Activation | การก่อกัมมันตภาพรังสี, กระบวนการทำให้ธาตุเกิดกัมมันตภาพรังสีโดยการระดมยิงธาตุนั้นๆ ด้วยนิวตรอน โปรตอน หรือ อนุภาคอื่นๆ ตัวอย่างการก่อกัมมันตภาพรังสี เช่น การผลิตสารไอโซโทปกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 โดยการระดมยิงธาตุเทลลูเรียมด้วยนิวตรอน [นิวเคลียร์] |
Carbon-14 | คาร์บอน-14, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุคาร์บอน มีครึ่งชีวิต 5, 730 ปี เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นบนของโลก โดยอนุภาคนิวตรอนที่เกิดมาจากรังสีคอสมิกไปชนนิวเคลียสของธาตุไนโตรเจนเกิดเป็นคาร์บอน-14 และถูกออกซิไดส์ไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่วงจรของสิ่งมีชีวิต หลังจากสิ่งมีชีวิตตายไป จะไม่มีการแลกเปลี่ยนกับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศอีก คาร์บอน-14 ที่มีอยู่ก็จะสลายลดลงด้วยอัตราที่สามารถทราบได้ จึงใช้ในการคำนวณอายุซากสิ่งมีชีวิตและวัตถุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ (ดู Radiocarbon dating ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Cyclotron | ไซโคลทรอน, เครื่องเร่งอนุภาคที่อนุภาคถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้าและถูกควบคุมด้วยสนามแม่เหล็ก ให้วิ่งวนเป็นวงออกไปคล้ายก้นหอย เมื่อได้ความเร็วที่ต้องการ อนุภาคจะถูกปล่อยให้ชนกับวัสดุที่ใช้เป็นเป้า เครื่องเร่งอนุภาคชนิดนี้ใช้ในการวิจัยฟิสิกส์มูลฐาน และการผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ประดิษฐ์ คือ เออร์เนสต์ โอ. ลอว์เรนซ์ (Earnest O. Lawrence) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี พ.ศ. 2482 [นิวเคลียร์] |
Enriched material | วัสดุเสริมสมรรถนะ, วัสดุที่มีสัดส่วนของไอโซโทปที่ต้องการ ถูกทำให้เพิ่มสูงขึ้นกว่าสัดส่วนที่พบตามธรรมชาติ เช่น ยูเรเนียมตามธรรมชาติจะประกอบด้วยยูเรเนียม-238 ประมาณร้อยละ 99.3 และยูเรเนียม-235 (ซึ่งเกิดฟิชชันได้) ประมาณร้อยละ 0.7 ส่วนยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ จะมีไอโซโทปยูเรเนียม-235 สูงกว่าร้อยละ 0.7 (ดู isotope separation ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Uranium | ยูเรเนียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นโลหะหนัก มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 92 มีน้ำหนักเชิงอะตอมเฉลี่ยประมาณ 238 ไอโซโทปที่พบในธรรมชาติ ได้แก่ ยูเรเนียม-235 ยูเรเนียม-238 และ ยูเรเนียม-234 [นิวเคลียร์] |
Unstable isotope | ไอโซโทปไม่เสถียร, ไอโซโทปที่มีการสลายกัมมันตรังสี (ดู Radioisotope ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Thorium | ทอเรียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 90 มีน้ำหนักเชิงอะตอมประมาณ 232 ไอโซโทปที่มีอยู่ในธรรมชาติ คือ ทอเรียม-232 แปรธาตุเป็นยูเรเนียม-233 ได้ด้วยการอาบนิวตรอน (ดู fertile material, fissile material, transmutation ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Stable isotope | ไอโซโทปเสถียร, ไอโซโทปที่ไม่มีการสลายกัมมันตรังสี (ดู radioisotope ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Spontaneous fission | ฟิชชันเกิดเอง, การแบ่งแยกนิวเคลียสที่เกิดขึ้นโดยไม่มีตัวกระตุ้นจากภายนอก ไอโซโทปของธาตุหนักหลายชนิดสลายตัวในลักษณะนี้เป็นส่วนใหญ่ เช่น แคลิฟอร์เนียม-252 เฟอร์เมียม-257 และ ไอน์สไตน์เนียม-255 วัสดุเกิดฟิชชันได้ทุกชนิดสามารถเกิดกระบวนการนี้ได้เช่นกันเป็นบางครั้ง [นิวเคลียร์] |
Radium | เรเดียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นโลหะ มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 88 ไอโซโทปที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ คือ เรเดียม- 226 เกิดปนอยู่เล็กน้อยในสินแร่ยูเรเนียม เช่น แร่พิตช์เบลนด์ และคาร์โนไทต์ เรเดียม-226 เกิดจากการสลายของทอเรียม-230 ในอนุกรมยูเรเนียม (ดู decay, radioactive และ uranium series ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Radioisotope | ไอโซโทปกัมมันตรังสี, ไอโซโทปของธาตุที่ไม่เสถียร มีการสลายเพื่อลดระดับพลังงานโดยการปลดปล่อยรังสีออกมา มักใช้แทนคำว่า นิวไคลด์กัมมันตรังสี (ดู radionuclide ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Radioactive isotope | ไอโซโทป(กัมมันต)รังสี, ไอโซโทปของธาตุที่ไม่เสถียร มีการสลายเพื่อลดระดับพลังงานโดยการปลดปล่อยรังสีออกมา มักใช้แทนคำว่า นิวไคลด์กัมมันตรังสี <br>(ดู radionuclide ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Radioactivation | การก่อกัมมันตภาพรังสี, กระบวนการทำให้ธาตุเกิดกัมมันตภาพรังสีโดยการระดมยิงธาตุนั้นๆ ด้วยนิวตรอน โปรตอน หรือ อนุภาคอื่นๆ ตัวอย่างการก่อกัมมันตภาพรังสี เช่น การผลิตสารไอโซโทปกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 โดยการระดมยิงธาตุเทลลูเรียมด้วยนิวตรอน [นิวเคลียร์] |
Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] |
Potassium-40 | โพแทสเซียม-40, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของโพแทสเซียม มีครึ่งชีวิต 1.30 x 109 ปี พบในธรรมชาติ เช่น ในดิน และพืช มนุษย์ได้รับธาตุนี้จากการบริโภคอาหาร ทำให้ได้รับรังสีตลอดเวลา (ดู internal radiation ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Plutonium | พลูโทเนียม, ธาตุหนักที่เป็นโลหะและเป็นธาตุกัมมันตรังสี มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 94 ซึ่งมนุษย์ผลิตขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไอโซโทปสำคัญ คือ พลูโทเนียม-239 มีครึ่งชีวิต 24, 000 ปีสามารถแบ่งแยกนิวเคลียสได้ จึงใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรือทำอาวุธนิวเคลียร์ [นิวเคลียร์] |
Nuclear material | วัสดุนิวเคลียร์, วัสดุเฟอร์ไทล์ พลูโทเนียมที่มีพลูโทเนียม-238 น้อยกว่าร้อยละ 80 ยูเรเนียม-233 ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ ยูเรเนียมที่มีส่วนผสมของไอโซโทปต่างไปจากที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ ที่ไม่ใช่แร่หรือกากแร่ และวัสดุใดๆ ที่เป็นส่วนผสมวัสดุดังกล่าวข้างต้น, Example: [นิวเคลียร์] |
Mass spectrometer | สเปกโทรมิเตอร์มวล, อุปกรณ์สำหรับตรวจหาและวิเคราะห์ไอโซโทป ที่สามารถแยกนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนประจุต่อมวลที่แตกต่างกันออกจากกันได้ โดยการผ่านนิวเคลียสเหล่านั้นไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คำนี้มีความหมายเหมือน mass spectrograph, Example: [นิวเคลียร์] |
Mass spectrograph | สเปกโทรกราฟมวล, อุปกรณ์สำหรับตรวจหาและวิเคราะห์ไอโซโทป ที่สามารถแยกนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนประจุต่อมวลที่แตกต่างกันออกจากกันได้ โดยการผ่านนิวเคลียสเหล่านั้นไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คำนี้มีความหมายเหมือน mass spectrograph [นิวเคลียร์] |
Mass number, A | เลขมวล, ผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอนภายในนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งๆ ซึ่งเป็นเลขจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงที่สุดกับน้ำหนักเชิงอะตอมของแต่ละไอโซโทป เช่น ยูเรเนียม-235 มีโปรตอน 92 อนุภาค และนิวตรอน 143 อนุภาค ดังนั้นเลขมวลคือ 235 <br>(ดู atomic mass และ atomic number ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Isotopic enrichment | การเสริมสมรรถนะไอโซโทป, กระบวนการเพิ่มสัดส่วนของไอโซโทปหนึ่งให้สูงข้นกว่าเดิม เช่น การเพิ่มสัดส่วนของยูเรเนียม-235 ให้สูงขึ้นกว่าที่พบตามธรรมชาติ <br>(ดู isotope separation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Isotope separation | การแยกไอโซโทป, กระบวนการแยกไอโซโทปออกจากกัน โดยอาศัยความแตกต่างของมวลไอโซโทป ด้วยวิธีการแยกด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีการแพร่แก๊ส การแยกไอโซโทปเป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการการเสริมสมรรถนะไอโซโทป, Example: [นิวเคลียร์] |
Isotope | ไอโซโทป, อะตอมของธาตุเดียวกัน ซึ่งในนิวเคลียสมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนต่างกัน เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป ได้แก่ $ ^{ 1 }_{ 1 } H $ , $ ^{ 2 }_{ 1 } H $ , $ ^{ 3 }_{ 1 } H $ ไอโซโทปของธาตุเดียวกัน จะมีสมบัติทางเคมีเหมือนกัน แต่สมบัติทางฟิสิกส์ต่างกัน [นิวเคลียร์] |
Hydrogen bomb | ลูกระเบิดไฮโดรเจน, ลูกระเบิดที่แรงระเบิดเกิดจากปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียสของไอโซโทปของไฮโดรเจนภายใต้อุณหภูมิสูงมากจากการจุดระเบิดด้วยปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียส, Example: [นิวเคลียร์] |
Hydrogen | ไฮโดรเจน, ธาตุที่เบาที่สุดและเป็นธาตุลำดับที่ 1 ในตารางพีริออดิก ประกอบด้วยไอโซโทป 3 ชนิด โดย 2 ชนิด พบในธรรมชาติ ได้แก่ ไฮโดรเจนหรือไฮโดรเจนมวลเบาซึ่งมีเลขมวลเท่ากับ 1 และดิวเทอเรียมหรือไฮโดรเจนมวลหนักซึ่งมีเลขมวลเท่ากับ 2 ส่วนชนิดที่ 3 ได้แก่ ทริเทียม มีเลขมวลเท่ากับ 3 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้น [นิวเคลียร์] |
Heavy hydrogen | ไฮโดรเจนมวลหนัก, ไอโซโทปของไฮโดรเจนที่มีเลขมวลเท่ากับ 2 นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอน 1 อนุภาคและนิวตรอน 1 อนุภาค มีชื่อเฉพาะเรียกว่า ดิวเทอเรียม <br>(ดู deuterium, <sup>2</sup>H, D ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Deuterium | ดิวเทอเรียม ไอโซโทปของไฮโดรเจน, นิวเคลียยสประกอบด้วยโปรตรอน และ นิวตรอน อย่างละ 1 อนุภาคมีมวลเป็นสองเท่าของไฮโดรเจน [นิวเคลียร์] |
Gas centrifuge plant | โรงงานแบบหมุนเหวี่ยงแก๊ส, <font color="#8b0000"><em>โรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียม</em></font>แบบหนึ่ง โดยการแยกไอโซโทปยูเรเนียม-238 และยูเรเนียม-235 ในรูปแก๊สเฮกซะฟลูออไรด์ออกจากกัน ด้วยการหมุนเหวี่ยงแก๊สที่ความเร็วสูงมากในเครื่องหมุนเหวี่ยงรูปทรงกระบอก ยูเรเนียม-238 ที่หนักกว่าจะเคลื่อนที่อยู่รอบนอกชิดกับผนัง [นิวเคลียร์] |
Gaseous diffusion plant | โรงงานแบบแพร่แก๊ส, <font color="#8b0000"><em>โรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียม</em></font>แบบหนึ่ง โดยการแยกไอโซโทปยูเรเนียม-238 และยูเรเนียม-235 ในรูปแก๊สเฮกซะฟลูออไรด์ออกจากกัน ภายในเครื่องแพร่แก๊สที่มีตัวกั้นเป็นรูพรุน ยูเรเนียม – 235 ซึ่งเบากว่าจะแพร่ผ่านเข้าสู่เครื่องแพร่แก๊สถัดๆ ไปในอัตราที่เร็วกว่า จนกว่าจะได้ยูเรเนียม-235 ที่มีสมรรถนะตามต้องการ โรงงานชนิดนี้มีขนาดใหญ่และใช้กำลังไฟฟ้ามาก จึงไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน [นิวเคลียร์] |
tritium | ไอโซโทปกัมมันตรังสีของไฮโดรเจนที่มนุษย์ผลิตขึ้น, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของไฮโดรเจนที่มนุษย์ผลิตขึ้นมีเลขมวลเท่ากับ 3 และครึ่งชีวิตเท่ากับ 12.32 ปี ทริเทียมสลายให้อนุภาคบีตาพลังงาน 18 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ใช้เป็นสารกัมมันตรังสีตามรอยในทางการแพทย์และอุตสาหกรรม (ดู hydrogen, H และ deuterium, $^2$H, D ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Radioisotopes | รังสีไอโซโทป [TU Subject Heading] |
Radioisotope | เรดิโอไอโซโทป, Example: ไอโซโทปที่มีกัมมันตรังสีของธาตุ เช่น ทริเทียม เป็น ไอโซโทปกัมมันตรังสีของไฮโดรเจน [สิ่งแวดล้อม] |
Isotopes | ไอโซโทป, Example: ธาตุเดียวกันที่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ไอโซโทปของธาตุเดียวกัน มีสมบัติเคมีคล้ายกันมาก เพราะมีโครงสร้างแบบอีเล็กตรอนเหมือนกัน แต่สมบัติทางกายภาพต่างกันเล็กน้อย ไอโซโทปที่ไม่เสถียรเรียกว่า ไอโซโทปกัมมันตรังสี [สิ่งแวดล้อม] |
cyclotron | เครื่องไซโคลตรอน , เป็นเครื่องสำหรับเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ผู้ประดิษฐ์คือ Earnest O. Lawrence ชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2482 ในเครื่องเร่งอนุภาคชนิดนี้ อนุภาคถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็ถูกควบคุมด้วยสนามแม่เหล็ก ให้วิ่งวนเป็นวงออกไป เมื่อได้ความเร็วที่เหมาะสม ก็จะถูกปล่อยให้ไปชนกับเป้าที่ต้องการ เครื่องเร่งนี้ใช้ในการวิจัยทางฟิสิกส์พื้นฐาน และการผลิตสารไอโซโทปรังสี [พลังงาน] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
Single Photon Emission Computed Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะภายในร่างกายที่ต้องการตรวจ โดยการให้สารเภสัชรังสีแก่คนไข้ แล้วทำการตรวจวัดรังสีแกมมาที่แผ่ออกมาจากสารเภสัชรังสีนั้น ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า "กล้องถ่ายแกมมา (gamma camera)" ซึ่งมีทั้งแบบที่หมุนได้ และแบบอยู่กับที่รอบตัวคนไข้ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะแปลข้อมูลที่ได้ออกมาให้เห็นเป็นภาพการกระจายตัวของสารเภสัชรังสี โดยสร้างภาพตัดเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้น ทำให้สามารถบอกความผิดปกติของอวัยวะได้ โดยดูการกระจายตัวของสารเภสัชรังสี แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยก็สามารถตรวจวัดได้ เทคนิคSPECT สามารถตรวจอวัยวะหรือระบบอวัยวะใดๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสารเภสัชรังสีที่ให้ เป็นวิธีที่ใช้ในการบอกตำแหน่งของความผิดปกติ ทั้งทางกายภาพและทางสรีรวิทยาในเนื้อเยื่อที่มีชีวิต ซึ่งเป็นข้อดีทางเทคนิคนี้ จึงนำไปใช้ในการวินิจฉัยโรคหัวใจ โรคลมบ้าหมู และโรคมะเร็ง ข้อได้เปรียบของเทคนิคนี้ ต่อ PET คือ ไม่ต้องใช้เครื่องไซโคลตรอนในการผลิตไอโซโทปรังสี [พลังงาน] |
Calcium Isotopes | แคลเซียมไอโซโทป, แคลเซียมไอโซโทป [การแพทย์] |
Calcium Radioisotopes | แคลเซียมไอโซโทปรังสี [การแพทย์] |
Cerium Isotopes | ซีเรียมไอโซโทป [การแพทย์] |
Cerium Radioisotopes | ซีเรียมกัมมันตรังสี, ซีเรียมไอโซโทปรังสี [การแพทย์] |
Cesium Isotopes | ซีเซียมไอโซโทป [การแพทย์] |
Chromium Isotopes | โครเมียมไอโซโทป [การแพทย์] |
Chromium Radioisotopes | โครเมียมไอโซโทปรังสี [การแพทย์] |
Cobalt lsotopes | โคบอลต์ไอโซโทป, รังสีโคบอล์ท [การแพทย์] |
Cobalt Radioisotopes | โคบอลต์ไอโซโทปรังสี [การแพทย์] |
deuterium [ heavy hydrogen ] | ดิวเทอเรียม, ไอโซโทปหนึ่งของธาตุไฮโดรเจน มีเลขอะตอม 1 เลขมวล 2 มีอยู่ในธรรมชาติประมาณร้อยละ 0.02 ของธาตุไฮโดรเจนทั้งหมด เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าไฮโดรเจนหนักใช้สัญลักษณ์ หรือ D [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
tritium | ทริเทียม, ไอโซโทปหนึ่งของธาตุไฮโดรเจน เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีที่ไม่มีในธรรมชาติแต่สร้างขึ้นได้ในห้องทดลอง มีเลขอะตอม 1 เลขมวล 3 สัญลักษณ์ 3 H 1 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
protium | โปรเทียม, ไอโซโทปหนึ่งของไฮโดรเจนมีเลขอะตอม 1 เลขมวล 1 มีอยู่ในธรรมชาติประมาณ 99.98% ของธาตุไฮโดรเจนทั้งหมด ใช้สัญลักษณ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hydrogen | ไฮโดรเจน, ธาตุชนิดหนึ่ง เลขอะตอม 1 สัญลักษณ์คือ H เป็นแก๊สที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด ติดไฟได้ดี จุดหลอมเหลว -259.14oC จุดเดือด -252.7oC ไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป คือ โพรเทียม ดิวเทอเรียม และทริเทียม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
isotope | ไอโซโทป, ธาตุหนึ่งในกลุ่มของธาตุเดียวกันที่มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่เลขมวลต่างกัน เช่น ดิวเทอเรียมเป็นไอโซโทปหนึ่งของธาตุไฮโดรเจน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |