ไม้สูง | น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบ ว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกา ว่า เล่นไม้สูง |
ไม้สูง | เรียกเพลงกระบี่กระบองซึ่งเป็นเพลงชั้นสูง |
ไม้สูง | โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยมฉลาดเกินตัว เช่น เขามาไม้สูง. |
กระแต ๑ | น. ชื่อฆ้องวงขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ลักษณะร้านฆ้องเป็นรูปเว้าหงายขึ้น คล้ายฆ้องมอญแต่ปลายไม่สูง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก, ฆ้องขนาดเล็กลูกเดียวแขวนกับไม้ ใช้มือหิ้วหรือแขวนไม้กับไม้ขาหยั่ง ใช้ตีเป็นสัญญาณในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ, ทั้ง ๒ ชนิดเรียกว่า ฆ้องกระแต. |
กระถิก, กระถึก | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Sciuridae เป็นกระรอกขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาล มีแถบสีน้ำตาลเข้ม ๓ แถบพาดตามยาวลำตัว สลับกับแถบสีน้ำตาลจาง ๆ ๔ แถบ ตั้งแต่สันหลังลงไปถึงข้างลำตัว อาศัยอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ กินแมลงและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ กระถิกขนปลายหูยาว [ Tamiops rodolphe i (Milne-Edwards) ] และกระถิกขนปลายหูสั้น [ T. mxcclellandi (Horsfield) ], กระเล็น ก็เรียก. |
กระสา ๑ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Ciconiidae ปากหนาแบนข้าง ยาว ปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอเหยียดตรง ทำรังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาคอขาว [ Ciconia episcopus (Boddaert) ] กระสาคอดำ [ Ephippiorhynchus asiaticus (Latham) ]. |
กระสา ๑ | ชื่อนกยางขนาดใหญ่ ในวงศ์ Ardeidae ปากยาว ปลายแหลม ฤดูผสมพันธุ์เพศผู้มีขนยาวบริเวณท้ายทอย ๒ เส้น คอยาว เวลาบินคอโค้งงอ ขายาว เล็บของนิ้วกลางที่หันไปข้างหน้าหยักคล้ายซี่หวี ทำรังด้วยกิ่งไม้บนยอดไม้สูงปานกลาง กินปลาและสัตว์น้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กระสานวล ( Ardea cinerea Linn.) กระสาแดง ( A. purpurea Linn.) และกระสาใหญ่ ( A. sumatrana Raffles). |
ขมิ้น ๒ | (ขะมิ่น) น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Oriolidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ขาว ตัวผู้และตัวเมียมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียสีหม่นไม่สวยงาม ทำรังเป็นรูปถ้วยตามง่ามไม้สูง ๆ กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำหรือขมิ้นเหลืองอ่อน ( Oriolus chinensis Linn .) ขมิ้นแดง [ O. traillii (Vigors) ] ขมิ้นขาว ( O. mellianusStresemann) . |
ชะนี ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่ม เดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ ร้องเสียงดัง แสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว [ Hylobates lar (Linn.) ] ขนลำตัวสีดำหรือนํ้าตาล ชะนีหัวมงกุฎหรือชะนีมงกุฎ ( H. pileatusGray) ขนตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีเทา และชะนีมือดำหรือชะนีคิ้วขาว ( H. agilisF. Cuvier) ขนลำตัวสีดำ นํ้าตาล หรือเทา. |
เบาราคา | ว. มีราคาไม่สูงนัก มักใช้ว่า ย่อมเยาเบาราคา. |
เป็ดก่า | น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด Cairina scutulata (Müller) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae หัวและคอสีขาวประดำ อกสีเขียวเกือบดำ ทำรังในโพรงไม้ริมลำธารในป่า มักเกาะนอนบนต้นไม้สูง ๆ เวลาบินจะเห็นแถบสีขาวที่ปีกได้ชัดเจน ร้องเสียง “ก่า ๆ ” เป็นนกเป็ดนํ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย. |
พะอง | น. ไม้ไผ่ป่าตัดแขนงให้ยาวพอที่เท้าจะเหยียบขึ้นลงได้ สำหรับผูกพาดขึ้นต้นไม้ต่างบันได ถ้าต้นไม้สูงมากก็อาจใช้ไม้ไผ่หลายลำผูกต่อ ๆ กันขึ้นไป, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น. |
รุ้ง ๒ | น. ชื่อเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิด Spilornis cheela (Latham) ในวงศ์ Accipitridae มีลายจุดขาวที่หัว ปีก และท้อง มีหงอนขนบริเวณท้ายทอยซึ่งจะแผ่ออกเห็นได้ชัดเจนขณะโกรธ ตกใจ หรือต่อสู้กัน ตัวสีน้ำตาลเข้ม หางสีน้ำตาลพาดขาว ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้สูง กินสัตว์ขนาดเล็ก โดยเฉพาะงู, อีรุ้ง ก็เรียก. |
แร้ง | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Accipitridae หัวเล็ก ลำคอไม่มีขนหรือเป็นขนอุยห่าง ๆ ปีกกว้าง หางสั้น ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้สูง กินซากสัตว์ ไม่ล่าเหยื่อเหมือนเหยี่ยวและอินทรีทั่วไป เช่น แร้งเทาหลังขาว [ Gyps bengalensis (Gmelin) ] แร้งดำหิมาลัย [ Aegypius monachus (Linn.) ] พญาแร้ง [ Sarcogyps calvus (Scopoli) ], อีแร้ง ก็เรียก. |
สันทัด | ว. ปานกลาง, ไม่ใหญ่ไม่เล็ก, ไม่สูงไม่ตํ่า, (ใช้แก่รูปร่าง), เช่น รูปร่างสันทัด. |
สูง | ว. มีระยะที่วัดตรงขึ้นไปตามแนวตั้งฉากกับพื้น เช่น ต้นไม้สูง ภูเขาสูง |
เหยี่ยว | น. ชื่อนกหลายชนิด ในวงศ์ Accipitridae และ Falconidae ปากเป็นปากขอและคม ปีกแข็งแรง ขาและนิ้วแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม บินร่อนได้นาน ๆ วงศ์แรกเป็นนกขนาดใหญ่ ปลายปีกมน ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ขนาดเล็ก บนกิ่งก้านของต้นไม้สูง ส่วนใหญ่ล่าสัตว์ บางชนิดกินซากสัตว์ เช่น เหยี่ยวขาวหรือเหยี่ยวปักหลัก [ Elanus caeruleus (Desfontaines) ] เหยี่ยวแดง [ HaliasturIndus (Boddaert) ] เหยี่ยวดำ [ Milvus migrans (Boddaert) ] เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ [ Aviceda leuphotes (Dumont) ] วงศ์หลังเป็นนกขนาดเล็ก ปลายปีกแหลม บางชนิดทำรังตามโพรงไม้ บางชนิดทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ขนาดเล็ก บนกิ่งไม้ค่อนข้างสูง ล่าแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว (Polihierax Insignis Walden) เหยี่ยวแมลงปอขาแดง [ Microhierax caerulescens (Linn.) ] เหยี่ยวตีนแดง (Falco amurensis Radde). |
อินทรี ๑ | (-ซี) น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Accipitridae ขามีขนปกคลุม เล็บและกรงเล็บแข็งแรงใช้ในการจับเหยื่อ บินร่อนเป็นวงกลมในระดับสูงเพื่อจ้องหาเหยื่อ ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้สูง เช่น อินทรีหัวสีนวล [ Haliaeetus leucoryphus (Pallas) ]อินทรีดำ [ I ctinaetus malayensis (Temminck) ] อินทรีหัวไหล่ขาว ( Aquila heliaca Savigny). |