn. categorisation, sorting, categorization | classification | (n) restriction imposed by the government on documents or weapons that are available only to certain authorized people, Ant. declassification | classification system | (n) a system for classifying things | classificatory | (adj) relating to or involving classification: | classified | (adj) arranged into classes, Ant. unclassified | classified | (adj) official classification of information or documents; withheld from general circulation, Ant. unclassified | classified ad | (n) a short ad in a newspaper or magazine (usually in small print) and appearing along with other ads of the same type, Syn. classified advertisement, classified | classified stock | (n) common stock classified as A or B where A has certain advantages (e.g., voting power) that B does not | classifier | (n) a person who creates classifications | classifier | (n) a word or morpheme used in some languages in certain contexts (such as counting) to indicate the semantic class to which the counted item belongs | cross-classification | (n) classification according to more than one attribute at the same time, Syn. cross-division | declassification | (n) reduction or removal by the government of restrictions on a classified document or weapon, Ant. classification | dewey decimal classification | (n) a system used by libraries to classify nonfictional publications into subject categories; the subject is indicated by a three-digit numeral and further specification is given by numerals following a decimal point; publications are shelved by number, Syn. Dewey decimal system, decimal system of classification | hierarchical classification system | (n) a classification system where entries are arranged based on some hierarchical structure | reclassification | (n) classifying something again (usually in a new category) | unclassifiable | (adj) not possible to classify | unclassified | (adj) not subject to a security classification, Ant. classified | unclassified | (adj) not arranged in any specific grouping, Ant. classified | categorization | (n) the act of distributing things into classes or categories of the same type, Syn. classification, compartmentalization, compartmentalisation, assortment, categorisation |
| Classifiable | a. Capable of being classified. [ 1913 Webster ] | Classific | a. Characterizing a class or classes; relating to classification. [ 1913 Webster ] | Classification | n. [ Cf. F. classification. ] The act of forming into a class or classes; a distribution into groups, as classes, orders, families, etc., according to some common relations or affinities. [ 1913 Webster ] Artificial classification. (Science) See under Artifitial. [ 1913 Webster ]
| Classificatory | a. Pertaining to classification; admitting of classification. “A classificatory system.” Earle. [ 1913 Webster ] | classified | adj. 1. arranged into classes or categories; as, unclassified. Syn. -- categorized. [ WordNet 1.5 +PJC ] 2. assigned to a class of documents withheld from general circulation; -- of information or documents. Opposite of unclassified. [ Narrower terms: eyes-only; confidential; restricted; secret; sensitive; top-secret ] [ WordNet 1.5 ] | Classifier | n. One who classifies. [ 1913 Webster ] | declassification | n. Reduction by the government of restrictions on a classified document or weapon. [ WordNet 1.5 ] | declassified | adj. having a security classification removed so as to be open to public inspection; -- of documents or information. [ WordNet 1.5 ] |
| 个 | [gè, ㄍㄜˋ, 个 / 個] individual; this; that; size; classifier for people or objects in general #10 [Add to Longdo] | 这 | [zhè, ㄓㄜˋ, 这 / 這] this; these; (commonly pronounced zhei4 before a classifier, esp. in Beijing) #12 [Add to Longdo] | 把 | [bǎ, ㄅㄚˇ, 把] to hold; to contain; to grasp; to take hold of; a handle; particle marking the following noun as a direct object; classifier for objects with handle #62 [Add to Longdo] | 出 | [chū, ㄔㄨ, 出] to go out; to come out; to occur; to produce; to go beyond; to rise; to put forth; to occur; to happen; classifier for dramas, plays, operas etc #67 [Add to Longdo] | 那 | [nà, ㄋㄚˋ, 那] that; those; commonly pr. nei4 before a classifier, esp. in Beijing #71 [Add to Longdo] | 家 | [jiā, ㄐㄧㄚ, 家] home; family; classifier for families or businesses; refers to the philosophical schools of pre-Han China; noun suffix for specialists in some activity such as musician or revolutionary, corresponds to English -ist, -er, -ary or -ian; surname Jia #92 [Add to Longdo] | 次 | [cì, ㄘˋ, 次] next in sequence; second; the second (day, time etc); secondary; vice-; sub-; infra-; inferior quality; substandard; order; sequence; hypo- (chem., meaning extra oxygen atom); classifier for enumerated events: time #96 [Add to Longdo] | 本 | [běn, ㄅㄣˇ, 本] roots or stems of plants; origin; source; this; the current; root; foundation; basis; (classifier for books, periodicals, files etc) #107 [Add to Longdo] | 名 | [míng, ㄇㄧㄥˊ, 名] name; noun (part of speech); place (e.g. among winners); famous; classifier for people #108 [Add to Longdo] | 所 | [suǒ, ㄙㄨㄛˇ, 所] actually; place; classifier for houses, small buildings, institutions etc; that which; particle introducing a relative clause or passive #111 [Add to Longdo] | 种 | [zhǒng, ㄓㄨㄥˇ, 种 / 種] seed; breed; species; race; strain; kind; type; sort; classifier meaning kind, type, sort; classifier for languages #113 [Add to Longdo] | 位 | [wèi, ㄨㄟˋ, 位] position; location; classifier for people; place; seat; classifier for binary bits (e.g. 十六位 16-bit or 2 bytes) #117 [Add to Longdo] | 道 | [dào, ㄉㄠˋ, 道] direction; way; method; road; path; classifier for long thin stretches, rivers, roads etc; principle; truth; morality; reason; skill; method; Dao (of Daoism); to say; to speak; to talk #123 [Add to Longdo] | 只 | [zhī, ㄓ, 只 / 隻] classifier for birds and certain animals, one of a pair, some utensils, vessels etc #136 [Add to Longdo] | 起 | [qǐ, ㄑㄧˇ, 起] to rise; to raise; to get up; to initiate (action); classifier for cases or unpredictable events #145 [Add to Longdo] | 岁 | [suì, ㄙㄨㄟˋ, 岁 / 歲] year; years old; classifier for years old #225 [Add to Longdo] | 部 | [bù, ㄅㄨˋ, 部] ministry; department; section; part; division; troops; board; (classifier for works of literature, films, machines etc) #246 [Add to Longdo] | 场 | [cháng, ㄔㄤˊ, 场 / 場] threshing floor; classifier for events and happenings; classifier for number of some languages and actions (cannot be followed by a noun) #247 [Add to Longdo] | 场 | [chǎng, ㄔㄤˇ, 场 / 場] a place; an open space; a field; a courtyard; classifier for events such as sports matches, concerts, or cultural events; classifier for number of exams #247 [Add to Longdo] | 股 | [gǔ, ㄍㄨˇ, 股] share; portion; section; part; thigh; (classifier for smells, electric currents, spirals etc); whiff #248 [Add to Longdo] | 条 | [tiáo, ㄊㄧㄠˊ, 条 / 條] strip; item; article; clause (of law or treaty); classifier for long thin things (ribbon, river, road, trousers etc) #269 [Add to Longdo] | 发 | [fā, ㄈㄚ, 发 / 發] to send out; to show (one's feeling); to issue; to develop; (classifier for gunshots, "rounds") #271 [Add to Longdo] | 听 | [tīng, ㄊㄧㄥ, 听 / 聽] to listen; to hear; to obey; a can (loan from English tin); classifier for canned beverages #307 [Add to Longdo] | 回 | [huí, ㄏㄨㄟˊ, 回] to circle; to go back; to turn around; to answer; to return; to revolve; Hui religious minority (Chinese Muslims); time; classifier for acts of a play; section or chapter (of a classic book) #310 [Add to Longdo] | 张 | [zhāng, ㄓㄤ, 张 / 張] to open up; to spread; sheet of paper; classifier for flat objects, sheet; classifier for votes #314 [Add to Longdo] | 米 | [mǐ, ㄇㄧˇ, 米] meter (classifier); rice; surname Mi #335 [Add to Longdo] | 身 | [shēn, ㄕㄣ, 身] body; torso; person; life; status; pregnancy; classifier for clothes: suit #336 [Add to Longdo] | 头 | [tóu, ㄊㄡˊ, 头 / 頭] head; hair style; the top; end; beginning or end; a stub; remnant; chief; boss; side; aspect; first; leading; classifier for pigs or livestock #354 [Add to Longdo] | 件 | [jiàn, ㄐㄧㄢˋ, 件] item; component; classifier for events, things, clothes etc #375 [Add to Longdo] | 面 | [miàn, ㄇㄧㄢˋ, 面] fade; side; surface; aspect; top; face; classifier for flat surfaces such as drums, mirrors, flags etc #410 [Add to Longdo] | 方 | [fāng, ㄈㄤ, 方] square; quadrilateral; power (such as cube 立方); classifier for square things; upright; honest; fair and square; surname Fang; direction; party (to a dispute); one side; place; method; prescription; just; then; only then #417 [Add to Longdo] | 处 | [chù, ㄔㄨˋ, 处 / 處] place; location; spot; point; office; department; bureau; respect; classifier for locations or items of damage: spot, point #427 [Add to Longdo] | 声 | [shēng, ㄕㄥ, 声 / 聲] sound; voice; tone; noise; classifier for sounds #429 [Add to Longdo] | 片 | [piàn, ㄆㄧㄢˋ, 片] a slice; piece; flake; thin; slice; classifier for movies, DVDs etc #430 [Add to Longdo] | 门 | [mén, ㄇㄣˊ, 门 / 門] gate; door; CL:扇[ shan4 ]; gateway; doorway; CL:個|个[ ge4 ]; opening; valve; switch; way to do something; knack; family; house; (religious) sect; school (of thought); class; category; phylum or division (taxonomy); classifier for large guns; classifier for les #459 [Add to Longdo] | 间 | [jiān, ㄐㄧㄢ, 间 / 間] between; among; space; classifier for time intervals #505 [Add to Longdo] | 口 | [kǒu, ㄎㄡˇ, 口] mouth; (classifier for things with mouths such as people, domestic animals, cannons, wells etc) #520 [Add to Longdo] | 台 | [tái, ㄊㄞˊ, 台 / 臺] platform; stage; terrace; stand; support; desk; station; broadcasting station; classifier for vehicles or machines; Taiwan (abbr.) #530 [Add to Longdo] | 座 | [zuò, ㄗㄨㄛˋ, 座] seat; base; stand; (classifier for buildings, mountains, large solid things, etc.) #533 [Add to Longdo] | 盘 | [pán, ㄆㄢˊ, 盘 / 盤] dish; tray; to build; to check; to examine; to transfer; classifier for food: dish, helping; to coil; classifier for coils of wire; tectonic plate #579 [Add to Longdo] | 块 | [kuài, ㄎㄨㄞˋ, 块 / 塊] lump (of earth); chunk; piece; classifier for pieces of cloth, cake, soap, etc.; colloquial word for yuan (or other unit of currency such as Hong Kong or US dollar etc), usually as 塊錢|块钱 #598 [Add to Longdo] | 局 | [jú, ㄐㄩˊ, 局] office; situation; classifier for games: match, set, round etc #599 [Add to Longdo] | 套 | [tào, ㄊㄠˋ, 套] cover; sheath; to encase; a case; to overlap; to interleave; bend (of a river or mountain range, in place names); harness; classifier for sets, collections; tau (Greek letter Ττ) #616 [Add to Longdo] | 句 | [jù, ㄐㄩˋ, 句] sentence; clause; phrase; classifier for phrases or lines of verse #637 [Add to Longdo] | 首 | [shǒu, ㄕㄡˇ, 首] head; chief; first (occasion, thing etc); classifier for poems, songs etc #728 [Add to Longdo] | 层 | [céng, ㄘㄥˊ, 层 / 層] layer; stratum; laminated; floor (of a building); storey; classifier for layers; repeated; sheaf (math.) #815 [Add to Longdo] | 辆 | [liàng, ㄌㄧㄤˋ, 辆 / 輛] classifier for vehicles #853 [Add to Longdo] | 份 | [fèn, ㄈㄣˋ, 份] part; share; portion; classifier for gifts, newspaper, magazine, papers, reports, contracts etc; copy #870 [Add to Longdo] | 支 | [zhī, ㄓ, 支] to support; to sustain; to erect; to raise; branch; division; to draw money; surname Zhi; classifier for rods such as pens and guns, for army divisions and for songs or compositions; watt, classifier for power of light bulbs #899 [Add to Longdo] | 杯 | [bēi, ㄅㄟ, 杯] cup; classifier for drinks: glass, cup #926 [Add to Longdo] |
| | 分類 | [ぶんるい, bunrui] (n, vs) classification; categorization; sorting; (P) #819 [Add to Longdo] | 区分 | [くぶん, kubun] (n, vs, adj-no) division; section; demarcation; partition; segmentation; subdivision; (traffic) lane; compartment; classification; sorting; (P) #1,551 [Add to Longdo] | 区別(P);區別(oK) | [くべつ, kubetsu] (n, vs) distinction; differentiation; classification; (P) #2,611 [Add to Longdo] | 種別 | [しゅべつ, shubetsu] (n, vs) classification; assortment; (P) #3,490 [Add to Longdo] | 号車 | [ごうしゃ, gousha] (n) classifier for naming train cars; (P) #7,028 [Add to Longdo] | 雑 | [ぞう, zou] (n) miscellany (classification of Japanese poetry unrelated to the seasons or to love) #10,291 [Add to Longdo] | 機密 | [きみつ, kimitsu] (n) secrecy; highly classified information; (P) #10,812 [Add to Longdo] | 格付け | [かくづけ(P);かくずけ(ik), kakuduke (P); kakuzuke (ik)] (n, vs) rating; classification; allocation; grading; (P) #10,927 [Add to Longdo] | 内訳 | [うちわけ, uchiwake] (n) itemization (of expenses); the items; breakdown; classification; (P) #15,129 [Add to Longdo] | 大別 | [たいべつ, taibetsu] (n, vs) general classification; (P) #17,431 [Add to Longdo] | 類別 | [るいべつ, ruibetsu] (n, vs) classification #18,103 [Add to Longdo] | カ行 | [カぎょう, ka gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "ku"; "ka" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | ガ行 | [ガぎょう, ga gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "gu"; "ga" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | クラシファイア | [kurashifaia] (n) classifier [Add to Longdo] | クラシフィケイション | [kurashifikeishon] (n) classification [Add to Longdo] | サ行 | [サぎょう, sa gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "su"; "sa" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | ザ行 | [ザぎょう, za gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "zu"; "za" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | タ行 | [タぎょう, ta gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "tsu"; "ta" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | ダ行 | [ダぎょう, da gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "dzu"; "da" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | ヌ行 | [ヌぎょう, nu gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "nu"; "na" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | ハ行 | [ハぎょう, ha gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "hu or fu"; "ha" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | バ行 | [バぎょう, ba gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "bu"; "ba" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | パ行 | [パぎょう, pa gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "pu"; "pa" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | ファセット分類体系 | [ファセットぶんるいたいけい, fasetto bunruitaikei] (n) { comp } faceted classification system [Add to Longdo] | マル秘;丸秘 | [マルひ(マル秘);まるひ(丸秘), maru hi ( maru hi ); maruhi ( maru hi )] (n, adj-no) (refers to the 秘 in a red circle) confidential; secret; classified [Add to Longdo] | マ行 | [マぎょう, ma gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "mu"; "ma" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | ヤ行 | [ヤぎょう, ya gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "yu"; "ya" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | ラ行 | [ラぎょう, ra gyou] (n) classification for Japanese verb with the dictionary form ending in "ru"; "ra" column or row of the kana syllabary [Add to Longdo] | 案内広告 | [あんないこうこく, annaikoukoku] (n) classified advertisement; classified ad [Add to Longdo] | 一段階層分類体系 | [いちだんかいそうぶんるいたいけい, ichidankaisoubunruitaikei] (n) { comp } hierarchical classification system; monohiererchical classification system [Add to Longdo] | 一般分類体系 | [いっぱんぶんるいたいけい, ippanbunruitaikei] (n) { comp } universal classification system; general classification system [Add to Longdo] | 雲級 | [うんきゅう, unkyuu] (n) classification of clouds [Add to Longdo] | 会意 | [かいい, kaii] (n) (See 会意文字) compound ideograph formation (one of the six kanji classifications); making kanji up of meaningful parts (e.g. "mountain pass" is up + down + mountain) [Add to Longdo] | 会意文字 | [かいいもじ, kaiimoji] (n) compound ideograph (one of the six kanji classifications); kanji made up of meaningful parts (e.g. "mountain pass" is up + down + mountain) [Add to Longdo] | 回線種別 | [かいせんすべつ, kaisensubetsu] (n) { comp } line type; line classification [Add to Longdo] | 階層化 | [かいそうか, kaisouka] (n) { comp } stratification; classification [Add to Longdo] | 階層分類体系 | [かいそうぶんるいたいけい, kaisoubunruitaikei] (n) { comp } hierarchical classification system; monohiererchical classification system [Add to Longdo] | 簡略分類体系 | [かんりゃくぶんるいたいけい, kanryakubunruitaikei] (n) { comp } broad classification system [Add to Longdo] | 教相判釈 | [きょうそうはんじゃく, kyousouhanjaku] (n) { Buddh } classification of the sutras and their teachings [Add to Longdo] | 業種別 | [ぎょうしゅべつ, gyoushubetsu] (adj-no) industry-classified [Add to Longdo] | 極秘情報 | [ごくひじょうほう, gokuhijouhou] (n) classified information; top secret [Add to Longdo] | 区分け | [くわけ, kuwake] (n, vs) division; section; demarcation; (traffic) lane; compartment; classification; sorting [Add to Longdo] | 月偏 | [つきへん, tsukihen] (n) (See 肉月) kanji "moon" radical at left (usually classified as radical 130) [Add to Longdo] | 語種 | [ごしゅ, goshu] (n) classification of Japanese words by their origin as Japanese, Chinese or Western [Add to Longdo] | 広告欄 | [こうこくらん, koukokuran] (n) advertising section; classified ads; advertisement column; advertising space [Add to Longdo] | 合成形分類体系 | [ごうせいがたぶんるいたいけい, gouseigatabunruitaikei] (n) { comp } synthetic classification system [Add to Longdo] | 雑著 | [ざっちょ, zaccho] (n) (1) (See 雑書) writings on many different topics; (2) book that cannot be classified in any category [Add to Longdo] | 三行広告 | [さんぎょうこうこく, sangyoukoukoku] (n) three-line classified advertisement [Add to Longdo] | 三行広告欄 | [さんぎょうこうこくらん, sangyoukoukokuran] (n) classified ads [Add to Longdo] | 仕訳;仕分け | [しわけ, shiwake] (n, vs) assortment journalizing (in bookkeeping); classification [Add to Longdo] |
| ファセット分類体系 | [ファセットぶんるいたいけい, fasetto bunruitaikei] faceted classification system [Add to Longdo] | 一段階層分類体系 | [いちだんかいそうぶんるいたいけい, ichidankaisoubunruitaikei] hierarchical classification system, monohiererchical classification system [Add to Longdo] | 一般分類体系 | [いっぱんぶんるいたいけい, ippanbunruitaikei] universal classification system, general classification system [Add to Longdo] | 回線種別 | [かいせんすべつ, kaisensubetsu] line type, line classification [Add to Longdo] | 階層化 | [かいそうか, kaisouka] stratification, classification [Add to Longdo] | 階層分類体系 | [かいそうぶんるいたいけい, kaisoubunruitaikei] hierarchical classification system, monohiererchical classification system [Add to Longdo] | 簡略分類体系 | [かんりゃくぶんるいたいけい, kanryakubunruitaikei] broad classification system [Add to Longdo] | 合成形分類体系 | [ごうせいがたぶんるいたいけい, gouseigatabunruitaikei] synthetic classification system [Add to Longdo] | 十進分類体系 | [じっしんぶんるいたいけい, jisshinbunruitaikei] decimal classification system [Add to Longdo] | 深層分類体系 | [しんそうぶんるいたいけい, shinsoubunruitaikei] close classification system, depth classification system [Add to Longdo] | 精密分類体系 | [せいみつぶんるいたいけい, seimitsubunruitaikei] close classification system, depth classification system [Add to Longdo] | 専門分類体系 | [せんもんぶんるいたいけい, senmonbunruitaikei] specialized classification system [Add to Longdo] | 線形分類体系 | [せんけいぶんるいたいけい, senkeibunruitaikei] linear classification system [Add to Longdo] | 多元分類体系 | [たげんぶんるいたいけい, tagenbunruitaikei] multidimensional classification system [Add to Longdo] | 二分分類体系 | [にぶんぶんるいたいけい, nibunbunruitaikei] dichotomized classification system [Add to Longdo] | 普遍分類体系 | [ふへんぶんるいたいけい, fuhenbunruitaikei] universal classification system, general classification system [Add to Longdo] | 分析形分類体系 | [ぶんせきがたぶんるいたいけい, bunsekigatabunruitaikei] analytical classification system [Add to Longdo] | 分析合成形分類体系 | [ぶんせきごうせいがたぶんるいたいけい, bunsekigouseigatabunruitaikei] analytico-synthetic classification system [Add to Longdo] | 分類 | [ぶんるい, bunrui] classification (vs), sorting [Add to Longdo] | 分類体系 | [ぶんるいたいけい, bunruitaikei] classification system [Add to Longdo] | 分類表 | [ぶんるいひょう, bunruihyou] classification table [Add to Longdo] | 類別 | [しゅべつ, shubetsu] classification (vs) [Add to Longdo] | 列挙分類体系 | [れっきょぶんるいたいけい, rekkyobunruitaikei] enumerative classification system [Add to Longdo] |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |