กระดากปาก, กระดากลิ้น | ก. ตะขิดตะขวงใจที่จะพูดในเรื่องที่ไม่ควรพูด. |
กาลเทศะ | ความควรไม่ควร. |
ขำ ๒ | น. สิ่งหรือข้อความที่มีนัยซึ่งไม่ควรเปิดเผย เช่น ความขำเขาซับซี่ในวัดที่ดรธานปล่ยวน้นน (ม. คำหลวง ชูชก), แล้วทูลว่านางคันธมาลี ให้ข้านี้นำของมาถวาย เป็นความขำกำชับมามากมาย พลางยอบกายเข้าไปให้ใกล้ชิด (คาวี). |
ขืน | ไม่ควรทำแต่ยังกล้าทำ เช่น ขืนกิน ขืนสู้, ไม่ยอมทำตาม เช่น ขืนคำสั่ง. |
ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย | ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายของตน ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร, ทำนองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง. |
คัน ๒ | ก. อาการที่รู้สึกให้อยากเกา, อาการที่มือหรือปากอยู่ไม่สุข คือ อยากทำหรือพูดในสิ่งที่ไม่ควร เรียกว่า มือคัน ปากคัน, อาการที่ให้รู้สึกอยากด่าอยากตีเป็นต้น เรียกว่า คันปาก คันมือ คันเท้า. |
ฆ่าควายเสียดายเกลือ, ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก | ก. ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่. |
จริยศาสตร์ | น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ แสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าอย่างไหนถูกไม่ถูก ดีไม่ดี ควรไม่ควร และพิจารณาปัญหาเรื่องสถานภาพของค่าทางศีลธรรม. |
ตักบาตรอย่าถามพระ | ก. จะให้อะไรแก่ผู้ที่เต็มใจรับอยู่แล้ว ไม่ควรถาม. |
ตีกิน | ก. ฉวยโอกาสเอาประโยชน์ที่ไม่ควรจะได้. |
ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น | ว. ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วน แต่ไม่รอบคอบถี่ถ้วนจริง, ประหยัดในสิ่งที่ไม่ควรประหยัด ไม่ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด. |
ถือสา | ก. ยึดเอาเป็นเรื่องเป็นราว, ถือเอาเป็นโทษ, (มักใช้ในทางปฏิเสธ) เช่น เรื่องเล็กน้อยไม่ควรถือสา. |
ทุราจาร | น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. |
บาง ๒ | ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติ ว่า ผมบาง, เรียกผู้ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอาย ว่า หน้าบาง, ตรงข้ามกับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะอง ว่า เอวเล็กเอวบาง หรือ เอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลำบากไม่ได้เพราะไม่เคยชิน ว่า คนผิวบาง. |
ปักเป้า ๑ | (ปักกะ-) น. ชื่อปลาทุกชนิดในวงศ์ Tetraodontidae และ Diodontidae ลำตัวป้อมหรือกลมมากน้อยแล้วแต่ชนิด ขนาดยาวตั้งแต่ ๖-๖๐ เซนติเมตร เฉพาะบางสกุล เช่น สกุล <i> Canthigaster, Chonerhinos</i>และ <i> Tetrodon</i> ในวงศ์ Tetraodontidae สกุล <i> Diodon</i> และ <i> Chilomycterus</i> ในวงศ์ Diodontidae มีลักษณะแบนข้าง ทุกชนิดสามารถพองตัวได้ ผิวหนังมีหนาม ฟันมีลักษณะเป็นแผ่นกระดูกแข็ง ไม่มีครีบท้อง กินสัตว์อื่น ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล บางชนิดพบในนํ้าจืด เช่น ชนิด <i> Chonerhinos modestus</i> (Bleeker) ทุกชนิดมีพิษ ไม่ควรนำมารับประทานเพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้. |
ปากไม่มีหูรูด | ว. ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด. |
เป็นสาวเป็นแส้ | ว. เป็นสาววัยรุ่น เช่น เป็นสาวเป็นแส้แล้วไม่ควรเล่นซุกซนเหมือนเด็ก ๆ. |
ผ่า | ทำสิ่งที่ไม่น่าจะทำหรือในลักษณะที่ไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เช่น วิ่งผ่าเข้าไปกลางวง แทนที่จะเล่นกันอยู่ข้างล่าง ผ่าขึ้นไปอยู่บนยอดไม้. |
ผิดที่, ผิดที่ผิดทาง | ก. อยู่ในที่ที่ไม่เคยอยู่, อยู่ในที่ที่ไม่ควรจะอยู่. |
ฝากเนื้อไว้กับเสือ | ก. ฝากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้กับคนที่ชอบสิ่งนั้น ย่อมสูญหายได้ง่าย, ไว้วางใจคนที่ไม่ควรไว้วางใจ. |
ฝากปลาไว้กับแมว | ก. ฝากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้กับคนที่ชอบสิ่งนั้น ย่อมสูญหายได้ง่าย, ไว้วางใจคนที่ไม่ควรไว้วางใจ. |
แพ่น | พรวดพราด อุกอาจ เอื้อมอาจ หรือล่วงล้ำเข้าไปในที่ที่ไม่ควร เช่น แพ่นเข้าไปถึงหลังบ้าน. |
แพ่น | ว. อาการที่อุกอาจ เอื้อมอาจ หรือล่วงลํ้าเข้าไปในที่ที่ไม่ควร (ใช้ในลักษณะติเตียน). |
มโนธรรม | น. ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี, ความรู้สึกว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ. |
มืด | ว. ขาดแสงสว่าง เช่น เดือนมืด, มีแสงสว่างน้อย เช่น ไม่ควรอ่านหนังสือในที่มืด เพราะจะทำให้เสียสายตา, โดยปริยายหมายความว่า เหลือรู้เหลือเห็น เช่น มือมืด. |
ยกเมฆ | ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา (ขุนช้างขุนแผน) |
ร่มผ้า | น. ส่วนของร่างกายภายในผ้านุ่งที่ไม่ควรเปิดเผย. |
ร่ายยาว | น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายร่ายโบราณ ใช้แต่งบทเทศน์ บทสวด บทกล่อมลูก เป็นต้น ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่ละวรรคไม่ควรน้อยกว่า ๕ คำ นิยมส่งสัมผัสส่งท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสในวรรคถัดไปที่คำใดก็ได้ สัมผัสเชื่อมกันไปเช่นนี้จนจบ. |
รู้เท่าไม่ถึงการ | ก. รู้ไม่ถึงว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ. |
ล่วงเกิน | ก. แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณีหรือจรรยามารยาทด้วยการลวนลาม ดูหมิ่น สบประมาท เป็นต้น เช่น ไม่ควรล่วงเกินพ่อแม่ด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ. |
ล่วงเลย | ก. ผ่านพ้น เช่น เหตุการณ์ล่วงเลยไปแล้ว ไม่ควรปล่อยวันเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์, บางทีก็ใช้เพียง ล่วง คำเดียว. |
ละอาย | ก. รู้สึกอายที่จะทำสิ่งไม่ถูกไม่ควร เช่น ละอายที่จะทำผิด, ละอายใจ ก็ว่า. |
แล้วก็แล้วไป | ว. อาการที่พูดปลอบใจหรือให้สติว่า เมื่อเหตุการณ์สิ้นสุดหรือยุติลงแล้ว ก็ไม่ควรเก็บมาเป็นกังวลหรือรื้อฟื้นขึ้นมาอีก. |
วับ ๆ แวม ๆ | อาการที่แต่งกายไม่มิดชิด เช่น ไม่ควรแต่งตัววับ ๆ แวม ๆ ในสถานที่พึงเคารพ ดูไม่สุภาพ. |
วุ่น | ก. ยุ่ง, ก้าวก่าย, เช่น คุณไม่ควรไปวุ่นกับเรื่องของคนอื่นเขา, สับสน เช่น งานมากทำให้สมองวุ่นไปหมด, อาการที่ต้องทำอะไรหลาย ๆ อย่างในขณะเดียวกัน เช่น เขาต้องวุ่นอยู่กับงานสารพัดตลอดเวลา, ชุลมุน เช่น มีแขกมามากทำให้วุ่นกันไปทั้งบ้าน. |
สอด ๑ | ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอดจดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับเพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น. |
สะวี้ดสะว้าด | ฉูดฉาด, นำสมัยแบบโลดโผน, เช่น เด็ก ๆ ไม่ควรแต่งตัวสะวี้ดสะว้าด. |
สามัญสำนึก | น. ความสำนึกหรือความเฉลียวใจที่คนปรกติธรรมดาทั่วไปควรจะต้องรู้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำสั่งสอน เช่น ทำอะไรให้มีสามัญสำนึกเสียบ้างว่าอะไรควรอะไรไม่ควร. |
สาวไส้ | ก. นำความลับที่ไม่ควรเปิดเผยไปให้คนอื่นรู้, มักใช้ในทางไม่ดี. |
เสวนะ, เสวนา | (เสวะ-) ก. คบ เช่น ควรเสวนากับบัณฑิต ไม่ควรเสวนากับคนพาล, (ปาก) พูดจากัน เช่น หมู่นี้พวกเราไม่ค่อยได้พบปะเสวนากันเลย. |
เสือหิว | น. คนที่อยากได้ผลประโยชน์หรือลาภสักการะโดยไม่เลือกว่าควรหรือไม่ควร. |
เสื่อมเสีย | ว. ที่เสียหาย เช่น เขามีความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่ควรจ้างให้มาทำงานด้วย. |
หน้ามืด | โดยปริยายหมายถึงมัวเมาจนขาดสติ ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ. |
หมาขี้เรื้อน | น. คนที่น่ารังเกียจ ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย (ใช้กล่าวถึงผู้อื่นด้วยความดูถูกเหยียดหยาม). |
หูรูด | ปากช่องทวารหนักที่กล้ามเนื้อรัดตัวเข้ามาคล้ายปากถุงที่รูด, โดยปริยายเรียกผู้ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ว่า ปากไม่มีหูรูด. |
หูปลาช่อน | น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ เช่น ไม้ล้มลุกชนิด <i>Emilia sonchifolia</i> (L.) DC. ไม้ล้มลุกชนิด <i>Aster cordifolius</i> L. ในวงศ์ Compositae ใบแคบ โคนใบรูปหัวใจ ช่อดอกสีชมพู หรือสีฟ้า, ไม้พุ่มชนิด <i>Acalypha</i> <i>wilkesiana</i> Müll. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใบมีหลายสี ค่อนข้างกลม ขอบหยักและเป็นคลื่น ในวงศ์ Compositae ใบมีขน ขอบใบจัก กินได้ แต่ไม่ควรกินเป็นประจำ, หางปลาช่อน ก็เรียก. |
ให้หูให้ตา | ก. แสดงท่าทีให้ทราบด้วยสีหน้าและสายตาว่าพอใจใคร่สืบความสัมพันธ์ต่อไป (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น กุลสตรีไม่ควรให้หูให้ตาใคร ๆ. |
อกรณีย์ | (อะกะระนี, อะกอระนี) น. กิจที่ไม่ควรทำ. |
อกัปปิย-, อกัปปิยะ | (อะกับปิยะ-) ว. ไม่ควร, ไม่เหมาะ. |
อกัปปิยโวหาร | น. ถ้อยคำที่ไม่ควรใช้พูด. |