พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น | ก. พบหญิงสาวที่ต้องใจเมื่อแก่, ใช้ว่า พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น ก็มี. |
ไม้งามกระรอกเจาะ | น. หญิงสวยที่ไม่บริสุทธิ์. |
กัศมล | (กัดสะมน) ว. น่าเกลียด, ไม่งาม, อุจาด, เช่น บพิตรพราหมณ์นี้กาจกัศมลร้ายพ้นคนในโลกย์นี้ (ม. คำหลวง กุมาร). |
กำมะลอ | ว. เลวไม่ทนทาน, ไม่ดี, ไม่งาม. |
ขี้ริ้ว | ว. ไม่สวย, ไม่งาม, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ขี้เหร่ เป็น ขี้ริ้วขี้เหร่. |
ขี้เหร่ | ว. ไม่สวย, ไม่งาม, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ขี้ริ้ว เป็น ขี้ริ้วขี้เหร่. |
งาม | มีลักษณะสมบูรณ์ดี เช่น ต้นไม้งาม ปีนี้ฝนงาม |
งามแงะ | ว. งามน่าดู เช่น เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะว่าเล่นหรือว่าจริง (สังข์ทอง). |
จาว ๔ | น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยายหมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ (ทวาทศมาส). |
แจรง | (แจฺรง) ก. แจง, กระจายออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง (ม. คำหลวง จุลพน). |
ฉาวโฉ่ | ว. อื้ออึง, เกรียวกราวขึ้น, รู้กันทั่วไป, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม), โฉ่ฉาว ก็ว่า. |
โฉ่ฉาว | ว. อื้ออึง, เกรียวกราวขึ้น, รู้กันทั่วไป, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม), ฉาวโฉ่ ก็ว่า. |
ทุพพรรณ | (ทุบ-) ว. มีสีไม่งาม, มีผิวไม่งาม. |
ยาหัด | ว. ชั่ว, ไม่ดี, หยาบ, ไม่งาม. |
อ ๒ | (อะ) เป็นอักษรใช้นำหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม) |
อสาธุ | ว. ไม่ดี, ไม่งาม, เลว, ชั่วช้า |
อสุภ, อสุภ- | (อะสุบ, อะสุบพะ-) ว. ไม่งาม, ไม่สวย, ไม่ดี. |
อสุภกรรมฐาน | (-กำมะถาน) น. กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็นอารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งามความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร. |
อื้อฉาว | ว. แพร่งพราย, เซ็งแซ่, กระจาย, (ใช้แก่ข่าวที่ไม่ดีไม่งาม). |